เนวสัญญาฯ
มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
มีเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่มีเวทนาก็ไม่ใช่
มีจิตก็ไม่ใช่ ไม่มีจิตก็ไม่ใช่
เหมือนครึ่งรับรู้ครึ่งไม่รับรู้
พูดอีกอย่างก็ครึ่งหลับครึ่งตื่น
แต่ไม่ขาดสติ กำหนดตามลำดับมา !!!
ถ้าจะเป็นแบบสมาบัติจริง คือไม่ขาดสติ มีสมาธิเป็นกำลังหนุนมาตั้งแต่ต้น
ไม่ใช่โพล้ๆ เพล้ๆ เดี๋ยวหลับๆ เดี๋ยวตื่นๆ แบบผู้ฝึกใหม่
แต่ถ้ากำลังของจิตหนุนไม่ดี
แล้วมาทำวิธีนี้
ดีไม่ดีสัญญาเสื่อม
คือพอสัญญาไม่ค่อยทำงาน นั่งไม่คิด
พอออกจากนั่งสมาธิมาจะคิดอะไรคิดไม่ค่อยออก
ถ้ากำลังเยอะๆ จะเป็นการทำลายสัญญาเหมือนกันต้องระวัง
กำหนดอะไรไม่ออก มาทำงานก็คิดอะไรไม่ออก ช้ากว่าเขาเพื่อน
แต่ถ้าปฏิบัติถูก
จะตัดสัญญาไม่จำเป็นทิ้ง
เรารู้จักมัน แล้วก็ไม่ยึดถือ
แต่สัญญาที่ดีก็เอามาใช้งาน
ไม่ใช่ดับให้หมด
หลักการ
ถ้าสติดี อันไหนชัด อย่าลืมกำหนด อันนี้เกิดขึ้น อันนี้ตั้งอยู่อันนี้ดับไป
ส่วนอันไหนเบลอ ให้ออกมา แล้วรวบเลย เมื่อกี้เป็นอดีต ดับไปได้ ... จบ
ฌานละเอียดกำหนดอดีต ไม่ต้องกำหนดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
เบลอๆ อยู่ไปพยายามกำหนดจะยิ่งเลอะเทอะ
ไม่ใช่กำหนดรู้ปัจจุบันยันเต ตอนเบลอๆ จะรู้อะไรล่ะ
จะบ้าเอาได้
วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561
วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561
ปัญญามันจะมองเห็นว่าเหลือแต่ทุกข์
ถ้ามีปัญญามันจะมองเห็นว่าเหลือแต่ทุกข์ไปหมด
สมาธินี่เป็นไปเพื่อยถาภูตญาณ (ไม่ใช่เอาไปทำอย่างอื่น)
สมมติไปสร้างอะไรละเอียดๆ ขึ้นมา ก็ต้องรู้จักมันด้วยว่ามันก็เกิดด้วยเหตุปัจจัย
ไม่ใช่ว่าว่างงงงง~~~ ค้าง ไม่มีอะไรเลย
จิตไปรับรู้ความว่างเข้า
ไม่ใช่ว่ามีแต่ "ว่าง ไม่เห็นมีอะไร"
อันนี้มัน ก็ว่างจริงๆ ว่างจากปัญญาไปด้วย
หรือเหลือ "สุข~~~"
ที่พระโสดาบันยังพอทนๆ อยู่ได้เพราะยังเหลือสุขนี่แหละ
มันถึงยังเหลืออยู่
ส่วนพระอรหันต์ โลกนี่อะไรๆ ก็ทุกข์หมด
ท่านจะหยิบอะไรขึ้นมาอีกมั้ย
สมาธินี่เป็นไปเพื่อยถาภูตญาณ (ไม่ใช่เอาไปทำอย่างอื่น)
สมมติไปสร้างอะไรละเอียดๆ ขึ้นมา ก็ต้องรู้จักมันด้วยว่ามันก็เกิดด้วยเหตุปัจจัย
ไม่ใช่ว่าว่างงงงง~~~ ค้าง ไม่มีอะไรเลย
จิตไปรับรู้ความว่างเข้า
ไม่ใช่ว่ามีแต่ "ว่าง ไม่เห็นมีอะไร"
อันนี้มัน ก็ว่างจริงๆ ว่างจากปัญญาไปด้วย
หรือเหลือ "สุข~~~"
ที่พระโสดาบันยังพอทนๆ อยู่ได้เพราะยังเหลือสุขนี่แหละ
มันถึงยังเหลืออยู่
ส่วนพระอรหันต์ โลกนี่อะไรๆ ก็ทุกข์หมด
ท่านจะหยิบอะไรขึ้นมาอีกมั้ย
วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561
อนุสัยมันอยู่ที่ไหน
อะไรที่เป็นสังขารนั้น ไม่มีที่อยู่หรอก
ถ้ามีที่อยู่มันก็ไม่เป็นสังขารสิ
มันมีเหตุมันก็เกิด
ถ้ามีที่อยู่มันก็ไม่เป็นสังขารสิ
มันมีเหตุมันก็เกิด
กิเลส สังโยชน์ อนุสัย
อันเดียวกัน
แล้วแต่จะมองมุมไหน
ถ้ามองมุมว่าผูกเอาไว้ ก็เรียกว่าสังโยชน์
เช่น สังโยชน์เบื้องต่ำก็ผูกสัตว์ไว้ในกามภูมิ 11
ถ้ามองว่านอนเนื่อง ก็เรียกว่าอนุสัย
แล้วแต่จะมองมุมไหน
ถ้ามองมุมว่าผูกเอาไว้ ก็เรียกว่าสังโยชน์
เช่น สังโยชน์เบื้องต่ำก็ผูกสัตว์ไว้ในกามภูมิ 11
ถ้ามองว่านอนเนื่อง ก็เรียกว่าอนุสัย
การเห็นว่าอริยมรรคเป็นทางออกเห็นยังไง
สังโยชน์มากหรือน้อย
อยู่ที่รู้เครื่องออกหรือเปล่า
เครื่องออกคืออริยมรรค
ก็ต้องเริ่มจากมีสัมมาทิฏฐิ
เห็นความจริง - สัมมาทิฏฐิ
เห็นโทษและต้องการออกจากมัน - สัมมาสังกัปปะ
เช่น เมื่อวิจิกิจฉากลุ้มรุม รู้ทางออกมั้ย รู้อุบายเครื่องออกมั้ย
ถ้าไม่สังโยชน์ก็เท่าเดิม ถ้ารู้สังโยชน์ก็เริ่มเบาบาง
เห็นว่าวิจิกิจฉานี้มันไม่เที่ยงเนอะ มีเหตุก็เกิด -- เห็นความจริง
โดนครอบแล้วเป็นทุกข์เนอะ มีโทษเนอะ -- เห็นโทษ
ถ้าไม่ออกจากมันจะเป็นทุกข์ต่อไปเรื่อยๆ -- ต้องการออก
เป็นต้น
อยู่ที่รู้เครื่องออกหรือเปล่า
เครื่องออกคืออริยมรรค
ก็ต้องเริ่มจากมีสัมมาทิฏฐิ
เห็นความจริง - สัมมาทิฏฐิ
เห็นโทษและต้องการออกจากมัน - สัมมาสังกัปปะ
เช่น เมื่อวิจิกิจฉากลุ้มรุม รู้ทางออกมั้ย รู้อุบายเครื่องออกมั้ย
ถ้าไม่สังโยชน์ก็เท่าเดิม ถ้ารู้สังโยชน์ก็เริ่มเบาบาง
เห็นว่าวิจิกิจฉานี้มันไม่เที่ยงเนอะ มีเหตุก็เกิด -- เห็นความจริง
โดนครอบแล้วเป็นทุกข์เนอะ มีโทษเนอะ -- เห็นโทษ
ถ้าไม่ออกจากมันจะเป็นทุกข์ต่อไปเรื่อยๆ -- ต้องการออก
เป็นต้น
เด็กแบเบาะก็มีอนุสัย
ท่านกล่าว
เด็กอ่อนแบเบาะ ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีสังโยชน์ อนุสัย
สังโยชน์/อนุสัย
นี่เป็นคำที่ใช้แสดงศักยภาพ พร้อมที่จะมีเมื่อมีเหตุ
แม้ตอนนี้ไม่มี แต่มันยังมีเมื่อมันมีเหตุ
อันนี้เรียกว่ายังมีสังโยชน์
ดูมหามาลุกยสูตร
คำว่านอนเนื่องที่นิยมแปลกัน ความหมายคือ ยังละไม่ได้
เด็กอ่อนแบเบาะ ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีสังโยชน์ อนุสัย
สังโยชน์/อนุสัย
นี่เป็นคำที่ใช้แสดงศักยภาพ พร้อมที่จะมีเมื่อมีเหตุ
แม้ตอนนี้ไม่มี แต่มันยังมีเมื่อมันมีเหตุ
อันนี้เรียกว่ายังมีสังโยชน์
ดูมหามาลุกยสูตร
คำว่านอนเนื่องที่นิยมแปลกัน ความหมายคือ ยังละไม่ได้
วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561
มันแล้วไปแล้ว?
เธอจำได้หรือไม่ว่าเราแสดงสังโยชน์เบื้องต่ำไว้อย่างไรข้าพระองค์ทรงจำได้ว่า
สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา
สีลลัพตปรามาส
กามฉันทะ
พยาบาท ... เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำอันพระองค์แสดงไว้แล้ว
เธอไปจำมาจากไหนว่าเราพูดอย่างนั้น !
อ้าว~~~
คำตอบนี้ฟังดูก็เหมือนจะถูกต้อง แต่ผิด 5555
ที่ผิดเพราะตอบเป็นสภาวธรรม
การตอบเป็นสภาวธรรม ก็เช่น
นี่เรานั่งฟังธรรมอยู่อย่างนี้ ไม่มีกิเลส ไม่มีความเห็นผิด
แปลว่าเราไม่มีสังโชน์รึป่าว
"คือตอบแบบนี้มันสื่อถึง ใครไม่มีกิเลสในเวลานั้นก็ไม่มีสังโยชน์ในเวลานั้นใช่มั้ย" ผิด
เหมือนพูดเรื่อง "สักกายทิฏฐิ" - รูปเป็นเรา
คนที่ไม่เห็นว่ารูปเป็นเรา ก็แสดงว่าไม่มีสักกายทิฏฐิใช่หรือไม่ ผิด
มันผิดเพราะ ตอนนั้นกิเลสยังไม่เกิดก็ไม่เห็นสิ
ดังนั้น ถ้าพูดแต่หลักธรรมขึ้นมาลอยๆ มันจะไม่ตรง
ถ้าจะพูดสักกายทิฏฐิให้ครบ ก็ต้องพูดตามที่ท่านแสดงเอาไว้ว่า
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้
ไม่ได้ฟังธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้รับคำแนะนำ...
อย่างนี้จึงจะถูกต้อง มันต้องเชื่อมโยงกับธรรมอันอื่นด้วย
เหมือนการเรียนเรื่อง "อนัตตา" ถ้าพูดขึ้นมาโดดๆ
ไม่เรียนให้ดีๆ ว่าธรรมะข้อนี้เชื่อมโยงกับธรรมหมวดอื่นอย่างไร
และเชื่อมแบบไหนถึงได้ธรรมข้อนี้มา
ก็ผิดไปเลย
เรื่องอนัตตา ก็ชอบพูดกันว่า มันแล้วไปแล้ว
คือ เหตุมันแล้วไปแล้ว แต่เราก็ว่า "มันแล้วไปแล้ว" อันนี้ก็ ผิด
ผิดเพราะมันไม่เชื่อมโยงไปสู่ผล
เหตุแล้วไปแล้วก็จริง แต่ผลมันยังมี
เหตุที่แล้วไปแล้ว เป็นโอกาสของผลที่จะเกิดต่างหาก มันเชื่อมโยงกันอย่างนี้
เวลาทรงจำ จึงต้องทรงจำแม่นๆ ว่าธรรมะนี้เชื่อมโยงกับอะไรอยู่
---
อันที่จริง
ตัวคำพูดมันจะฟังให้ถูกก็ได้
แต่ต้องเห็นว่าความเข้าใจเบื้องหลังอันนี้ต้องแม่นๆ
---
คำว่า "สังโยชน์เบื้องต่ำ" นี่ไม่ใช่ตอนมีกิเลส ตอนไม่มีกิเลสก็มีสังโยชน์เบื้องต่ำได้
เป็นอย่างนั้นเพราะเวลาดู จะดูที่บุคคลนั้นมีศักยภาพพอหรือยัง
เช่น สมมติตอบว่าสังโยชน์เบื้องต่ำคือความโกรธ
ถาม : ถ้าตอนนี้ไม่มีความโกรธ ถามว่าไม่มีสังโยชน์เบื้องต่ำใช่หรือไม่?
มันน่าจะตอบใช่ใช่มั้ย สังเกตว่าเวลาเอามาพูดนี่
ดูเหมือนถูกแต่มันผิดนะ
ความรู้นี้มันต้องเชื่อมโยงกันกับอันอื่น
เช่น คนที่ไม่ได้สดับ ยังไม่รู้วิธีปฏิบัติ เมื่อความโกรธเกิดขึ้น
เขาไม่สามารถจะรู้เท่าทันความโกรธ ไม่รู้อุบายสลัดออก
ความโกรธสามารถครอบงำเขาได้
อันนี้เรียกว่า มีสังโยชน์เบื้องต่ำ
คือตอนนี้มี/ไม่มีไม่เกี่ยว
แต่ว่าถ้าเกิดแล้ว
สามารถ "ครอบงำ" จิตเขาได้
เขาไม่รู้วิธีจัดการ
ไม่รู้เหตุปัจจัยของมัน
ไม่รู้วิธีให้มันดับ
วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561
ความต่างของธัมมานุปัสสนาใน 2 สูตร
สำหรับในมหาสติปัฏฐานสูตร
จะพูดเน้นไปที่ตัวอารมณ์ เห็นอะไร
เช่น ถ้าเอากายเป็นอารมณ์
เป็นอาหารให้ความเพียร สัมปชัญญะ สติ
ก็เรียกกายานุปัสสนา (เน้นไปที่อาหาร)
คือจริงๆ ต้องการตัวมัน (หมายถึง ความเพียร สัมปชัญญะ สติ)
แต่ตอนพูด พูดเน้นไปที่อาหาร
ในธัมมานุปัสสนาก็ให้เอา
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นิวรณ์ โพชฌงค์ เป็นอาหาร
คือเป็นอารมณ์ที่ถูกรู้
ส่วนในอานาปานสติ
จะพูดเน้นไปที่ตัวรู้ ตัวปัญญา เห็นอย่างไร
คือทั้งสองสูตรมันก็ต้องเห็นเหมือนกัน
คือเห็นอะไร สุดท้ายก็ต้องเห็นอย่างไรด้วยนั่นแหละจึงเรียกว่ามีปัญญา
เพียงแต่จะพูดเน้นอันไหนเท่านั้น
กาย เวทนา จิต ธรรม ในสติปัฏฐาน เป็นอารมณ์ของสติปัญญา
กาย เวทนา จิต ธรรม ในอานาปานสติ เป็นกระบวนการฝึกปัญญา เน้นไปที่ตัวปัญญา
รู้แบบไหนจึงเรียกว่ารู้ธัมมะ
จะพูดเน้นไปที่ตัวอารมณ์ เห็นอะไร
เช่น ถ้าเอากายเป็นอารมณ์
เป็นอาหารให้ความเพียร สัมปชัญญะ สติ
ก็เรียกกายานุปัสสนา (เน้นไปที่อาหาร)
คือจริงๆ ต้องการตัวมัน (หมายถึง ความเพียร สัมปชัญญะ สติ)
แต่ตอนพูด พูดเน้นไปที่อาหาร
ในธัมมานุปัสสนาก็ให้เอา
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นิวรณ์ โพชฌงค์ เป็นอาหาร
คือเป็นอารมณ์ที่ถูกรู้
ส่วนในอานาปานสติ
จะพูดเน้นไปที่ตัวรู้ ตัวปัญญา เห็นอย่างไร
คือทั้งสองสูตรมันก็ต้องเห็นเหมือนกัน
คือเห็นอะไร สุดท้ายก็ต้องเห็นอย่างไรด้วยนั่นแหละจึงเรียกว่ามีปัญญา
เพียงแต่จะพูดเน้นอันไหนเท่านั้น
กาย เวทนา จิต ธรรม ในสติปัฏฐาน เป็นอารมณ์ของสติปัญญา
กาย เวทนา จิต ธรรม ในอานาปานสติ เป็นกระบวนการฝึกปัญญา เน้นไปที่ตัวปัญญา
รู้แบบไหนจึงเรียกว่ารู้ธัมมะ
วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561
อาหารของอวิชชา
ยังรักอยู่ก็โง่ไปเรื่อย
ยังชังอยู่ก็โง่ไปเรื่อย
ยังง่วงอยู่ก็โง่ไปเรื่อย
ยังฟุ้งซ่านก็โง่ไปเรื่อย
ยังสงสัยก็โง่ไปเรื่อย
จึงต้องมาฝึกสติสมาธิเพื่อไม่ให้อาหารอวิชชา
ยังชังอยู่ก็โง่ไปเรื่อย
ยังง่วงอยู่ก็โง่ไปเรื่อย
ยังฟุ้งซ่านก็โง่ไปเรื่อย
ยังสงสัยก็โง่ไปเรื่อย
จึงต้องมาฝึกสติสมาธิเพื่อไม่ให้อาหารอวิชชา
วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561
วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561
เปลื้องจิต
ถ้ากิเลสยังครอบงำอยู่นี่ท่านไม่ให้พิจารณา
ท่านให้ "เปลื้องจิต" ออกจากนิวรณ์ให้ได้ก่อน
นิวรณ์นี่จะเป็นนิวรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมันครอบงำจิต
ถ้ามันไม่ครอบงำ มันก็เป็นวิตกวิจารณ์ธรรมดา
เวลาพิจารณาตอนมีนิวรณ์นี่ก็ เช่น
...อ่าว สิ่งนี้มันก็ไม่เที่ยงนี่
งั้นรีบๆ ใช้ตอนนี้เลยละกัน...
คือแทนที่จะละ กลายเป็นรีบคว้าซะงั้น 5555
ท่านให้ "เปลื้องจิต" ออกจากนิวรณ์ให้ได้ก่อน
นิวรณ์นี่จะเป็นนิวรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมันครอบงำจิต
ถ้ามันไม่ครอบงำ มันก็เป็นวิตกวิจารณ์ธรรมดา
เวลาพิจารณาตอนมีนิวรณ์นี่ก็ เช่น
...อ่าว สิ่งนี้มันก็ไม่เที่ยงนี่
งั้นรีบๆ ใช้ตอนนี้เลยละกัน...
คือแทนที่จะละ กลายเป็นรีบคว้าซะงั้น 5555
ตามดู
คำว่า ตามดู (อนุปัสสติ) พิจารณาดู
คือให้ตามดูโดยความเป็นของไม่เที่ยง
(ไม่ใช่ให้ตามดูโดยความเป็นของเที่ยง)
ไม่ใช่ดูว่ามันเก่งจัง ทนได้ด้วย
ไม่ใช่ดูว่ามันสุขเหลือเกิน
อันนี้ตามดูไม่เป็น
คือให้ตามดูโดยความเป็นของไม่เที่ยง
(ไม่ใช่ให้ตามดูโดยความเป็นของเที่ยง)
ไม่ใช่ดูว่ามันเก่งจัง ทนได้ด้วย
ไม่ใช่ดูว่ามันสุขเหลือเกิน
อันนี้ตามดูไม่เป็น
กำหนดจิต กับดูจิตเหมือนกันมั้ย
(พิกัดเนื้อหา จิตตานุปัสสนา ในอานาปานสติ)
ดูจิตนี้เป็นวิธีการฝึกสติวิธีนึงในสติปัฏฐาน 4
แต่จิตตานุปัสสนาในอานาปานฯ นี่พูดเลยการฝึกสติเบื้องต้นมาแล้ว
สติปัฏฐานนี้เป็นขั้นพื้นฐาน
ถ้าเป็นการกำหนดจิตให้เห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
อันนี้เป็นธัมมวิจัย
แต่ว่าสติปัฏฐาน 4 ในอานาปานสตินี้เป็นขั้นสูง
จะต่างกับสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร
มหาสติปัฏฐานสูตรนี้เป็นเน้นกระบวนการฝึกสติเฉยๆ
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ -- คือทำยังไงให้มันได้สติขึ้นมาก่อน
ทีนี้ได้สติแล้ว ต้องมาเติมความเพียรให้มันได้สมาธิ ได้สัมมัปปธาน ได้อิทธิบาท
แล้วค่อยมาเจริญโพชฌงค์ -- โพชฌงค์ นี่จะเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาอย่างเต็มที่เลย
อานาปานสตินี่คือท่านสอนฝึกตั้งแต่สติปัฏฐานจนถึงโพชฌงค์เลย
ด้วยกรรมฐานเดียว คือท่านรวมองค์ธรรมทุกอันเข้ามาหมด
ในมหาสติปัฏฐานสูตรนี่
คือมาบอกว่าใช้อารมณ์อะไรในการฝึกสติได้บ้าง
การดูจิตทั้งสิบกว่าลักษณะนั้นก็คือ ทำให้มีสติเพิ่มขึ้น
พอมีสติแล้วก็ต้องมาฝึกต่อมามีความเพียรต่อ
ไม่ใช่แค่ว่า จิตมีกิเลสก็รู้ว่ามีกิเลส ดีก็รู้ว่าดี ค้างอยู่แค่นั้น ยังใช้ไม่ได้
เมื่อรู้จักจิต แล้วจะต้องมาทำสัมมัปปธานต่อ (เพียร)
เพียรคือ ของไม่ดีต้องงดเว้น ไม่ใช่ไปตามใจเรื่อยไป
มันถัดมาจากขั้นต้น - ไม่ดีรู้ว่าไม่ดี
ขั้นถัดขึ้นมา (สัมมัปปธาน) นี้คือ - ไม่ดีต้องหัดเลิก ! ต้องหัด ไม่ให้มันไม่ดี
อันนี้มันจะได้สมาธิขึ้นมา
พอได้สมาธิแล้ว มากำหนดรู้จิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
อันนี้คือวิปัสสนา
ข้อดีของสติปัฏฐาน 4 คือ
อารมณ์ในการฝึกตอนต้นกับตอนสุดท้ายนี่ใช้อันเดียวกันได้หมด
มันง่าย ท่านเลยนิยมให้ฝึกตามสติปัฏฐาน
แต่ถ้ากรรมฐานอื่น ทำๆ ไปถึงจุดนึงก็ต้องเลี้ยวเข้ามาอยู่ดี
อันนี้พอทำความเพียรได้สมาธิแล้ว ก็มารู้อยู่ใน 4 อันนี้แหละ สะดวก :D
ดูจิตนี้เป็นวิธีการฝึกสติวิธีนึงในสติปัฏฐาน 4
แต่จิตตานุปัสสนาในอานาปานฯ นี่พูดเลยการฝึกสติเบื้องต้นมาแล้ว
สติปัฏฐานนี้เป็นขั้นพื้นฐาน
ถ้าเป็นการกำหนดจิตให้เห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
อันนี้เป็นธัมมวิจัย
แต่ว่าสติปัฏฐาน 4 ในอานาปานสตินี้เป็นขั้นสูง
จะต่างกับสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร
มหาสติปัฏฐานสูตรนี้เป็นเน้นกระบวนการฝึกสติเฉยๆ
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ -- คือทำยังไงให้มันได้สติขึ้นมาก่อน
ทีนี้ได้สติแล้ว ต้องมาเติมความเพียรให้มันได้สมาธิ ได้สัมมัปปธาน ได้อิทธิบาท
แล้วค่อยมาเจริญโพชฌงค์ -- โพชฌงค์ นี่จะเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาอย่างเต็มที่เลย
อานาปานสตินี่คือท่านสอนฝึกตั้งแต่สติปัฏฐานจนถึงโพชฌงค์เลย
ด้วยกรรมฐานเดียว คือท่านรวมองค์ธรรมทุกอันเข้ามาหมด
ในมหาสติปัฏฐานสูตรนี่
คือมาบอกว่าใช้อารมณ์อะไรในการฝึกสติได้บ้าง
การดูจิตทั้งสิบกว่าลักษณะนั้นก็คือ ทำให้มีสติเพิ่มขึ้น
พอมีสติแล้วก็ต้องมาฝึกต่อมามีความเพียรต่อ
ไม่ใช่แค่ว่า จิตมีกิเลสก็รู้ว่ามีกิเลส ดีก็รู้ว่าดี ค้างอยู่แค่นั้น ยังใช้ไม่ได้
เมื่อรู้จักจิต แล้วจะต้องมาทำสัมมัปปธานต่อ (เพียร)
เพียรคือ ของไม่ดีต้องงดเว้น ไม่ใช่ไปตามใจเรื่อยไป
มันถัดมาจากขั้นต้น - ไม่ดีรู้ว่าไม่ดี
ขั้นถัดขึ้นมา (สัมมัปปธาน) นี้คือ - ไม่ดีต้องหัดเลิก ! ต้องหัด ไม่ให้มันไม่ดี
อันนี้มันจะได้สมาธิขึ้นมา
พอได้สมาธิแล้ว มากำหนดรู้จิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
อันนี้คือวิปัสสนา
ข้อดีของสติปัฏฐาน 4 คือ
อารมณ์ในการฝึกตอนต้นกับตอนสุดท้ายนี่ใช้อันเดียวกันได้หมด
มันง่าย ท่านเลยนิยมให้ฝึกตามสติปัฏฐาน
แต่ถ้ากรรมฐานอื่น ทำๆ ไปถึงจุดนึงก็ต้องเลี้ยวเข้ามาอยู่ดี
อันนี้พอทำความเพียรได้สมาธิแล้ว ก็มารู้อยู่ใน 4 อันนี้แหละ สะดวก :D
กำหนดชีวิตินทรีย์
ชีวิตินทรีย์
กำหนดตอนชีวิตต่อกันกับไม่ต่อ
คือพวกระลึกชาติจะเห็นชัด
พวกมีจุตูปปาตญาณ
มันจะเห็นความขาดของชีวิต
พวกธรรมดาเราๆ ท่านๆ ก็ ลำบากหน่อย
เห็นยาก
คือชีวิตินทรีย์มันอนุบาลทุกสภาวะ
แต่จริงๆ มันก็ไม่เที่ยง แต่ความถี่การเกิดดับมันก็เท่ากับจิต มันเลยกำหนดยาก
มันไม่เปลี่ยนเหมือนเวทนา อันนั้นมันก็จะเห็นชัด
ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกกำหนดยาก
ง่ายขึ้นมาอีกหน่อยก็เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปละเอียด
คือก็ยากแหละ แต่เป็นรูปมันก็ยังหยาบกว่านาม
ก็ใช้วิธีนึกย้อนเอา...
