วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อีก 6 ข้อ ทางปฏิบัติให้ถึงความเป็นสมณะ

อนูปวาโท (การไม่กล่าวว่าร้าย)
การเว้นวจีทุจริต
คำพูดไม่มีประโยชน์ทั้งหลาย

อนูปฆาโต (เว้นการกระทำทางกายที่ไม่ดี)

จะเห็นว่าท่านใช้กายกับวาจานำมาก่อน
ศีลเบื้องแรกให้ดี

ปาติโมกฺเข จ สํวโร
เป็นการฝึกทางใจ
เรียกว่าฝึกสตินั่นแหละ

สํวร คือการปิดกั้นกิเลสทางทวาร
หมายถึง ลักษณะของ "จิต" ที่โดนรักษาด้วยสติ
สติเป็นนายประตู

ไม่ใช่ห้ามคิด
ความคิดก็เกิดจากเหตุปัจจัย
ให้รู้เท่าทัน

คิดอย่างนี้แล้วอาการทางกายเป็นยังไง
เฝ้าดูไปเรื่อยๆ
อภิชฌา โทมนัสเข้ามาตอนไหน

ปาติโมก ที่นี้หมายถึง ศีลที่เป็นหลักเป็นฐานที่จะพาไปถึงความพ้นทุกข์
เป็นศีลที่เกิดในจิต
เป็นระบบไตรสิกขา

แต่อยู่ๆ จะมาเป็นศีลในจิตไม่ได้
ถ้าไม่ผ่านการฝึกกาย-วาจามา

พอฝึกไปนานเข้าก็จะละเอียดขึ้น
เริ่มรู้เท่าทันนามรูปของตนเอง
เป็นญาณปัญญาที่เกิดขึ้น

เช่น

มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
รู้ประมาณในการบริโภค

ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ
จิตก็จะน้อมไปในเนกขัมมะ
ไม่ต้องใช้เหยื่อล่อจิต
การอยู่ในที่นอนที่นั่งอันสงัด
ปนฺตํ (สงัด)
สยนํ (ที่นอน)
อาสนํ (ที่นั่ง)

เมื่อน้อมไปในความสงัด
จิตก็ตั้งมั่น
อาธิจิตฺเต จ อาโยโค

นี่เป็นลักษณะการทำฌานแบบมัชฌิมาปฏิปทา
คือต้องฝึกสติมาก่อน
เวลาไปทำสมาธิจะได้ไม่หลงสมาธิ

สมาธิ ถ้าไม่มีสติก็จะมีสองอย่าง
ไม่หลับ ก็ฟุ้งซ่าน

ไม่ใช่ว่ารักษาศีลเป็นข้อมา
แล้วมานั่งสมาธิ
อันนั้นยังไม่ใช่
อย่างดีก็สงบได้นิดๆ หน่อยๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น