ขนฺตี กับ ติติกฺขา เป็นไวพจน์กัน
แปลออกมาเป็น อดทน อดกลั้น
จากหยาบๆ คือทนทางกายต่อความรำคาญ ไม่สบายต่างๆ
ทนจากคำหยาบ
อธิวาสนขันติ
สติต้องเยอะมาก
รอคน 5 นาทีผิดนัดก็เริ่มออกอาการ
รออาหารมาช้าก็เริ่มออกอาการ
ตัณหาเขาชอบเวทนาที่ดี
พอเวทนาไม่ดีมาเขาก็ขยับทันที
นั่งนานเริ่มขยับละ
กายรู้เรื่องที่ไหน
จิตสั่งทั้งนั้น
ถึงได้รู้สึกว่าไม่มีทุกข์ทางกาย
เพราะตัณหาเขาศึกษาวิจัยมาล่วงหน้าแล้ว
ขยับก่อนทุกข์ซะอีก
เดี๋ยวนานกว่านี้เจ็บ
ตัณหาเขาชอบโสมนัส
อย่างน้อยอุเบกขาก็ยังดี
จึงต้องมาฝึกสติดีๆ ให้รู้เท่าทัน
เหยียดคู้ แลเหลียว
ไม่งั้นจะไปทำตามตัณหาหมด
ไม่รู้อะไรเลย
ลักษณะตัณหาจะไปเกาะที่ใดที่นึงที่เขาชอบใจ
ไปเกาะเป้าหมาย
จะไปห้องน้ำไปรู้อีกที
อ่าว อยู่ในห้องน้ำแล้ว
ไม่เห็นตัวเอง ตัวหาย
ไม่เห็นเหตุปัจจัย
ไม่ฝึกไม่มีทางเห็น
พอเริ่มเห็นก็จะทนได้
ที่จะไม่ทำตามตัณหาในทันที
กิเลสเข้ามาบางทีเศร้าละ
เศร้านี้คือทำตามตัณหา
ตัณหาเขาไม่ชอบสิ่งไม่ดี
แต่ถ้าเท่าทันกิเลส
ก็โอ้ว นี่กิเลสมานะ
มาได้ยังไง เฝ้าดูไปเรื่อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น