ร่างกายนี่ ถ้าไม่มีชีวิตมันจะเป็นยังไง? ท่อนไม้?
แล้วทำไมอันนี้มันไม่เป็นท่อนไม้?
อะไรที่มันต่างกัน...?
ความต่างอันนั้นแหละ ใช้ใจรู้สึกเอา...คือ ชีวิตินทรีย์
นึกถึงว่าจับมือเรา กับจับมือศพ
อะไรทำให้มันต่างกัน
อันนั้นไม่มีชีวิตินทรีย์รักษา
อันนี้มีชีวิตินทรีย์รักษา
อะไรที่มันละเอียดก็ต้องอาศัยมนสิการช่วย
ตะล่อมๆ เอา หลายชั้น ค่อยๆ เข้าใจ
เปรียบเทียบเข้าไปเรื่อยๆ
แล้วมันจะค่อยๆ รู้ว่า ไม่ได้เห็นด้วยตา ไม่ยินด้วยหู แต่รู้ด้วยจิต
กำหนดตอนชีวิตต่อกันกับไม่ต่อ
คือพวกระลึกชาติจะเห็นชัด
พวกมีจุตูปปาตญาณ
มันจะเห็นความขาดของชีวิต
พวกธรรมดาเราๆ ท่านๆ ก็ ลำบากหน่อย
เห็นยาก
คือชีวิตินทรีย์มันอนุบาลทุกสภาวะ
แต่จริงๆ มันก็ไม่เที่ยง แต่ความถี่การเกิดดับมันก็เท่ากับจิต มันเลยกำหนดยาก
มันไม่เปลี่ยนเหมือนเวทนา อันนั้นมันก็จะเห็นชัด
ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกกำหนดยาก
ง่ายขึ้นมาอีกหน่อยก็เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปละเอียด
คือก็ยากแหละ แต่เป็นรูปมันก็ยังหยาบกว่านาม
ก็ใช้วิธีนึกย้อนเอา...
ร่างกายนี่ ถ้าไม่มีชีวิตมันจะเป็นยังไง? ท่อนไม้?
แล้วทำไมอันนี้มันไม่เป็นท่อนไม้?
อะไรที่มันต่างกัน...?
ความต่างอันนั้นแหละ ใช้ใจรู้สึกเอา...คือ ชีวิตินทรีย์
นึกถึงว่าจับมือเรา กับจับมือศพ
อะไรทำให้มันต่างกัน
อันนั้นไม่มีชีวิตินทรีย์รักษา
อันนี้มีชีวิตินทรีย์รักษา
อะไรที่มันละเอียดก็ต้องอาศัยมนสิการช่วย
ตะล่อมๆ เอา หลายชั้น ค่อยๆ เข้าใจ
เปรียบเทียบเข้าไปเรื่อยๆ
แล้วมันจะค่อยๆ รู้ว่า ไม่ได้เห็นด้วยตา ไม่ยินด้วยหู แต่รู้ด้วยจิต
การกำหนดเอกัคคตา
หมายถึง การกำหนดความเป็นหนึ่ง
ความไม่ซัดส่ายของจิต
ทำสมาธิ
เมื่อจิตตั้งมั่นดี
ท่านให้กำหนดความไม่ซัดส่าย
ความมีอารมณ์หนึ่งเป็นหลักไว้ก่อน ก็กำหนดรู้ความเป็นแบบนี้
เอกัคคตานี่เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้
ความไม่ซัดส่ายของจิต
ทำสมาธิ
เมื่อจิตตั้งมั่นดี
ท่านให้กำหนดความไม่ซัดส่าย
ความมีอารมณ์หนึ่งเป็นหลักไว้ก่อน ก็กำหนดรู้ความเป็นแบบนี้
เอกัคคตานี่เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้
ปัญญาเยอะบรรลุเร็ว
ไม่แน่...
เรื่องบรรลุนี่มันไม่ใช่ว่าปัญญาเยอะ แตกแยกย่อยรายละเอียด
ปัญญาการตรัสรู้นี จะต้องรวบลงมาในอริยสัจ "เท่านั้น"
ที่จะทำให้บรรลุธรรมหรือหมดกิเลส
ต้องเป็นปัญญาชนิด อาสวักขยญาณ
คือรู้ว่า นี้ทุกข์ / นี้ทุกขสมุทัย / นี้ทุกขนิโรธ / นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
คือไม่ได้รู้กว้างมากมาย รู้รวบลงแคบๆ เท่านี้
เรื่องบรรลุนี่มันไม่ใช่ว่าปัญญาเยอะ แตกแยกย่อยรายละเอียด
ปัญญาการตรัสรู้นี จะต้องรวบลงมาในอริยสัจ "เท่านั้น"
ที่จะทำให้บรรลุธรรมหรือหมดกิเลส
ต้องเป็นปัญญาชนิด อาสวักขยญาณ
คือรู้ว่า นี้ทุกข์ / นี้ทุกขสมุทัย / นี้ทุกขนิโรธ / นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
คือไม่ได้รู้กว้างมากมาย รู้รวบลงแคบๆ เท่านี้
ผัสสะเป็นยังไง การกำหนดนามขันธ์
การกำหนดนามธรรมนี่
ให้ทราบว่าเป็นการ "รู้สึกเอา" ทางใจ
เช่น ผัสสะเป็นยังไง
ผัสสะก็เป็นนามธรรม
คือกำหนดเอา "การรวมกัน" ของอายตนะภายใน ภายนอก วิญญาณ
กำหนดเอา "การรวมกัน" รู้สึกถึง "อาการรวมกัน"
เรียกว่า ผัสสะ
ไม่ได้กำหนดเอา โสตประสาท
ไม่ได้กำหนดเอา เสียง
ไม่ได้กำหนดเอา วิญญาณ
แต่กำหนดเอา การรวมกันของ 3 อันนี้
เรียกว่า ผัสสะ
มันแล้วแต่ว่ากำหนดอะไร
บางอันรับรู้แล้ว รู้สึกว่าพอทนไหว อันนี้คือ กำหนดเวทนา
บางอันรับรู้แล้ว รู้สึกตะขิดตะขวง ทนไม่ค่อยไหว อันนี้คือ กำหนดเวทนา (ทุกข์)
บางอันรับรู้แล้ว ก็รู้สึกธรรมดา อันนี้คือ กำหนดเวทนา (อุเบกขา)
หรือชื่อนู้นชื่อนี้ ใครเป็นคนพูดกัน เห็นปุ๊บก็ อ่อ นี่สัญญาเป็นคนพูดนี่ อันนี้คือกำหนดสัญญา
ใหม่ๆ ด้วยความเคยชิน มันอาจจะออกไปจับตัวเรื่อง
แต่พอทำบ่อยๆ มันก็จะโน้มเอียงมา อ่อ นี่สัญญามันพูดนี่
ต่อไปมันก็ไม่พูดยาวละ ถ้ากำหนดสัญญาได้
หรือกำหนดสังขาร ตัวดูง่ายก็เจตนา
หรือกำหนดจิต ก็เป็นวิญญาณ คือการรับรู้
เวลาปฏิบัตินี่มันก็ขึ้นกับว่าเลือกกำหนดตัวไหน
หรือเห็นตัวไหนง่าย เห็นมุมไหนได้ ก็เอาตัวนั้น
ส่วนใหญ่ทางใจนี่จะเห็นง่าย
ถ้าจะกำหนดครบทุกอันต้องสติปัญญาเยอะ
เป็นหมวดธัมมานุปัสสนา
ให้ทราบว่าเป็นการ "รู้สึกเอา" ทางใจ
เช่น ผัสสะเป็นยังไง
ผัสสะก็เป็นนามธรรม
คือกำหนดเอา "การรวมกัน" ของอายตนะภายใน ภายนอก วิญญาณ
กำหนดเอา "การรวมกัน" รู้สึกถึง "อาการรวมกัน"
เรียกว่า ผัสสะ
ไม่ได้กำหนดเอา โสตประสาท
ไม่ได้กำหนดเอา เสียง
ไม่ได้กำหนดเอา วิญญาณ
แต่กำหนดเอา การรวมกันของ 3 อันนี้
เรียกว่า ผัสสะ
มันแล้วแต่ว่ากำหนดอะไร
บางอันรับรู้แล้ว รู้สึกว่าพอทนไหว อันนี้คือ กำหนดเวทนา
บางอันรับรู้แล้ว รู้สึกตะขิดตะขวง ทนไม่ค่อยไหว อันนี้คือ กำหนดเวทนา (ทุกข์)
บางอันรับรู้แล้ว ก็รู้สึกธรรมดา อันนี้คือ กำหนดเวทนา (อุเบกขา)
หรือชื่อนู้นชื่อนี้ ใครเป็นคนพูดกัน เห็นปุ๊บก็ อ่อ นี่สัญญาเป็นคนพูดนี่ อันนี้คือกำหนดสัญญา
ใหม่ๆ ด้วยความเคยชิน มันอาจจะออกไปจับตัวเรื่อง
แต่พอทำบ่อยๆ มันก็จะโน้มเอียงมา อ่อ นี่สัญญามันพูดนี่
ต่อไปมันก็ไม่พูดยาวละ ถ้ากำหนดสัญญาได้
หรือกำหนดสังขาร ตัวดูง่ายก็เจตนา
หรือกำหนดจิต ก็เป็นวิญญาณ คือการรับรู้
เวลาปฏิบัตินี่มันก็ขึ้นกับว่าเลือกกำหนดตัวไหน
หรือเห็นตัวไหนง่าย เห็นมุมไหนได้ ก็เอาตัวนั้น
ส่วนใหญ่ทางใจนี่จะเห็นง่าย
ถ้าจะกำหนดครบทุกอันต้องสติปัญญาเยอะ
เป็นหมวดธัมมานุปัสสนา
ปัญหาที่พบบ้างในการกำหนดจิต
ปัญหาที่พบบ้างในการกำหนดจิต
สมมติเคยแต่กำหนดอารมณ์มา
พอมากำหนดจิต
มันจะทำสมาธิไม่ค่อยได้ 5555
งง มาดูจิต มันไม่เป็นอารมณ์เดียว
ซึ่งเดิมเคยทำได้ แต่มาตอนนี้มันทำไม่ได้
เลยงง คำตอบคือ มันก็ต้องเป็นอย่างงั้นแหละ
แต่เดิมเราทำแบบนึง ทำแล้วเป็น "เราสงบ"
ทำแล้ว "เราเพ่งอารมณ์" "เรากำหนดอารมณ์"
ต่อมามากำหนดจิต
สมาธิตอนแรกมาจากการกำหนดอารมณ์ (สมถะ)
คือเท่ากับสมถะนำหน้านั่นแหละ ให้มันได้สติ ได้สมาธิ
แต่ตอนนี้จะเอามาทำวิปัสสนา
ทั้งนี้วิปัสสนานี่เป็นชั้นปัญญา ไม่อาศัยสมาธิก็ไม่ได้
เลยต้องทำแบบนั้นมาก่อน มันเป็นทางผ่าน
ถ้าดูดีๆ มันเหมือนกับทำสองรอบ
รอบแรกกำหนดอารมณ์ ได้ปีติ สุข สมาธิ
รอบสองกำหนดจิต ก็ได้ปีติ สุข สมาธิ
อ่าว ทำสองรอบก็ไม่กำหนดจิตไปเลยสิ
คือมันทำไม่ได้ มันคนละตอนกัน
อันหลังนี่จะทำแบบวิปัสสนา
วิปัสสนาต้องอาศัยสมาธิ จึงต้องเพ่งอารมณ์มาก่อน
อันนี้ก็เป็นประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ
สมถะนี้เพ่งอารมณ์
วิปัสสนาเพิ่งลักษณะ
จริงอยู่มันได้สมาธิมาตั้งแต่ตอนแรกแล้ว
ทำไมต้องมาทำสมาธิอีกรอบ
มันเป็นคนละตอนกัน
ตอนแรกกำหนดอารมณ์ก็สงบนะ
แต่พอมาฝึกสติ ปล่อยการกำหนดอารมณ์
จิตมันก็ไปนู่นไปนี่ ไม่ยอมมาอยู่กับตัว
ใช่ !!! ถ้าไม่ฝึกมันก็ไม่มา
ให้ปล่อยแบบนั้นแหละ !
แต่ฝึกให้มันมาอยู่กับตัว
ให้มันมาอยู่กับตัวเหมือนเดิมนี่แหละ ! แต่ไม่กำหนดอารมณ์
ไม่กำหนดอันใดอันนึง แต่ให้มันมาอยู่กับตัว 5555
อันนี้ยาก มันเป็นคนละวิธีกัน คนละขั้นตอน
ช่วงเปลี่ยนผ่านนี่ก็อาจจะงงนิดนึง
พองงแล้ว ถ้าเอาความสงบเป็นใหญ่ ก็จะกลับไปเพ่งอยู่ที่เดิม
แต่ถ้าทางพุทธ ให้เอาปัญญาเป็นใหญ่
ดังนั้นสงบมาก สงบน้อย ดูตามปัญญาเป็นหลัก
สมมติเคยแต่กำหนดอารมณ์มา
พอมากำหนดจิต
มันจะทำสมาธิไม่ค่อยได้ 5555
งง มาดูจิต มันไม่เป็นอารมณ์เดียว
ซึ่งเดิมเคยทำได้ แต่มาตอนนี้มันทำไม่ได้
เลยงง คำตอบคือ มันก็ต้องเป็นอย่างงั้นแหละ
แต่เดิมเราทำแบบนึง ทำแล้วเป็น "เราสงบ"
ทำแล้ว "เราเพ่งอารมณ์" "เรากำหนดอารมณ์"
ต่อมามากำหนดจิต
สมาธิตอนแรกมาจากการกำหนดอารมณ์ (สมถะ)
คือเท่ากับสมถะนำหน้านั่นแหละ ให้มันได้สติ ได้สมาธิ
แต่ตอนนี้จะเอามาทำวิปัสสนา
ทั้งนี้วิปัสสนานี่เป็นชั้นปัญญา ไม่อาศัยสมาธิก็ไม่ได้
เลยต้องทำแบบนั้นมาก่อน มันเป็นทางผ่าน
ถ้าดูดีๆ มันเหมือนกับทำสองรอบ
รอบแรกกำหนดอารมณ์ ได้ปีติ สุข สมาธิ
รอบสองกำหนดจิต ก็ได้ปีติ สุข สมาธิ
อ่าว ทำสองรอบก็ไม่กำหนดจิตไปเลยสิ
คือมันทำไม่ได้ มันคนละตอนกัน
อันหลังนี่จะทำแบบวิปัสสนา
วิปัสสนาต้องอาศัยสมาธิ จึงต้องเพ่งอารมณ์มาก่อน
อันนี้ก็เป็นประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ
สมถะนี้เพ่งอารมณ์
วิปัสสนาเพิ่งลักษณะ
จริงอยู่มันได้สมาธิมาตั้งแต่ตอนแรกแล้ว
ทำไมต้องมาทำสมาธิอีกรอบ
มันเป็นคนละตอนกัน
ตอนแรกกำหนดอารมณ์ก็สงบนะ
แต่พอมาฝึกสติ ปล่อยการกำหนดอารมณ์
จิตมันก็ไปนู่นไปนี่ ไม่ยอมมาอยู่กับตัว
ใช่ !!! ถ้าไม่ฝึกมันก็ไม่มา
ให้ปล่อยแบบนั้นแหละ !
แต่ฝึกให้มันมาอยู่กับตัว
ให้มันมาอยู่กับตัวเหมือนเดิมนี่แหละ ! แต่ไม่กำหนดอารมณ์
ไม่กำหนดอันใดอันนึง แต่ให้มันมาอยู่กับตัว 5555
อันนี้ยาก มันเป็นคนละวิธีกัน คนละขั้นตอน
ช่วงเปลี่ยนผ่านนี่ก็อาจจะงงนิดนึง
พองงแล้ว ถ้าเอาความสงบเป็นใหญ่ ก็จะกลับไปเพ่งอยู่ที่เดิม
แต่ถ้าทางพุทธ ให้เอาปัญญาเป็นใหญ่
ดังนั้นสงบมาก สงบน้อย ดูตามปัญญาเป็นหลัก
ทำจิตให้เบิกบานทำไม
เพราะการบรรลุมันไม่ได้พรวดพราด
ถ้าไม่ทำให้มันเบิกบาน
ผ่านไปสักหน่อยมันก็แห้งลง
แล้วก็เหลวไหลไปทางอื่นอีกละ
เลยต้องทำให้มันเบิกบานเข้าไว้
ทำสมถะก็เบิกบานได้
ทำวิปัสสนาก็เบิกบานได้
พระโสดาบันยุคเก่าๆ ก็นิยมให้ทาน
พระโสดาบันยุคเก่าๆ ก็นิยมให้ทาน
วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561
จิตเป็นไฉน...กำหนด (มารู้) จิต
จิตที่ท่านให้มากำหนดในอานาปานสติ (จิตตานุปัสสนา) นี้
ก็คือกำหนดตัวรู้นั่นแหละ
แต่เดิมนี่ดูแต่ลมหายใจ ให้จิตมันไปไปข้างนอก
ต่อมาก็ดูความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ต่อมาก็ดูตัวจิต
ตัววิญญาณ ตัวรู้แจ้ง ตัวรับรู้อารมณ์ ตัวนั้นแหละเป็นจิต
ดูลมหายใจเข้ายาว เป็นต้น
ตัวที่รู้ลมหายใจเข้ายาว นั่นแหละจิต
ให้กำหนดรู้
กำหนดรู้ว่า มันไม่เที่ยง มันมาเมื่อมันมีเหตุ
ที่มันรู้ได้ว่ามีลมหายใจเข้ายาว-ออกยาว
มันต้องมีตัวรู้อยู่
ตัวรู้ตัวนั้นแหละ กำหนดเป็น "จิต"
กำหนดว่ามันไม่เที่ยง
บางคนมองไม่เห็นชัด ก็ต้องมากำหนด เพื่อที่จะได้หัดสังเกต
สภาวะมันก็เกิดด้วยกัน
แต่การมนสิการต่างกัน
เช่น ตอนเวทนานุปัสสนา ก็มีปีติเกิด อันนั้นใส่ใจปีติ
ตอนจิตตานุปัสสนา ปีติก็เกิด แต่มาใส่ใจจิต
ไม่ใช่ว่าอะไรชัดก็กำหนดอันนั้น
ถ้าแบบนั้นจะไม่ใช่อานาปานสติ
อันนั้นเป็นวิธีฝึกสติเบื้องต้น
แต่อันนี้คือ ให้มารู้หลักว่า จะน้อมจิตไปตรงไหน จะนำจิตไปทางไหน
เพื่อให้เกิดสติปัญญาเพิ่มขึ้น
กำหนดจิตมันก็จะมาเห็นว่า
ตอนไม่มีปีติก็จิตนึง
ตอนปีติน้อยก็จิตนึง
ตอนปีติมากก็จิตนึง
ไม่ได้กำหนดปีติ แต่กำหนดจิต
เดี๋ยวต่อมาความสงบเกิดขึ้น ก็กำหนดที่จิต
ไม่ได้กำหนดที่ความสงบ
ก็คือกำหนดตัวรู้นั่นแหละ
แต่เดิมนี่ดูแต่ลมหายใจ ให้จิตมันไปไปข้างนอก
ต่อมาก็ดูความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ต่อมาก็ดูตัวจิต
ตัววิญญาณ ตัวรู้แจ้ง ตัวรับรู้อารมณ์ ตัวนั้นแหละเป็นจิต
ดูลมหายใจเข้ายาว เป็นต้น
ตัวที่รู้ลมหายใจเข้ายาว นั่นแหละจิต
ให้กำหนดรู้
กำหนดรู้ว่า มันไม่เที่ยง มันมาเมื่อมันมีเหตุ
ที่มันรู้ได้ว่ามีลมหายใจเข้ายาว-ออกยาว
มันต้องมีตัวรู้อยู่
ตัวรู้ตัวนั้นแหละ กำหนดเป็น "จิต"
กำหนดว่ามันไม่เที่ยง
บางคนมองไม่เห็นชัด ก็ต้องมากำหนด เพื่อที่จะได้หัดสังเกต
สภาวะมันก็เกิดด้วยกัน
แต่การมนสิการต่างกัน
เช่น ตอนเวทนานุปัสสนา ก็มีปีติเกิด อันนั้นใส่ใจปีติ
ตอนจิตตานุปัสสนา ปีติก็เกิด แต่มาใส่ใจจิต
ไม่ใช่ว่าอะไรชัดก็กำหนดอันนั้น
ถ้าแบบนั้นจะไม่ใช่อานาปานสติ
อันนั้นเป็นวิธีฝึกสติเบื้องต้น
แต่อันนี้คือ ให้มารู้หลักว่า จะน้อมจิตไปตรงไหน จะนำจิตไปทางไหน
เพื่อให้เกิดสติปัญญาเพิ่มขึ้น
กำหนดจิตมันก็จะมาเห็นว่า
ตอนไม่มีปีติก็จิตนึง
ตอนปีติน้อยก็จิตนึง
ตอนปีติมากก็จิตนึง
ไม่ได้กำหนดปีติ แต่กำหนดจิต
เดี๋ยวต่อมาความสงบเกิดขึ้น ก็กำหนดที่จิต
ไม่ได้กำหนดที่ความสงบ
เราตั้งมั่น จิตตั้งมั่น
(พิกัดเนื้อหา จิตตานุปัสสนา ในอานาปานสติ)
เมื่อกำหนดจิตเป็นจิตแล้ว
ก็ต้องพยายามทำความเบิกบานให้เกิดขึ้นภายในจิต
ยังจิตให้เบิกบานผ่องใส
ต่อมาเมื่อมันเบิกบานขึ้น
เราก็จะไปทำให้มันมีความตั้งมั่น มีสมาธิ
ต่อไปเราจะทำให้มันตั้งมั่นยิ่งขึ้น
แต่ให้มันเห็น "จิตเป็นจิตตั้งมั่น"
ไม่ใช่เห็นเป็น "เราตั้งมั่น"
แต่เดิมก็ตั้งมั่นพอสมควรอยู่
แต่ "เราเป็นคนดูเฉยๆ" มันยังผิดอยู่ตรงนี้
เช่น แต่เดิมก็มีสมาธิอยู่เหมือนกัน
สมมติเคยปฏิบัติมาพอสมควรอย่างนี้ ก็จะเคยมีความตั้งมั่นของจิต
แต่จะรู้สึกเป็น "เราตั้งมั่น"
"เราเป็นคนดู" "เราเป็นคนพิจารณานั่นนี่"
เราจึงต้องมากำหนดจิตก่อน
แล้วก็มาทำให้มันเบิกบาน ปราโมช ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อีกรอบนึง
คือมันคนละรอบกัน
รอบแรกมันมีความเข้าใจผิดว่า "เรา..."
