สุขิโน วา เขมิโน โหนฺตุ
สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
จงเป็นผู้มีความสุขกาย สุขใจ
เป็นเมตตากรรมฐานอย่างย่อ
(สัพเพ สัตตา) นี้เป็นสภาวะจิตอัปณา คือไม่แบ่งแยกใครๆ
ถ้าเอาตามสูตรนี้
เป็นสมถยานิก
โดยใช้กรรมฐานเป็นเมตตาภาวนา
คำต่อจากนี้ เย เกจิ ปานภูตตฺถิฯ
เป็นคำอธิบายแยกแยะหมู่สัตว์
= = = = =
เย เกจิ (ทุกๆ จำพวก)
ปานภูตตฺถิ
ปาน ภูตา (สัตว์มีลมปราณ) อตถิ (มีอยู่)
ตสา (ผู้สะดุ้ง)
สัตว์ที่มีความสะดุ้ง
สะดุ้งเป็นชื่อของตัณหา
ตัณหาเยอะ สะดุ้งเยอะ
มีอะไรหล่นสะดุ้งเยอะมั้ย
โดยพื้นฐานของตัณหาต้องการจะเจอสิ่งดีๆ
เวลาเดินไปเจออะไร เช่น ถังขยะ
ความไม่พอใจเกิดทันที
เวลาเดินไปคุยกับใคร
ตัณหาวางกรอบไว้แล้ว
ต้องคุยกับฉันดีๆ นะ
ไม่ใช่เราคิดหรอก
แต่ตัณหาคิดเอาไว้แล้ว
ที่เห็นเป็นรูป เป็นความคิด การกระทำ
ขันธ์ 5 ทั้งหมดนี้
เป็นปรากฏการณ์เท่านั้น เป็นผลเท่านั้นเอง
ไม่ใช่ตัวจริงของตัณหา
ขันธ์ 5 นี้มาจากปฏิจจฯ ฝ่ายเกิด
ต้นมาจากอวิชชา
ผู้ให้โอกาสแก่อวิชชาแล้วเดินสายาตามอวิชชาคือสมุทัย
มันซ้อนอยู่อย่างนี้
หน้าที่จึงฝึกสติให้มากๆ ให้รู้ทัน
การฝึกนี้เริ่มจากฝึกรู้หยาบๆ ก่อน คือตัวทุกข์
ทุกข์นี่ปรุงมาเรียบร้อย
หน้าที่คือดูเฉยๆ ไม่มีหน้าที่อื่น
ไม่ต้องทำอะไร สมุทัยปรุงมาให้เสร็จไปแล้ว
ตัวสมุทัยแท้ๆ อยู่ลึกมาก
ต้องฝึกสติให้มากๆ
เวลาอยากจะพูด
อย่าเพิ่งพูด
ดูความอยากก่อน
อยากกิน
อย่าเพิ่งกิน
ดูต่อมน้ำลายก่อน
ไม่มีหรอก "โทษทีนะ เมื่อกี้ไม่ทันคิด"
มันคิดจนพูดออกมาได้แล้วยังว่าไม่ได้คิด
อันนี้มันไม่รู้เรื่อง
ก่อนมาเป็นความคิดนี่เขาปรุงมาเรียบร้อย
สมุทัยก็อยู่ที่่จิตนั่นล่ะ
ต้องหาเขาให้เจอ เขาอยู่ลึกมาก
จะเห็นภพชาติครั้งนึงที่ปรุงขึ้นมา
กระแสอวิชชาไหลไปตามนิมิต ในรูป ในพยัญชนะนี่แหละ
ถ้าไหลไปแล้ว
ท่านว่า ให้เอาอะไรแทงตาดีกว่า
แทงแค่เจ็บตา
เอาตาไปเห็น เกิดอภิชฌา โทมนัส
นี่พาไปอบายได้เลย
ถาวรา (ผู้ที่มั่นคง)
ผู้มั่่นคงสูงสุดคือพระอรหันต์
เราก็ต้องฝึกไป
เห็นแล้วไม่กระเพื่อม
