ปัญญา
สัจจะ
จาคะ
สันติ
ไม่พึงประมาทปัญญา
พึงอนุรักษ์สัจจะ
พึงพอกพูนแต่จาคะ
พึงศึกษาแต่สันติ
อธิษฐานให้เห็นสิ่งที่เป็นจริง
อย่าไปหลงกับสิ่งที่เป็นเท็จ
สัจจะอันแท้จริงคือ นิพพาน
จาคา สละทุกอย่างทั้งปวง
ไม่จับยึดอาลัยกับมันอีก
พอกพูนเรื่องจาคะ
อย่าไปขยายนั่นนี่ให้มันเยอะ
อุปสมา การสงบลงของกิเลสทุกๆ อย่างไม่กลับคืนอีก
ศึกษาแนวทางให้กิเลสสงบเท่านั้น
ไม่ใช่ศึกษาวิธีให้จิตดี
วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560
สัจฉิกาตัพพธรรม
เพราะมีอยู่จึงเข้าถึงไม่ได้ด้วยการแสวงหา
ต้องหยุดแสวงหา
ท่านจึงใช้คำว่า เป็นธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง
ให้แจ้งคือให้รู้ว่ามันมีอยู่
ให้รู้จักกันว่า อ้าว มันมีอยู่แล้ว
ก็จบ
ทุกวันนี้พากันแสวงหา
ถ้าแสวงหาก็จะได้แต่ฝ่ายสังขต
เพราะว่าสังขตมันไม่มี มันจึงต้องแสวงหา
เหมือนกับของหาย
ไม่มีก็เลยหา
แต่ของที่มีอยู่แล้วใครจะไปบ้าหา
ต้องหยุดแสวงหา
ท่านจึงใช้คำว่า เป็นธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง
ให้แจ้งคือให้รู้ว่ามันมีอยู่
ให้รู้จักกันว่า อ้าว มันมีอยู่แล้ว
ก็จบ
ทุกวันนี้พากันแสวงหา
ถ้าแสวงหาก็จะได้แต่ฝ่ายสังขต
เพราะว่าสังขตมันไม่มี มันจึงต้องแสวงหา
เหมือนกับของหาย
ไม่มีก็เลยหา
แต่ของที่มีอยู่แล้วใครจะไปบ้าหา
ไมใช่เชื่อเรื่องกรรม แต่ให้รู้จักกรรม
เรื่องกรรมควรเรียน แต่ต้องเรียนให้ครบ
ให้มันถูกต้อง
ท่านไม่ได้สอนให้เชื่อเรื่องกรรม
ท่านสอนให้รู้จักกรรม
รู้จักกรรม
รู้จักเหตุเกิดของกรรม
รู้จักความต่างของกรรม
รู้จักกรรมที่ให้ผลแตกต่างกันไป
รู้จักความสิ้นกรรม
รู้จักวิธีการที่จะทำให้ถึงความสิ้นกรรม
รู้จักกรรมเก่า
รู้จักรรมใหม่
รู้จักความสิ้นกรรม
รู้จักทางให้ถึงความสิ้นกรรม
ประโยชน์ของการเรียนเรื่องกรรมคือ
ฝึกให้ไม่อยู่เฉย ไม่ยอมรับสภาพ
สามารถฝึกฝนตนเองเพื่ออยู่เหนือกรรมได้
ปฏิบัติต่อมันได้อย่างถูกต้อง
กรรมจะอันตรายถ้ายังไม่เข้าใจมัน
โลกอันตรายถ้ายังไม่เข้าใจมัน
พวกไม่รู้มันก็อันตรายเหมือนเดิม แต่ไม่รู้ อันตรายซ้อนขึ้นไป
ไม่มีคำว่า "ให้เชื่อเรื่องกรรม"
มีแต่ ให้มีความเห็นต่อเรื่องกรรมให้ถูกต้อง (กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ)
สัมมาทิฏฐิไม่ใช่ความเชื่อ
เป็นความรู้เรื่อง ไม่ใช่งมงาย
แม้เป็นชั้นโลกิยะ ก็ไม่ใช่ความเชื่อ เป็นความเห็นที่ถูก
ให้มันถูกต้อง
ท่านไม่ได้สอนให้เชื่อเรื่องกรรม
ท่านสอนให้รู้จักกรรม
รู้จักกรรม
รู้จักเหตุเกิดของกรรม
รู้จักความต่างของกรรม
รู้จักกรรมที่ให้ผลแตกต่างกันไป
รู้จักความสิ้นกรรม
รู้จักวิธีการที่จะทำให้ถึงความสิ้นกรรม
รู้จักกรรมเก่า
รู้จักรรมใหม่
รู้จักความสิ้นกรรม
รู้จักทางให้ถึงความสิ้นกรรม
ประโยชน์ของการเรียนเรื่องกรรมคือ
ฝึกให้ไม่อยู่เฉย ไม่ยอมรับสภาพ
สามารถฝึกฝนตนเองเพื่ออยู่เหนือกรรมได้
ปฏิบัติต่อมันได้อย่างถูกต้อง
กรรมจะอันตรายถ้ายังไม่เข้าใจมัน
โลกอันตรายถ้ายังไม่เข้าใจมัน
พวกไม่รู้มันก็อันตรายเหมือนเดิม แต่ไม่รู้ อันตรายซ้อนขึ้นไป
ไม่มีคำว่า "ให้เชื่อเรื่องกรรม"
มีแต่ ให้มีความเห็นต่อเรื่องกรรมให้ถูกต้อง (กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ)
สัมมาทิฏฐิไม่ใช่ความเชื่อ
เป็นความรู้เรื่อง ไม่ใช่งมงาย
แม้เป็นชั้นโลกิยะ ก็ไม่ใช่ความเชื่อ เป็นความเห็นที่ถูก
ทำตัวเล็กๆ ไว้
ถ้ายังรู้สึกว่ามีเรา เป็นเรา มีของเราอยู่
ทำตัวเล็กๆ เข้าไว้
ความโกรธนี่เราบังคับมันไม่ได้แฮะ
มันตัวใหญ่มาก
ครอบเราอีกแล้ว
เหลือตัวเล็กนิดเดียว
มาทีใจก็เต้นตึกๆ ตักๆ
ให้เครียด
ให้กังวล
พาปากไปด่าคนนั้นคนนี้
หมดเหตุก็หายไปไหนไม่รู้
ไม่มีที่มา ไม่มีที่ไป
แต่เดิมไม่ได้โกรธ
อยู่ดีๆ มีเหตุก็โกรธขึ้น หมดเหตุก็หาย
ไม่รู้หายไปไหน
ก่อนมาก็ไม่รู้อยู่ไหน
มันมีอยู่เฉพาะตอนที่มันมีอยู่
ทำตัวเล็กๆ เข้าไว้
ความโกรธนี่เราบังคับมันไม่ได้แฮะ
มันตัวใหญ่มาก
ครอบเราอีกแล้ว
เหลือตัวเล็กนิดเดียว
มาทีใจก็เต้นตึกๆ ตักๆ
ให้เครียด
ให้กังวล
พาปากไปด่าคนนั้นคนนี้
หมดเหตุก็หายไปไหนไม่รู้
ไม่มีที่มา ไม่มีที่ไป
แต่เดิมไม่ได้โกรธ
อยู่ดีๆ มีเหตุก็โกรธขึ้น หมดเหตุก็หาย
ไม่รู้หายไปไหน
ก่อนมาก็ไม่รู้อยู่ไหน
มันมีอยู่เฉพาะตอนที่มันมีอยู่
ตัวหลอก
คือความได้ดั่งใจบ้าง ไม่ได้ดั่งใจบ้างนี่แหละ
มันได้ดั่งใจมันก็ให้ความสุข
เราก็จำเอาไว้
เลยพากเพียรจะบังคับ
พากเพียรหาเงื่อนไขให้มันเป็นดั่งใจ
หาวิธีไป...
อาการที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง
แล้วเกิดความเข้าใจผิด
ว่ามันเที่ยง มันสุข มันบังคับได้
อันนี้เป็น ความผิดพลาด
เป็นความเข้าใจผิด
เป็นอุปาทาน
เป็นตัวอันตราย
ไม่ได้ศึกษาโดยละเอียดว่า
มันไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเราอยากได้หรอก
มันเกิดขึ้นจากเหตุ
พอไม่ละเอียดก็ไปยึดถือ
ตรงนี้เป็นความผิดพลาด
อะไรที่ดูเหมือนเรามีอำนาจ
อะไรที่ดูเหมือนเราบังคับได้
ให้รู้ว่า จะพาสั่งสมความเข้าใจผิดยิ่งๆ ขึ้นไป
มันได้ดั่งใจมันก็ให้ความสุข
เราก็จำเอาไว้
เลยพากเพียรจะบังคับ
พากเพียรหาเงื่อนไขให้มันเป็นดั่งใจ
หาวิธีไป...
อาการที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง
แล้วเกิดความเข้าใจผิด
ว่ามันเที่ยง มันสุข มันบังคับได้
อันนี้เป็น ความผิดพลาด
เป็นความเข้าใจผิด
เป็นอุปาทาน
เป็นตัวอันตราย
ไม่ได้ศึกษาโดยละเอียดว่า
มันไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเราอยากได้หรอก
มันเกิดขึ้นจากเหตุ
พอไม่ละเอียดก็ไปยึดถือ
ตรงนี้เป็นความผิดพลาด
อะไรที่ดูเหมือนเรามีอำนาจ
อะไรที่ดูเหมือนเราบังคับได้
ให้รู้ว่า จะพาสั่งสมความเข้าใจผิดยิ่งๆ ขึ้นไป
ลักษณะของปัญญา
ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
สิ่งที่ติดตามมาจะเป็นไปในทางเบื่อหน่าย
คลายกำหนัด คลายความยินดีเพลิดเพลิน
โดยถ่ายเดียว
ที่เป็น ก็ทนเป็นไปอย่างนั้นเอง (ถ้าไม่ได้เป็นจะสบายกว่า)
ที่อยู่ ก็ทนอยู่ไปอย่างนั้นเอง
ที่ทำ ก็ทนทำไปอย่างนั้นเอง (ถ้าไม่ได้ทำก็จะสบายกว่า)
แต่ถ้ารู้แล้วเข้าใจอะไรแล้ว
ยังอยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่
อยากได้นั่นเพิ่ม นี่เพิ่ม
อยากเป็นคนเก่ง
อยากเป็นคนดี
อยากได้รับการยอมรับ
อยากจะบรรลุ
ก็สรุปว่า...ยังไม่เดินปัญญา (จบข่าว 555)
ลักษณะของปัญญาจะ
แทงตลอดโดยลักษณะของมันอย่างไม่ผิดเพี้ยน
คือ มันไม่เที่ยง ก็แจ้งว่าไม่เที่ยง
ว่างเปล่าจากความเป็นสุข
ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนที่จะไปบังคับอะไรได้
สิ่งที่ติดตามมาจะเป็นไปในทางเบื่อหน่าย
คลายกำหนัด คลายความยินดีเพลิดเพลิน
โดยถ่ายเดียว
ที่เป็น ก็ทนเป็นไปอย่างนั้นเอง (ถ้าไม่ได้เป็นจะสบายกว่า)
ที่อยู่ ก็ทนอยู่ไปอย่างนั้นเอง
ที่ทำ ก็ทนทำไปอย่างนั้นเอง (ถ้าไม่ได้ทำก็จะสบายกว่า)
แต่ถ้ารู้แล้วเข้าใจอะไรแล้ว
ยังอยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่
อยากได้นั่นเพิ่ม นี่เพิ่ม
อยากเป็นคนเก่ง
อยากเป็นคนดี
อยากได้รับการยอมรับ
อยากจะบรรลุ
ก็สรุปว่า...ยังไม่เดินปัญญา (จบข่าว 555)
ลักษณะของปัญญาจะ
แทงตลอดโดยลักษณะของมันอย่างไม่ผิดเพี้ยน
คือ มันไม่เที่ยง ก็แจ้งว่าไม่เที่ยง
ว่างเปล่าจากความเป็นสุข
ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนที่จะไปบังคับอะไรได้
พิจารณาธาตุ
การจะเห็นเป็นธาตุ
ตัวที่ทำหน้าที่เห็นคือปัญญา
เป็นอารมณ์ของฝ่ายปัญญา
สำหรับผู้ที่พร้อมแล้ว
จิตประกอบพร้อมด้วยศีล สมาธิ
เมื่อได้มาฟังเรื่องธาตุ
สิ่งทั้งหลายที่มันว่างเปล่าจากตัวตน ก็เข้าใจได้
ส่วนที่อินทรีย์ยังไม่พร้อม
ฟังไปอาจจะ blank ไปเลยก็ได้ 5555
หรือไม่ก็เข้าใจแบบระลึกเอาคิดเอา
น้อมเอา ก็จะรู้สึกปลอดโปร่งขึ้้นมาเป็นครั้งคราว
อันนี้ก็จะเป็นแบบธัมมานุสสติ
ตัวที่ทำหน้าที่เห็นคือปัญญา
เป็นอารมณ์ของฝ่ายปัญญา
สำหรับผู้ที่พร้อมแล้ว
จิตประกอบพร้อมด้วยศีล สมาธิ
เมื่อได้มาฟังเรื่องธาตุ
สิ่งทั้งหลายที่มันว่างเปล่าจากตัวตน ก็เข้าใจได้
ส่วนที่อินทรีย์ยังไม่พร้อม
ฟังไปอาจจะ blank ไปเลยก็ได้ 5555
หรือไม่ก็เข้าใจแบบระลึกเอาคิดเอา
น้อมเอา ก็จะรู้สึกปลอดโปร่งขึ้้นมาเป็นครั้งคราว
อันนี้ก็จะเป็นแบบธัมมานุสสติ
วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560
อาการ 40 หยั่งลงสู่สัมมัตนิยาม
เมื่อเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข
เป็นความโล่ง โปร่งสบาย
ตรงข้ามกับสังขารที่เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง บังคับอะไรไม่ได้
ไม่ใช่แก่นสาร
จึงจะเกิดอนุโลมิกขันติ
ถ้ายังเห็นสังขารบางอย่างเป็นของเที่ยง เป็นสุข
ถ้ายังเห็นธรรมบางอย่างว่าเป็นตัวตน
เช่นนี้ยังไม่ได้ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ
ถ้าไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ
ย่อมไม่หยั่งลงสู่สัมมัตนิยาม
เมื่อไม่หยั่งลงสู่สัมมัตนิยาม (อริยมรรค)
ก็ไม่หยั่งลงสู่อริยผล
อนุโลมิกขันติ
เป็นปัญญาวิปัสสนา
ที่เมื่อได้แล้ว สามารถทำให้อดทน คงที่ต่อสังขารได้
ภิกษุย่อมได้อนุโลมิกขันติด้วยอาการ 40
หมายถึง ตอนอริยมรรคจะเกิด
มองเห็นสังขารในแง่มุมไหน จึงจะเกิดอริยมรรคขึ้น
ไม่ต้องทุกแง่ แง่ใดแง่นึงก็พอ
อาการเห็น คือ เห็น "ขันธ์ทั้ง 5 ของตน"
ตามอาการ 40 เช่น
เห็นกายโดยความ....
เห็นเวทนาโดยความ....
เห็นสัญญาโดยความ....
เห็นสัญญาโดยความ....
เห็นวิญญาณโดยความ....
การพิจารณาขันธ์ 5 โดยอาการ 40
เป็นความโล่ง โปร่งสบาย
ตรงข้ามกับสังขารที่เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง บังคับอะไรไม่ได้
ไม่ใช่แก่นสาร
จึงจะเกิดอนุโลมิกขันติ
ถ้ายังเห็นสังขารบางอย่างเป็นของเที่ยง เป็นสุข
ถ้ายังเห็นธรรมบางอย่างว่าเป็นตัวตน
เช่นนี้ยังไม่ได้ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ
ถ้าไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ
ย่อมไม่หยั่งลงสู่สัมมัตนิยาม
เมื่อไม่หยั่งลงสู่สัมมัตนิยาม (อริยมรรค)
ก็ไม่หยั่งลงสู่อริยผล
อนุโลมิกขันติ
เป็นปัญญาวิปัสสนา
ที่เมื่อได้แล้ว สามารถทำให้อดทน คงที่ต่อสังขารได้
ภิกษุย่อมได้อนุโลมิกขันติด้วยอาการ 40
หมายถึง ตอนอริยมรรคจะเกิด
มองเห็นสังขารในแง่มุมไหน จึงจะเกิดอริยมรรคขึ้น
ไม่ต้องทุกแง่ แง่ใดแง่นึงก็พอ
อาการเห็น คือ เห็น "ขันธ์ทั้ง 5 ของตน"
ตามอาการ 40 เช่น
เห็นกายโดยความ....
เห็นเวทนาโดยความ....
เห็นสัญญาโดยความ....
เห็นสัญญาโดยความ....
เห็นวิญญาณโดยความ....
- โดยความไม่เที่ยง (อนิจฺจโต)
ไม่ใช่แค่เห็นว่าโกรธ ว่าโลภ แต่เห็น อนิจโต คือความไม่เที่ยงของมัน
จากไม่มี แล้วมามีขึ้น
จากมีแล้ว ก็หายไป
ผ่านมาแล้วผ่านไป - โดยความเป็นทุกข์ (ทุกฺขโต)
โดยความบีบคั้น ถ้าแรงๆ ก็เป็นทุกขเวทนา นั่งนานๆ โอ๊ยยยย
เครียดมาก็มึน โอ๊ยยยย ไม่ไหว
มีหัวจึงได้ปวดหัว ไม่มีหางเลยไม่ปวดหาง 555
เพราะมีการงาน จึงโดนการงานบีบคั้น
มีเจ้านาย จึงมีเจ้านายบีบคั้น - โดยความเป็นโรค (โรคโต)
โดยความเป็นรังของโรค มีตาก็มีโรคตา มีตับก็มีโรคตับ
มีใจ เดี๋ยวก็กิเลสครอบ - โดยความเป็นดังหัวฝี (คณฺฑโต)
อักเสบเป็นหนอง เป็นของเสียดแทง น่ารำคาญ - โดยความเป็นดังลูกศร (สลฺลโต)
แทงเอาๆ ถอนก็ยาก ตอนถอนก็เจ็บ
ฉะนั้นต้องยอมเจ็บบ้าง - โดยเป็นความลำบาก (อฆโต)
ต้องมากินอยู่ทุกวัน ไม่กินก็ไม่ได้
มีตาก็ต้องพาไปดูนั่นดูนี่ มีหูก็ต้องพาไปฟังนั่นฟังนี่
ฟังเท่าไรก็ไม่พอ ดูเท่าไรก็ไม่พอ
ถ้ายังมองเห็นว่า ฟังแล้วสุขเหลือเกิ๊นนน ...อันนี้อีกนาน - โดยเป็นอาพาธ (อาพาธโต)
ไม่สามารถทนได้ ทนไม่ไหว - โดยเป็นอย่างอื่น (ปรโต)
เหมือนเป็นของคนอื่น บังคับเอาไม่ได้
อยากให้ดีก็ไม่ได้
ไม่ให้คิดมากก็ไม่ได้
ไม่มีผู้สามารถบังคับบัญชาได้อย่างแท้จริง - โดยเป็นของชำรุด (ปโลกโต)
ชำรุด แตกเสียหายได้
โลก = แตกสลาย, ป = ทั่ว - โดยเป็นอัปมงคล (อีติโต)
เป็นเสนียด เป็นจัญไร
ความจัญไรทั้งปวงรวมลงที่ขันธ์ คือมีขันธ์ก็นำมาซึ่งความพินาศมากมาย - โดยเป็นอันตราย (อุปทฺทวโต)
เพราะมีคอจึงถูกตัดคอ
มีมือนี่ตบชาวบ้านได้นะ ....อันตราย
ฆ่าปลวกก็ได้
มีปากนี่ ด่าคนก็ได้ ...อันตราย
การใช้ชีวิตอยู่อย่างไม่มีเครื่องรับรองนี้มันอันตราย
มีสติก็พออุ่นใจ แต่ยังไม่เด็ดขาด
ต้องหยั่งลงสู่สัมมตนิยาม
คือ อริยมรรคเกิดนั่นแหละจึงจะวางใจได้ - โดยเป็นภัย (ภยโต)
เป็นของน่ากลัว อีก 5 นาทีข้างหน้าจะไปตีหัวใครรึป่าวก็ไม่รู้
ตอนนี้คิดดีอยู่ อีก 2 นาทีข้างหน้าอาจจะคิดร้ายก็ได้
ถ้าตอนนี้ไม่มีกิเลส โอ๊ยดีแล้ว ... ประมาท
รูปก็เป็นที่ัตัึ้งแห่งอันตราย ใจก็เป็นที่ตั้งของอกุศล - โดยเป็นอุปสรรค (อุปสคฺคโต)
จะทำอะไรก็รู้สึกติดขัด เป็นอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ
อยากบรรลุเหลือเกินแต่...เสียดายยย
ฟังธรรมะดีๆ กำลังอยากบรรลุ ...ออกจากห้องไป ....เรียบร้อย อยากกินนู่นนี่
เป็นความขัดข้อง เป็นอุปสรรคแก่ความสงบที่น่ายินดี - โดยเป็นความหวั่นไหว (จลโต)
จิตไปไหวไปเรื่องนู้นทีเรื่องนี้ที
เหมือนรู้เรื่อง เหมือนเข้าใจ สักพักไม่เข้าใจอีกแล้ว ไหวไปมา
ขันธ์มันก็ทะเลาะกันเอง สับสนวุ่นว
หวั่นไหวด้วยความแก่และความตาย
หวั่นไหวด้วยอำนาจโลกธรรม ที่ไหนมีความโลภ ที่นั่นมีความวุ่นวาย - โดยเป็นของผุพัง (ปภงฺคโต)
ภังค = แตกสลาย, ป = ทั่ว
โดยที่สุดแม้รูปพระศาสดาก็แตกสลายที่กุสินารา - โดยเป็นของไม่ยั่งยืน (อทฺธุวโต)
- โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน (อตาณโต)
เรากำลังเดินหน้าไปสู่ความตาย อะไรจะยื้อไว้ได้บ้าง
ไม่รู้จะหาอะไรมาคุ้มครองให้มันปลอดภัย - โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน (อเลณโต)
ไม่มีที่หลีกเร้น ไปอยู่เกาะไหนถึงจะไม่ตาย
เปลี่ยนที่อาจจะหนีพ้นเสียงนินทา แต่ไม่พ้นความตายไปได้
จะไปซ่อนที่ไหนก็ไม่ได้ จะเป็นที่ให้ใครมาซ่อนก็ไม่ได้ - โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง (อสรณโต)
ที่พึ่งไม่มีในโลก ที่พึ่งไม่มีในขันธ์ 5
จะเอาจิตไปพึ่งกับเวทนาใดๆ สัญญาใดๆ สังขารใดๆ รูปใดๆ ก็พึ่งใครไม่ได้
และก็เป็นที่พึ่งให้ใครก็ไม่ได้ - โดยเป็นความว่างเปล่า (ริตฺตโต)
ว่างจากตัวตน
ว่างจากความยั่งยืน
ว่างจากความงดงาม
ว่างจากสิ่งที่คนพาลถือเอาว่าเป็นเช่นนั้น เช่น ไปซื้อดอกบัวก็หวังว่ามันจะบานตลอดไป - โดยความเปล่า (ตุจฺฉโต)
คำพูด "เรา" ก็เป็นเพียง "วาทะ" ไม่ได้เป็นอะไร
ถึงจะจับให้มันเป็นมันก็ไม่ได้เป็นอะไรอยู่ดี
ถ้ายังเห็นว่าอันใดอันนึงเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นนั่นนี่ ย่อมไม่หยั่งลงอนุโลมิกขันติ - โดยเป็นสุญญะ (สุญฺญโต)
เว้นจากผู้เป็นเจ้าของ ผู้สร้าง ผู้เสพเสวย ผู้สิงสถิต ผู้อาศัย - โดยเป็นอนัตตา (อนตฺตโต)
ไม่มีตัวตน ไม่มีเจ้าของ ไม่มีอำนาจไปบังคับอะไรได้
แม้แต่ตนยังไม่ได้เป็นเจ้าของตน และขันธ์ก็ไม่ได้เป็นของใครๆ - โดยเป็นโทษ (อาทีนวโต)
ไปติดข้องเมื่อไรจะเห็นผลทันใจทีเดียว ... เครียดดดดทันที
เมื่อขันธ์เกิดมา โทษของขันธ์ก็ติดตามมาด้วย
ดำเนินการไปสู่ความเข็ญใจ
อาทีนว เป็นคำเรียกเด็กกำพร้า ต้องพึ่งพาเขาไปหมด - โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา (วิปริณามโต)
ความแปรปรวนเป็นธรรมชาติ เป็นปกติของมัน
มีปกติเปลี่ยนไปโดยสองอาการ คือ แก่ และตาย - โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร (อสารกโต)
คิดว่ามีแก่น ลอกออกมาก็ไม่มี เหมือนต้นกล้วย
ไม่มีแก่นคือ ความเที่ยง ความสุข ความเป็นอัตตา ไม่มีเลย - โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก (อฆมูลโต)
ความลำบากที่กำเนิดขึ้นมาภายหลังนี่มีมูลมาจากกายใจ
ต้องมากินข้าว มาหายใจ มาทำมาหากิน
มีลูกมาคนนึง ลำบากไปนาน
ถ้ามีลูกก็เพลิดเพลินเพราะลูก ... อันนี้ก็ยังอีกนาน 555
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง สุขอย่างอิสระ ไม่ติดข้อง
เห็นเหตุแห่งความทุกข์ยาก - โดยเป็นดังเพชฌฆาต (วธกโต)
เป็นผู้ฆ่า ฆ่าไม่บอกไม่กล่าว
หลอกเราไปทำนู่นนี่ แล้วก็ฆ่าทิ้ง
ให้เราไปหาเงินหาทอง รักษาหน้า ทำความดี
ยังไม่ทันทำถึงที่สุดเลย
วันดีคืนดีฟันคอฉึบ ตายด่วนๆ โหดสัสรัสเซีย
ไม่สามารถไว้วางใจได้เลย
เป็นผู้ฆ่าความไว้วางใจ
เป็นศัตรูที่หน้าเหมือนมิตร เหมือนจะไว้ใจได้ แต่ในที่สุดจะเป็นที่ตั้งแห่งน้ำตาจนได้ - โดยเป็นความเสื่อมไป (วิภวโต)
ปราศจากความเจริญ มีแต่ความเสื่อม - โดยเป็นของมีอาสวะ (สาสวโต)
เป็นอารม์ของอาสวะ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของกามาสวะ
เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์ของ ภวาสวะ
วิญญาณ เป็นอารมณ์ของอวิชชาสวะ - โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขตโต)
ขันธ์ทั้ง 5 จะปรุงไปเรื่อยแหละ ลองนั่งดู
หน้าที่ของเราคือมี ขันติ
ขันธ์ปรุงอย่าปรุงตามมัน อันนี้เรียกขันติ
เป็นของถูกปรุงแต่งไว้ เป็นสิ่งที่เหตุปัจจัยทั้งหลายสร้างขึ้น ถ้าหมดเหตุจะคงอยู่ไม่ได้เลย - โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร (มารามิสโต)
มารก็มีหลายอย่าง เช่น มัจจุมาร กายได้มาแล้วก็เป็นเหยื่อของความตาย
เป็นเหยื่อของกิเลส หัวปั่นอยู่ทุกวันนี้คือเป็นเหยื่อกิเลสอยู่
ท่านไม่ได้สอนให้เราต้องทำความดีเยอะๆ
แต่สอนให้เห็นว่า นี่ที่พูด ที่ทำอยู่นี่ เป็นเหยื่อกิเลสอยู่เห็นไหม?
อย่าฮุบเหยื่อนะ จะตกเป็นเหยื่อเอง 5555
หลงทำตามความคิดนี้อีกละ...