รอบนี้ เป็นของจิตล้วนๆ
เพราะกำหนดจิตได้ ว่ามันไม่มีตัวตน
ดังนั้น การจะทำเช่นนี้ได้ ต้องหัดกำหนดจิตให้เป็นก่อน
เมื่อกำหนดจิตเป็นจิตแล้ว
ก็ต้องพยายามทำความเบิกบานให้เกิดขึ้นภายในจิต
ยังจิตให้เบิกบานผ่องใส
ต่อมาเมื่อมันเบิกบานขึ้น
เราก็จะไปทำให้มันมีความตั้งมั่น มีสมาธิ
ต่อไปเราจะทำให้มันตั้งมั่นยิ่งขึ้น
แต่ให้มันเห็น "จิตเป็นจิตตั้งมั่น"
ไม่ใช่เห็นเป็น "เราตั้งมั่น"
แต่เดิมก็ตั้งมั่นพอสมควรอยู่
แต่ "เราเป็นคนดูเฉยๆ" มันยังผิดอยู่ตรงนี้
เช่น แต่เดิมก็มีสมาธิอยู่เหมือนกัน
สมมติเคยปฏิบัติมาพอสมควรอย่างนี้ ก็จะเคยมีความตั้งมั่นของจิต
แต่จะรู้สึกเป็น "เราตั้งมั่น"
"เราเป็นคนดู" "เราเป็นคนพิจารณานั่นนี่"
เราจึงต้องมากำหนดจิตก่อน
แล้วก็มาทำให้มันเบิกบาน ปราโมช ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อีกรอบนึง
คือมันคนละรอบกัน
รอบแรกมันมีความเข้าใจผิดว่า "เรา..."
รอบนี้ เป็นของจิตล้วนๆ
เพราะกำหนดจิตได้ ว่ามันไม่มีตัวตน
ดังนั้น การจะทำเช่นนี้ได้ ต้องหัดกำหนดจิตให้เป็นก่อน
เรียกชื่อ
เมื่อรู้จักสภาวะนั้นๆ ดีแล้ว
การเรียกชื่อจะเป็นอะไรก็ได้
แต่ว่าก็ต้องเรียกให้เข้าใจตรงกัน
เช่น รู้จักคนคนนี้แล้ว
ต่อให้มันไปเปลี่ยนชื่อเป็นอะไร
เราก็ยังรู้จักว่าคนนี้เป็นคนนี้ มีธรรมชาติแบบนี้ๆ
แต่ถ้าคนไม่รู้จักกันดี
เปลี่ยนชื่อปุ๊บมีปัญหา
ฉะนั้นที่เรามีปัญหาก็เพราะเรายังไม่รู้จักมันดี
คนนู้นเรียกว่ามันเป็นอย่างนู้น มีค่าอย่างนู้น
เราก็อู้หู อะฮ่า ตามไป
เพราะเรายังไม่รู้จักมันดีพอ ก็หวั่นไหวไปตามชื่อ
การเรียกชื่อจะเป็นอะไรก็ได้
แต่ว่าก็ต้องเรียกให้เข้าใจตรงกัน
เช่น รู้จักคนคนนี้แล้ว
ต่อให้มันไปเปลี่ยนชื่อเป็นอะไร
เราก็ยังรู้จักว่าคนนี้เป็นคนนี้ มีธรรมชาติแบบนี้ๆ
แต่ถ้าคนไม่รู้จักกันดี
เปลี่ยนชื่อปุ๊บมีปัญหา
ฉะนั้นที่เรามีปัญหาก็เพราะเรายังไม่รู้จักมันดี
คนนู้นเรียกว่ามันเป็นอย่างนู้น มีค่าอย่างนู้น
เราก็อู้หู อะฮ่า ตามไป
เพราะเรายังไม่รู้จักมันดีพอ ก็หวั่นไหวไปตามชื่อ
วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561
กรรมฐานเป็นเหยื่อล่อให้มารู้จักกาย และจิต
กรรมฐานของพระพุทธเจ้านี่ใช้เป็นเหยื่อล่อให้เข้ามารู้จักจิต
เบื้องต้นจากลมหายใจ
มาดูกาย
เอาลมหายใจเป็นเหยื่อล่อให้มาดูกาย
แล้วก็ดูเวทนา เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปยังไง
สัญญาเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปยังไง
ปีติ..
สุข..
กรรมฐานเป็นเหยื่อล่อให้มารู้จักกาย และจิต
เบื้องต้นจากลมหายใจ
มาดูกาย
เอาลมหายใจเป็นเหยื่อล่อให้มาดูกาย
แล้วก็ดูเวทนา เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปยังไง
สัญญาเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปยังไง
ปีติ..
สุข..
กรรมฐานเป็นเหยื่อล่อให้มารู้จักกาย และจิต
สิกขติ
หมายถึง ฝึกหัด หัดฝึก
การฝึกในพระพุทธศาสนาเริ่มตรงไหน
ก็เริ่มตรงเห็นโทษภัยแล้วค่อยมาเริ่มฝึก
ถ้ายังไม่เห็นโทษภัย ถึงแม้จะมีศีล ทำบุญทำทาน
ก็ยังถือว่า "ยังไร้การศึกษา"
การศึกษานั้นเริ่มที่ปัญญา เห็นโทษภัยของวัฏฏะ
เห็นโทษภัยของกิเลสต่างๆ เพียงแต่ยังละไม่ได้
แต่ก็เหนื่อยกะมันเหลือเกิน
เลยต้องมาฝึกเพื่อจะละมัน การฝึกนี้เรียกว่า "สิกขติ"
ถ้าไม่ฝึกก็ดูจะสู้มันไม่ได้
เหมือนกะว่ามีฝ่ายมัน-ฝ่ายเราอยู่
เป็นฝ่ายมาร-ฝ่ายพุทธะ
ตอนนี้คือมาสร้างฝ่ายพุทธะขึ้นมา
ในความรู้สึกครั้งยังไม่เห็นอริยสัจ จะเหมือนมี 2 ฝ่าย
ต่อเมื่อเห็นอริยสัจแล้ว ก็จะไม่มี "เรา" อยู่ในกระบวนการของทั้งสองนั้น
แต่เดิมเลยจะรู้สึกว่า ทั้งสองกระบวนการนั้นเป็น "เรา" ล้วนๆ
แต่พอฝึกมาได้สักหน่อย พวกกิเลสจะกลายเป็นฝ่าย "มัน"
พวกความรู้ สติ ปัญญา จะเป็นฝ่าย "เรา"
แต่พอเห็นความจริง ก็จะไปเหมือนตอนต้น
คือ ไม่แยกกัน ไม่มีเรา แต่ก็เป็นเรานั่นแหละ 555
ก็เป็นแค่ธรรม ฝ่ายกิเลสก็มีเมื่อมันเกิด เกิดเมื่อมันมีเหตุ
ฝ่ายดีก็ไม่ต่างกัน มีเมื่อมันเกิด เกิดเมื่อมันมีเหตุ เท่านั้น เหมือนกันเลย
สิกขติเป็นการพัฒนาคุณธรรมฝ่ายดีขึ้นมาให้มันมีความรู้ มีปัญญา
จะฝึกหัดก็ต้องมีการกระทำขึ้นมา มาตั้งไว้อันนึง (กรรมฐาน)
ต้องมาทำเพราะ ศีล สมาธิ ปัญญา อริยมรรค เป็นสังขาร
ไม่ทำไม่เกิด และต้องมาทำให้เกิด ทำให้ถูก และต้องมีฐานแห่งการกระทำ
แค่มีสติตั้งใจดูลมหายใจเข้าออก กายวาจาก็จะเรียบร้อย
จิตก็มีการสำรวมระวัง คนฝึกมานานๆ นี่แค่จิตกลับมาที่ลม
สติก็ผูกจิตไว้ เกิดการสังวรณ์ อันนี้ก็เป็นศีลแล้ว
ถ้าใครยังไม่ได้ศีล ไม่มีสังวร
ก็ต้องอาศัยสิกขาบถมาช่วยไม่ให้มันผิดพลาด
พอมีศีลอยู่กับตัว ไม่ไปยุ่งเรื่องคนนั้นคนนี้ ไม่ไปเที่ยวรัก เที่ยวแก้ไข ก็ไม่เดือดร้อนใจ
ก็เกิดปราโมช ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ
ที่พวกเราไม่ค่อยเป็นสมาธิกันเพราะมันไม่ค่อยมีสังวรนั่นเอง
จิตมันไม่อยู่กับกรรมฐาน ไม่อยู่กับกรรมฐาน
ไม่มีงานประจำให้ทำ มันก็ไปยุ่งเรื่องชาวบ้าน
ไม่สำรวมในผู้อื่น ก็จะไปคิดว่าเขาจะเป็นเหมือนที่เราคิด
ไม่สำรวมในเงิน นี่เงินของเรา
พอไม่สำรวมปุ๊บ กิเลสมันก็มีเหตุให้เกิด
ความไม่สำรวมนี่แหละเป็นเหตุให้เกิดกิเลส การไม่ระวังนี่เอง
ใส่ใจไม่เป็น ไม่รู้จักมีที่ตั้งให้ตนเสียก่อน
เกิดกิเลสก็เดือดร้อนใจ ไม่อิ่ม หิว พอหิวก็ต้องหา มันก็ไม่อิ่มจริง
กรรมฐานจะเป็นตัวช่วยให้รู้จักกระบวนการพวกนี้
อานาปานสติก็เป็นวิธีการอันนึงที่จะฝึกให้ช่วยรู้จักศีล สมาธิ ปัญญา อริยมรรค
ผู้ปฏิบัติมักจะเห็นว่า "แต่เดิมเราโง่อยู่ก่อน"
จริงๆ มันผิด เพราะมันไม่มี "เรา"
ที่เรียกว่า "เรา" นี่มันมาทีหลัง
มีเหตุมีปัจจัย ขาดสติสัมปชัญญะ กิเลสก็เกิดขึ้น มันไม่ได้มีกิเลสอยู่ก่อน
พอมีกิเลสเกิดขึ้น มันก็ไปยึดรูปนามว่าเป็น "เรา"
กล่าวคือ กิเลสเกิดก่อน เรามาทีหลัง
ที่ผิดคือ เรามีอยู่ก่อน กิเลสมาทีหลัง (อันนี้ผิดเต็มๆ)
การฝึกในพระพุทธศาสนาเริ่มตรงไหน
ก็เริ่มตรงเห็นโทษภัยแล้วค่อยมาเริ่มฝึก
ถ้ายังไม่เห็นโทษภัย ถึงแม้จะมีศีล ทำบุญทำทาน
ก็ยังถือว่า "ยังไร้การศึกษา"
การศึกษานั้นเริ่มที่ปัญญา เห็นโทษภัยของวัฏฏะ
เห็นโทษภัยของกิเลสต่างๆ เพียงแต่ยังละไม่ได้
แต่ก็เหนื่อยกะมันเหลือเกิน
เลยต้องมาฝึกเพื่อจะละมัน การฝึกนี้เรียกว่า "สิกขติ"
ถ้าไม่ฝึกก็ดูจะสู้มันไม่ได้
เหมือนกะว่ามีฝ่ายมัน-ฝ่ายเราอยู่
เป็นฝ่ายมาร-ฝ่ายพุทธะ
ตอนนี้คือมาสร้างฝ่ายพุทธะขึ้นมา
ในความรู้สึกครั้งยังไม่เห็นอริยสัจ จะเหมือนมี 2 ฝ่าย
ต่อเมื่อเห็นอริยสัจแล้ว ก็จะไม่มี "เรา" อยู่ในกระบวนการของทั้งสองนั้น
แต่เดิมเลยจะรู้สึกว่า ทั้งสองกระบวนการนั้นเป็น "เรา" ล้วนๆ
แต่พอฝึกมาได้สักหน่อย พวกกิเลสจะกลายเป็นฝ่าย "มัน"
พวกความรู้ สติ ปัญญา จะเป็นฝ่าย "เรา"
แต่พอเห็นความจริง ก็จะไปเหมือนตอนต้น
คือ ไม่แยกกัน ไม่มีเรา แต่ก็เป็นเรานั่นแหละ 555
ก็เป็นแค่ธรรม ฝ่ายกิเลสก็มีเมื่อมันเกิด เกิดเมื่อมันมีเหตุ
ฝ่ายดีก็ไม่ต่างกัน มีเมื่อมันเกิด เกิดเมื่อมันมีเหตุ เท่านั้น เหมือนกันเลย
สิกขติเป็นการพัฒนาคุณธรรมฝ่ายดีขึ้นมาให้มันมีความรู้ มีปัญญา
จะฝึกหัดก็ต้องมีการกระทำขึ้นมา มาตั้งไว้อันนึง (กรรมฐาน)
ต้องมาทำเพราะ ศีล สมาธิ ปัญญา อริยมรรค เป็นสังขาร
ไม่ทำไม่เกิด และต้องมาทำให้เกิด ทำให้ถูก และต้องมีฐานแห่งการกระทำ
แค่มีสติตั้งใจดูลมหายใจเข้าออก กายวาจาก็จะเรียบร้อย
จิตก็มีการสำรวมระวัง คนฝึกมานานๆ นี่แค่จิตกลับมาที่ลม
สติก็ผูกจิตไว้ เกิดการสังวรณ์ อันนี้ก็เป็นศีลแล้ว
ถ้าใครยังไม่ได้ศีล ไม่มีสังวร
ก็ต้องอาศัยสิกขาบถมาช่วยไม่ให้มันผิดพลาด
พอมีศีลอยู่กับตัว ไม่ไปยุ่งเรื่องคนนั้นคนนี้ ไม่ไปเที่ยวรัก เที่ยวแก้ไข ก็ไม่เดือดร้อนใจ
ก็เกิดปราโมช ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ
ที่พวกเราไม่ค่อยเป็นสมาธิกันเพราะมันไม่ค่อยมีสังวรนั่นเอง
จิตมันไม่อยู่กับกรรมฐาน ไม่อยู่กับกรรมฐาน
ไม่มีงานประจำให้ทำ มันก็ไปยุ่งเรื่องชาวบ้าน
ไม่สำรวมในผู้อื่น ก็จะไปคิดว่าเขาจะเป็นเหมือนที่เราคิด
ไม่สำรวมในเงิน นี่เงินของเรา
พอไม่สำรวมปุ๊บ กิเลสมันก็มีเหตุให้เกิด
ความไม่สำรวมนี่แหละเป็นเหตุให้เกิดกิเลส การไม่ระวังนี่เอง
ใส่ใจไม่เป็น ไม่รู้จักมีที่ตั้งให้ตนเสียก่อน
เกิดกิเลสก็เดือดร้อนใจ ไม่อิ่ม หิว พอหิวก็ต้องหา มันก็ไม่อิ่มจริง
กรรมฐานจะเป็นตัวช่วยให้รู้จักกระบวนการพวกนี้
อานาปานสติก็เป็นวิธีการอันนึงที่จะฝึกให้ช่วยรู้จักศีล สมาธิ ปัญญา อริยมรรค
ผู้ปฏิบัติมักจะเห็นว่า "แต่เดิมเราโง่อยู่ก่อน"
จริงๆ มันผิด เพราะมันไม่มี "เรา"
ที่เรียกว่า "เรา" นี่มันมาทีหลัง
มีเหตุมีปัจจัย ขาดสติสัมปชัญญะ กิเลสก็เกิดขึ้น มันไม่ได้มีกิเลสอยู่ก่อน
พอมีกิเลสเกิดขึ้น มันก็ไปยึดรูปนามว่าเป็น "เรา"
กล่าวคือ กิเลสเกิดก่อน เรามาทีหลัง
ที่ผิดคือ เรามีอยู่ก่อน กิเลสมาทีหลัง (อันนี้ผิดเต็มๆ)
วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2561
เวทนาในอานาปานสติ
เวทนาในอานาปานสตินี่ไม่ได้ดูเวทนา
แต่ดูสังขาร (ที่เกี่ยวเนื่องกับเวทนา)
ปีติ สุข เฉยๆ (ระงับจิตตสังขาร) จริงๆ แล้วมันเป็นสังขาร
แต่เป็นสังขารที่โน้มเอียงไปทางฝ่ายความรู้สึก
กลุ่มเหล่านี้แม้จะเป็นธรรมฝ่ายสังขาร
แต่จัดมาเป็นธรรมฝ่ายเวทนานุปัสสนา
ต่างจากเวทนานุปัสสนาในสติปัฏฐาน
อันนั้นจะเป็นเวทนาตรงๆ
แต่ในอานาปานสติ จะมีความพิเศษที่
เอาสังขารมากำหนดเป็นเวทนา
ปีติเป็นสังขาร ไม่ใช่เวทนา แต่มันโน้มเอียงไปทางเวทนา
สุข ก็มาอยู่ฝ่ายเวทนา
ระงับจิตสังขาร ก็มาอยู่ฝ่ายเวทนา
ปีติ/สุขในอานาปานสติ เป็นปีติ/สุขที่ "เกิดจากการทำกรรมฐานลมหายใจ" มากำหนด
สุขในเวทนานุปัสสนาในสติปัฏฐาน เอาสุขธรรมดา อะไรก็ได้มากำหนด
ต่างกันที่ที่มา และสภาวะต่างกันบ้างในรายละเอียด
ต่างกันอยู่หน่อยนึง
แต่ดูสังขาร (ที่เกี่ยวเนื่องกับเวทนา)
ปีติ สุข เฉยๆ (ระงับจิตตสังขาร) จริงๆ แล้วมันเป็นสังขาร
แต่เป็นสังขารที่โน้มเอียงไปทางฝ่ายความรู้สึก
กลุ่มเหล่านี้แม้จะเป็นธรรมฝ่ายสังขาร
แต่จัดมาเป็นธรรมฝ่ายเวทนานุปัสสนา
ต่างจากเวทนานุปัสสนาในสติปัฏฐาน
อันนั้นจะเป็นเวทนาตรงๆ
แต่ในอานาปานสติ จะมีความพิเศษที่
เอาสังขารมากำหนดเป็นเวทนา
ปีติเป็นสังขาร ไม่ใช่เวทนา แต่มันโน้มเอียงไปทางเวทนา
สุข ก็มาอยู่ฝ่ายเวทนา
ระงับจิตสังขาร ก็มาอยู่ฝ่ายเวทนา
ปีติ/สุขในอานาปานสติ เป็นปีติ/สุขที่ "เกิดจากการทำกรรมฐานลมหายใจ" มากำหนด
สุขในเวทนานุปัสสนาในสติปัฏฐาน เอาสุขธรรมดา อะไรก็ได้มากำหนด
ต่างกันที่ที่มา และสภาวะต่างกันบ้างในรายละเอียด
ต่างกันอยู่หน่อยนึง
แยกปีติ
เมื่อจิตเป็นหนึ่ง หรือสงบแล้ว
ท่านให้กำหนดรู้จิตนี้
รู้สภาพความสงบ กำหนดรู้ว่า "นี่คือความสงบ" "นี่คือไม่ซัดส่าย"
พอรู้ สติก็เป็นอันต้้งขึ้น
จิตเป็นหนึ่งมันจะเกิดปีติได้ง่าย
ทีนี้เมื่อปีติเกิดขึ้น
สติจึงจะแยกได้ คือเห็นว่ามันเกิดขึ้น (มันต่างจากเมื่อกี้)
ไม่งั้นจะโดนปีติครอบ มาตอนไหนก็ไม่รู้ ถ้าไม่ได้กำหนดความสงบไว้ก่อน
พอปีติครอบมากมันก็จะหาทางออก
เวลาจิตเบิกบานมากมันก็ไปดันกาย
น้ำหูน้ำตาไหล โยก ฯลฯ โดนปีติครอบยังไม่รู้ อันนี้เรียก "รู้หาย"
จริงๆ ปีติก็อยู่ตั้งแต่ต้นนั่นแหละ
ปีติมันเกิดตอนที่ใจสงบระงับนั่นแหละ มีโอกาสเกิดทุกตอนนั่นแหละ เยอะไปหมด
แต่ถ้าไม่ตั้งสติขึ้นมาว่านี่คือสงบ มันก็จะแยกปีติออกไม่ได้ มันไม่เห็นว่ามาตั้งแต่เมื่อไร
ก็พิจารณาต่อไม่ได้ว่า นี่เกิดขึ้น เกิดด้วยมีเหตุ ฯลฯ
โดนครอบเรียบร้อย
อานาปานสตินี่ "ห้ามรู้หาย ห้ามหายรู้"
ทำท่าจะหาย ถอยมาตั้งหลักลมหายใจหน่อยนึง แล้วรู้ต่อไป
ท่านให้กำหนดรู้จิตนี้
รู้สภาพความสงบ กำหนดรู้ว่า "นี่คือความสงบ" "นี่คือไม่ซัดส่าย"
พอรู้ สติก็เป็นอันต้้งขึ้น
จิตเป็นหนึ่งมันจะเกิดปีติได้ง่าย
ทีนี้เมื่อปีติเกิดขึ้น
สติจึงจะแยกได้ คือเห็นว่ามันเกิดขึ้น (มันต่างจากเมื่อกี้)
ไม่งั้นจะโดนปีติครอบ มาตอนไหนก็ไม่รู้ ถ้าไม่ได้กำหนดความสงบไว้ก่อน
พอปีติครอบมากมันก็จะหาทางออก
เวลาจิตเบิกบานมากมันก็ไปดันกาย
น้ำหูน้ำตาไหล โยก ฯลฯ โดนปีติครอบยังไม่รู้ อันนี้เรียก "รู้หาย"
จริงๆ ปีติก็อยู่ตั้งแต่ต้นนั่นแหละ
ปีติมันเกิดตอนที่ใจสงบระงับนั่นแหละ มีโอกาสเกิดทุกตอนนั่นแหละ เยอะไปหมด
แต่ถ้าไม่ตั้งสติขึ้นมาว่านี่คือสงบ มันก็จะแยกปีติออกไม่ได้ มันไม่เห็นว่ามาตั้งแต่เมื่อไร
ก็พิจารณาต่อไม่ได้ว่า นี่เกิดขึ้น เกิดด้วยมีเหตุ ฯลฯ