ได้ยินแล้วไม่กระเพื่อม
เห็นสักว่าเห็น
ยินสักว่ายิน
อนวเสสา (ที่เหลือ)
คือที่เหลือจาก ตสา กะ ถาวรา
ทีฆา (สัตว์ตัวยาว)
มหนฺตา (สัตว์ตัวใหญ่ เขาว่าตัวใหญ่สุดคือ อสุรินทราหู ที่อมพระจันทร์)
มัชฌิมา (ตัวกลางๆ)
รัสสกา (ตัวสั้นๆ)
อนุก (ตัวเล็ก)
ถูลา (ตัวกลมๆ)
ทิฏฐา (คนที่เราเคยเห็นแล้ว)
อทิฏฐา (คนที่ไม่เคยเห็น)
วสนฺติ (ย่อมอยู่)
ทูเร (ไกล)
อวิทูเร (ไม่ไกล)
ภูตา (สัตว์ผู้เกิดเรียบร้อยแล้ว)
มีความหมายหลายนัย
หมายถึง พระอรหันต์ก็ได้
เกิดเสร็จเรียบร้อย ไม่ต้องเกิดอีก
สัมภเวสี (สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด)
สมฺภว (ที่เกิด) + เอสี (แสวงหา)
ผู้ที่ยังต้องเกิดอีก
คือที่ไม่ใช่พระอรหันต์ เรียกว่ายังเกิดไม่เสร็จ
ปโร (คนหนึ่ง)
น นิกุพฺเพถ (ไม่ควรหลอกลวง)
ปรํ (อีกคนหนึ่ง)
นาติมญฺเญถ (ไม่ควรดูหมิ่น)
น + อติมญฺเญถ
กิญฺจิ (ซึ่งใครๆ)
กตฺถจิ (ในที่ไหนๆ)
นํ เป็นศัพท์เกินให้ลงคาถา
ทุกขมิจเฉยฺย
ทุกขํ + อิจฺเฉยย (ปรารถนา)
นาญฺญมญฺญสฺส
น + อญฺญมญฺญสฺส
ไม่พึงปรารถนา ซึ่งความทุกข์ แก่กันและกัน
พยาโรสนา (เพราะอำนาจของความโกรธ) ก็ดี
ปฏีฆสัญญา (เพราะอำนาจของความแค้น/ความโกรธเก่า) ก็ดี
สัญญา จะออกรูปมาในแบบความคิดเก่าๆ
ความคิดที่เนื่องกับอดีต เป็นอาการของสัญญา
= = = = =
ต่อไปแสดงอุปมา ว่าให้รักสัตว์ทั้งหลายเหมือนอะไร
มาตา (มารดา)
เอกปุตฺตํ (บุตรคนเดียว) + อนุรักฺเข (พึงรักษา โอบอุ้ม ดูแล)
นิยํ ปุตฺตํ (บุตรที่เกิดแต่ตนเอง)
อายุสา (ด้วยชีวิต)
มานสํ (ซึ่งสภาวะที่อยู่ในจิต ในที่นี้คือเมตตา) + ภาวเย (พึงเจริญ)
อปริมาณํ (โดยไม่มีประมาณ) หมายถึง ไม่เลือกสัตว์
สพฺพภูเตสุ (ในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง)
เอวมฺปิ (แม้ฉันนั้น)
นี่เป็นสภาวะจิตอัปณา คนทั่วไปทำไม่ได้
มานสํ (ซึ่งสภาวะที่อยู่ในจิต ในที่นี้คือเมตตา) + ภาวเย (พึงเจริญ)
เมตฺตญฺจ
สพฺพโลกสมึ (ในโลกทั้งหลายทั้งปวง)
คือที่ไหนบ้างล่ะ...
อุทฺธํ (ข้างบน)
อโธ (ข้างล่าง)
ติริยํ (ตรงกลางๆ)
เจริญไปอย่างไรล่ะ...