กายก็เป็นเหยื่อของความตาย ใจก็เป็นเหยื่อของกิเลส - โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา (ชาติธรมฺมโต)
ขันธ์เกิดเป็นปกติ เดี๋ยวก็เกิด เดี๋ยวก็เกิด
ธมฺมโต = เป็นปกติ เป็นอย่างนั้นเอง - โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา (ชราธมฺมโต)
- โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา (พยาธิธมฺมโต)
- โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา (มรณธมฺมโต)
- โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา (โสกธมฺมโต)
ธมฺมโต = เป็นเหตุ - โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา (ปริเทวธมฺมโต)
มีความคร่ำครวญร้องไห้
ธมฺมโต = เป็นเหตุ - โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา (อุปายาสธมฺมโต)
ความแห้งใจ
ธมฺมโต = เป็นเหตุ - โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา (สงฺกิเลสิกธมฺมโต)
แป๊บเดียวก็เศร้าหมองแล้ว
เศร้าหมองเพราะกิเลส
ธมฺมโต = เป็นเหตุ
การพิจารณาขันธ์ 5 โดยอาการ 40
- นัยพิจารณาเช่นนี้ เรียกว่า วิปัสสนา หรือ กลาปสัมมสน
ปัญญาที่ตามเห็นอย่างนี้เรียกว่าอนิจจานุปัสสนา
50
ไม่เที่ยง/แตกทำลาย/หวั่นไหว/แตกสลาย/ไม่คงทน
มีความแปรไปเป็นธรรมดา/ไม่มีแก่น/เป็นความเสื่อม/เป็นสังขาร/มีมรณะเป็นธรรมดา
ปัญญาเห็นตามอย่างนี้อนัตตนุปัสสนา 25
ฝ่ายอื่น/อาการว่าง/อาการเปล่า/อาการสูญ/เป็นอนัตตา
ที่เหลือเป็นทุกขานุปัสสนา 125
หน้าที่ต่อสังขารคือขันติ
หน้าที่ของเราต่อฝ่ายสังขารคือขันติ
หมายถึงความคงที่ของจิต
มั่นคง เฉยอยู่ได้
ไม่วอกแวก หวั่นไหว หรือโน้มเอียงไปกับมัน
เป็นปัญญาวิปัสสนา
ฝ่ายสังขารนี่ ฝึกฝนจนมั่นคงต่อฝ่ายสังขาร
ยอมรับมันได้ ไม่ว่ามันจะเป็นยังไง
ผู้ที่มีความคงที่ของจิตที่สุดคือพระอรหันต์
ขันติมี 3 ลำดับ อ่อน กลาง แก่
อย่างอ่อน
ใจเริ่มมั่นคงเมื่อเห็นความจริงของสังขารทั้งหลาย
(ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน)
ญาณที่ 3 เป็นต้นไป
สัมมสณญาณ - เป็นปัญญารวบสังขารทั้งหลายมีลักษณะอย่างนี้
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ยังมีเจือด้วยความคิด
ตอนฝึกใหม่ๆ มันก็จะคอยรวบให้มาดูอย่างนี้
ถ้าไม่รวบ ทำไปๆ ก็จะแตกระแหงไปเรื่อย
คำว่ารวบ หมายถึง ให้ใจโยนิโสฯ เข้าไป
ใส่ใจเข้าไปในมุมนี้
ถ้าไม่รวบก็จะติดอยู่นาน
อุทยัพยญาณ - เห็นเกิด เห็นดับของสังขารปัจจุบัน ไม่ได้รวบ เพราะมันไม่ได้เจือด้วยความคิด
อย่างกลาง
ภังคญาณ จนถึง สังขารุเปกขาญาณ
อย่างแก่
สัจจานุโลมฯ ก่อนเกิดอริยมรรค
หมายถึงความคงที่ของจิต
มั่นคง เฉยอยู่ได้
ไม่วอกแวก หวั่นไหว หรือโน้มเอียงไปกับมัน
เป็นปัญญาวิปัสสนา
ฝ่ายสังขารนี่ ฝึกฝนจนมั่นคงต่อฝ่ายสังขาร
ยอมรับมันได้ ไม่ว่ามันจะเป็นยังไง
ผู้ที่มีความคงที่ของจิตที่สุดคือพระอรหันต์
ขันติมี 3 ลำดับ อ่อน กลาง แก่
อย่างอ่อน
ใจเริ่มมั่นคงเมื่อเห็นความจริงของสังขารทั้งหลาย
(ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน)
ญาณที่ 3 เป็นต้นไป
สัมมสณญาณ - เป็นปัญญารวบสังขารทั้งหลายมีลักษณะอย่างนี้
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ยังมีเจือด้วยความคิด
ตอนฝึกใหม่ๆ มันก็จะคอยรวบให้มาดูอย่างนี้
ถ้าไม่รวบ ทำไปๆ ก็จะแตกระแหงไปเรื่อย
คำว่ารวบ หมายถึง ให้ใจโยนิโสฯ เข้าไป
ใส่ใจเข้าไปในมุมนี้
ถ้าไม่รวบก็จะติดอยู่นาน
อุทยัพยญาณ - เห็นเกิด เห็นดับของสังขารปัจจุบัน ไม่ได้รวบ เพราะมันไม่ได้เจือด้วยความคิด
อย่างกลาง
ภังคญาณ จนถึง สังขารุเปกขาญาณ
อย่างแก่
สัจจานุโลมฯ ก่อนเกิดอริยมรรค
วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560
เห็นโดยความเป็นของเที่ยงเป็นไฉน
เห็นคนเป็นคน
เห็นต้นไม้เป็นต้นไม้
และหลงไปตามสิ่งที่เห็นว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ
นี่ล่ะเห็นโดยความเป็นของเที่ยง
ยังเห็นสังขารใดๆ เป็นของเที่ยง
เกิดโทสะ เห็นโทสะเกิดแล้วดับไป
เราดูอยู่
คนดูเที่ยง...
ตัวเราดูอยู่ ตัวเราเที่ยง
ที่ถูกคือมาดูตามความเป็นจริง
มาคอยสังเกต
แต่ไม่ใช่เพ่งตัวดู*** แค่รู้สึกถึงมันก็พอ
ว่าทั้งผู้รู้ และสิ่งที่ถูกรู้ก็ไม่มีจริง
อิงอาศัยกันเกิด
สักหน่อยก็กลายเป็นไปคิด ไปดู ฯลฯ
ผู้รู้ไม่ได้ถาวรยืนยง
ถ้ายังมีอันใดอันหนึ่งเที่ยงอยู่
การจะมีอนุโลมิกขันติ ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นไปได้
***หมายเหตุ
ถ้ามาเพ่งตัวดู
ก็ทำได้ แต่ให้รู้ว่าเป็นการทำอรูปฌาน
วิญญาณัญจายตนะ
ทำได้ แต่จะไม่เกิดปัญญาเห็นตามจริง
เห็นต้นไม้เป็นต้นไม้
และหลงไปตามสิ่งที่เห็นว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ
นี่ล่ะเห็นโดยความเป็นของเที่ยง
ยังเห็นสังขารใดๆ เป็นของเที่ยง
เกิดโทสะ เห็นโทสะเกิดแล้วดับไป
เราดูอยู่
คนดูเที่ยง...
ตัวเราดูอยู่ ตัวเราเที่ยง
ที่ถูกคือมาดูตามความเป็นจริง
มาคอยสังเกต
แต่ไม่ใช่เพ่งตัวดู*** แค่รู้สึกถึงมันก็พอ
ว่าทั้งผู้รู้ และสิ่งที่ถูกรู้ก็ไม่มีจริง
อิงอาศัยกันเกิด
สักหน่อยก็กลายเป็นไปคิด ไปดู ฯลฯ
ผู้รู้ไม่ได้ถาวรยืนยง
ถ้ายังมีอันใดอันหนึ่งเที่ยงอยู่
การจะมีอนุโลมิกขันติ ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นไปได้
***หมายเหตุ
ถ้ามาเพ่งตัวดู
ก็ทำได้ แต่ให้รู้ว่าเป็นการทำอรูปฌาน
วิญญาณัญจายตนะ
ทำได้ แต่จะไม่เกิดปัญญาเห็นตามจริง
อุภโตภาควิมุตโต
หลุดพ้นทั้งสองส่วน
กำลังสมถะเต็มที่
ถึงอรูปจึงหลุดพ้นทางกาย
ปัญญาเต็มที่
หลุดพ้นทางใจ
กำลังสมถะเต็มที่
ถึงอรูปจึงหลุดพ้นทางกาย
ปัญญาเต็มที่
หลุดพ้นทางใจ
การดำเนินชีวิต 3 ส่วน
การดำเนินชีวิตนี่แบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรก ด้านกาย
ไม่นั่งนานเกินไปจะเมื่อย
ไม่ตากแดดนานเกินไป เดี๋ยวไม่สบาย
ไม่กินอิ่มเกินไป เดี๋ยวไม่แข็งแรง
บริหารให้มันเป็นไป
ส่วนที่สอง ด้านจิตใจ
บางยุคเขาก็สนใจกาย
บางยุคเขาก็สนใจด้านจิตใจ
พระพุทธศาสนาไม่ได้ให้น้ำหนักด้านไหน
แต่ให้เรียนทั้งสองฝ่าย รู้มันตามความเป็นจริง
ส่วนที่สาม ด้านวิปัสสนา
เป็นการพัฒนาฝึกฝนให้เห็นแจ้งความจริง
ของกาย ของใจ ของโลก
เป็นวิถีที่เพิ่มมาสำหรับชาวพุทธ
หลังๆ เรามาเรียน จะเหมือนวิปัสสนาแตกเป็นส่วนๆ
เป็นศีล สมาธิ ปัญญา
แต่ละอันก็ยิบย่อยเรียนแตกละเอียดไปหมด
เรียนศีล ยังไม่ใช่วิปัสสนา
เรียนสมาธิ ยังไม่ใช่วิปัสสนา
อันนี้ แตกยิบจนจะเข้าใจมั่วเอาได้ อันนี้ต้องระวังมากๆ
ท่านสอนด้วยองค์รวม ไม่ได้สอนแยก
ไตรสิกขานี่คือวิปัสสนา
เป็นการฝึกฝนพรหมจรรย์
ให้มีชีวิตอยู่ได้ด้วยความไม่ทุกข์
หรือแตกการเรียนเป็นสมถะวิปัสสนา
อันที่จริงการปฏิบัตินี้ก็ไม่ได้แตกแยกกัน
เป็นธรรมคู่ ทำคู่กัน
คู่คือ มันขาดกันไม่ได้
มันคือการทำให้องค์ 8 พร้อม
จริงๆ ไม่ได้แยกกัน
มันเป็นวิถีชีวิตเท่านั้น
ส่วนแรก ด้านกาย
ไม่นั่งนานเกินไปจะเมื่อย
ไม่ตากแดดนานเกินไป เดี๋ยวไม่สบาย
ไม่กินอิ่มเกินไป เดี๋ยวไม่แข็งแรง
บริหารให้มันเป็นไป
ส่วนที่สอง ด้านจิตใจ
บางยุคเขาก็สนใจกาย
บางยุคเขาก็สนใจด้านจิตใจ
พระพุทธศาสนาไม่ได้ให้น้ำหนักด้านไหน
แต่ให้เรียนทั้งสองฝ่าย รู้มันตามความเป็นจริง
ส่วนที่สาม ด้านวิปัสสนา
เป็นการพัฒนาฝึกฝนให้เห็นแจ้งความจริง
ของกาย ของใจ ของโลก
เป็นวิถีที่เพิ่มมาสำหรับชาวพุทธ
หลังๆ เรามาเรียน จะเหมือนวิปัสสนาแตกเป็นส่วนๆ
เป็นศีล สมาธิ ปัญญา
แต่ละอันก็ยิบย่อยเรียนแตกละเอียดไปหมด
เรียนศีล ยังไม่ใช่วิปัสสนา
เรียนสมาธิ ยังไม่ใช่วิปัสสนา
อันนี้ แตกยิบจนจะเข้าใจมั่วเอาได้ อันนี้ต้องระวังมากๆ
ท่านสอนด้วยองค์รวม ไม่ได้สอนแยก
ไตรสิกขานี่คือวิปัสสนา
เป็นการฝึกฝนพรหมจรรย์
ให้มีชีวิตอยู่ได้ด้วยความไม่ทุกข์
หรือแตกการเรียนเป็นสมถะวิปัสสนา
อันที่จริงการปฏิบัตินี้ก็ไม่ได้แตกแยกกัน
เป็นธรรมคู่ ทำคู่กัน
คู่คือ มันขาดกันไม่ได้
มันคือการทำให้องค์ 8 พร้อม
จริงๆ ไม่ได้แยกกัน
มันเป็นวิถีชีวิตเท่านั้น
วิปัสสนาเป็นวิถีชีวิต
วิปัสสนาเป็นวิถีชีวิต
เป็นวิธีการฝึกฝนเพื่อให้เห็นแจ้ง
เห็นความจริงของกาย ใจ ของสิ่งต่างๆ
เมื่อเห็นความจริงก็จะเบื่อหน่าย >>>
คลายกำหนัด >>>
หลุดพ้น ไปตามลำดับ
พวกเราชอบอยากจะหลุด ... แต่ไม่ยอมปล่อย 5555
เป็นวิธีการฝึกฝนเพื่อให้เห็นแจ้ง
เห็นความจริงของกาย ใจ ของสิ่งต่างๆ
เมื่อเห็นความจริงก็จะเบื่อหน่าย >>>
คลายกำหนัด >>>
หลุดพ้น ไปตามลำดับ
พวกเราชอบอยากจะหลุด ... แต่ไม่ยอมปล่อย 5555
วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ความเป็นเพื่อน
ลองสังเกตจิตใจตนเองดีๆ
ที่ว่าเป็นเพื่อนกันอะไรทั้งหลาย
ปกติมักจะมีอะไรเกินๆ มากกว่าความเป็นเพื่อน เป็นมิตร
กัลยาณมิตรอย่างพระพุทธเจ้านี่
ท่านไม่ได้บอกว่าท่านจะช่วยเรา
ท่านมาบอกข่าวดีให้...
ว่าต้องช่วยตัวเองนะ
จบข่าว 5555
เพื่อนจริงเขาทำแค่นี้...
บอกความจริง
ไม่ใช่ว่าเป็นเพื่อนกันเพื่อจะครอบงำกัน
หรือให้เขามาพึ่งเรา
แบบนี้ผิดพลาด
มันต้องการมีอำนาจเหนือกันและกัน
(แบบนี้เป็นความคิดเบียดเบียนอย่างหนึ่ง)
การเป็นเพื่อนเป็นมิตรนี่
เราต้องการให้เขาเป็นอิสระ
อิสระจากเรา
อิสระจากทุกคน
อิสระจากโลก
ดูเจตนาดีๆ
เหมือนเราให้ของใคร
ให้ด้วยเจตนาอะไร
เป็นเพื่อนกัน เป็นมิตรกัน
แล้วมีระหว่างบรรทัดว่า "จะได้พึ่งพาอาศัยกัน"
ดูเจตนาที่จะหวังผลเอาประโยชน์จากเพื่อน
คิดแบบนี้เป็นความติดข้อง
ความเป็นเพื่อนไม่ต้องหวังผลประโยชน์อะไร
เราเป็นเพื่อนเขา
เพื่อที่เขาจะได้ช่วยตนเองได้
ไม่ต้องพึ่งเราอีก
ที่ว่าเป็นเพื่อนกันอะไรทั้งหลาย
ปกติมักจะมีอะไรเกินๆ มากกว่าความเป็นเพื่อน เป็นมิตร
กัลยาณมิตรอย่างพระพุทธเจ้านี่
ท่านไม่ได้บอกว่าท่านจะช่วยเรา
ท่านมาบอกข่าวดีให้...
ว่าต้องช่วยตัวเองนะ
จบข่าว 5555
เพื่อนจริงเขาทำแค่นี้...
บอกความจริง
ไม่ใช่ว่าเป็นเพื่อนกันเพื่อจะครอบงำกัน
หรือให้เขามาพึ่งเรา
แบบนี้ผิดพลาด
มันต้องการมีอำนาจเหนือกันและกัน
(แบบนี้เป็นความคิดเบียดเบียนอย่างหนึ่ง)
การเป็นเพื่อนเป็นมิตรนี่
เราต้องการให้เขาเป็นอิสระ
อิสระจากเรา
อิสระจากทุกคน
อิสระจากโลก
ดูเจตนาดีๆ
เหมือนเราให้ของใคร
ให้ด้วยเจตนาอะไร
เป็นเพื่อนกัน เป็นมิตรกัน
แล้วมีระหว่างบรรทัดว่า "จะได้พึ่งพาอาศัยกัน"
ดูเจตนาที่จะหวังผลเอาประโยชน์จากเพื่อน
คิดแบบนี้เป็นความติดข้อง
ความเป็นเพื่อนไม่ต้องหวังผลประโยชน์อะไร
เราเป็นเพื่อนเขา
เพื่อที่เขาจะได้ช่วยตนเองได้
ไม่ต้องพึ่งเราอีก
โสดาปัตติยังคะ
โสดาปัตติยังคะ มี 2 แบบ
แบบเป็นเหตุ
แบบเป็นผล
แบบเป็นผล คือพระโสดาบันมีคุณสมบัติ 4 อย่างนี้
แบบเป็นเหตุ
แบบเป็นผล
แบบเป็นผล คือพระโสดาบันมีคุณสมบัติ 4 อย่างนี้
- เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธ
- เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระธรรม
- เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
- มีศีลเป็นอริยกันตสีล
แบบเป็นเหตุ คือยังไม่เป็นพระโสดาบัน ต้องอาศัยเหตุ 4 อย่างนี้
- คบสัตบุรุษ - ท่านเป็นใคร ท่านสอนอะไร
- ฟังพระสัทธรรม - ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ อะไรคือมรรค อะไรคือผล อะไรคือนิพพาน
- โยนิโสมนสิการ - ฝึกฝนให้ใส่ใจให้ถูกตัว ให้ถูกต้อง
- ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ปฏิบัติธรรม ให้ "สมควร" แก่ธรรม
ปฏิบัติให้สอดคล้องกับโลกุตตรธรรม
ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อเอาอะไร
ไม่ใช่เอาดี
เอาสงบ
เอาความมั่นคงถาวร
เอาพรรคเอาพวก
ปฏิบัติธรรมให้สอดคล้องกับธรรม
ธรรมเป็นอย่างนี้
เราก็ปฏิบัติเพื่อให้เห็นอย่างนี้
ของมันไม่ใช่ของเราจริง
ก็ปฏิบัติให้มันเห็นว่ามันไม่ใช่จริงๆ
ไม่ใช่มาตู่เอานั่นนี่
ปฏิบัติให้สอดคล้องกับโลกุตตรธรรม
ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อเอาอะไร
ไม่ใช่เอาดี
เอาสงบ
เอาความมั่นคงถาวร
เอาพรรคเอาพวก
ปฏิบัติธรรมให้สอดคล้องกับธรรม
ธรรมเป็นอย่างนี้
เราก็ปฏิบัติเพื่อให้เห็นอย่างนี้
ของมันไม่ใช่ของเราจริง
ก็ปฏิบัติให้มันเห็นว่ามันไม่ใช่จริงๆ
ไม่ใช่มาตู่เอานั่นนี่
โยนิโสมนสิการ
ฝึกฝนให้ใส่ใจให้ถูกตัว ให้ถูกต้อง
แต่เดิมสนใจแต่ข้างนอก
คนนั้นว่างี้ คนนี้ว่างี้
สนใจข้างนอกแบบนี้มันผิดพลาด
เลยเกิดอันนั้นดี อันนี้ไม่ดี
ความคิดความเห็นก็เพี้ยนตาม
ใส่ใจมาในทางที่จะทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ
ในทางที่ทำให้เกิด ศีล สมาธิ ปัญญา
ใส่ใจเข้ามาภายใน
ในกายตอนนี้เป็นอย่างไร
ในใจตอนนี้เป็นอย่างไร
ไม่ใช่ในมุมที่เพื่อรักตัวเอง
แต่เป็นในมุมเพื่อจะเห็นความจริง
ว่ามันไม่เที่ยง ฯ
ให้เกิดเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง
เมื่อเข้าใจถูกก็จะคิดถูก พูดถูก ทำถูก
ใส่ใจเข้ามาภายใน
ในกายตอนนี้เป็นอย่างไร
ในใจตอนนี้เป็นอย่างไร
ไม่ใช่ในมุมที่เพื่อรักตัวเอง
แต่เป็นในมุมเพื่อจะเห็นความจริง
ว่ามันไม่เที่ยง ฯ
ให้เกิดเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง
เมื่อเข้าใจถูกก็จะคิดถูก พูดถูก ทำถูก
สดับพระสัทธรรม - ฟังอะไร
สัทธรรม - ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
ฟังให้เข้าใจว่า
อะไรคือมรรค
อะไรคือผล
อะไรคืออริยมรรค
อะไรคืออริยผล
อะไรคือนิพพาน
ไม่ใช่ฟังเรื่อง - เกิดแก่เจ็บตาย
แต่ฟังเรื่อง - ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
ไม่ใช่ฟังเรื่อง - กรรม
แต่ฟังเรื่อง - เหนือกรรม อิสระจากกรรม
ไม่ใช่ฟังเรื่อง - ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะเป็นเทวดา
แต่ฟังเรื่อง - ทำยังไงจะไม่ไปอบาย ทำยังไงจะไม่ไปเทวดา ทำยังไงจะทำลายภพได้
ฟังเรื่อง - ทำยังไงจะเหนือดี/ชั่ว บวก/ลบ ความเป็นของคู่
ฟังให้เข้าใจว่า
อะไรคือมรรค
อะไรคือผล
อะไรคืออริยมรรค
อะไรคืออริยผล
อะไรคือนิพพาน
ไม่ใช่ฟังเรื่อง - เกิดแก่เจ็บตาย
แต่ฟังเรื่อง - ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
ไม่ใช่ฟังเรื่อง - กรรม
แต่ฟังเรื่อง - เหนือกรรม อิสระจากกรรม
ไม่ใช่ฟังเรื่อง - ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะเป็นเทวดา
แต่ฟังเรื่อง - ทำยังไงจะไม่ไปอบาย ทำยังไงจะไม่ไปเทวดา ทำยังไงจะทำลายภพได้
ฟังเรื่อง - ทำยังไงจะเหนือดี/ชั่ว บวก/ลบ ความเป็นของคู่
เมื่อสัตบุรุษสอนเรื่องกฏแห่งกรรม
กฏแห่งกรรมนี่
ไม่ได้เรียนเพื่ออยู่ภายใต้มัน
ไม่ได้เรียนแล้วให้ชอบกุศล เกลียดอกุศล
แบบนี้ก็ยังเรียนมั่วอยู่
ยังเรียนไม่ถึงพระพุทธเจ้า
แต่เรียนเพื่อให้มันเห็นว่า
กฏแห่งกรรมนี่มันเป็น "มหันตภัย" เลย
ให้เห็นว่าถูกขังอยู่ด้วยความไม่รู้
วนไปวนมาตามกฏแห่งกรรม
สัตบุรุษท่านสอนให้เราไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
คือสอนให้พ้นจากวงจรไป
ไม่ได้สอนว่า "เรามีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์...."
ว่าไปแล้วจบอยู่แค่จงวนไปเถอะ
แบบนี้ยังไม่ได้พบสัตบุรุษ
ปลอดภัยรึยัง
เรานี้ไม่ฆ่าสัตว์
ไม่ผิดลูกเมียใคร
นี่เรียกว่าปลอดภัยรึยัง
ยัง...มันยังไม่หน้ามืด
ฉะนั้นตราบเท่าที่กิเลสยังไม่ถูกถอน
ยังไม่ปลอดภัย
การกระทำแรงๆ มันก็ทำตอนหน้ามืดนั่นแหละ
อะไรที่ยังถอนไม่ได้
ก็ยังมีอันตรายทั้งหมดนั่นล่ะ
การฝึกฝนนี่คือฝึกถอดถอนกิเลส
ฝึกไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ต้องรอกิเลสเกิด
ถอนได้แล้วก็สบายใจ
ไม่ผิดลูกเมียใคร
นี่เรียกว่าปลอดภัยรึยัง
ยัง...มันยังไม่หน้ามืด
ฉะนั้นตราบเท่าที่กิเลสยังไม่ถูกถอน
ยังไม่ปลอดภัย
การกระทำแรงๆ มันก็ทำตอนหน้ามืดนั่นแหละ
อะไรที่ยังถอนไม่ได้
ก็ยังมีอันตรายทั้งหมดนั่นล่ะ
การฝึกฝนนี่คือฝึกถอดถอนกิเลส
ฝึกไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ต้องรอกิเลสเกิด
ถอนได้แล้วก็สบายใจ
กรรมเก่า เจ้ากรรมนายเวร
กรรมเก่า
เจ้ากรรมนายเวร
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่ล่ะ
คุณภาพของใจที่ได้มานี่แหละเป็นเจ้ากรรมนายเวร
มันให้ผลเรามาแล้ว
สมมติเขาด่าเราปั๊บ
เราโกรธทันที
นี่คือ เจ้ากรรมนายเวรให้ผลละ
ถ้าเราไปทำตามมันต่อไป
ไม่ฝึกให้มันค่อยๆ ละไป หมดไป
หรือควบคุมเพื่อจะสำรวมระวังต่อไป
ก็เท่ากับว่าโดนมันเล่นตลอด
วนไป...ไม่สิ้นสุดสักที
ถ้าไม่ทำเกิน
เวรและภัยจากการไปเบียดเบียนก็ไม่มี
ไม่ได้คิดว่าคนนี้จะมาตีหัว
ไม่ได้คิดว่าคนนี้จะมาเอาคืน
ไม่ได้คิดว่าคนนี้จะเป็นศัตรู เป็นคู่แค้น
ไม่มีความเครียด ไม่วิตก ไม่มึน ฯลฯ
ความทุกข์โทมนัสในจิตก็ไม่มี
ภัยเวรส่วนนี้ก็ระงับไป
แต่ที่ยังทุกข์มากแบบนี้เพราะ "เจตนา" มันยังคงอยู่
เราชอบไปคิดกันว่าเจ้ากรรมนายเวรเป็นคนอื่น
เช่น วันนี้เราไปตีนาย ก.
ต่อไปนาย ก. จะมาตีเราคืน
เอาคืนชาตินี้ไม่ได้ ก็เอาคืนชาติหน้า
อันนี้เขาเรียกกฏแห่งกรรม โง่มาก 5555
มันไม่ใช่อย่างงั้นสักกะหน่อย
สิ่งที่เป็นเจตนาที่สะสมอยู่ในตัวเรานี่แหละ
ที่กลายเป็นอุปนิสัยใจคอ
ที่ทำให้เราหยาบกระด้าง
เห็นความคิดร้ายๆ เป็นเรื่องธรรมดา
เหมือนเราทำความผิดบ่อยๆ
เห็นความผิดบ่อยๆ
ไม่สำรวมระวัง ไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
ก็จะเห็นมันเป็นเรื่องธรรมดา และสะสมเพิ่มขึ้น
การสะสมเพิ่มขึ้นนี่แหละ
คือสิ่งที่เราได้มา
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คุณภาพของใจนี่แหละที่เรียกว่า "เจ้ากรรมนายเวร"
ใครเจ้ากรรมนายเวรไม่ดี
คือสะสมมาไม่ดี
พอกระทบอารมณ์อะไร
สิ่งที่ไม่ดีก็จะโผล่ขึ้นมาเยอะ
ความหมายคือ คุณก็ได้รับผลแล้ว
ทุกข์เยอะแล้ว โกรธนี่มีความสุขที่ไหนกัน
นี่แหละการให้ผลของเจ้ากรรมนายเวร
เพราะคุณชอบโกรธมา
ชอบสะสมความไม่พอใจมา
ชอบเก็บความอาฆาตแค้นมา
เห็นใครทำอะไรนิดอะไรหน่อยก็อาฆาตแค้น
ใจเป็นทุกข์หรือสุขกันล่ะ
นี่ล่ะ...เจ้ากรรมนายเวรเล่นแล้ว
ใครจะมาช่วยแก้ได้
ก็มีแต่ฝึกสติสัมปชัญญะให้สำรวมยิ่งๆ ขึ้นเท่านั้น
แต่เราดันไปหาเจ้ากรรมนายเวรที่อื่น
เจ้ากรรมนายเวร
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่ล่ะ
คุณภาพของใจที่ได้มานี่แหละเป็นเจ้ากรรมนายเวร
มันให้ผลเรามาแล้ว
สมมติเขาด่าเราปั๊บ
เราโกรธทันที
นี่คือ เจ้ากรรมนายเวรให้ผลละ
ถ้าเราไปทำตามมันต่อไป
ไม่ฝึกให้มันค่อยๆ ละไป หมดไป
หรือควบคุมเพื่อจะสำรวมระวังต่อไป
ก็เท่ากับว่าโดนมันเล่นตลอด
วนไป...ไม่สิ้นสุดสักที
ถ้าไม่ทำเกิน
เวรและภัยจากการไปเบียดเบียนก็ไม่มี
ไม่ได้คิดว่าคนนี้จะมาตีหัว
ไม่ได้คิดว่าคนนี้จะมาเอาคืน
ไม่ได้คิดว่าคนนี้จะเป็นศัตรู เป็นคู่แค้น
ไม่มีความเครียด ไม่วิตก ไม่มึน ฯลฯ
ความทุกข์โทมนัสในจิตก็ไม่มี
ภัยเวรส่วนนี้ก็ระงับไป
แต่ที่ยังทุกข์มากแบบนี้เพราะ "เจตนา" มันยังคงอยู่
เราชอบไปคิดกันว่าเจ้ากรรมนายเวรเป็นคนอื่น
เช่น วันนี้เราไปตีนาย ก.
