วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

มหานัย 20 (วีสติมหานโย)

 มหานัย 20 (วีสติมหานโย)


เป็นการพูดถึงโลกุตตรจิต มีนัยในการพูด 20 อย่างด้วยกัน

คือความหมายเดียวกันนั่นเอง (คือถ้ารู้คำพวกนี้ เราก็จะไม่ล็อกในการใช้คำ คือมันใช้คำไหนก็ได้ ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์)


โลกุตฺตรํ ก็หมายถึงว่า ...ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์


1. โลกุตตรํ ฌานํ

2. โลกุตตรํ มคฺคํ

3. โลกุตตรํ สติปฏฐานํ

4. โลกุตตรํ สมฺมปฺปธานํ

5. โลกุตตรํ อิทฺธิปาทํ

6. โลกุตตรํ อินฺทฺริยํ

7. โลกุตตรํ พลํ

8. โลกุตตรํ โพชฺฌงคํ

9. โลกุตตรํ สจฺจํ

10. โลกุตตรํ สมถํ

11. โลกุตตรํ ธมฺมํ

12. โลกุตตรํ ขนธํ

13. โลกุตตรํ อายตนํ

14. โลกุตตรํ ธาตุํ

15. โลกุตตรํ อาหารํ

16. โลกุตตรํ ผสฺสํ

17. โลกุตตรํ เวทนํ

18. โลกุตตรํ สญฺญํ

19. โลกุตตรํ เจตนํ

20. โลกุตตรํ จิตฺตํ

วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

28/10/66

จิตเหมือนเหนื่อยมาหลายวัน เหมือนตั้งแต่กลับจากหลวงตาคราวก่อน
เห็นความ "ตั้งรู้" "จะต้องรู้" "ไม่ยอมถอน"

ประกอบกับความเหนื่อยหน่ายที่นั่งทบทวนอยู่ทุกวันว่าทำอะไรอยู่เนี่ย
เป็นตัณหาที่วนไปวนมา แบบ pin point ไม่ได้ 

จนไปนอนแล้วบอกกับตัวเองว่าขอหลับหน่อยเถอะ 
เหมือนไม่ได้นอนมาเป็นเดือนแล้ว
ภายในมีการยื้อยุดจะเอานิพพานแบบไม่ประเจิดประเจ้อ
แต่เหนื่อย

ในฝัน
เด็กน้อยคนหนึ่งไม่ยอมข้ามฟากไปฝั่งโน้น
บอกไม่จบชาตินี้หรอก

ใจตอบ
ไม่เป็นไร

แล้วความเหนื่อยที่ติดมาเป็นเดือน
ก็ถูกสละออก
ไม่สนใจนิพพานไม่นิพพานอีกต่อไป

อิสระและสันติก็คืนมา

การเอาธรรมะมาใช้ในชีวิตจริง?

 การเอาธรรมะมาใช้ในชีวิตจริง?

มันไม่ใช่การเอามาใช้ในชีวิตจริง

แต่เป็นเหตุการณ์ในชีวิตจริงที่เจอแล้วเคยไม่เข้าใจ กลับเข้าใจขึ้นมา และไม่รังเกียจไม่ได้ผลักไสปรากฏการณ์

NbN

หลุดแล้วค่อยรู้ รู้อยู่ไม่หลุด

หลุดแล้วค่อยรู้ รู้อยู่ไม่หลุด

มันจะต้องไปสุดของมัน สุดหลงจึงสิ้นหลง

แต่ตอนฝึกๆๆๆ ไป ไม่เห็นหรอกว่ามันจะหลุดอย่างไร

ไม่เห็นรอยต่อ จะไปขอให้เห็น ก็จะคาอยู่อย่างนั้น

วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ว่าด้วยผ้า

  • ความยาวจีวรที่เหมาะสม ความสูง + 30 เมตร (เกิน 5 ปัดขึ้น, ต่ำกว่า 5 ปัดลง) ปกติความสูงชายได้สัก 2.5 เมตรกำลังดี, ถ้า 1.8 เมตร มักจะต้องให้เณรใช้
  • ผ้ามัสลิน ใส่สบาย
  • ส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่พระใหม่จะไม่ได้ใช้ทั้งไตร มักใช้แค่อังสะ, สบง, จีวร (พวกผ้ารัดเอว, ผ้ารับประเคน ไม่ค่อยได้ใช้) 
  • อังสะคือที่คล้ายๆ เสื้อกล้าม ถ้าเป็นซิปตอนนอนจะเจ็บ มี 4 กระเป๋ากะลังดี

วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2566

สวดมนต์

คือการทบทวนสิ่งที่ได้เข้าใจแล้ว

ไม่ใช่การท่องบ่นคำที่ไม่มีความหมาย

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566

โลกนีติ

 แม้นมีความรู้ดั่ง     สัพพัญญู

ผิบ่มีคนชู                    ห่อนขึ้น 

หัวแหวนค่าเมืองตรู    ตาโลก

ทองบ่อรองรับพื้น       ห่อนแก้วมีศรี ฯ

วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ลูกศรของพญามาร ๕ ดอก

สัมโมหนา ลูกศรทำให้ลุ่มหลง

อุมมารนา ลูกศรทำให้บ้าคลั่ง

โสสนา ลูกศรทำให้เหี่ยวแห้งเศร้าซึม

ตาปนา ลูกศรทำให้เร่าร้อน

ถัมภนา ลูกศรทำให้แข็งทื่อ


มโนภู = ผู้ครอบครองจิต หมายถึง พญามาร

สิ่งที่ประชันความงามกับพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า หาใช่ดวงจันทร์
แต่เป็นฉัตรของพญามาร

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566

นิสัยผู้หญิง

22/9/66

ความอิจฉา

ทำให้พิจารณาอะไรไม่ตรงกับเป้าหมาย 
มีความอิจฉานี้คอยแฝงและครอบงำอยู่ตลอด
แทนที่จะพุ่งตรง โฟกัส กลับคิดหน้าคิดหลัง
คิดทุกเรื่องที่ไม่จำเป็น ไม่เกี่ยวข้อง และ unhealthy 

เพราะความไม่รู้ + ทุกขเวทนาในแง่ใดแง่หนึ่ง จึงจับจ้อง
เพราะจับจ้อง จึงเปรียบเทียบ
เพราะเปรียบเทียบ จึงอิจฉา
เพราะอิจฉา จึงถูกครอบงำ
เพราะถูกครอบงำ จึงไม่พิจารณา
เพราะไม่พิจารณา จึงปัญญาดับ
เพราะปัญญาดับ จึงไม่รู้ 

วนไป

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566

คุณทั้ง 10 ของบทประพันธ์

1. ปสาทคุณ ประดับให้มีความชัดเจน


ลำดับของบทใด งดงามด้วยสัมพันธ์ที่วางไว้ไม่ไกลกัน เป็นลำดับแห่งบทอันมีเนื้อความปรากฏชัดดี ลำดับแห่งบทนี้ ยังปสาทคุณให้เกิดในชน

(คือบทที่เกี่ยวข้อง วางไว้ใกล้กัน ไม่วางซะไกล ไม่ข้ามไปข้ามมา จบเป็นตอนๆ เนื้อหาไป)


2. โอชคุณ (ประดับให้มีรสชาด)


ใส่บทสมาสเยอะชื่อว่ามีรสชาติ สมาสอันไม่สับสนเป็นที่น่าปรารถนาทั้งในร้อยแก้วและร้อยกรอง 


คชฺช ร้อยแก้ว

ปชฺช ร้อยกรอง

ธวลา สีขาวนวล

ปลฺลวา ใบไม้อ่อนท.


วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

表白台词

 若喜欢你

便要让你放弃你想做的事

那不叫真正的喜欢


灼华若你也喜欢我

就让我陪着你

你不嫁

我不娶

就这样走完一世

好吗?


让我陪着你

看你做你喜欢的事

不是所有的陪伴

都必须用夫妻的名义

灼华你觉得可好?


灼灼风流 23

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2566

กุศโลบายในศีลปานาติบาต

สมาธิที่จะเป็นไปเพื่อความหมดกิเลสนั้นต้องขึ้นต้นด้วยศีล
ตั้งใจมั่นในการปฏิบัติในศีล 5 ข้อ

หลักตัดสินว่าผิดถูก
มองในหลักศีล 5
การละกิเลสด้วยความตั้งใจ

กิเลสในจิตใจนี่ละไม่ได้ เด็ดขาด
แต่กิเลสที่จะล่วงเกินทางกายวาจานี่ เราสามารถละได้โดยเจตนา

การใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์

กิเลสก็เหมือนไฟ โทษมหันต์ ถ้าใช้เป็นก็คุณอนันต์
เลี้ยงเอาไว้ให้กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นในการกระทำความดี
ความดีอะไรก็ได้ แม้แต่ความดีในการครองชีพในฐานคฤหัสถ์

เช่น อยากรวย
ก็เอาศีล 5 มาตีกรอบกิเลส
ใช้กิเลสให้ตรงกติกา ขยันแต่ไม่คดโกง
พระพุทธเจ้าไม่ได้ตำหนิว่าขี้โลภ

ปานาติบาต

ยังไม่ต้องทำความเข้าใจถึงว่าเป็นการห้ามฆ่าสัตว์ทุกประเภทเอาไว้ก่อน
ให้ทำความเข้าใจง่ายๆ ว่า
ท่านมุ่งที่จะห้ามมิให้มนุษย์ฆ่ากัน เบียดเบียนกัน ข่มเหง รังแกกัน
ทำความเข้าใจเพียงแค่นี้ก่อน

ทีนี้ก็พยายามให้งดเว้นตามกฏนั้นๆ อย่างจริงจัง
เมื่อมนุษย์เว้นจากการฆ่า ข่มเหง รังแกกันได้อย่างเด็ดขาด
โดยวิสัยสัญชาตญาณของมนุษย์ย่อมเป็นผู้มีจิตใจสูง
เมื่อเว้นจากความเบียดเบียนมนุษย์ได้โดยเด็ดขาด
อิทธิพลของความเมตตาก็ย่อมแผ่คลุมไปถึงสัตว์ได้
ในที่สุดสัตว์เดรัจฉานก็ฆ่าไม่ได้

แก้ความหนักใจ
รักษาโรคบางอย่างก็มีตนตัวเช่นโรคพยาธิ
จะกังวลว่าทำบาป

พระเป็นโรคพยาธิ ไปขอยาหมอ
ถ้าพระนั้นตั้งใจจะฉันยาเพื่อฆ่าพยาธิในลำไส้ ถ้าตั้งใจอย่างนี้ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะฆ่า
ถ้าพระนั้นตั้งใจจะฉันยาเพื่อบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ โดยไม่มุ่งถึงสิ่งมีชีวิตที่มีตนมีตัว ก็พ้นจากอาบัติ

เช่นเดียวกัน
แพทย์ฉีดยาเพื่อตั้งใจว่าจะฆ่าหิดฆ่าเหา ก็เป็นบาป
แพทย์ฉีดยาเพื่อตั้งใจว่าจะบำบัดบรรเทาให้ผู้ป่วย ก็ไม่เป็นบาป
พระพุทธเจ้าก็อนุญาตทายารักษาหิดเหา แต่ไม่ได้อนุญาตให้ฆ่า

ไปแนะนำให้เขาปลูกหมอนสาวไหม
ถ้าสั่งให้เขาต้มไหมลงในหม้อ ก็เป็นบาป
ถ้าสั่งให้เขาปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ถ้าเขาเห็นประโยชน์เขาก็ทำเอง ถ้าไม่ได้แนะนำถึงขั้นให้เขาเอาไหมต้มลงไปในหม้อ

ลัทธิการไม่กินเนื้อสัตว์ เป็นการส่งเสริปานาติบาต?

ผู้ที่กินเนื้อสัตว์แต่ไม่มีความสงสัยแคลงใจใดๆ
ถือว่าเป็นของที่มีอยู่ประจำโลกแล้ว พ่อแม่ปู่ยาตายายเคยพากินยังไง ก็กินไปอย่างนั้น
เพราะเราไมไ่ด้ไปจับสัตว์เหล่านั้นมาฆ่าด้วยมือตน ถ้าวางใจอย่างนี้ก็ไม่เป็นบาป

แต่ถ้าทั้งๆ ที่เราไม่ได้ลงมือฆ่าเอง
แต่เราไปนึกสงสัยว่าการกินเนื้อสัตว์นี่มันเป็นการส่งเสริมปานาติบาต
ถ้าไปข้องใจอยู่อย่างนี้แล้วไปกิน ก็เป็นบาป

การงดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์เป็นเรื่องดี
ใครจะทำก็ทำได้ ไม่เสียหาย ไม่เป็นความผิด
แต่อย่าเอาข้อปฏิบัตินั้นไปเที่ยวข่มขู่คนอื่น

ถ้าเราเว้นจากการกินเนื้อสัตว์แล้วไปกล่าวคนอื่นว่า
เขาทั้งหลายที่ยังกินเนื้อสัตว์อยู่นั้นเป็นคนไม่ดี นี่เป็นคำหยาบ
ผรุสวาจาเป็นฉายาแห่งมุสาวาท

ถ้าตั้งใจทำความดีแล้วก็ตั้งใจความดีไป
อย่าเอาความดีไปเที่ยวข่มคนอื่น



วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2566

18-20 ส.ค.2566 / 2023 อสัทธา อธิษฐาน มานะ รู้ที่ใจ ละที่ใจ

19/8

ชี้ทักตัวแช่ เห็นตัวแช่ แต่ลต.ว่ายังยุ่งกับสังขารเอาเราไปรู้

20/8

ตอนเช้าตื่นนอนเพิ่งเห็นว่ามันมีความตั้งรู้ตามเข้าไปสังเกตตัวแช่ เหมือนจะเข้าใจขึ้นมาอีกนิด

ตอนทำวัตรเช้า
สวดมนต์ไปมันพิจารณาเรื่องนี้ มันถึงรู้ว่าเออมันไปตั้งรู้เข้า
มันเข้าใจผิดว่า "รู้" เป็นหน้าที่ เลยเข้าไปกระทำ
คือมันไม่ได้ใส่ใจเลยนะว่าอารมณ์จะขึ้นจะลง แต่มันใส่ใจว่า "จะต้องรู้"
แล้วมันก็มีเสียงบอกสอนในใจว่า ถ้ายังแล่นเข้าไปรู้อย่างนี้ แล้วสังสารวัฏจะจบได้ยังไง
น้ำตาร่วงเลย เออ เราเข้าใจธรรมผิดนะ

ก่อนฟังธรรม ก็เลยไปกราบพระองค์ขาว
บอกขอให้ใจเป็นธรรม ขอให้ธรรมสู่ใจ ขอให้ฟังรู้เรื่อง
ตอนไปกราบก็สังเกตนะ แม่ง ไม่ยอมถอนเว้ย

ก็รู้เรื่องและเข้าใจจริง (ในศาลา)
พอออกมา เออ แช่อีกละ 5555
แช่ไปส่วนใหญ่ระหว่างอยู่ในรถ ยังกะโดนผีอำ

ตอนค่ำพิจารณาคำว่า ศรัทธา กลับมาถึงบ้านกำลังคิดถึงเรื่องนี้
เมื่อพักสายตาจึงแสดงสภาพโอบล้อม ปิดหูปิดตามืดเลย
สังเกตว่ามันศรัทธาพระพุทธ พระธรรม มากกว่าพระสงฆ์
และเป็นเรื่องความไม่วางใจ และไม่อยากผูกพันจึงออกมารูปนี้ แม้เมื่อฟังอยู่ก็หลบ

ส่วนเรื่องศรัทธา ก็สังเกตว่ามันศรัทธาพระพุทธ พระธรรม มากกว่าพระสงฆ์
มันเลยทำตามบ้างไม่ทำตามบ้าง คือเรียกว่าถ้าไม่รู้กลไกที่ท่านให้ไปทำอย่างชัดเจนก็จะไม่ค่อยกระตือรือร้นจะทำ

หนูลองสังเกตใจดู มันยังไม่ตรงไปที่การถอน แต่แค่รับรู้ว่าตอนนี้สิ่งนี้ขวางอยู่
มันขึ้นมาว่าประโยชน์ของสิ่งนี้คืออะไรนะจึงไม่ถอน

21/8

เช้านี้เห็นตัวอธิษฐาน แต่ใจไม่ไปในทางจะถอน เพราะไม่รู้กลไก และไม่รู้ว่าสิ่งที่จะถอนคืออะไร
 รู้เพียงว่ามีสิ่งหนึ่งตั้งอยู่ ดูมันมีเจตจำนงค์ที่จะทำความเข้าใจ(เอง?) 