อสมฺพาธํ (ไม่คับแคบ)
อเวรํ (ไม่มีเวร)
อสปตฺตํ (ไม่มีความเป็นข้าศึก)
ปกติจิตที่ไม่ได้ฝึกจะคับแคบ
เห็นแต่เรา และสิ่งที่เนื่องด้วยเรา
อะไรจะมากระทบก็มองเป็นศัตรูไป
มีตัวเองให้รักษาเยอะ
ไม่ยอมผิด
ต้องถูกอยู่เรื่อย
ชีวิตเลยปัญหาเยอะ
หาอะไรมาป้องกัน
ไม่มีอะไรให้ป้องกัน ไปป้องกัน
ทำแบบนี้ได้มีแต่อวิชชาแหละ
ปัญญาที่ไหนจะทำกัน
มาช้า...ก็ต้อง "รถติด" ซะหน่อย
= = = = =
ต่อไปแสดงอิริยาบถผู้ปฏิบัติ
ติฏฺฐญฺจรํ
ติฏฐํ (ยืน) + จรํ (เดิน เคลื่อนไหว)
นิสินฺโน (นั่ง)
สยาโน (นอน)
สรุปอิริยาบถไหนก็ได้
เอาที่เหมาะ
ไม่ให้ง่วงเป็นใช้ได้
ง่วงก็เปลี่ยนอิริยาบถ
ที่ต้องการจริงๆ คือบริหารกรรมฐานสติให้มันเป็นไปได้
ยาวตสฺส (ความที่บุคคลนั้น)
วิคตมิทฺโธ (ปราศจากความง่วง)
เอตํ (อันนั้น คือสติที่เป็นไปกับเมตตาภาวนา)
สตึ (สติ)
อธิฏเฐยฺย (พึงตั้ง)
สติต้องตั้งเอา
ตั้งไม่เป็นไปฝึกตั้ง
คนตั้งสติไม่ขึ้นเขาเรียกว่าคนหลับ
ต้องตั้งให้มันตื่น เป็นพุทธะ ขึ้นมา
โดยมากปกติก็หลับอยู่กัน
อยู่ในไหน
ก็ในโลกที่สร้างขึ้นนั่นล่ะ
เราเป็นอย่างนี้ ชื่อนี้ มีทรัพทย์อย่างนี้ อยู่ในโลก matrix
โลกของความฝัน
โครงสร้างของเวลา
เอาอนิจจังมาทำโครงสร้าง จริงๆ ไม่มีเวลาหรอก
มันรู้สึกปลอดภัยในโลกที่ตัวเองสร้างขึ้น
อัตตาเขาบอกมา
ลองดูพ่อแม่สิ
ยังทุกข์หรือเปล่า
เขาทำอย่างที่เขาบอกเราแหละ
พฺรหฺมเมตํ วิหารํ (เป็นเครื่องอยู่อันประเสริฐในศาสนานี้)
พฺรหมํ + เอตํ
อิทมาหุ
อิท + อาหุ (ผู้บรรลุธรรม)
ฝึกให้มีเครื่องอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม
ให้มีบ้านไว้
= = = = =
ต่อไปกล่าวถึงปัญญา
ทิฏฐึ อนุปคมฺม (ข้ามพ้นทิฏฐิ)
อนุปคมฺม (ไม่เข้าไปในนั้น)
ถ้าไม่ได้เจริญวิปัสสนา
เวลาโกรธ กลายเป็นเราโกรธ
เวลาได้ฌาน กลายเป็นเราได้ฌาน
ไม่ต่างกันหรอก
แต่ถ้ามาเจริญวิปัสสนา
จะเห็นเป็นเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป
เป็นทุกขสัจอันหนึ่งเท่านั้น
แต่ถ้ายึดสิ่งที่ดับไป คือความคิดนั่นแหละ
มิจฉาทิฏฐิไม่ได้เลือกสิ่งที่ยึด
มิจฉาทิฏฐิเป็นที่ "ตัวยึด"
ไม่เกี่ยวว่าวัตถุนั้น ดีหรือไม่ดี
แต่อาการยึดนี่ไม่ดี ตัวยึดนี่ไม่ดีทั้งนั้น
ถ้าไม่ปล่อยก็จะแรงขึ้นทุกวัน
ไม่ไปเถียงเขา
ก็เวลาโดนเขาวิจารณ์ก็เหมือนโดนแทงมา
เวลาเรียนแล้วรู้สึกว่า "เอออันนี้ถูก โอ้อันนี้ดี"
ก็ดูไป ว่าตอนนี้คิดอย่างนี้
ปล่อยให้มันดับไป ก็เท่านั้น
เราเรียนมา ฟังมา จึงเกิดความคิดอย่างนี้ขึ้น ก็ธรรมดา
สัมมาทิฏฐิเวลาแปลนี่ แปลเป็น "ความเห็นถูก"
ฟังดูเหมือนว่าน่าจะไปเอาสิ่งที่ถูกนะ
จริงๆ ...