ต่อไปนาย ก. จะมาตีเราคืน
เอาคืนชาตินี้ไม่ได้ ก็เอาคืนชาติหน้า
อันนี้เขาเรียกกฏแห่งกรรม โง่มาก 5555
มันไม่ใช่อย่างงั้นสักกะหน่อย
สิ่งที่เป็นเจตนาที่สะสมอยู่ในตัวเรานี่แหละ
ที่กลายเป็นอุปนิสัยใจคอ
ที่ทำให้เราหยาบกระด้าง
เห็นความคิดร้ายๆ เป็นเรื่องธรรมดา
เหมือนเราทำความผิดบ่อยๆ
เห็นความผิดบ่อยๆ
ไม่สำรวมระวัง ไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
ก็จะเห็นมันเป็นเรื่องธรรมดา และสะสมเพิ่มขึ้น
การสะสมเพิ่มขึ้นนี่แหละ
คือสิ่งที่เราได้มา
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คุณภาพของใจนี่แหละที่เรียกว่า "เจ้ากรรมนายเวร"
ใครเจ้ากรรมนายเวรไม่ดี
คือสะสมมาไม่ดี
พอกระทบอารมณ์อะไร
สิ่งที่ไม่ดีก็จะโผล่ขึ้นมาเยอะ
ความหมายคือ คุณก็ได้รับผลแล้ว
ทุกข์เยอะแล้ว โกรธนี่มีความสุขที่ไหนกัน
นี่แหละการให้ผลของเจ้ากรรมนายเวร
เพราะคุณชอบโกรธมา
ชอบสะสมความไม่พอใจมา
ชอบเก็บความอาฆาตแค้นมา
เห็นใครทำอะไรนิดอะไรหน่อยก็อาฆาตแค้น
ใจเป็นทุกข์หรือสุขกันล่ะ
นี่ล่ะ...เจ้ากรรมนายเวรเล่นแล้ว
ใครจะมาช่วยแก้ได้
ก็มีแต่ฝึกสติสัมปชัญญะให้สำรวมยิ่งๆ ขึ้นเท่านั้น
แต่เราดันไปหาเจ้ากรรมนายเวรที่อื่น
ทุกข์เป็นส่วนเกิน
ทุกข์ที่ได้มานี้มันเป็นส่วนเกิน
ไม่รู้ แล้วก็ไปทำเกิน
ในโลกมันก็วนเวียนกันไป
ดีบ้างไม่ดีบ้าง
แต่เราอยากไปเอาคืนบ้าง
อยากไปทำร้ายเขาบ้าง
ไปวิพากษ์วิจารณ์บ้าง
แบบนี้เป็นความเกิน
พอเกินมันก็ทุกข์
เครียด หวั่นไหวไปตามโลก
ไปมัวคิดว่าคนนี้จะมาว่า คนนั้นจะมาทำร้าย
แล้วก็ไปโทษคนอื่น
คือถ้าไม่มีความเกินตรงนี้
ก็เรียกว่า "ภัยเวรระงับไป"
ทุกวันนี้ก็สัมผัปปลาปะ
เขาไม่ได้เชิญก็ไปวิจารณ์
สิ่งที่ทำให้เกินๆ ขึ้นมานี่ก็อวิชชานี่แหละ
แค่วิบากขันธ์ต้องดูแลนี่ก็ทุกข์อยู่ไม่น้อยแล้ว
ต้องบริหารก็เป็นภาระพออยู่แล้ว
เราก็ไปทำเกินมาอีก...หาเรื่อง
ไม่รู้ แล้วก็ไปทำเกิน
ในโลกมันก็วนเวียนกันไป
ดีบ้างไม่ดีบ้าง
แต่เราอยากไปเอาคืนบ้าง
อยากไปทำร้ายเขาบ้าง
ไปวิพากษ์วิจารณ์บ้าง
แบบนี้เป็นความเกิน
พอเกินมันก็ทุกข์
เครียด หวั่นไหวไปตามโลก
ไปมัวคิดว่าคนนี้จะมาว่า คนนั้นจะมาทำร้าย
แล้วก็ไปโทษคนอื่น
คือถ้าไม่มีความเกินตรงนี้
ก็เรียกว่า "ภัยเวรระงับไป"
ทุกวันนี้ก็สัมผัปปลาปะ
เขาไม่ได้เชิญก็ไปวิจารณ์
สิ่งที่ทำให้เกินๆ ขึ้นมานี่ก็อวิชชานี่แหละ
แค่วิบากขันธ์ต้องดูแลนี่ก็ทุกข์อยู่ไม่น้อยแล้ว
ต้องบริหารก็เป็นภาระพออยู่แล้ว
เราก็ไปทำเกินมาอีก...หาเรื่อง
การกระทำที่ผิด VS เธอทำผิด
เวลามีคนทำผิดแล้วมาขอโทษ-ขอขมา
ท่านจะบอกว่า
"การที่เธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษ
แล้วสำรวมระวังในกาลต่อไป
เป็นความเจริญในอริยวินัย"
สังเกตว่า ไม่ได้ใช้คำว่า "การที่เธอทำผิด"
แต่ใช้คำว่า "การกระทำที่ผิด"
การกระทำ ไม่ใช่ตัวเรา
เราทั้งหลายมักเข้าใจผิด
ไปหยิบยกการกระทำเป็นครั้งๆ นี้ ว่าเป็นตัวเรา
เช่น เราเคยกระทำผิด ก็ถือว่า "เราผิด"
แล้วก็ถือต่อ "เราต้องไปสำนึกผิด"
สิ่งที่เป็นจริงคือ "การกระทำที่ผิด" มีอยู่
แต่การไปคิดว่า "เราผิด" เป็นการแสดงถึงความยึดถือในตัวตน
การด่าเขา - การกระทำนี้ไม่ดี
ไม่ใช่ "เรา" ผิด ไม่ใช่เราไม่ดี
การโทษตนเองไม่ได้เกิดผลอะไร เพราะมันไม่มีเรา 5555
พอไปชมคนอืี่นมันก็ดี แต่ก็ไม่ใช่ "เราดี"
เพราะฉะนั้นไม่ได้มีเราอยู่ในการกระทำ
สำรวม คือการสังวร ฝึกให้มีสติสัมปชัญญะมากขึ้น
ฝึกให้มันห่างไกลจากการพูดโกหกมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น
ท่านจะบอกว่า
"การที่เธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษ
แล้วสำรวมระวังในกาลต่อไป
เป็นความเจริญในอริยวินัย"
สังเกตว่า ไม่ได้ใช้คำว่า "การที่เธอทำผิด"
แต่ใช้คำว่า "การกระทำที่ผิด"
การกระทำ ไม่ใช่ตัวเรา
เราทั้งหลายมักเข้าใจผิด
ไปหยิบยกการกระทำเป็นครั้งๆ นี้ ว่าเป็นตัวเรา
เช่น เราเคยกระทำผิด ก็ถือว่า "เราผิด"
แล้วก็ถือต่อ "เราต้องไปสำนึกผิด"
สิ่งที่เป็นจริงคือ "การกระทำที่ผิด" มีอยู่
แต่การไปคิดว่า "เราผิด" เป็นการแสดงถึงความยึดถือในตัวตน
การด่าเขา - การกระทำนี้ไม่ดี
ไม่ใช่ "เรา" ผิด ไม่ใช่เราไม่ดี
การโทษตนเองไม่ได้เกิดผลอะไร เพราะมันไม่มีเรา 5555
พอไปชมคนอืี่นมันก็ดี แต่ก็ไม่ใช่ "เราดี"
เพราะฉะนั้นไม่ได้มีเราอยู่ในการกระทำ
สำรวม คือการสังวร ฝึกให้มีสติสัมปชัญญะมากขึ้น
ฝึกให้มันห่างไกลจากการพูดโกหกมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560
เส้นตรงเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม
เมื่อถอยมาดูภาพรวม
โลกมันเป็นวงกลม
แต่เราก็ชอบไปดูมันแบบเส้นตรง
เส้นตรงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวงกลมเท่านั้น
เหมือนรู้จักคนคนหนึ่ง
เราคิดว่าเรารู้จักเขา
เช่น ผู้ชายตรงหน้า
เรารู้จักเขาว่าเขาเป็นคนดี เคยทำอย่างนั้นอย่างนี้
แต่กลับไม่รู้จักว่าเขา "ตาย" ด้วย
เห็นเขานั่งยิ้มหัวเราะอยู่
แต่กลับไม่รู้ว่าความคิดเขาอาจกลายเป็นปีศาจไปแล้ว
ความหมายคือ
คนคนหนึ่ง เขาก็เป็นทุกอย่างนั่นล่ะ
แต่เวลาเราเห็น เราจะเห็นแค่แง่มุมหนึ่ง
พอเห็นแค่นี้ เราก็เลยคิดว่าเขาเป็นแค่นี้
เส้นตรงนี่พอเห็นแค่ส่วนหนึ่ง
ก็มีเกิด แก่ ตาย
แต่พอถอยมาเห็นวงกลม
มันไม่ได้มีอายุอะไร
โลกมันเป็นวงกลม
แต่เราก็ชอบไปดูมันแบบเส้นตรง
เส้นตรงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวงกลมเท่านั้น
เหมือนรู้จักคนคนหนึ่ง
เราคิดว่าเรารู้จักเขา
เช่น ผู้ชายตรงหน้า
เรารู้จักเขาว่าเขาเป็นคนดี เคยทำอย่างนั้นอย่างนี้
แต่กลับไม่รู้จักว่าเขา "ตาย" ด้วย
เห็นเขานั่งยิ้มหัวเราะอยู่
แต่กลับไม่รู้ว่าความคิดเขาอาจกลายเป็นปีศาจไปแล้ว
ความหมายคือ
คนคนหนึ่ง เขาก็เป็นทุกอย่างนั่นล่ะ
แต่เวลาเราเห็น เราจะเห็นแค่แง่มุมหนึ่ง
พอเห็นแค่นี้ เราก็เลยคิดว่าเขาเป็นแค่นี้
เส้นตรงนี่พอเห็นแค่ส่วนหนึ่ง
ก็มีเกิด แก่ ตาย
แต่พอถอยมาเห็นวงกลม
มันไม่ได้มีอายุอะไร
สัมมส - ฟังธรรม : มารู้ในสิ่งที่ไม่รู้มาก่อน
ใส่ใจแต่ว่าคำพูดเขา
ใส่ใจแต่ว่าสนุกสนาน
ใส่ใจแต่ว่าพูดดี
อาจารย์ก็กลายเป็นนกแก้วไป
ฟังเสร็จได้แต่ความบันเทิง
อันนี้ไม่เกิดประโยชน์
ไม่ได้ตัดภพชาติให้สั้นลงเลย
ฟังเสร็จนิสัยเหมือนเดิม
ทำกรรมแบบเดิม
กลับมาเกิดตายเหมือนเดิม
ประโยชน์แท้คือกิเลสลด
ความถือมั่นลด
เรามาบนโลกเพื่อเรียนรู้อะไรบางอย่างเท่านั้น
อะไรบางอย่างที่เรายังไม่รู้
แต่เราก็ชอบมาเพื่อเอานั่นเอานี่กัน
ไปพูดกับเขาเพื่อจะรู้อะไรบางอย่าง
เราอยากฟังอย่างนี้นะ
เขาดันพูดอีกอย่าง
ก็ได้รู้แล้วว่าบังคับไม่ได้ - ได้เรียนรู้อะไรจากเขา
เราต้องคิดจากว่าเราไม่รู้
มาด้วยความรู้ ก็เสียโอกาสละ
เรียนไม่ได้
มารู้ในสิ่งที่ไม่รู้มาก่อน
การมาฟังนี่ มาฟังเพื่อให้เอาที่คิดว่ารู้แล้วออกไปเสีย
ใส่ใจแต่ว่าสนุกสนาน
ใส่ใจแต่ว่าพูดดี
อาจารย์ก็กลายเป็นนกแก้วไป
ฟังเสร็จได้แต่ความบันเทิง
อันนี้ไม่เกิดประโยชน์
ไม่ได้ตัดภพชาติให้สั้นลงเลย
ฟังเสร็จนิสัยเหมือนเดิม
ทำกรรมแบบเดิม
กลับมาเกิดตายเหมือนเดิม
ประโยชน์แท้คือกิเลสลด
ความถือมั่นลด
เรามาบนโลกเพื่อเรียนรู้อะไรบางอย่างเท่านั้น
อะไรบางอย่างที่เรายังไม่รู้
แต่เราก็ชอบมาเพื่อเอานั่นเอานี่กัน
ไปพูดกับเขาเพื่อจะรู้อะไรบางอย่าง
เราอยากฟังอย่างนี้นะ
เขาดันพูดอีกอย่าง
ก็ได้รู้แล้วว่าบังคับไม่ได้ - ได้เรียนรู้อะไรจากเขา
เราต้องคิดจากว่าเราไม่รู้
มาด้วยความรู้ ก็เสียโอกาสละ
เรียนไม่ได้
มารู้ในสิ่งที่ไม่รู้มาก่อน
การมาฟังนี่ มาฟังเพื่อให้เอาที่คิดว่ารู้แล้วออกไปเสีย
วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ขั้นตอนวิญญาณ
พระโสดาบัน
ละความเห็นผิดว่าวิญญาณเป็นตัวตน
พระอรหันต์
ละความยึดถือในวิญญาณ
วิญญาณจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ
ต้องมาหัดสังเกต
ละความเห็นผิดว่าวิญญาณเป็นตัวตน
พระอรหันต์
ละความยึดถือในวิญญาณ
วิญญาณจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ
ต้องมาหัดสังเกต
โลกุตตรจิต
โลกุตตรจิต
กุศลจิต
อกุศลจิต
พวกนี้เป็นชื่อเรียกจิต ตามอารมณ์ที่มันไปรับรู้เฉยๆ
โลกุตตรจิต คือ มันไปรับรู้โลกุตตระ
โลกุตตระนั้นไม่เกิดดับ
แต่จิตที่ไปรับรู้มัน เกิด-ดับ
กุศลจิต
อกุศลจิต
พวกนี้เป็นชื่อเรียกจิต ตามอารมณ์ที่มันไปรับรู้เฉยๆ
โลกุตตรจิต คือ มันไปรับรู้โลกุตตระ
โลกุตตระนั้นไม่เกิดดับ
แต่จิตที่ไปรับรู้มัน เกิด-ดับ
หมายเหตุอรรถกถา
อรรถกถา
มีเขียนกันหลายรุ่น
ตั้งแต่พระเถระสมัยพระอานนท์ เป็นต้นมา
สมัยลังกา ฯลฯ
มีการผ่านยุคที่ต้องต่อสู้แย่งชิงศรัทธา
เพื่อให้อยู่รอดในชาติที่ศาสนาอื่นปะปนเข้ามา
พึงทราบข้อมูลนี้ไว้
พุทธศาสนาอยู่ 5,000 ปี อันนี้มาจากอรรถกถา
แต่ในพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า
สิ่งที่จะดำรงพระศาสนาไว้ได้แก่ เหตุนี้ๆๆ
ถ้ารู้เหตุ แล้วทำตามนี้ๆๆ ก็จะรักษาพระศาสนาไว้นานเท่าใดก็ได้
เพราะความเสื่อมไม่เที่ยง
ความเจริญจึงเกิดได้
เพราะความเจริญมีเหตุ
เมื่อรักษาเหตุแห่งความเจริญ
ความเจริญก็คงต่อไปได้
มีเขียนกันหลายรุ่น
ตั้งแต่พระเถระสมัยพระอานนท์ เป็นต้นมา
สมัยลังกา ฯลฯ
มีการผ่านยุคที่ต้องต่อสู้แย่งชิงศรัทธา
เพื่อให้อยู่รอดในชาติที่ศาสนาอื่นปะปนเข้ามา
พึงทราบข้อมูลนี้ไว้
พุทธศาสนาอยู่ 5,000 ปี อันนี้มาจากอรรถกถา
แต่ในพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า
สิ่งที่จะดำรงพระศาสนาไว้ได้แก่ เหตุนี้ๆๆ
ถ้ารู้เหตุ แล้วทำตามนี้ๆๆ ก็จะรักษาพระศาสนาไว้นานเท่าใดก็ได้
เพราะความเสื่อมไม่เที่ยง
ความเจริญจึงเกิดได้
เพราะความเจริญมีเหตุ
เมื่อรักษาเหตุแห่งความเจริญ
ความเจริญก็คงต่อไปได้
ใจที่ติดข้อง
อบายจะให้ผลได้
ก็ต่อเมื่อใจยังติดข้องอยู่
ผลของการเรียนธรรม
มีเพียงความเข้าใจ และอิสระต่อสิ่งนั้น
การมีสติสัมปชัญญะ
เป็นการกระทำกรรมไมดำไม่ขาว
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
แม้วิบากดี
เมื่อเข้าใจว่ามาแต่เหตุ
ก็ไม่ติดข้องในมัน
ไม่ต้องวนเวียนอีกต่อไป
ก็ต่อเมื่อใจยังติดข้องอยู่
ผลของการเรียนธรรม
มีเพียงความเข้าใจ และอิสระต่อสิ่งนั้น
การมีสติสัมปชัญญะ
เป็นการกระทำกรรมไมดำไม่ขาว
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
แม้วิบากดี
เมื่อเข้าใจว่ามาแต่เหตุ
ก็ไม่ติดข้องในมัน
ไม่ต้องวนเวียนอีกต่อไป
ทำบุญนี่เพียงเพื่อมาเจอคำสอนเท่านั้น
ทำบุญนี่เพียงเพื่อมาเจอคำสอนเท่านั้น
ได้มาเจอคำสอนคือ
ทำมาพอแล้วจึงมาเจอ
เจอแล้วถ้าไม่ทำต่อ
อันนี้ไม่เรียก "โง่" ไม่รู้เรียกอะไร
มาเจอคำสอนถือว่าพร้อมจะบรรลุได้แล้ว
คุณสมบัติพอแล้ว
เหมือนกับกรรมเก่า
ที่ได้มาน่ะผลส่งมาถึงปัจจุบันแล้ว
จะเลือกทำ หรือไม่ทำอะไรต่อ
ได้มาเจอคำสอนคือ
ทำมาพอแล้วจึงมาเจอ
เจอแล้วถ้าไม่ทำต่อ
อันนี้ไม่เรียก "โง่" ไม่รู้เรียกอะไร
มาเจอคำสอนถือว่าพร้อมจะบรรลุได้แล้ว
คุณสมบัติพอแล้ว
เหมือนกับกรรมเก่า
ที่ได้มาน่ะผลส่งมาถึงปัจจุบันแล้ว
จะเลือกทำ หรือไม่ทำอะไรต่อ
ตทังคนิพพาน
หมายถึง ได้ลิ้มรส
ประสบกับนิพพานเป็นครั้งๆ เล็กๆ น้อยๆ
แต่เดิมมันทุกข์เยอะ
ต่อมาก็ทุกข์น้อยลง
ยังไม่ต้องถึงนิพพานจริงๆ ก็ได้
บางคนกลัวหมดตัวหมดตน
เอาที่ว่าตัวเราสุขมากขึ้น
สุขบ่อยขึ้น
สบายมากขึ้น
แทนที่จะเป็นตัวเราที่โดนบีบ
โดนกระแทก อย่างนู้นอย่างนี้
ตทังคนิพพาน คือได้เป็นครั้งๆ ยังไม่แน่ไม่นอน
เป็นประสบการณ์ของจิต
ประสบกับนิพพานเป็นครั้งๆ เล็กๆ น้อยๆ
แต่เดิมมันทุกข์เยอะ
ต่อมาก็ทุกข์น้อยลง
ยังไม่ต้องถึงนิพพานจริงๆ ก็ได้
บางคนกลัวหมดตัวหมดตน
เอาที่ว่าตัวเราสุขมากขึ้น
สุขบ่อยขึ้น
สบายมากขึ้น
แทนที่จะเป็นตัวเราที่โดนบีบ
โดนกระแทก อย่างนู้นอย่างนี้
ตทังคนิพพาน คือได้เป็นครั้งๆ ยังไม่แน่ไม่นอน
เป็นประสบการณ์ของจิต
ประโยชน์ของพุทธบริษัทคือ มีความสุข
มาเรียนธรรมก็หลอกตนเองว่า
ดิฉันมาเรียนเพื่อต้องการพ้นทุกข์
เพื่อพระนิพพานก็ว่าไป
เอาจริงๆ ก็ห่วงอยู่เยอะแยะเลย
จริงๆ ก็ไม่ต้องไปพูดตามคนอื่นหรอก
เราศึกษาธรรมก็เอาเท่าที่เราได้
ให้ทุกข์ในชีวิตมันน้อยลงก็เอาแล้ว
ยังรักสามี รักลูกหลาน
ก็รักมันไป
แต่ให้ทุกข์กับมันน้อยลง ก็พอแล้ว
นี่ก็เรียกว่าได้ประโยชน์จากธรรมะแล้ว
ดิฉันมาเรียนเพื่อต้องการพ้นทุกข์
เพื่อพระนิพพานก็ว่าไป
เอาจริงๆ ก็ห่วงอยู่เยอะแยะเลย
จริงๆ ก็ไม่ต้องไปพูดตามคนอื่นหรอก
เราศึกษาธรรมก็เอาเท่าที่เราได้
ให้ทุกข์ในชีวิตมันน้อยลงก็เอาแล้ว
ยังรักสามี รักลูกหลาน
ก็รักมันไป
แต่ให้ทุกข์กับมันน้อยลง ก็พอแล้ว
นี่ก็เรียกว่าได้ประโยชน์จากธรรมะแล้ว
ทำไม...อาการไม่ยอมรับว่ามันก็อย่างนั้นแหละ
ทำไมยังมีคนยากจนอยู่ในโลก
ทำไมยังมีคนรวยอยู่ในโลก
ทำไมไม่สอนให้รวยหมดเลย
ทำไมท่านไม่สอนให้ไปนิพพานได้หมดเลยล่ะ
ก็มันเป็นอย่างนั้นแหละ...
จบข่าว ...
ทีนี้เราก็ชอบจะเอาหลักธรรมไปให้คนนั้นดีคนนี้ไม่ดี บลาๆ
อันนี้ใช้ได้กับทุกคน
(ยกเว้นตัวเอง ฮาา)
อันนี้คืออาการที่ตัวเองไม่ยอมรับความจริง
ว่ามันใช้กับทุกคนได้ไม่ได้
ก็ทำไม..ทำไมอยู่นั่น
มันไม่ยอมรับความจริงว่าเขามีสิทธิ์เลือก
เลือกแล้วเขาทุกข์หรือเป็นยังไง
ก็ให้โอกาส แล้วเสนอทางเลือก
ทำไมยังมีคนรวยอยู่ในโลก
ทำไมไม่สอนให้รวยหมดเลย
ทำไมท่านไม่สอนให้ไปนิพพานได้หมดเลยล่ะ
ก็มันเป็นอย่างนั้นแหละ...
จบข่าว ...
ทีนี้เราก็ชอบจะเอาหลักธรรมไปให้คนนั้นดีคนนี้ไม่ดี บลาๆ
อันนี้ใช้ได้กับทุกคน
(ยกเว้นตัวเอง ฮาา)
อันนี้คืออาการที่ตัวเองไม่ยอมรับความจริง
ว่ามันใช้กับทุกคนได้ไม่ได้
ก็ทำไม..ทำไมอยู่นั่น
มันไม่ยอมรับความจริงว่าเขามีสิทธิ์เลือก
เลือกแล้วเขาทุกข์หรือเป็นยังไง
ก็ให้โอกาส แล้วเสนอทางเลือก
คำจำกัดความ
ยิ่งหาคำจำกัดความมากยิ่งคับแคบ
การเป็นก็เป็นอย่างที่มันเป็นนั่นแหละ
จึงเป็นทั้งหมด
ไม่ได้เป็นอยู่แค่ที่ไปจำกัดความเอาไว้
ของจริงมันก็แค่ "มันเป็นอย่างนั้นแหละ"
ท่านสรุปเอาไว้ว่า ตถตา
ทำให้เกิดความรู้สึกมีตัวมีตนได้ง่าย
แต่ว่ามันไม่ใช่ของจริง
เพราะมันเกิดจากเหตุปัจจัยมากมาย
เกิดแล้วจึงสำคัญผิด
ว่าตัวสำคัญ
อันที่จริงถ้าตัวสำคัญ
อันอื่นก็สำคัญหมด
เพราะครือๆ กัน
เท่าเทียมกันหมด
การเป็นก็เป็นอย่างที่มันเป็นนั่นแหละ
จึงเป็นทั้งหมด
ไม่ได้เป็นอยู่แค่ที่ไปจำกัดความเอาไว้
ของจริงมันก็แค่ "มันเป็นอย่างนั้นแหละ"
ท่านสรุปเอาไว้ว่า ตถตา
ทำให้เกิดความรู้สึกมีตัวมีตนได้ง่าย
แต่ว่ามันไม่ใช่ของจริง
เพราะมันเกิดจากเหตุปัจจัยมากมาย
เกิดแล้วจึงสำคัญผิด
ว่าตัวสำคัญ
อันที่จริงถ้าตัวสำคัญ
อันอื่นก็สำคัญหมด
เพราะครือๆ กัน
เท่าเทียมกันหมด
ไม่เชื่อมั่น ก็จะหาเหตุผลมากมาย
ส่วนมากเราก็ชอบดูถูกความสามารถของตนเอง
เวลาเราดูถูกความสามารถตนเอง
ก็จะพยายามถามหาเหตุผลมากมาย
จะไม่ทำชั่ว ก็โดยการไม่ทำมันนั่นแหละ
จะทำดี ก็โดยการทำมันนั่นแหละ
จะดูกายดูใจ ก็โดยการดูมันนั่นแหละ
จะไม่เพ้อเจ้อ ก็แค่ไม่เพ้อเจ้อมันนั่นแหละ
ไม่ใช่ว่า โอ๊ยฉันยังชั่วอยู่เลย
จะไม่ทำชั่วต้องทำยังไงดี 1 2 3 ...
เวลาเราดูถูกความสามารถตนเอง
ก็จะพยายามถามหาเหตุผลมากมาย
จะไม่ทำชั่ว ก็โดยการไม่ทำมันนั่นแหละ
จะทำดี ก็โดยการทำมันนั่นแหละ
จะดูกายดูใจ ก็โดยการดูมันนั่นแหละ
จะไม่เพ้อเจ้อ ก็แค่ไม่เพ้อเจ้อมันนั่นแหละ
ไม่ใช่ว่า โอ๊ยฉันยังชั่วอยู่เลย
จะไม่ทำชั่วต้องทำยังไงดี 1 2 3 ...
เราสามารถเลือกมีประสบการณ์ด้วยตัวเราเอง
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
คือมันอยู่ที่เราเลือก
เลือกที่จะมีประสบการณ์แบบไหน
การไม่เลือก
ก็คือการเลือกชนิดนึง
เป็นการเลือกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งต่างๆ ในโลก
ถ้าโลกดี เราก็สุข
ถ้าโลกไม่ดี เราก็ทุกข์
หมอดูบอกว่าดี ก็ดีตามหมอดู
หมอดูบอกไม่ดี ก็เดือดร้อนตามหมอดูไป
เป็นต้น
เรียกว่าเลือกแบบหลงๆ
แต่พระพุทธเจ้าท่านสอน
ให้มีสติสัมปชัญญะ
ให้เลือก อย่างมีสติสัมปชัญญะ
ถ้าจะทำกรรม
ก็เลือกที่จะละกรรมไม่ดีออกไป
ละเจตนาที่่ไม่ดีออกไป
เรียกว่า "เลือกมีประสบการณ์ได้"
พูดอีกอย่าง "ชีวิตอยู่ในกำมือเราเลย"
เราสามารถเลือกประสบการณ์ที่เราจะเจอได้
เลือกสิ่งที่เราจะเป็นได้
ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโลกก็ได้
พระพุทธเจ้าท่านชอบถามภิกษุ
เป็นมาหมดแล้ว ไปมาหมดแล้ว
สวรรค์ นรก พรหม
พร้อมหรือยังที่จะไปสู่ชีวิตที่สร้างสรรค์กว่า
ไม่ต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งใดอีกต่อไป
บุคคล สถานที่ เหตุการณ์
นี่เรียกว่าเป็นสิ่งที่ได้มาแล้ว เป็นผลจากกรรมเก่า
มันอยู่ที่ว่า เราจะใช้สิ่งนี้ทำอะไร
จะสร้างประสบการณ์ขึ้นมาเองมั้ย?