โดนครอบเรียบร้อย
อานาปานสตินี่ "ห้ามรู้หาย ห้ามหายรู้"
ทำท่าจะหาย ถอยมาตั้งหลักลมหายใจหน่อยนึง แล้วรู้ต่อไป
ปฏิสังเวที (กำหนดรู้)
ปฏิสังเวที = กำหนดรู้ ให้มันแจ้ง ให้มันชัด
หมายถึง รู้ว่าตัวมันเป็นยังไง หน้าตาเป็นยังไง สภาวะมันเป็นยังไง
เป็นสังขารใช่มั้ย
รู้ว่าเป็นสังขารที่มันเกิด มันเกิดเมื่อมีเหตุ
หมดเหตุมันก็ดับไป
มันก็ไม่เที่ยง ไม่คงทน ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
สังขารจะเกิดก็เมื่อมีเหตุ ก็รู้เหตุที่ทำให้มันเกิด
มันดับก็เพราะหมดเหตุ ก็รู้ว่าเพราะหมดเหตุมันจึงดับไป
นี่เรียกว่าปฏิสังเวที
กำหนดรู้ หมายถึง แยกแยะ แจกแจงให้มันชัด
เหมือน define ให้มันเห็นชัดเจน
เพื่อให้เข้าใจภาพรวมทั้งหมดว่ามันอะไรแน่
ไม่ใช่แยกแยะละเอียดจนหายไป งง ไม่รู้อะไรเป็นอะไร
เช่น กำหนดรู้ กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
กำหนดมาดูให้รู้ว่าอันนี้เป็นยังงี้ๆ มีสภาวะงี้ๆ ละเอียด
เพื่อ "จะได้เข้าใจตัวเรา" ชัดขึ้น
เมื่อจับตัวมันไม่ได้ ก็คือมันยังไม่ถูก "กำหนดรู้"
ใดๆ เมื่อยังไม่ถูกกำหนดรู้ มันก็จะเป็น "ที่ตั้งแห่งตัณหา" "ที่ตั้งของความเห็นผิด"
บางคนบอก "ก็ดิฉันก็ไม่เห็นอยากได้อะไร สบาย ก็ไม่เห็นอยากได้อะไร"
แต่ถ้ายังไม่ได้กำหนดรู้มัน นั่นแหละจะเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
ความเกิด แก่ เจ็บ ตายนี่ ตอนมีสติสัมปชัญญะดีต้องรีบกำหนดรู้
ใส่ปัญญาเข้าไป ไม่งั้นมันจะกลายเป็นที่ตั้งตัณหาได้
แต่ถ้ามันรู้แล้ว มันก็จะเข้าใจ "เออ มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ"
ตอนที่จะกำหนดรู้ได้ดี ก็คือตอนที่จิตเป็นสมาธิตั้งมั่น
หมายถึง รู้ว่าตัวมันเป็นยังไง หน้าตาเป็นยังไง สภาวะมันเป็นยังไง
เป็นสังขารใช่มั้ย
รู้ว่าเป็นสังขารที่มันเกิด มันเกิดเมื่อมีเหตุ
หมดเหตุมันก็ดับไป
มันก็ไม่เที่ยง ไม่คงทน ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
สังขารจะเกิดก็เมื่อมีเหตุ ก็รู้เหตุที่ทำให้มันเกิด
มันดับก็เพราะหมดเหตุ ก็รู้ว่าเพราะหมดเหตุมันจึงดับไป
นี่เรียกว่าปฏิสังเวที
กำหนดรู้ หมายถึง แยกแยะ แจกแจงให้มันชัด
เหมือน define ให้มันเห็นชัดเจน
เพื่อให้เข้าใจภาพรวมทั้งหมดว่ามันอะไรแน่
ไม่ใช่แยกแยะละเอียดจนหายไป งง ไม่รู้อะไรเป็นอะไร
เช่น กำหนดรู้ กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
กำหนดมาดูให้รู้ว่าอันนี้เป็นยังงี้ๆ มีสภาวะงี้ๆ ละเอียด
เพื่อ "จะได้เข้าใจตัวเรา" ชัดขึ้น
เมื่อจับตัวมันไม่ได้ ก็คือมันยังไม่ถูก "กำหนดรู้"
ใดๆ เมื่อยังไม่ถูกกำหนดรู้ มันก็จะเป็น "ที่ตั้งแห่งตัณหา" "ที่ตั้งของความเห็นผิด"
บางคนบอก "ก็ดิฉันก็ไม่เห็นอยากได้อะไร สบาย ก็ไม่เห็นอยากได้อะไร"
แต่ถ้ายังไม่ได้กำหนดรู้มัน นั่นแหละจะเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
ความเกิด แก่ เจ็บ ตายนี่ ตอนมีสติสัมปชัญญะดีต้องรีบกำหนดรู้
ใส่ปัญญาเข้าไป ไม่งั้นมันจะกลายเป็นที่ตั้งตัณหาได้
แต่ถ้ามันรู้แล้ว มันก็จะเข้าใจ "เออ มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ"
ตอนที่จะกำหนดรู้ได้ดี ก็คือตอนที่จิตเป็นสมาธิตั้งมั่น
ไม่ซัดส่าย
ไม่ซัดส่ายไปอารมณ์อื่น
หมายถึง จิตมันสนใจ ใส่ใจในอารมณ์หลักของมัน
ไม่ได้แปลว่าไปจ้องค้างเติ่งอยู่อารมณ์เดียว
ไม่ซัดส่ายในกรรมฐาน อะไรเกิดขึ้นในกรรมฐานก็รู้
ไม่ซัดส่ายในการเลี้ยงควาย
ก็เช่น ใส่ใจอยู่กับควาย อ่ะมันเดินไปทางนี้ๆ
ตอนนี้มันลงน้ำไปแล้ว
ตอนนี้มันหิวแล้ว ตอนนี้ควรพาไปกินหญ้า
ตอนนี้ต้องเอาเข้าคอกแล้ว
แบบนี้เรียกว่า ไม่ซัดส่าย
มีอะไรเกิดขึ้นกับควายก็รู้
ถ้าไม่ซัดส่ายในกรรมฐานนั้น
ก็มีอันนี้เกิดขึ้นก็ให้รับรู้ อันนี้เกิดขึ้นก็ให้รับรู้
ลมหยาบอ่ะรู้ ต่อมามันละเอียดแล้วอ่ะรู้
ไม่ซัดส่ายไม่ใช่ไม่รู้อะไรเลย
ไม่ใช่ไม่ซัดส่าย
ก็ทำซะสงบเลย ไปเป็นพรหม
ไปเป็นพรหมนี่ไม่มี "สิกขา" นะ
ต้องเรียนแม่นๆ
จะสงบไม่สงบ ให้อยู่ในมรรคไว้ก่อน
ไม่งั้นไม่พ้นทุกข์นะจ๊ะ
หมายถึง จิตมันสนใจ ใส่ใจในอารมณ์หลักของมัน
ไม่ได้แปลว่าไปจ้องค้างเติ่งอยู่อารมณ์เดียว
ไม่ซัดส่ายในกรรมฐาน อะไรเกิดขึ้นในกรรมฐานก็รู้
ไม่ซัดส่ายในการเลี้ยงควาย
ก็เช่น ใส่ใจอยู่กับควาย อ่ะมันเดินไปทางนี้ๆ
ตอนนี้มันลงน้ำไปแล้ว
ตอนนี้มันหิวแล้ว ตอนนี้ควรพาไปกินหญ้า
ตอนนี้ต้องเอาเข้าคอกแล้ว
แบบนี้เรียกว่า ไม่ซัดส่าย
มีอะไรเกิดขึ้นกับควายก็รู้
ถ้าไม่ซัดส่ายในกรรมฐานนั้น
ก็มีอันนี้เกิดขึ้นก็ให้รับรู้ อันนี้เกิดขึ้นก็ให้รับรู้
ลมหยาบอ่ะรู้ ต่อมามันละเอียดแล้วอ่ะรู้
ไม่ซัดส่ายไม่ใช่ไม่รู้อะไรเลย
ไม่ใช่ไม่ซัดส่าย
ก็ทำซะสงบเลย ไปเป็นพรหม
ไปเป็นพรหมนี่ไม่มี "สิกขา" นะ
ต้องเรียนแม่นๆ
จะสงบไม่สงบ ให้อยู่ในมรรคไว้ก่อน
ไม่งั้นไม่พ้นทุกข์นะจ๊ะ
วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2561
จิตตั้งมั่นแล้ว...
จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งแล้วบางคนก็ปัญญามาเอง
แต่บางก็คนก็สงบตั้งมั่นผ่องใสแต่....เงียบบบ
อันนี้ก็ต้องช่วยมันนึกหน่อย
แต่ก็นึกในขอบเขตยาววาหนาคืบนี่แหละ
ว่ามันมีอะไร มันรู้อะไรอยู่
อย่างน้อยๆ มันก็ต้องมีตัวที่มันรู้อยู่แหละ
แต่บางก็คนก็สงบตั้งมั่นผ่องใสแต่....เงียบบบ
อันนี้ก็ต้องช่วยมันนึกหน่อย
แต่ก็นึกในขอบเขตยาววาหนาคืบนี่แหละ
ว่ามันมีอะไร มันรู้อะไรอยู่
อย่างน้อยๆ มันก็ต้องมีตัวที่มันรู้อยู่แหละ
วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2561
ดูลมหายใจเข้า-ออก ไม่ได้เป็นอานาปานสติเสมอไป
ดูลมหายใจเข้า-ออก ไม่ได้เป็นอานาปานสติเสมอไป
เพราะว่าลมหายใจเข้าออกนี่เป็นหลายกรรมฐาน
ลมหายใจเหมือนกัน แต่เรียกชืื่อกรรมฐานไม่เหมือนกัน
ตามวัตถุประสงค์ที่ฝึก
ถ้าต้องการพัฒนาความเพียร สัมปชัญญะ สติ
ต้องการเพิ่มองค์มรรคเหล่านี้ให้เติบโต
ลมอันนี้เรียก กายานุปัสสนา
กายานุปัสสนาจะมี 14 หมวด
มีลมหายใจ อิริยาบถใหญ่ สัมปชัญญะ อสุภะ ปฏิกูล ธาตุ ป่าช้า9
ลมนี้ไม่ใช่อานาปานฯ แต่เป็นกายานุปัสสนา
ถ้าลมหายใจนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของกาย
ถ้าเรามีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
มาตามดูลมหายใจเข้าออก เพื่อพัฒนาความเพียร พัฒนาความรู้และสติเฉยๆ
อันนี้เรียก "กายานุปัสสนา"
ถ้าต้องการใช้เพื่อผูกไว้ไม่ให้ไปไหน ไปนู่นไปนี่
เพื่อตัดวิตก ไม่มีความดำริอาศัยเรือน ไม่ฟุ้งซ่าน จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
ลมอันนี้เรียก กายคตาสติ
ทีนี้ถ้าต้องการอาศัยลมหายใจผูกจิตเอาไว้กับกาย
ลมหายใจนี้เป็นส่วนหนึ่งของกาย อันนี้เอาไว้ใช้ผูกจิตเฉยๆ
ไม่ได้ต้องการกรรมฐานลึกซึ้งอะไร
แค่ต้องการให้เป็นที่ผูกจิตเอาไว้เฉยๆ
ให้กายเป็นหลักของจิต
โดยเอาสติเป็นเครื่องผูก
กระทำกรรมฐานเช่นนี้เรียก กายคตาสติ
กายาคตาสติ คือ การผูกจิต
เอาสติเป็นเชือกผูกไว้ไม่ให้ไปไกล
เชือกเหนียวก็ผูกได้ดี อันนี้เรียกว่ามีสติดี
กายคตาสติมี 18 อัน ให้มันวิ่งอยู่ในกาย
14 อันเหมือนของกายานุปัสสนา เพิ่มเติมผู้ได้สมาธิ
ให้มันมาวิ่งอยู่ในกาย ฌาน 1-4 ก็ทำอย่างนี้ได้
ถ้าจะให้เป็นอานาปานสติ
คือต้องทำให้ครบ 16 ขั้นตอน
คือมันเป็นวิธีเฉพาะของมัน ใครมาตั้งใจทำให้ครบตามรูปแบบ
ให้มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา โดยอาศัยลมหายใจ จนกระทั่งบรรลุธรรมไปตามลำดับ
อานาปานสตินี่เป็นกรรมฐานสำหรับคนพิเศษ (มหาบุรุษ)
ถ้าเราไม่พิเศษก็ทำเป็นกายานุปัสสนาก็ได้ กายคตาสติก็ได้
ไม่ใช่ทุกคนทีั่ทำอานาปานสติได้ เพราะมันจะอาศัยสติปัญญาเยอะ
ทำได้ก็ได้อานิสงส์พิเศษ เช่น
นั่งได้นานไม่ไหวติง บอกได้ว่าจะปรินิพพานอิริยาบถไหน เมื่อไร เป็นต้น
อานาปานฯ นี่ใครสามารถควรทำไว้
เพราะคนเราไม่ได้นับถือกันที่หมดกิเลสอย่างเดียว
บางทีนับถือกันที่นั่งนาน 5555
พระพุทธศาสนานี่เป็นของทุกคน
คนมันยังมีกิเลสมันก็นับถือคนนั่งนิ่ง นั่งนาน
อรหันต์บางคนนั่งนิ่งสู้โยมไม่ได้ มันก็ไม่นับถือเหมือนกัน
คนได้อานาปานฯ ก็จะเป็นที่เลือมใส นั่งได้นิ่ง นั่งได้นาน
ก็จะโปรดเขาได้
ผู้ฝึกได้ก็จะช่วยรักษาคำสอนส่วนพิเศษเอาไว้ได้ เช่น เรื่องฌาน อภิญญา
เพราะว่าลมหายใจเข้าออกนี่เป็นหลายกรรมฐาน
ลมหายใจเหมือนกัน แต่เรียกชืื่อกรรมฐานไม่เหมือนกัน
ตามวัตถุประสงค์ที่ฝึก
ถ้าต้องการพัฒนาความเพียร สัมปชัญญะ สติ
ต้องการเพิ่มองค์มรรคเหล่านี้ให้เติบโต
ลมอันนี้เรียก กายานุปัสสนา
กายานุปัสสนาจะมี 14 หมวด
มีลมหายใจ อิริยาบถใหญ่ สัมปชัญญะ อสุภะ ปฏิกูล ธาตุ ป่าช้า9
ลมนี้ไม่ใช่อานาปานฯ แต่เป็นกายานุปัสสนา
ถ้าลมหายใจนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของกาย
ถ้าเรามีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
มาตามดูลมหายใจเข้าออก เพื่อพัฒนาความเพียร พัฒนาความรู้และสติเฉยๆ
อันนี้เรียก "กายานุปัสสนา"
ถ้าต้องการใช้เพื่อผูกไว้ไม่ให้ไปไหน ไปนู่นไปนี่
เพื่อตัดวิตก ไม่มีความดำริอาศัยเรือน ไม่ฟุ้งซ่าน จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
ลมอันนี้เรียก กายคตาสติ
ทีนี้ถ้าต้องการอาศัยลมหายใจผูกจิตเอาไว้กับกาย
ลมหายใจนี้เป็นส่วนหนึ่งของกาย อันนี้เอาไว้ใช้ผูกจิตเฉยๆ
ไม่ได้ต้องการกรรมฐานลึกซึ้งอะไร
แค่ต้องการให้เป็นที่ผูกจิตเอาไว้เฉยๆ
ให้กายเป็นหลักของจิต
โดยเอาสติเป็นเครื่องผูก
กระทำกรรมฐานเช่นนี้เรียก กายคตาสติ
กายาคตาสติ คือ การผูกจิต
เอาสติเป็นเชือกผูกไว้ไม่ให้ไปไกล
เชือกเหนียวก็ผูกได้ดี อันนี้เรียกว่ามีสติดี
กายคตาสติมี 18 อัน ให้มันวิ่งอยู่ในกาย
14 อันเหมือนของกายานุปัสสนา เพิ่มเติมผู้ได้สมาธิ
ให้มันมาวิ่งอยู่ในกาย ฌาน 1-4 ก็ทำอย่างนี้ได้
คือต้องทำให้ครบ 16 ขั้นตอน
คือมันเป็นวิธีเฉพาะของมัน ใครมาตั้งใจทำให้ครบตามรูปแบบ
ให้มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา โดยอาศัยลมหายใจ จนกระทั่งบรรลุธรรมไปตามลำดับ
อานาปานสตินี่เป็นกรรมฐานสำหรับคนพิเศษ (มหาบุรุษ)
ถ้าเราไม่พิเศษก็ทำเป็นกายานุปัสสนาก็ได้ กายคตาสติก็ได้
ไม่ใช่ทุกคนทีั่ทำอานาปานสติได้ เพราะมันจะอาศัยสติปัญญาเยอะ
ทำได้ก็ได้อานิสงส์พิเศษ เช่น
นั่งได้นานไม่ไหวติง บอกได้ว่าจะปรินิพพานอิริยาบถไหน เมื่อไร เป็นต้น
อานาปานฯ นี่ใครสามารถควรทำไว้
เพราะคนเราไม่ได้นับถือกันที่หมดกิเลสอย่างเดียว
บางทีนับถือกันที่นั่งนาน 5555
พระพุทธศาสนานี่เป็นของทุกคน
คนมันยังมีกิเลสมันก็นับถือคนนั่งนิ่ง นั่งนาน
อรหันต์บางคนนั่งนิ่งสู้โยมไม่ได้ มันก็ไม่นับถือเหมือนกัน
คนได้อานาปานฯ ก็จะเป็นที่เลือมใส นั่งได้นิ่ง นั่งได้นาน
ก็จะโปรดเขาได้
ผู้ฝึกได้ก็จะช่วยรักษาคำสอนส่วนพิเศษเอาไว้ได้ เช่น เรื่องฌาน อภิญญา
วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561
ศีลที่เป็นองค์มรรคต้องประกอบด้วยความรู้
เบื้องแรกก็ต้องเห็นศีลเป็นศีล
แล้วก็ต้องรักษาศีล
มีความรู้ว่ารักษาไปเพื่อไม่ให้เป็นที่ต้องเดือดร้อนใจเท่านั้น
แต่ถ้าไม่มีสัมมาทิฏฐิ
รักษาศีลไปก็กลายเป็น "เรามีศีล" "เรารักษาศีล"
อันนี้ก็เห็นผิดไป ไม่ทำให้พ้นทุกข์
รักษาศีลนี่พาไปขยันก็ได้ เช่น
กลัวตัวเองจะลำบาก จึงขยันรักษาศีล จะได้ไปเกิดที่ดีๆ
กลัวตัวเองจะลำบาก ขอนอนต่ออีกหน่อยนึง ก็เหวี่ยงไปอีกด้าน
มันมีตัวเองเข้ามาได้เสียกับศีล
มันมีตัวเองเข้ามา มันก็ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ
ไม่เป็นศีลที่เป็นองค์มรรค
ไม่เป็นไปเพื่อการละกิเลส
ไม่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์
เรียนๆ ไปเหมือนจะเข้าใจ
แต่ไปทำจริงก็ดันไปทำอย่างเขานี่แหละ
...มั่วอยู่...
แล้วก็ต้องรักษาศีล
มีความรู้ว่ารักษาไปเพื่อไม่ให้เป็นที่ต้องเดือดร้อนใจเท่านั้น
แต่ถ้าไม่มีสัมมาทิฏฐิ
รักษาศีลไปก็กลายเป็น "เรามีศีล" "เรารักษาศีล"
อันนี้ก็เห็นผิดไป ไม่ทำให้พ้นทุกข์
รักษาศีลนี่พาไปขยันก็ได้ เช่น
กลัวตัวเองจะลำบาก จึงขยันรักษาศีล จะได้ไปเกิดที่ดีๆ
กลัวตัวเองจะลำบาก ขอนอนต่ออีกหน่อยนึง ก็เหวี่ยงไปอีกด้าน
มันมีตัวเองเข้ามาได้เสียกับศีล
มันมีตัวเองเข้ามา มันก็ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ
ไม่เป็นศีลที่เป็นองค์มรรค
ไม่เป็นไปเพื่อการละกิเลส
ไม่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์
เรียนๆ ไปเหมือนจะเข้าใจ
แต่ไปทำจริงก็ดันไปทำอย่างเขานี่แหละ
...มั่วอยู่...