ความเห็นถูก ไม่ได้แปลว่าจะต้องไปยึดสิ่งที่ถูก
สัมมาทิฏฐิจริงๆ ถึงจะแปลว่าความเห็น แต่ตัวสภาวะเป็นความรู้ เป็นญาณ
ไม่ใช่ความเห็น (ความเห็นเป็นความคิด)
สัมมาทิฏฐิที่แท้จะรู้ทุกขสัจ
รู้ว่าเป็นสังขารธรรมยึดไม่ได้
รู้ว่าสมุทัยควรละ
รู้ในความหมดทุกข์
รู้ในหนทาง
ใจที่ไหลไปแปะในรูปเสียงกลิ่นรส
นี่ก็เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยคแล้ว
เพราะลืมดู นามรูป
ลืมดู กายใจ
ลืมดู กาย เวทนา จิต ธรรม
ไหลไปตามเสียงในหัวนี่ก็ กามสุขัลลิกานุโยค
พอไม่ไปอย่างนี้
ก็ไปแปะกับอันใดอันนึง
ก็เป็นอัตถกิลมถานุโยคไป
ไม่เข้าไปในรูป ไม่เข้าไปในนาม
เป็นเพียงคนดูรูป ดูนามเปลี่ยนแปลง
เฝ้าดูไปเรื่อยๆ
จะเห็นแต่แขกหน้าเดิมๆ
สิ่งที่เป็นฐานการรองรับทุกข์คือ
ความเห็นว่ามีตัวตน (อัตตวาทุปาทาน)
อัตตวาทะ เพราะมีแต่คำพูด มีแต่เสียงในหัวที่บอกว่ามีเรา
และก็ไปยึดมันด้วย
ตามมันไป ก็เป็นกามสุขัลลิกานุโยค
มันจะบอกอะไรก็ไม่ต้องไปสนใจมัน
เสียงในหัวเป็นความคิด เป็นบัญญัติเท่านั้นเอง
ทำนองแบบ "น่าจะเป็นอย่างนี้"
นี่ล่ะ ความเห็น
ความเห็นคือเสียงในหัวเรา
เวลาเห็นตามความเป็นจริง
จะไม่มีความคิดตัวเอง
เรียนมากๆ แล้วไปปฏิบัติ
จะมีผู้ช่วย...
ผู้ช่วยให้ช้า
นี่น่าจะเป็นนั่น นั่นน่าจะเป็นนี่
ความคิดที่ช่วยให้ช้ามี 3 อัน
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ความรู้คือความรู้
ความคิดคือทิฏฐิ
ความรู้มันสมบูรณ์เบ็ดเสร็จในตัวเอง
ไม่ต้องให้อะไรมาช่วยคิด
มองความเป็นจริงโดยไม่ใส่แว่นความคิดเข้าไป
(ถ้าข้ามทิฏฐิเหล่านี้เสียได้
ข้ามความคิดออกไปได้)
สีล ทสสเนน สมฺปนฺโน
ก็คือสัมมาทิฏฐิ
กล่าวถึงพระโสดาบัน
กาเมสุ (ในกามทั้งหลาย)
วิเนยฺย (พึงละ)
เคธํ (ซึ่งเยื่อใย)
อันนี้ก็กล่าวถึงพระสกทาคามี/อนาคามีที่สูงขึ้นไป
น (ย่อมไม่)
หิ
ชาตุ
คพฺถเสยยํ (สู่การนอนในครรภ์)
ปุนเรติ
ปุน (อีก) + เอติ (ถึง/ไป)
จิตที่ปัญญาอบรมแล้วย่อมพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
สิ่งทีพ้นจริงๆ คือจิตที่พ้น
ปกติคือจิตไม่มีอะไร
ที่ไม่ปกติ คือ...
ความจำ
ความคิด สังขาร
ที่จิตมีหลายประเภท หลายดวง ได้ชื่อมาเยอะ
เพราะแยกตามเวทนาบ้าง ญานที่เข้าประกอบบ้าง แยกตามสิ่งที่มาปรุงแต่ง
ฉะนั้นเวลาจิตพ้น
ก็พ้นจากสิ่งเหล่านี้
รู้ตามความเป็นจริงก็ไม่ยึดมั่นในสิ่งที่มาปรุงแต่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น