หรือจะยอมให้โลกเสนอเข้ามา
แล้วเราก็คอยมีปฏิกิริยาไปกับมัน นี่ชอบ นี่ไม่ชอบ
กลับไปกลับมา ทำตามเขาไป
พวกนี้อยู่ที่เราเลือกทั้งสิ้น
การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ
พัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ
ได้รับรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ประสบสิ่งใหม่ๆ ที่มันอิสระขึ้น
อันนี้เรียก สัจฉิกาตัพพธรรม
คือมันอยู่ที่เราเลือก
เลือกที่จะมีประสบการณ์แบบไหน
การไม่เลือก
ก็คือการเลือกชนิดนึง
เป็นการเลือกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งต่างๆ ในโลก
ถ้าโลกดี เราก็สุข
ถ้าโลกไม่ดี เราก็ทุกข์
หมอดูบอกว่าดี ก็ดีตามหมอดู
หมอดูบอกไม่ดี ก็เดือดร้อนตามหมอดูไป
เป็นต้น
เรียกว่าเลือกแบบหลงๆ
แต่พระพุทธเจ้าท่านสอน
ให้มีสติสัมปชัญญะ
ให้เลือก อย่างมีสติสัมปชัญญะ
ถ้าจะทำกรรม
ก็เลือกที่จะละกรรมไม่ดีออกไป
ละเจตนาที่่ไม่ดีออกไป
เรียกว่า "เลือกมีประสบการณ์ได้"
พูดอีกอย่าง "ชีวิตอยู่ในกำมือเราเลย"
เราสามารถเลือกประสบการณ์ที่เราจะเจอได้
เลือกสิ่งที่เราจะเป็นได้
ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโลกก็ได้
พระพุทธเจ้าท่านชอบถามภิกษุ
เป็นมาหมดแล้ว ไปมาหมดแล้ว
สวรรค์ นรก พรหม
พร้อมหรือยังที่จะไปสู่ชีวิตที่สร้างสรรค์กว่า
ไม่ต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งใดอีกต่อไป
บุคคล สถานที่ เหตุการณ์
นี่เรียกว่าเป็นสิ่งที่ได้มาแล้ว เป็นผลจากกรรมเก่า
มันอยู่ที่ว่า เราจะใช้สิ่งนี้ทำอะไร
จะสร้างประสบการณ์ขึ้นมาเองมั้ย?
หรือจะยอมให้โลกเสนอเข้ามา
แล้วเราก็คอยมีปฏิกิริยาไปกับมัน นี่ชอบ นี่ไม่ชอบ
กลับไปกลับมา ทำตามเขาไป
พวกนี้อยู่ที่เราเลือกทั้งสิ้น
การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ
พัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ
ได้รับรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ประสบสิ่งใหม่ๆ ที่มันอิสระขึ้น
อันนี้เรียก สัจฉิกาตัพพธรรม
เสนอทางเลือก
ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการของมัน
ความผิดความถูก ก้เป็นเพียงสิ่งในกระบวนการ
ไม่ได้มี "ผิด" "ถูก" จริงๆ
ที่เรียกว่ามีผิด มีถูก
กุศล อกุศลนี้
เรียกตามผลที่มันเกิดขึ้นเท่านั้น
เช่น ทำอันนี้
ผลได้ความสุข
เขาก็เรียกมันเป็นกุศล
ถ้าทำอันนี้
เดือดร้อนบีบคั้นตนเอง
เขาเรียกอกุศล
เรียกตามการเปรียบเทียบในทางโลกเท่านั้นเอง
แต่ที่จริงมันก็เป็นธรรมเหมือนกันล้วนๆ
ไม่ได้มีตัวมีตน
เกิดตามเหตุตามปัจจัย
แต่ละคนก็เลือกด้วยตัวของเขาเอง
เราไม่มีสิทธิ์ไปทำอะไรเขา
เรามีสิทธิ์แค่ เฝ้าดูเขาเลือก
แต่ละคนเขามีสิทธิเลือกของเขา
ต้องให้โอกาส
เลือกแล้วผลเป็นทุกข์
เราก็ค่อยเสนอทางเลือก
มันมีอีกทาง
เป็นแบบนี้นะ
แต่เราชอบไปมีตัวตน
พาลไปเกลียดเขา
แต่จริงๆ เราไม่มีสิทธิ์ไปเกลียดใคร
เขาก็มีสิทธิ์เลือกของเขา
ก็เขาไม่ดี
เราเลยรู้สึกดี
ก็น่าขอบคุณเขานะ 555
จริงๆ มันก็สมบูรณ์แบบในแบบที่เขาเลือก
คือกรรมมันเลือก
สัตว์ทั้งหลายก็เป็นไปตามกรรม
ก็คือ เขาเลือกเอง
เขาเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขาแล้ว
เราก็ทำได้แค่ดูเขาเลือก
เราก็เสนอทางเลือกไปอีกว่า
ถ้าเลือกแบบนั้นแล้วมันทุกข์นะ
เป็นไงบ้าง ทุกข์พอรึยัง
ถ้าพอแล้วก็ อ่ะ มีทางเลือกให้
ออกจากโลกไปซะ
อย่างพระพุทธเจ้าท่านก็เป็นผู้บอกทาง
ฉะนั้น เราก็ต้องมาศึกษาก่อน
ว่าอะไรเป็นทาง
เราอาจคอยถามก็ได้
"ทุกข์พอรึยังเธอ"
"วนเวียนพอรึยังเธอ"
"อยากสบายกว่านี้มั้ยเธอ อย่างนี้สิ"
ความผิดความถูก ก้เป็นเพียงสิ่งในกระบวนการ
ไม่ได้มี "ผิด" "ถูก" จริงๆ
ที่เรียกว่ามีผิด มีถูก
กุศล อกุศลนี้
เรียกตามผลที่มันเกิดขึ้นเท่านั้น
เช่น ทำอันนี้
ผลได้ความสุข
เขาก็เรียกมันเป็นกุศล
ถ้าทำอันนี้
เดือดร้อนบีบคั้นตนเอง
เขาเรียกอกุศล
เรียกตามการเปรียบเทียบในทางโลกเท่านั้นเอง
แต่ที่จริงมันก็เป็นธรรมเหมือนกันล้วนๆ
ไม่ได้มีตัวมีตน
เกิดตามเหตุตามปัจจัย
แต่ละคนก็เลือกด้วยตัวของเขาเอง
เราไม่มีสิทธิ์ไปทำอะไรเขา
เรามีสิทธิ์แค่ เฝ้าดูเขาเลือก
แต่ละคนเขามีสิทธิเลือกของเขา
ต้องให้โอกาส
เลือกแล้วผลเป็นทุกข์
เราก็ค่อยเสนอทางเลือก
มันมีอีกทาง
เป็นแบบนี้นะ
แต่เราชอบไปมีตัวตน
พาลไปเกลียดเขา
แต่จริงๆ เราไม่มีสิทธิ์ไปเกลียดใคร
เขาก็มีสิทธิ์เลือกของเขา
ก็เขาไม่ดี
เราเลยรู้สึกดี
ก็น่าขอบคุณเขานะ 555
จริงๆ มันก็สมบูรณ์แบบในแบบที่เขาเลือก
คือกรรมมันเลือก
สัตว์ทั้งหลายก็เป็นไปตามกรรม
ก็คือ เขาเลือกเอง
เขาเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขาแล้ว
เราก็ทำได้แค่ดูเขาเลือก
เราก็เสนอทางเลือกไปอีกว่า
ถ้าเลือกแบบนั้นแล้วมันทุกข์นะ
เป็นไงบ้าง ทุกข์พอรึยัง
ถ้าพอแล้วก็ อ่ะ มีทางเลือกให้
ออกจากโลกไปซะ
อย่างพระพุทธเจ้าท่านก็เป็นผู้บอกทาง
ฉะนั้น เราก็ต้องมาศึกษาก่อน
ว่าอะไรเป็นทาง
เราอาจคอยถามก็ได้
"ทุกข์พอรึยังเธอ"
"วนเวียนพอรึยังเธอ"
"อยากสบายกว่านี้มั้ยเธอ อย่างนี้สิ"
มายากลของ "เรา"
มองกระจก
รูปภายนอก
กระทบกับตา (เพราะตามันยังดีอยู่)
เกิดการมองเห็นขึ้น
ก็หลงยึดมั่นถึือมั่นไป เข้าใจผิดไป
มั่วไปหมด
โอ๊ยยยยยยย เจ็บขา
เรามาหมดเลย 5555
ความเจ็บเกิดที่ขา
อาศัยขาเกิด
ขาเป็นสมมติ
ที่จริงเป็นรูป
ความเจ็บเป็นเวทนา
สิ่งที่รู้ความเจ็บเป็นจิต
เรายึดมั่วหมดเลย
ยึดรวบเหมาเลย "เราเจ็บ"
รูปภายนอก
กระทบกับตา (เพราะตามันยังดีอยู่)
เกิดการมองเห็นขึ้น
ก็หลงยึดมั่นถึือมั่นไป เข้าใจผิดไป
มั่วไปหมด
โอ๊ยยยยยยย เจ็บขา
เรามาหมดเลย 5555
ความเจ็บเกิดที่ขา
อาศัยขาเกิด
ขาเป็นสมมติ
ที่จริงเป็นรูป
ความเจ็บเป็นเวทนา
สิ่งที่รู้ความเจ็บเป็นจิต
เรายึดมั่วหมดเลย
ยึดรวบเหมาเลย "เราเจ็บ"
ย่อมพิจารณาเห็นว่าเรามีรูป
ผู้ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมพิจารณาเห็นว่าเรามีรูป
เห็นอย่างนี้ได้ก็เพราะมันแยกกัน
"รูป" อันนึง
"เรา" อันนึง
อันที่จริง
รูป ก็เป็นรูป
ความรู้สึกเป็นเรา ก็เป็นความรู้สึกเป็นเรา
ไม่ได้เกี่ยวกับมี/ไม่มี
ผู้ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมพิจารณาเห็นรูปในตัวเรา (อัตตนิ วา รูปัง)
ผู้ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมพิจารณาเห็นตัวเราในรูป (รูปัสมิง วา อัตตานัง)
ลองไปส่องกระจกดู หรือนั่งดูรูปเก่าๆ
นั่น รูปเป็นรูป
มี "เรา" ซ่อนอยู่ในรูปนี้
คำว่า "เรา"นี้
อาจหมายถึง สัญญาเก่าๆ
"เรา" อาจจะหมายถึง วิญญาณ
หรืออาจจะหมายถึงอะไรก็ได้
แต่จริงๆ ทุกสิ่งมันเกิดแล้วมันก็ดับ
แต่เรานี้ก็ชอบเห็นอะไร แล้วก็ไปมี "เรา" อยู่กับอันนั้น
ย่อมพิจารณาเห็นว่าเรามีรูป
เห็นอย่างนี้ได้ก็เพราะมันแยกกัน
"รูป" อันนึง
"เรา" อันนึง
อันที่จริง
รูป ก็เป็นรูป
ความรู้สึกเป็นเรา ก็เป็นความรู้สึกเป็นเรา
ไม่ได้เกี่ยวกับมี/ไม่มี
ผู้ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมพิจารณาเห็นรูปในตัวเรา (อัตตนิ วา รูปัง)
ผู้ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมพิจารณาเห็นตัวเราในรูป (รูปัสมิง วา อัตตานัง)
ลองไปส่องกระจกดู หรือนั่งดูรูปเก่าๆ
นั่น รูปเป็นรูป
มี "เรา" ซ่อนอยู่ในรูปนี้
คำว่า "เรา"นี้
อาจหมายถึง สัญญาเก่าๆ
"เรา" อาจจะหมายถึง วิญญาณ
หรืออาจจะหมายถึงอะไรก็ได้
แต่จริงๆ ทุกสิ่งมันเกิดแล้วมันก็ดับ
แต่เรานี้ก็ชอบเห็นอะไร แล้วก็ไปมี "เรา" อยู่กับอันนั้น
ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่าเป็นตัวตน
ผู้ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมตามเห็นรูปว่าเป็นตัวตน
แท้ที่จริงรูปมันก็เป็นรูปนั่นแหละ
เป็นสิ่งหนึ่งที่มันเกิดขึ้น
ไม่ได้เป็นอะไร
เป็นอย่างที่มันเป็น
เกิดแล้วก็ดับไป
ความรู้สึกมีตัวมีตน
มันก็เป็นความรู้สึกมีตัวมีตน
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
แต่เราก็เอา 2 อันมาประกอบกัน
"รูป" เป็น "ตัวเรา"
อันที่จริงมันก็คนละอัน
รูปก็ส่วนรูป
ความรู้สึกเป็นตัวเรามันก็ความรู้สึกเป็นตัวเรา
เกิดแล้วก็ดับไป
หรืออะไรอื่นๆ ที่มันเกิด
มันก็เป็นอันนั้นๆ ที่มันเกิด
เกิดแล้วก็ดับไป
ไม่ได้มีอะไร
แต่เราแยกมันเป็นส่วนๆ
มีรูป มีเรา มีเราไปยึดรูป
อันที่จริงมันก็เป็นอันๆ ไป
สิ้งนั้นก็เป็นสิ่งนั้น
แต่ละอันก็ไม่ได้เป็นอะไรอื่น นอกไปจากที่มันเป็น
ทำไมมันเป็นสิ่งนั้น
ก็เพราะมันไม่เป็นสิ่งอื่น
มันเกิดแล้วมันก็ดับ
คนไม่ได้สดับ "ก็เห็นรูปเป็นตัวเรา"
คือแยกตัวเราออกมาจากรูป
พอแยกอย่างนี้ ก็แยกออกมาจากคนอื่น
แยกมีสิ่งนั้นสิ่งนี้
เรามีนั่น เรามีนี่
อันที่จริง "ความรู้สึกว่าเป็นเรา" ก็เกิดแล้วก็ดับ
"ความรู้สึกว่าเรามีนี่" ก็เกิดแล้วก็ดับ
ไม่มีอะไรคงทน
แต่อันนี้แยก "เรา" ออกมา
มี "เรา" แบบคงทนอยู่คนนึง
แยกสิ่งของออกมา
"เรา" มีนั่น "เรา" มีนี่
ซับซ้อน
ย่อมตามเห็นรูปว่าเป็นตัวตน
แท้ที่จริงรูปมันก็เป็นรูปนั่นแหละ
เป็นสิ่งหนึ่งที่มันเกิดขึ้น
ไม่ได้เป็นอะไร
เป็นอย่างที่มันเป็น
เกิดแล้วก็ดับไป
ความรู้สึกมีตัวมีตน
มันก็เป็นความรู้สึกมีตัวมีตน
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
แต่เราก็เอา 2 อันมาประกอบกัน
"รูป" เป็น "ตัวเรา"
อันที่จริงมันก็คนละอัน
รูปก็ส่วนรูป
ความรู้สึกเป็นตัวเรามันก็ความรู้สึกเป็นตัวเรา
เกิดแล้วก็ดับไป
หรืออะไรอื่นๆ ที่มันเกิด
มันก็เป็นอันนั้นๆ ที่มันเกิด
เกิดแล้วก็ดับไป
ไม่ได้มีอะไร
แต่เราแยกมันเป็นส่วนๆ
มีรูป มีเรา มีเราไปยึดรูป
อันที่จริงมันก็เป็นอันๆ ไป
- รูปก็เป็นรูป
- ความรู้สึกว่าเป็นเราก็ความรู้สึกว่าเป็นเรา
- ความยึดก็ความยึด
- ความคิดก็เป็นความคิด
สิ้งนั้นก็เป็นสิ่งนั้น
แต่ละอันก็ไม่ได้เป็นอะไรอื่น นอกไปจากที่มันเป็น
ทำไมมันเป็นสิ่งนั้น
ก็เพราะมันไม่เป็นสิ่งอื่น
มันเกิดแล้วมันก็ดับ
คนไม่ได้สดับ "ก็เห็นรูปเป็นตัวเรา"
คือแยกตัวเราออกมาจากรูป
พอแยกอย่างนี้ ก็แยกออกมาจากคนอื่น
แยกมีสิ่งนั้นสิ่งนี้
เรามีนั่น เรามีนี่
อันที่จริง "ความรู้สึกว่าเป็นเรา" ก็เกิดแล้วก็ดับ
"ความรู้สึกว่าเรามีนี่" ก็เกิดแล้วก็ดับ
ไม่มีอะไรคงทน
แต่อันนี้แยก "เรา" ออกมา
มี "เรา" แบบคงทนอยู่คนนึง
แยกสิ่งของออกมา
"เรา" มีนั่น "เรา" มีนี่
ซับซ้อน
โยนิ
เมื่อมีความรู้ตัว
มีสติสัมปชัญญะ
ก็เห็น
อ้าวกิเลสเกิดขึ้น
มาดูเหตุมัน (โยนิ)
เกิดจากอะไร
อะไรทำให้เป็นทุกข์
ทุกข์เกิดจากอะไร
เมื่อฉลาด
ไม่ทันมอง
ก็ไปยึด
ยึดก็ทุกข์
ไม่เท่าทันว่ามันปรากฏขึ้นเป็นครั้งๆ เท่านั้น
ไม่มาสนใจผู้สร้างโลก
ไปสนใจในโลก
หลงไปในโลกเสียแล้ว
มีสติสัมปชัญญะ
ก็เห็น
อ้าวกิเลสเกิดขึ้น
มาดูเหตุมัน (โยนิ)
เกิดจากอะไร
อะไรทำให้เป็นทุกข์
ทุกข์เกิดจากอะไร
เมื่อฉลาด
ไม่ทันมอง
ก็ไปยึด
ยึดก็ทุกข์
ไม่เท่าทันว่ามันปรากฏขึ้นเป็นครั้งๆ เท่านั้น
ไม่มาสนใจผู้สร้างโลก
ไปสนใจในโลก
หลงไปในโลกเสียแล้ว
อย่าเอาทัศนคติ อุดมคติมาครอบงำ
อย่าเอาทัศนคติ อุดมคติมาครอบงำ
เพราะมันเกิด...มันจึงเกิด
เพราะมันคิด...มันจึงคิด
เพราะมันงง...มันจึงงง
ถ้ายังมีความคิด คำพูด การกระทำอะไรที่หมิ่นเหม่ต่อการผิดศีล
ค่อยๆ เห็น
ค่อยๆ ละ
ดูตนเองเป็นหลัก
เวลามันเกิดขึ้น ก็แค่ละเจตนาไม่ดี
เมื่อละเจตนาไม่ดี ความเป็นทุกข์ก็ละไป
ความเพียรถูกคืออย่างนี้
เพราะมันเกิด...มันจึงเกิด
เพราะมันคิด...มันจึงคิด
เพราะมันงง...มันจึงงง
ถ้ายังมีความคิด คำพูด การกระทำอะไรที่หมิ่นเหม่ต่อการผิดศีล
ค่อยๆ เห็น
ค่อยๆ ละ
ดูตนเองเป็นหลัก
เวลามันเกิดขึ้น ก็แค่ละเจตนาไม่ดี
เมื่อละเจตนาไม่ดี ความเป็นทุกข์ก็ละไป
ความเพียรถูกคืออย่างนี้
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560
สันเตนะโสมะวิธินา
สมณนี่ทำเราท้อง!!!
เรารู้กันสองคนนั่นแหละ...
ถ้าคนทั่วไปคง "โอ๊ยไม่ใช่ ผมไม่ได้ท้ามมม"
สะดุ้งไปทั่ว แม้ไม่ได้ทำ
เรารู้กันสองคนนั่นแหละ...
ถ้าคนทั่วไปคง "โอ๊ยไม่ใช่ ผมไม่ได้ท้ามมม"
สะดุ้งไปทั่ว แม้ไม่ได้ทำ
ท่านเทียบไว้
ถ้าตาเห็นรูป
แล้วหลงไปกับมัน
ควักทิ้งเสียดีกว่า
ควักทิ้งนี้เจ็บตาเพียงชาตินี้
แต่เมื่อหลงไปกับรูป
จะต้องทุกข์ไปกับมันอีกเท่าไรไม่ทราบได้
แล้วหลงไปกับมัน
ควักทิ้งเสียดีกว่า
ควักทิ้งนี้เจ็บตาเพียงชาตินี้
แต่เมื่อหลงไปกับรูป
จะต้องทุกข์ไปกับมันอีกเท่าไรไม่ทราบได้
อัตตา
ความเข้าใจผิดที่แยกตัวเองออกมาจาก สัพเพ สังขารา
แยกตัวออกมาจากความเป็นทั้งหมด
จำกัดตัวเองออกมาจากสิ่งทั้งปวง
ทั้งๆ ที่คำว่าตัวเองนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในสิ่งทั้งปวงนั่นแหละ
แต่จะบอกว่าเป็นส่วนหนึ่งมันก็ยังไม่ใช่
เพราะมันจะเหมือนว่า "แยก" ออกมา
แท้ที่จริง "ตัวเรา" มันก็เป็น "สิ่งทั้งปวง" โดยตัวมันเองนั่นแหละ
แต่เราเข้าใจผิด
เข้าใจผิดจึงยึด
ยึดแล้วก็แยกมันออกมา
ไม่เข้าใจว่ามันเองก็ "สัพเพ สังขาราอนิจจา" เหมือนกัน
ไม่เข้าใจอย่างนี้
แยกออกมาอยู่เดี่ยวๆ
ทั้งๆ ที่ ไม่มีสิ่งใดสามารถอยู่เดี่ยวๆ ได้
เพราะว่าที่มันเกิด
มันไม่ได้เกิดเอง
ไม่ได้เกิดลอยๆ
แต่เกิดจากเหตุตั้งหลากหลาย
มันเข้าใจผิด
เมื่อเข้าใจผิดก็เกิดตัณหาอุปาทาน
เมื่อยึดจำกัดตนเอง
ก็จะบีบคั้นตนเอง
กลายเป็นความเครียด
ความวิตกกังวล
เพราะพยายามรักษาสิ่งที่รักษาไม่ได้
พยายามยึดสิ่งที่ยึดไม่ได้
แยกตัวออกมาจากความเป็นทั้งหมด
จำกัดตัวเองออกมาจากสิ่งทั้งปวง
ทั้งๆ ที่คำว่าตัวเองนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในสิ่งทั้งปวงนั่นแหละ
แต่จะบอกว่าเป็นส่วนหนึ่งมันก็ยังไม่ใช่
เพราะมันจะเหมือนว่า "แยก" ออกมา
แท้ที่จริง "ตัวเรา" มันก็เป็น "สิ่งทั้งปวง" โดยตัวมันเองนั่นแหละ
แต่เราเข้าใจผิด
เข้าใจผิดจึงยึด
ยึดแล้วก็แยกมันออกมา
ไม่เข้าใจว่ามันเองก็ "สัพเพ สังขาราอนิจจา" เหมือนกัน
ไม่เข้าใจอย่างนี้
แยกออกมาอยู่เดี่ยวๆ
ทั้งๆ ที่ ไม่มีสิ่งใดสามารถอยู่เดี่ยวๆ ได้
เพราะว่าที่มันเกิด
มันไม่ได้เกิดเอง
ไม่ได้เกิดลอยๆ
แต่เกิดจากเหตุตั้งหลากหลาย
มันเข้าใจผิด
เมื่อเข้าใจผิดก็เกิดตัณหาอุปาทาน
เมื่อยึดจำกัดตนเอง
ก็จะบีบคั้นตนเอง
กลายเป็นความเครียด
ความวิตกกังวล
เพราะพยายามรักษาสิ่งที่รักษาไม่ได้
พยายามยึดสิ่งที่ยึดไม่ได้
ขันธ์ 5
รูป
เวทนา
สัญญา
สังขาร
วิญญาณ
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งๆ
หูนี่ยังไม่จริงเลย
เกิดๆ ดับๆ
ไม่ได้ยินตลอดสักหน่อย
สิ่งที่ได้ยินได้ฟังจะไปจริงจังอะไร
จะพากันไปหาความจริงจากความคิด
จากอุดมคติต่างๆ
ขนาดสิ่งที่พาไปคิดยังไม่จริงเลย
สิ่งที่มาจากมันจะไปจริงอะไร
เวทนา
สัญญา
สังขาร
วิญญาณ
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งๆ
หูนี่ยังไม่จริงเลย
เกิดๆ ดับๆ
ไม่ได้ยินตลอดสักหน่อย
สิ่งที่ได้ยินได้ฟังจะไปจริงจังอะไร
จะพากันไปหาความจริงจากความคิด
จากอุดมคติต่างๆ
ขนาดสิ่งที่พาไปคิดยังไม่จริงเลย
สิ่งที่มาจากมันจะไปจริงอะไร
ลูกที่ดี เพื่อนที่ดี
เป็นลูกที่ดี
ทำให้พ่อแม่เป็นพึ่งของตนเองได้
เป็นเพื่อนที่ดี
ทำให้เพื่อนเป็นพึ่งของตนเองได้
เป็นครูที่ดี
ทำให้ลูกศิษย์เป็นที่พึ่งของตนเองได้
ทำให้พ่อแม่เป็นพึ่งของตนเองได้
เป็นเพื่อนที่ดี
ทำให้เพื่อนเป็นพึ่งของตนเองได้
เป็นครูที่ดี
ทำให้ลูกศิษย์เป็นที่พึ่งของตนเองได้
การช่วยเหลือตนเอง การมีตนเองเป็นที่พึ่ง
อัตทีปา
การมีตนเองเป็นเกาะ
การช่วยเหลือตนเอง
หมายถึง การช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความหลง
ท่านให้มีตนเองเป็นที่พึ่ง
อย่าเอาอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย
แม้พระรัตนตรัยก็ไม่เอ่ยถึง
เพราะเมื่อตนพึ่งตนได้
ตนแลคือรัตนตรัย
บางคนตกเป็นทาสความคาดหวังคนอื่น
เอาความคาดหวังคนอื่นเป็นที่พึ่ง
บางคนตกเป็นทาสความคาดหวังของตนเอง
เอาความคาดหวังของตนเองเป็นที่พึ่ง
การมีตนเองเป็นเกาะ
การช่วยเหลือตนเอง
หมายถึง การช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความหลง
ท่านให้มีตนเองเป็นที่พึ่ง
อย่าเอาอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย
แม้พระรัตนตรัยก็ไม่เอ่ยถึง
เพราะเมื่อตนพึ่งตนได้
ตนแลคือรัตนตรัย
บางคนตกเป็นทาสความคาดหวังคนอื่น
เอาความคาดหวังคนอื่นเป็นที่พึ่ง
บางคนตกเป็นทาสความคาดหวังของตนเอง
เอาความคาดหวังของตนเองเป็นที่พึ่ง
วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ชีวิต VS ไม่มีชีวิต
ธรรมชาติของชีวิตประกอบขึ้นด้วยความขัดแย้ง
คนมีญาณจะมองการเกิดและการตายเป็นเงื่อนไขกัน
เป็นปกติ ธรรมดาของมันอย่างนั้น
ถ้าไม่อยากเสียเงินไป
ก็อย่าได้เงินมา
ไม่อยากเสียสามี
ก็ไม่ต้องมีสามี
คนมีญาณจะมองเห็นอย่างนี้
ว่าถ้าได้มาแล้ว
ย่อมเสียแน่นอน จะเสียท่าไหนไม่รู้
แต่เสียแน่นอน
จะไม่เสียนั้นไม่มี
การจะเลือกเอาแค่อย่างใดอย่างนึง
จะเอาแต่ได้ ไม่เอาเสีย
อันนี้คือ เลือกทางตาย
ไม่ได้เลือกทางมีชีวิต
บางคนอยากจะกล้าหาญอย่างเดียว
ไม่อยากกลัว
อันที่จริงชีวิตมันก็กล้าบ้างบางเรื่อง
กลัวบ้างบางเรื่อง
เศร้าบ้างบางเรื่อง
ดีใจบ้างบางเรื่อง
พวกนี้เป็นธรรมดา
พวกนี้คือชีวิต ความขัดแย้งมีเป็นปกติ
ถ้าไม่อยากมีความรู้สึกเลย
ไปเป็นโต๊ะก็น่าจะดี
เลือกเอาแต่สุขอย่างเดียว ไม่เอาทุกข์
วันหลังลองเลือก หายใจเข้า ไม่ต้องออก
กินข้าวกินอย่างเดียว ห้ามเอาออก อย่าหยุดนะ
นั่งอย่างเดียวเลย
อันนี้เป็นการเลือกอย่างอวิชชา เลือกอย่างนี้มันเป็นชีวิตขึ้นมาไม่ได้
เลือกเอาแต่ใจสบาย ไม่เครียดเลย
เลือกเอาแต่สงบ ไม่ฟุ้งซ่านเลย
พวกนี้มันคู่กันอยู่ ความสงบจะมีคุณค่าอะไร ถ้าไม่มีความฟุ้งซ่าน
ในโลกเวลาเลือกก็เลือกทั้งสองอัน
เวลาปล่อยก็ปล่อยทั้งสองอัน
มันเป็นของพอๆ กัน
ต้องฟุ้งซ่านเป็น จึงจะสงบเป็น
บางคนไม่สงบสักที เพราะไม่กล้าปล่อยให้ใจฟุ้งซ่าน
มันฟุ้งเต็มที่มันก็สงบเอง
แต่เคยเข้าใจอันนี้บ้างหรือเปล่า
ญาณคือการยอมรับในเงื่อนไขอันนี้
เงือนไขในชีวิตที่มันธรรมดา
มาเรียนรู้ความจริงของชีวิต
การปฏิบัติธรรมไม่ได้ปฏิบัติเพื่อจะตายนะ
ปฏิบัติให้มันมีชีวิต
ความไม่รู้นี่อยู่ในหนทางแห่งความตาย
ธรรมนี่อยู่ในหนทางแห่งความมีชีวิต
คนมีญาณจะมองการเกิดและการตายเป็นเงื่อนไขกัน
เป็นปกติ ธรรมดาของมันอย่างนั้น
ถ้าไม่อยากเสียเงินไป
ก็อย่าได้เงินมา
ไม่อยากเสียสามี
ก็ไม่ต้องมีสามี
คนมีญาณจะมองเห็นอย่างนี้
ว่าถ้าได้มาแล้ว
ย่อมเสียแน่นอน จะเสียท่าไหนไม่รู้
แต่เสียแน่นอน
จะไม่เสียนั้นไม่มี
การจะเลือกเอาแค่อย่างใดอย่างนึง
จะเอาแต่ได้ ไม่เอาเสีย
อันนี้คือ เลือกทางตาย
ไม่ได้เลือกทางมีชีวิต
บางคนอยากจะกล้าหาญอย่างเดียว
ไม่อยากกลัว
อันที่จริงชีวิตมันก็กล้าบ้างบางเรื่อง
กลัวบ้างบางเรื่อง
เศร้าบ้างบางเรื่อง
ดีใจบ้างบางเรื่อง
พวกนี้เป็นธรรมดา
พวกนี้คือชีวิต ความขัดแย้งมีเป็นปกติ
ถ้าไม่อยากมีความรู้สึกเลย
ไปเป็นโต๊ะก็น่าจะดี
เลือกเอาแต่สุขอย่างเดียว ไม่เอาทุกข์
วันหลังลองเลือก หายใจเข้า ไม่ต้องออก
กินข้าวกินอย่างเดียว ห้ามเอาออก อย่าหยุดนะ
นั่งอย่างเดียวเลย
อันนี้เป็นการเลือกอย่างอวิชชา เลือกอย่างนี้มันเป็นชีวิตขึ้นมาไม่ได้
เลือกเอาแต่ใจสบาย ไม่เครียดเลย
เลือกเอาแต่สงบ ไม่ฟุ้งซ่านเลย
พวกนี้มันคู่กันอยู่ ความสงบจะมีคุณค่าอะไร ถ้าไม่มีความฟุ้งซ่าน
ในโลกเวลาเลือกก็เลือกทั้งสองอัน
เวลาปล่อยก็ปล่อยทั้งสองอัน
มันเป็นของพอๆ กัน
ต้องฟุ้งซ่านเป็น จึงจะสงบเป็น
บางคนไม่สงบสักที เพราะไม่กล้าปล่อยให้ใจฟุ้งซ่าน
มันฟุ้งเต็มที่มันก็สงบเอง
แต่เคยเข้าใจอันนี้บ้างหรือเปล่า
ญาณคือการยอมรับในเงื่อนไขอันนี้
เงือนไขในชีวิตที่มันธรรมดา
มาเรียนรู้ความจริงของชีวิต
การปฏิบัติธรรมไม่ได้ปฏิบัติเพื่อจะตายนะ
ปฏิบัติให้มันมีชีวิต
ความไม่รู้นี่อยู่ในหนทางแห่งความตาย
ธรรมนี่อยู่ในหนทางแห่งความมีชีวิต
กิเลสเกิดกิเลสตาย
กิเลสเกิดแล้ว
ไม่มีอาหารก็แห้งตายเหมือนต้นไม้
การให้อาหารมันก็เช่น...
