หมายเอา 2 อย่าง คือ รูปกาย และนามกาย
กาย หมายถึง ที่รวม ที่ประชุม
ในการฝึกสติตอนต้นซึ่งสติยังน้อย
ท่านไม่นิยมให้ดู "รูป"
เพราะรูปจะไม่ปรากฏชัด
จะปรากฏชัดแต่ "กาย" ท่านจึงให้ดูกายก่อน
"ดูกาย" กับ "ดูรูป" ไม่เหมือนกัน
ในการฝึกสติปัฏฐานนี้เป็นการฝึกขั้นต้น ยังไม่เน้นสมาธิ
ดังนั้น ถ้าไปเน้นสมาธิมาก ก็จะมีปัญหาได้ ท่านจึงเน้นให้ดูกาย
ตามดูกายในกาย
กายแปลว่า ที่รวมของรูป (ไม่ใช่ให้ดูรูป)
กายเป็นอารมณ์บัญญัติ
พอเกิดสติ เกิดสมาธิ ค่อยมาดูความเป็นรูป
คือดูลมหายใจเป็นลมหายใจนั่นแหละ
แต่พอจิตมีสมาธิแล้ว มันก็มามองมุมความเป็นธาตุได้เอง
กายเดินก็รู้ว่ากายเดิน ก็รู้ไปตรงๆ เลย
ไม่ต้องไปเถียงว่านี่ไม่ใช่การดูรูป ไม่จำเป็นทำตามท่านว่าไปเลย
บัญญติถึงแม้จะไม่มีไม่เที่ยงให้ดู แต่มันมีลักษณะไม่มีตัวตน
พอสติสมาธิมั่นคงขึ้น ก็จะเห็นแยกออกมาเป็นรูปเอง โดยธรรมชาติ
นามกาย
นาม เป็นสภาวะที่น้อมไปรู้ หรือเป็นตัวทำให้คนอื่นรับรู้
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
เป็นกลุ่มนามที่เห็นได้ชัดและมีมาก
กลุ่มนี้เรียก จิตตสังขาร
อารมณ์ในโลกมีเยอะแยะ ผัสสะกับมนสิการ เป็นตัวจัดแจงให้รับรู้
จิตตสังขาร หมายถึงปรุงจิต
ปรุงให้จิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
จิตก็ไม่ได้เป็นอะไร มันก็รู้ของมันอยู่อย่างนั้น
ที่มันทุกข์ สุข เพราะมีอะไรปรุงมันขึ้นมา
คำว่า "อย่าไปปรุงแต่ง"
แปลว่า "อย่าไปปรุงแต่งเลวๆ"
เพราะศีลสมาธิปัญญา ก็เป็นสิ่งปรุงแต่งจิต เหมือนกัน
รูปกาย
เป็นที่รวมของรูป (แต่ไม่ใช่รูป)
เช่น ลมหายใจเข้าออก น้ำเลือด น้ำหนอง ผม ขน เล็บ
จิตทียังขาดสติสมาธิ มันจะยึดบัญญัติโดยธรรมชาติ
พอไม่ติดบัญญัติ จะรู้สึกว่ากายว่าง
ว่างแปลว่า ว่างจากบัญญัติ
เช่น เดิมติดแขนขา (ติดสมมติ) พอปล่อย ก็รู้สึกเหมือนแขนหาย ขาหาย
กลายเป็นว่าง ว่างก็เป็นบัญญัติอันนึง น้อมกลับมาใหม่
กลับมาดูตัวเองใหม่ คราวนี้มันจะมาดูว่ามันรู้อะไรได้บ้าง
มันก็ไปเอาปรมัตถ์เป็นอารมณ์แทน
เป็นการกระทบทีละจุดๆๆ ไป อันนี้คือรูป
มีการกระทบขึ้น ตัวรู้ก็เป็นอีกตัวนึง เสียงก็เป็นอีกตัวนึง
แบบนี้เรียก กำหนดรู้รูป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น