เมื่อเช้าได้ฟังไฟล์นึง
แว้บนึงเข้าใจเรื่องใจรู้ที่ลต.พูดถึง แล้วลต.บอกคนส่งการบ้านวันนั้นว่า ให้หมั่นทบทวนใจรู้นี่
ใจมันก็บอกขึ้นมานะ เออ ชาติมันสิ้นเพราะอย่างนี้นะ
มันรู้แล้วลับดับไปเลย สิ้นไปเลย
พระอรหันต์ท่านจึงไม่สงสัยว่าทำไมไม่เกิด มันไม่มีอะไรให้ไปเกิดเลย
อ่อ นิพพานเป็นอย่างนี้ สิ้นภพชาติเป็นอย่างนี้

22/8

ในสมาธิตื่นนอน ความตั้งรู้นี้นำไปสู่ความเกิดไม่สิ้นสุด

24/8

ดูอาการก็ยังแช่อยู่ มีความดิ้นผลักไสแบบเนียนๆ
รู้ว่าติดตั้งรู้ ก็จะแกล้งไม่รู้ (นี่ก็ตอแหลไปอีกแบบ เห็นมาหลายวันละ)

อาการทั้งหมด แสดงว่ามีความไม่ยอมรับ ติดข้องต้องการแสดงตัวอยู่
โดยเป็นอุเบกขาเวทนาทั้งหมด
การภาวนาจากนี้ไป คงอาศัยสังเกตเวทนาได้ยาก
การสังเกต คงต้องต้องไปที่พฤติกรรมจิตเลย


วันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2566

โทษของบทประพันธ์

วิโรโธตฺติ สุขา โลเก      สมคฺคา อุตฺติ ทุกฺกรา.
คำพูดขัดแย้ง ทำได้ง่าย คำพูดสมาน ทำได้ยาก ในโลก

ยํ กิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ      สํกิลิฏฺฐญฺจ ยํ วตํ
สํกสฺสรํ พฺรหฺมจริยํ     น ตํ โหติ มหปฺผลํ

การกระทำทุกอย่าง การกระทำเล่นๆ
ข้อวัตรที่มีความเศร้าหมอง
และพรหมจรรย์ที่มีความสงสัย
จะมีผลเพียงเล็กน้อย

โทษของบทประพันธ์ แบ่งเป็น โทษของบท, โทษของวากยะ, โทษของวากยัตถะ

โทษของบท มี 8

1. วิรุทธัตถันตรโทษ
ใช้บทที่มีเนื้อความขัดแย้งกับความต้องการของผู้เขียน ใช้ศัพท์ที่มีเนื้อความตรงข้ามกับจุดมุ่งหมาย (ใช้คำผิดเป้าหมาย)

2. อัธยัตถโทษ (อธิ + อัตถะ)
ใช้บทที่มีเนื้อความเกินพอดี ขยายเกินจริง ใช้ภาษาเกินความหมาย บทวิเสสนะไม่เหมาะกับวิเสสยะ
เช่น หิ่งห้อยตัวน้อยกระทำทิศทั้งปวงให้สว่างไสวแล้ว

3. กิลิฏฐโทษ
ใช้บทที่มีเนื้อความเศร้าหมอง คือพูดแล้วเข้าใจได้ยาก อึมครึม
ใช้ศัพท์ที่นักไวยากรณ์ตีความยาก
ใช้คำซ้ำเยอะเกินไป

4. วิโรธิโทษ
ใช้บทที่ผิดปกติ โดยสถานที่ กาลเวลา และศิลปะ เป็นต้น คือบอกข้อมูลผิด อ้างอิงข้อมูลไม่ถูก หรือผิดกาลเทศะ เช่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

5. เนยยโทษ
ขาดบทเหตุ คือพูดแต่ผล ไม่บอกเหตุ ทำให้เนื้อความคลุมเครือ จะต้องนำบทเหตุมาเติม จึงจะชัดเจน เช่น เห็นมั้ยๆ ในที่สุดมันก็โดนต่อยปาก

6. วิเสสนาเปกขโทษ
มองหาบทวิเสสนะไม่มี คนนี้เป็นใครไม่บอก เช่นบอกแต่ เก่งๆๆ เป็นมายังไงก็ไม่บอก

7. หีนัตถโทษ
บทเนื้อความแย่ๆ ใช้บทขยายไม่เหมาะ ทำให้ด้อยค่า เช่น เจ้าอาวาสนี่เป็นงานทุกอย่างแต่ไม่เสร็จสักเรื่อง
ทำวิเสสยะให้ต่ำเช่น พระอาทิตย์ขึ้นมาทำให้แสงหิ่งห้อยจางไป (คือพระอาทิตย์ยิ่งใหญ่กว่านั้นเยอะ)

8. อนัตถโทษ
ใช้เนื้อความไม่มีความหมายเยอะไป

โทษของวากยะ 9

1 เอกัตถโทษ
ใช้ความเนื้อความซ้ำกันเยอะไป เช่น เอาเงินของข้าพเจ้าไปซื้อของให้ข้าพเจ้าหน่อย

2. ภัคครีติโทษ
ผิดลำดับสรรพนาม

3. พยากิณณโทษ
อ่านแล้วเวียนหัว วกไปวนมา

4. คามมโทษ
ใช้ภาษาชาวบ้านเกินไป หยาบโลน อีนั่นอีนี่

5. ยติหีนโทษ
ผิดยติ (ตัดคำผิด) ผิดฉันทลักษณ์ เช่น นะโมตัด สะภะคะวะโต

6. กมัจจุตโทษ
กล่าวผิดลำดับ เช่น สมุปบาทปฏิจจ

7. อติวุตตโทษ
ใช้ความหมายคลาดเคลื่อนจากความจริงที่ชาวโลกเขารู้กัน เช่น เรียกยาว่าอาหาร เรียกอาหารว่ายา

8. อเปตัตถโทษ
ไม่รวมเนื้อความพิเศษไว้ด้วยกัน ทำให้ข้อความกระจาย อ่านแล้วไม่รู้เรื่องว่าวิเศษทางไหนกันแน่ ตกลงเก่งทางไหนเนี่ย

9. พันธผรุสโทษ
ใช้คำกระด้าง ใช้ธนิตอักษรมากไป ใช้แล้วภาษากระด้าง

โทษของวากยัตถะ (โทษของเนื้อความของประโยค)

1. อปักกมโทษ
จัดลำดับเนื้อความก่อนหลังผิด เช่น ท่านควรจะรักษาศีล ควรให้ทาน

2. โอจิตยหีนโทษ
ขาดความเหมาะ อวดมากเกินไป เช่น พระฉันนะอวดคุณวิเศษว่า พวกท่านไม่รู้อะไร ถ้าไม่มีข้าพเจ้านะ พระพุทธเจ้าไม่ได้ออกบวชหรอก

3. ภัคครีติโทษ
ผิดวิภัตติ ใช้วิภัตติอย่างหนึ่ง ไปมุ่งเอาอีกอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาฉัฏฐีไปใช้เป็นกรรม แต่ไปอยู่กับธาตุที่มันใช้ไม่ได้ เช่น ในคำถวายข้าวพระพุทธ ใช้ผิดข้อนี้
...พุทธสฺส ปูเชมิ เขาบูชาซึ่งข้าว ด้วยพระพุทธเจ้า
(จริงๆ มันต้องเป็นฉัฏฐี ในอรรถกรณะ) อันนี้แปลแล้วเสียความ เรียกว่าผิดภัคครีติ
จะแปล บูชาแด่ ก็ไม่ได้ เพราะปูช ธาตุ ใช้กับ แด่ ไม่ได้ มันต้องใช้กับ ซึ่ง...ด้วย... (เช่นใน อิมินา สักกาเรน พุทธํ อภิปูชยามะ อันนี้ถูกต้องเป๊ะ ข้าพเจ้าของบูชาซึ่งพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะ อันนี้สามารถผันเป็นฉัฏฐีวิภัตติได้ เป็น อิมัสสะ สักการัสสะ ตํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ เป็นต้น)
ไม่เหมือนคำว่านอบน้อม อันนั้นใช้ นอบน้อมแด่...ได้

4. สสังสยโทษ
โทษเพราะมีความสงสัย ใช้บทเข้าใจยาก เช่น ใช้ภาษากวีแล้วทำให้เข้าใจพุทธประสงค์ผิด

5. คามมโทษ
ใช้ภาษาหยาบเหมือนชาวบ้าน เช่น ขอนอบน้อมโยนีของพระนางสิริมหามายา (คือตั้งใจจะนอบน้อมสถานที่อุบัติของพระพุทธเจ้า ดันมาเลือกใช้คำนี้ ทำให้ตีไปหลายแง่ได้)

6. ทุฏฐาลังกติโทษ
ทำลายสัททาลังการะ และอัตถาลังการะ ภาษาก็เพี้ยน ตีความยิ่งเพี้ยน



วิญญาณฐิติ

 อานนท์ !

สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน มีอยู่ ; ได้แก่มนุษย์ทั้งหลาย, เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่หนึ่ง.

        ๒.อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันมีอยู่ ; ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องอยู่ในหมู่พรหมที่บังเกิดโดยปฐมภูมิสัญญาแห่งปฐมฌาน และสัตว์ทั้งหลายในอบายทั้งสี่สัญญาในอกุศลวิบาก : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สอง.

        ๓.อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกันกายผึ่งผายเหมือนกัน มีสัญญาต่างกันมีแต่วิจารบ้าง หรือไม่มีทั้งวิตกวิจารบ้าง มีอยู่ ; ได้แก่พวกเทพอาภัสสระ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สาม.

        ๔.อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกันงดงามเหมือนกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันสัญญาจตุตถฌานเหมือนกัน มีอยู่ ; ได้แก่ พวกเทพสุภกิณหะ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สี่. รวมถึงเทพเวหัผลาก็รวมอยู่ (บ้างไม่รวมสุทธาวาสเพราะถือว่าเป็นฝั่งวิวัฏฏะ)

        ๕. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ มีการทำในใจว่าอากาศไม่มีที่สุดดังนี้ มีอยู่ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่ห้า.

        ๖.อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ มีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุดดังนี้ มีอยู่ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่หก.

        ๗.อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ มีการทำในใจว่า อะไร ๆ ไม่มีดังนี้ มีอยู่ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่เจ็ด.

 

ก็เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีวิญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีวิญญาณก็ไม่ใช่ เพราะแม้วิญญาณละเอียดเหมือนความละเอียดของสัญญา เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวในวิญญาณฐิติแล้วกล่าวไว้ในอายตนะ (สัตตาวาส 9)

วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ศัพท์บาลี

อัจฉรา นิ้วมือ
อัฉริยะ คนที่เขาปรบมือให้

นัจจะ ฟ้อน (แต่ไม่รำ)
คีตะ (รำแต่ไม่ฟ้อน)

กล (เห็นส่วนหนึ่งไม่เห็นส่วนหนึ่ง)

ฝังตาฝังใจ (จิตใจจดจ่อ)
ไม่เอื้อเฟื้อ (ไม่ใส่ใจ)

ร้อยรจน์ (รจนา, แต่ง)

ไร้มลทิน (แจ่มแจ้ง, ความรู้ที่แจ่มแจ้ง, แจ่มใส)

บริหาร (แก้ไขโทษ)

มโนหรา (หร = จับ,นำไป. มโน = .ใจ) จับใจ, ลากใจไป

บัวมีไว้เพื่อประดับลำน้ำ
เมฆมีไว้เพื่อประดับท้องฟ้า
พระสุคตผู้ไปดีแล้วพระองค์ 
ทรงกระทำอยู่ซึ่งประโยชน์เกื้อกูล เพื่อประดับโลก

สมฺปาเทถ เธอจงยัง (กิจท.) ให้สำเร็จ
อปฺปมาเทน ด้วยความไม่ประมาท


ริมฝีปาก 4 ศัพท์
ทนฺตาวรณ คุ้มครองฟัน หมายถึง ริมฝีปาก
โอฏฺฐ ริมฝีปาก
อธร ให้อาหารหยุดอยุ่ชั่วครู่หนึ่ง หมายถึง ริมฝีปาก
ทสนจฺฉท ปกปิดฟัน หมายถึง ริมฝีปาก

วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ประโยชน์ของคัมภีร์

ชนผู้ไม่รู้คัมภีร์ จะจำแนกคุณและโทษได้อย่างไร
ความสามารถในการจำแนกรูปต่างๆ จะมีแก่คนตาบอดได้อย่างไร


การจำแนกคุณและโทษมีได้ด้วยคัมภีร์
ความผลุนผลันอะไรยิ่งกว่าการกระทำโดยปราศจากคัมภีร์มีอยู่หรือ


วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566

诀别信

阿娩得君爱护 
ข้าพเจ้าได้รับความรักจากท่าน

相随相伴几载
ให้ติดตามอยู่หลายปี

永刻于心
ข้าพเจ้ายังจดจำความเมตตาของท่านอยู่เสมอ

知君胸怀广大
รู้ว่าท่านนั้นมีปณิธานอันยิ่งใหญ่

令阿娩敬仰 骄傲
ข้าพเจ้านั้นศรัทธาและชื่นชม

又叫阿娩惶恐
ขณะเดียวกันก็ประหวั่น

君爱江湖喧嚣
ท่านนั้นชื่นชอบช่วยเหลือสังคม

爱武林至高
เห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

阿娩只能紧紧跟随君身后
ข้าพเจ้าได้เพียงแต่วิ่งตามท่านไปไม่ห่าง

疲惫不堪
อ่อนระโหย

君终如日光之芒
ท่านนั้นเปรียบประดุจแสงอาทิตย์เรืองรอง

何其耀眼夺目
เจิดจ้าแจ่มจรัสปานนั้น


หาก

谁人又和一直仰视日光
ใครเล่าจะสามารถเฝ้ามองดวงอาทิตย์ได้ตลอดเวลา

阿娩心倦
จิตใจข้าพเจ้านั้นอ่อนล้าเหลือเกิน

敬君却无法再伴君同行
จึงไม่อาจติดตามเคียงข้างท่านต่อไปได้อีก

无法再爱君如故
ไม่สามารถศรัทธาท่านได้ดังเดิม

以此信与君诀别
จึงขอใช้จดหมายนี้กล่าวอำลา

永祝君
ขอให้ท่านนั้น

身长健
สุขภาพแข็งแรง

岁无忧
อายุยืนนาน

还却平生所愿
สมปรารถนาทุกประการ
ตลอดไปเทอญ

阿娩留
จากอาเหมี่ยน

วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นแหละโลก

สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นแหละโลก
หากไม่มีอะไรเกิดเลย โลกก็ไม่มี

โลกจึงมีความหมายว่าสิ่งที่เกิดดับ
ทุกอย่างแต่ละหนึ่งเป็นโลกทั้งนั้น
เพราะเกิดขึ้นแล้วดับไป

แต่เร็วมาก เยอะแยะพร้อมกันไปหมด
จึงกลายเป็นภูเขา เป็นแม่น้ำ เป็นท้องฟ้า

ถ้าไม่ใช่แต่ละหนึ่ง
จะไม่เห็นการดับ
จะไม่เห็นการเกิด
เพราะจะเห็นแต่สิ่งที่มี

ฉะนั้นแต่ละหนึ่งเนี่ย
หนึ่งนี้ดับ
อีกหนึ่งนึงเกิด
และหนึ่งนั้นก็ต้องดับ

ถ้าตอบคำถามแล้วยังไม่ได้รู้ว่าไม่มีเขา
ก็แค่ตอบไป ให้เขารู้สึกว่ารู้เรื่อง
แต่ความเข้าใจธรรมก็ไม่ได้มีขึ้นเลย

พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว
ทรงแสดงธรรมให้เขาฟัง ให้เขาเข้าใจ
นั่นคือประโยชน์อย่างยิ่ง

ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าเขาไม่เข้าใจ
แต่เขาอยากรู้ตรงนี้
เราก็บอกให้เขารู้
แล้วเขาก็ไม่เข้าใจ
ก็จำไปเฉยๆ
จำได้หมดมันมีกี่อย่าง เป็นยังไงๆๆ แต่ก็เป็นเรา
ไม่ได้เข้าใจธรรม

ตราบใดที่ไม่สามารถประจักษ์ความเป็นธรรมทีละหนึ่ง
ก็ไม่สามารถที่จะละอุปาทานได้
ไม่สามารถละได้ด้วยความเข้าใจจากการฟัง (ถึงแม้จะเข้าใจถูก)

เนื่องจากฟังแบบนี้ ก็ยังคงเป็นเราฟัง
แต่เริ่มเข้าใจนิดๆ หน่อยๆ

จะมีประโยชน์อะไรที่จะเกิดมาแล้วก็ดับไป
และไม่กลับมาอีกเลย

ถ้ายังหาไม่เจอ
แม้จะได้ยินว่า "ทุกอย่างเป็นธรรมะ"
แต่กลับตอบไม่ได้ว่า แล้วเดี๋ยวนี้อะไรเป็นธรรมะ

ความรวดเร็วของธรรม
ขณะที่เห็น ไม่รู้ด้วยซ้ำ ยังบอกไม่ได้ว่าเห็นอะไร
เพียงรู้ว่ามีสิ่งที่ปรากฏ
ถ้าไม่มีการยึดถือในสิ่งที่เกิดแล้วดับ

เห็นคือปรากฏ ไม่เกิดไม่ขาดกว่านั้น
ไม่ใช่ว่าเห็นอะไร (อันนี้เป็นสิ่งที่สองที่เกินจากเห็นแล้ว)
การรู้ตรงทีละหนึ่งอย่าง นี้คือปฏิปัตติ

แต่แม้รู้ตรงทีละหนึ่งอย่าง
ก็ยังไม่ทันประจักษ์แจ้ง
เพียงแต่เริ่มค่อยๆ คลายความไม่รู้
จนถึงปัญญาถึงระดับขั้นที่จะประจักษ์ความจริงตามลำดับ
ที่เรียกว่า วิปัสสนา
ไม่ใช่ครั้งเดียวก็หลุดพ้นเลย

ความเยอะของทีละหนึ่ง

ตอนนี้กี่สี?
ฉะนั้นกี่เห็น?
กว่าจะรู้ว่าเป็นคิ้ว กว่าจะรู้ว่าเป็นจมูก
กี่เห็น?
กี่คิด?