อยากได้อันนี้
ไปเดินช้อปปิ้งดูจิตละกัน
ไปคุยกับเพื่อนคอเดียวกันสักหน่อย
เผื่อจะหายอยาก
อาหารกิเลสคือกรรมนี่แหละ
กายกรรม
วจีกรรม
มโนกรรม
สนองมันไปเรื่อยๆ
ตัวมันเองไม่ได้มีกำลังอะไรมาก
ถ้าไม่ไปให้อาหารเดี๋ยวก็ตายไปเอง
ไม่มีอาหารก็แห้งตายเหมือนต้นไม้
การให้อาหารมันก็เช่น...
อยากได้อันนี้
ไปเดินช้อปปิ้งดูจิตละกัน
ไปคุยกับเพื่อนคอเดียวกันสักหน่อย
เผื่อจะหายอยาก
อาหารกิเลสคือกรรมนี่แหละ
กายกรรม
วจีกรรม
มโนกรรม
สนองมันไปเรื่อยๆ
ตัวมันเองไม่ได้มีกำลังอะไรมาก
ถ้าไม่ไปให้อาหารเดี๋ยวก็ตายไปเอง
วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ศีล VS ธรรมะชนะอธรรม
"ธรรมะชนะอธรรม"
ดูที่เจตนาจะไปเบียดเบียนมั้ย
ตัวคำพูดนี้มันเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
เช่น เกิดแล้วก็ต้องตาย
ธรรมะ : เกิดแล้วต้องดับอยู่แล้ว (พูดงี้ก็จริงเท่านั้น ชนะแหงๆ) มันเป็นเรื่องปกติ
แต่ถ้าเรามีเจตนาไม่ดี
คิดจะไปเบียดเบียนเขาโดยใช้คำนี้
คิดว่า "เราเป็นธรรม" และ "เขาเป็นอธรรม"
เราชอบคิดว่าความยุติธรรมเป็นไปในแบบ
สมมติเขาด่าเรา
เราย่อมมีความชอบธรรมที่จะด่าคืน
แต่ธรรมคือ เขาด่ามา เราต้องหวังดีต่อเขา
ต้องเมตตาถ่ายเดียว จึงจะถูกธรรม
ถ้าเมตตาไม่ได้ก็ให้อภัย ทำได้แค่สองอย่าง
ถ้าทำเกินกว่านี้ เช่น ไปผูกโกรธ ไปผูกพยาบาท
อันนี้ผิดธรรม
เขาด่ามาต้องหวังดีต่อเขา (เขาอุตส่าห์ปวดคอ) 5555
ดูที่เจตนาจะไปเบียดเบียนมั้ย
ตัวคำพูดนี้มันเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
เช่น เกิดแล้วก็ต้องตาย
ธรรมะ : เกิดแล้วต้องดับอยู่แล้ว (พูดงี้ก็จริงเท่านั้น ชนะแหงๆ) มันเป็นเรื่องปกติ
แต่ถ้าเรามีเจตนาไม่ดี
คิดจะไปเบียดเบียนเขาโดยใช้คำนี้
คิดว่า "เราเป็นธรรม" และ "เขาเป็นอธรรม"
เราชอบคิดว่าความยุติธรรมเป็นไปในแบบ
สมมติเขาด่าเรา
เราย่อมมีความชอบธรรมที่จะด่าคืน
แต่ธรรมคือ เขาด่ามา เราต้องหวังดีต่อเขา
ต้องเมตตาถ่ายเดียว จึงจะถูกธรรม
ถ้าเมตตาไม่ได้ก็ให้อภัย ทำได้แค่สองอย่าง
ถ้าทำเกินกว่านี้ เช่น ไปผูกโกรธ ไปผูกพยาบาท
อันนี้ผิดธรรม
เขาด่ามาต้องหวังดีต่อเขา (เขาอุตส่าห์ปวดคอ) 5555
ระดับการฝึกศีล : ปกติ และไม่ปกติ
เบื้องต้นก็เริ่มจากการสมาทาน
คือ ตั้งใจเอาไว้ก่อน
สมาทานนี้ก็ดี
แต่มันไม่แน่ไม่นอน
อยากรู้ว่าสมาทานแล้วได้ผลดีแค่ไหน
มาดูตอนกระทบอารมณ์
ถ้ากระทบแล้ว
สามารถรักษาเจตนาที่ดีเอาไว้ได้
ถือว่าใช้ได้
เวลามีคนด่า
โกรธได้ปกติ
แต่ต้องรักษาเจตนาเอาไว้ว่า
อย่าไปทำร้ายเขา
อย่าไปอยากให้เขาเสียประโยชน์
สามารถไม่ชอบเขาได้
แต่ไม่ใช่ไปดีใจเวลาเขาเสียประโยชน์
อันนี้เป็นอาการ "เกินกรรม"
คือเขาก็เป็นไปตามกรรมนั่นแหละ เราไปสะใจนี่มัน "เกิน"
เรามักจะรักษาเจตนาพวกนี้ไม่ได้
เพราะใจมันไม่มีศีล
เวลาเห็นคนไม่ดี โดนจับเข้าคุกก็ "โอ้ย สมควรแล้ว สมน้ำหน้ามัน"
อันนี้เรียกว่าใจไม่มีศีล
เวลาได้กำไรมา
คนอื่นจะเสียผลประโยชน์ก็ไม่เป็นไร
อันนี้เรียกใจไม่มีศีล
เวลาไปเรียนอะไรมา
ก็มี "เราถูก" "เขาผิด"
อันนี้ก็ใจไม่มีศีล เรียกว่าเบียดเบียนผู้อื่น
จะรักจะชอบสามีคนอื่นก็ได้
แต่ต้องไม่คิดไปแย่งเขามา
ทำการงานอยู่ แล้วบอกความจริงไม่หมด
เพื่อให้เราได้รับประโยชน์เพิ่มเติมขึ้นมา
อันนี้ก็ผิดศีล
ใครมาทำไม่ดีกับเรา
ก็โกรธเป็นธรรมดา
แต่อย่าไปมีเจตนาทำร้าย
อย่าไปมีเจตนาเบียดเบียน
ต้องมีเจตนาให้เขาพบความสุข
อย่ามีเจตนาให้เขาเสียประโยชน์
ชอบไม่ชอบเป็นเรื่องปกติ
รักไม่รักเป็นเรื่องปกติ
โกรธ ก็เป็นเรื่องปกติ
แต่การเห็นคนอื่นฉิบหายแล้วดีใจ (อันนี้ผิดปกติ - เรียกว่าผิดศีล)
เห็นใครแล้วชอบ อันนี้ปกติ
แต่เจตนาที่จะไปหลอกเขา (อันนี้ผิดปกติ)
เจตนาที่จะให้เขามาหลงเรา ชอบเรา (อันนี้ผิดปกติ)
ทำท่าเป็นให้โอกาส (อันนี้ผิดปกติ)
อาการไม่ปกตินี้คือ
การที่มีเจตนาแอบแฝงอยู่
ทำให้เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ
การกระทำที่ออกมาจากเจตนาไม่ดี เรียกว่า "ทุจริต"
ทุจริตทางใจ เช่น
คิดให้เขาเสียประโยชน์
คิดดีใจเมื่อเขาเสียประโยชน์จริง
รัก - ชัง - ชอบ - เกลียด เป็นธรรมชาติธรรมดาทั่วไป
ถ้าเราอยู่กับมันได้
เราก็จะเป็นปกติ
เรียกว่าเป็น "คนมีศีล"
คือ ไม่เสียเจตนาไป
สิ่งที่จะรักษาเจตนาเวลาที่กระทบอารมณ์ต่างๆ นี้คือ "สติ"
พอกิเลสตัวใหญ่ไปแล้ว ถูกครอบงำแล้ว
ก็เสียศีลไป คำพูดและการกระทำก็ออกมาตามนั้น
คนที่จะไม่โกรธ ไม่รัก - ชัง - ชอบ - เกลียด คือ อนาคามี
ดังนั้น เบื้องต้นไม่ใช่ปฏิบัติให้ไม่โกรธ ไม่รัก ไม่ชอบ
การจะละมันได้ต้องละอคติก่อน
เป็นกลางกับมันก่อน
ถ้าไปปฏิบัติให้ "อคติ" กับมัน อันนี้มัน "ผิดปกติ" ตั้งแต่ต้น
ปุถุชนอยู่กับความโลภ โกรธ หลงอย่างเป็นปกติ
ก็คือ อยู่กับมันด้วยความปกติ
มีมันอยู่ แต่ไม่ให้มันครอบ
คือ ครอบ ก็อยู่ในระดับนิวรณ์ ไม่ใช่ครอบจนกลายเป็นทุจริต
ถ้านิวรณ์ครอบงำใจ ก็ไม่มีสมาธิ
ถ้าทุจริตครอบงำใจ ก็ไม่มีศีล
หมายเหตุ การเห็นคำด่าเป็นเสียงกระทบนี่ ระดับสติต้องเยอะพอตัว
ถ้ายังไม่มากพอ ต้องหาธรรมะแวดล้อมหมวดนั้นหมวดนี้มาเป็นตัวช่วย
สรุปว่าศีลมีการงดเว้นอยู่ 3 ระดับ
คือ ตั้งใจเอาไว้ก่อน
สมาทานนี้ก็ดี
แต่มันไม่แน่ไม่นอน
อยากรู้ว่าสมาทานแล้วได้ผลดีแค่ไหน
มาดูตอนกระทบอารมณ์
ถ้ากระทบแล้ว
สามารถรักษาเจตนาที่ดีเอาไว้ได้
ถือว่าใช้ได้
เวลามีคนด่า
โกรธได้ปกติ
แต่ต้องรักษาเจตนาเอาไว้ว่า
อย่าไปทำร้ายเขา
อย่าไปอยากให้เขาเสียประโยชน์
สามารถไม่ชอบเขาได้
แต่ไม่ใช่ไปดีใจเวลาเขาเสียประโยชน์
อันนี้เป็นอาการ "เกินกรรม"
คือเขาก็เป็นไปตามกรรมนั่นแหละ เราไปสะใจนี่มัน "เกิน"
เรามักจะรักษาเจตนาพวกนี้ไม่ได้
เพราะใจมันไม่มีศีล
เวลาเห็นคนไม่ดี โดนจับเข้าคุกก็ "โอ้ย สมควรแล้ว สมน้ำหน้ามัน"
อันนี้เรียกว่าใจไม่มีศีล
เวลาได้กำไรมา
คนอื่นจะเสียผลประโยชน์ก็ไม่เป็นไร
อันนี้เรียกใจไม่มีศีล
เวลาไปเรียนอะไรมา
ก็มี "เราถูก" "เขาผิด"
อันนี้ก็ใจไม่มีศีล เรียกว่าเบียดเบียนผู้อื่น
จะรักจะชอบสามีคนอื่นก็ได้
แต่ต้องไม่คิดไปแย่งเขามา
ทำการงานอยู่ แล้วบอกความจริงไม่หมด
เพื่อให้เราได้รับประโยชน์เพิ่มเติมขึ้นมา
อันนี้ก็ผิดศีล
ใครมาทำไม่ดีกับเรา
ก็โกรธเป็นธรรมดา
แต่อย่าไปมีเจตนาทำร้าย
อย่าไปมีเจตนาเบียดเบียน
ต้องมีเจตนาให้เขาพบความสุข
อย่ามีเจตนาให้เขาเสียประโยชน์
ชอบไม่ชอบเป็นเรื่องปกติ
รักไม่รักเป็นเรื่องปกติ
โกรธ ก็เป็นเรื่องปกติ
แต่การเห็นคนอื่นฉิบหายแล้วดีใจ (อันนี้ผิดปกติ - เรียกว่าผิดศีล)
เห็นใครแล้วชอบ อันนี้ปกติ
แต่เจตนาที่จะไปหลอกเขา (อันนี้ผิดปกติ)
เจตนาที่จะให้เขามาหลงเรา ชอบเรา (อันนี้ผิดปกติ)
ทำท่าเป็นให้โอกาส (อันนี้ผิดปกติ)
อาการไม่ปกตินี้คือ
การที่มีเจตนาแอบแฝงอยู่
ทำให้เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ
การกระทำที่ออกมาจากเจตนาไม่ดี เรียกว่า "ทุจริต"
ทุจริตทางใจ เช่น
คิดให้เขาเสียประโยชน์
คิดดีใจเมื่อเขาเสียประโยชน์จริง
รัก - ชัง - ชอบ - เกลียด เป็นธรรมชาติธรรมดาทั่วไป
ถ้าเราอยู่กับมันได้
เราก็จะเป็นปกติ
เรียกว่าเป็น "คนมีศีล"
คือ ไม่เสียเจตนาไป
สิ่งที่จะรักษาเจตนาเวลาที่กระทบอารมณ์ต่างๆ นี้คือ "สติ"
พอกิเลสตัวใหญ่ไปแล้ว ถูกครอบงำแล้ว
ก็เสียศีลไป คำพูดและการกระทำก็ออกมาตามนั้น
คนที่จะไม่โกรธ ไม่รัก - ชัง - ชอบ - เกลียด คือ อนาคามี
ดังนั้น เบื้องต้นไม่ใช่ปฏิบัติให้ไม่โกรธ ไม่รัก ไม่ชอบ
การจะละมันได้ต้องละอคติก่อน
เป็นกลางกับมันก่อน
ถ้าไปปฏิบัติให้ "อคติ" กับมัน อันนี้มัน "ผิดปกติ" ตั้งแต่ต้น
ปุถุชนอยู่กับความโลภ โกรธ หลงอย่างเป็นปกติ
ก็คือ อยู่กับมันด้วยความปกติ
มีมันอยู่ แต่ไม่ให้มันครอบ
คือ ครอบ ก็อยู่ในระดับนิวรณ์ ไม่ใช่ครอบจนกลายเป็นทุจริต
ถ้านิวรณ์ครอบงำใจ ก็ไม่มีสมาธิ
ถ้าทุจริตครอบงำใจ ก็ไม่มีศีล
หมายเหตุ การเห็นคำด่าเป็นเสียงกระทบนี่ ระดับสติต้องเยอะพอตัว
ถ้ายังไม่มากพอ ต้องหาธรรมะแวดล้อมหมวดนั้นหมวดนี้มาเป็นตัวช่วย
สรุปว่าศีลมีการงดเว้นอยู่ 3 ระดับ
- สมาทานวิรัติ - งดเว้นด้วยการตั้งใจเอาไว้ (ตั้งใจเฉยๆ ยังไม่ได้กระทบ)
- สัมปัตตวิรัติ - งดเว้นตอนที่มีการกระทบ
อันนี้ต้องมาดูว่าเรามีเจตนาอะไรเกิดขึ้นหลังจากกระทบอารมณ์ไปแล้ว - สมุทเฉทวิรัติ - พระโสดาบันงดเว้นเจตนาทำร้ายเบียดเบียนโดยสมบูรณ์
การศึกษาในสิกขาบท ต้องตามไตรสิกขา
การจะมีญาณ ต้องฝึกฝนตามหลักไตรสิกขา
ฝึกอธิศีลเสียก่อน
สมาทานสิกขาบท 5 ตั้งเจตนาเอาไว้
ฝึกให้มีสติสัมปชัญญะเวลาที่รับรู้อารมณ์
รู้เท่าทันจิตใจตนเอง
จะได้ไม่ถูกกิเลสหลอก
ไม่ถูกความยินดี ยินร้ายหลอกไปทำ
ใจก็จะมีศีลขึ้นมา
เมื่อละสิ่งหยาบๆ ได้แล้ว
ก็ศึกษาเรียนรู้จิตให้มันมากขึ้น
เรียนรู้ว่าจิตใดเป็นกุศล - อกุศล
เรียกว่าเรียนรู้อธิจิต
การไปทำแล้วก่อให้เกิดอภิสังขารอย่างไรบ้าง
มันผิดอย่างไรบ้าง
เมื่อไปอยากได้ ไปต้องการ ไปยึด แล้วมันผิด
ใจจะเกิดความหนักความแน่นขึ้นมา เป็นอกุศล
ถ้าปล่อยวาง
ก็เป็นจิตที่เบาสบาย ปลอดโปร่ง เป็นกุศล
ถ้าไปเอามาเป็นอกุศล
ถ้าให้ไปเป็นกุศล
ถ้ายึดเป็นอกุศล
ถ้าปล่อยวางเป็นกุศล
จิตแบบไหนเป็นสมถะ
จิตแบบไหนเป็นวิปัสสนา
จิตที่เป็นสมถะ
จิตก็เป็นกุศล เบาสบาย ปลอดโปร่ง
แต่สนใจตัวอารมณ์
รู้จิตที่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
มันก็ไม่เห็นไตรลักษณ์
จิตที่เป็นวิปัสสนา
สนใจลักษณะ เห็นแต่ความผ่านมาผ่านไป
ไม่ได้สนใจว่าเป็นอะไร
เป็นธาตุ เป็นสิ่งไม่ใช่ตัวเรา
ไม่ใส่ใจอารมณ์ ใส่ใจลักษณะ
เรียนรู้อย่างนี้ก็จะได้จิตมีสมาธิ
รู้เท่าทันจิตใจตนเอง
สรุปใหม่
สติสัมปชัญญะฝึกให้เพื่อมีศีล
เพื่อให้มาสนใจภายในมากขึ้น
ถ้าจิตไม่มีศีลมันจะสนใจแต่ภายนอก
คนนู้นว่ายังไง คนนี้ว่ายังไง
ไม่สนใจความรู้สึกตนเอง
ต้องฝึกสติบ่อยๆ มันจึงจะปล่อยอารมณ์ภายนอกได้ง่าย
ไม่ถูกความยินดียินร้ายครอบงำ
มันก็จะไม่ผิดศีล
พอไม่ผิดศีล
มันก็จะได้มาเรียนรู้จิตใจตนเอง
เป็นการฝึกอธิจิต
การฝึกนี้จะเป็นไปตามลำดับ
หากศีลยังไม่มี จะไปฝึกเดินปัญญา
ทำแบบนี้ไม่ได้ประโยชน์ ทำจนตายก็ไม่ได้ผล
ฝึกอธิศีลเสียก่อน
สมาทานสิกขาบท 5 ตั้งเจตนาเอาไว้
ฝึกให้มีสติสัมปชัญญะเวลาที่รับรู้อารมณ์
รู้เท่าทันจิตใจตนเอง
จะได้ไม่ถูกกิเลสหลอก
ไม่ถูกความยินดี ยินร้ายหลอกไปทำ
ใจก็จะมีศีลขึ้นมา
เมื่อละสิ่งหยาบๆ ได้แล้ว
ก็ศึกษาเรียนรู้จิตให้มันมากขึ้น
เรียนรู้ว่าจิตใดเป็นกุศล - อกุศล
เรียกว่าเรียนรู้อธิจิต
การไปทำแล้วก่อให้เกิดอภิสังขารอย่างไรบ้าง
มันผิดอย่างไรบ้าง
เมื่อไปอยากได้ ไปต้องการ ไปยึด แล้วมันผิด
ใจจะเกิดความหนักความแน่นขึ้นมา เป็นอกุศล
ถ้าปล่อยวาง
ก็เป็นจิตที่เบาสบาย ปลอดโปร่ง เป็นกุศล
ถ้าไปเอามาเป็นอกุศล
ถ้าให้ไปเป็นกุศล
ถ้ายึดเป็นอกุศล
ถ้าปล่อยวางเป็นกุศล
จิตแบบไหนเป็นสมถะ
จิตแบบไหนเป็นวิปัสสนา
จิตที่เป็นสมถะ
จิตก็เป็นกุศล เบาสบาย ปลอดโปร่ง
แต่สนใจตัวอารมณ์
รู้จิตที่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
มันก็ไม่เห็นไตรลักษณ์
จิตที่เป็นวิปัสสนา
สนใจลักษณะ เห็นแต่ความผ่านมาผ่านไป
ไม่ได้สนใจว่าเป็นอะไร
เป็นธาตุ เป็นสิ่งไม่ใช่ตัวเรา
ไม่ใส่ใจอารมณ์ ใส่ใจลักษณะ
เรียนรู้อย่างนี้ก็จะได้จิตมีสมาธิ
รู้เท่าทันจิตใจตนเอง
สรุปใหม่
สติสัมปชัญญะฝึกให้เพื่อมีศีล
เพื่อให้มาสนใจภายในมากขึ้น
ถ้าจิตไม่มีศีลมันจะสนใจแต่ภายนอก
คนนู้นว่ายังไง คนนี้ว่ายังไง
ไม่สนใจความรู้สึกตนเอง
ต้องฝึกสติบ่อยๆ มันจึงจะปล่อยอารมณ์ภายนอกได้ง่าย
ไม่ถูกความยินดียินร้ายครอบงำ
มันก็จะไม่ผิดศีล
พอไม่ผิดศีล
มันก็จะได้มาเรียนรู้จิตใจตนเอง
เป็นการฝึกอธิจิต
การฝึกนี้จะเป็นไปตามลำดับ
หากศีลยังไม่มี จะไปฝึกเดินปัญญา
ทำแบบนี้ไม่ได้ประโยชน์ ทำจนตายก็ไม่ได้ผล
วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560
อย่าโลภ อย่าโกรธ อย่าหลง
อย่าโลภเด้อ
อย่าโกรธเด้อ
อย่าหลงเด้อ
ฟังดูดี แต่นี่เป็น "ผล"
เวลารับมายังเอาไปทำเหตุไม่ได้
เรียนแบบไม่มีหลัก
เหตุคือ "รู้"
อย่าโกรธเด้อ
อย่าหลงเด้อ
ฟังดูดี แต่นี่เป็น "ผล"
เวลารับมายังเอาไปทำเหตุไม่ได้
เรียนแบบไม่มีหลัก
เหตุคือ "รู้"
แผ่เมตตาคืออยากให้คนอื่นมีความสุข
คือยุงมันตอมเรา
มันจะมีความสุขที่ไหนล่ะ
ก็มีความสุขที่ได้ตอมเราไง
ปล่อยมันตอมไปสิ
ทีนี้มันตอม
เราไม่ชอบ
เลยแผ่เมตตาให้มันไป
บางทีแผ่เมตตายุงเพราะไม่อยากให้ยุงมากวน 5555
ปลวกขึ้นบ้าน
แผ่เมตตาให้ปลวกอยู่อย่างมีความสุข
เราก็ออกจากบ้านไป
บ้านมันเอาห้อยคอไปด้วยไม่ได้นะ
ทีนี้พอทำไม่ได้
เพราะเราก็ยังยึดบ้านอยู่
ความคิดก็ตัน
พอตัน ทางออกก็เหลือน้อย
ดังนั้นถ้าคิดในแง่ดี
มีเมตตา
คิดตรงตามความจริง
จะมีแต่ทางออก
แต่เมื่อคิดไม่อดทน
อยากให้ตนเองเป็นสุขอยู่อย่างเดียว
คิดไปท่าไหนก็ตีบตัน
เราจึงไม่ค่อยมองเห็นทางออก
เพราะใจไม่ได้เปิดกว้าง
มันจะมีความสุขที่ไหนล่ะ
ก็มีความสุขที่ได้ตอมเราไง
ปล่อยมันตอมไปสิ
ทีนี้มันตอม
เราไม่ชอบ
เลยแผ่เมตตาให้มันไป
บางทีแผ่เมตตายุงเพราะไม่อยากให้ยุงมากวน 5555
ปลวกขึ้นบ้าน
แผ่เมตตาให้ปลวกอยู่อย่างมีความสุข
เราก็ออกจากบ้านไป
บ้านมันเอาห้อยคอไปด้วยไม่ได้นะ
ทีนี้พอทำไม่ได้
เพราะเราก็ยังยึดบ้านอยู่
ความคิดก็ตัน
พอตัน ทางออกก็เหลือน้อย
ดังนั้นถ้าคิดในแง่ดี
มีเมตตา
คิดตรงตามความจริง
จะมีแต่ทางออก
แต่เมื่อคิดไม่อดทน
อยากให้ตนเองเป็นสุขอยู่อย่างเดียว
คิดไปท่าไหนก็ตีบตัน
เราจึงไม่ค่อยมองเห็นทางออก
เพราะใจไม่ได้เปิดกว้าง
ขอบ่นสักหน่อย
อาการบ่นแม้สักนิดสักหน่อย
เป็นอาการแสดงของการ
ไม่ยอมรับความจริง
หิวก็บ่น
คือบ่นไม่บ่น ก็ไปหาของกินอยู่แล้ว
ก็ยังหาที่บ่น
อากาศหนาวก็บ่น
บ่นไม่บ่น เดี๋ยวไปเอาเสื้อมาใส่
ก็ยังจะบ่น
เป็นอาการแสดงของการ
ไม่ยอมรับความจริง
หิวก็บ่น
คือบ่นไม่บ่น ก็ไปหาของกินอยู่แล้ว
ก็ยังหาที่บ่น
อากาศหนาวก็บ่น
บ่นไม่บ่น เดี๋ยวไปเอาเสื้อมาใส่
ก็ยังจะบ่น
ทำดี ได้ดี ผลดีๆ
มีสิ่งไหนสมบูรณ์พร้อมอยู่ในมือ
เตรียมตัวทุกข์เพราะสิ่งนั้น
และมันจะให้ทุกข์มากกว่าสิ่งที่ไม่ดีเสียอีก
ของดีๆ ก็ต้องทุ่มแรงรักษามันมาก
เตรียมตัวทุกข์เพราะสิ่งนั้น
และมันจะให้ทุกข์มากกว่าสิ่งที่ไม่ดีเสียอีก
ของดีๆ ก็ต้องทุ่มแรงรักษามันมาก
ปฏิบัติธรรมเป็นการฝึกความอดทน
อดทนที่เมื่อมีอารมณ์มากระทบแล้ว
ไม่ไปสร้างกรรมชนิดใหม่ๆ ขึ้นมา
เพราะนั่นหมายถึงการสร้างการวนเวียนให้เกิดขึ้น
อดทนที่จะไม่กระทำกรรมใหม่
อดทนที่จะไม่กระทำคืน
อดทนได้ที่จะเมตตา
อดทนได้ที่จะเห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง
อดทนจนเห็นสอดคล้องกับความจริง
เมื่อเห็นแล้วจึงไม่ดิ้นหนีมัน
เมื่อประสบผลของกรรมแล้วก็ยอมรับ
ด้วยทุกอย่างที่เผล็ดผลแล้ว
ย่อมมีเหตุมา
จะเห็นก็ตาม จะไม่เห็นก็ตาม
ไม่ไปสร้างกรรมชนิดใหม่ๆ ขึ้นมา
เพราะนั่นหมายถึงการสร้างการวนเวียนให้เกิดขึ้น
อดทนที่จะไม่กระทำกรรมใหม่
อดทนที่จะไม่กระทำคืน
อดทนได้ที่จะเมตตา
อดทนได้ที่จะเห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง
อดทนจนเห็นสอดคล้องกับความจริง
เมื่อเห็นแล้วจึงไม่ดิ้นหนีมัน
เมื่อประสบผลของกรรมแล้วก็ยอมรับ
ด้วยทุกอย่างที่เผล็ดผลแล้ว
ย่อมมีเหตุมา
จะเห็นก็ตาม จะไม่เห็นก็ตาม
วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดูเหมือนกัน เห็นไม่เหมือนกัน
เห็นรูป เห็นนาม
เห็นกาย เห็นใจ
เห็นกายเป็นอย่างนี้
กายเดินไปมา
เห็นใจเป็นอย่างนี้
เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวโลภ
อย่างนี้เรียกเป็นสมถะ
แต่ถ้าเห็นไตรลักษณ์ของมัน
เช่น อ้าว กายไม่ใช่ตัวเรา เป็นของไม่เที่ยง
อันนี้เรียกเป็นวิปัสสนา
ตามดูเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน
ฝึกใหม่ก็เป็นสมถะกัน
ใจไปอยู่กับอารมณ์
ใจไม่มีกำลัง
จิตที่ยัังเกาะอารมณ์เป็นสสังขาริก
สูงสุดไปพรหม
จิตนี่ก็เกาะได้หมด รูป นาม ความนิ่ง ความว่าง
แต่วิปัสสนาเขาใช้อสังขาริก
อารัมนูปนิชฌาน
คือการสนใจอารมณ์
เช่น สนใจว่ากายมันเป็นอย่างนี้
มันนั่ง มันยืน มันเดิน มันนอน
เห็นกาย เห็นใจ
เห็นกายเป็นอย่างนี้
กายเดินไปมา
เห็นใจเป็นอย่างนี้
เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวโลภ
อย่างนี้เรียกเป็นสมถะ
แต่ถ้าเห็นไตรลักษณ์ของมัน
เช่น อ้าว กายไม่ใช่ตัวเรา เป็นของไม่เที่ยง
อันนี้เรียกเป็นวิปัสสนา
ตามดูเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน
ฝึกใหม่ก็เป็นสมถะกัน
ใจไปอยู่กับอารมณ์
ใจไม่มีกำลัง
จิตที่ยัังเกาะอารมณ์เป็นสสังขาริก
สูงสุดไปพรหม
จิตนี่ก็เกาะได้หมด รูป นาม ความนิ่ง ความว่าง
แต่วิปัสสนาเขาใช้อสังขาริก
อารัมนูปนิชฌาน
คือการสนใจอารมณ์
เช่น สนใจว่ากายมันเป็นอย่างนี้
มันนั่ง มันยืน มันเดิน มันนอน
เสียงในหัว
วิตก วิจารณ์ ก็เสียงในหัวนั่นแหละ
วิจารณ์ไปทุกเรื่องแหละ
ตัดสินคนนั้นคนนี้
นี่หมา นี่แมว
คนนี้สวย คนนี้ไม่สวย
นี่ถูก นี่ผิด
ถ้าฝึกสติสัมปชัญญะ
ก็จะเห็นเสียงในหัว
นั่งดูบ่อยๆ ก็จะเห็นอันนี้หยาบนิ ก็ทิ้งไป
ก็เข้าฌานแล้ว
เวลาปกติวิตกวิจารณ์นี่มันอารมณ์เยอะ
เปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย
เวลาคนจะตาย
ถ้าไม่เคยฝึกอะไรมาเลย
ก็จะชวนให้มาวิตกที่ พุทโธ หรืออะไรที่ดีๆ จะได้ไปสุคติ
อันนี้เขาเลยเรียกว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ (ความหมายคือ พามันมาอยู่อารมณ์นี้)
อีกชื่อของวิตกวิจารณ์คือ วจีสังขาร = เสียงในหัว
โดยทั่วไป
เมื่อวิตกเรื่องนึงดับไป
ก็ขึ้นเรื่องใหม่มา โผล่ไปโผล่มา
ถ้าจะฝึกสติสัมปัชัญญะไม่เอาฌาน
ก็ฝึกให้เห็นไตรลักษณ์ไป
แต่ถ้าจะเอาฌานต้องมาอยู่อารมณ์เดียว
ถ้าสติดีๆ ก็จะเห็นวิตกวิจารณ์
วิ่งเข้าวิ่งออก ไปๆ มาๆ
และก็เห็นช่วงที่มันไม่มีด้วย
วิจารณ์ไปทุกเรื่องแหละ
ตัดสินคนนั้นคนนี้
นี่หมา นี่แมว
คนนี้สวย คนนี้ไม่สวย
นี่ถูก นี่ผิด
ถ้าฝึกสติสัมปชัญญะ
ก็จะเห็นเสียงในหัว
นั่งดูบ่อยๆ ก็จะเห็นอันนี้หยาบนิ ก็ทิ้งไป
ก็เข้าฌานแล้ว
เวลาปกติวิตกวิจารณ์นี่มันอารมณ์เยอะ
เปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย
เวลาคนจะตาย
ถ้าไม่เคยฝึกอะไรมาเลย
ก็จะชวนให้มาวิตกที่ พุทโธ หรืออะไรที่ดีๆ จะได้ไปสุคติ
อันนี้เขาเลยเรียกว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ (ความหมายคือ พามันมาอยู่อารมณ์นี้)
อีกชื่อของวิตกวิจารณ์คือ วจีสังขาร = เสียงในหัว
โดยทั่วไป
เมื่อวิตกเรื่องนึงดับไป
ก็ขึ้นเรื่องใหม่มา โผล่ไปโผล่มา
ถ้าจะฝึกสติสัมปัชัญญะไม่เอาฌาน
ก็ฝึกให้เห็นไตรลักษณ์ไป
แต่ถ้าจะเอาฌานต้องมาอยู่อารมณ์เดียว
ถ้าสติดีๆ ก็จะเห็นวิตกวิจารณ์
วิ่งเข้าวิ่งออก ไปๆ มาๆ
และก็เห็นช่วงที่มันไม่มีด้วย
ทำท่าเป็นพระอริยะ ไม่ศึกษาไปตามลำดับ
นักปฏิบัติชอบไปทำท่าเหมือนพระอริยะ
เช่น
คุณสมบัติพระโสดาบัน คือศีล 5 บริบูรณ์
เราก็ดันไปนึกว่า ถ้ารักษาศีล 5 ได้สมบูรณ์
จะได้เป็นโสดาบัน
การปฏิบัติ "ไม่ได้" ทำกลับข้างอย่างนี้นะ
หรือ
คุณสมบัติพระอนาคามี คือ หมดกามราคะ ปฏิฆะ
บางคนก็พยายามไม่มีราคะ พยายามไม่มีปฏิฆะ
ก็คงจะได้เป็นพระอนาคามี
ตัณหาพอมันอยากเป็นก็ชอบกลับข้างอยู่เรื่อย
หรืออีกตัวอย่าง
ไปรู้ว่าคุณสมบัติพระอรหันต์คือ มีสติสมบูรณ์
ก็ไปพยาย้าม พยายาม ปฏิบัติให้สติสมบูรณ์อยู่นั่น
ข้ามโสดาบันไปเสียฉิบ
ทำกลับข้าง
ไม่ทำตามลำดับ
ไม่ศึกษาโดยการรู้จักตนเอง
พอเห็นความเป็นจริงตามอริยสัจ
สังโยชน์จึงจะถูกละ
ไม่ใช่ละสังโยชน์ก่อน
เห็นตามความเป็นจริงก่อน
สังโยชน์จึงถูกละ
ศีลจึงสมบูรณ์
ไม่ใช่ไปทำศีลให้สมบูรณ์ก่อน
เราชอบไปทำแบบนี้
สลับขั้นตอน
ก็อาจจะเพราะเรียนมาแบบนี้ด้วยล่ะ
"ชอบรักษาดี"
แต่ลืมไปว่า "ชั่วยังไม่ได้ละ"
อันนี้ยังใช้ไม่ได้
เช่นว่า เราอยากจะคิดให้มันดี
ก็ทำความดี ให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิ ว่าไป
รักษาภพสวรรค์ ถ้าไม่ดีแตกก็ได้ไปสวรรคล่ะ
แต่ไม่ปิดอบาย
ความหมายคือ นรกยังอยู่
ฝึกแบบนี้ คือ
รอวันดีแตก เละตุ้มเป๊ะเหมือนเดิม
วิธีการแบบพระพุทธศาสนาคือ
ละฝ่ายไม่ดี
เมื่อละฝ่ายไม่ดี
ก็จะเหลือแต่ฝ่ายดี
ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์นะ
ปฏิบัติเพื่อรู้อริยสัจ
พอรู้ว่ามันไม่ดี การละเป็นเรื่องของมันเอง ตามธรรมชาติ
เช่น
คุณสมบัติพระโสดาบัน คือศีล 5 บริบูรณ์
เราก็ดันไปนึกว่า ถ้ารักษาศีล 5 ได้สมบูรณ์
จะได้เป็นโสดาบัน
การปฏิบัติ "ไม่ได้" ทำกลับข้างอย่างนี้นะ
หรือ
คุณสมบัติพระอนาคามี คือ หมดกามราคะ ปฏิฆะ
บางคนก็พยายามไม่มีราคะ พยายามไม่มีปฏิฆะ
ก็คงจะได้เป็นพระอนาคามี
ตัณหาพอมันอยากเป็นก็ชอบกลับข้างอยู่เรื่อย
หรืออีกตัวอย่าง
ไปรู้ว่าคุณสมบัติพระอรหันต์คือ มีสติสมบูรณ์
ก็ไปพยาย้าม พยายาม ปฏิบัติให้สติสมบูรณ์อยู่นั่น
ข้ามโสดาบันไปเสียฉิบ
ทำกลับข้าง
ไม่ทำตามลำดับ
ไม่ศึกษาโดยการรู้จักตนเอง
พอเห็นความเป็นจริงตามอริยสัจ
สังโยชน์จึงจะถูกละ
ไม่ใช่ละสังโยชน์ก่อน
เห็นตามความเป็นจริงก่อน
สังโยชน์จึงถูกละ
ศีลจึงสมบูรณ์
ไม่ใช่ไปทำศีลให้สมบูรณ์ก่อน
เราชอบไปทำแบบนี้
สลับขั้นตอน
ก็อาจจะเพราะเรียนมาแบบนี้ด้วยล่ะ
"ชอบรักษาดี"
แต่ลืมไปว่า "ชั่วยังไม่ได้ละ"
อันนี้ยังใช้ไม่ได้
เช่นว่า เราอยากจะคิดให้มันดี
ก็ทำความดี ให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิ ว่าไป
รักษาภพสวรรค์ ถ้าไม่ดีแตกก็ได้ไปสวรรคล่ะ
แต่ไม่ปิดอบาย
ความหมายคือ นรกยังอยู่
ฝึกแบบนี้ คือ
รอวันดีแตก เละตุ้มเป๊ะเหมือนเดิม
วิธีการแบบพระพุทธศาสนาคือ
ละฝ่ายไม่ดี
เมื่อละฝ่ายไม่ดี
ก็จะเหลือแต่ฝ่ายดี
ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์นะ
ปฏิบัติเพื่อรู้อริยสัจ
พอรู้ว่ามันไม่ดี การละเป็นเรื่องของมันเอง ตามธรรมชาติ
เห็นธรรม
เห็นธรรมะคือเห็นปฏิจจสมุปบาท
เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยอาศัยกันและกันเกิดขึ้ัน
ไม่ได้ไปเห็นความไม่มีตัวไม่มีตน
นิ่งๆ โล่งๆ อะไร
คำว่า อนัตตาไม่ใช่ไม่มีอะไร
ความหมายคือ มีเมื่อมีเหตุ ไม่มีเหตุก็ไม่มี
จึงเรียกว่าอนัตตา
อนัตตาคือ ไม่มีอะไรนิ่งๆ ถาวร
สมัยก่อนเห็นชัดๆ ก็เช่น แสวงหาความเป็นอมตะ
สมัยนี้ก็เช่น แก่แล้วไปทำสาวอยู่นั่น
อันนี้เป็นความไร้เดียงสาฝ่ายรูป
การแสวงหาจิตให้สงบตลอด
นิ่งตลอด ดีตลอด
ว่างตลอด ไม่มีกิเลสตลอด
ให้สามารถเห็นไม่มีตัวไม่มีตนตลอด
อันนี้ก็เป็นความไร้เดียงสาฝ่ายนาม
เราปฏิบัติเพื่อละความเห็นผิด และละความยึดมั่นถือมั่น
ความรู้สึกว่ามีตัว มีตน มีเรา มีเขา
ก็เกิดจากตัณหาบ้าง
มานะบ้าง
ทิฏฐิบ้าง
เป็นไปตามกระบวนการปฏิจจ.
พอเข้าไปเห็นความจริงขึ้นมาว่า
อ้อ พอเข้าไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นมา
จึงเกิดมี "เรา" ที่สำคัญเช่นนี้ขึ้น
เราจึงไม่มี
มีเมื่อกระทบผัสสะ
เมื่อผัสสะก็รู้สึก
เมื่อรู้สึกก็ชอบใจ
เกิดตัณหาทะยานอยากของจิต
เกิดจริงจังเกินเหตุ เป็นอุปาทาน
เห็นเป็นกระบวนการอย่างนี้
ไม่มีตัวตนจริงในที่ไหน
อย่างนี้เรียกเห็นธรรมะ
เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยอาศัยกันและกันเกิดขึ้ัน
ไม่ได้ไปเห็นความไม่มีตัวไม่มีตน
นิ่งๆ โล่งๆ อะไร
คำว่า อนัตตาไม่ใช่ไม่มีอะไร
ความหมายคือ มีเมื่อมีเหตุ ไม่มีเหตุก็ไม่มี
จึงเรียกว่าอนัตตา
อนัตตาคือ ไม่มีอะไรนิ่งๆ ถาวร
สมัยก่อนเห็นชัดๆ ก็เช่น แสวงหาความเป็นอมตะ
สมัยนี้ก็เช่น แก่แล้วไปทำสาวอยู่นั่น
อันนี้เป็นความไร้เดียงสาฝ่ายรูป
การแสวงหาจิตให้สงบตลอด
นิ่งตลอด ดีตลอด
ว่างตลอด ไม่มีกิเลสตลอด
ให้สามารถเห็นไม่มีตัวไม่มีตนตลอด
อันนี้ก็เป็นความไร้เดียงสาฝ่ายนาม
เราปฏิบัติเพื่อละความเห็นผิด และละความยึดมั่นถือมั่น
ความรู้สึกว่ามีตัว มีตน มีเรา มีเขา
ก็เกิดจากตัณหาบ้าง
มานะบ้าง
ทิฏฐิบ้าง
เป็นไปตามกระบวนการปฏิจจ.
พอเข้าไปเห็นความจริงขึ้นมาว่า
อ้อ พอเข้าไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นมา
จึงเกิดมี "เรา" ที่สำคัญเช่นนี้ขึ้น
เราจึงไม่มี
มีเมื่อกระทบผัสสะ
เมื่อผัสสะก็รู้สึก
เมื่อรู้สึกก็ชอบใจ
เกิดตัณหาทะยานอยากของจิต
เกิดจริงจังเกินเหตุ เป็นอุปาทาน
เห็นเป็นกระบวนการอย่างนี้
ไม่มีตัวตนจริงในที่ไหน
อย่างนี้เรียกเห็นธรรมะ
วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ยอม
วิปัสสนา
ไม่ได้ต้องการให้เห็นว่ามันดับวับๆ อยู่ตลอด
ดูให้มันเห็นแจ้ง ไม่ได้ดูให้มันดับ
ไม่ได้ดูให้มันหาย
ไม่ได้ดูให้เป็นอะไรๆ
บางครั้งก็อยู่นาน บางครั้งก็อยู่ไม่นาน
บางครั้งทุกข์มาก บางครั้งทุกข์น้อย
บางครั้งปฏิบัติดี บางครั้งปฏิบัติไม่ดี
บางครั้งสงสัย บางครั้งไม่สงสัย
ใครไม่สงสัยเลยแปลว่าปฏิบัติไม่ถูก
อวิชชาอยู่ที่อทุกขมสุขเวทนา
มันเฉยๆ จะไม่มารู้อริยสัจ ไม่รู้จะรู้ทำไม แล้วก็งง 55555
วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
จิตพลิกเอง - ช่วยพลิก
เวลาฝึกสติสัมปชัญญะถูกต้อง
ด้วยความรู้ตัว
มันจะมีช่วงเวลาที่จิตพลิก
ไปรู้อารมณ์เดียว
สบายๆ
อันนี้เขาทำสมถะ
สักหน่อยก็จะกลับมารู้กายรู้ใจ
พอเหนื่อยก็พลิกไปรู้อารมณ์เดียวสบายๆ อีก
ฝึกถูกต้องจิตจะพลิกไปทำสมถะเอง
เวลาดูจิตไปนานๆ
เกิดฟุ้งซ่าน
มันก็พลิกมาดูกายได้เอง
การพลิกมาดูกาย
ปกติแล้วจะทำให้กำลังของจิตเยอะขึ้น
มันก็มาดูท้องบ้าง ดูธาตุบ้าง ตามเรื่อง
ปกติถ้าไม่แทรกแซงจิตก็ทำเอง
ถ้าจะช่วย ก็ได้ แต่ต้องรู้หลัก
ถ้าวิถีชีวิตเราไม่ได้สบายๆ พอที่จิตจะพลิกไปมาได้เอง
บางครั้งการงานวุ่นวายมากเกินไป
จิตพลิกไม่ได้เพราะงานมันยุ่งอยู่ทั้งวัน
จิตมันจะเหนื่อย
อันนี้ก็ช่วยมันพลิก
มันพลิกเองไม่ได้ มันเหนื่อยเกินไป
เราก็ดูไป
นี่ จิตมันเหนื่อย
มันพลิกมางี้
แล้วมันจะมีกำลัง
มันก็จะจำไว้ว่า อ้อ ทำแบบนี้
เราก็จะรู้วิธีช่วยมันได้
ด้วยความรู้ตัว
มันจะมีช่วงเวลาที่จิตพลิก
ไปรู้อารมณ์เดียว
สบายๆ
อันนี้เขาทำสมถะ
สักหน่อยก็จะกลับมารู้กายรู้ใจ
พอเหนื่อยก็พลิกไปรู้อารมณ์เดียวสบายๆ อีก
ฝึกถูกต้องจิตจะพลิกไปทำสมถะเอง
เวลาดูจิตไปนานๆ
เกิดฟุ้งซ่าน
มันก็พลิกมาดูกายได้เอง
การพลิกมาดูกาย
ปกติแล้วจะทำให้กำลังของจิตเยอะขึ้น
มันก็มาดูท้องบ้าง ดูธาตุบ้าง ตามเรื่อง
ปกติถ้าไม่แทรกแซงจิตก็ทำเอง
ถ้าจะช่วย ก็ได้ แต่ต้องรู้หลัก
ถ้าวิถีชีวิตเราไม่ได้สบายๆ พอที่จิตจะพลิกไปมาได้เอง
บางครั้งการงานวุ่นวายมากเกินไป
จิตพลิกไม่ได้เพราะงานมันยุ่งอยู่ทั้งวัน
จิตมันจะเหนื่อย
อันนี้ก็ช่วยมันพลิก
มันพลิกเองไม่ได้ มันเหนื่อยเกินไป
เราก็ดูไป
นี่ จิตมันเหนื่อย
มันพลิกมางี้
แล้วมันจะมีกำลัง
มันก็จะจำไว้ว่า อ้อ ทำแบบนี้
เราก็จะรู้วิธีช่วยมันได้
การปฏิบัติ
การปฏิบัติ
ไม่ใช่ให้ไปทำสิ่งที่ถูก
แต่ให้ละสิ่งที่ผิดไปเรื่อยๆ
ละหลง ไม่รู้กายรู้ใจ
ละความอยากจะเอา อยากจะดี
ไม่ใช่ให้ไปทำสิ่งที่ถูก
แต่ให้ละสิ่งที่ผิดไปเรื่อยๆ
ละหลง ไม่รู้กายรู้ใจ
ละความอยากจะเอา อยากจะดี
ทำอะไรอยู่
เอาสติไปกำหนดที่อารมณ์
อันนี้จะไม่ใช่สติปัฏฐาน
เราแค่เอาอารมณ์ของสติปัฏฐาน
มาเป็นอารมณ์ของสมถะเท่านั้นเอง
ที่ถูกคือ
สติปัฏฐานนั้นเป็นฐานที่ตั้งของการเกิดสติ
เราต้องหัดไปจนมีสติ
คือให้เกิดความมีสติขึ้นใน 4 ฐานนี้
เช่น กายเราแต่เดิมมีอยู่
มันหลงตลอด
เราก็ใช้มันเป็นฐาน
เช่น ตามันกระพริบอยู่
แต่เดิมมันหลงไป
เราก็ใช้การกระพริบตานี่เป็นฐานของการรู้สึก
ไม่ใช่เอาสติไปกำหนดที่ฐาน
ถ้าทำแบบนี้จะเป็นวิธีการของสมถะ
เหมือนกับเราไปจดจ่อข้างนอกนั่นแหละ
เช่น เราเอาอารมณ์กสิณมาอันนึง
วางไว้ แล้วเอาสติไปจดจ่อที่นั่น
แบบนี้เรียกว่าเอาสติไปจ่อที่อารมณ์
ทีนี้แทนที่จะไปจ่ออารมณ์ภายนอก
ก็เอากาย ใจมาเป็นอารมณ์แทน
คือ เอาสติไปกำหนดที่กายที่ใจ ที่ใดที่นึง
อันนี้ก็เป็นสมถะ
หลังๆ นี่มักฝึกจนกลายเป็น
เอาสติไปจมอยู่กับฐาน
ที่ถูกคือ เอาฐาน เป็นที่ตั้งให้กับสติ หรือความรู้สึกตัว
เดิมมันหลงมาก ก็เอา กาย เวทนา จิต ธรรมเนี่ย
เป็นฐานให้รู้สึกตัวเข้าไว้
สิ่งที่สำคัญคือ ต้องรู้ว่าตอนนี้ทำอะไร
จะกำหนดก็ไม่ผิด
ทำสมถะก็ไม่ได้เสียหาย
แต่ต้องรู้ว่านี่กำลังทำสมถะ
อย่าไปหลงว่ากำลังทำอย่างอื่นอยู่
สมถะมันคือการที่ไปใส่ใจ สนใจในตัวอารมณ์
จะข้างนอก ข้างใน
จะบัญญัติ จะปรมัตถ์ก็ได้หมด
อันนี้จะไม่ใช่สติปัฏฐาน
เราแค่เอาอารมณ์ของสติปัฏฐาน
มาเป็นอารมณ์ของสมถะเท่านั้นเอง
ที่ถูกคือ
สติปัฏฐานนั้นเป็นฐานที่ตั้งของการเกิดสติ
เราต้องหัดไปจนมีสติ
คือให้เกิดความมีสติขึ้นใน 4 ฐานนี้
เช่น กายเราแต่เดิมมีอยู่
มันหลงตลอด
เราก็ใช้มันเป็นฐาน
เช่น ตามันกระพริบอยู่
แต่เดิมมันหลงไป
เราก็ใช้การกระพริบตานี่เป็นฐานของการรู้สึก
ไม่ใช่เอาสติไปกำหนดที่ฐาน
ถ้าทำแบบนี้จะเป็นวิธีการของสมถะ
เหมือนกับเราไปจดจ่อข้างนอกนั่นแหละ
เช่น เราเอาอารมณ์กสิณมาอันนึง
วางไว้ แล้วเอาสติไปจดจ่อที่นั่น
แบบนี้เรียกว่าเอาสติไปจ่อที่อารมณ์
ทีนี้แทนที่จะไปจ่ออารมณ์ภายนอก
ก็เอากาย ใจมาเป็นอารมณ์แทน
คือ เอาสติไปกำหนดที่กายที่ใจ ที่ใดที่นึง
อันนี้ก็เป็นสมถะ
หลังๆ นี่มักฝึกจนกลายเป็น
เอาสติไปจมอยู่กับฐาน
ที่ถูกคือ เอาฐาน เป็นที่ตั้งให้กับสติ หรือความรู้สึกตัว
เดิมมันหลงมาก ก็เอา กาย เวทนา จิต ธรรมเนี่ย
เป็นฐานให้รู้สึกตัวเข้าไว้
สิ่งที่สำคัญคือ ต้องรู้ว่าตอนนี้ทำอะไร
จะกำหนดก็ไม่ผิด
ทำสมถะก็ไม่ได้เสียหาย
แต่ต้องรู้ว่านี่กำลังทำสมถะ
อย่าไปหลงว่ากำลังทำอย่างอื่นอยู่
สมถะมันคือการที่ไปใส่ใจ สนใจในตัวอารมณ์
จะข้างนอก ข้างใน
จะบัญญัติ จะปรมัตถ์ก็ได้หมด
ความอยากกับสมถะเกิดร่วมกันไม่ได้
ความอยากกับสมถะเกิดร่วมกันไม่ได้
โลภ หวังผล
ไม่ได้จริง
สติจำเป็นในที่ทั้งปวง
โลภ หวังผล
ไม่ได้จริง
สติจำเป็นในที่ทั้งปวง
สัมปชัญญะโดยย่อ
ทำอะไร
ทำเพื่ออะไร
ทำอย่างไร
ทำไปด้วยความรู้ตัว
ทำไปแล้วสามารถระลึกได้
ทำอันนี้ด้วยจิตอะไร
พูดอย่างนี้ด้วยจิตอะไร
ทำเพื่ออะไร
ทำอย่างไร
ทำไปด้วยความรู้ตัว
ทำไปแล้วสามารถระลึกได้
ทำอันนี้ด้วยจิตอะไร
พูดอย่างนี้ด้วยจิตอะไร
ธรรมปีติ - โลภปีติ
ได้ดังใจแล้วมีปีติ
อันนี้เรียก โลภะ
ดูไม่ยาก
ถ้าอยากรู้ว่าโสมนัสเกิดกับโลภะรึป่าว
ดูตรงกันข้าม
โดนขัดแล้วโทสะมั้ย
คนละเรื่องกับธรรมปีติ
ยิ่งเห็นไม่ได้ดั่งใจ
ยิ่งเข้าใจธรรม
ยิ่งปีติ
โอ้ว ทุกข์นี่จะให้หายไม่ยอมหายนะนี่
อันนี้เรียก โลภะ
ดูไม่ยาก
ถ้าอยากรู้ว่าโสมนัสเกิดกับโลภะรึป่าว
ดูตรงกันข้าม
โดนขัดแล้วโทสะมั้ย
คนละเรื่องกับธรรมปีติ
ยิ่งเห็นไม่ได้ดั่งใจ
ยิ่งเข้าใจธรรม
ยิ่งปีติ
โอ้ว ทุกข์นี่จะให้หายไม่ยอมหายนะนี่
วิริยสัมโพชฌงค์
เพียรให้เกิดปัญญา
เพียรรู้
ไม่ใช่เพียรแก้ทุกข์
อย่างอื่นเสื่อมไม่เป็นไร
ปัญญาอย่าเสื่อม
เพียรรู้
ไม่ใช่เพียรแก้ทุกข์
อย่างอื่นเสื่อมไม่เป็นไร
ปัญญาอย่าเสื่อม
เห็นโทษ จึงขยันขึ้นมา
เห็นโทษ จึงขยันขึ้นมา
แต่ถ้ากลบเอาไว้
อยากเอาดี
อยากหนีร้าย
อยากเอาแต่สงบ
ก็เมาหมกอยู่อย่างนั้น
แต่ถ้ากลบเอาไว้
อยากเอาดี
อยากหนีร้าย
อยากเอาแต่สงบ
ก็เมาหมกอยู่อย่างนั้น
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด!!!