เนกขัมมะ
จะถอยไม่ถอยออกมาดูนี่ขึ้นกับระดับสติปัญญา
ถ้ามันยังไม่พอในเรื่องไหนๆ ในเรื่องนั้นๆ ก็ต้องถอยออกมาก่อนค่อยดู
การถอยออกมานี่จะช่วยให้เห็นทุกข์
เช่น กำลังวุ่นวายสนใจการเมืองอยู่ สนใจละครอยู่
เวลามันอินอยู่มันจะมองไม่เห็นว่า
โอ้โหมันทุกข์นะ มันเรื่องมาก มันเหนื่อยขนาดไหน
การถอยออกมานี่ทำให้เห็นทุกข์ได้ชัดขึ้น
เห็นในเรืื่องนั้นๆ แหละที่เคยข้องอยู่
เวลามันเป็นคนทำมันจะดูไม่ได้ ถึงได้ถอยออกมาดู
เพียรอดทนไม่เข้าไปเสพ ความเป็นทุกข์ก็ปรากฏได้ชัดขึ้น
เนกขัมมะจึงเป็นไปเพื่อการเจริญปัญญา
การเห็นตามความเป็นจริง
ถ้ามันยังไม่พอในเรื่องไหนๆ ในเรื่องนั้นๆ ก็ต้องถอยออกมาก่อนค่อยดู
การถอยออกมานี่จะช่วยให้เห็นทุกข์
เช่น กำลังวุ่นวายสนใจการเมืองอยู่ สนใจละครอยู่
เวลามันอินอยู่มันจะมองไม่เห็นว่า
โอ้โหมันทุกข์นะ มันเรื่องมาก มันเหนื่อยขนาดไหน
การถอยออกมานี่ทำให้เห็นทุกข์ได้ชัดขึ้น
เห็นในเรืื่องนั้นๆ แหละที่เคยข้องอยู่
เวลามันเป็นคนทำมันจะดูไม่ได้ ถึงได้ถอยออกมาดู
เพียรอดทนไม่เข้าไปเสพ ความเป็นทุกข์ก็ปรากฏได้ชัดขึ้น
เนกขัมมะจึงเป็นไปเพื่อการเจริญปัญญา
การเห็นตามความเป็นจริง
มิจฉาญาณ
ถ้ารู้อะไร รู้แล้วปล่อยได้ อันนี้เป็นสัมมาญาณ
แต่ถ้ารู้แล้วปล่อยไม่ได้นี่
รู้แล้วกิเลสไม่ลดนี่
"มิจฉาญาณ"
สัมมาทิฏฐินี่อาความรู้เฉพาะในแง่อริยสัจ 4
ส่วนสัมมาญาณ พูดถึงความรู้อย่างอื่นด้วย แต่รู้แล้วเห็นแล้วละกิเลสได้
สัมมาวิมุตติ คือพ้น พ้นได้จริง ไม่ได้พ้นแบบยึกยัก
ปฏิบัติธรรมนี่ต้องทำให้ถูกจริงๆ
ถ้าทำไม่ถูกก็คือผิดไปเลย ผิดคือไม่ให้ผลเป็นการละกิเลส
ทำไม่ถูกไม่เป็นองค์มรรค
แต่ถ้ารู้แล้วปล่อยไม่ได้นี่
รู้แล้วกิเลสไม่ลดนี่
"มิจฉาญาณ"
สัมมาทิฏฐินี่อาความรู้เฉพาะในแง่อริยสัจ 4
ส่วนสัมมาญาณ พูดถึงความรู้อย่างอื่นด้วย แต่รู้แล้วเห็นแล้วละกิเลสได้
สัมมาวิมุตติ คือพ้น พ้นได้จริง ไม่ได้พ้นแบบยึกยัก
ปฏิบัติธรรมนี่ต้องทำให้ถูกจริงๆ
ถ้าทำไม่ถูกก็คือผิดไปเลย ผิดคือไม่ให้ผลเป็นการละกิเลส
ทำไม่ถูกไม่เป็นองค์มรรค
ก่อนทำกรรมฐาน
การจะเริ่มต้นทำกรรมฐานอะไรจะต้องมี
ความเพียร สัมปชัญญะ มีสติ ก่อน
เพราะไม่งั้นทำไป ไม่เข้าองค์มรรคซะงั้น
แม้แต่จะรักษาศีล ก็ยังต้องมารู้ก่อน
ว่าทำอะไร ทำเพื่ออะไร
เบื้องต้นท่านจึงให้เรามีความเพียร
ความเพียร แปลว่า ความตั้งใจที่จะละกิเลส ละชั่ว มาทำดี
มาทำดีนี่ไม่ได้แปลว่ามาทำอะไรนะ แต่คือตอนตั้งใจดีมันชั่วไม่ได้ นี่แหละ ดีแล้ว
ทีนี้พอมาทำดีแล้ว
ก็ต้องมีปัญญาว่า มันดีบ้างไม่ดีบ้าง ได้บ้างไม่ได้บ้าง
อันนี้คือมีสัมปชัญญะ จุดนี้ถ้าไม่มีปัญญากำกับ
ก็จะ "เอาดี" "ติดดี" อันนี้ก็ชั่วอีก
ทีนี้เพื่อรักษาจิตที่เคยทำได้แล้ว
จะรักษาดีได้นี่ก็ต้องมีสติมารักษา
อย่างน้อยก็รักษาจิตที่มีศีล ไม่ให้มันไปพลาดผิดศีล
ถ้ามันงดเว้นแล้วก็อย่าให้มันไปพลาด
การปฏิบัติตามองค์มรรค 8
ถ้ามันยังไม่เต็มบริบูรณ์นี่ องค์มรรค 3 จะต้องมีเสมอ
คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ความเพียร สัมปชัญญะ มีสติ ก่อน
เพราะไม่งั้นทำไป ไม่เข้าองค์มรรคซะงั้น
แม้แต่จะรักษาศีล ก็ยังต้องมารู้ก่อน
ว่าทำอะไร ทำเพื่ออะไร
เบื้องต้นท่านจึงให้เรามีความเพียร
ความเพียร แปลว่า ความตั้งใจที่จะละกิเลส ละชั่ว มาทำดี
มาทำดีนี่ไม่ได้แปลว่ามาทำอะไรนะ แต่คือตอนตั้งใจดีมันชั่วไม่ได้ นี่แหละ ดีแล้ว
ทีนี้พอมาทำดีแล้ว
ก็ต้องมีปัญญาว่า มันดีบ้างไม่ดีบ้าง ได้บ้างไม่ได้บ้าง
อันนี้คือมีสัมปชัญญะ จุดนี้ถ้าไม่มีปัญญากำกับ
ก็จะ "เอาดี" "ติดดี" อันนี้ก็ชั่วอีก
ทีนี้เพื่อรักษาจิตที่เคยทำได้แล้ว
จะรักษาดีได้นี่ก็ต้องมีสติมารักษา
อย่างน้อยก็รักษาจิตที่มีศีล ไม่ให้มันไปพลาดผิดศีล
ถ้ามันงดเว้นแล้วก็อย่าให้มันไปพลาด
การปฏิบัติตามองค์มรรค 8
ถ้ามันยังไม่เต็มบริบูรณ์นี่ องค์มรรค 3 จะต้องมีเสมอ
คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2561
จะตีมึนก็ได้ จะเอางงก็ได้ (กายไม่ใช่สติ)
กายเป็นตัวอารมณ์ ไม่ใช่ตัวสติ
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ก็เป็นอารมณ์ ไม่ใช่สติ
สติตัวอารมณ์ที่ปรากฏด้วย และก็เป็นตัวระลึกด้วย
ส่วนตัวอื่นนี่เป็นอารมณ์ให้สติระลึก
...ท่านจะขยายทำไมเนี่ย...-*-
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ก็เป็นอารมณ์ ไม่ใช่สติ
สติตัวอารมณ์ที่ปรากฏด้วย และก็เป็นตัวระลึกด้วย
ส่วนตัวอื่นนี่เป็นอารมณ์ให้สติระลึก
...ท่านจะขยายทำไมเนี่ย...-*-
ทำยังไงจะหมดกิเลส? (ทำหน้าที่ให้ถูก)
ทำยังไงจะหมดกิเลส?
อันนี้มันคิดผิด
หมดกิเลส (นิพพาน) เป็นภาวะที่ "ควรเข้าถึง ควรกระทำให้แจ้ง"
ไม่ใช่ภาวะที่ควรเจริญหรือทำให้มี
ทำยังไงจะหมดกิเลส?
อย่าไปคิดเลย...ให้ถามใหม่เป็น
ทำยังไงจะมีสัมมาทิฏฐิ
สมมตินั่งสมาธิไปแล้ว เดินจงกรมไปแล้ว ไม่สงบ ไม่สุข
มาบ่นว่าทำไมมันไม่สงบ...อันนี้เป็นบ้าไป ยังเห็นไม่ถูก
ถ้ามันไม่สงบก็ใส่ปัญญาลงไปสิ "นี่ไม่เที่ยง มันบังคับไม่ได้"
สัมมาทิฏฐินี่ถึงจะเป็นสิ่งที่ควรเจริญ
คิดช่วยก็ได้คิดไปสิ เป็นสัมมาสังกัปปะ นี่เป็นสิ่งที่ควรเจริญ
ไม่ใช่ไปเจริญความสงบ ไม่ใช่ไปทำความสงบ
รู้ในสิ่งที่ควรรู้
ละในสิ่งที่ควรละ
กระทำให้แจ้งในสิ่งที่ควรให้แจ้ง
เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ
เรื่องพวกนี้ต้องแม่นๆ...
อันนี้มันคิดผิด
หมดกิเลส (นิพพาน) เป็นภาวะที่ "ควรเข้าถึง ควรกระทำให้แจ้ง"
ไม่ใช่ภาวะที่ควรเจริญหรือทำให้มี
ทำยังไงจะหมดกิเลส?
อย่าไปคิดเลย...ให้ถามใหม่เป็น
ทำยังไงจะมีสัมมาทิฏฐิ
สมมตินั่งสมาธิไปแล้ว เดินจงกรมไปแล้ว ไม่สงบ ไม่สุข
มาบ่นว่าทำไมมันไม่สงบ...อันนี้เป็นบ้าไป ยังเห็นไม่ถูก
ถ้ามันไม่สงบก็ใส่ปัญญาลงไปสิ "นี่ไม่เที่ยง มันบังคับไม่ได้"
สัมมาทิฏฐินี่ถึงจะเป็นสิ่งที่ควรเจริญ
คิดช่วยก็ได้คิดไปสิ เป็นสัมมาสังกัปปะ นี่เป็นสิ่งที่ควรเจริญ
ไม่ใช่ไปเจริญความสงบ ไม่ใช่ไปทำความสงบ
รู้ในสิ่งที่ควรรู้
ละในสิ่งที่ควรละ
กระทำให้แจ้งในสิ่งที่ควรให้แจ้ง
เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ
เรื่องพวกนี้ต้องแม่นๆ...
วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561
กาย
หมายเอา 2 อย่าง คือ รูปกาย และนามกาย
กาย หมายถึง ที่รวม ที่ประชุม
ในการฝึกสติตอนต้นซึ่งสติยังน้อย
ท่านไม่นิยมให้ดู "รูป"
เพราะรูปจะไม่ปรากฏชัด
จะปรากฏชัดแต่ "กาย" ท่านจึงให้ดูกายก่อน
"ดูกาย" กับ "ดูรูป" ไม่เหมือนกัน
ในการฝึกสติปัฏฐานนี้เป็นการฝึกขั้นต้น ยังไม่เน้นสมาธิ
ดังนั้น ถ้าไปเน้นสมาธิมาก ก็จะมีปัญหาได้ ท่านจึงเน้นให้ดูกาย
ตามดูกายในกาย
กายแปลว่า ที่รวมของรูป (ไม่ใช่ให้ดูรูป)
กายเป็นอารมณ์บัญญัติ
พอเกิดสติ เกิดสมาธิ ค่อยมาดูความเป็นรูป
คือดูลมหายใจเป็นลมหายใจนั่นแหละ
แต่พอจิตมีสมาธิแล้ว มันก็มามองมุมความเป็นธาตุได้เอง
กายเดินก็รู้ว่ากายเดิน ก็รู้ไปตรงๆ เลย
ไม่ต้องไปเถียงว่านี่ไม่ใช่การดูรูป ไม่จำเป็นทำตามท่านว่าไปเลย
บัญญติถึงแม้จะไม่มีไม่เที่ยงให้ดู แต่มันมีลักษณะไม่มีตัวตน
พอสติสมาธิมั่นคงขึ้น ก็จะเห็นแยกออกมาเป็นรูปเอง โดยธรรมชาติ
นามกาย
นาม เป็นสภาวะที่น้อมไปรู้ หรือเป็นตัวทำให้คนอื่นรับรู้
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
เป็นกลุ่มนามที่เห็นได้ชัดและมีมาก
กลุ่มนี้เรียก จิตตสังขาร
อารมณ์ในโลกมีเยอะแยะ ผัสสะกับมนสิการ เป็นตัวจัดแจงให้รับรู้
จิตตสังขาร หมายถึงปรุงจิต
ปรุงให้จิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
จิตก็ไม่ได้เป็นอะไร มันก็รู้ของมันอยู่อย่างนั้น
ที่มันทุกข์ สุข เพราะมีอะไรปรุงมันขึ้นมา
คำว่า "อย่าไปปรุงแต่ง"
แปลว่า "อย่าไปปรุงแต่งเลวๆ"
เพราะศีลสมาธิปัญญา ก็เป็นสิ่งปรุงแต่งจิต เหมือนกัน
รูปกาย
เป็นที่รวมของรูป (แต่ไม่ใช่รูป)
เช่น ลมหายใจเข้าออก น้ำเลือด น้ำหนอง ผม ขน เล็บ
จิตทียังขาดสติสมาธิ มันจะยึดบัญญัติโดยธรรมชาติ
พอไม่ติดบัญญัติ จะรู้สึกว่ากายว่าง
ว่างแปลว่า ว่างจากบัญญัติ
เช่น เดิมติดแขนขา (ติดสมมติ) พอปล่อย ก็รู้สึกเหมือนแขนหาย ขาหาย
กลายเป็นว่าง ว่างก็เป็นบัญญัติอันนึง น้อมกลับมาใหม่
กลับมาดูตัวเองใหม่ คราวนี้มันจะมาดูว่ามันรู้อะไรได้บ้าง
มันก็ไปเอาปรมัตถ์เป็นอารมณ์แทน
เป็นการกระทบทีละจุดๆๆ ไป อันนี้คือรูป
มีการกระทบขึ้น ตัวรู้ก็เป็นอีกตัวนึง เสียงก็เป็นอีกตัวนึง
แบบนี้เรียก กำหนดรู้รูป
กาย หมายถึง ที่รวม ที่ประชุม
ในการฝึกสติตอนต้นซึ่งสติยังน้อย
ท่านไม่นิยมให้ดู "รูป"
เพราะรูปจะไม่ปรากฏชัด
จะปรากฏชัดแต่ "กาย" ท่านจึงให้ดูกายก่อน
"ดูกาย" กับ "ดูรูป" ไม่เหมือนกัน
ในการฝึกสติปัฏฐานนี้เป็นการฝึกขั้นต้น ยังไม่เน้นสมาธิ
ดังนั้น ถ้าไปเน้นสมาธิมาก ก็จะมีปัญหาได้ ท่านจึงเน้นให้ดูกาย
ตามดูกายในกาย
กายแปลว่า ที่รวมของรูป (ไม่ใช่ให้ดูรูป)
กายเป็นอารมณ์บัญญัติ
พอเกิดสติ เกิดสมาธิ ค่อยมาดูความเป็นรูป
คือดูลมหายใจเป็นลมหายใจนั่นแหละ
แต่พอจิตมีสมาธิแล้ว มันก็มามองมุมความเป็นธาตุได้เอง
กายเดินก็รู้ว่ากายเดิน ก็รู้ไปตรงๆ เลย
ไม่ต้องไปเถียงว่านี่ไม่ใช่การดูรูป ไม่จำเป็นทำตามท่านว่าไปเลย
บัญญติถึงแม้จะไม่มีไม่เที่ยงให้ดู แต่มันมีลักษณะไม่มีตัวตน
พอสติสมาธิมั่นคงขึ้น ก็จะเห็นแยกออกมาเป็นรูปเอง โดยธรรมชาติ
นามกาย
นาม เป็นสภาวะที่น้อมไปรู้ หรือเป็นตัวทำให้คนอื่นรับรู้
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
เป็นกลุ่มนามที่เห็นได้ชัดและมีมาก
กลุ่มนี้เรียก จิตตสังขาร
อารมณ์ในโลกมีเยอะแยะ ผัสสะกับมนสิการ เป็นตัวจัดแจงให้รับรู้
จิตตสังขาร หมายถึงปรุงจิต
ปรุงให้จิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
จิตก็ไม่ได้เป็นอะไร มันก็รู้ของมันอยู่อย่างนั้น
ที่มันทุกข์ สุข เพราะมีอะไรปรุงมันขึ้นมา
คำว่า "อย่าไปปรุงแต่ง"
แปลว่า "อย่าไปปรุงแต่งเลวๆ"
เพราะศีลสมาธิปัญญา ก็เป็นสิ่งปรุงแต่งจิต เหมือนกัน
รูปกาย
เป็นที่รวมของรูป (แต่ไม่ใช่รูป)
เช่น ลมหายใจเข้าออก น้ำเลือด น้ำหนอง ผม ขน เล็บ
จิตทียังขาดสติสมาธิ มันจะยึดบัญญัติโดยธรรมชาติ
พอไม่ติดบัญญัติ จะรู้สึกว่ากายว่าง
ว่างแปลว่า ว่างจากบัญญัติ
เช่น เดิมติดแขนขา (ติดสมมติ) พอปล่อย ก็รู้สึกเหมือนแขนหาย ขาหาย
กลายเป็นว่าง ว่างก็เป็นบัญญัติอันนึง น้อมกลับมาใหม่
กลับมาดูตัวเองใหม่ คราวนี้มันจะมาดูว่ามันรู้อะไรได้บ้าง
มันก็ไปเอาปรมัตถ์เป็นอารมณ์แทน
เป็นการกระทบทีละจุดๆๆ ไป อันนี้คือรูป
มีการกระทบขึ้น ตัวรู้ก็เป็นอีกตัวนึง เสียงก็เป็นอีกตัวนึง
แบบนี้เรียก กำหนดรู้รูป
การทำจิตอารมณ์เดียว
การทำจิตอารมณ์เดียวนี่มันยากสำหรับมนุษย์
จิตส่วนมากเป็นโมหะ อุทธัจจะสัมปยุต
คือฟุ้งซ่านไปเสียส่วนใหญ่
งานสมาธิ จึงเรียกว่าเป็นงานเหนือมนุษย์ (อุตริมนุสสธรรม, อุตฺตริมนุสฺสานํ ธมฺโม)
พวกเราเวลาเดินจงกรม
เดินสงบก็เอา ไม่สงบก็ไม่เดิน
อันนี้ฟุ้งซ่าน
เวลานั่งสมาธิ
นั่งสงบก็นั่ง ไม่สงบก็ไม่นั่งต่อ
อันนี้ก็ฟุ้งซ่าน
แล้วอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นยังไง?
อารมณ์เป็นหนึ่งก็จะเป็นลักษณะ
มันสงบเราก็นั่ง ไม่สงบเราก็นั่ง
เราจะดูลมหายใจ เอาลมหายใจเป็นอารมณ์หลัก
มันจะดูได้ เราก็ดูต่อ
มันจะดูไม่ได้ เราก็ดูต่อ นี่คืออารมณ์เป็นหนึ่ง...อันนี้ตะหากคือสมาธิ (เอกัคคตาเป็นอย่างนี้)
เอกัคคตาไม่ใช่ว่าได้ผล
แล้วไปสนใจผลของมัน
อันนี้เรียกว่าฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่น
พอไม่ตั้งมั่น ก็ต้องเอาผลมาล่อ
ถ้าได้ผลก็ดีใจ
ไม่ได้ผลก็ไม่ดีใจ...มันก็คือฟุ้งซ่านไปแบบโลกๆ นั่นแหละ
เพียงแต่เปลี่ยนอารมณ์
แต่สิ่งที่เราฝึกคือ
ได้ก็อยู่กับอารมณ์นี้
ไม่ได้ก็อยู่กับอารมณ์นี้
ประโยชน์คือเอาไปใช้เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง
ความเป็นจริงก็คือ มันดีบ้าง มันไม่ดีบ้าง
จิตส่วนมากเป็นโมหะ อุทธัจจะสัมปยุต
คือฟุ้งซ่านไปเสียส่วนใหญ่
งานสมาธิ จึงเรียกว่าเป็นงานเหนือมนุษย์ (อุตริมนุสสธรรม, อุตฺตริมนุสฺสานํ ธมฺโม)
พวกเราเวลาเดินจงกรม
เดินสงบก็เอา ไม่สงบก็ไม่เดิน
อันนี้ฟุ้งซ่าน
เวลานั่งสมาธิ
นั่งสงบก็นั่ง ไม่สงบก็ไม่นั่งต่อ
อันนี้ก็ฟุ้งซ่าน
แล้วอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นยังไง?
อารมณ์เป็นหนึ่งก็จะเป็นลักษณะ
มันสงบเราก็นั่ง ไม่สงบเราก็นั่ง
เราจะดูลมหายใจ เอาลมหายใจเป็นอารมณ์หลัก
มันจะดูได้ เราก็ดูต่อ
มันจะดูไม่ได้ เราก็ดูต่อ นี่คืออารมณ์เป็นหนึ่ง...อันนี้ตะหากคือสมาธิ (เอกัคคตาเป็นอย่างนี้)
เอกัคคตาไม่ใช่ว่าได้ผล
แล้วไปสนใจผลของมัน
อันนี้เรียกว่าฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่น
พอไม่ตั้งมั่น ก็ต้องเอาผลมาล่อ
ถ้าได้ผลก็ดีใจ
ไม่ได้ผลก็ไม่ดีใจ...มันก็คือฟุ้งซ่านไปแบบโลกๆ นั่นแหละ
เพียงแต่เปลี่ยนอารมณ์
แต่สิ่งที่เราฝึกคือ
ได้ก็อยู่กับอารมณ์นี้
ไม่ได้ก็อยู่กับอารมณ์นี้
ประโยชน์คือเอาไปใช้เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง
ความเป็นจริงก็คือ มันดีบ้าง มันไม่ดีบ้าง
ฝึกนิสัยอารมณ์หนึ่ง - สิกขติ
การฝึก หรือ สิกขติ
คือฝึกศีล สมาธิ ปัญญา
โดยเอากรรมฐาน เช่น เดิน หายใจ ฯลฯ เป็นอุปกรณ์
ผลการการฝึกจึงต้องมาดูว่าได้ศีลมั้ย?
ได้ความตั้งใจฝ่ายดี
ได้ความตั้งใจงดเว้นฝ่ายชั่วมั้ย
ได้สติมั้ย?
ได้ปัญญามั้ย?
ถ้าเป็นคนหัดฝึก มีอารมณ์หนึ่งอยู่กับลมหายใจ
ถึงแม้มันจะคิดฟุ้งไป
มันก็กลับมาที่ลมหายใจ
ตอนนี้มีอารมณ์เป็นหนึ่งอยู่หรือเปล่า ไปแล้วก็กลับมา
ทำบ่อยๆ มันก็เคยชิน
ชินกับการสนใจอารมณ์หนึ่งเป็นหลัก
พอสนใจอารมณ์หนึ่งเป็นหลัก พอไปทำงาน
ใครมากวน มันก็กลับมาทำงาน
มันได้นิสัยคือ อารมณ์หนึ่งมา
ให้อารมณ์หนึ่งเป็นหลัก
เอาล่ะตั้งใจมาฟังธรรม ก็ตัั้งใจมาฟัง
มีคนนั้นคนนี้โทรมา ก็ไม่สนใจเพราะมันมีอารมณ์หนึ่ง
นี่แหละที่ต้องการคือนิสัยอันนี้
ศีลอันนี้ สมาธิอันนี้ ปัญญาอันนี้
ไม่ได้ฝึกนั่งสมาธิเป็น
ไม่ได้ฝึกเดินเป็น
นั่งสวย เดินถูก แต่อารมณ์เป็นหนึ่งไม่เป็น
การฝึก เช่น ฝึกตั้งใจ
จะได้ไม่ได้ก็อีกเรื่องนึง อย่างน้อยได้ตั้งใจ
อย่างน้อยได้สำรวมระวัง ได้ศีลละ
ได้ความตั้งใจมา
คือฝึกศีล สมาธิ ปัญญา
โดยเอากรรมฐาน เช่น เดิน หายใจ ฯลฯ เป็นอุปกรณ์
ผลการการฝึกจึงต้องมาดูว่าได้ศีลมั้ย?
ได้ความตั้งใจฝ่ายดี
ได้ความตั้งใจงดเว้นฝ่ายชั่วมั้ย
ได้สติมั้ย?
ได้ปัญญามั้ย?