ความเป็นเรานั้นหนาแน่นมาก
และมักจะมองหาแต่ประโยชน์
ชาวโลกก็แสวงหาประโยชน์แม้แต่จากการเข้าใจธรรมะ

แต่ถ้าเป็นคนตรง
"เพื่อเข้าใจ" เท่านั้น
อะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นธรรมะ
นี่ถึงจะได้ประโยชน์

คนที่รุ้ใจของคนที่ต้องการประโยชน์
ก็เอาสิ่งที่เป็นประโยชน์นี้ไปให้เขา
แล้วแต่ว่าจะให้มากน้อยแค่ไหน
"ไปฟังธรรมะแล้วสบายใจ" มันจะเริ่มด้วยแบบนี้

เพราะฉะนั้น คนจึงไม่ได้เข้าใจถึงคุณค่า
คิดแต่ว่า "จะได้สบายใจ" 
เพราะเขายังไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร
แต่ถ้ารู้แล้ว
จะเห็นถึงความลึก เหนียวแน่น เล่ห์กลสารพัดอย่าง

วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ตัวชี้วัดปัญญา

 สิ่งใดที่เกิดขึ้น เข้าใจหรือเปล่าว่าไม่ไม่ใช่เรา

วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

รัตนสูตร คำฉัน(ท์)

สมบัติ ณ หนไหน

สิริใดในเมืองแมน

จักเปรียบเสมอแม้น

พระตถาคตไม่มี

อันพุทธะรัตนะ

ประณีตะวิเศษศรี

ด้วยสัจวาจานี้

สวัสดีจงมีเทอญ

 

มละวิราคา

อมตาประณีตอัน

มุนิสักย์ ธ ทรงธรรม์

ตั้งมั่นละ ณ ฤดี

อันธรรมะรัตนะ

ประณีตะวิเศษศรี

ด้วยสัจวาจานี้

สวัสดีจงมีเทอญ

 

พุทธะพระประเสริฐ

วะระเลิศ ธ บอกตรัส

ผ่องใสสุจีรัตน์

ประจักษ์ชัด ณ ธรรมนี้

อนันตรีกา

สมาธิ์พาวิสุทธิ์ศรี

หาไหนเสมอมี

สมาธิ์นี้ไม่มีเลย

อันธรรมะรัตนะ

ประณีตะวิเศษเผย

ด้วยสัจวาจาเอ่ย

สวัสดีจงมีเทอญ

 

ใดใดบุคลา

สรรเสริญมาที่แปดคน

สี่คู่นับสองหน

ผู้ควรตนทักษิณา

สงฆ์ใดผู้หมดจด

เป็นสุคตสาวกา

ทานใดถวายมา

ย่อมมหัปผลามี

นื้สังฆะรัตนะ

ประณีตะวิเศษศรี

ด้วยสัจวาจานี้

สวัสดีจงมีเทอญ

 

สงฆ์ใดใฝ่ใจชอบ

เพียรประกอบกุศลใหญ่

มุ่งจะละโลกัย

ตามวินัยพระโคดม

พึงลุอมตะ

อันเขมะประสงค์สม

เสวยรส สะอุดม

นิพพา-นะสงบเย็น

นื้สังฆะรัตนะ

ประณีตะวิเศษเห็น

ด้วยสัจวาจาเช่น

สวัสดีจงมีเทอญ

 

กรรมเก่ามิได้ข้อง

ทั้งมิจ้องจองภพใหม่

เบื่อหน่ายละคลายใจ

พีชะใดไม่งอกเงย

เป็นปราชญ์ฉลาดผู้

รู้นิพพานว่าเสบย

ประทีปนะเพื่อนเอย

เมื่อแล้วลับก็ดับมี

นื้สังฆะรัตนะ

ประณีตะวิเศษศรี

ด้วยสัจวาจานี้

สวัสดีจงมีเทอญ

วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ปรับอินทรีย์กับผัดไท

ผัดไท : คิดยังไงให้เป็นอกุศล

เช่น

- น่าพอใจมั้ย                                                ประกาศถึงโลภะ

- ผัดตั้งแต่เมื่อไร ใครผัด ใช้อะไรผัดเนี่ย     ประกาศถึงปฏิฆะ

- หรือเฉยๆ ไม่พิจารณาอะไรสักอย่าง          ประกาศถึงโมหะ

ผัดไท : คิดยังไงให้เป็นกุศล

เอากรอบทาน ศีล ภาวนา มาจับคร่าวๆ 

ทาน
- เคยให้แบบนี้ไหม
- สิ่งนี้เราใช้คนเดียว หรือเราแบ่งให้ใครด้วย
- คิดจะให้ไหม

ศีล : วารีต
- มีสิ่งที่ควรจะงดเว้นอยู่ไหม
- ได้มาอย่างไร โดยไม่ผิดธรรมหรือไม่

ศีล : จารีต
- ปัจจเวกก่อนรึยัง

สมถะ
- พิจารณาอาหาเรฯ

กายานุปัสสนา
- พิจารณารูปเหล่านี้ไปบำรุงเลี้ยงกายที่ประกอบด้วยมหาภูตสี่

ประมาณการสัทธินทรีย์

        ถ้าทำอะไรแล้วพอใจมั้ย มีความสุขมั้ย มีฉันทะมั้ยที่จะทำอย่างนั้น ถ้าไม่มีไม่ค่อยเต็มใจทำมากนัก ทำไปแกนๆ ไม่ค่อยโสมนัส อันนี้เรียกว่าสัทธินทรีย์อ่อน

ประมาณการวิริยินทรีย์

        ส่วนทำอะไรก็ดีนะ แต่ทำไมไม่ค่อยต่อเนื่อง ทำมั่งไม่ทำมั่ง นึกอยากทำเมื่อไรก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ทำ หรือทำแล้วไม่คิดจะทำอีกเลย อันนี้วิริยินทรีย์อ่อน 

ประมาณการสมาธินทรีย์

        หรือบางทีทำไปไม่สงบ สังเกตมั้ยทำกุศลบางอย่างไม่สงบ ไม่ค่อยสบายใจมากนัก อันนี้เรียกว่าสมาธินทรีย์อ่อน

ประมาณการปัญญินทรีย์

        ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พิจารณาอะไรบ้าง มีความเข้าใจอะไรบ้างในขณะที่กำลังทำ สะท้อนปัญญินทรีย์

ส่วนหน้าที่ของสตินั้น...

  1. การอ่านสภาวะตัวเองออกว่าตอนนี้เป็นแบบนี้ๆๆ นี้เป็นกิจของสติ
  2. และสติยังดูอีกว่าถ้าปล่อยแบบนี้ไปบ่อยๆๆๆๆ อะไรจะเกิดขึ้น
  3. สติยังวินิจฉัยว่าอาการแบบนี้ต้องใช้ธรรมอะไรมาเกื้อกูล มารักษา มาประคองให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

ให้รู้ว่าที่ใดใช้คำว่าสติ ที่นั่นต้องมีสัมปชัญญะด้วยแล้ว

ในอรรถกถาท่านอธิบายว่าสติที่ไม่มีสัมปชัญญะไม่สามารถทำกิจของตนได้

สติเป็นตัวมาอาวัชชนะว่าอะไรขาดอะไรเกิน 

เหมือนนักชิม กินผัดไทไปคำนึงก็รู้ว่าต้องเติมอะไร เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม

คนที่เก่งพิจารณากุศลนี่ก็เหมือนนักชิม

พอกุศลเกิดขึ้นปุ๊บเขารู้เลยว่าอะไรขาด

เพียรน้อยไป? ฟุ้งมากไป? หรือสักแต่ว่าทำไปเฉยๆ 


ทีนี้ถ้าจะให้ศรัทธามากขึ้นล่ะ ทำยังไง นี่ก็เป็นกิจอย่างหนึ่งของสติ

แล้วดูด้วยว่าข้อมูลอะไรที่จะมาพร้อมบริบูรณ์ให้มาเจริญอย่างนั้นได้ นี้ก็เป็นกิจของสติ

สติจึงเป็นตัววินิจฉัยแยกแยะ 

ทั้งนี้ถ้าเรียนไม่พอ ก็ไม่รู้จะเอาอะไรมาพิจารณาอีกนั่นแหละ 

คือจะบอกว่าเหมือนพระฉันอาหาร เค็มหน่อย จืดหน่อยก็ฉันไปอย่างนั้น

แต่การบริหารกุศลจิตต้องไม่ปล่อยตามยถากรรมอย่างนั้น ต้องบริหารปรุงแต่งกันอย่างเต็มที่

เพราะกุศลธรรมเหล่านี้เป็นพรหมจรรย์ เป็นสิ่งที่จะต้องประพฤติ จะต้องตกแต่ง จะต้องพิจารณาให้อย่างดี


รู้จักฉลาดในนิมิต

คือฉลาดในอารมณ์ของกรรมฐาน คือน้อมไปเสมอๆ ว่าในอารมณ์นั้นๆ เนี่ยเจริญอะไรได้บ้าง

 ถ้าเจริญพรหมวิหารก็ให้ฉลาดในพรหมวิหาร

  • เช่น ถ้าจะเจริญเมตตา คิดอย่างไรให้สัตว์ทั้งหมดนี่เป็นปิยมนาปสัตว์ (น่ารักน่าพอใจเหมือนกันหมด) ฉลาดที่จะมองว่าเขามีส่วนที่น่าพอใจอยู่ อยากให้เขาได้สบายๆ อย่างเราบ้าง
  • หรือเจริญกรุณา คิดให้ออกว่าทุกคนมีส่วนที่น่าสงสาร
  • หรือเจริญมุทิตา คิดให้ออกว่าทุกคนเขามีดีอยู่ในตัวเขา มันจะต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นความดีในตัวเขา
  • หรือเจริญอุเบกขา คิดว่าเขาก็มาตามกรรมของเขา เราก็ไปตามกรรมของเรา แต่ข้อนี้ไว้ได้ฌานที่สามค่อยมาเจริญ
ถ้าเจริญอสุภะก็ให้ฉลาดในเจริญอสุภะ คิดยังไงให้ปฏิกูล

ถ้าฉลาดในกสิณ น้อมไปเห็นอะไรบ้างไม่ใช่กสิณไม่มี
  • เห็นผล ก็นีลกสิณ
ถ้าฉลาดในการให้ทาน
  • เห็นอะไรก็น้อมไปในทางให้ทาน ซึ่งคนอื่นอาจคิดไม่ถึง เช่น เออ ถ้าตรงนั้นสว่างหน่อยนะ คนนั้นคงจะเห็นชัดขึ้น
  • บางคนให้ทานมีภาพแค่ ใส่บาตร อย่างเดียวจบ
ถ้าฉลาดเรื่องศีลกุศล
  • แต่ละอย่างเป็นนิมิตให้เจริญศีลได้อย่างไร ให้ผิดศีล หรือให้รักษาศีลตรงไหนได้บ้าง
ฉลาดประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง
  • สมัยที่ควรประคองก็คือ สมัยที่เกือบหลับ เช่น อ่านพระไตรปิฎกไปเริ่มหรี่ลงๆๆ 
  • เหมือนทำกับข้าวต้องคอยดูไฟ
  • เร่งเจริญธัมมวิจย ปีติ วิริยะสัมโพชฌงค์ 
  • หรือบางทีก็ไม่ได้ง่วง แต่แบบจิตซึมๆ ไม่ต้องการทำอะไร อยากจะเฉยๆ ไม่อยากคิดอะไร ให้รีบเอาอริยสัจมาคิด พิจารณาสังเวควัตถุ
  • ถ้าไม่แก้ สมาธิไม่ตั้งมั่นแน่นอน 
  • แต่ถ้าง่วงๆ อยู่ไปเจริญสมาธิ เช่น กำหนดลมหายใจ ไม่กี่ครั้งหลับสนิทรับรอง
4 7 11 11 7 11 5

ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม

  • ก็ข่มในสมัยฟุ้งซ่าน
  • ปล่อยจิตให้ฟุ้งไปก็ทำอุทธัจจะให้เจริญขึ้น นิวรณ์เจริญ ปัญญาก็ดับ
  • เวลาพูดมากๆ ก็มักจะฟุ้ง ก็จะเหนื่อย ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้ใคร่ครวญเอาไว้ก่อน หรือไม่ชำนาญ โดยมากก็ไม่โสมนัส การเป็นพหูสูตร หรือการซ้อมช่วยได้ ซักซ้อมในกรรมฐาน ฝึกเอาไว้จนชำนาญ น้อมไปเพื่อพูดถึงสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ปัญหา แต่ก็มีอีกอย่างที่ถึงรู้ แต่ไม่พร้อมจะพูดก็พูดไม่ได้
  •  
มีปัญญาร่าเริง
  • ถ้าปัญญาไม่ร่าเริง การแล่นไปในอารมณ์ต่างๆ ค่อนข้างจะเหนื่อย
  • การพูดก็เหมือนกัน ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้ใคร่ครวญเอาไว้ก่อน หรือไม่ชำนาญ โดยมากก็ไม่โสมนัส



วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566

นั่งดูสัทธัมมปฏิรูปในสมอง

อ่านพระสูตรนั่งดูสัทธัมมปฏิรูปในสมอง

สิ่งที่อ่าน : 

เมื่อบุคคลยึดถือกรรมเก่าเป็นแก่นสาร ว่าทำให้เกิดสุขทุกข์
ความพอใจ หรือความพยายามในการ(พิจารณาเลือก)ว่ากิจนี้ควรทำหรือไม่ควรทำย่อมมีไม่ได้
แสดงว่าเป็นพวกสติฟั่นเฟือน

สิ่งที่จำและเข้าใจ : 

เมื่อบุคคลยึดถือกรรมเก่าเป็นแก่นสาร
ความพอใจ หรือความพยายามในการทำสิ่งที่สร้างสรรย่อมเป็นไปไม่ได้

***

เมื่อบุคคลยึดถือเป็นแก่นสารว่าตัวเองทำตัวเอง ทำให้เกิดสุขทุกข์
ความพอใจ หรือความพยายามในการ(พิจารณาเลือก)ว่ากิจนี้ควรทำหรือไม่ควรทำย่อมมีไม่ได้
แสดงว่าเป็นพวกสติฟั่นเฟือน (ที่แยกแยะสิ่งง่ายๆ แค่นี้ไม่ได้ มองว่าการฆ่าสัตว์เป็นสิ่งที่ควร)

***

สิ่งที่จำและเข้าใจสรุป : 

เมื่อบุคคลไม่ถือเหตุไว้โดยความเป็นแก่นสาร
ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีย่อมฟันเฟือน
แยกแยะไม่ได้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ
อะไรควรเกี่ยวข้อง อะไรไม่ควรเกี่ยวข้อง

真实是因为他懒 พูดไม่คิดเพราะขี้เกียจ

 你说话真的真实

但你不真诚

区别在于

真实就是 你看到的是怎样

你就不假思索地把它说出来


真诚

是在把事实说出来的基础上 

在注重别人的感受到基础上

结合起来 呈现出来的效果


真实是必要的

真诚更重要


你为什么会情商低

之所以情商低

其主要原因是因为他懒


什么事情不过脑子 不假思索

马上就说出来了

那是小孩的行为


小孩虽然直率

那是因为他没有经过二次加工


他没有在脑海去想

这句话说出去

是否对彼此的关系有伤害


甚至你没有作为一个男人

作为婆媳之间的双面胶

去主动经营这层关系


说真话太容易了

倒是真诚

注意对方的感受

去努力经营一段关系

有一种尊重似的那种人情话

反而难说


当然也不能过头 过头很油滑

你就是纯属懒

你就不过脑子

就直接说出去


我赞同你的真实

但是要注重对方的感受

与其真实不如更真诚一些


×××

东西虽然美好

但是它不一定成就你的幸福

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ปาปณิกสูตร 1-2 จะไปต่อได้ยังไง

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เวลาเช้าไม่อธิษฐานสมาธินิมิตโดยเคารพ

เวลาเที่ยงไม่อธิษฐานสมาธินิมิตโดยเคารพ

เวลาเย็นไม่อธิษฐานสมาธินิมิตโดยเคารพ

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย---ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้

เป็นผู้ไม่ควรจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ

หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น

****

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุดีอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย  นี้ทุกข์นิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างนี้แล ฯ

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม

เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างนี้แล

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เธอเข้าไปหาภิกษุ ผู้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา

ตามเวลา แล้วไต่ถาม สอบสวนว่า ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้อย่างไร

ความแห่งพระพุทธพจน์นี้อย่างไร

ท่านเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยธรรมที่ยังไม่เปิดเผย

ย่อมทำธรรมที่ยังมิได้ทำให้ตื้นแล้วให้ตื้น

และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความสงสัยมิใช่น้อยแก่ภิกษุนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างนี้แล

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล

ย่อมถึงความเป็นผู้มากมูนไพบูลย์ในกุศลธรรมทั้งหลายไม่นานเลย ฯ


วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เก็บคำ

 世界上最伟大的人是

政治家和上帝

上帝的伟大是能够把混乱变成有序

而政治家为上帝展示才华提供的机会


现状不可描述

未来无法预测

一切皆有可能

วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

มีตนส่งไปแล้ว

 มีตนส่งไปแล้ว


บาลีว่า ปหิตตฺโต


ปหิต แปลว่า ส่งไป ไปแล้ว ตั้งขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ตั้งไว้อย่างถูกต้อง ในลักษณะว่าจะมุ่งตรงไปสู่จุดหมายถ่ายเดียว ไม่มีย้อนกลับมา ไม่หวนกลับสู่ความเป็นอย่างเดิมอีกต่อไป ทำใจแล้วว่าจะไม่กลับมาเป็นอย่างเดิมแล้ว (เป็นชื่อของวิริยะที่สมบูรณ์แล้ว)


ตัวศัพท์ เป็นลักษณะของ การตั้ง

ตั้งใจ หรือตั้งมุมมอง กล้าหาญบากบั่น กล้าที่จะออกจากชีวิตเดิมๆ จากความปลอดภัย ความคุ้นเคย ความเป็นอยู่เดิมๆ 


ต้องเตรียมกุศลเยอะๆ จึงจะดันตูดไปได้จนข้ามเขตโลกิยะไป จิตมันก็เป็นตามอารมณที่มันรู้ 


คำว่า มีตนส่งไปแล้ว นี่ก็พูดถึงตอนจะข้ามเขต


ตน ในที่นี้ก็คือ จิต

สภาวะต่างๆ คุณธรรมทั้งหมดในจิต เป็นตัวส่งไป


คำนี้ท่านจะใช้สำหรับผู้ที่เจริญสมถะวิปัสสนาชั้นสูงมา ที่ความพร้อมเต็มที่ที่จะมุ่งไปนิพพานถ่ายเดียว ไม่กลับมาอีก คือพวกก่อนถึงโคตรภูหน่อยนึง เรียกว่า มีตนส่งไปแล้ว มักใช้กับคุณธรรมของผู้ที่ออกไปอยู่ผู้เดียว หรือหลีกออกจากหมู่


คำพวกนี้จะเป็นคำ pattern

เอโก วูปกฏฺโฐ อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต

หลีกไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่


อีกที่นึงที่ปรากฏคำนี้คือ 12 ขั้นตอนที่จะทำให้บรรลุ/ตั้งอยู่ในอรหัตตผล (อญฺญาราธนา)

