วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

รู้ตา รู้รูป รู้สังโยชน์

อายตนะบรรพ

รู้ตา
หมายถึงรู้ประสาทตา
รู้ประสาทตานี่ รู้ได้ด้วยใจ
ไม่ใช่ไปเพ่งตาอยู่

เพ่งตานี่อยากเห็น จะเป็นตัณหา
ไม่เห็นหรอก
เพ่งไปปวดใจ
เพ่งต่อปวดหัว
ยังไม่หยุดแข็งไปทั้งตัว
ต้องจับไปเขย่าๆ ไปวิ่ง

รู้รูป
ภาพนี่มองไปจะเป็น 2 มิติ
เป็นสีธรรมดา
แต่เวลาจิตคิดปรุงแต่งจะมี "คน" โผล่ออกมา
เป็น 3 มิติ
อันนี้มันโผล่ขึ้นมาจากความคิดล่ะ

คนที่ว่านี่เรียกว่า "นิมิต"
และคนก็ผมอย่างนั้นอย่างนี้
ใส่เสื้อลายนั้นนี้ อันนี้เรียก อนุพยัญชนะ

รูปบางรูปมีความหมาย
เช่น คนรู้จัก ไฟไหม้ คนถูกรถทับ ฯลฯ
เห็นแล้วเกิดแรงดันขึ้นมา เรียก "รูปตัณหา"
อยากไปเห็น ผลักให้ไปเห็น

รู้ทันก็ขาด...

พอไปเห็นจริงๆ
ก็ไปเกาะรูป
ตัวก็หายไป
ความรู้สึกตัวหายไป
เรียก "หลงดู"

ถ้ารู้ทันก็ขาด...

ถ้ารู้ไม่ทัน ก็เป็น "เราเห็น"

รู้ไม่ทันอีกก็ "รูปนั้นของเรา"

สตินี่ตัดได้หลายช่วง

ทีนี้บางคราวกิเลสแรง
เอาไม่อยู่
มุดก่อน หลบก่อนไปหาสมถะก่อน
มัดมือ มัดเท้า มัดปากไว้

หรือสติจริงไม่เกิด
หรือดูไม่ถูก (ดูแล้วแอบอยากหาย/คิดมาก)
แต่ดูไม่ถูกก็ไม่เป็นไร ก็ฝึกรู้จักสภาวะ เป็นทักษะไป

ผู้ภาวนา
คือถ้ายังเห็นรูปเป็น "คน" ก็ไปทำอย่างอื่นก่อน
ถ้าไปพยายามจะเห็นเป็นสี มันเป็นตัณหา

รู้สังโยชน์ที่เนื่องกับตาและรูป
ถ้ามีสังโยชน์เกิดขึ้นก็ให้รู้
การเกิดของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดมีด้วยประการใดก็รู้
โดยปกติก็เพราะ เห็นแล้วหลงไปคิด

อยู่ดีๆ
เห็นรูปแล้วหลงไปคิด
กิเลสเกิด
ก็ให้รู้

ไม่ใช่ห้ามไม่ให้เกิดกิเลส
ปล่อยให้เกิด
แต่ไม่ใช่ตามกิเลส
ตามรู้ไป

การละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว มีด้วยเหตุใดก็รู้

การไม่เกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ละได้แล้ว มีด้วยเหตุใดก็รู้

ข้อสังเกต
ไม่ได้บอกให้ละสังโยชน์
การละสังโยชน์ละได้ด้วยปัญญา เห็นว่ามีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ
ไม่ได้ไปทำอะไรกับสังโยชน์

หน้าสาวๆ มองแล้วไม่เต็มอิ่มเลย
มองแล้วดับๆ อยู่เรื่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น