ถ้าเป็นคนหัดฝึก มีอารมณ์หนึ่งอยู่กับลมหายใจ
ถึงแม้มันจะคิดฟุ้งไป
มันก็กลับมาที่ลมหายใจ
ตอนนี้มีอารมณ์เป็นหนึ่งอยู่หรือเปล่า ไปแล้วก็กลับมา
ทำบ่อยๆ มันก็เคยชิน
ชินกับการสนใจอารมณ์หนึ่งเป็นหลัก
พอสนใจอารมณ์หนึ่งเป็นหลัก พอไปทำงาน
ใครมากวน มันก็กลับมาทำงาน
มันได้นิสัยคือ อารมณ์หนึ่งมา
ให้อารมณ์หนึ่งเป็นหลัก
เอาล่ะตั้งใจมาฟังธรรม ก็ตัั้งใจมาฟัง
มีคนนั้นคนนี้โทรมา ก็ไม่สนใจเพราะมันมีอารมณ์หนึ่ง
นี่แหละที่ต้องการคือนิสัยอันนี้
ศีลอันนี้ สมาธิอันนี้ ปัญญาอันนี้
ไม่ได้ฝึกนั่งสมาธิเป็น
ไม่ได้ฝึกเดินเป็น
นั่งสวย เดินถูก แต่อารมณ์เป็นหนึ่งไม่เป็น
การฝึก เช่น ฝึกตั้งใจ
จะได้ไม่ได้ก็อีกเรื่องนึง อย่างน้อยได้ตั้งใจ
อย่างน้อยได้สำรวมระวัง ได้ศีลละ
ได้ความตั้งใจมา
อัสสาสะ ปัสสาสะ อะไรเข้า อะไรออก
อัสสาสะ
แปลว่า หายใจทีแรก (ไม่ได้แปลว่าเข้าหรืออก)
ปัสสาสะ
แปลว่า หายใจทีหลัง (ไม่ได้แปลว่าเข้าหรืออก)
ว่าตามหลักแบบชีวิตทั่วไป
เด็กเกิดจากท้องแม่ ว่ากันว่าลมหายใจแรกเป็นลมหายใจออก
พอเวลาผ่านไป โตจนแก่
ลมหายใจก็กลายเป็นหายใจเข้าก่อน ออกทีหลัง
พอพูดถึงการปฏิบัติในอานาฯ ก็คือมาพูดตอนโตแล้ว
ก็จะเป็นลมหายใจเข้าก่อน ลมหายใจออกทีหลัง
ทั้งนี้ อานาปานสติไม่ใช่ฝึกหายใจ
แต่เป็นการใช้ลมหายใจที่มีอยู่ เป็นอยู่นี่แหละ
มาให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา
ในอานาจึงไม่ได้ใส่ใจว่าจะเข้าหรือออก
จะหายใจยังไงก็ได้ ให้มันได้สติ ให้มันได้ปัญญา
เห็นว่าลมหายใจเป็นธาตุอันหนึ่ง เข้ามาแล้วออกไป
แปลว่า หายใจทีแรก (ไม่ได้แปลว่าเข้าหรืออก)
ปัสสาสะ
แปลว่า หายใจทีหลัง (ไม่ได้แปลว่าเข้าหรืออก)
ว่าตามหลักแบบชีวิตทั่วไป
เด็กเกิดจากท้องแม่ ว่ากันว่าลมหายใจแรกเป็นลมหายใจออก
พอเวลาผ่านไป โตจนแก่
ลมหายใจก็กลายเป็นหายใจเข้าก่อน ออกทีหลัง
พอพูดถึงการปฏิบัติในอานาฯ ก็คือมาพูดตอนโตแล้ว
ก็จะเป็นลมหายใจเข้าก่อน ลมหายใจออกทีหลัง
ทั้งนี้ อานาปานสติไม่ใช่ฝึกหายใจ
แต่เป็นการใช้ลมหายใจที่มีอยู่ เป็นอยู่นี่แหละ
มาให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา
ในอานาจึงไม่ได้ใส่ใจว่าจะเข้าหรือออก
จะหายใจยังไงก็ได้ ให้มันได้สติ ให้มันได้ปัญญา
เห็นว่าลมหายใจเป็นธาตุอันหนึ่ง เข้ามาแล้วออกไป
ตั้งใจเป็นศีล ตั้งใจเป็นสมาธิ
การตั้งใจนี่เป็นศีล และเป็นสมาธิ
เช่น ตั้งใจฟังธรรม
ทำไมเป็นศีล
เพราะเมื่อตั้งใจดี
การงดเว้นชั่วมันเป็นอัตโนมัติ
หรือการตั้งใจพูดธรรม
ถ้าเราตั้งใจพูด
มีปัญญารู้เรื่องความไม่แน่ไม่นอน
มีปัญญาตั้งใจพูด
มีเมตตาพูดให้คนนี้ฟัง
ส่วนเขาจะตั้งใจ/ไม่ตั้งใจฟังก็ไม่เป็นไร
การตั้งใจนี้มันก็เป็นการรวบรวมกาย วาจาเข้ามา
ใจไม่วอกแวก ถึงแม้เขาจะฟังบ้างไม่ฟังบ้าง
ถึงแม้เขาจะให้เหตุผลมาขัดอกขัดใจเราบ้าง
ก็อารมณ์เป็นหนึ่งในการพูด
เราจะพูดเรื่องนี้แหละ
ตั้งประเด็นเรื่องนี้ ก็ไม่ให้มันพลาดไปจากเรื่องนี้
เช่นนี้มันก็จะเกิดความเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในสิ่งที่พูด
ก็จะได้สมาธิขึ้นมา
แต่ถ้าไม่ใช้ปัญญานำ ใช้อยากนำ
อยากให้คนนี้รู้เรื่องธรรมะ
เขาค้านขึ้นมาหน่อยนึง เรื่องที่ตัวจะพูดก็หายหมด
แม่น้ำทั้งห้าเข้ามา ส่วนเรื่องที่จะพูดลืมหมด
อารมณ์ไม่เป็นหนึ่ง อย่างนี้เรียก "จิตฟุ้งซ่าน"
เมื่ออารมณ์ไม่เป็นหนึ่ง ก็ไม่ได้ประโยชน์จากการฝึก
เช่น ตั้งใจฟังธรรม
ทำไมเป็นศีล
เพราะเมื่อตั้งใจดี
การงดเว้นชั่วมันเป็นอัตโนมัติ
หรือการตั้งใจพูดธรรม
ถ้าเราตั้งใจพูด
มีปัญญารู้เรื่องความไม่แน่ไม่นอน
มีปัญญาตั้งใจพูด
มีเมตตาพูดให้คนนี้ฟัง
ส่วนเขาจะตั้งใจ/ไม่ตั้งใจฟังก็ไม่เป็นไร
การตั้งใจนี้มันก็เป็นการรวบรวมกาย วาจาเข้ามา
ใจไม่วอกแวก ถึงแม้เขาจะฟังบ้างไม่ฟังบ้าง
ถึงแม้เขาจะให้เหตุผลมาขัดอกขัดใจเราบ้าง
ก็อารมณ์เป็นหนึ่งในการพูด
เราจะพูดเรื่องนี้แหละ
ตั้งประเด็นเรื่องนี้ ก็ไม่ให้มันพลาดไปจากเรื่องนี้
เช่นนี้มันก็จะเกิดความเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในสิ่งที่พูด
ก็จะได้สมาธิขึ้นมา
แต่ถ้าไม่ใช้ปัญญานำ ใช้อยากนำ
อยากให้คนนี้รู้เรื่องธรรมะ
เขาค้านขึ้นมาหน่อยนึง เรื่องที่ตัวจะพูดก็หายหมด
แม่น้ำทั้งห้าเข้ามา ส่วนเรื่องที่จะพูดลืมหมด
อารมณ์ไม่เป็นหนึ่ง อย่างนี้เรียก "จิตฟุ้งซ่าน"
เมื่ออารมณ์ไม่เป็นหนึ่ง ก็ไม่ได้ประโยชน์จากการฝึก
ศีลมีแค่ไหนพอ
ศีลนี่เป็นไปเพื่อไม่เดือดร้อนใจภายหลัง
เบื้องต้นก็ไม่ต้องมีมาก
แค่ไม่เดือดร้อนใจก็พอ
ไม่ใช่ว่า "โอ้ย ฟังธรรมมาตั้งนานทำไมยังโกรธอยู่"
"ภาวนามาตั้งนานทำไมยังเลวอยู่"
ที่คิดยังงี้มันก็ไม่ใช่ไม่มีศีลอะไรหรอก
เป็นเพราะ "ความเห็นผิด" เป็น มิจฉาทิฏฐิ
...ประกาศโปรดทราบ คิดอย่างนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ....
ญาณจึงสำคัญ
การฟังธรรมจึงจำเป็นต้องมาฟังก่อน
เพื่อให้ได้ญาณ รู้ว่าทำอะไรไปเพื่ออะไร จึงจะรู้ว่าแค่ไหนพอ
พอไม่ได้ฟัง
ปฏิบัติก็จะเอานู่นเอานี่ไปเรื่อย
ของเกินทั้งนั้น
พระพุทธเจ้าท่านสอนพอใช้
เบื้องต้นก็ไม่ต้องมีมาก
แค่ไม่เดือดร้อนใจก็พอ
ไม่ใช่ว่า "โอ้ย ฟังธรรมมาตั้งนานทำไมยังโกรธอยู่"
"ภาวนามาตั้งนานทำไมยังเลวอยู่"
ที่คิดยังงี้มันก็ไม่ใช่ไม่มีศีลอะไรหรอก
เป็นเพราะ "ความเห็นผิด" เป็น มิจฉาทิฏฐิ
...ประกาศโปรดทราบ คิดอย่างนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ....
ญาณจึงสำคัญ
การฟังธรรมจึงจำเป็นต้องมาฟังก่อน
เพื่อให้ได้ญาณ รู้ว่าทำอะไรไปเพื่ออะไร จึงจะรู้ว่าแค่ไหนพอ
พอไม่ได้ฟัง
ปฏิบัติก็จะเอานู่นเอานี่ไปเรื่อย
ของเกินทั้งนั้น
พระพุทธเจ้าท่านสอนพอใช้
แค่ไหนเรียกว่ามีสมาธิ และมีสมาธิแค่ไหนพอ
มีสมาธิ หมายถึง มีอารมณ์หลักอยู่อันนึง
เช่นสนใจในเสียงฟังธรรม
จะมีเสียงก๊อกแก๊กบ้างก็ไม่ได้ใส่ใจ
เอกัคคตาไม่ได้หมายถึง นิ่ง ค้าง เติ่ง
เข้าใจว่าได้สมาธิต้องเป็นอย่างนั้น
อันที่จริงแค่อารมณ์ปรากฏขึ้นก็เรียกว่า "มีสมาธิ" แล้ว "มีสติ" แล้ว
ไม่ใช่ว่ามีสติจะต้องมีต่อเนื่องให้ได้ทุกก้าว ไม่หลุดเลย ไม่พลาดเลย
ไม่งั้นถือว่าไม่มี ... (อันนี้โง่แล้ว)
คืออันนี้ไม่ใช่ไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ แต่ไม่มีญาณ (แปลว่าทำไปโดยไม่รู้)
ญาณจึงสำคัญ จะทำอะไรต้องทำด้วยความรู้
เอกัคคตาแห่งจิต นี่ทำให้รูปนามปรากฏขึ้นมา
ความคิดเป็นความคิดปรากฏขึ้นมา
ลมหายใจเป็นลมหายใจปรากฏขึ้นมา
ความง่วงเป็นความง่วงปรากฏขึ้นมา
ถ้ามีญาณก็ง่าย คือไม่ต้องถึงกับลึก ไม่ต้องถึงกับนิ่ง
อารมณ์ก็ปรากฏได้แล้ว
การปรากฏของอารมณ์ก็เป็นสิ่งบ่งบอกถึงว่า จิตมันเป็นสมาธิ "พอใช้" แล้ว
ท่านนิยมสอนให้ทำสมาธิ "พอใช้"
คือสมาธินี่เป็นไปเพื่อยถาภูตญาณทัสสนะเท่านั้น
ความคือ ถ้าเกินนี้ คือ "เหลือใช้"
ผู้ปฏิบัตินี่ ถ้ามัน "พอใช้" พอดีรู้สึกน้อยๆ ชอบกล
ถ้า "เหลือใช้" นี่ก็เอามา "คุย" มันดี มันนิ่ง สงบ อย่างนู้นอย่างนี้
แต่ของพระพุทธเจ้าท่านสอนแค่ "พอใช้"
พอใช้ คือแค่เห็นรูปนามตามความเป็นจริงก็ใช้ได้แล้ว
เห็นความคิดเป็นความคิด
เห็นความฟุ้งเป็นความฟุ้ง
ที่มาแล้วก็ไป ... เท่านี้ ใช้ได้แล้ว
เหมือนมีเงิน ประโยชน์ของเงินคือมาซื้อข้าวกิน
ทำงานกินเงินเดือนทุกวันนี่เรียกมีหรือไม่มีเงิน?
ไม่ใช่ว่า "มีเงิน" ต้องมีระดับบิลเกตส์ อันนี้เรียก "เหลือใช้"
พวกเราติดนิสัย ต้องมีนั่นนี่แบบเหลือใช้
พอไม่มีญาณ (ไม่รู้ว่าเท่านี้ก็พอแล้ว) ก็เลยนึกว่าไม่มี
ว่าเอาเองว่าไม่มีสมาธิ มั่วไปนู่น
ต้องนิ่งเป็นวันๆ ต้องใจไม่กระเพื่อม ต้องไม่รับรู้...อันนี้....แล้ว !!
แต่ถ้าของพระสมาธิแค่ไหนพอ?
พระนี่ไม่มีเครื่องบันเทิงใจอะไรเลย ถ้าไม่มีสมาธิเยอะหน่อย
เดี๋ยวไปเห็นโยมมีนั่นมีนี่ ถ้าเริ่มไม่มีความสุขนี่ แปลว่าสมาธิไม่พอ
พอใช้แต่ละคนไม่เหมือนกันนะ
เบื้องต้นเท่านี้พอ
ถ้าระดับสูงขึ้นไปสมาธิก็ต้องมากขึ้น
ถ้าปัญญาสูงสุด สมาธิก็ต้องสูงสุด ประมาณนั้น
ท่านสอนแบบพอใช้
ให้มีความรู้นำหน้า
เช่นสนใจในเสียงฟังธรรม
จะมีเสียงก๊อกแก๊กบ้างก็ไม่ได้ใส่ใจ
เอกัคคตาไม่ได้หมายถึง นิ่ง ค้าง เติ่ง
เข้าใจว่าได้สมาธิต้องเป็นอย่างนั้น
อันที่จริงแค่อารมณ์ปรากฏขึ้นก็เรียกว่า "มีสมาธิ" แล้ว "มีสติ" แล้ว
ไม่ใช่ว่ามีสติจะต้องมีต่อเนื่องให้ได้ทุกก้าว ไม่หลุดเลย ไม่พลาดเลย
ไม่งั้นถือว่าไม่มี ... (อันนี้โง่แล้ว)
คืออันนี้ไม่ใช่ไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ แต่ไม่มีญาณ (แปลว่าทำไปโดยไม่รู้)
ญาณจึงสำคัญ จะทำอะไรต้องทำด้วยความรู้
เอกัคคตาแห่งจิต นี่ทำให้รูปนามปรากฏขึ้นมา
ความคิดเป็นความคิดปรากฏขึ้นมา
ลมหายใจเป็นลมหายใจปรากฏขึ้นมา
ความง่วงเป็นความง่วงปรากฏขึ้นมา
ถ้ามีญาณก็ง่าย คือไม่ต้องถึงกับลึก ไม่ต้องถึงกับนิ่ง
อารมณ์ก็ปรากฏได้แล้ว
การปรากฏของอารมณ์ก็เป็นสิ่งบ่งบอกถึงว่า จิตมันเป็นสมาธิ "พอใช้" แล้ว
ท่านนิยมสอนให้ทำสมาธิ "พอใช้"
คือสมาธินี่เป็นไปเพื่อยถาภูตญาณทัสสนะเท่านั้น
ความคือ ถ้าเกินนี้ คือ "เหลือใช้"
ผู้ปฏิบัตินี่ ถ้ามัน "พอใช้" พอดีรู้สึกน้อยๆ ชอบกล
ถ้า "เหลือใช้" นี่ก็เอามา "คุย" มันดี มันนิ่ง สงบ อย่างนู้นอย่างนี้
แต่ของพระพุทธเจ้าท่านสอนแค่ "พอใช้"
พอใช้ คือแค่เห็นรูปนามตามความเป็นจริงก็ใช้ได้แล้ว
เห็นความคิดเป็นความคิด
เห็นความฟุ้งเป็นความฟุ้ง
ที่มาแล้วก็ไป ... เท่านี้ ใช้ได้แล้ว
เหมือนมีเงิน ประโยชน์ของเงินคือมาซื้อข้าวกิน
ทำงานกินเงินเดือนทุกวันนี่เรียกมีหรือไม่มีเงิน?
ไม่ใช่ว่า "มีเงิน" ต้องมีระดับบิลเกตส์ อันนี้เรียก "เหลือใช้"
พวกเราติดนิสัย ต้องมีนั่นนี่แบบเหลือใช้
พอไม่มีญาณ (ไม่รู้ว่าเท่านี้ก็พอแล้ว) ก็เลยนึกว่าไม่มี
ว่าเอาเองว่าไม่มีสมาธิ มั่วไปนู่น
ต้องนิ่งเป็นวันๆ ต้องใจไม่กระเพื่อม ต้องไม่รับรู้...อันนี้....แล้ว !!
แต่ถ้าของพระสมาธิแค่ไหนพอ?
พระนี่ไม่มีเครื่องบันเทิงใจอะไรเลย ถ้าไม่มีสมาธิเยอะหน่อย
เดี๋ยวไปเห็นโยมมีนั่นมีนี่ ถ้าเริ่มไม่มีความสุขนี่ แปลว่าสมาธิไม่พอ
พอใช้แต่ละคนไม่เหมือนกันนะ
เบื้องต้นเท่านี้พอ
ถ้าระดับสูงขึ้นไปสมาธิก็ต้องมากขึ้น
ถ้าปัญญาสูงสุด สมาธิก็ต้องสูงสุด ประมาณนั้น
ท่านสอนแบบพอใช้
ให้มีความรู้นำหน้า
วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2561
พญามารนี่หวังดีนะ 5555
กลัวพระพุทธเจ้าลำบาก
แก่แล้วสอนมาก ทำงานมาก ปรินิพพานไปสบายกว่า
หวังดีตัลหลอด~~~
หวังดีตั้งแต่ออกบวชแล้ว
จะบวชไปทำม้าายยย อีก 7 วันก็ได้เป็นจักรพรรดิ์แล้ว
ใช้สมบัติไปทำบุญเอาก็ได้
อยากได้เมืองไหนก็ส่งจักรแก้วไปใครก็ยอมหมดแหละ
พอตรัสรู้แล้ว
ท่านไม่ต้องสอนหรอก
ขวนขวายน้อยนี่แหละดีแล้ว
ไม่ก็ปรินิพพานไปก็ได้
หวังดีเรื่อย 5555
แก่แล้วสอนมาก ทำงานมาก ปรินิพพานไปสบายกว่า
หวังดีตัลหลอด~~~
หวังดีตั้งแต่ออกบวชแล้ว
จะบวชไปทำม้าายยย อีก 7 วันก็ได้เป็นจักรพรรดิ์แล้ว
ใช้สมบัติไปทำบุญเอาก็ได้
อยากได้เมืองไหนก็ส่งจักรแก้วไปใครก็ยอมหมดแหละ
พอตรัสรู้แล้ว
ท่านไม่ต้องสอนหรอก
ขวนขวายน้อยนี่แหละดีแล้ว
ไม่ก็ปรินิพพานไปก็ได้
หวังดีเรื่อย 5555
ฉันทะ/วิริยะ/จิตตะ/วิมังสาสมาธิ
ฉันทะ/วิริยะ/จิตตะ/วิมังสาสมาธิ
ตัวความเป็นหนึ่งนี่ไม่ต่างกัน
ต่างที่ที่มา
ฉันทะนี่อารมณ์ออกแนวศรัทธา
ได้โอกาสมาแล้วก็ทำด้วยความชอบใจ พอใจในข้อปฏิบัติอันดี
ไม่รู้สึกถูกบังคับ (บางคนทำเพราะกลัวไม่ได้บุญ อันนี้ถูกบังคับ)
4 ทางนี้มีอุปมาเหมือนว่า
ลูกน้องจะได้ตำแหน่งการงานที่ก้าวหน้า
A ก็คิดว่า เราก็ตั้งใจทำหน้าที่ของเราให้ดี
ขยันอดทน ตั้งใจทำไปเรื่อย ด้วยความพอใจ
นายก็เลื่อนขั้นให้....ฉันทสมาธิ
B นี่คิดว่า เอ..นอกจากทำดีแล้ว ตั้้งใจแล้ว
บางทีมีงานอะไรนอกเหนือ เราก็อาสาไปจัดการ
คือทำนอกเหนือปกติ ต้องเต็มที่ มีลูกฮึด
นายก็เลื่อนขั้นให้....วิริยสมาธิ
C นี่คิดแบบลักษณะชำระตนเอง
คอยดูตนเองว่าเหมาะกับการได้รับตำแหน่งรึยัง
เรื่องไหนยังไม่เข้าแก๊บก็คอยชำระสะสางตนเอง
เรียกว่าชำระชาติ ให้เป็นผู้เหมาะต่อตำแหน่งนั้น
อะไรเหมาะใส่เข้ามา อะไรไม่เหมาะเอาออกไป
คือนอกจากทำหน้าที่แล้ว ยังใส่ใจเรื่องนี้ด้วย....จิตตสมาธิ
D นอกจากทำงานไปตามปกติแล้ว
ยังใส่ใจด้วยว่า เอ...นายนี่ชอบคนมีศิลปะนะ รู้นั่นรู้นี่
ถามอะไรตอบได้ รู้จักพิจารณาลึกซึ้ง
คือพวกพิจารณานี่ แม้ยังไม่ใช่วิปัสสนาปัญญาอะไร
แต่มันก็ช่วยให้ปล่อยวางเรื่องอะไรๆ ได้เร็ว
พอปล่อยวาง จิตมันก็เป็นสมาธิได้ไว
นี่พวก....วิมังสาสมาธิ
ตัวความเป็นหนึ่งนี่ไม่ต่างกัน
ต่างที่ที่มา
ฉันทะนี่อารมณ์ออกแนวศรัทธา
ได้โอกาสมาแล้วก็ทำด้วยความชอบใจ พอใจในข้อปฏิบัติอันดี
ไม่รู้สึกถูกบังคับ (บางคนทำเพราะกลัวไม่ได้บุญ อันนี้ถูกบังคับ)
4 ทางนี้มีอุปมาเหมือนว่า
ลูกน้องจะได้ตำแหน่งการงานที่ก้าวหน้า
A ก็คิดว่า เราก็ตั้งใจทำหน้าที่ของเราให้ดี
ขยันอดทน ตั้งใจทำไปเรื่อย ด้วยความพอใจ
นายก็เลื่อนขั้นให้....ฉันทสมาธิ
B นี่คิดว่า เอ..นอกจากทำดีแล้ว ตั้้งใจแล้ว
บางทีมีงานอะไรนอกเหนือ เราก็อาสาไปจัดการ
คือทำนอกเหนือปกติ ต้องเต็มที่ มีลูกฮึด
นายก็เลื่อนขั้นให้....วิริยสมาธิ
C นี่คิดแบบลักษณะชำระตนเอง
คอยดูตนเองว่าเหมาะกับการได้รับตำแหน่งรึยัง
เรื่องไหนยังไม่เข้าแก๊บก็คอยชำระสะสางตนเอง
เรียกว่าชำระชาติ ให้เป็นผู้เหมาะต่อตำแหน่งนั้น
อะไรเหมาะใส่เข้ามา อะไรไม่เหมาะเอาออกไป
คือนอกจากทำหน้าที่แล้ว ยังใส่ใจเรื่องนี้ด้วย....จิตตสมาธิ
D นอกจากทำงานไปตามปกติแล้ว
ยังใส่ใจด้วยว่า เอ...นายนี่ชอบคนมีศิลปะนะ รู้นั่นรู้นี่
ถามอะไรตอบได้ รู้จักพิจารณาลึกซึ้ง
คือพวกพิจารณานี่ แม้ยังไม่ใช่วิปัสสนาปัญญาอะไร
แต่มันก็ช่วยให้ปล่อยวางเรื่องอะไรๆ ได้เร็ว
พอปล่อยวาง จิตมันก็เป็นสมาธิได้ไว
นี่พวก....วิมังสาสมาธิ
วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561
องค์ธรรมหลัก
สติปัฏฐาน
องค์ธรรมหลักประกอบด้วย
องค์ธรรมหลักประกอบด้วย
- อาตาปี
- สัมปชาโน
- สติมา
สติปัฏฐานไม่เน้นความเป็นหนึ่งของจิต
เน้นมีสติ
สัมมัปปธาน
องค์ธรรมหลักประกอบด้วย
- ความเพียร (เป็นปธานสังขาร)
สัมมัปปธานเป็นตัวคอยประคับประคองจิต
จิตนี่บังคับไม่ได้จึงต้องมีสิ่งคอยประคับประคอง
ไม่งั้นจะขี้เกียจเละเทะไป
อิทธิบาท
อิทธิบาทนี่เป็นสมาธิ
องค์ธรรมหลักประกอบด้วย
- ฉันทสมาธิ (ฉันทะเป็นปธานสังขาร)
พอใจในความดีงาม ชอบของดี นานๆ จะเจอของดีสักทีก็ชอบใจ
คล้ายศรัทธา แต่ยังไม่ใช่ ถ้าศรัทธาคือความผ่องใส พร้อมจะเชื่อมั่น
ศรัทธาคือความพร้อม (เหมือนตาพร้อมจะรับรูป)
จิตมีศรัทธาคือ พร้อมจะรับ ใส่มามันพร้อมจะรับเลยพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณไม่มีค้าน
ถ้าไม่พร้อมคือ ใส่มามันก็ตาใสอยู่นั่น ไม่พร้อมรับ ปสาท จึงเป็นความพร้อมจะรับ
ส่วนฉันทะ คือ ความพอใจในสิ่งดีงาม ใจมันชอบ
ทำได้ไม่ได้ไม่รู้ ใจมันชอบ พอใจในข้อปฏิบัติแบบนี้ นานน้าน จะได้เจออย่างนี้
ไม่ได้ทำจะได้อะไร แค่ชอบของดี ชอบจะทำ ของดีได้ทำมันรู้สึกดี แค่นี้แหละ
พอทำอย่างนี้ แล้วทำบ่อยๆ เนืองๆ จึงได้ความเป็นหนึ่งแห่งจิต จึงเป็นสมาธิ
พอใจด้วย ทำเจริญต่อเนื่องด้วย จึงเป็นสมาธิ
หลักจึงประกอบด้วย ฉันทะ (วิริยะ/จิตตะ/วิมังสา) + ความเพียร + สมาธิ
มีฉันทะเฉยๆ แต่ไม่ทำอะไรนี่ จิตก็ไม่เป็นหนึ่ง ไม่เป็นอิทธิบาท
อิทธิบาทนี่คือ มีสติ แล้วนำสติมาฝึกให้มีจิตมั่นคง เป็นอีกตอนนึง
มรรคเป็นเหตุให้ถึง (ไม่ใช่เหตุให้เกิด)
มรรคเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
สติ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเหตุให้ "ถึง" นิพพาน
ไม่ใช่เหตุให้เกิด
คือนิพพานมันมีอยู่แล้วไม่ได้ไปทำมันขึ้นมา
เหมือนถนน เป็นเหตุให้ถึงเมืองเชียงใหม่
คือถนนไม่ได้ทำให้เกิดเมืองเชียงใหม่ขึ้นมา
บางคนชอบถาม มีสติ ทำไมจิตไม่สงบ
ก็สติไม่ใช่เหตุให้ "เกิดความสงบ"
มันเป็นเหตุให้ถึง
ดังนั้น มันจะถึงก็เมื่อมันถึง
มันไม่ถึงก็เพราะมันยังไม่ถึง
ต้องเรียนให้แม่นๆ
ส่วนสังขารในปฏิจจฯ
เป็นเหตุให้ "เกิด" วิญญาณ
อันนั้น เป็นเหตุให้เกิด ต้องแยกกันให้ชัดๆ
สติ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเหตุให้ "ถึง" นิพพาน
ไม่ใช่เหตุให้เกิด
คือนิพพานมันมีอยู่แล้วไม่ได้ไปทำมันขึ้นมา
เหมือนถนน เป็นเหตุให้ถึงเมืองเชียงใหม่
คือถนนไม่ได้ทำให้เกิดเมืองเชียงใหม่ขึ้นมา
บางคนชอบถาม มีสติ ทำไมจิตไม่สงบ
ก็สติไม่ใช่เหตุให้ "เกิดความสงบ"
มันเป็นเหตุให้ถึง
ดังนั้น มันจะถึงก็เมื่อมันถึง
มันไม่ถึงก็เพราะมันยังไม่ถึง
ต้องเรียนให้แม่นๆ
ส่วนสังขารในปฏิจจฯ
เป็นเหตุให้ "เกิด" วิญญาณ
อันนั้น เป็นเหตุให้เกิด ต้องแยกกันให้ชัดๆ
เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ปัญญาเห็นอย่างไร
การเห็นขันธ์เกิดดับ
เช่น เห็นเวทนาเกิดดับนี่
ไม่ใช่ เห็นเกิดวูบวาบ ดับวูบวาบ
แล้วบอกปัญญาเยอะแล้ว ไม่ใช่ อันนั้นเป็นอาการอันนึงของจิตที่ไปรับรู้เท่านั้น
ไม่ใช่ว่าเกิด คือมัน วื้ดดดด ขึ้นมา
ตั้งอยู่ คือ มันค้างเติ่ง
ดับไป คือ หายไป
อันนี้ว่าไปเรื่อย~~~
คือมันก็เห็น แต่ไม่ได้เห็นตามท่านบอก
เห็นแล้วมันไม่เบื่อหน่าย คลายกำหนัด
บางคนไปเพียรจนเห็นอะไรเยอะไปหมด แต่ไม่ได้ผลที่พึงได้เลย
กิเลสยังเต็มที่ ไม่ได้ผลคือความเบื่อหน่ายเลย
ถ้าเป็นปัญญาอย่างแท้จริงมันเห็นชัด
อ่อ เวทนาสุขนี่มันเกิดขึ้นเพราะ...อ้อ อวิชชามันเกิด ตัณหามันเกิด กรรมมันเกิด
จึงได้อันนี้มา จึงได้มานั่งอยู่อย่างนี้
ทุกข์เกิดขึ้นก็รู้ว่า
อ้อ เพราะไม่รู้อริยสัจ เลยมีตัณหา ไปเอามา มันก็ทุกข์อย่างนี้
เพราะรักตัวเอง เลยได้ตัวเองมาอย่างนี้ มันเห็นชัด
ปัญญาจะเห็นอย่างนี้
วิจัยด้วยปัญญา
ทีนี้การวิจัยด้วยปัญญาต้องอาศัยฐานสมาธิ ไม่ใช่มานั่งนึกเอา
เวทนาก็ปรากฏขึ้นตั้งอยู่ดับไป
สัญญาก็ปรากฏขึ้นตั้งอยู่ดับไป
ที่ปรากฏขึ้นเพราะสติมันชัดขึ้น
พอชัดขึ้นมันก็จับได้
ทำตัวเหมือนตัวป้อนข้อมูลให้ปัญญา
สติจับทำให้อารมณ์ปรากฏ ทำให้รูปนามปรากฏ
ลักษณะของสติคือไม่ปล่อยอารมณ์เลื่อนลอยผ่านไป จับขึ้นมาไว้ได้
สติเป็นตัวทำให้รูปนามปรากฏขึ้น
ปัญญาเป็นตัวพิจารณาความจริงของรูปนามกายใจ
(เห็น) เกิดขึ้นอย่างไร?
