สำหรับในมหาสติปัฏฐานสูตร
จะพูดเน้นไปที่ตัวอารมณ์ เห็นอะไร
เช่น ถ้าเอากายเป็นอารมณ์
เป็นอาหารให้ความเพียร สัมปชัญญะ สติ
ก็เรียกกายานุปัสสนา (เน้นไปที่อาหาร)
คือจริงๆ ต้องการตัวมัน (หมายถึง ความเพียร สัมปชัญญะ สติ)
แต่ตอนพูด พูดเน้นไปที่อาหาร
ในธัมมานุปัสสนาก็ให้เอา
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นิวรณ์ โพชฌงค์ เป็นอาหาร
คือเป็นอารมณ์ที่ถูกรู้
ส่วนในอานาปานสติ
จะพูดเน้นไปที่ตัวรู้ ตัวปัญญา เห็นอย่างไร
คือทั้งสองสูตรมันก็ต้องเห็นเหมือนกัน
คือเห็นอะไร สุดท้ายก็ต้องเห็นอย่างไรด้วยนั่นแหละจึงเรียกว่ามีปัญญา
เพียงแต่จะพูดเน้นอันไหนเท่านั้น
กาย เวทนา จิต ธรรม ในสติปัฏฐาน เป็นอารมณ์ของสติปัญญา
กาย เวทนา จิต ธรรม ในอานาปานสติ เป็นกระบวนการฝึกปัญญา เน้นไปที่ตัวปัญญา
รู้แบบไหนจึงเรียกว่ารู้ธัมมะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น