วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561

กำหนดจิต กับดูจิตเหมือนกันมั้ย

(พิกัดเนื้อหา จิตตานุปัสสนา ในอานาปานสติ)

ดูจิตนี้เป็นวิธีการฝึกสติวิธีนึงในสติปัฏฐาน 4
แต่จิตตานุปัสสนาในอานาปานฯ นี่พูดเลยการฝึกสติเบื้องต้นมาแล้ว

สติปัฏฐานนี้เป็นขั้นพื้นฐาน
ถ้าเป็นการกำหนดจิตให้เห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
อันนี้เป็นธัมมวิจัย

แต่ว่าสติปัฏฐาน 4 ในอานาปานสตินี้เป็นขั้นสูง
จะต่างกับสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร
มหาสติปัฏฐานสูตรนี้เป็นเน้นกระบวนการฝึกสติเฉยๆ

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ -- คือทำยังไงให้มันได้สติขึ้นมาก่อน
ทีนี้ได้สติแล้ว ต้องมาเติมความเพียรให้มันได้สมาธิ ได้สัมมัปปธาน ได้อิทธิบาท
แล้วค่อยมาเจริญโพชฌงค์ -- โพชฌงค์ นี่จะเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาอย่างเต็มที่เลย

อานาปานสตินี่คือท่านสอนฝึกตั้งแต่สติปัฏฐานจนถึงโพชฌงค์เลย
ด้วยกรรมฐานเดียว คือท่านรวมองค์ธรรมทุกอันเข้ามาหมด

ในมหาสติปัฏฐานสูตรนี่
คือมาบอกว่าใช้อารมณ์อะไรในการฝึกสติได้บ้าง
การดูจิตทั้งสิบกว่าลักษณะนั้นก็คือ ทำให้มีสติเพิ่มขึ้น
พอมีสติแล้วก็ต้องมาฝึกต่อมามีความเพียรต่อ

ไม่ใช่แค่ว่า จิตมีกิเลสก็รู้ว่ามีกิเลส ดีก็รู้ว่าดี ค้างอยู่แค่นั้น ยังใช้ไม่ได้
เมื่อรู้จักจิต แล้วจะต้องมาทำสัมมัปปธานต่อ (เพียร)

เพียรคือ ของไม่ดีต้องงดเว้น ไม่ใช่ไปตามใจเรื่อยไป
มันถัดมาจากขั้นต้น - ไม่ดีรู้ว่าไม่ดี
ขั้นถัดขึ้นมา (สัมมัปปธาน) นี้คือ - ไม่ดีต้องหัดเลิก ! ต้องหัด ไม่ให้มันไม่ดี
อันนี้มันจะได้สมาธิขึ้นมา

พอได้สมาธิแล้ว มากำหนดรู้จิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
อันนี้คือวิปัสสนา

ข้อดีของสติปัฏฐาน 4 คือ
อารมณ์ในการฝึกตอนต้นกับตอนสุดท้ายนี่ใช้อันเดียวกันได้หมด
มันง่าย ท่านเลยนิยมให้ฝึกตามสติปัฏฐาน

แต่ถ้ากรรมฐานอื่น ทำๆ ไปถึงจุดนึงก็ต้องเลี้ยวเข้ามาอยู่ดี
อันนี้พอทำความเพียรได้สมาธิแล้ว ก็มารู้อยู่ใน 4 อันนี้แหละ สะดวก :D


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น