(เห็น) ตั้งอยู่อย่างไร?
(เห็น) ดับไปอย่างไร?
(ยกตัวอย่างอารมณ์คือ เวทนา)
ความเกิดขึ้นของเวทนา
ความเกิดขึ้นของเวทนาย่อมปรากฏ
โดยลักษณะความเกิดแห่งปัจจัยคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
เพราะความเกิดของอวิชชา ความเกิดของเวทนาจึงมี
เห็นชัดว่าปัจจัยเกิด มันจึงเกิด เช่น
มันเห็นชัดว่าได้มานั่งสุขอยู่นี่ เพราะอวิชชานี่หนอ
ถ้าไม่ได้อวิชชาเกิด ก็ไม่ไ้ดรูปนามมา จะมาได้เวทนาอยู่อย่างนี้มั้ยหนอ
หรือเห็นชัดว่าเพราะตัณหาเกิดขึ้น จึงมาได้เวทนาอย่างนี้
หรือเห็นชัดว่าเพราะกรรมเกิด จึงได้เวทนาอย่างนี้
อวิชชา ตัณหา กรรม - นี่เหตุอดีต
มันรักมันพอใจ มันเพลิดเพลิน จึงไปทำกรรม แล้วก็มาได้เวทนาอย่างนี้
เช่น ไปรักเขา ไปดูแล ไปเอามา จึงต้องมาเหนื่อยอย่างนี้
อารมณ์สำนึกได้ในวิบากขันธ์
ที่ได้รับทุกอย่างมา เพราะอวิชชา ตัณหา กรรมนี่แหละ
ทำให้ได้วิบากขันธ์มา
เพราะความเกิดขึ้นของกรรม ความเกิดขึ้นของเวทนาจึงมรี
ไปมีความยึดถือ จึงอยากทำให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามใจเรา
แก้ให้เหมือนที่เราคิด (อันนี้เป็นภพ - กรรมภพ)
แต่ถ้าวิปัสสนา เราก็ทำไปตามเหตุปัจจัย ไม่ได้มีความคิดจะทำให้เหมือนที่เราคิด
มันก็ไม่เป็นกรรม
ตอนที่เป็นกรรม คือตอนทำให้เหมือนที่ใจเราคิด
ไปแก้ให้คนนู้นเป็นอย่างนู้นอย่างนี้
พูด ทำ คิดที่ยังมีความยึดมั่น มันจะเป็นกรรม
มีความต้องการจะเปลี่ยนแปลงเพื่อ "เรา"
อันนี้เรียกว่าเป็น กรรม
เมื่อมีความยึดอยู่ พวกสังขารอะไรเก่า
มันก็ทำงานได้ เรียกว่ามีเชื้อ มีเหตุ
จริงๆ กรรมเก่าๆ ก็ไม่ได้มีอะไร ไม่ได้มีตัวตน
มันก็ต้องอาศัยเชื้อ
เชืื้อก็คือ ความเห็นผิด และความยึดผิดนี่แหละ
ตัณหาอุปาทานใหม่นี่แหละ เป็นเชื้อให้มัน
ถ้าอวิชชาเก่ามันส่งผลมาแล้ว แต่ตัณหาอุปาทานใหม่หมดไป มันก็ทำอะไรไม่ได้นะ
เพราะทุกอย่างมันอิงอาศัยกันอยู่
ความปรากฏขึ้นของเวทนา ย่อมเกิดเพราะผัสสะเกิดขึ้น
อันนี้เป็นแบบเหตุปัจจุบัน
เพราะกระทบกับอันนี้ๆ เวทนาจึงเกิดขึ้น
ปัญญาจะมองทะลุ
ทะลุคือ เห็นในปัจจุบันด้วย เห็นในอดีตด้วย
บางทีสิ่งนี้เกิดกับเรา มันรู้สึกชัดเลยว่า อ่อ นี้ไง เคยทำอันนี้ๆ มา
อันนี้เป็นขั้น กัมมัสสกตาญาณ แต่มันยังนอกๆ อยู่
ไม่เห็นเป็นตัวสภาวะ เห็นเป็นเหตุการณ์
กัมมัสสกตาญาณก็ดี หรือปัญญาที่มาจากฐานสติก็ดี
มันไม่เห็นชัดถึงตัวสภาวะ
การจะเห็นตัวสภาวะ ต้องใช้ฐานสมาธิ
คือตอนที่เป็นกัมมัสสกตาฯ มันจะคิดอีกแบบ "เพราะเราทำ..."
ในความเห็นมันจะมี "เรา" โผล่เข้ามา
แต่ตอนเป็นปัญญา มันจะไม่มีเราโผล่เข้ามา จะเป็นสภาวะเลย
ที่เราฟังธรรม พิจารณาทำบ้าง มันก็เห็นเหมือนกัน
แต่มันไม่เห็นถึงตัวสภาวะ
เพราะฐานมันไม่ถึง มันเห็นได้แค่ว่า "นี่เพราะเราทำอันนี้ๆ ไว้ อีกสักหน่อยจะได้รับผลอันนี้ๆ นะ"
มันรู้เหมือนกัน แต่รู้แบบมี "เรา" โผล่
แต่เมื่อจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น "เรา" จะหายไป
จะเห็นว่า อ่อ "รูปมันเป็นอย่างนี้ เพราะมีการกระทำเช่นนี้ๆ"
จะไม่ได้รู้สึกว่า "เพราะเราทำอย่างนี้ๆ จึงได้รูปอย่างนี้ๆ"
เพราะกรรมมันเป็นเช่นนี้ เวทนามันจึงเป็นเช่นนี้
สรุปว่า
การเห็นเวทนาเกิดขึ้น เห็น 5 ลักษณะด้วยกัน
4 อันแรก คือ เห็นเหตุมันเกิด ตัวมันจึงเกิด
จากไม่มีก็มามี และไม่ได้มีมาลอยๆ เพราะอันอื่นเกิดมันจึงเกิด
เช่น เห็นเวทนาเกิดดับนี่
ไม่ใช่ เห็นเกิดวูบวาบ ดับวูบวาบ
แล้วบอกปัญญาเยอะแล้ว ไม่ใช่ อันนั้นเป็นอาการอันนึงของจิตที่ไปรับรู้เท่านั้น
ไม่ใช่ว่าเกิด คือมัน วื้ดดดด ขึ้นมา
ตั้งอยู่ คือ มันค้างเติ่ง
ดับไป คือ หายไป
อันนี้ว่าไปเรื่อย~~~
คือมันก็เห็น แต่ไม่ได้เห็นตามท่านบอก
เห็นแล้วมันไม่เบื่อหน่าย คลายกำหนัด
บางคนไปเพียรจนเห็นอะไรเยอะไปหมด แต่ไม่ได้ผลที่พึงได้เลย
กิเลสยังเต็มที่ ไม่ได้ผลคือความเบื่อหน่ายเลย
ถ้าเป็นปัญญาอย่างแท้จริงมันเห็นชัด
อ่อ เวทนาสุขนี่มันเกิดขึ้นเพราะ...อ้อ อวิชชามันเกิด ตัณหามันเกิด กรรมมันเกิด
จึงได้อันนี้มา จึงได้มานั่งอยู่อย่างนี้
ทุกข์เกิดขึ้นก็รู้ว่า
อ้อ เพราะไม่รู้อริยสัจ เลยมีตัณหา ไปเอามา มันก็ทุกข์อย่างนี้
เพราะรักตัวเอง เลยได้ตัวเองมาอย่างนี้ มันเห็นชัด
ปัญญาจะเห็นอย่างนี้
วิจัยด้วยปัญญา
ทีนี้การวิจัยด้วยปัญญาต้องอาศัยฐานสมาธิ ไม่ใช่มานั่งนึกเอา
เวทนาก็ปรากฏขึ้นตั้งอยู่ดับไป
สัญญาก็ปรากฏขึ้นตั้งอยู่ดับไป
ที่ปรากฏขึ้นเพราะสติมันชัดขึ้น
พอชัดขึ้นมันก็จับได้
ทำตัวเหมือนตัวป้อนข้อมูลให้ปัญญา
สติจับทำให้อารมณ์ปรากฏ ทำให้รูปนามปรากฏ
ลักษณะของสติคือไม่ปล่อยอารมณ์เลื่อนลอยผ่านไป จับขึ้นมาไว้ได้
สติเป็นตัวทำให้รูปนามปรากฏขึ้น
ปัญญาเป็นตัวพิจารณาความจริงของรูปนามกายใจ
(เห็น) เกิดขึ้นอย่างไร?
(เห็น) ตั้งอยู่อย่างไร?
(เห็น) ดับไปอย่างไร?
(ยกตัวอย่างอารมณ์คือ เวทนา)
ความเกิดขึ้นของเวทนา
ความเกิดขึ้นของเวทนาย่อมปรากฏ
โดยลักษณะความเกิดแห่งปัจจัยคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
เพราะความเกิดของอวิชชา ความเกิดของเวทนาจึงมี
เห็นชัดว่าปัจจัยเกิด มันจึงเกิด เช่น
มันเห็นชัดว่าได้มานั่งสุขอยู่นี่ เพราะอวิชชานี่หนอ
ถ้าไม่ได้อวิชชาเกิด ก็ไม่ไ้ดรูปนามมา จะมาได้เวทนาอยู่อย่างนี้มั้ยหนอ
หรือเห็นชัดว่าเพราะตัณหาเกิดขึ้น จึงมาได้เวทนาอย่างนี้
หรือเห็นชัดว่าเพราะกรรมเกิด จึงได้เวทนาอย่างนี้
อวิชชา ตัณหา กรรม - นี่เหตุอดีต
มันรักมันพอใจ มันเพลิดเพลิน จึงไปทำกรรม แล้วก็มาได้เวทนาอย่างนี้
เช่น ไปรักเขา ไปดูแล ไปเอามา จึงต้องมาเหนื่อยอย่างนี้
อารมณ์สำนึกได้ในวิบากขันธ์
ที่ได้รับทุกอย่างมา เพราะอวิชชา ตัณหา กรรมนี่แหละ
ทำให้ได้วิบากขันธ์มา
เพราะความเกิดขึ้นของกรรม ความเกิดขึ้นของเวทนาจึงมรี
ไปมีความยึดถือ จึงอยากทำให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามใจเรา
แก้ให้เหมือนที่เราคิด (อันนี้เป็นภพ - กรรมภพ)
แต่ถ้าวิปัสสนา เราก็ทำไปตามเหตุปัจจัย ไม่ได้มีความคิดจะทำให้เหมือนที่เราคิด
มันก็ไม่เป็นกรรม
ตอนที่เป็นกรรม คือตอนทำให้เหมือนที่ใจเราคิด
ไปแก้ให้คนนู้นเป็นอย่างนู้นอย่างนี้
พูด ทำ คิดที่ยังมีความยึดมั่น มันจะเป็นกรรม
มีความต้องการจะเปลี่ยนแปลงเพื่อ "เรา"
อันนี้เรียกว่าเป็น กรรม
เมื่อมีความยึดอยู่ พวกสังขารอะไรเก่า
มันก็ทำงานได้ เรียกว่ามีเชื้อ มีเหตุ
จริงๆ กรรมเก่าๆ ก็ไม่ได้มีอะไร ไม่ได้มีตัวตน
มันก็ต้องอาศัยเชื้อ
เชืื้อก็คือ ความเห็นผิด และความยึดผิดนี่แหละ
ตัณหาอุปาทานใหม่นี่แหละ เป็นเชื้อให้มัน
ถ้าอวิชชาเก่ามันส่งผลมาแล้ว แต่ตัณหาอุปาทานใหม่หมดไป มันก็ทำอะไรไม่ได้นะ
เพราะทุกอย่างมันอิงอาศัยกันอยู่
ความปรากฏขึ้นของเวทนา ย่อมเกิดเพราะผัสสะเกิดขึ้น
อันนี้เป็นแบบเหตุปัจจุบัน
เพราะกระทบกับอันนี้ๆ เวทนาจึงเกิดขึ้น
ปัญญาจะมองทะลุ
ทะลุคือ เห็นในปัจจุบันด้วย เห็นในอดีตด้วย
บางทีสิ่งนี้เกิดกับเรา มันรู้สึกชัดเลยว่า อ่อ นี้ไง เคยทำอันนี้ๆ มา
อันนี้เป็นขั้น กัมมัสสกตาญาณ แต่มันยังนอกๆ อยู่
ไม่เห็นเป็นตัวสภาวะ เห็นเป็นเหตุการณ์
กัมมัสสกตาญาณก็ดี หรือปัญญาที่มาจากฐานสติก็ดี
มันไม่เห็นชัดถึงตัวสภาวะ
การจะเห็นตัวสภาวะ ต้องใช้ฐานสมาธิ
คือตอนที่เป็นกัมมัสสกตาฯ มันจะคิดอีกแบบ "เพราะเราทำ..."