ปหิตฺตโต เป็นข้อที่ 12


ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้

  1. (สทฺธา) เมื่อศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้ 
  2. (อุปสงฺกมน) เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้
  3. (ปยิรุปาสนา) เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง
  4. (โสตาวธานํ) เมื่อเงี่ยโสตลง แล้วย่อมฟังธรรม
  5. (ธมฺมสวณํ) ครั้นฟังธรรม ย่อมทรงธรรมไว้ (ทรงจำ)
  6. (ธมฺมธารนา) ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงไว้แล้ว
  7. (อตฺถุปปริกฺขา) เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ
  8. (ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺติ) เมื่อธรรมทน ความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด (เข้าใจจนเห็นชัดว่าธรรมกับสิ่งที่ฟังมันอันเดียวกัน)
  9. (ฉนฺโท) เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
  10. (อุสฺสาโห) ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
  11. (ตุลนา) ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
  12. (ปธาน) เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้ง บรมสัจจะนั้น ด้วยปัญญา


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี .... การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร (เล่ม 13 ข้อ 238)


ปหิตฺตโต อยู่หลังสุด คือพร้อมแล้ว จะส่งตนไปนิพพาน

วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

คำว่า สัมมา

 คำว่า สัมมา (โดยชอบ)


อธิบาย 3 ประเด็น

- ทำให้มีนิพพานเป็นอารมณ์ได้

- ทำให้ละกิเลสได้

- ทำให้ทุกข์ไม่มี ทุกข์ไม่เกิดได้

มีตนส่งไปแล้ว

มีตนส่งไปแล้ว

บาลีว่า ปหิตตฺโต

ปหิต แปลว่า ส่งไป ไปแล้ว ตั้งขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ตั้งไว้อย่างถูกต้อง ในลักษณะว่าจะมุ่งตรงไปสู่จุดหมายถ่ายเดียว ไม่มีย้อนกลับมา ไม่หวนกลับสู่ความเป็นอย่างเดิมอีกต่อไป ทำใจแล้วว่าจะไม่กลับมาเป็นอย่างเดิมแล้ว (เป็นชื่อของวิริยะที่สมบูรณ์แล้ว)

ตัวศัพท์ เป็นลักษณะของ การตั้ง

ตั้งใจ หรือตั้งมุมมอง กล้าหาญบากบั่น กล้าที่จะออกจากชีวิตเดิมๆ จากความปลอดภัย ความคุ้นเคย ความเป็นอยู่เดิมๆ 

ต้องเตรียมกุศลเยอะๆ จึงจะดันตูดไปได้จนข้ามเขตโลกิยะไป จิตมันก็เป็นตามอารมณที่มันรู้ 

คำว่า มีตนส่งไปแล้ว นี่ก็พูดถึงตอนจะข้ามเขต

ตน ในที่นี้ก็คือ จิต

สภาวะต่างๆ คุณธรรมทั้งหมดในจิต เป็นตัวส่งไป

คำนี้ท่านจะใช้สำหรับผู้ที่เจริญสมถะวิปัสสนาชั้นสูงมา ที่ความพร้อมเต็มที่ที่จะมุ่งไปนิพพานถ่ายเดียว ไม่กลับมาอีก คือพวกก่อนถึงโคตรภูหน่อยนึง เรียกว่า มีตนส่งไปแล้ว มักใช้กับคุณธรรมของผู้ที่ออกไปอยู่ผู้เดียว หรือหลีกออกจากหมู่

คำพวกนี้จะเป็นคำ pattern

เอโก วูปกฏฺโฐ อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต

หลีกไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่


อีกที่นึงที่ปรากฏคำนี้คือ 12 ขั้นตอนที่จะทำให้บรรลุ/ตั้งอยู่ในอรหัตตผล (อญฺญาราธนา)

ปหิตฺตโต เป็นข้อที่ 12


ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้

  1. (สทฺธา) เมื่อศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้ 
  2. (อุปสงฺกมน) เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้
  3. (ปยิรุปาสนา) เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง
  4. (โสตาวธานํ) เมื่อเงี่ยโสตลง แล้วย่อมฟังธรรม
  5. (ธมฺมสวณํ) ครั้นฟังธรรม ย่อมทรงธรรมไว้ (ทรงจำ)
  6. (ธมฺมธารนา) ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงไว้แล้ว
  7. (อตฺถุปปริกฺขา) เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ
  8. (ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺติ) เมื่อธรรมทน ความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด (เข้าใจจนเห็นชัดว่าธรรมกับสิ่งที่ฟังมันอันเดียวกัน)
  9. (ฉนฺโท) เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
  10. (อุสฺสาโห) ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
  11. (ตุลนา) ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
  12. (ปธาน) เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกายและย่อมแทงตลอดเห็นแจ้ง บรมสัจจะนั้น ด้วยปัญญา


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี .... การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร (เล่ม 13 ข้อ 238)


ปหิตฺตโต อยู่หลังสุด คือพร้อมแล้ว จะส่งตนไปนิพพาน

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

กุศลเล็กน้อยเจริญก็จงดีใจ

กุศลเล็กน้อยเจริญก็จงดีใจ
อกุศลเล็กน้อยละได้ก็จงดีใจ

อย่าไปคิดจะแตกฉานเหมือนพระสารีบุตร
อย่าไปคิดจะทรงจำเหมือนพระอานนท์
เหลียวซ้ายแลขวา ความดีของคนทุกอย่างอยากให้มารวมอยู่ในตัวเรา

ลองคิดดู เอาก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ แกงไก่ ของหวาน ขนมเค้ก มารวมกัน
มันจะกลายเป็นอะไร?

เราศึกษาความดีของผู้อื่น
เพื่อเอามาเป็นเยี่ยงอย่าง 
แล้วสมาทานไปบ่อยๆ

ฉะนั้น คนที่ขยันตั้งบ่อยๆ คนนั้นเจริญที่สุด
สมาทานบ่อยๆ คิดบ่อยๆ
อย่าเบื่อในการริเริ่ม (อารัพภะ = การริเริ่ม)

โยนิโสมนสิการให้มาก
จะเป็นอาหารให้วิริยะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ทำให้วิริยะที่เกิดแล้วไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นไป

ให้กำลังใจตัวเองบ่อยๆ ตั้งใจบ่อยๆ สมาทานบ่อยๆ 

การศึกษาที่ดี
ควรเจริญกุศลไปด้วยกัน

การศึกษาใดที่กุศลไม่เกิด
แม้กระทั่งการฟังธรรม เช่นนั้นแล้วไม่น่าเรียกว่าฟังธรรม

อย่าเรียนพระไตรปิฎก เพื่อทรงพระไตรปิฎก

ทรงจำพุทธพจน์ได้แม้เพียงคาถาเดียว
ถ้าปฏิบัติจนเห็นสัจจะได้
ทรงชมว่าเป็นพหูสูตร

แต่ถ้าท่องได้ทั้งพระไตรปิฎก
แต่เจริญไม่ได้
ทรงเรียกเถรใบลานเปล่า

เราทั้งหลายศึกษามากหรือน้อย
เอาให้มันตรงสาระของชีวิต

ทำยังไงให้มันเห็นเป็นไตรสิกขา
ทำยังไงให้เป็นศีล สมาธิ ปัญญา

ถ้าเราตั้งโครงสร้างตรงนี้เอาไว้บ่อยๆ
การศึกษา ก็เป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูน
เป็นการศึกษาที่ก่อร่างสร้างตัว ก่อร่างสร้างใจไปเรื่อยๆ
เป็นใจที่มีไตรสิกขา แล้วหาพระสูตรเพิ่มมาเรื่อยๆ
การศึกษาจะไม่หนัก

แต่ถ้าขึ้นต้นแบบสวาปาม
"ฉันจะต้องทรงคัมภีร์นี้ให้ได้ ! "
มักจะบวชไม่ค่อยทน ทนไม่ได้ก็สึกเลย
เพราะความสามารถมันจำกัด

ถ้าขึ้นต้นผิด
เป็นลักษณะว่าเข้ามาจำ มาแบก
การศึกษาจะเป็นทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด

ทุกอย่างดีหมด และจะรับหมด
ของดีจริงก็ต้องรู้ปริมาณ

ถ้าศึกษาเพื่อเพิ่มพูนไตรสิกขา
จะได้รับประโยชน์มหาศาล

ในตอนหลังๆ พระพุทธเจ้าบอก
ขอให้ติดตามพระองค์เพื่อฟังกถาวัตถุ ๑๐
อย่าติดตามพระองค์เพื่อฟังนวังคสัตถุศาสน์

คืออย่าเรียนพระไตรปิฎกเพื่อทรงพระไตรปิฎก
แต่อ่านเพื่อให้เห็นข้อปฏิบัติ
ถ้าศึกษาอย่างนี้ ไม่นานจะพ้นทุกข์
ไม่อย่างนั้นจะทุกข์มาก
โรคบุญน้อยจะเข้าแทรก
ก็จะห่างพระรัตนตรัยไปเรื่อยๆ

ศึกษาไปก็สังเกต คุณธรรมต่างๆ เพิ่มไหม
ถ้าตั้งอย่างนี้การศึกษาของเราก็จะเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
การศึกษาจะมีความสุข
รู้สึกเป็นบุญแล้วที่ได้ฟัง ได้ศึกษาและปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอน


นั่นศีลของข้าพเจ้า นั่นศีลของข้าพเจ้า

ไปที่ไหนก็มองเห็นศีล โอ้ว นั่นศีลของข้าพเจ้า นั่นศีลของข้าพเจ้า
นั่นสิกขาของข้าพเจ้า
นั่นก็บุญของข้าพเจ้า

ไปที่ไหนก็จะรักษาศีล
แผ่ไปก่อนเลย ชั่วโมงนี้จะต้องรักษาศีลให้ได้
คุยกับคนนี้ ศีลเราจะต้องดี
สมาทานเอาไว้ก่อน

คนที่คอยแต่จะตรวจสอบตัวเองอย่างเดียว
โดยไม่สมาทานเอาไว้ก่อน
มันเก็เหมือนกับทำอะไรเสร็จแล้วค่อยมาทบทวนทีหลัง ไม่ค่อยดี

คิดถึงใครก็คิดเป็นศีลไว้ก่อน
"เราจะเสียศีลไหม?"
แผ่ไว้อย่างนี้บ่อยๆ กับทุกเรื่อง

ถ้าทำอย่างนี้บ่อยๆ จะไม่เห็นวัตถุใดที่เราจะเสียศีลเลย

ทุกเรื่อง ทุกอารมณ์ จะเป็นที่ตั้งแห่งสุจริต ๓ ของเรา
หมั่นแผ่ศีลกับทุกๆ อารมณ์และระลึกบ่อยๆ
เช่นนี้จึงเรียกว่าเป็นผู้มีศีลมั่นคง

ทุกแห่งที่เรามองเห็นศีลได้นะ
เราก็จะมองเห็นคำสอนด้วย
อันนี้เป็นผลแห่งสุตตะ

ถ้าเราเห็นศีลแบบนี้บ่อยๆๆๆ เข้า
ก็จะเห็นคุณของสมถะและวิปัสสนาด้วย

วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ไปคอร์สอาศรม 13-17 พ.ค.66 / 2023

  •  ไม่รู้เป็นยังไงได้ยินคำว่า สมาธิต้องฝึกเยอะเหลือเกิน ซึ่งก็ตรงตามนั้นแหละ เป็นของต้องทำ เลี่ยงไม่ได้ ไม่ทำวันนี้ก็ต้องทำวันหนึ่งอยู่ดี
  • หลักการทำสมาธิ ไม่ต้องนั่ง ไม่ต้องเดินคือ มีสติต่อเนื่องในกุศล แม้มีสติต่อเนื่อง แต่ถ้าไม่เป็นไปในกุศลก็ไม่มีสมาธิ
  • ข้อสังเกตระหว่างนั่งก็คือ ความโงก มาพร้อมอุทธัจจะ คือเมื่อใดที่หลุดจากกรรมฐาน พบว่ามันวิ่งไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง และตอนนั้นเองคอก็ตก...ป๊อก !
  • รอบนี้ง่วงจัง อาจจะเป็นเพราะหลังหายโควิด มั้ยนะ แต่ไม่ง่วงระหว่างฟังธรรมมานานหนักหนาแล้ว ตลกดี
  • ใจจะต้องมีที่พึ่ง ไม่งั้นจะลอยเคว้งคว้าง ที่พึ่งที่เป็นที่พึ่งที่ให้พ้นภัยได้ คือพระรัตนตรัย และการเห็นอริยสัจ คิดอะไรไม่ออกให้ใจไปอยู่กับพระไว้
  • ใจอย่าปล่อยให้มันคิดเอง เพราะกิเลสเกิดจากความคิด ถ้าปล่อยให้มันคิดเอง มันจะไหลลงต่ำ คิดตามสิ่งที่มันเคย ซึ่งมันเคยแต่คิดผิดๆ เพราะมันจำผิดๆ อยู่ ถ้ามันจะคิด ให้พามันคิด คิดแบบที่พระพุทธเจ้าคิด คิดแบบที่พระอรหันต์คิด สวดมนต์บ่อยๆ นึกกรรมฐานบ่อยๆ
  • ถ้ากำลังจิตไม่ดี มันจะหวงกาย
  • วิริยะ บากบั่นรักษากุศล สำรวมอินทรีย์ พิจารณาอาหาร กิเลสเกิดได้แต่อย่าให้เกิดเยอะจิตจะเสีย ฉลาดป้องกัน อย่าให้เยอะ อย่าให้บ่อย
  • กรรมและผลของกรรม ให้มองให้ทะลุปัจจุบันชาติ การได้รับผลร้ายโดยไม่ได้ทำเหตุร้ายมาก่อนนั้นเป็นไปไม่ได้ ต้องเชื่อมั่นในตรงนี้ มันต้องเคยมีการทำไม่ดีมา และตอนนี้ คือ "ถึงคิว" ที่กรรมไม่ดีนั้นจะให้ผล
  • "ถึงคิว"
  • การเพียรให้ดีจะต้องมีฉันทะ ถ้ายังไม่มีก็ต้องไปทำให้เกิดให้ได้ ไปหาเรื่องดีๆ หาแรงบันดาลใจ ทำให้อยากจะทำเป็นบ้าง อยากจะทำได้บ้าง รักที่จะทำ อยากที่จะเป็น หรือหาความสนุกในการพัฒนาตัวเอง มีอะไรใหม่ๆ ให้เล่นเสมอ
  • การหาตำแหน่งหทยวัตถุก็ลองดูตอนมันเจออารมณ์โหดๆ น่ะ เช่นกลัวผี ลองดูว่ามันกลัวที่ไหน
  • คำว่า "กำหนด" ในกำหนดรู้ทุกข์ แปลว่า แยกแยะ กระจาย จัดลงเป็นขันธ์ใดในขันธ์ห้า แต่ไม่ได้แปลว่ากำหนดเพ่งให้เวทนามันหาย
  • ฤทธิ์ของพระอริยะ ไม่ว่าจะเจออารมณ์อันใดก็ปรับจิตได้หมด
  • ไม่ดูหมา ให้ดูจิตที่ทุกข์ ว่าเวทนามันเกิด เป็นเวทนาขันธ์ มันเกิดได้มันก็ดับได้
  • การละนิวรณ์ หลักๆ ก็มีด้วยสมาธิ และด้วยวิปัสสนา ถ้าสมาธิห่วย นิวรณ์ก็กวนได้มาก จึงเป็นเหตุผลต้องฝึกสมาธิด้วย ส่วนวิปัสสนา ถ้าสติเห็นช้า ไปเห็นตอนมันตัวใหญ่แล้ว มันจะไม่พอดับนิวรณ์ เหมือนสติตัวเท่ามด นิวรณ์ตัวเท่าช้างอย่างนั้น โดนทับแบน คือถ้าเห็นช้า ก็ทำอะไรไม่ได้นอกจาก อดทนไป...ทำมาเอง ช่วยไม่ได้
  • นิพพาน คือ disruption ของมิจฉาทั้งปวง
  • ทำได้ไหม เห็นพระเทวทัตน่ารักเหมือนพระราหุล
  • หน้าที่คือลับอาวุธไป ส่วนจิตจะลงสู่สนามรบเมื่อไรเป็นเรื่องของจิต รบแพ้ล้านครั้งก็ไม่เป็นไร ชนะอีก 3 ครั้งก็จบเกมแล้ว (มันสอนตัวเองอย่างนี้)

ไปวัดรอบนี้ 4-7 พ.ค.66 / 2023

  • ลพี่แนะนำว่า ไอ้ก้อนอุปาทานนั่นน่ะ ไม่ต้องไปจ้องมันก็ได้ ให้ดูว่ามันเป็นก้อนเวทนาก้อนนึง เป็นแค่สิ่งที่่ถูกรู้
  • ลพี่เล่าว่า อรูป นั่งๆ คุยอยู่ อยู่ดีๆ ก็เข้าแล้วก็ออกมาได้ หรือแม้แต่ในฝันก็เข้าได้

วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566

十胜十败

 一,袁绍喜欢繁复礼仪,丞相喜欢自然天成,此为道胜。

二,袁绍以逆动,丞相爱顺势,此为义胜。

三,袁绍以宽济,丞相以猛纠,此为治胜。

四,袁绍外宽内忌,任人唯亲,丞相外简内明,任人唯才,此为度胜。

五,袁绍多谋少决,丞相多谋善断,此为谋胜。

六,袁绍嗜好虚名,丞相以诚待事,此为德胜。

七,袁绍忽近忽远,丞相远近皆察,此为仁胜。

八,袁绍听信谗言,丞相洞若观火,此为明胜。

九,袁绍是非混淆,丞相法度严谨,此为文胜。

十,袁绍好大喜功,不知兵法,丞相以少克众,用兵如神,此为武胜。


兵不在多,在精

将不在勇,在谋


大痛者必有大志

否则痛从何来


物尽其用

人尽其才

刘备拜上

 公路将军如晤,

刘备奉命生擒将军,解往许昌,

但备为君着想,别有不忍,

今日,惟盼君自决,不辱威名,

刘备拜上。

วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2566

沟通艺术

 人诚诚恳恳

实实在在之外

还必须要有一些技巧

没有技巧你达不到目的


中国人不生气的时候他很讲理

中国人一生气的时候是蛮不讲理

所以沟通对我们中国人来讲

其实是一种情绪管理


中国人的沟通应该把情绪摆在前面

而不是把说话摆在前面


不能说实在话

也不能说欺骗的话

说妥当话


中国人问你吃饱了没有

就是问你情绪好不好


我们应该把话说好

不是把话说清楚

有的时候话太清楚

就好像伤口上撒盐一样

该含糊的时候要含糊

该清楚的时候要清楚

该快速的时候要快速

该缓的时候要缓



วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2566

心在哪里

 良心永远在

只是你不用心而已


你的心在哪里

你全身找不到心


心就是你不用的时候找不到

你一用它就出来


从小就听妈妈要用心

用心就是凭良心


你一凭良心它就出来

因为它从来没离开过你

วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2566

追求心灵的主动性的实现的过程

其来不可居

其去不可留


其能久乎


到了一定的高度

不再是个人


人。。。不断地追求心灵的主动性的实现

在这个追求的过程当中

就是一个成人的过程


主动状态时清醒的

清醒的人首先是感受到他人的存在


佛教的变化

看到的是无常

儒家的变化

看到的是生生

就是永不停息之创造


生。。长。。收。。藏

 

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566

28 Feb 2023

ข้อสังเกตในวันที่ตั้งใจจะไม่่โกรธ

หลายวันก่อนมีเหตุให้เชื่อได้ว่าจะต้องมีผัสสะที่่โกรธมากแน่ๆ ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง

เป็นผัสสะที่รู้ล่วงหน้า ก็ตั้งใจเตรียมใจไป

เมื่่อผัสสะ พบว่าจริงๆ แล้วนิ่งมาก

สามารถพูดได้โดยไม่่มีอคติครอบงำ

ไม่่เอียงเพราะะรัก ไม่เอียงเพราะกลัว วาจาเสมอกับจิต

ซึ่งผิดกับก่อนหน้าที่ต้องบิดต้องเอียงไปโดยตลอด

และก็จบไปได้ด้วยดี ไม่่มีสิ่งตกค้างใดๆ ในใจ

แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ หลังจากเหตุการณ์ เมื่อจะเล่าเรื่องที่เกิดนี้กับปุถุชน

ใจกลับบิดพริ้วเล่าไปตามอำนาจของอายตนะที่ฟังเป็นหลัก

แม้ไม่ใช่เรื่่องที่โกหก แต่ก็สัมผัสได้ว่ามีอิทธิพลที่บิดคำให้ไม่ตรงกับสถานการณ์ทั้งหมด คือเล่าไม่หมดนั่นเอง จนถึงอยู่ๆ ก็อยากจะหยุดพูดเสียเฉยๆ

从三国学语言

 同行若不同道

这与行尸走肉又有何异呢

////

满座大丈夫,尽作女儿态

////

燕雀安知鸿鹄之志

////

不以成败论英雄

////

虎患大于狼害

////

若想人不知除非己莫为


一路无阻 处处碰壁

 治国犹如雾中行走

若心中有方向

自然是一路无阻

若心中彷徨

就会处处碰壁


////

天助自助者

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566

สรุปโพธิราชกุมารสูตร

 โพธิราชกุมารสูตร


โพธิราชกุมาร ถวายภัตตาหารพระพุทธเจ้าเสร็จ ก็นั่งลงสนทนาธรรม โดยกล่าวว่าตนเนี่ย มีความเชื่อว่า 


ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี 

ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความทุกข์แล.


พระพุทธเจ้าเลยเล่าเรื่องตอนสมัยออกบวชใหม่ๆ เดิมท่านก็เชื่ออย่างนั้นเหมือนกัน ก็ได้ไปศึกษาทั้งอาฬารดาบส อุทกดาบส แต่ก็พบว่ายังไม่ใช่


วันหนึ่งก็เกิดอุปมาแก่พระโพธิสัตว์ขึ้นมา 3 ข้อว่า


1. เหมือนต้นไม้ที่แช่น้ำอยู่ จะเอามาจุดไฟ ก็เป็นไปไม่ได้ฉันใด

ถ้าหากบุคคลยังไม่หลีกออกจากกาม ยังแช่อยู่ในกาม ยังห่วงหากาม อาลัยในกาม 


ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนเพราะการบำเพ็ญเพียรหรือไม่ก็ตาม การจะตรัสรู้ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้


2. หรือเหมือนต้นไม้ที่ยกมาไว้บนบกแล้ว แต่ยังเป็นไม้สด จะเอามาจุดไฟก็เป็นไปไม่ได้ ถ้าหากบุคคลนั้น แม้จะเอากายหลีกมาจากกาม แต่ยังห่วงหากาม อาลัยในกาม 


ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อน เพราะการบำเพ็ญเพียรอยู่หรือไม่ก็ตาม การตรัสรู้ย่อมเป็นไปไม่ได้


3. หรือเหมือนไม้แห้งที่อยู่บนบก ไกลน้ำ เมื่อจะเอามาจุดไฟ ย่อมทำได้โดยง่าย

ถ้าหากบุคคลนั้น มีกายหลีกออกจากกาม และไม่ห่วงกาม ไม่อาลัยในกาม 


ไม่ว่าคนคนนั้นจะเสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนเพราะการบำเพ็ญเพียรอยู่หรือไม่ก็ตาม การตรัสรู้ย่อมเป็นไปได้


ว่าแล้วก็ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

ทำไปจนสุด พิจารณาว่าในอดีตใครจะทำแบบนี้ก็ทนได้ไม่เกินนี้ ในอนาคตใครจะทำอย่างนี้ก็ทนได้ไม่เกินนี้

ก็เห็นว่าไม่มีอะไรดีขึ้น ทางคงไม่ใช่ทางนี้เป็นแน่


วันหนึ่งระลึกได้ถึงการเข้าฌานสมัยเด็ก ความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานนั่นแลพึงเป็นทาง กลับมากินข้าวเหมือนเดิม แล้วเจริญสมาธิ เมื่อจิตบริสุทธิ์และควรแก่การงานแล้ว ก็น้อมไปเพื่อพิจารณาอดีตชาติ การเกิดดับของสัตว์ และพิจารณาว่านี้ทุกข์ นี้สมุทัย นี้นิโรธ นี้มรรค  กำจัดอวิชชาได้ตามลำดับ


พอบรรลุแล้วก็ขวนขวายน้อยเพราะเห็นว่าธรรมนั้นละเอียด จนพรหมต้องมาอาราธนา แล้วก็พิจารณาบุคคลที่ควรสอน แล้วก็สั่งสอนปัญจวัคคีย์จนบรรลุ


โพธิราชกุมารถามว่า ต้องเรียนกับพระพุทธเจ้านานขนาดไหนถึงจะบรรลุ


ท่านตอบว่า มันก็ขึ้นกับว่าคนนั้น

1. มีศรัทธามากแค่ไหน

2. ร่างกายแข็งแรงมั้ย

3. เป็นผู้โอ้อวด มีมายารึป่าว

4. ความเพียรเป็นอย่างไร

5. มีปัญญาไหม


ถ้าบุคคลมีคุณสมบัติทั้ง 5 เหล่านี้ ก็ไม่เกิน 7 ปีหรอก หรือถ้าพร้อมมาก สอนเช้าบรรลุเย็น สอนเย็นบรรลุเช้าก็ได้


โพธิราชกุมารสรรเสริญ คุณพระพุทธน่าอัศจรรย์หนอ คุณพระธรรมน่าอัศจรรย์หนอ คุณพระสงค์น่าอัศจรรย์หนอ

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2566

สรุปคณกโมคคัลลานสูตร

ว่าด้วยพราหมณ์เข้าไปคุยกับพระพุทธเจ้า บอกจะเรียนศิลปะใดๆ เขาก็มีลำดับมีขั้นมีตอน จึงถามว่าในการฝึกปฏิบัติในธรรมวินัยนี้มีเป็นลำดับขั้นตอนบ้างไหมอย่างไร


พระพุทธเจ้าก็ตอบว่ามีสิ

เข้ามาใหม่ๆ เราก็ให้เขาประพฤติตามศีล สิกขาบท

เมื่อศีลดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่ม ให้ฝึกการสำรวมอินทรีย์ เมื่อมองรูป ยินเสียงแล้ว ไม่มั่นหมายตามนิมิต ก็จักไม่ถูกความชอบใจไม่ชอบใจครอบงำได้

เมื่อสำรวมอินทรีย์ได้ดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่ม ว่าให้ฝึกพิจารณาการกิน ให้รู้ว่ากินเพื่ออะไร ไม่กินเพราะอะไร

เมื่อรู้ประมาณในการบริโภคดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่ม ให้ฝึกการประกอบจิตให้อยู่กับความตื่น โดยการนั่งและจงกม หรือหากจะนอนก็สีหไสยยาสน์ กำหนดสติว่าจะตื่นเอาไว้

เมื่อประกอบจิตในความตื่นดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่มว่าให้ตั้งสติสัมปัชัญญะในอิริยาบถทั้งหลาย ทั้งก้าว ถอย เหยียด คู้ แล เหลียว

เมื่อมีสติสัมปชัญญะในอิริยาบถต่างๆ ดีแล้ว เราก็แนะนำให้เธอยินดีในที่สงัด นั่นต้นไม้ นั่นถ้ำ กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เข้าสมาธิ ชำระจิตให้พ้นจากนิวรณ์

เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์แล้ว เราก็แนะนำให้เธอเข้าฌานไปตามลำดับ

สำหรับผู้ยังไม่บรรลุ เราก็สอนอย่างนี้
สำหรับผู้จบงานแล้ว เราก็แนะนำอย่างนี้ เพราะเป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน

พราหรณ์ถามว่า นี่มีขั้นตอนวิธีการที่ชัดเจนขนาดนี้ มีคนสอน มีคนชักชวนด้วย ผู้ปฏิบัติตามนี่เยอะเลยสิ

ท่านตอบว่า ไม่เยอะ

พราหมณ์ถาม ทำไม

ท่านตอบว่า ก็เหมือนกับท่านรู้ทางเป็นเมืองราชคฤห์ดี ใครมาถามก็บอกได้โดยละเอียด แต่บางคนก็ไป บางคนก็ไม่ไป บางคนบอกอย่างนึงไปคิดว่าเป็นอีกอย่างนึง หลงทาง บางคนก็ไปถึงโดยสวัสดิภาพ นั่นทำไมละ

พราหมณ์ตอบ ก็เราเป็นแค่ผู้บอกทาง

ตถาคตกล่าว ฉันใดฉันนั้นแหละ ตถาคตก็เป็นเพียงแค่ผู้บอกทาง

บุคคลจำพวกที่ไม่มีศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า มีวาจาเหลวไหล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก มีความปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัดเงียบ เกียจคร้าน ละเลยความเพียร หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดังคนหนวกคนใบ้ พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวกนั้น

สรุปอินทรียภาวนา

 (แสดงสิ่งที่ไม่ใช่)

การเจริญอินทรียนี่ไม่ใช่การไม่ดู ไม่ฟัง ปิดหู ปิดตา


(แสดงการเจริญ)

คือการพิจารณาว่า เมื่อความชอบใจไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นนั้น เออ มันเกิดจากการดูการฟังนี่แหละ เป็นของหยาบ อาศัยกันเกิด ไม่น่าเอาเลย อุเบกขามันละเอียดประณีตกว่าตั้งเยอะ


(แสดงสเกลของการเจริญ)

คือ ถ้าอินทรีย์พัฒนาได้ดีเท่าไร การปล่อยอารมณ์ชอบใจไม่ชอบใน มาสู่อุเบกขาก็จะยิ่งเร็วเท่านั้น เหมือนกระพริบตา เหมือนเหยียดคู้แขน เหมือนน้ำหยดลงกะทะร้อนๆ ก็หายไปในทันที ง่ายขนาดนั้น


(แสดงฐานะว่ายังเจริญไม่เสร็จ)

เมื่อใดที่ยังอึดอัด ไม่ชอบใจ เบื่อหน่ายความชอบใจไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นเพราะผัสสะทั้ง 6 ทาง นี่เรียกว่ายังปฏิบัติอยู่ ยังเป็นพระเสขะ


(แสดงฐานะว่าเจริญเสร็จแล้ว)

แต่ถ้าอินทรีย์เจริญเต็มที่แล้ว เธออยากจะหมายเอาอย่างไรก็ได้ ปฏิกูลให้ไม่ปฏิกูล ไม่ปฏิกูลให้ปฏิกูล หรือจะวางเฉยซะอย่างมีสติสัมชัญญะเธอก็ทำได้


วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2566

อาการยืนพื้นตั้งใจฟัง แต่ไม่ได้ฟัง

เป็นการหมายไว้โดยไม่รู้ตัว
ทำให้ฟังธรรม แต่ไม่ไปตามธรรม

เวลาเราพิจารณาธรรม
ตั้งเรายืนพื้นอยู่
แล้วพิจารณาสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
เลยกลายเป็นซ่อนเราไว้เสมอๆ

แต่พอฟังเสร็๗แล้วก็จะเกิดคำถาม

"แล้วจะทำยังไงให้เข้าใจความจริงแบบนี้"

นี่คือไม่ได้ฟังธรรมเลย

เวลาตั้งใจฟัง
ก็นั่งรักษาตัวใน นั่งรักษาสติ
เกรงว่าถ้าไม่ฟังจะไม่พ้นทุกข์ 

ไม่รู้ว่านี่คือภพชาติ แสดงพฤติกรรมแฝง
ทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองตลอดเวลา

กลัวหลง เลยไปตั้งรู้เอาไว้ 
ไปตั้งไว้ว่า ต้องรู้เฉยๆ
ตั้งตัวรู้ขึ้นมาเพื่อจะรู้เฉยๆ

ถีนมิทธะ เจอก็ไม่ต้องงง

ถีน จิตมันถอยจากควาามตั้งใจไปเรื่อย เข้ามุม จนเลิกทำ

มิทธะ เซื่องซึม ขี้เกียจ

ถ้านิวรณ์เกิดแล้วปฏิบัติต่อมันถูกก็จะเป็นสมาธิ

วิธีปฏิบัติ 5 ข้อ ต่อนิวรณ์

  1. รู้ชัด รู้ชัดว่านี้เป็นนิวรณธรรม เป็นสังขารขันธ์ เป็นของเกิดเป็นของดับ
    สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว จะเรียกชื่ออะไรก็ได้ ไม่เอาความคิดใส่เข้าไป รู้ว่ามันเกิดเพราะมีเหตุแล้ว และรู้ชัดว่ามันเกิดแล้วจะต้องดับไปแน่นอน มันไม่ได้ดับตามที่เราอยากให้ดับ แต่ดับเมื่อเหตุมันหมด สิ่งที่ต้องทำคือแค่อดทน
  2. รู้ชัด ไม่มีอยู่ก็รู้ว่าไม่มีอยู่ ตอนไม่มีมันเป็นยังไง มันสบายยังไง แล้วมันเที่ยงมั้ย
  3. เกิดได้ยังไงก็รู้ กิเลสทุกชื่อทั้งปวงเกิดจากความคิดผิด จำให้แม่นๆ ความคิดยังไงก็ต้องผิด เพราะข้อมูลมันผิดอยู่ จะให้เราคิดถูกตลอดก็ไม่ได้ เพราะข้อมูลมันผิดน่ะ นี่เป็นโทษของความไม่มีอริยมรรค
  4. ไม่เกิดได้ยังไงก็รู้
  5. ไม่เกิดอีกเพราะอะไรก็รู้ ฉะนั้นต่อไปถ้ามันเกิดอีกก็ไม่งง เพราะระดับเรายังไม่ถึงขั้น ตอนนี้ที่มันเไม่เกิดเพราะตอนนี้จิตมันเป็นกุศลอยู่เฉยๆ 
  • ปฏิฆะนิมิต -  ข้อมูลที่ผิดที่เป็นเหตุให้เกิดความโกรธ เช่น จำไว้ว่ากิริยาอย่างนี้เขาด่าเรา, จำไว้ว่าถ้าเขามองเราตั้งแต่หัวจรดเท้าคือจะมีเรื่อง
  • แต่ถ้าจำใหม่ - โดนด่า เป็นทุกขสัจ ความคิดก็เปลี่ยน หรือจำใหม่ว่าถ้าเขามองเราตั้งแต่หัวจรดเท้าคือเขาสนใจเรามาก ความคิดมันก็เปลี่ยน
  • สุภะนิมิต - ข้อมูลที่ผิดที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ
  • โดยสรุปแล้ว กิเลสเกิดจากความคิด ความคิดก็ไม่เที่ยง ความคิดเกิดจากสัญญา สัญญาก็ไม่เที่ยง แล้วกิเลสที่เกิดจากความคิดที่ไม่เที่ยงมันจะเที่ยงอยู่ได้ไหม
  • มันไม่เกี่ยวกับมันไม่ดับ มันเกี่ยวกับรู้มั้ยว่ามันจะดับ
  • ใช้กำลังของปัญญา ทำความเข้าใจมัน เข้าใจจนไม่สงสัย ก็จะผ่านได้ทุกเรื่อง

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ปัญญาดับ กิจที่ปัญญาทำแล้วไม่ดับ

 อุปมาเหมือน

คนจะเขียนจดหมายตอนกลางคืน
เปิดไฟ แล้วก็เขียนๆๆๆ
พอเขียนจดหมายเสร็จ ก็ปิดไฟ

เมื่อดับไฟ ตัวหนังสือในจดหมายก็ไม่ได้หายไปไหน

คนเดียวกัน รึคนละคน

ถ้าบอกว่าเราตอนเด็ก กับเราตอนโตเป็นคนละคนกัน

ถ้าอย่างนั้น 

  • เด็กที่ไปเรียนหนังสือก็คนหนึ่ง - เด็กที่รับปริญญาก็อีกคนหนึ่ง
  • คนที่ทำกรรมก็คนหนึ่ง - คนที่รับผลก็อีกคนหนึ่ง
  • คนที่หกล้มก็คนหนึ่ง - คนที่เจ็บก็อีกคนหนึ่ง
  • แม่ของเด็กก็คนหนึ่ง - แม่ของคนโตก็อีกคนหนึ่ง
มันไม่ใช่อย่างนั้น

