วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

จิตตานุปัสสนา

ไม่ใช่ตามดูจิตตัวจริง
แต่ตามดู "อาการของจิต"

เรียกว่าดู เจตสิก
แต่ก็ไม่ใช่เจตสิกเดี่ยวๆ เป็นกลุ่มเจตสิก
คือปรุงแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เป็นอาการของกลุ่มเจตสิก

คือเวลารู้สึกๆ นี่
มันรู้สึกเป็นกลุ่ม อันไหนชัดก็รู้สึกถึงอันนั้นแหละ
หรือไม่ชัดก็รู้ว่ามันไม่ชัด

เท่านี้ก็พอ
เพราะมันก็เกิด-ดับเหมือนกัน
ชัดก็เกิดดับ
ไม่ชัดก็เกิดดับ

จิตตานุปัสสนาเหมาะกับปัญญาไม่มาก

ปัญญามากน้อยมาดูที่ เห็นช่วงกิริยาจิตหรือเปล่า

จิตแบ่งเป็น 2 ช่วง

ช่วงรับรู้อารมณ์ธรรมดา
เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสตามธรรมดา
ภาษาอภิธรรมเรียกจิตนี้ว่า "วิบากจิต" หรือ "กิริยาจิต"
เป็นการรู้อารมณ์บริสุทธิ์ธรรมดา

ช่วงเกิดอาการ
มัวๆ บ้าง
อยากยึดไว้บ้าง
อยากผลักไสบ้าง
อยากตะครุบไว้
วูบวาบๆ อยู่ข้างใน
อันนี้เรียก "ชวนจิต"
ตัวกุศล - อกุศล
อยู่ที่ชวนจิต

ถ้าปฏิบัติไปแล้วเห็นจิตไปทางตา ทางหู ได้เลย
อันนี้เป็นการเจริญธัมมานุปัสสนา

จิตตานุปัสสนานี้เป็นการดูธัมมารมณ์
ดูอาการของจิต
เช่น อาการตะครุบไว้
เมื่อดูลึกๆ ลงไปจะสามารถเห็น โลภเจตสิก ได้

แต่ที่เห็นทีแรกๆ จะยังไม่ใช่
ยิ่งใส่คำพูด "นี่โลภะ" อันนี้ห่างไกล






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น