จ (อนึ่ง)
น สมาจเร (ไม่พึงกระทำ)
ขุทฺทํ (ซึ่งสิ่งที่ไม่ดี)
กิญฺจิ (เล็กๆ น้อยๆ / อะไรๆ เลย)
บอกจุดปลอดภัย
หมายถึง จุดที่เป็นปกติ
ไม่ถูกกิเลส อภิชฌา โทมนัสเข้าทำร้าย
สิ่งไม่ดีแม้เล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่พึงกระทำ
เวลาที่จิตเป็นปกตินี้
เรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์
จุดเริ่มต้น
ไม่ส่งจิตออกไปให้โดนครอบงำในอารมณ์
ถ้าไม่ฝึกสติมาดีๆ มาตั้งแต่ต้น
ข้อนี้จะทำไม่ได้
มโนทวารนั้นเร็วมาก
นกมูลไถหลงถิ่นโดนเหยี่ยวคาบไปอยู่เร่ื่อย
เวลาจิตคิดไม่ดี
เราดูเหมือนเราไม่เป็นอะไรมาก
แต่จริงๆ เวลาไปที่ๆ มีโจรเยอะๆ
เดินก็ไม่ปลอดภัย วันดีคืนดีก็มาปล้น มาฆ่าเรา
จิตเราเหมือนอยู่ในดงโจร
คือ รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์ มาครอบงำ
กิเลสเข้ามาร้ายกว่าโจรอีก
โจรปล้นเงินทอง หาใหม่ได้
ตายตอนนั้น กิเลสนี่พาไปอบายเลย
ที่รู้สึกไม่หนัก เพราะอวิชชามันบอก
เชื่อได้ที่ไหน อยู่กับมันมานาน
เลยรู้สึกไม่ร้ายแรง
เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุํ
เยน (ด้วยการกระทำอันใด)
วิญฺญู (ผู้รู้ทั้งหลาย)
ปเร (เหล่าอื่น)
อุปวเทยฺยุํ (ตำหนิ ติเตียน)
วิญฺญู ในที่นี้หมายถึง ผู้รู้จริง คือ พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าติเตียนอะไร เราก็ไม่ควรกระทำ
ต้องฝึกจิตให้ได้อย่างนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น