ที่บอกว่าเป็นคนเดียวกันตั้งแต่เด็กจนโต 
เพราะอาศัยกายเดียวกันนี้แหละ

เหมือนจุดตะเกียง มันย่อมสว่างตั้งแต่หัวค่ำยันรุ่งเช้า

ตะเกียงนี่เป็นอันเดียวกัน
แต่เปลวไฟตอนต้น ตอนกลาง ตอนปลาย ไม่ใช่อันเดียวกัน

เหมือนวิญญาณก่อนเกิดขึ้นแล้วดับไป วิญญาณใหม่เกิดขึ้น
วิญญาณก่อนก็สงเคราะห์ลงกับวิญญาณหลัง
เพราะธรรมมันสืบต่อกัน เกิดขึ้นแล้วดับไปสืบต่อกัน
จึงจะบอกว่าเป็นคนเดียวกันก็ไม่ได้ เป็นคนละคนก็ไม่ได้

***

เหมือนนมสด เมื่อตั้งไว้ ก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป กลายเป็น นมส้ม - เนยใส - เปรียง

ถามว่า เป็นอันเดียวกัน หรือเป็นคนละอัน
จะบอกว่าเป็นอันเดียวกันก็ไม่ถูกแน่
แต่นมส้ม ก็อาศัยนมสด
อาศัยนมส้ม จึงเกิดเนยใส
อาศัยเนยใส จึงเกิดเปรียง

คือมันไม่ได้ตัดขาดแบบหายไปจากกันเลย แต่มันอาศัยกันเกิด
คือตามปรมัตถ์ มันเกิดดับขาดกันก็จริง แต่ต้องเข้าใจด้วยว่ามันต่อกันเป็นกระแสและอาศัยกัน 
ไม่ใช่ว่าเกิด-ดับแล้วหายเงียบ ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับใคร

เพราะมันสืบเนื่องกันแบบนี้แหละ จะบอกว่าเป็นอันเดียวกันก็ไมได้ จะบอกว่าเป็นคนละอันก็ไม่ได้

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ลักษณะของปัญญา

  1. เฉทนลกฺขณา มีลักษณะตัด 
  2. โอภาสนลกฺขณา มีลักษณะส่องสว่าง
    • ย่อมกำจัดความมืด คือ อวิชชา
    • ย่อมทำความสว่างคือ วิชชา ให้เกิดขึ้น
    • ย่อมส่องสว่าง คือ ญาณ
    • ย่อมกระทำอริยสัจสี่ให้ปรากฏ

ลักษณะของสมาธิ

ปมุขลกฺขโณ

กุศลทั้งปวง

  • มีสมาธิเป็นประมุข
  • โน้มไปทางสมาธิ
  • เอนไปทางสมาธิ
  • ล้มไปทางสมาธิ
เหมือนจันทัน (โคปานสิโย) เอนไปทางยอด (กูฎ)


ในที่นี้อธิบายเจาะจงตอบสมาธิระดับสูง คือเป็นประมุข
ไม่ได้มุ่งตอบอวิกเขป หรือ เอกัคคตา หรือ อุปสม ที่เป็นสมาธิทั่วไป

ลักษณะของสติ

  1. อปิลาปน ไม่เลอะเลือน ไม่เลื่อนลอย ไม่สับสน ไม่มั่ว ไม่ปะปน ชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไรในเรื่อง
    • กุศล - อกุศล 
    • มีโทษ - ไม่มีโทษ
    • ทราม - ประณีต
    • ดำ - ขาว
    • ไม่เลอะเลือนในธรรมประณีตยิ่งๆ ขึ้นไป แยกแยะชัดเจน เช่น 
      • เหล่านี้คือ สติปัฏฐาน
      • เหล่านี้คือ สัมมัปปธาน
      • เหล่านี้คือ อิทธิบาท
      • เหล่านี้คือ อินทรีย์
      • เหล่านี้คือ พละ
      • เหล่านี้คือ โพชฌงค์
      • นี้คือ มรรค
      • นี้คือ สมถะ
      • นี้คือ วิปัสสนา
      • นี้คือ วิชชา
      • นี้คือ วิมุตติ 
    • เมื่อชัดเจน ย่อมเสพธรรมที่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ
    • เหมือนเลขามารายงานเจ้านายประจำๆ ว่าตอนนี้มีทรัพย์สินอยู่เท่านี้ๆ มีนั่นเท่านี้ มีนี่เท่านี้ เจ้านายก็ไม่สับสนว่ามีอะไรไม่มีอะไร มีอะไรเท่าไร เตือนให้นึกได้ถึงสมบัติของตนๆ สติเมื่อเกิดขึ้นก็ย่อมเป็นอย่างนี้
  2. อุปคณฺหณ เข้าไปถือเอา ไปจับเอาแบบตรงตัว 
    • เมื่อเกิดขึ้น สามารถรับรู้และเป็นไปอย่างชัดเจนในกระแส ในสาย ในคติแห่งธรรม ว่า
      • มีประโยชน์ - ไม่มีประโยชน์
      • มีอุปการะ - ไม่มีอุปการะ
    • เมื่อชัดเจน ย่อมจับเอา รับเอาเฉพาะธรรมที่มีประโยชน์ ขจัดทิ้งซึ่งธรรมที่ไม่มีประโยชน์
      ย่อมจับเอาเฉพาะธรรมที่มีอุปการะ ขจัดซึ่งธรรรมที่ไม่มีอุปการะ
สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามิ 
ตถาคตย่อมกล่าวว่าสติมีประโยชน์ในเรื่องทั้งปวง

ลักษณะของวิริยะ

ค้ำจุนไม่ให้กุศลเสื่อมไป
เป็นกองหนุน เป็นกำลังเสริม

ลักษณะของศรัทธา

ลักษณะของศรัทธา

  1. ผ่องใส = เลื่อมใส ผ่องใส ไม่มีไฝฝ้า ไม่มีมลทิน
  2. แล่นไป = ตามเขาไป เขาไปได้เราก็ไปได้

ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้น จะข่มนิวรณ์ไม่ให้เกิด

นิวรณ์บังสมาธิมี 5
นิวรณ์บังปัญญามี 1 อวิชชา

เคหสิต เนกขัมมสิตอุเบกขา

เคหสิตอุเบกขา

เห็นรูปแต่ไม่ล่วงเลยรูป
เฉยแบบไม่ล่วงเลยรูป ติดคาอยู่กับรูป
มีรูปเป็นอารมณ์ แต่ไม่เห็นความเป็นจริงของรูป
ไม่รู้ความเกิดความดับของรูป

เรียก อัญญาณอุเบกขา ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย แต่หลง

เนกขัมมสิตอุเบกขา

อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ผู้ซึ่่งเห็นความไม่เที่ยง
เห็นความแปรปรวนของรูปทั้งหลาย
มีรูปเป็นอารมณ์ แล้วปล่อยรูปไป

อาศัยเรือน อาศัยเนกขัมมะ

อาศัยเรือน คืออาศัยกามคุณ

อาศัยเนกขัมมะ คือ อาศัยวิปัสสนา
ตรงนี้ เอามาจาก "พึงทราบ" 

พึงทราบ คือพึงทราบด้วยวิปัสสนาและมรรค

มโนปวิจาร 18

มโนปวิจาร 18

ทวาร 6 และเวทนา 3

แปลโดยคำศัพท์ หมายถึง ความหมุนเวียนไปของใจ

มน ตรงนี้ ใช้คำว่่า ใจ แต่ไม่ได้หมายถึงใจ หมายถึง วิตก

โดยสภาวะหมายถึง วิตก และวิจาร

วิตกกับวิจารนี่เรียกว่าเป็นเท้าของโลก เที่ยวไปเรื่อย

พึงทราบ

 แปลว่า พึงทราบด้วยวิปัสสนา และมรรค

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

5 ก.พ.66

5 ก.พ.66
เดินจงกรมเช้า ตากระทบแสงส่องไฟฉายแว่บไปแว่บมา ในก็ถูกลากให้แกว่งไปแกว่งมาตามความไหวของแสงไฟนั้น ก่อปฎิฆะขึ้นมา เมื่อหลายรอบเข้าก็พบว่าปัญญาดับ นึกหันไปจะกล่าวห้ามกิริยาผู้อื่นอยู่ 2 ครั้ง ก็ระงับไว้เสียด้วยระลึกธรรมข้อวีรตีและขันติขึ้นมา ว่าหากหันไปขณะนี้ ต่อให้พูดดีมีเหตุผลขนาดไหน ก็ย่อมเป็นวาจาทุจริต

แล้วใจก็นึกในทางกลับกัน โอ ใจนี้น่าสงสารหนอ ถูกอารมณ์กระชากไปมา ไม่เป็นตัวของตัวเอง แม้สุขกับเพราะอารมณ์นั้นลากไป แม้ทุกข์ก็เพราะอารมณ์นั้นลากไป ใจนี้ไม่เป็นใหญ่ ยังไม่มีกำลังพอจะต้านทานการลากไปมาของอารมณ์นี้ เมื่อไม่สามารถเปลี่ยนผัสสะ หรือไม่ใส่ใจได้ ด้วยแรงกระชากนั้นรุนแรงเกินไป เราจะพึงบริกรรมเพื่อให้ใจมีที่ต้านทานเสีย

เมื่อกวาดลานวัด

กวาดลานก็เหมือนถือศีล เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ ก็ไม่ต้องเนี้ยบก็ได้ เอาแค่ตะไคร่ไม่ขึ้นก็พอ ศีลก็เอาพอแก่สมาธิและปัญญา ไม่จำเป็นต้องเนี้ยบทุกกระเบียดจนเคร่งเครียด

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ข้อสังเกตจากการเรียนเรื่องความถี่การเกิดดับของจิต

จิตเกิด-ดับ เรียก 1 ขณะจิต

ใน 1 ขณะ แบ่งเป็ฯ 3 อนุขณะ

รูป 1 รูป มีอายุ 17 ขณะจิต

อุปาทักขณะของรูป เท่ากับอุปาทักขณะของจิต
ภังคักขณะของรูป เท่ากับภังคักขณะของจิต
ช่วงตรงกลาง คือ ฐีติขณะของรูป

กัมมชรูปนั้น เกิดขึ้นทุกๆ อนุขณะจิต

กัมมชรูปที่เกิดที่อุปาทักขณะของปฏิสนธิจิต จะไปดับที่ภังคักขณะของจิตดวงที่ 17
กัมมชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิต จะไปดับที่อุปาทักขณะของจิตดวงที่ 18
กัมมชรูปที่เกิดที่ภังคักขณะของปฏิสนธิจิต จะไปดับที่ฐีติขณะของจิตดวงที่ 18

สังเกตจากการอธิบายอย่างนี้ แปลว่า ภังคักขณะของจิตดวงก่อนหน้า ไม่ใช่เวลาเดียวกันกับอุปาทักขณะของจิตดวงถัดไป แต่มีความห่างของช่วงระยะเวลา ซึ่งเท่ากับ 1 อนุขณะ

จากการอธิบายเรื่องอายุรูป จึงย้อนกลับมาได้ว่า จิตเกิด-ดับ ด้วยความถี่เท่ากัน

จิตชรูป เกิดทุกๆ อุปาทักขณะ

อาหารชรูป เกิดก็ต่อเมื่อได้สารอาหาร และไปบำรุงรูปทุกอนุขณะจิต

รูปทุกรูปในฐีติขณะสร้าง อุตุชรูป หมดเลย

กัมมปัจจยอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจากรรมเป็นปัจจัย
จิตตปัจจยะอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจาจิตเป็นปัจจัย
อุตุปัจจยะอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจาอุตุเป็นปัจจัย
อาหารปัจจยะอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจาอาหารเป็นปัจจัย

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566

สงฺวตฺตติ

 แปล ทั่วไปคือ ทำให้เป็นไป
 หรือจะแปลโดยโวหารว่า นำมาซึ่ง ก็ได้

เช่น 

ปีติ ปสฺสทฺธิยา สงฺวตฺตติ
ปสฺสทฺธิ โสมนสฺสาย สงวตฺตติ

การเขียนในลักษณะแบบนี้ คือ ศีลเป็นเหตุแบบไปเป็นทอดๆ ไม่ได้เป็นเหตุโดยตรง

สีลํ ... 

โสมฺนสฺสํ อาเสวนาย สงฺวตฺตติ
โสมนัส นำมาซึ่ง อาเสวนะ (การเสพสมาธิ, การเจริญบ่อยๆ ซึ่งสมาธิ, การทำให้สมาธิมีพลัง)

อาเสวน ภาวนาย สงฺวตตติ
ภาวนาตัวนี้ก็มาจาก อาเสวนา ดังนั้นการหมั่นฝึกสมาธิ (หมั่นเสพ) ก็ทำให้ สมาธินั้นเติบโต

ภาวนา พหุลีกมฺมาย สงฺวตฺตติ
อะไรที่มันไม่มาก แล้วทำให้มาก จะลง อี ปัจจัย
เหมือนทำให้เกิดครั้งแรก เป็นภาวนา 
พอทำให้เกิดขึ้นบ่อยเข้าก็กลายเป็น พหุลีกมฺมา

พหุลีกมฺมํ อลงฺการาย สงฺวตฺตติ
ทำให้มากเพื่อทำให้มันเป็นเครื่องประดับของสมาธิ
องค์ธรรมของอลังการตรงนี้ คืออินทรีย์ 5 
เพื่อให้เกิดซึ่งอินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น อันเป็นเครื่องประดับของสมาธิ
(แปลตามวิสุทธิมคฺมหาฎีกา) ถ้าแปลเองว่าเครื่องประดับจะไม่รู้เรื่องเลย
การจะเข้าถึงเนื้อความที่ไม่ได้แสดงไว้ในตัวอักษรนี่ต้องเข้าถึง พยาส/วยาส 
(หมายถึง คัมภีร์อธิบาย)

อลงฺกาโร ปริกฺขาราย สงฺวตฺตติ
อินทรีย์ เป็นเครื่องช่วย, เป็นตัวช่วย (บริขาร)
ถ้าเราต้องการได้สมาธิ ก็ดูเลยอะไรที่เป็นตัวช่วยมาตั้งแต่ต้น ที่เขียนร่ายมา เรียกว่าเป็นบริขาร หรือเป็นสัมภาระของสมาธิ

ปริกขาโร บริวาราย สงฺวตฺตติ
จริงๆ คำก็จะใกล้ๆ กัน อลังการ บริขาร บริวาร
บริวาร คือธรรมที่ห้อมล้อม

ปริวาโร ปาริปูริยา สงฺวตฺตติ
ถึงซึ่งความเป็น วสีภาว คือ ปาริปูริ ความบริบูรณ์แห่งสมาธิ

ปราโมช

ปราโมช องค์ธรรมคือ ปีติเจตสิกที่มีกำลังน้อย

ถ้าแปล ก็ประมาณ ปลื้ม 

เอวรูปํ

เอวรูปํ ไม่ใช่ ที่มีรูปอย่างนี้

แต่หมายถึง ที่มีสภาพอย่างนี้

ปหายกะ vs ปหาตัพพะ

ปหาตัพพะ = ผู้ถูกละ 
ปหายกะ = ผู้ละ

ในทางพุทธฝ่ายกุศลจะเป็นปหายกะ เราจะไม่พูดกลับกัน

ปหายกะ องค์ธรรมจะเท่ากับ ภาเวตัพพธรรม
เช่น

  • ศีล ละทุจริต 10
  • เนกขัมมะ ละกามฉันทะ
  • อาโลกสัญญา ละถีนมิทธะ
  • อวิกเขปะ (สมาธิ ละอุทธัจจะ
  • ธัมมววัตถาน ละวิจิกิจฉา
  • ญาณ ละอวิชชา
  • ปาโมชช ละอรติ
  • อนิจจานุปัสสนา ละนิจจสัญญา
  • ทุกขานุปัสสนา ละสุขสัญญา
  • มหาวิปัสสนา 18 ก็จะมีละกันเป็นคู่ๆ ไป

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566

ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา

 มักจะได้ยินบ่อยๆ ในพระสูตร
"เมื่อจิตสงบ ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา"

ทำไมต้องยก?