ในความเห็นมันจะมี "เรา" โผล่เข้ามา
แต่ตอนเป็นปัญญา มันจะไม่มีเราโผล่เข้ามา จะเป็นสภาวะเลย
ที่เราฟังธรรม พิจารณาทำบ้าง มันก็เห็นเหมือนกัน
แต่มันไม่เห็นถึงตัวสภาวะ
เพราะฐานมันไม่ถึง มันเห็นได้แค่ว่า "นี่เพราะเราทำอันนี้ๆ ไว้ อีกสักหน่อยจะได้รับผลอันนี้ๆ นะ"
มันรู้เหมือนกัน แต่รู้แบบมี "เรา" โผล่
แต่เมื่อจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น "เรา" จะหายไป
จะเห็นว่า อ่อ "รูปมันเป็นอย่างนี้ เพราะมีการกระทำเช่นนี้ๆ"
จะไม่ได้รู้สึกว่า "เพราะเราทำอย่างนี้ๆ จึงได้รูปอย่างนี้ๆ"
เพราะกรรมมันเป็นเช่นนี้ เวทนามันจึงเป็นเช่นนี้
สรุปว่า
การเห็นเวทนาเกิดขึ้น เห็น 5 ลักษณะด้วยกัน
4 อันแรก คือ เห็นเหตุมันเกิด ตัวมันจึงเกิด
จากไม่มีก็มามี และไม่ได้มีมาลอยๆ เพราะอันอื่นเกิดมันจึงเกิด
- อวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด (เหตุอดีต เกิดผลปัจจุบัน)
- ตัณหาเกิด เวทนาจึงเกิด (เหตุอดีต)
- กรรมเกิด เวทนาจึงเกิด (เหตุอดีต)
- ผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด (เหตุปัจจุบัน เกิดผลปัจจุบัน)
- เห็นมันเกิด แต่เดิมไม่มี แล้วมามีขึ้น
เช่น ความสวยเกิด เพราะความเกิดของสิ่งไม่สวย
อิงอาศัยกันเกิด
ความตั้งอยู่ของเวทนา
เห็นอย่างไร
เมื่อผู้เจริญสติอยู่
เวทนาที่ตั้งอยู่ย่อมปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมปรากฏโดยความเป็นของสิ้นไป
มองดูเวทนา
ยังไม่ต้องเห็นมันดับอะไร
เป็นความรู้สึกขึ้นมาว่า ไอ้เนี่ย ที่กำลังมีอยู่เนี่ย มันไม่เที่ยง
หรือถ้าไม่เห็น ก็ให้มนสิการใส่ใจลงไปอย่างนี้ ว่า "ไอ้สิ่งที่กำลังเป็นอยู่เนี่ย มันไม่เที่ยง"
เวทนามันก็จะปรากฏโดยความเป็นของสิ้นไป/เสื่อมไป
ทั้งๆ ที่มันยังไม่เสื่อม เราก็เห็นแล้ว
ความรู้สึกมันจะปรากฏแก่ใจ
เหมือนว่า เรามองเห็นคนคนหนึ่ง มีชีวิตอยู่
ก็มีความรู้ว่า คนนี้ก็จะต้องตายเป็นธรรมดา
ความตายของเขาปรากฏแก่ใจเราว่า "ไอ้หมอนี่ต้องตายเป็นธรรมดา"
คือไอ้หมอนี่ก็ยังอยู่ แต่ความเสื่อมของหมอนี่ก็ปรากฏ
เหมือนของใหม่ ทั้งๆ ที่ของใหม่
แต่่เราเห็นว่ามันจะต้องเก่าเป็นธรรมดา
นี่คือ ความเป็นของเก่ามันปรากฏ ทั้งๆ ที่ตัวของตอนนี้มันยังใหม่อยู่
สิ่งต่างๆ ตั้งอยู่โดยความไม่เที่ยง
ทั้งๆ ที่ดูเหมือนว่ายังเที่ยงอยู่
ปัญญาเท่านั้นจะมองทะลุแบบนี้
ขันธ์ตั้งอยู่โดยความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา
การพิจารณาเช่นนี้ จึงเรียกว่า พิจารณาความตั้งอยู่ของเวทนา
เมื่อมองดูโดยความเป็นทุกข์
ความตั้งอยู่โดยความเป็นภัยก็จะปรากฏ
ความน่ากลัว น่าสะดุ้ง ก็ปรากฏแก่ใจ
มองตอนเป็นทุกข์ จึงน่ากลัว
ตอนนี้มันให้ความสุขเราได้
ก็มองเห็น เออ เดี๋ยวสักหน่อยมันก็จะเป็นภาระ
มันหนัก มันเหนื่อย มันน่ากลัว
ถ้าไม่มองเลย มันจะไม่กลัวเลย
ไม่มองก็ไม่ปรากฏ
การมนสิการถึงความเป็นทุกข์ ความน่ากลัว ความเป็นภัยก็จะปรากฏ
หรือเมื่อมนสิการโดยความไม่มีตัวตน
โดยความเป็นของว่าง มาจากความว่าง แล้วก็ไปสู่ความว่าง
สุขเกิดที่ใคร มันก็ไม่ใช่ใครสุข
เกิดที่เราก็เป็นสุข เกิดที่เขาก็เป็นสุข เกิดที่ไหนก็เป็นสุข
ทุกข์เกิดขึ้น
เกิดที่เราก็เป็นแค่ความทุกข์ ไม่ได้เป็นเราทุกข์ ใครทุกข์
เกิดในอดีตก็เป็นทุกข์เกิด อนาคตก็เป็นทุกข์เกิด ไม่ได้มีเราของเรา ใคร/ของใคร
ปัญญาก็เห็นชัดอย่างนี้ มองเห็นเป็นของกลาง
เงินก็เป็นเงิน
ไปอยู่กับคนอื่นก็ไม่ได้เป็นของคนอื่น
เป็นว่าง เป็นของสาธารณะ
มันก็จะเห็นชัดอย่างนี้
อาหาร ตับไตไส้พุง ก็เป็นของสาธารณะแก่หนอนพยาธิทั้งหลาย
เรากินนั่นนี่เข้าไป พวกในร่างกายเราก็กิน
เป็นของสาธารณะทั่วไป ทุกอย่าง
ทำไมเขาได้มา เพราะมีเหตุมีปัจจัยจึงได้
ทำไมเราไม่ได้ เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยจึงไม่ได้
ตั้งอยู่โดยความ
- สิ้นไป
- เสื่อมไป
- สูญไป
- ว่างจากตัวตน
เวลาฝึกกรรมฐาน ไม่ใช่เจริญกรรมฐาน
แต่เพื่อฝึกสติ ฝึกสมาธิ ฝึกปัญญา
ไม่ใช่มัวห่วงท่าสวย
ความดับของเวทนา
ปรากฏอย่างไร
ปรากฏโดยความดับไปของปัจจัย
เพราะอวิชชาดับไป เวทนาจึงดับไป
ความดับไปของเวทนาย่อมปรากฏ เพราะความดับไปของตัณหา
เพราะความดับไปของกรรม
เลิกอยากแก้นั่นแก้นี่
แต่แก้ไปตามเหตุตามปัจจัย แต่ไม่ใช่ทำตามใจอยาก
ถ้าดับอวิชชาได้ในปัจจุบัน เวทนาในอนาคตก็ไม่มี
ตัณหามันดับไป เลิกรัก เวทนาในอนาคตก็ไม่มี
ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏ เพราะความดับแห่งผัสสะ
ไม่มีผัสสะชนิดนี้ เวทนาชนิดนี้ก็ไม่มี
ความดับไปของเวทนาย่อมปรากฏ แก่ผู้เห็นความเสื่อมไป
3อันแรก ดับเหตุปัจจุบัน ผลอนาคตก็ไม่มี
เห็นความดับ
- เพราะความดับของอวิชชา ความดับของเวทนาจึงมี
- เพราะความดับของตัณหา ความดับของเวทนาจึงมี
- เพราะความดับของกรรม ความดับของเวทนาจึงมี
- เพราะความดับของผัสสะ ความดับของเวทนาจึงมี
- การเห็นลักษณะคือความแปรปรวนไป
อตฺถงฺคโม = ความดับ คือ เกิดแล้วมันดับ
นิโรโธ = ความดับ ดับสนิท หมายถึง มันไม่เกิดเลยไม่ต้องดับ ดับแบบไม่เกิดขึ้น จึงดับสนิท
ดับสนิท คือ ไม่มีไฟ
เย็นสนิท คือ ไม่มีร้อน
ทั้งหมดนี้อธิบายลักษณะของปัญญาว่า "เห็นอย่างไร"
ไม่ได้อธิบายลักษณะของ "เวทนา"
ถ้าลักษณะของเวทนานี่มันก็เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป
เหมือนจิตนั่นแหละ
แต่ที่ขยายความอยู่นี้คือลักษณะของปัญญา
ว่าปัญญาเมื่อมันเห็นความเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของเวทนา คือ เห็นอย่างนี้
วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561
เข้าถึงความว่าง?
สติจับอารมณ์มาให้ปัญญาพิจารณา
ว่ามันว่างจากเที่ยง
ว่างจากสุข
ว่างจากตัวตน
ไม่ใช่จับว่าง
อารมณ์ที่ให้สติจับได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
มาให้ปัญญาพิจารณาดู
ส่วน "ว่าง" นั้นเป็นลักษณะของสภาวะอีกต่อนึง
ไม่ใช่เอาสติไปจับว่าง
สติจับอารมณ์มา
ปัญญาพิจารณามองเห็นว่าอันนี้มันว่าง
ว่ามันว่างจากเที่ยง
ว่างจากสุข
ว่างจากตัวตน
ไม่ใช่จับว่าง
อารมณ์ที่ให้สติจับได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
มาให้ปัญญาพิจารณาดู
ส่วน "ว่าง" นั้นเป็นลักษณะของสภาวะอีกต่อนึง
ไม่ใช่เอาสติไปจับว่าง
สติจับอารมณ์มา
ปัญญาพิจารณามองเห็นว่าอันนี้มันว่าง
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561
ภาวนาถึงขั้นไหนแล้ว?
ผู้ปฏิบัติชอบตอบแบบแข่งสมาธิกัน
ตัวตัดสินจริงๆ มันวัดกันที่สติ ที่ปัญญา
ไม่ได้วัดที่สมาธิ
สมาธิเป็นทางผ่านเฉยๆ
แน่นอนว่าปัญญาต้องอาศัยสมาธิ
แต่มันอาศัยขณิกสมาธิก็ได้ อุปจาระสมาธิก็ได้
คือจะเอาระดับไหนก็ใช้ได้ทั้งนั้น
แต่เวลาเรามาคุยกัน
ชอบเอาอารมณ์ละเอียดมาอวดกัน
บ้าไปโน่น
ถ้าจะแข่งมากน้อยมาดูสติ กับปัญญา
ถ้าสติเกิดบ่อย มันก็จับอารมณ์ได้บ่อย
อารมณ์จะหยาบ / จะละเอียดก็ไม่เกี่ยว
ถ้าปัญญาเกิดบ่อย เห็นแล้ววิจัยได้มั้ยว่าไม่เที่ยง
จะเห็นอารมณ์หยาบก็ได้ ละเอียดก็ได้
ความหยาบ/ละเอียดไม่ได้เกี่ยวกับความก้าวหน้าการปฏิบัติภาพรวมเลย
จับอารมณ์ละเอียดแต่ไม่เห็นไตรลักษณ์
ก็เสียของ
ไม่เกิดผลอะไรในการละกิเลสเลย
จิตฟุ้งซ่านรู้มั้ย
จิตสงบรู้มั้ย
นี่คือถามมีสติ/ไม่มีสติ
ฟุ้งซ่านรู้มั้ยว่าไม่มีตัวตนบังคับไม่ได้
สงบรู้มั้ยว่าไม่มีตัวตนบังคับไม่ได้
นี่คือถามว่ามีปัญญา/ไม่มีปัญญา
ตัวตัดสินจริงๆ มันวัดกันที่สติ ที่ปัญญา
ไม่ได้วัดที่สมาธิ
สมาธิเป็นทางผ่านเฉยๆ
แน่นอนว่าปัญญาต้องอาศัยสมาธิ
แต่มันอาศัยขณิกสมาธิก็ได้ อุปจาระสมาธิก็ได้
คือจะเอาระดับไหนก็ใช้ได้ทั้งนั้น
แต่เวลาเรามาคุยกัน
ชอบเอาอารมณ์ละเอียดมาอวดกัน
บ้าไปโน่น
ถ้าจะแข่งมากน้อยมาดูสติ กับปัญญา
ถ้าสติเกิดบ่อย มันก็จับอารมณ์ได้บ่อย
อารมณ์จะหยาบ / จะละเอียดก็ไม่เกี่ยว
ถ้าปัญญาเกิดบ่อย เห็นแล้ววิจัยได้มั้ยว่าไม่เที่ยง
จะเห็นอารมณ์หยาบก็ได้ ละเอียดก็ได้
ความหยาบ/ละเอียดไม่ได้เกี่ยวกับความก้าวหน้าการปฏิบัติภาพรวมเลย
จับอารมณ์ละเอียดแต่ไม่เห็นไตรลักษณ์
ก็เสียของ
ไม่เกิดผลอะไรในการละกิเลสเลย
จิตฟุ้งซ่านรู้มั้ย
จิตสงบรู้มั้ย
นี่คือถามมีสติ/ไม่มีสติ
ฟุ้งซ่านรู้มั้ยว่าไม่มีตัวตนบังคับไม่ได้
สงบรู้มั้ยว่าไม่มีตัวตนบังคับไม่ได้
นี่คือถามว่ามีปัญญา/ไม่มีปัญญา
ไม่ใช่ทำแต่ปัญญา
เวลาท่านให้ดูขันธ์
ไม่ได้ให้ดูว่ามันหยาบ-ละเอียดอะไร
รู้มันขึ้นมา ก็มีสติขึ้นมาครั้งนึง
ไม่เกี่ยวกับหยาบละเอียดอะไร
เห็นว่ามันไม่เที่ยง
ก็เกิดปัญญาขึ้นมาครั้งนึง
ไม่เกี่ยวกับหยาบละเอียดอะไร
หรือบางทีดันไปให้ค่ากับการเห็น "เกิด-ดับ"
ไปให้ค่ากับมัน จะดูแต่เกิด-ดับ อันอื่นไม่ดู
อันนี้ก็ไม่ใช่ ไปให้ค่าปัญญา
จริงอยู่ปัญญามันละกิเลส แต่ถ้าพูดในการปฏิบัติแล้วมันเท่ากัน
ศีลก็ต้องทำ
สมาธิก็ต้องทำ
ปัญญาก็ต้องทำ
ไม่ใช่ทำแต่ปัญญา ศีลไม่รักษา สมาธิไม่พิจารณา มันก็ไม่ไปไหนหรอก
ไม่ใช่เน้นปัญญา ไปมองพวกเอาแต่รักษาศีลว่าเป็นพวกเริ่มต้น
เปล่าเลย ปัญญาแท้ก็ต้องอาศัยศีลกับสมาธิ
ถ้าเน้นแต่ปัญญาไม่รักษาศีล ไม่มีสมาธิเลย ก็ต้องไปทำเหมือนกันนั่นแหละ
เบบี๋พอกัน
ไม่ได้ให้ดูว่ามันหยาบ-ละเอียดอะไร
รู้มันขึ้นมา ก็มีสติขึ้นมาครั้งนึง
ไม่เกี่ยวกับหยาบละเอียดอะไร
เห็นว่ามันไม่เที่ยง
ก็เกิดปัญญาขึ้นมาครั้งนึง
ไม่เกี่ยวกับหยาบละเอียดอะไร
หรือบางทีดันไปให้ค่ากับการเห็น "เกิด-ดับ"
ไปให้ค่ากับมัน จะดูแต่เกิด-ดับ อันอื่นไม่ดู
อันนี้ก็ไม่ใช่ ไปให้ค่าปัญญา
จริงอยู่ปัญญามันละกิเลส แต่ถ้าพูดในการปฏิบัติแล้วมันเท่ากัน
ศีลก็ต้องทำ
สมาธิก็ต้องทำ
ปัญญาก็ต้องทำ
ไม่ใช่ทำแต่ปัญญา ศีลไม่รักษา สมาธิไม่พิจารณา มันก็ไม่ไปไหนหรอก
ไม่ใช่เน้นปัญญา ไปมองพวกเอาแต่รักษาศีลว่าเป็นพวกเริ่มต้น
เปล่าเลย ปัญญาแท้ก็ต้องอาศัยศีลกับสมาธิ
ถ้าเน้นแต่ปัญญาไม่รักษาศีล ไม่มีสมาธิเลย ก็ต้องไปทำเหมือนกันนั่นแหละ
เบบี๋พอกัน
วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561
ทำไมต้องตั้งใจ
เมื่อ "ตั้งใจทำ" สติมันก็ต่อเนื่อง
สัมมาสติมันก็เยอะขึ้นไว
สมาธิมันก็เจริญไว
ความเพียรมันก็ต่อเนื่อง
สังกัปปะมันก็ต่อเนื่อง ไตร่ตรองวนเวียนอยู่ในกรรมฐาน
ทิฏฐิมันก็เข้าใจได้ไว
ถ้าปล่อยๆ ไปมันก็ช้า
จึงต้องมีกรรมฐานไว้
สัมมาสติมันก็เยอะขึ้นไว
สมาธิมันก็เจริญไว
ความเพียรมันก็ต่อเนื่อง
สังกัปปะมันก็ต่อเนื่อง ไตร่ตรองวนเวียนอยู่ในกรรมฐาน
ทิฏฐิมันก็เข้าใจได้ไว
ถ้าปล่อยๆ ไปมันก็ช้า
จึงต้องมีกรรมฐานไว้
อานาปานฯ ไม่ใช่พัฒนาลมหายใจ
เบื้องต้นก็ต้องมีสติหายใจเข้า หายใจออก
เบื้องปลายก็ต้องมีสติหายใจเข้า หายใจออก
แต่ว่าเบื้องต้นสติน้อย ปัญญาน้อย
เบื้องปลายก็สติสมบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์
เพราะพัฒนาสติ พัฒนาปัญญา
ทุกขั้นทุกตอนคือพัฒนาสติ และปัญญา
ไม่ใช่พัฒนาลมหายใจนะ
เบื้องปลายก็ต้องมีสติหายใจเข้า หายใจออก
แต่ว่าเบื้องต้นสติน้อย ปัญญาน้อย
เบื้องปลายก็สติสมบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์
เพราะพัฒนาสติ พัฒนาปัญญา
ทุกขั้นทุกตอนคือพัฒนาสติ และปัญญา
ไม่ใช่พัฒนาลมหายใจนะ
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561
ธรรมวินัย
ธรรม = ธรรมชาติ ธรรมดาของมัน
ไม่เกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
วินัย นี่เกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ไม่เกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
วินัย นี่เกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ต้องนั่งท่าไหน
นั่งท่าไหนถึงจะรู้?
นั่นท่าไหนปัญญาจึงจะเกิดแก่จิตได้?
จิตจะรู้ลมหายใจได้นี่ก็ต้องมีตัวช่วยมันหน่อย
ถ้าปล่อยไปเรื่อยก็จะรู้ไปเรื่อย
รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ
ทีนี้จะทำให้ลมหายใจปรากฏแก่การรู้
ก็ต้องเก่ง ต้องฉลาด ต้องรู้วิธี
บางคนลมหายใจปรากฏ
ก็ปรากฏได้แป๊บเดียว
นั่งหลังโกง แป๊บเดียวหลับ
อันนี้ก็ไม่ฉลาด ท่านั่งมันไม่ถูกต้อง
ถ้านั่งยืดตัวตรง มันจะไม่ง่วง
มีใครนั่งง่วงแล้วตัวตรงบ้าง?
มีใครนั่งตัวตรงแล้วหลับบ้าง?
นั่งตัวตรงแล้วฟุ้งซ่านนี่ก็ทำได้ยาก
นั่งตรงแล้วความฟุ้งซ่านมันคลาย มันไม่ผูกจิตไว้
ท่านั่งตัวตรงนี้มันทำให้จิตมันถูกผูกเอาไว้ในกายโดยธรรมชาติ
ทีนี้พระพุทธเจ้าท่านมีความรู้ท่านเลยบอกหมด
ความรู้ในการผูกจิตไว้ในลมหายใจ
บอกกระทั่งท่านั่ง ถ้ามีความรู้มันก็พัฒนาได้ไว
ถ้าไม่รู้ มันก็ทำไปตามบุญตามกรรม
นั่นท่าไหนปัญญาจึงจะเกิดแก่จิตได้?
จิตจะรู้ลมหายใจได้นี่ก็ต้องมีตัวช่วยมันหน่อย
ถ้าปล่อยไปเรื่อยก็จะรู้ไปเรื่อย
รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ
ทีนี้จะทำให้ลมหายใจปรากฏแก่การรู้
ก็ต้องเก่ง ต้องฉลาด ต้องรู้วิธี
บางคนลมหายใจปรากฏ
ก็ปรากฏได้แป๊บเดียว
นั่งหลังโกง แป๊บเดียวหลับ
อันนี้ก็ไม่ฉลาด ท่านั่งมันไม่ถูกต้อง
ถ้านั่งยืดตัวตรง มันจะไม่ง่วง
มีใครนั่งง่วงแล้วตัวตรงบ้าง?
มีใครนั่งตัวตรงแล้วหลับบ้าง?
นั่งตัวตรงแล้วฟุ้งซ่านนี่ก็ทำได้ยาก
นั่งตรงแล้วความฟุ้งซ่านมันคลาย มันไม่ผูกจิตไว้
ท่านั่งตัวตรงนี้มันทำให้จิตมันถูกผูกเอาไว้ในกายโดยธรรมชาติ
ทีนี้พระพุทธเจ้าท่านมีความรู้ท่านเลยบอกหมด
ความรู้ในการผูกจิตไว้ในลมหายใจ
บอกกระทั่งท่านั่ง ถ้ามีความรู้มันก็พัฒนาได้ไว
ถ้าไม่รู้ มันก็ทำไปตามบุญตามกรรม
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี
ตามเห็นความสลัดคืน
คือ
ตามดูว่ามีแต่ของควรสลัดคืน
ไม่ใช่ของของเรา
เป็นของของมัน
เป็นเช่นนั้นของมันเอง
ฉะนั้นควรปล่อย
วางให้มันเป็นอย่างนั้นของมัน
ควรสลัด ควรคืนให้มันเป็นของมัน
อย่าเอามาเป็นของเรา
ปฏินิสสัคคะ = สลัดคืน
คือ
ตามดูว่ามีแต่ของควรสลัดคืน
ไม่ใช่ของของเรา
เป็นของของมัน
เป็นเช่นนั้นของมันเอง
ฉะนั้นควรปล่อย
วางให้มันเป็นอย่างนั้นของมัน
ควรสลัด ควรคืนให้มันเป็นของมัน
อย่าเอามาเป็นของเรา
ปฏินิสสัคคะ = สลัดคืน
มุขปาฐะ
ปากต่อปาก
คืออาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญในกรรมฐานหนึ่งๆ
ให้ศิษย์ที่ต้องการเรียนนั้น
ท่องพระบาลีมาให้ได้
จากนั้นอาจารย์จึงมาขยายความแบบคำต่อคำ
จึงทรงจำกันมาได้แบบไม่เพี้ยน
คืออาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญในกรรมฐานหนึ่งๆ
ให้ศิษย์ที่ต้องการเรียนนั้น
ท่องพระบาลีมาให้ได้
จากนั้นอาจารย์จึงมาขยายความแบบคำต่อคำ
จึงทรงจำกันมาได้แบบไม่เพี้ยน
ดำรงสติเฉพาะหน้า
คือเอาความรู้มาไว้ข้างหน้า
นำออกมาไว้ข้างหน้า
เอาความรู้นำ
ถ้าไม่มีความรู้ก็ไม่ต้องทำแล้วว่ากันง่ายๆ...
นำเอาความรู้ออกมาข้างหน้า
แล้วเอาไปทำกรรมฐาน
ในร่างกายมันก็มีอะไรเยอะแยะไปหมด
แต่เราก็ไม่ได้เอาความรู้ไปตั้งไว้ที่นั่น
ไม่ได้เอาความรู้ไปดูมัน
เหมือนกายกับใจ ถ้าไม่มีสติมันก็ไม่ปรากฏ
ก็มาทำให้อารมณ์นั้นปรากฏ
อะไรทำให้อารมณ์ปรากฏ
"สติ"
สตินำอารมณ์มาเสนอแก่จิต
ไม่ลืมอารมณ์นี้นะ
จิตก็โคจรไปตามอารมณ์นี้
สติเปรียบเหมือนเชื่อกผูกจิตไว้
สตินี่ทำให้อารมณ์มาวนเวียนอยู่ในนี้ (กาย-เวทนา-จิต-ธรรม)
แต่ถ้าจะทำให้แนบแน่นก็เลือกอันนึง
นำออกมาไว้ข้างหน้า
เอาความรู้นำ
ถ้าไม่มีความรู้ก็ไม่ต้องทำแล้วว่ากันง่ายๆ...
นำเอาความรู้ออกมาข้างหน้า
แล้วเอาไปทำกรรมฐาน
ในร่างกายมันก็มีอะไรเยอะแยะไปหมด
แต่เราก็ไม่ได้เอาความรู้ไปตั้งไว้ที่นั่น
ไม่ได้เอาความรู้ไปดูมัน
เหมือนกายกับใจ ถ้าไม่มีสติมันก็ไม่ปรากฏ
ก็มาทำให้อารมณ์นั้นปรากฏ
อะไรทำให้อารมณ์ปรากฏ
"สติ"
สตินำอารมณ์มาเสนอแก่จิต
ไม่ลืมอารมณ์นี้นะ
จิตก็โคจรไปตามอารมณ์นี้
สติเปรียบเหมือนเชื่อกผูกจิตไว้
สตินี่ทำให้อารมณ์มาวนเวียนอยู่ในนี้ (กาย-เวทนา-จิต-ธรรม)
แต่ถ้าจะทำให้แนบแน่นก็เลือกอันนึง
กรรมฐาน
กรรมฐาน
ที่ตั้งของการกระทำทางจิต
เพื่อให้จิตมีการพัฒนา
กรรมฐานอะไรก็ใช้ได้ทั้งนั้น มันเปลี่ยนเฉพาะตัวอารมณ์
เมื่อเรียนอันนึง
ก็สามารถนำหลักการอันนี้ ไปใช้กับกรรมฐานอื่นก็ได้
ที่ตั้งของการกระทำทางจิต
เพื่อให้จิตมีการพัฒนา
กรรมฐานอะไรก็ใช้ได้ทั้งนั้น มันเปลี่ยนเฉพาะตัวอารมณ์
เมื่อเรียนอันนึง
ก็สามารถนำหลักการอันนี้ ไปใช้กับกรรมฐานอื่นก็ได้
ปฏิสัมภิทามรรค
เป็นคัมภีร์ที่พระสารีบุตรรวบรวม และอธิบาย
หัวข้อธรรม บางหมวดที่สำคัญของพระพุทธเจ้าอย่างละเอียด
ฉะนั้น ถ้าอ่านไม่เข้าใจก็ไม่แปลก
เพราะมันรวมมาทั้งหมด
อย่างเรื่องญาณ รวมมาหมด มีตั้ง 73
คนที่จะมีหมดมีคนเดียวคือพระพุทธเจ้า
ดังนั้น อ่านแล้วมึนๆ บ้าง ธรรมด๊าาา
หัวข้อธรรม บางหมวดที่สำคัญของพระพุทธเจ้าอย่างละเอียด
ฉะนั้น ถ้าอ่านไม่เข้าใจก็ไม่แปลก
เพราะมันรวมมาทั้งหมด
อย่างเรื่องญาณ รวมมาหมด มีตั้ง 73
คนที่จะมีหมดมีคนเดียวคือพระพุทธเจ้า
ดังนั้น อ่านแล้วมึนๆ บ้าง ธรรมด๊าาา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)