เพราะว่าลมหายใจเข้าออกนี่เป็นหลายกรรมฐาน
ลมหายใจเหมือนกัน แต่เรียกชืื่อกรรมฐานไม่เหมือนกัน
ตามวัตถุประสงค์ที่ฝึก
ถ้าต้องการพัฒนาความเพียร สัมปชัญญะ สติ
ต้องการเพิ่มองค์มรรคเหล่านี้ให้เติบโต
ลมอันนี้เรียก กายานุปัสสนา
กายานุปัสสนาจะมี 14 หมวด
มีลมหายใจ อิริยาบถใหญ่ สัมปชัญญะ อสุภะ ปฏิกูล ธาตุ ป่าช้า9
ลมนี้ไม่ใช่อานาปานฯ แต่เป็นกายานุปัสสนา
ถ้าลมหายใจนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของกาย
ถ้าเรามีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
มาตามดูลมหายใจเข้าออก เพื่อพัฒนาความเพียร พัฒนาความรู้และสติเฉยๆ
อันนี้เรียก "กายานุปัสสนา"
ถ้าต้องการใช้เพื่อผูกไว้ไม่ให้ไปไหน ไปนู่นไปนี่
เพื่อตัดวิตก ไม่มีความดำริอาศัยเรือน ไม่ฟุ้งซ่าน จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
ลมอันนี้เรียก กายคตาสติ
ทีนี้ถ้าต้องการอาศัยลมหายใจผูกจิตเอาไว้กับกาย
ลมหายใจนี้เป็นส่วนหนึ่งของกาย อันนี้เอาไว้ใช้ผูกจิตเฉยๆ
ไม่ได้ต้องการกรรมฐานลึกซึ้งอะไร
แค่ต้องการให้เป็นที่ผูกจิตเอาไว้เฉยๆ
ให้กายเป็นหลักของจิต
โดยเอาสติเป็นเครื่องผูก
กระทำกรรมฐานเช่นนี้เรียก กายคตาสติ
กายาคตาสติ คือ การผูกจิต
เอาสติเป็นเชือกผูกไว้ไม่ให้ไปไกล
เชือกเหนียวก็ผูกได้ดี อันนี้เรียกว่ามีสติดี
กายคตาสติมี 18 อัน ให้มันวิ่งอยู่ในกาย
14 อันเหมือนของกายานุปัสสนา เพิ่มเติมผู้ได้สมาธิ
ให้มันมาวิ่งอยู่ในกาย ฌาน 1-4 ก็ทำอย่างนี้ได้
คือต้องทำให้ครบ 16 ขั้นตอน
คือมันเป็นวิธีเฉพาะของมัน ใครมาตั้งใจทำให้ครบตามรูปแบบ
ให้มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา โดยอาศัยลมหายใจ จนกระทั่งบรรลุธรรมไปตามลำดับ
อานาปานสตินี่เป็นกรรมฐานสำหรับคนพิเศษ (มหาบุรุษ)
ถ้าเราไม่พิเศษก็ทำเป็นกายานุปัสสนาก็ได้ กายคตาสติก็ได้
ไม่ใช่ทุกคนทีั่ทำอานาปานสติได้ เพราะมันจะอาศัยสติปัญญาเยอะ
ทำได้ก็ได้อานิสงส์พิเศษ เช่น
นั่งได้นานไม่ไหวติง บอกได้ว่าจะปรินิพพานอิริยาบถไหน เมื่อไร เป็นต้น
อานาปานฯ นี่ใครสามารถควรทำไว้
เพราะคนเราไม่ได้นับถือกันที่หมดกิเลสอย่างเดียว
บางทีนับถือกันที่นั่งนาน 5555
พระพุทธศาสนานี่เป็นของทุกคน
คนมันยังมีกิเลสมันก็นับถือคนนั่งนิ่ง นั่งนาน
อรหันต์บางคนนั่งนิ่งสู้โยมไม่ได้ มันก็ไม่นับถือเหมือนกัน
คนได้อานาปานฯ ก็จะเป็นที่เลือมใส นั่งได้นิ่ง นั่งได้นาน
ก็จะโปรดเขาได้
ผู้ฝึกได้ก็จะช่วยรักษาคำสอนส่วนพิเศษเอาไว้ได้ เช่น เรื่องฌาน อภิญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น