โปรดสังเกตระหว่างบรรทัด
เพื่ออนาคตจะได้ดีๆ
...เธอเห็นตัณหานั่นมั้ย...
โปรดสังเกตระหว่างบรรทัด
เพื่ออนาคตจะได้ดีๆ
...เธอเห็นตัณหานั่นมั้ย...
วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
หลงของวิปัสสนา
การที่จิตรู้นั่นนี่
เช่นโกรธเกิดขึ้นดับไป ฯลฯ
คือ ยังไม่รู้รวบยอดสรุป
รู้แยกส่วน
อันนี้ยังเป็น "เรารู้" อยู่
แต่ก็รู้ไปอย่างนี้เป็นการฝึก
หรือบางทีมันพากษ์รายละเอียด
รู้อย่างนู้นอย่างนี้ สภาวะนั่นนี่
อันนี้จริงๆ จัดเป็นความหลง
แต่ความหลงแบบนี้ก็เอามาทำสมถะได้เหมือนกัน
วิปัสสนาไม่ได้สนใจสภาวะ
วิปัสสนาสนใจลักษณะ
รู้กายรู้ใจไม่จำเป็นต้องเป็นวิปัสสนา
อย่างสติปัฏฐานนี่ก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง
สนใจอารมณ์ว่าหายใจเข้าหายใจออก
สนใจท้องพองเข้า ยุบออก
อันนี้เป็นสมถะ
วิปัสสนาสนใจไตรลักษณ์ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน
รู้สภาวะเหมือนกัน
แต่ไม่สนใจ
สมถะสนใจสภาวะ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน
ณาณสมถะ
มันก็เห็นไตรลักษณ์เหมือนกัน
แต่เห็นแบบเทียบเอา
ไม่เห็นจริง
พูดตรงๆ ก็ วิปัสสนูปกิเลส
เช่นโกรธเกิดขึ้นดับไป ฯลฯ
คือ ยังไม่รู้รวบยอดสรุป
รู้แยกส่วน
อันนี้ยังเป็น "เรารู้" อยู่
แต่ก็รู้ไปอย่างนี้เป็นการฝึก
หรือบางทีมันพากษ์รายละเอียด
รู้อย่างนู้นอย่างนี้ สภาวะนั่นนี่
อันนี้จริงๆ จัดเป็นความหลง
แต่ความหลงแบบนี้ก็เอามาทำสมถะได้เหมือนกัน
วิปัสสนาไม่ได้สนใจสภาวะ
วิปัสสนาสนใจลักษณะ
รู้กายรู้ใจไม่จำเป็นต้องเป็นวิปัสสนา
อย่างสติปัฏฐานนี่ก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง
สนใจอารมณ์ว่าหายใจเข้าหายใจออก
สนใจท้องพองเข้า ยุบออก
อันนี้เป็นสมถะ
วิปัสสนาสนใจไตรลักษณ์ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน
รู้สภาวะเหมือนกัน
แต่ไม่สนใจ
สมถะสนใจสภาวะ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน
ณาณสมถะ
มันก็เห็นไตรลักษณ์เหมือนกัน
แต่เห็นแบบเทียบเอา
ไม่เห็นจริง
พูดตรงๆ ก็ วิปัสสนูปกิเลส
จิตที่เกิดปัญญา
จิตที่เกิดปัญญาจะมองเห็นเป็นภาพรวม
ไม่ได้มาแยกว่า
ความโกรธเกิดขึ้นดับไป
ความโลภเกิดขึ้นดับไป
รูปเกิดขึ้นดับไป ฯลฯ
มันรวบเลย อะไรที่มันเกิด ดับหมด
ไม่ได้มาแยกว่า
ความโกรธเกิดขึ้นดับไป
ความโลภเกิดขึ้นดับไป
รูปเกิดขึ้นดับไป ฯลฯ
มันรวบเลย อะไรที่มันเกิด ดับหมด
วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
สังวรไม่ใช่ทำช้าๆ
ไม่ใช่มาฝึกทำอะไรช้าๆ
แต่ฝึกสติให้เร็ว
กิเลสเป็นอสังขาริก
ไม่ต้องเชิญก็มา
เกิดเอง
สติต้องสู้กับอสังขาริก
ช้าไม่ได้กินอ่ะ
แต่ฝึกสติให้เร็ว
กิเลสเป็นอสังขาริก
ไม่ต้องเชิญก็มา
เกิดเอง
สติต้องสู้กับอสังขาริก
ช้าไม่ได้กินอ่ะ
ทางเลือก
ธรรมดาของจิตจะติดสัญญาอดีต
เวลามี 2 ทางให้เลือก
จะไปทางคุ้นเคยก่อน
รู้สึกปลอดภัยดี
พึงสะสมสัญญาดีๆ เอาไว้
เวลามี 2 ทางให้เลือก
จะไปทางคุ้นเคยก่อน
รู้สึกปลอดภัยดี
พึงสะสมสัญญาดีๆ เอาไว้
วิตก วิจารณ์ - วจีสังขาร
สังเกตเวลานั่งสมาธิ
ดูลม ดูกาย ดูอะไรไปสบายๆ
วิตก
เป็นความคิดที่เกิดขึ้นมาของจิตเอง
ผุดขึ้นมา
ไม่ใช่เราไปช่วยคิด
แล้วพอขึ้นมาแล้ว
เราก็ไปสนใจมัน
อยากรู้เรื่องนั้นให้มากขึ้น
อันนี้เรียกว่าวิจารณ์
ถ้าสติสัมปชัญญะดี
พวกวิตกวิจารณ์ก็จะไม่ค่อยเข้ามาสู่ใจ
มีอยู่ก็เห็นอยู่ห่างๆ
ไม่มีนิวรณ์
พวกนี้มันเป็นวจีสังขาร
จิตเรามันพูดได้เอง
คอยพูดอยู่นั่น
ที่บอกว่าปฏิบัติไปห้ามพูด
เอาจริงทำไม่ได้หรอก ว่าไปอย่างนั้นเอง
วจีสังขารมันทำงานได้เอง
พูดเป็นธรรมดา
เหมือนหายใจเข้าออก
มันคอยพูด
คอยไปรู้นั่นรู้นี่
เป็นธรรมดาของจิต
ไม่ต้องไปปฏฺิบัติเพื่อพยายามจะไม่รู้ จะไม่พูด
ดูความเป็นธรรมดา
มันพากษ์ของมันเอง
มันบอกของมันเอง
มันสนใจของมันเอง
สักพักก็เลิกสนใจของมันเอง ไปสนใจอย่างอื่นต่อ
ให้เห็นมันก็พอ
ว่ามันเป็นไปเอง
เป็นธรรมดาของมัน
ดูลม ดูกาย ดูอะไรไปสบายๆ
วิตก
เป็นความคิดที่เกิดขึ้นมาของจิตเอง
ผุดขึ้นมา
ไม่ใช่เราไปช่วยคิด
แล้วพอขึ้นมาแล้ว
เราก็ไปสนใจมัน
อยากรู้เรื่องนั้นให้มากขึ้น
อันนี้เรียกว่าวิจารณ์
ถ้าสติสัมปชัญญะดี
พวกวิตกวิจารณ์ก็จะไม่ค่อยเข้ามาสู่ใจ
มีอยู่ก็เห็นอยู่ห่างๆ
ไม่มีนิวรณ์
พวกนี้มันเป็นวจีสังขาร
จิตเรามันพูดได้เอง
คอยพูดอยู่นั่น
ที่บอกว่าปฏิบัติไปห้ามพูด
เอาจริงทำไม่ได้หรอก ว่าไปอย่างนั้นเอง
วจีสังขารมันทำงานได้เอง
พูดเป็นธรรมดา
เหมือนหายใจเข้าออก
มันคอยพูด
คอยไปรู้นั่นรู้นี่
เป็นธรรมดาของจิต
ไม่ต้องไปปฏฺิบัติเพื่อพยายามจะไม่รู้ จะไม่พูด
ดูความเป็นธรรมดา
มันพากษ์ของมันเอง
มันบอกของมันเอง
มันสนใจของมันเอง
สักพักก็เลิกสนใจของมันเอง ไปสนใจอย่างอื่นต่อ
ให้เห็นมันก็พอ
ว่ามันเป็นไปเอง
เป็นธรรมดาของมัน
รังเกียจกิเลสคนอื่น
ส่วนใหญ่ชอบรังเกียจกิเลสคนอื่น
มันก็เป็นกิเลสตัวนั่นแหละ
เมื่อคนนั้นยังไม่มีปัญญา
ยังเป็นปุถุชน
มันก็มีโอกาสหลงผิดแล้วก็ไปทำ
ไปทำก็เป็นธรรมดา
เกิดแล้วก็ดับไป
มันก็ไม่ใช่คนนั้นละ
เปลี่ยนคน
มันเป็นชั่วขณะ
แล้วก็ดับไป
ทีนี้เราชอบมองไปที่ความผิดของคนอื่น
ทำไมทำอย่างงี้ ทำไมพูดอย่างงี้
ที่จริงเป็นอาการกิเลสเราเอง
เพราะความจริงมันคือ "ไม่มีคน"
ง่ายที่สุดคือ
เมื่อไร "เห็นคนอื่นผิด แสดงว่าเราผิด"
มันก็เป็นกิเลสตัวนั่นแหละ
เมื่อคนนั้นยังไม่มีปัญญา
ยังเป็นปุถุชน
มันก็มีโอกาสหลงผิดแล้วก็ไปทำ
ไปทำก็เป็นธรรมดา
เกิดแล้วก็ดับไป
มันก็ไม่ใช่คนนั้นละ
เปลี่ยนคน
มันเป็นชั่วขณะ
แล้วก็ดับไป
ทีนี้เราชอบมองไปที่ความผิดของคนอื่น
ทำไมทำอย่างงี้ ทำไมพูดอย่างงี้
ที่จริงเป็นอาการกิเลสเราเอง
เพราะความจริงมันคือ "ไม่มีคน"
ง่ายที่สุดคือ
เมื่อไร "เห็นคนอื่นผิด แสดงว่าเราผิด"
อวิชชาไม่มีตัวตน
อวิชชาไม่มีตัวตน
กิเลสก็ไม่มีตัวตน
ปีศาจก็ไม่ได้มีตัวตน
มีเหตุเกิดขึ้นก็มีเหมือนมีจริง
เหตุหมดก็ดับไป
ในกาลก่อนแต่บัดนี้ อวิชชามิได้มี
แต่ต่อมาก็เกิดขึ้นในภายหลัง
มีเหตุก็เกิดขึ้น
ต่อมาก็ดับไป
มีเหตุใหม่ก็เกิดขึ้นใหม่
แล้วก็ดับลง
อะไรเกิดขึ้นดับได้หมด
ทุกข์ สุข สงบ ก็เหมือนกัน
จึงไม่ต้องไปรังเกียจรังงอนกิเลสนักหนา
ส่วนมากชอบรังเกียจกิเลสคนอื่น
กิเลสก็ไม่มีตัวตน
ปีศาจก็ไม่ได้มีตัวตน
มีเหตุเกิดขึ้นก็มีเหมือนมีจริง
เหตุหมดก็ดับไป
ในกาลก่อนแต่บัดนี้ อวิชชามิได้มี
แต่ต่อมาก็เกิดขึ้นในภายหลัง
มีเหตุก็เกิดขึ้น
ต่อมาก็ดับไป
มีเหตุใหม่ก็เกิดขึ้นใหม่
แล้วก็ดับลง
อะไรเกิดขึ้นดับได้หมด
ทุกข์ สุข สงบ ก็เหมือนกัน
จึงไม่ต้องไปรังเกียจรังงอนกิเลสนักหนา
ส่วนมากชอบรังเกียจกิเลสคนอื่น
อาสวะ
กิเลสประเภทอาสวะ
ครอบคลุมจิตใจอยู่
ทำให้จิตไม่เป็นอิสระ
ไม่โปร่ง ไม่ใส
ไม่เบา
รู้สึกว่ามีอะไรครอบอยู่
ไม่ทิ้งโลก
ไม่ทิ้งความสงบ
ไม่ทิ้งความรู้
กิเลสกลุ่มนี้
ต้องผู้ปฏิบัติถึงจะเห็น
เหมือนไม่ออกไปสักที
เหมือนมีอะไรเคลือบๆ ใจอยู่
ครอบคลุมจิตใจอยู่
ทำให้จิตไม่เป็นอิสระ
ไม่โปร่ง ไม่ใส
ไม่เบา
รู้สึกว่ามีอะไรครอบอยู่
ไม่ทิ้งโลก
ไม่ทิ้งความสงบ
ไม่ทิ้งความรู้
กิเลสกลุ่มนี้
ต้องผู้ปฏิบัติถึงจะเห็น
เหมือนไม่ออกไปสักที
เหมือนมีอะไรเคลือบๆ ใจอยู่
วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
อาการอุปาทาน - ยึดก็ทุกข์
ปฏิบัติไปลองสังเกต
น้ำหนักในตัวกับน้ำหนักภายนอกมันไม่เท่ากัน
ภายนอกสบายๆ โล่งๆ
น้ำหนักแท้จริงอยู่แถวๆ อก
ความหนักๆ ในอก
เป็นอาการแสดงความยึด
ยึดมากหนักมาก
น้ำหนักของอุปาทาน
ถ้าไม่มีความยึดจะไม่เกิดน้ำหนัก
ยิ่งทำกรรมก็เกิดน้ำหนักมาก
ถ้าเคยเห็นน้ำหนัก
เวลามีน้ำหนักเกิดขึ้นจะรู้เร็วมาก
เพ่งนิด เพ่งหน่อย จะทำเพื่อตัวเองหน่อย
หนักขึ้นมาละ
อันนี้เป็นอาการ "ยึดเมื่อไรทุกข์เมื่อนั้น
ต่อมาฝึกต่อไป
น้ำหนักภายใน ภายนอกเท่ากัน
เป็นธาตุเหมือนกัน
เห็นภายในภายนอกโดยความเสมอกัน
คนเห็นแบบนี้ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์
พระอรหันต์จึงมีจิตเดียว
ที่ท่านชอบพูด จิตหนึ่ง จิตเดียว คือมันเท่ากัน
เวลาท่านพูดถึงนิพพาน
ท่านไม่ได้พูดถึงจิต
ท่านพูดถึงสิ่งที่จิตไปรู้เข้า
ส่วนตัวจิตที่ไปรู้เข้าเรียกว่า มหากิริยาจิต ไม่มีน้ำหนัก
ไม่มีน้ำหนัก
มันก็ไม่ก่อกรรม
สิ่งที่มหากิริยาจิตไปรู้เข้าก็เท่ากันหมดทั้งโลก
เขาเรียกว่า หนึ่ง
ไม่มีแบ่งแยก ไม่มีบวกไม่มีลบ ไม่มีมาไม่มีไป ไม่มีเกิดไม่มีตาย
เราไปฟัง ... จึงไม่รู้เรื่อง 5555
น้ำหนักในตัวกับน้ำหนักภายนอกมันไม่เท่ากัน
ภายนอกสบายๆ โล่งๆ
น้ำหนักแท้จริงอยู่แถวๆ อก
ความหนักๆ ในอก
เป็นอาการแสดงความยึด
ยึดมากหนักมาก
น้ำหนักของอุปาทาน
ถ้าไม่มีความยึดจะไม่เกิดน้ำหนัก
ยิ่งทำกรรมก็เกิดน้ำหนักมาก
ถ้าเคยเห็นน้ำหนัก
เวลามีน้ำหนักเกิดขึ้นจะรู้เร็วมาก
เพ่งนิด เพ่งหน่อย จะทำเพื่อตัวเองหน่อย
หนักขึ้นมาละ
อันนี้เป็นอาการ "ยึดเมื่อไรทุกข์เมื่อนั้น
ต่อมาฝึกต่อไป
น้ำหนักภายใน ภายนอกเท่ากัน
เป็นธาตุเหมือนกัน
เห็นภายในภายนอกโดยความเสมอกัน
คนเห็นแบบนี้ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์
พระอรหันต์จึงมีจิตเดียว
ที่ท่านชอบพูด จิตหนึ่ง จิตเดียว คือมันเท่ากัน
เวลาท่านพูดถึงนิพพาน
ท่านไม่ได้พูดถึงจิต
ท่านพูดถึงสิ่งที่จิตไปรู้เข้า
ส่วนตัวจิตที่ไปรู้เข้าเรียกว่า มหากิริยาจิต ไม่มีน้ำหนัก
ไม่มีน้ำหนัก
มันก็ไม่ก่อกรรม
สิ่งที่มหากิริยาจิตไปรู้เข้าก็เท่ากันหมดทั้งโลก
เขาเรียกว่า หนึ่ง
ไม่มีแบ่งแยก ไม่มีบวกไม่มีลบ ไม่มีมาไม่มีไป ไม่มีเกิดไม่มีตาย
เราไปฟัง ... จึงไม่รู้เรื่อง 5555
ความเข้าใจผิดที่แฝงมากับคำว่า อนัตตา
ความเข้าใจผิดที่แฝงมากับคำว่า อนัตตา
คือมันเลยไปเข้าใจว่า "มีอัตตา" ให้ละ
เป็นกลของภาษาเฉยๆ
จริงๆ
ไม่ได้แปลว่ามีตัวตนอะไรจะให้ละ
ที่ให้ละคือ
"ความเข้าใจผิดว่ามีอัตตา" และ "ความยึดถือมั่น"
เรียนมากๆ ว่าพระอรหันต์ละนู่นละนี่
เราก็จะอยากไปละบ้าง
ละบ้านลูกเดียวเลย
คือมันยังไม่ทันละความเห็นผิดเลย
จะไปทำอะไรมันก็เป็น "เราละ" อยู่
มีตัวตนไปละ
ก็ออกปากอ่าวไทยไป...
ได้ยินว่า พระอรหันต์ไม่มีกิเลส
ก็อยากเอาบ้าง
ทำนู่นทำนี่ ยังไม่ได้ละความเห็นผิด
ก็กลายเป็น "เรามีความสามารถละกิเลสได้"
มี "เรา" ไปกำหนดให้กิเลสมันหาย
เข้าป่าไปอีก...
จำให้แม่นๆ ว่า
การปฏิบัตินี้ เบื้องแรก
ละความเห็นผิดก่อน
ละข้อปฏิบัติที่ผิดพลาดที่เป็นสีลัพพตปรามาส
ที่เป็นความยึดว่า
เพื่อเราจะได้ดี
เพื่อเราจะมีความสุข
เพื่อเราจะพ้นทุกข์
พวกนี้เป็น สีลัพพตปรามาส
ละความรู้สึกว่าปฏิบัติเพื่อตัวเรา
คือมันเลยไปเข้าใจว่า "มีอัตตา" ให้ละ
เป็นกลของภาษาเฉยๆ
จริงๆ
ไม่ได้แปลว่ามีตัวตนอะไรจะให้ละ
ที่ให้ละคือ
"ความเข้าใจผิดว่ามีอัตตา" และ "ความยึดถือมั่น"
เรียนมากๆ ว่าพระอรหันต์ละนู่นละนี่
เราก็จะอยากไปละบ้าง
ละบ้านลูกเดียวเลย
คือมันยังไม่ทันละความเห็นผิดเลย
จะไปทำอะไรมันก็เป็น "เราละ" อยู่
มีตัวตนไปละ
ก็ออกปากอ่าวไทยไป...
ได้ยินว่า พระอรหันต์ไม่มีกิเลส
ก็อยากเอาบ้าง
ทำนู่นทำนี่ ยังไม่ได้ละความเห็นผิด
ก็กลายเป็น "เรามีความสามารถละกิเลสได้"
มี "เรา" ไปกำหนดให้กิเลสมันหาย
เข้าป่าไปอีก...
จำให้แม่นๆ ว่า
การปฏิบัตินี้ เบื้องแรก
ละความเห็นผิดก่อน
ละข้อปฏิบัติที่ผิดพลาดที่เป็นสีลัพพตปรามาส
ที่เป็นความยึดว่า
เพื่อเราจะได้ดี
เพื่อเราจะมีความสุข
เพื่อเราจะพ้นทุกข์
พวกนี้เป็น สีลัพพตปรามาส
ละความรู้สึกว่าปฏิบัติเพื่อตัวเรา
ความรู้สึกว่ามีตัวเรา
ความรู้สึกว่ามีตัวเราก็ไม่เที่ยง
ความรู้สึกว่าไม่มีตัวเราก็ไม่เที่ยง
เมื่อเข้าใจอย่างนี้
จะรู้ว่า ตัวเราจริงๆ ไม่มี
พระโสดาบันรู้สึกว่ามีตัวเรา
ยึดว่าตัวเราเหมือนกัน แขนเรา ขาเรา
แต่ไม่เข้าใจผิด
พระโสดาบันนั้นเห็นสุขบ้างทุกข์บ้าง
ยังไม่เห็นความล้วนๆ
ก็ยังเห็นว่าเป็นตัวเรา แต่เห็นว่ามันไม่เที่ยง
ความรู้สึกว่าไม่มีตัวเราก็ไม่เที่ยง
เมื่อเข้าใจอย่างนี้
จะรู้ว่า ตัวเราจริงๆ ไม่มี
พระโสดาบันรู้สึกว่ามีตัวเรา
ยึดว่าตัวเราเหมือนกัน แขนเรา ขาเรา
แต่ไม่เข้าใจผิด
พระโสดาบันนั้นเห็นสุขบ้างทุกข์บ้าง
ยังไม่เห็นความล้วนๆ
ก็ยังเห็นว่าเป็นตัวเรา แต่เห็นว่ามันไม่เที่ยง
กิเลสเกิดขึ้นต้องดับมัน?