บางคนคิดว่าไม่สำคัญ แต่จริงๆ สำคัญมาก

จิตโดยสันดานโดยมากมักชอบประมาท
และสมาธิมันเป็นฝ่ายของความขี้เกียจ
(สมาธิไม่ใช่ความขี้เกียจ แต่เป็นฝ่ายของความขี้เกียจ)
มันไม่ได้ขี้เกียจนะ ขยันอยู่ แต่ขยันเข้าสมาธิ 
ขยันสบายนั่นแหละว่าง่ายๆ
พอสบายมันก็เลิกทำงาน เลยเรียกเป็นฝ่ายขี้เกียจ

พอสบาย จะให้ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา
ก็จะไม่ชอบยก ไม่ชอบพิจารณา
สักหน่อยก็จะเริ่มนึกตามใจชอบ

"ตอนนี้เราสบายแล้ว ก็ค่อยๆ ดูไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็บรรลุเองแหละ" มันว่า

กิเลสเริ่มได้ช่อง
บรรลุเองไม่มีหรอก
มีแต่พิจารณาจนยอมรับนั่นแหละจึงบรรลุ

แต่พอได้สมาธิสบายแล้วมันจะชอบพูด
แล้วมันก็เข้ากันพอดี
มันจะพาสบาย ไปเรื่อยๆ

มันก็จะไม่เข้าหลักของธรรมของพระพุทธเจ้า
เพราะธรรมของพระพุทธเจ้ารวมลงในความไม่ประมาท
แต่อันนี้ดันรวมลงในความประมาทซะแล้ว

แต่วิปัสสนานี่มันจะเกิดความสังเวช
เตือนขึ้นมาว่าให้รีบทำกิจที่ยังไม่จบนี่ให้มันจบเสีย
แต่แน่นอนตอนทำมันก็มีเหนื่อย
เลยต้องมีสมาธิไว้พัก

สมาธิเลยมีเพื่อสนับสนุนวิปัสสนานั่นเอง


qi pa shuo

勇于索取
能被拒绝

ต้องการอะไรก็ไขว่คว้า
และก็ให้รู้ด้วยว่าอาจจะถูกปฏิเสธก็ได้

บางคนติดอยู่ที่ท่อนแรก
บางคนติดอยู่ที่ท่อนหลัง

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

addressing what happened

it's not about assigning blame
it's about addressing what happened
so that everyone can move forward
and understand why things need tobe fixed
or how they got there in the first place

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

เนกขัมมะ

อธิบายตาม ปรมัตถมัญชูสา (ฎีกาของวิสุทธิมรรค)

เนกฺขมฺเมนาติ = อโลภปธาเนน กุสลจิตฺตุปาเทน 

องค์ธรรมของเนกขัมมะ คือ กุศลจิตและเจตสิก ที่มีอโลภะเป็นประธาน

ปหายกะ ผู้ละ = เนกขัมมะ
ปหาตัพพะ ผู้ถูกละ = กามฉันทะ



ศีล 5 (ปัญจกศีล 47) : กรรมบถศีล 10/ปุพพภาคศีล 5/มหาวิปัสสนาศีล 18/มรรคศีล 4

ศีล 5
  1. ปหาน การละ ชื่อว่าศีล
  2. เวรมณี ความงดเว้น ชื่อว่าศีล
  3. เจตนา ควาามจงใจ ชื่อว่าศีล 
  4. สังวร ความระวัง ชื่อว่าศีล
  5. อวีติกฺกม ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล
กรรมบถศีล 10
การละ การงดเว้น การจงใจ การระวัง การไม่ล่วงละเมิด ซึ่ง กรรมบถ 10 ชื่อว่าศีล

ปุพพภาค 2 สาย
  • ของฌาน ได้แก่ การละนิวรณ์ ด้วยศีล 5
  • ของอริยมรรค ได้แก่ วิปัสสนาญาณ
ปุพพภาคศีล 5
ปุพพภาคของฌาน
  1. เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺทสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่าศีล
    (เนกขัมมะ = กุศลจิตตุปบาทที่มีอโลภะเป็นประธาน)
  2. อพฺยาปาเทน พฺยาปาทสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งพยาบาท ด้วยอพยาบาท
  3. อาโลกสญฺญาย ถีนมิทธสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งถีนมิทธะ ด้วยอาโลกสัญญา ชื่อว่าศีล
  4. อวิกเขป อุทธจสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอุทธัจจะ ด้วยความไม่ซัดส่าย ชื่อว่าศีล
    (อวิกเขป เป็นชื่อของสมาธิ)
  5. ธมฺมววตฺถาเนน วิจิกิจฺฉาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งความสงสัย ด้วยธัมววัตถานญาณ ชื่อว่าศีล
    (ววตฺถาน = การตัดสินแบบเฉียบขาด)

อุบาย 2 / ปฏิปทา
  1. ญาเณน อวิชฺชาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอวิชชา ด้วยญาณ ชื่อว่าศีล
    (ญาณ คือปัญญาอันเป็นเหตุให้ได้มรรค)
  2. ปามุชฺเชน อรติยา ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอรติ ด้วยปราโมช ชื่อว่าศีล
    (อรติ คือความไม่ยินดีในฌาน)
ในเวลาเข้าวิปัสสนา จะเอาสังขารเป็นอารมณ์ คือเอารูป-นามเป็นอารมณ์ แต่ถ้ายังมองเป็นบัญญัติ หรือเป็นบุคคลอยู่ วิปัสสนาจะยังไม่เกิด
ปหายก - ผู้ละ (ฝ่ายกุศล)
ปหาตัพพะ - ผู้ถูกละ (ฝ่ายอกุศล) ส่วนมากจะมุ่งถึงมิจฉาทิฏฐิ
ลักษณะของความตรงข้ามเป็นอย่างนี้ (ปฏิปกฺข) คืออยู่ด้วยกันไม่ได้

มหาวิปัสสนาศีล 18 (ทำไมนับได้ 19 ล่ะ)
  1. อนิจฺจานุปสฺสนาย นิจฺจสญฺญฺาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งความเข้าใจผิดที่คิดว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน (เป็นมิจฉาสัญญา) ด้วยอนิจฺจานุปัสสนา (ปัญญาที่เห็นความไม่เที่ยงในเตภูมิกธรรม - ธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 คือไม่นับนิพพาน ไม่นับบัญญัติ) ชื่อว่าศีล
  2. ทุกฺขานุปสฺสนาย สุขสญฺญาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่ง ด้วย ชื่อว่าศีล การละ ซึ่งสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสสนา ชื่อว่าศีล
  3. อนตฺตานุปสฺสนาย อตฺตสญฺญาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอัตตสัญญา (ความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์ตัวตนบุคคลเราเขา) ด้วยอนัตตสัญญา ชื่อว่าศีล
  4. นิพฺพิทานุปสฺสนาย นนฺทิยา ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งนันทิ (ราคะ = ตัณหา = โลภเจตสิก) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา (ปัญญาที่มองเห็นความเบื่อหน่ายในสังขารท.) ชื่อว่าศีล
  5. วิราคานุปสฺสนาย ราคสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งราคะ ด้วยวิราคานุปัสสนา (ปัญญาเกิดขึ้นโดยอาการคลายความยึดมั่นถือมั่น ละความยินดีในสังขารท.) ชื่อว่าศีล
  6. นิโรธานุปสฺสนาย สมุทยสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งสมุทัย (ตัณหาที่เป็นเหตุเกิด, หรือแปลว่าการเกิดก็ได้) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (การมองเห็นการดับแห่งสังขารท.) ชื่อว่าศีล
  7. มุญฺจิตุกามฺยตานุปสฺสนาย อมุญฺจิตุกามฺยสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่ง ด้วย ชื่อว่าศีล
  8. ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสนาย อาทานสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการถือเอา ด้วยการพิจารณาการสลัดออกซึ่งสังขารท. ชื่อว่าศีล 
  9. ขยานุปสฺสนาย ฆนสณญฺาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งฆนสัญญา (การมองเห็นเป็นกลุ่มก้อน เป็นมือ เป็นแขน เป็นขา เป็นต้น) ด้วยญาณที่มองเห็นการสิ้นไป ชื่อว่าศีล
  10. วยานุปสฺสนาย อายูหนสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการปรุงแต่ง, การสร้างขึ้น, การประกอบขึ้น ด้วยญาณพิจารณาความเสื่อมไป ชื่อว่าศีล
  11. วิปริณามานุปสฺสนาย ธุวสณญฺาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งธุวสัญญา ด้วยการมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังขารท. ชื่อว่าศีล
  12. อนิมิตฺตานุปสฺสนาย นิมิตฺตสฺส ปหานํ สีลํ 
  13. อปฺปณิหิตานุปสฺสนาย ปณิธิยา ปหานํ สีลํ 
  14. สุญฺญตานุปสฺสนาย อภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ 
  15. อธิปณญฺาธมฺมวิปสฺสนาย สาราทานาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ 
  16. ยถาภูตญาณทสฺสเนน สมฺโมหาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งความใส่ใจอย่างงมงายลุ่มหลง หลงทาง
    (อภินิเวส = การทำไว้ในใจ = มนสิการ) ด้วยการเพ่งพินิจพิจารณาตามความเป็นจริง
    เป็นอนิจจานุปัสสนาญาณเป็นต้น ที่ภาวนาจนมั่นคงแล้ว มีพลังแล้ว
    (จริงๆ คำนี้ในที่อื่นอาจความหมายกว้าง เช่น รวมไปถึงสัพพัญญุตญาณด้วย ก็เรียกยถาภูตญาณทัสสนะ) ชื่อว่าศีล
  17. อาทีนวานุปสฺสนาย อาลยาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการใส่ใจด้วยอาลัย, ห่วงแหนสังขาร, เป็นห่วงเป็นใยในสังขารท. ทำอะไรก็กล้าๆ กลัวๆ ไม่ทุ่มเท ทิ้งไม่ได้ (องค์ธรรมคือ โลภะ) ด้วยการพิจารณาเพ่งดูให้รู้ถึงโทษ แต่ไม่ใช่การไปสร้างไปบิ้วด์ ผิวๆ เผินๆ ชื่อว่าศีล
  18. ปฏิสงฺขานุปสฺสนาย อปฺปฏิสงฺขาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการไม่พิจารณา (อกุศลจิตตุปบาท (หรืออกุศลธรรมท.) ที่มีโมหะเป็นประธาน ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับการใช้ปัญญาพิจารณา) ด้วยการพิจารณาเนืองๆ (ถ้านานๆ ครั้งจะไม่มีพลัง) ชื่อว่าศีล
  19. วิวฏฏฺฏานุปสฺสนาย สํโยคาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการยึดมั่นในสังขารท.โดยความเป็นสิ่งที่ผูกพัน ด้วยอำนาจของสังโยชน์ (สังโยชน์ คือ ความอาลัย ความยึดติด) ด้วยปัญญาที่พิจารณาเห็นพระนิพพาน (วิปัสสนาไม่ได้เห็นนิพพาน แต่เรียกว่าเป็นการน้อมไปเนืองๆ) ชื่อว่าศีล (อะไรที่กลมๆ เรียกว่า วัฏฏะ, วฏฺฏโต วิคตํ วิวฏฺฏํ ภาวะที่ปราศจากวัฏฏะ เรียกว่า วิวัฏฏะ คือ นิพพาน)(ถ้ามองในแง่ญาณ 16 จะเป็นขั้น สังขารุเปกขาญาณ เพิกเฉยในสังขาร และ อนุโลมญาณ)
มรรคศีล 4
  1. โสตาปตฺติมคฺเคน ทิฏฺเฐกฏฺฐานํ กิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละซึ่งทิฏฐิและกิเลสที่เป็นฐานเดียวกับทิฏฐิ
    (ทิฏฐิ + เอกฏฺฐ = กิเลสที่เป็นฐานเดียวกันกับทิฏฐิ
    (ฐานเดียวกัน คือ โดยความเป็นสหชาติ, หรือเป็นกิเลสที่ละด้วยญาณระดับเดียวกัน)
    ด้วยโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าศีล
  2. สกทาคามิมคฺเคน โอฬาริกานํ กิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกิเลสที่หยาบ
    (คือ หยาบเมื่อเทียบกับกิเลสที่จะต้องละด้วยอนาคามีและอรหัตตมรรค,
    แต่จริงๆ กิเลสที่ละด้วยชั้นนี้ย่อมละเอียดกว่ากิเลสที่ละด้วยโสดาปัตติมรรค)
    ด้วยสกทาคามิมรรค ชื่อว่าศีล
  3. อนาคามิมคฺเคน อณุสหคตานํ กิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกิเลสอณู (อณุ แปลว่า ละเอียด,
    เปรียบเทียบด้วยกิเลสที่ละได้โดยโสดาปัตติมรรคและสกทาคามิมรรค)
    ด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีล
  4. อรหตฺตมคฺเคน สพฺพกิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกิเลสที่เหลือ (ไม่ได้ไปละกิเลสที่ชั้นต้นๆ ละมาแล้วซ้ำ)
    ด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566

เชิดสิงโต

เมื่อสติรับรู้อารมณ์กรรมฐาน มันก็ไม่รับรู้ความชอบความชัง


สติปัฏฐานเหมือน เสา 4 เสา เชิดสิงโต
อะไรชัดย้ายสติไปดูอารมณ์นั้นเลย ผู้ชำนาญในสติปัฏฐานทำอย่างนี้

อุบายต่างๆ นั่นคือวิธีผูกสติไว้กับปัฏฐาน

มันอาจจะอยู่ในฐานเดียว แต่อาจไม่เป็นอารมณ์เดียว
วิ่งไปวิ่งมาในกาย ไม่เป็นสมาธิ 

พยาบาท vs วิหิงสา

พยาปาท สงกปฺโป เขาทำเรา เราทำคืน

วิหิงสา สงกปฺโป เขาทำไม่ทำ เราจะทำเขา

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566

บริโภค 4

  • การบริโภคของโจร : การบริโภคของผู้ทุศีล 
  • การบริโภคของผู้เป็นหนี้ : การบริโภคของผู้มีศีลแต่ไม่ได้พิจารณา
  • การบริโภคของทายาท : การบริโภคของพระเสขะ
  • การบริโภคของเจ้าของ : การบริโภคของพระอรหันต์
เจ้าของย่อมเป็นอิสระ ไม่เป็นหนี้ใคร จะไปไหนก็ไป
ส่วนผู้ที่มีหนี้ ถ้ายังใช้หนี้ไม่หมด เจ้าหนี้ก็ไม่ปล่อยเธอไปโดยง่าย

NbN เจ้าหนี้คือตัณหา

ความหมายเดียวกัน

 ปัจจเวก = สังขายะ = ปฏิสังขายะ

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566

คำศัพท์ในวินัย

  • นิคคหกรรม การชี้ผิด คาดโทษ (ถ้าปัคคหกรรม คือชี้ชม)
  • ลงนิคคหกรรม การลงโทษ 
  • ตัชชนียกรรม ชี้โทษ การขู่ ต้องทัณฑ์บน ถ้าทำซ้ำอีกจะอย่างนี้ๆๆ เรียกไปเตือน
  • นิยสกรรม ถอดยศ เช่น พระถูกมอบหมายแต่งตั้งให้ทำหน้าที่นี้ๆๆ ดูแลนี้ๆๆ ให้ระงับการทำหน้าที่
  • ปัพพาชนียกรรม การขับไล่ ออกไปก่อนไปแก้ไขแล้วค่อยกลับมาใหม่
  • ปฏิสาราณียกรรม พยายามพูด กล่อม ชี้โทษ ให้ได้สติกลับคืนรับผิดรับชอบ
  • อุกเขปนียกรรม ยกออกจากหมู่ ไม่ให้ใครพูดด้วย ไม่ให้ใครไปหา ไม่เกื้อกูล คว่ำบาตรนั่นเอง
  • ปริวาส บุคคลผู้หวังความบริสุทธิ์ให้ตนเอง ติดคุก และประพฤติวัตร 94 ข้อ จำพวก ห้ามไปบวชใคร ห้ามไปสอนใคร ห้ามตำหนิ ห้ามออกความเห็น ห้ามเณรอุปักฐาก ห้ามผิดซ้ำ ห้ามผิดที่หนักกว่าเดิม (หนักกว่านี้ก็ปาราชิกแล้ว) ห้ามกล่าวหา ห้ามตัดสินใคร ห้ามทะเลาะ ห้ามเรียกร้อง ห้ามเดินนำหน้า ห้ามเดินตามหลังพระปกติ ห้ามนั่งขวางหน้าพระปกติแม้จะพรรษาน้อยกว่า ห้ามให้พระอื่นมาเล่า ห้ามสมาทานธุดงค์อยู่ป่า (ต้องอยู่ในสายตาอาจารย์) ห้ามบ่นเสนาสนะสุดท้าย ถ้าไปที่ไหนต้องบอกให้เขารู้ ถ้ามีแขกมาวัดต้องบอกให้พระรู้ด้วยว่าติดปริวาส ไปคลุกคลีกับภิกษุที่ต้องปริวาสด้วยกันไม่ได้ ห้ามนั่งที่เดียวกัน ห้ามเดินจงกรมที่เดียวกัน ฯลฯ
  • ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ขอให้เขาทำนั่นทำนี่ ขออนุญาตนั่นนี่ เรียกร้องนั่นนี่
  • ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาณ คืออยู่ปริวาสครบแล้ว สงฆ์กำลังจะรับเข้าเป็นปกติสงฆ์ดังเดิม
  • วัตตเภท วัตร 94 ข้อ ข้อใดข้อหนึ่งพลาด ต้องอาบัติ แต่ไม่ต้องนับวันใหม่
  • รัตติเฉท ต้องอาบัติและต้องนับวันใหม่
  • ปกตัตตภิกษุ ภิกษุปกติที่ไม่ต้องปริวาส
  • สหวาสะ ไปอยู่ร่วมกับคนอื่น เช่น อาสนะเดียวกัน มุง
  • วิปปวาสะ การอยู่ปราศ อยู่โดยไม่มีผู้คุม 
  • อนาโรจนา ไม่ยอมบอกว่ากำลังติดปริวาส
  • สุกกวิสัฏฐิ สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
  • อธิกรณสมถะ การระงับอธิกรณ์
  • วิวาทาธิกรณ์ วิวาทกันเรื่องธรรมวินัย เช่น โจทกันว่าเธอต้องอาบัตินี้ๆ อีกรูปบอก ไม่ๆ แบบนี้ไม่ต้องอาบัติ
  • อนุวาทาธิกรณ์ เข้าข้างคนทะเลาะ
  • สัมมุขาวินัย วิธีระงับอธิกรณ์โดย เรียกมาคุยกันต่อหน้าทั้ง 2 ฝ่ายให้มันจบ
  • เยภุยยสิกา วิธีระงับอธิกรณ์โดย ลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่ (ถ้าตัดสินไม่ได้) 
  • อมูฬหวินัย ทำผิดตอนเสียสติ วิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้ว่าต้องอาบัติตอนเป็นบ้า
  • สติวินัย พระอรหันต์ทำผิดวินัย วิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศสมมติให้ว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์
  • ตัสสปาปิยสิกา ลงโทษตามที่สารภาพ
  • ปฏิญญาตกรณะ ให้รับผิดตามหลักฐาน
  • ติณวัตถารกะ ระงับอธิกรณ์โดยประนีประนอม ไม่รื้อฟื้น (เอาหญ้าบังไว้) บางสิ่งเปิดเผยไม่งาม บางสิ่งปิดไว้ไม่งาม

ศิษย์พึงปฏิบัติต่ออาจารย์

 


วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2566

สติทำอะไรบ้าง

(๑) ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ 

โดยตรวจตรากระบวนการรับรู้และกระแสความคิด 

เลือกรับสิ่งที่ต้องการ กันออกไปซึ่งสิ่งที่ไม่ต้องการ 

ตรึงกระแสความคิดให้นิ่งเข้าที่ และทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย


(๒) ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพ เป็นตัวของตัวเอง 

เพราะมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุขโดยสภาพของมันเอง 

พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกอย่างได้ผลดี


(๓) ในภาวะที่จิตเป็นสมาธิ 

อาจใช้สติเหนี่ยวนำกระบวนการรับรู้ และกระแสความคิด 

ทำขอบเขตการรับรู้และความคิดให้ขยายออกไป

ในมิติต่างๆ หรือให้เป็นไปต่างๆ ได้


(๔) โดยการยึดจับอารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณาวางไว้ต่อหน้า 

จึงทำการพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญา ดำเนินไปได้ชัดเจนเต็มที่

เท่ากับเป็นพื้นฐานการสร้างเสริมปัญญาให้เจริญบริบูรณ์


(๕) ชำระพฤติกรรมต่างๆ 

ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริสุทธิ์ 

อิสระ ไม่เกลือกกลั้ว 

หรือเป็นไปด้วยอำนาจตัณหาอุปาทาน 

และร่วมกับสัมปชัญญะ 

ทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นเป็นไปด้วยปัญญา หรือบริสุทธิ์ล้วน


สังวร ๕

 (๑) ปาติโมกขสังวร หรือสีลสังวร

มีปกติเห็นโทษภัยแม้เล็กน้อย สมาทานในสิกขาบท

(๒) สติสังวร 

สติที่รักษาจิตไม่ให้เกิดกุศล

(๓) ญาณสังวร 

การปิดกั้นกิเลสชนิดตัดขาด

ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีกเพราะหมดเหตุ

ด้วยเห็นแจ้งตามเป็นจริง

ความยึดมั่นถือมั่น ก็ถูกทำลายไปโดยสิ้นเชิง

(๔) ขันติสังวร

ก็คือ ความสามารถที่จะคงสภาพจิตที่เป็นกุศลไว้ได้ 

ไม่โกรธ ไม่ขัดเคือง ไม่อาฆาตพยาบาท 

ไม่ว่าจะเผชิญกับอารมณ์ ใดๆ

(๕) วีริยสังวร

การปิดกั้นกิเลสไม่ให้เกิดโดยอาศัยความเพียรพยายาม 

แก้ กัน ก่อ เก็บ

เบ็ด

 ภิกษุทั้งหลาย เบ็ด ๖ ชนิดนี้ มีอยู่ในโลกเพื่อความวิบัติของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อฆ่าสัตว์ทั้งหลาย เบ็ด ๖ ชนิด อะไรบ้าง

คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

มีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูป

นั้นอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้กลืนเบ็ดของมาร

ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ ถูกมารผู้มีบาป

ทำได้ตามใจปรารถนา ฯลฯ 

นิมิต อนุพยัญชนะ

นิมิต หมายถึง การยึดถือแบบรวบรัดเป็นกลุ่มก้อน เช่น เป็นคน เป็นหญิง ชาย หมา แมว สวย หล่อ หุ่นดี เสียงหญิง เสียงชาย เสียงนุ่ม เสียงเพราะ เสียงกังวาน

อนุพยัญชนะ หมายถึง การยึดถือแบบแยกแยะรายละเอียด เช่น เป็นตา เป็นหู คิ้ว เล็บ หน้าอกสวย ตาสวย ขาสวย พูดชมว่าอย่างนี้ พูดถึงเราว่าอย่างนี้ พูดยกย่อง บรรยายสิ่งที่น่าพอใจ

การสำรวมอินทรีย์จึงปฏิบัติโดยการ ไม่ยึดติดในนิมิตและอนุพยัญชนะ

ถ้าข้าพเจ้าจะเปิดเผยความปรารถนา หรือคำอธิษฐาน

๑. ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนคิดจะได้ดีอะไรอย่างลอยๆ นั่งนอนคอยแต่โชควาสนา

โดยไม่ลงมือทำความดีหรือไม่เพียรพยายามสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตน

ถ้าข้าพเจ้าจะได้ดีอะไร ก็ขอให้ได้เพราะได้ทำความดีอย่างสมเหตุสมผลเถิด

๒. ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนลืมตน

ดูหมิ่นเหยียดหยามใครๆ ซึ่งอาจด้อยกว่าในทางตำแหน่ง

ฐานะการเงินหรือในทางวิชาความรู้

ขอให้ข้าพเจ้ามีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นให้เกียรติแก่เขาตามความเหมาะสม

ในการติดต่อเกี่ยวข้องกันเถิด

อย่าแสดงอาการข่มขู่เยาะเย้ยใครๆ ด้วยประการใดๆ เลย

จะติดต่อเกี่ยวข้องกับใครๆ ก็ขอให้มีความอ่อนโยนนุ่มนวล สุภาพเรียบร้อยเถิด

๓. ถ้าใครพลาดพลั้งลงในการครองชีวิต

หรือต้องประสบความทุกข์ ความเดือดร้อน เพราะเหตุใดๆ ก็ตาม

ขออย่าให้ข้าพเจ้าเหยียบย่ำซ้ำเติมคนเหล่านั้น

แต่จงมีความกรุณาหาทางช่วยให้เขาลุกขึ้น

ช่วยผ่อนคลายความทุกข์ร้อนให้แก่เขาเท่าที่จะสามารถทำได้

๔. ใครก็ตามถ้ามีความรู้ความสามารถขึ้นมาเท่าเทียม

หรือเกือบเท่าเทียมข้าพเจ้าก็ดี มีความรู้ความสามารถ

หรือมีผลงานอันปรากฏดีเด่นสูงส่งอย่างน่านิยมยกย่องยิ่งกว่าข้าพเจ้าก็ดี

ขออย่าให้ข้าพเจ้ารู้สึกริษยา หรือกังวลใจในความเจริญของผู้นั้นเลยแม้แต่น้อย

ขอให้ข้าพเจ้าพลอยยินดีในความดี

ความรู้ความสามารถของบุคคลเหล่านั้นด้วยความจริงใจ

ช่วยส่งเสริมสนับสนุนและให้กำลังใจแก่คนเหล่านั้น

อันเข้าลักษณะการมีมุทิตาจิตในพระพุทธศาสนา

ซึ่งตรงกันข้ามกับความริษยา

ขออย่าให้เป็นอย่างบางคน

ที่เกรงนักหนาว่าคนอื่นจะดีเท่าเทียมหรือดียิ่งกว่าตน

คอยหาทางพูดจาติเตียน

ใส่ไคล้ให้คนทั้งหลายเห็นว่าผู้นั้นยังบกพร่องอย่างนั้นอย่างนี้

ขอให้ข้าพเจ้ามีน้ำใจสะอาด

พูดส่งเสริมยกย่องผู้อื่นที่ควรยกย่องเถิด

๕. ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีน้ำใจเข้มแข็งอดทน

อย่าเป็นคนขี้บ่น ในเมื่อมีความอยากลำบากอะไรเกิดขึ้น

ขอให้มีกำลังใจต่อสู้กับความยากลำบากนั้นๆ

โดยไม่ต้องอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาช่วย

ขออย่าเป็นคนอ่อนแอเหลียวหาที่พึ่งเพราะไม่รู้จักทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเลย

ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนชอบได้อภิสิทธิ์ คือสิทธิเหนืออื่น

เช่นไปตรวจที่โรงพยาบาล ก็ขอให้พอใจนั่งคอยตามลำดับ

อย่าวุ่นวายจะเข้าตรวจก่อน ทั้งที่ตน

ไปถึงทีหลังเลย ในการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกใดๆ

ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดหาวิธีลัดหรือวิธีทุจริตใดๆ

รวมทั้งขออย่าได้วิ่งเต้นเข้าหาคนนั้นคนนี้

เพื่อให้เขาช่วยให้ได้ผลดีกว่าคนอื่น ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าอาจมีคะแนนสู้คนอื่นไม่ได้เถิด

๖. ถ้าข้าพเจ้าทำงานในที่ใด

ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดเอาเปรียบหรือคิดเอาแต่ได้ในทางส่วนตัว

เช่น เถลไถลไม่ทำงาน รีบเลิกงานก่อนกำหนดเวลา

ขอจงมีความขยันหมั่นเพียร

พอใจในการทำงานให้ได้ผลดี ด้วยความตั้งใจ และเต็มใจ

เสมือนหนึ่งทำงานให้แก่ตนเอง เพื่อประโยชน์ของตนเองฉะนั้นเถิด

อันเนื่องมาแต่ความไม่คิดเอาเปรียบในข้อนี้

ถ้าข้าพเจ้าเผอิญก้ำเกินข้าวของของที่ทำงานไปในทางส่วนตัวได้บ้าง

เช่น กระดาษ ซอง หรือเครื่องใช้ใดๆ

ขอให้ข้าพเจ้าระลึกอยู่เสมอว่าเป็นหนี้อยู่ และพยายามใช้หนี้คืนด้วยการซื้อใช้

หรือทำงานให้มากกว่าที่กำหนด เพื่อเป็นการชดเชยความก้ำเกินนั้น

ข้อนี้รวมทั้ง ขอให้ข้าพเจ้าจงอย่าเอาเปรียบชาติบ้านเมือง

เช่นในเรื่องการเสียภาษีอากร

ถ้ารู้อยู่ว่ายังเสียน้อยไปกว่าที่ควรหรือที่กฎหมายกำหนดไว้

ขอให้ข้าพเจ้ามีความตั้งใจที่จะชดใช้แก่ชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ

เมื่อมีโอกาสตอบแทนได้เมื่อไร ขอให้รีบตอบแทนโดยทันที

เช่น ในรูปของการบริจาคบำรุงโรงพยาบาล บำรุงการศึกษา

หรือบริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์อื่นๆ

แบบบริจาคให้มากกว่าที่รู้สึกว่ายังเป็นหนี้ชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ

และในข้อนี้ขอให้ข้าพเจ้าปฏิบัติแม้ต่อเอกชนใดๆ

ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดเอาเปรียบหรือโกงใครเลยแม้แต่น้อย

แม้จะซื้อของ ถ้าเขาทอนเงินเกินมา ก็ขอให้ข้าพเจ้ายินดีคืนให้เขากลับไปเถิด

อย่ายินดีว่ามีลาภ เพราะเขาทอนเงินเกินมาให้เลย

๗. ขออย่าให้ข้าพเจ้ามักใหญ่ใฝ่สูง

อยากมีหน้ามีตา อยากมีอำนาจ อยากเป็นใหญ่เป็นโต

ขอให้ข้าพเจ้าใฝ่สงบ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ

ไม่ต้องเดือดร้อนในเรื่องการแข่งดีกับใครๆ

ทั้งนี้เพราะข้าพเจ้าพอจะเดาได้ว่าความมักใหญ่ใฝ่สูง

ความอยากมีหน้ามีตา ความอยากมีอำนาจ และอยากเป็นใหญ่เป็นโตนั้น

มันเผาให้เร่าร้อน ยิ่งต้องแข่งดีกับใครๆ ด้วย ก็ยิ่งทำให้เกิดความคิดริษยา

คิดให้ร้ายคู่แข่งขัน ถ้าอยู่อย่างใฝ่สงบ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ก็จะเย็นอกเย็นใจ

ไม่ต้องนอนก่ายหน้าผากถอนใจ เพราะเกรงคู่แข่งจะชนะ

ไม่ต้องทอดถอนใจเพราะไม่สมหวัง

ขอให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจซาบซึ้งในพระพุทธภาษิตที่ว่า

“ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์

ละความชนะความแพ้เสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุข”

ดังนี้เถิด แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า

เมื่อใฝ่สงบแล้ว ข้าพเจ้าจะต้องอยู่อย่างเกียจคร้าน

ไม่สร้างความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม

ข้าพเจ้าทราบดีว่าพระพุทธศาสนามิได้สอนให้คนเกียจคร้านงอมืองอเท้า

แต่สอนให้มีความบากบั่นก้าวหน้าในทางที่ดี

ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม

และความบากบั่นก้าวหน้าดังกล่าวนั้น

ไม่จำเป็นต้องผูกพันอยู่กับความทะยานอยากหรือความมักใหญ่ใฝ่สูงใดๆ

คงทำงานไปตามหน้าที่ให้ดีที่สุด ผลดีก็จะเกิดตามมาเอง

๘. ขอให้ข้าพเจ้าหมั่นปลูกฝังความรู้สึกมีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้อื่น

และมีกรุณาคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

ซึ่งพระพุทธเจ้าแนะนำให้ปูพื้นจิตใจด้วยเมตตากรุณา ดังกล่าวนี้อยู่เสมอ

จนกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีใครเป็นศัตรูที่จะต้องคิดกำจัดตัดรอนเขาให้ถึงความพินาศ

ใครไม่ดีใครทำชั่วทำผิดให้เขาคิดได้ กลับตัวได้เสียเถิด อย่าทำผิดทำชั่วอีกเลย

ถ้ายังขืนทำต่อไป ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้

เขาจะต้องรับผลแห่งกรรมชั่วของเขาเอง

เราไม่ต้องคิดแช่งชักให้เขาพินาศ

เขาก็จะต้องถึงความพินาศของเขาอยู่แล้ว

จะต้องแช่งให้ใจเราเดือดร้อนทำไม

ขอให้ความเมตตาคิดจะเป็นสุข และกรุณาคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์

ซึ่งข้าพเจ้าปลูกฝังขึ้นในจิตนั้น จงอย่าเป็นไปในวงแคบและวงจำกัด

ขอจงเป็นไปทั้งในมนุษย์ และสัตว์ทุกประเภท

รวมทั้ง สัตว์ดิรัจฉานด้วย

เพราะไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เหล่านั้น

ต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์ รู้จักรักตนเองปรารถนาดีต่อตนเองด้วยกันทั้งสิ้น

๙. ขอให้ข้าพเจ้าอย่าเป็นคนโกรธง่าย

ต่างว่าจะโกรธบ้าง ก็ขอให้มีสติรู้ตัวโดยเร็วว่ากำลังโกรธ

จะได้สอนใจตัวเองให้บรรเทาความโกรธลง

หรือถ้าห้ามใจให้โกรธไม่ได้

ก็ขออย่าให้ถึงกับคิดประทุษร้ายผู้อื่น

หรือคิดอยากให้เขาถึงพินาศ ซึ่งนับเป็นมโนทุจริตเลย

ขอจงสามารถควบคุมจิตใจให้เป็นปกติได้โดยรวดเร็ว

เมื่อมีความไม่พอใจหรือความโกรธเกิดขึ้นเถิด

และเนื่องมาจากความปรารถนาข้อนี้

ขอให้ข้าพเจ้าอย่าเป็นคนผูกโกรธ

ให้รู้จักให้อภัยทำใจให้ปลอดโปร่งจากการผูกอาฆาตจองเวร

ขอให้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

โดยรู้จักเปรียบเทียบกับตัวข้าพเจ้าเองว่าข้าพเจ้าเองก็อาจทำผิด พูดผิด คิดผิด

หรืออาจล่วงเกินผู้อื่นได้ ทั้งโดยมีเจตนาและไม่เจตนา

ก็ถ้าข้าพเจ้าเองยังทำผิดได้

เมื่อผู้อื่นทำอะไรผิดพลาดล่วงเกินไปบ้าง ก็จงให้อภัยแก่เขาเสียเถิด

อย่าผูกใจเจ็บหรือเก็บความรู้สึกไม่พอใจนั้นมาขังอยู่ในจิตใจ ให้เป็นพิษเป็นภัยแก่ตัวเองเลย

๑๐. ขอให้ข้าพเจ้ามีความรู้ความเข้าใจและสอนใจตัวเองได้

เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งทางโลกและทางธรรม

กล่าวคือ พระพุทธศาสนาสอนให้รู้จัก

สร้างความเจริญแก่ตนในทางโลก และสอนให้ประพฤติปฏิบัติ

ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นให้มีปัญญาเข้าใจปัญหาแห่งชีวิต

เพื่อจะได้ไม่ติดไม่ยึดถือ มีจิตใจเบาสบายอันเป็นความเจริญในทางธรรม

ซึ่งรวมความแล้วสอนให้เข้ากับโลกได้ดี ไม่เป็นภัยอันตรายแก่ใครๆ

แต่กลับเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ

แต่ก็ได้สอนไปในทางธรรมให้เข้ากับธรรมได้ดี

คือให้รู้จักโลก รู้เท่าทันโลก

และขัดเกลานิสัยใจคอให้ดีขึ้นกว่าเดิม

เพื่อบรรลุความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์

ขอให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจดีทั้งทางโลกทางธรรม

และ ปฏิบัติจนให้ถูกต้องได้ทั้งสองทาง

รวมทั้งสามารถหาความสงบใจได้เอง

และสามารถแนะนำชักชวนเพื่อนร่วมชาติร่วมโลก

ให้ได้ประสบความสุขได้ตามสมควรเถิด

ความปรารถนาหรือคำอธิษฐาน รวม ๑๐ ประการของข้าพเจ้านี้

ข้าพเจ้าตั้งไว้เพื่อเป็นแนวทางเตือนใจหรือสั่งสอนตัวเอง

เพราะปรากฏว่าตัวข้าพเจ้าเองยังมีข้อบกพร่อง

ซึ่งจะต้องว่ากล่าวตักเตือน คอยตำหนิตัวเองอยู่เสมอ

ข้าพเจ้าจึงคิดว่า ถ้าได้วางแนวสอนตัวเองขึ้นไว้เช่นนี้

เมื่อประพฤติผิดพลาดก็อาจระลึกได้

หรือมีหลักเตือนตนได้ง่ายกว่าการที่จะนึกว่าข้าพเจ้าดีพร้อมแล้ว

หรือเป็นบุคคลที่สมบูรณ์แล้ว ซึ่งนับเป็นความประมาทหรือลืมตัวอย่างยิ่ง


สุชีพ ปุญญานุภาพ