วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อธิบายญาณโดยสภาวะ

เห็นการเกิดดับโดยการเทียบนามรูปเก่า กับนามรูปใหม่
เมื่อกี้รูปยืน ตอนนี้รูปนั่ง
เมื่อกี้พอใจ ตอนนี้ไม่พอใจ
เทียบเมื่อกี้ กะตอนนี้ เรียกว่า สัมมสน
ก็เรียกว่าเห็นไตรลักษณ์ แต่ไม่เห็นไตรลักษณ์ปัจจุบัน
ยังไม่เป็นวิปัสสนาแท้

เห็นการเกิดขึ้นและดับไปต่อหน้าต่อตา (เทียบภาษาแขก อุทยพฺพยญาณ)
วิปัสสนาแท้เริ่มที่นี่

เห็นเหตุ เห็นปัจจัย (นามรูปปัจจยปริคหญาณ)
คือเห็นแบบว่าตามดู แล้วเป็นความรู้สึกขึ้นมา
ว่ารูปไม่ใช่เรา เป็นความรู้สึกขึ้นมาในใจ
ดูต่อไป เห็นอาการทางจิตไม่ใช่เรา
โกรธ โลภ หลง ไม่ใช่เรา
เกิดแล้วดับไป

ส่วนที่เห็นว่ารูปก็ไม่ใช่เรา นามก็ไม่ใช่เรา
ความเห็นอย่างนี้เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ
เป็น นามรูปปริจเฉทญาณ
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจว่า โอ้ว รูปมันเดินนิ
แต่เดิมมันเป็นเราเดินไปนั่นไปนี่
มันหลายเป็น โอ้ว รูปมันเดิน

ทีนี้พอดูไปเรื่อยๆ ความรู้ก็จะมากขึ้น
ว่านามรูปมันเกี่ยวข้องกันอยู่
ส่วนใหญ่จะเห็นว่า นามสั่งรูป

เช่น นั่งนาน ปวด จิตจะบอก โอ้ย ลุกหน่อย
ได้ยินเสียงแปลกๆ จิตสั่ง ช่วยเห็นหน่อย
จะเริ่มไม่เห็นรูปลอยๆ ละ
จะเริ่มเห็นว่า รูปที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนั้น มาจากจิตมันสั่ง
เรียกว่าเห็นนามเป็นปัจจัยแก่รูป

หรืออาจจะเห็น นามเป็นปัจจัยแก่นาม
เช่น สบายใจจัง สงบ เราก็ชอบความสงบ
ก็รู้ว่าโอ้ว ความสงบ เป็นปัจจัยแก่ความชอบ
มันเป็นความรู้สึกขึ้นมาในใจ

ฝึกมากๆ จะเห็นนามรูป เป็นปัจจัย กันและกัน
เช่น ตาเวลามันจะทำงาน
คือตานี่มันไม่ได้อยู่เที่ยง มันเกิดดับ
แต่ตอนแรกมันจะดูเหมือนเที่ยง
ตามันจะทำงานเป็นจักขวายตนะ
มันก็มีรูปมากระทบ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น
อันนี้เรียกว่ารูปเป็นปัจจัยแก่นาม

ผู้ที่มาถึงญาณเห็นเหตุเห็นปัจจัยนี้
ก็จะหมดความสงสัยเรื่องชาติที่แล้ว ชาตินี้ ชาติอนาคต
จึงเรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ

ถ้าตามดูขึ้นไป
จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความไม่หลง
โดยเห็นทั้งรูปทั้งนามนั้นชั่วคราว
เบื้องต้นจะเป็นการเทียบก่อน

เช่น เมื่อกี้รูปนั่ง ตอนนี้รูปยืน
เมื่อกี้ไม่ได้คิด ตอนนี้แว้บไปคิด
อันนี้เรียก สัมมสนญาณ

จิตมันเทียบเอง คล้ายๆ จะคิดเอา
แต่ก็ไม่ใช่คิด
หรือจะเรียกคิดก็ได้ แต่ไม่ใช่คิดแบบเรานั่งคิด
จิตมันไปหยิบมาเทียบเอง

ช่วงสัมมสนญาณนี้
จะเกิดความคิด หรือความรู้แปลกๆ ขึ้นมาเยอะ
เรื่องของเรื่องมักหลง "องค์ความรู้" มากกว่า "การรู้"
หลงสังขาร

คือจิตมันเที่ยวเปรียบเทียบนั้นนี้ได้
ชักคิดว่าตัวเองเก่ง
ดังนั้น ถ้าปฏิบัติแล้วรู้สึกตัวว่าเก่งขึ้น
รีบๆ โยนทิ้งทะเลไป

ให้สนใจแค่การรู้ ไม่ต้องสนใจองค์ความรู้

ถ้าตามดูไปอีก
จะรู้ว่ามันไม่มีวิธีอื่นหรอก
นอกจากฝึกสติสัมปชัญญะ ตามรู้นามรูป

ตามดูไปอีก
จิตจะเริ่มหมดความสงสัย
มีอะไรขึ้นก็แค่ดูเท่านั้น ไม่มีวิธีอื่น
เรียก มัคคามัคคญาณทัสนะวิสุทธิ
เกิดความรู้ขึ้นมาว่าอะไรใช่ทาง
อะไรไม่ใช่ทาง

ไม่ใช่ทาง ก็คือหลงทำนั่นทำนี่
ส่วนทางก็คือ ดูเฉยๆ

จิตก็จะเริ่มเป็นปัจจุบัน
คือเห็นเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ตรงนี้เรียกอุทยพฺพยญาณ
ญาณทัสสนะวิสุทธิ ก็คือช่วงนี้

เห็นนามรูปเกิดดับต่อหน้าต่อตานี่จะไม่เป็นเรื่องละ
แต่ช่วงแรกนี่จะยังมีเรื่องอยู่ มีการเทียบบ้างอะไรบ้าง

เห็นเกิดดับๆ ไปเรื่อยๆ
จิตจะเริ่มยอมรับความจริงว่า ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งได้
เกิดแล้วดับเหมือนกันหมด

แต่เดิมที่เคยคิดว่าจะรักษากุศลไว้นานๆ
ก็จะเลิกคิดแระ

แต่เดิมที่เคยอยากจะละอกุศล
พวกบู๊ล้างผลาญ
หาอะไรมาถล่มอกุศล
เห็นอย่างนี้ก็เลิก
ก็มันเกิดแล้วดับเหมือนกัน
ไม่รู้จะแสวงหาวิธีมาดับทำไม

เฝ้าดูไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นแต่เกิดดับ
แล้วก็ ดับ ดับ ดับ...ไป
ไม่มีอะไรเป็นสาระสำคัญ

จิตก็จะเกิดความเบื่อหน่าย

ถ้าเราเฝ้าดูไปเรื่อยๆๆๆๆ
จิตก็จะเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย
สังขารุเปกขา

เห็นบ่อยเข้า
ก็เห็นลึกขึ้น
ไม่ใช่ไม่เห็นญาณต้นๆ แล้ว ก็ยังเห็นแต่ลึกขึ้นๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น