มีกิเลสมาให้รู้กิเลส
ให้ฝึกที่รู้ (ไม่ใช่ไปฝึกละ)
ฝึกให้รู้ว่ากิเลสไม่ใช่เรา
เป็นนามธรรมอย่างนึง
เกิดเพราะเหตุปัจจัย
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
พอรู้ก็จะละ
การละไม่ใช่ละกิเลส
มันเกิดมาแล้ว ไม่ต้องไปละ
สิ่งไหนเกิดแล้วมันดับเองทั้งนั้นแหละ
แต่ที่ละไป
คือฉันทราคะในกิเลสนั้นเท่านั้นเอง
สังเกตมาที่ความเข้าใจผิดว่า
"กิเลสเกิดขึ้นต้องดับมัน"
ถ้าคิดอย่างนี้
ก็จะติดแหง่กอยู่ที่สมถะตลอดกาลนานเทอญ
เข้าใจใหม่ว่า สิ่งที่ละคือ ละฉันทราคะ
ละฉันทราคะเป็นอย่างไร
เช่น
เวลากิเลสเกิดขึ้น
เราไม่ชอบกิเลส
เนี่ย..ที่ละคือละตัว "ไม่ชอบกิเลส"
เพราะกิเลสมันเกิดขึ้นแล้ว
เดี๋ยวมันก็ดับไป
สักหน่อยก็เกิดอีก
เราไม่เกิดฉันทราคะ คือ ไม่เกิดความไม่ชอบกิเลส
อย่างนี้ชื่อว่า "ละ"
ไม่ไปเกิดความเข้าใจผิดในกิเลสว่ามันเป็นตัวเรา
ให้ฝึกที่รู้ (ไม่ใช่ไปฝึกละ)
ฝึกให้รู้ว่ากิเลสไม่ใช่เรา
เป็นนามธรรมอย่างนึง
เกิดเพราะเหตุปัจจัย
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
พอรู้ก็จะละ
การละไม่ใช่ละกิเลส
มันเกิดมาแล้ว ไม่ต้องไปละ
สิ่งไหนเกิดแล้วมันดับเองทั้งนั้นแหละ
แต่ที่ละไป
คือฉันทราคะในกิเลสนั้นเท่านั้นเอง
สังเกตมาที่ความเข้าใจผิดว่า
"กิเลสเกิดขึ้นต้องดับมัน"
ถ้าคิดอย่างนี้
ก็จะติดแหง่กอยู่ที่สมถะตลอดกาลนานเทอญ
เข้าใจใหม่ว่า สิ่งที่ละคือ ละฉันทราคะ
ละฉันทราคะเป็นอย่างไร
เช่น
เวลากิเลสเกิดขึ้น
เราไม่ชอบกิเลส
เนี่ย..ที่ละคือละตัว "ไม่ชอบกิเลส"
เพราะกิเลสมันเกิดขึ้นแล้ว
เดี๋ยวมันก็ดับไป
สักหน่อยก็เกิดอีก
เราไม่เกิดฉันทราคะ คือ ไม่เกิดความไม่ชอบกิเลส
อย่างนี้ชื่อว่า "ละ"
ไม่ไปเกิดความเข้าใจผิดในกิเลสว่ามันเป็นตัวเรา
ว่าด้วยโลกุตตรจิต
ฝึกปฏิบัติไป
เห็นความปรุงแต่งทั้งดีทั้งไม่ดีก็ชั่วคราว
ก็เลิกจะเอาดี เลิกผลักไสไม่ดี
จิตก็เข้าสู่ภาวะความเป็นกลางต่อความปรุงแต่ง
แล้วก็ไปเห็นสภาวะความไม่ปรุงแต่งเข้า
โลกุตตรจิต
เป็นจิตที่ปรุงแต่ง เป็นสังขาร
ไปรู้ความไม่ปรุงแต่ง
ไปรู้นิพพาน ซึ่งเป็นวิสังขาร
ทั้งนี้โลกุตตรจิต
เป็นสังขารประเภทที่ไม่ปรุงแต่งตามขันธ์
แต่เดิมสังขารเกิดขึ้นเราปรุงต่อ
มันเลยวนเวียน
ต่อมาสังขารเกิดขึ้นเราไม่ปรุงตาม
อาการไม่ปรุงตามนี้เป็นลักษณะแบบโลกุตตระ
จนเมื่อสมบูรณ์ก็เป็นโลกุตตรจิตเห็นนิพพาน
นิพพานนั้นไม่เกิดดับ
แต่โลกุตตรจิตเกิดดับ
มหากิริยาจิต หรือจิตหนึ่ง
เห็นทุกอย่างทั้งภายในภายนอกเป็นหนึ่ง
จิตนี้เกิดดับ
แต่สิ่งที่เห็น ไม่เกิดดับ
เป็นความว่าง เป็นสุญญตา ตามแต่จะพูด ตรงหมดแหละ
เห็นความปรุงแต่งทั้งดีทั้งไม่ดีก็ชั่วคราว
ก็เลิกจะเอาดี เลิกผลักไสไม่ดี
จิตก็เข้าสู่ภาวะความเป็นกลางต่อความปรุงแต่ง
แล้วก็ไปเห็นสภาวะความไม่ปรุงแต่งเข้า
โลกุตตรจิต
เป็นจิตที่ปรุงแต่ง เป็นสังขาร
ไปรู้ความไม่ปรุงแต่ง
ไปรู้นิพพาน ซึ่งเป็นวิสังขาร
ทั้งนี้โลกุตตรจิต
เป็นสังขารประเภทที่ไม่ปรุงแต่งตามขันธ์
แต่เดิมสังขารเกิดขึ้นเราปรุงต่อ
มันเลยวนเวียน
ต่อมาสังขารเกิดขึ้นเราไม่ปรุงตาม
อาการไม่ปรุงตามนี้เป็นลักษณะแบบโลกุตตระ
จนเมื่อสมบูรณ์ก็เป็นโลกุตตรจิตเห็นนิพพาน
นิพพานนั้นไม่เกิดดับ
แต่โลกุตตรจิตเกิดดับ
มหากิริยาจิต หรือจิตหนึ่ง
เห็นทุกอย่างทั้งภายในภายนอกเป็นหนึ่ง
จิตนี้เกิดดับ
แต่สิ่งที่เห็น ไม่เกิดดับ
เป็นความว่าง เป็นสุญญตา ตามแต่จะพูด ตรงหมดแหละ
วิญญาณในปฏิจจฯ
เพราะความไม่รู้จึงไปทำกรรม
เป็นสังขาร
สังขารนี้ก็ไปเก็บไว้ในวิญญาณ ตัวนี้กล่าวถึงภวังคจิต
วิญญาณนี้ไปก่อนามรูป
ไม่ใช่แบบเที่ยง แต่แบบเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามเหตุปัจจัย
เมื่อนามรูปขึ้นมาทำหน้าที่
ก็เรียกเป็นอายตนะ
อายตนะนี้กระทบ ไปก่อให้เกิดวิญญาณ (พวกวิญญาณ 6)
วิญญาณ 2 แห่งนี้กล่าวถึงวิญญาณคนละอย่างกัน
อย่างหนึ่ง กล่าวถึงวิญญาณที่สร้างนามรูป
ซึ่งเป็นตัวเก็บสะสมกรรมต่างๆ ดีบ้างไม่ดีบ้าง
จุติจิต กับปฏิสนธิจิต
จริงๆ เป็นจิตอันเดียวกัน คือ ภวังคจิต
เปลี่ยนแค่ที่อยู่
เปลี่ยนแค่รูปร่างที่มันไปอาศัย
สมมติทำดี
ตาย
ได้นามรูปใหม่เป็นเทวดา
นามรูปเทวดานี้
ก็เพื่อไปรับผลแบบเทวดา
เกิดอายตนะ เกิดตาเพื่อไปกระทบรูปต่างๆ
เกิดหูไปกระทบเสียง
ก็เกิดวิญญาณ
อันนี้เป็นวิญญาณที่เกิดจากนามรูป
พอได้เห็นได้ยิน
ก็ไปทำกรรม
ทำกรรมก็สะสม
ก็ไปก่อนามรูปใหม่ขึ้นมา
มันก็วนๆ กันอยู่อย่างนี้
กิเลส - กรรม - วิบาก
เป็นสังขาร
สังขารนี้ก็ไปเก็บไว้ในวิญญาณ ตัวนี้กล่าวถึงภวังคจิต
วิญญาณนี้ไปก่อนามรูป
ไม่ใช่แบบเที่ยง แต่แบบเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามเหตุปัจจัย
เมื่อนามรูปขึ้นมาทำหน้าที่
ก็เรียกเป็นอายตนะ
อายตนะนี้กระทบ ไปก่อให้เกิดวิญญาณ (พวกวิญญาณ 6)
วิญญาณ 2 แห่งนี้กล่าวถึงวิญญาณคนละอย่างกัน
อย่างหนึ่ง กล่าวถึงวิญญาณที่สร้างนามรูป
ซึ่งเป็นตัวเก็บสะสมกรรมต่างๆ ดีบ้างไม่ดีบ้าง
จุติจิต กับปฏิสนธิจิต
จริงๆ เป็นจิตอันเดียวกัน คือ ภวังคจิต
เปลี่ยนแค่ที่อยู่
เปลี่ยนแค่รูปร่างที่มันไปอาศัย
สมมติทำดี
ตาย
ได้นามรูปใหม่เป็นเทวดา
นามรูปเทวดานี้
ก็เพื่อไปรับผลแบบเทวดา
เกิดอายตนะ เกิดตาเพื่อไปกระทบรูปต่างๆ
เกิดหูไปกระทบเสียง
ก็เกิดวิญญาณ
อันนี้เป็นวิญญาณที่เกิดจากนามรูป
พอได้เห็นได้ยิน
ก็ไปทำกรรม
ทำกรรมก็สะสม
ก็ไปก่อนามรูปใหม่ขึ้นมา
มันก็วนๆ กันอยู่อย่างนี้
กิเลส - กรรม - วิบาก
จิต มโน วิญญาณ
วิญญาณคือการรู้แจ้งอารมณ์
คือการรู้อารมณ์ลงไปธรรมดาๆ ตรงๆ
การรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
การรู้ว่ามีโลกนี้
จิตก็มีลักษณะนี้
คือลักษณะการรู้
รู้แจ้งอารมณ์
วิญญาณเป็นชื่อเรียกของจิต
จิตที่เกิดจากการกระทบอารมณ์เรียกว่า วิญญาณ
ตาไปกระทบกับรูป
เกิดการรับรู้อารมณ์ขึ้นมา
มีโลกปรากฏขึ้นมาทางตา
เรียกว่า จักขุวิญญาณ
ธัมมารมณ์ คือความคิด ความรู้สึกอะไรต่างๆ
กระทบกับใจ (หรือมโน)
กระทบแล้วเกิดความรู้สึกขึ้น เรารู้สึกอย่างนี้ เราคิดอย่างนี้
เรียก มโนวิญญาณ
วิญญาณ เป็นชื่อของจิต
แต่ว่าเป็นจิตที่เกิดจากการกระทบสัมผัส
ของอายตนะภายในและภายนอก
ในพระสูตรจะเจออยู่ 3 คำ
จิต มโน วิญญาณ
มโน จะเจอในแง่ว่า เอาไว้กระทบกับอารมณ์ทางใจ
มโน กระทบกัน ธรรมะ (หรือธัมมารมณ์) เช่น พวกความคิด ความรู้สึก
พอกระทบกับใจ ก็เกิดความรับรู้ขึ้น เรียกว่า "มโนวิญญาณ"
พอรู้สิ่งเหล่านี้ไปจนหมด
รู้ เข้าใจถูกต้อง เกิดปัญญา
จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อ่าว
คนพ้นกลับกลายเป็น "จิต" พ้น 5555
จิต มโน วิญญาณ เป็นอันเดียวกัน ก็มีแง่นี้ จะว่าอันเดียวกันก็ใช่
แล้วก็มีแง่ที่การใช้คำมันไม่เหมือนกันด้วย
ถ้าจะเรียน ก็เรียนครบๆ จะเข้าใจมากขึ้น
สรุปตกลงต่างกันยังไง
ตอบ ต่างกันที่ความคิดนั่นแหละ
เหมือนกุศล/อกุศลต่างกันยังไง
ก็ต่างที่ความคิดนั่นไง
การบอกความต่างแล้วประกอบเหตุผล
ก็เอาไว้สงบคำพวกทีี่ชอบเหตุผล
ให้ยอมมาปฏิบัติ
พอสักหน่อยปฏิบัติได้ผล
ก็ทิ้งเหตุผลอยู่ดี 5555
เรียนๆ ไปเจอคำว่า จิตหนึ่ง
จิตหนึ่ง หรือกิริยาจิต
หมายถึงจิตของพระอรหันต์
ที่ไม่แยกธรรมชาติกับตัวเรา
เรียนไปก็งงอีก
เป็นนักเรียนไม่ต้องไปงง
งง เป็นสังขาร
เลิกคิดก็เลิกงงเอง
รู้ไปตอนนี้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
ในการฝึกนั้นจะดูที่อะไรก็ได้
จะดูที่ความโกรธที่มากระทบ
จะดูที่มโน
หรือจะดูที่มโนวิญญาณก็ได้
รู้อะไรก็เอาอันนั้น
เหมือนการดู
จะรู้ที่จักขุประสาทก็ได้
จะรู้ที่รูปก็ได้
จะรู้ที่จักขุวิญญาณก็ได้
จะรู้ที่จักขุสัมผัสก็ได้
ถ้าไม่ทัน...จะรู้ที่เวทนาก็ได้
ถ้าไม่ทันอีก...จะรู้ที่สัญญาที่ผุดเนื่องด้วยรูปก็ได้
ถ้าไม่ทันอีก...จะรู้ที่ความปรุงแต่งทางใจที่ตามมาก็ได้
ดูการใช้คำเพิ่มเติม
เวลาใจกระทบธัมมารมณ์
พอกระทบก็เกิดขึ้นว่า
เราคิดอย่างนี้ เรารู้สึกอย่างนี้
การรับรู้อันนี้เรียกว่า มโนวิญญาณ
พอรับรู้แล้ว
สังขารก็ครอบงำจิตอีก
เป็นจิตชนิดใหม่ เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง
พอเป็นจิตชนิดใหม่นี้ ก็เรียกว่าเป็นจิต
คือ กุศลจิต อกุศลจิต
พอกุศลจิต อกุศลจิต ก็กระทบกับมโน
ก็เกิดมโนวิญญาณเกิดขึ้นมารู้ว่า เออ อันนี้กุศล
ตอนนึงเป็นวิญญาณ
ตอนนึงเป็นจิต
5555
คือการรู้อารมณ์ลงไปธรรมดาๆ ตรงๆ
การรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
การรู้ว่ามีโลกนี้
จิตก็มีลักษณะนี้
คือลักษณะการรู้
รู้แจ้งอารมณ์
วิญญาณเป็นชื่อเรียกของจิต
จิตที่เกิดจากการกระทบอารมณ์เรียกว่า วิญญาณ
ตาไปกระทบกับรูป
เกิดการรับรู้อารมณ์ขึ้นมา
มีโลกปรากฏขึ้นมาทางตา
เรียกว่า จักขุวิญญาณ
ธัมมารมณ์ คือความคิด ความรู้สึกอะไรต่างๆ
กระทบกับใจ (หรือมโน)
กระทบแล้วเกิดความรู้สึกขึ้น เรารู้สึกอย่างนี้ เราคิดอย่างนี้
เรียก มโนวิญญาณ
วิญญาณ เป็นชื่อของจิต
แต่ว่าเป็นจิตที่เกิดจากการกระทบสัมผัส
ของอายตนะภายในและภายนอก
ในพระสูตรจะเจออยู่ 3 คำ
จิต มโน วิญญาณ
มโน จะเจอในแง่ว่า เอาไว้กระทบกับอารมณ์ทางใจ
มโน กระทบกัน ธรรมะ (หรือธัมมารมณ์) เช่น พวกความคิด ความรู้สึก
พอกระทบกับใจ ก็เกิดความรับรู้ขึ้น เรียกว่า "มโนวิญญาณ"
พอรู้สิ่งเหล่านี้ไปจนหมด
รู้ เข้าใจถูกต้อง เกิดปัญญา
จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อ่าว
คนพ้นกลับกลายเป็น "จิต" พ้น 5555
จิต มโน วิญญาณ เป็นอันเดียวกัน ก็มีแง่นี้ จะว่าอันเดียวกันก็ใช่
แล้วก็มีแง่ที่การใช้คำมันไม่เหมือนกันด้วย
ถ้าจะเรียน ก็เรียนครบๆ จะเข้าใจมากขึ้น
สรุปตกลงต่างกันยังไง
ตอบ ต่างกันที่ความคิดนั่นแหละ
เหมือนกุศล/อกุศลต่างกันยังไง
ก็ต่างที่ความคิดนั่นไง
การบอกความต่างแล้วประกอบเหตุผล
ก็เอาไว้สงบคำพวกทีี่ชอบเหตุผล
ให้ยอมมาปฏิบัติ
พอสักหน่อยปฏิบัติได้ผล
ก็ทิ้งเหตุผลอยู่ดี 5555
เรียนๆ ไปเจอคำว่า จิตหนึ่ง
จิตหนึ่ง หรือกิริยาจิต
หมายถึงจิตของพระอรหันต์
ที่ไม่แยกธรรมชาติกับตัวเรา
เรียนไปก็งงอีก
เป็นนักเรียนไม่ต้องไปงง
งง เป็นสังขาร
เลิกคิดก็เลิกงงเอง
รู้ไปตอนนี้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
ในการฝึกนั้นจะดูที่อะไรก็ได้
จะดูที่ความโกรธที่มากระทบ
จะดูที่มโน
หรือจะดูที่มโนวิญญาณก็ได้
รู้อะไรก็เอาอันนั้น
เหมือนการดู
จะรู้ที่จักขุประสาทก็ได้
จะรู้ที่รูปก็ได้
จะรู้ที่จักขุวิญญาณก็ได้
จะรู้ที่จักขุสัมผัสก็ได้
ถ้าไม่ทัน...จะรู้ที่เวทนาก็ได้
ถ้าไม่ทันอีก...จะรู้ที่สัญญาที่ผุดเนื่องด้วยรูปก็ได้
ถ้าไม่ทันอีก...จะรู้ที่ความปรุงแต่งทางใจที่ตามมาก็ได้
ดูการใช้คำเพิ่มเติม
เวลาใจกระทบธัมมารมณ์
พอกระทบก็เกิดขึ้นว่า
เราคิดอย่างนี้ เรารู้สึกอย่างนี้
การรับรู้อันนี้เรียกว่า มโนวิญญาณ
พอรับรู้แล้ว
สังขารก็ครอบงำจิตอีก
เป็นจิตชนิดใหม่ เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง
พอเป็นจิตชนิดใหม่นี้ ก็เรียกว่าเป็นจิต
คือ กุศลจิต อกุศลจิต
พอกุศลจิต อกุศลจิต ก็กระทบกับมโน
ก็เกิดมโนวิญญาณเกิดขึ้นมารู้ว่า เออ อันนี้กุศล
ตอนนึงเป็นวิญญาณ
ตอนนึงเป็นจิต
5555
ติดสมถะ
แม้เข้าฌานไม่ได้
ทำสมาธิไม่เก่ง
แต่ก็ยังติดสมถะได้
ในแง่ที่ว่า
ติดว่าการปฏิบัติต้องสงบ
คือไปยึดเอาเป้าหมายที่พลาดไป
จริงๆ แล้วการปฏิบัติ
ก็เพื่อพ้นทุกข์เท่านั้น
ทำสมาธิไม่เก่ง
แต่ก็ยังติดสมถะได้
ในแง่ที่ว่า
ติดว่าการปฏิบัติต้องสงบ
คือไปยึดเอาเป้าหมายที่พลาดไป
จริงๆ แล้วการปฏิบัติ
ก็เพื่อพ้นทุกข์เท่านั้น
ิเริ่มจากความหลง
มีเรา มีเขา
มีผู้หญิง มีผู้ชาย
หลงไปตั้งแต่ต้น
มันเริ่มมาจากความไม่รู้
จึงไปทำอะไรเพื่อเรา
ความเคยชินที่่เกิดจากความหลง เรียกว่า อนุสัย
นอนเนื่องนี้ ความหมายคือ "ละไม่ได้"
เพราะยังไม่มีความรู้
ยังไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่มีปัญญา
หลงเสร็จก็มีเรา มีเขา
หลงไปเรียบร้อย
เจอของดีก็ชอบ เกิดราคะ
มีผู้หญิง มีผู้ชาย
หลงไปตั้งแต่ต้น
มันเริ่มมาจากความไม่รู้
จึงไปทำอะไรเพื่อเรา
ความเคยชินที่่เกิดจากความหลง เรียกว่า อนุสัย
นอนเนื่องนี้ ความหมายคือ "ละไม่ได้"
เพราะยังไม่มีความรู้
ยังไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่มีปัญญา
หลงเสร็จก็มีเรา มีเขา
หลงไปเรียบร้อย
เจอของดีก็ชอบ เกิดราคะ
จำไว้อย่างนั้น
สํญญานี้จำไว้ว่า "ถ้าได้อย่างใจ จะมีความสุข"
สัญญานี้จำไว้ว่า "ถ้าไม่ได้อย่างใจ จะมีความทุกข์"
เลยทำตามใจเรื่อยไป
พอไม่ได้ด่ั่งใจก็ทุกข์มาก
ทีนี้การฝึกไม่ตามใจ
มันก็จะเริ่มจำใหม่
ว่าได้บ้างไม่ได้บ้าง
พอมาเจอได้บ้างไม่ได้บ้าง
มันก็จะไม่ทุกข์หนักเท่าพวกที่เคยได้อะไรก็ได้ตลอด
สังขารก็ปรุงไปตามที่จำไว้
สิ่งใดครอบจิตได้จะเคยชิน
จะผุดขึ้นมาว่าอยากได้อยากเอาแบบเดิมอีก
อาการที่ผุดเรื่องเดิมๆ เมื่อเจอเหตุการณ์แบบเดิมๆ
เรียก อนุสัย
การจะละความเคยชิน
ต้องอาศัยปัญญาเท่านั้น
คือการรู้ทัน
กระทบอารมณ์
สัญญาผุด
อันนี้ + อันนี้ - คิดกันไป
อยากรู้ว่าสังขารครอบงำจิตรึป่าว
ดูว่ามันคิดเรื่องอื่นออกบ้างมั้ย
เช่น ยืนรอสามี
ไม่มาสักที มันหายหัวไปไหน ไปมีกิ๊กรึป่ว
คือมันคิดอย่างอื่นไม่ออกแล้ว
คิดออกแต่ว่าจะด่ามันยังไง
คนเดินผ่านไปผ่านมาไม่รู้เลย เป็นต้น
ถ้าเกิดอาการอย่างนี้ อย่าไปทำอย่างอื่น
หยุดเลย
มันถูกครอบแล้ว
คิดทำพูดอะไรจะผิดหมด
แต่ส่วนมากก็ชอบจะไปแก้ปัญหากันตอนนี้ล่ะ
วุ่นวายไปกันใหญ่
เวลาทำอะไรที่สังขารครอบงำเบ็ดเสร็จอย่างนี้
กรรมหนักมาก
เจตนาแรง
สัญญานี้จำไว้ว่า "ถ้าไม่ได้อย่างใจ จะมีความทุกข์"
เลยทำตามใจเรื่อยไป
พอไม่ได้ด่ั่งใจก็ทุกข์มาก
ทีนี้การฝึกไม่ตามใจ
มันก็จะเริ่มจำใหม่
ว่าได้บ้างไม่ได้บ้าง
พอมาเจอได้บ้างไม่ได้บ้าง
มันก็จะไม่ทุกข์หนักเท่าพวกที่เคยได้อะไรก็ได้ตลอด
สังขารก็ปรุงไปตามที่จำไว้
สิ่งใดครอบจิตได้จะเคยชิน
จะผุดขึ้นมาว่าอยากได้อยากเอาแบบเดิมอีก
อาการที่ผุดเรื่องเดิมๆ เมื่อเจอเหตุการณ์แบบเดิมๆ
เรียก อนุสัย
การจะละความเคยชิน
ต้องอาศัยปัญญาเท่านั้น
คือการรู้ทัน
กระทบอารมณ์
สัญญาผุด
อันนี้ + อันนี้ - คิดกันไป
อยากรู้ว่าสังขารครอบงำจิตรึป่าว
ดูว่ามันคิดเรื่องอื่นออกบ้างมั้ย
เช่น ยืนรอสามี
ไม่มาสักที มันหายหัวไปไหน ไปมีกิ๊กรึป่ว
คือมันคิดอย่างอื่นไม่ออกแล้ว
คิดออกแต่ว่าจะด่ามันยังไง
คนเดินผ่านไปผ่านมาไม่รู้เลย เป็นต้น
ถ้าเกิดอาการอย่างนี้ อย่าไปทำอย่างอื่น
หยุดเลย
มันถูกครอบแล้ว
คิดทำพูดอะไรจะผิดหมด
แต่ส่วนมากก็ชอบจะไปแก้ปัญหากันตอนนี้ล่ะ
วุ่นวายไปกันใหญ่
เวลาทำอะไรที่สังขารครอบงำเบ็ดเสร็จอย่างนี้
กรรมหนักมาก
เจตนาแรง
สังขารครอบงำจิต
พอสังขารครอบงำได้
มันก็คืออาการมีอารมณ์ร่วม
พอมีอารมณ์ร่วมมันก็พากาย พาวาจาไปเป็นนักแสดง
สัญญาผุดเพราะไปฟังเขามา
นักปฏิบัติธรรมจะต้องเป็นอย่างนี้
เรียบร้อย
ปรุงทำยังไงดีน้า
เพื่อจะแสดงให้สมบทบาท
ไม่ได้อะไรเลย
นอกจากได้ "แสดง"
วิธีคือรู้ทัน
ก็ไม่ทำตามมันได้
ปล่อยเด็กมันวิ่งเล่นไป
ดูมันคิดประหลาดๆ ไป
ไม่ทันก็หลงไปตามมันบ้าง
บางอารมณ์ก็รู้สึก
บางอารมณ์ก็เฉยๆ กะมันได้
ที่ฝึกสติก็เพื่อให้รู้ทันสังขารยิ่งๆ ขึ้นไป
สีล สมาธิ ปัญญาจริงๆ ก็เป็นสังขาร
แต่เป็นประเภท "แพข้าม"
ไม่ได้ฝึกเพื่อเอากุศลหรืออะไร
ฝึกให้ละความเห็นผิดเท่านั้น
มันก็คืออาการมีอารมณ์ร่วม
พอมีอารมณ์ร่วมมันก็พากาย พาวาจาไปเป็นนักแสดง
สัญญาผุดเพราะไปฟังเขามา
นักปฏิบัติธรรมจะต้องเป็นอย่างนี้
เรียบร้อย
ปรุงทำยังไงดีน้า
เพื่อจะแสดงให้สมบทบาท
ไม่ได้อะไรเลย
นอกจากได้ "แสดง"
วิธีคือรู้ทัน
ก็ไม่ทำตามมันได้
ปล่อยเด็กมันวิ่งเล่นไป
ดูมันคิดประหลาดๆ ไป
ไม่ทันก็หลงไปตามมันบ้าง
บางอารมณ์ก็รู้สึก
บางอารมณ์ก็เฉยๆ กะมันได้
ที่ฝึกสติก็เพื่อให้รู้ทันสังขารยิ่งๆ ขึ้นไป
สีล สมาธิ ปัญญาจริงๆ ก็เป็นสังขาร
แต่เป็นประเภท "แพข้าม"
ไม่ได้ฝึกเพื่อเอากุศลหรืออะไร
ฝึกให้ละความเห็นผิดเท่านั้น
วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
สังขารเวลาปรุงแต่ง
สังขารเวลาปรุงแต่งนั้น
ส่งผลกระทบต่อกาย ต่อความรู้สึก ต่อสัญญา
และกระทบต่อวิญญาณต่างๆ
รวมถึงส่งผลต่อสังขารใหม่ๆ ในรูปความเคยชินที่มากขึ้น
เห็นไม่ดีมากขึ้น คิดไม่ดีมากขึ้น
ส่งผลกระทบต่อกาย ต่อความรู้สึก ต่อสัญญา
และกระทบต่อวิญญาณต่างๆ
รวมถึงส่งผลต่อสังขารใหม่ๆ ในรูปความเคยชินที่มากขึ้น
เห็นไม่ดีมากขึ้น คิดไม่ดีมากขึ้น
ไปร้านอาหาร สังเกตการปรุง
อยากกินอันนั้นอันนี้
ส่งผลไปสู่ร่างกาย (สังขารปรุงรูป)
บ๋อยมาช้า ก็ปรุงอีก
เพราะมันจำว่า ถ้ามาเร็วจะถูกต้อง จะมีความสุข
โกรธละทีนี้ ลมหายใจเปลี่ยน
กายกระสับกระส่าย
เริ่มบ่น ระบาย หาคนแชร์
พอมีคนยิ่งถมมา
บ่นมากขึ้น ต้องมีกิริยา
ต้องเรียก ต้องจัดการ
หัดดูขันธ์ 5 ที่เปลี่ยนแปลงตามสังขาร
รู้เท่าทันกระบวนการเกิดแล้วดับ มันก็ไม่ปรุงต่อ
สัญเจตนา
ความรู้สึกว่ามีเรา และต้องทำเพื่อเรา
กรรมที่ทำเพื่อตัวเอง
อยากให้เราสุข
อยากให้เราพ้นทุกข์
อยากให้เราเก่ง
อยากให้เรา ...
กรรมที่ทำเพื่อตัวเอง
อยากให้เราสุข
อยากให้เราพ้นทุกข์
อยากให้เราเก่ง
อยากให้เรา ...
สัญญาเก่า
สัญญาเก่าเป็นไง
ดูเสียงพากษ์
เห็นแล้วรู้ว่าเป็นอะไร
เป็นเสียงพากษ์ทั้งหมดเลย
สัญญาเก่านี่ลบยาก
แต่เราก็ไม่ได้ฝึกลบสัญญาเดิม
เราฝึกสร้างสัญญาใหม่
จิตมันเกิดทีละดวง
เราเล่นเก้าอี้ดนตรีกัน
ไม่ใช่ "จงอย่าเป็นแก้ว"
ถ้าจะสะสมสัญญา
ท่านแนะให้สะสมสัญญาที่ดี
เช่น คบบัณฑิต ก็จะได้ฟังแต่เรื่องพ้นทุกข์ ความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตา
พวกนี้มันก็จะเก็บสะสมไว้
สัญญาเกิดกับผัสสะ
เราอยากรู้ว่าเราสะสมสัญญาประเภทไหน
ดูว่าผัสสะ แล้วอะไรผุดขึ้น
โดนรถบีบแตร เกิดอะไรขึ้นลองดู
แม่พูดอย่างนี้ ความจริงสอน คิดว่าแม่ด่ารึป่าว
สัญญาผุดแล้วดับ
แต่เรื่องไม่ดับ ถ้าผุดเรื่องไม่ดี ปรุงต่อ ก็เป็นอกุศล
จริงๆ ไม่ได้อยู่ที่อารมณ์กระทบ
ถ้าเราสะสมสัญญาที่ดี
มันก็ผุดเรื่องดีๆ ขึ้นมา
มันก็ปรุงดี จิตก็เป็นกุศล
จิตเป็นกุศล ก็ใกล้เคียงกับการที่จะรู้ความจริง
ใกล้เคียงกับสติสัมปชัญญะ
ไม่ไปไหนสักทีเพราะ
สัญญาสะสมแต่เรื่องไม่ดี
สังคม การคบคน เขาใส่มา
โดยเฉพาะคือผู้หวังดีทั้งหลาย มีพ่อแม่เป็นต้น
ความหวังดี เช่น ต้องหาสามีดีๆ ถึงจะมีความสุข เป็นต้น
ดูเสียงพากษ์
เห็นแล้วรู้ว่าเป็นอะไร
เป็นเสียงพากษ์ทั้งหมดเลย
สัญญาเก่านี่ลบยาก
แต่เราก็ไม่ได้ฝึกลบสัญญาเดิม
เราฝึกสร้างสัญญาใหม่
จิตมันเกิดทีละดวง
เราเล่นเก้าอี้ดนตรีกัน
ไม่ใช่ "จงอย่าเป็นแก้ว"
ถ้าจะสะสมสัญญา
ท่านแนะให้สะสมสัญญาที่ดี
เช่น คบบัณฑิต ก็จะได้ฟังแต่เรื่องพ้นทุกข์ ความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตา
พวกนี้มันก็จะเก็บสะสมไว้
สัญญาเกิดกับผัสสะ
เราอยากรู้ว่าเราสะสมสัญญาประเภทไหน
ดูว่าผัสสะ แล้วอะไรผุดขึ้น
โดนรถบีบแตร เกิดอะไรขึ้นลองดู
แม่พูดอย่างนี้ ความจริงสอน คิดว่าแม่ด่ารึป่าว
สัญญาผุดแล้วดับ
แต่เรื่องไม่ดับ ถ้าผุดเรื่องไม่ดี ปรุงต่อ ก็เป็นอกุศล
จริงๆ ไม่ได้อยู่ที่อารมณ์กระทบ
ถ้าเราสะสมสัญญาที่ดี
มันก็ผุดเรื่องดีๆ ขึ้นมา
มันก็ปรุงดี จิตก็เป็นกุศล
จิตเป็นกุศล ก็ใกล้เคียงกับการที่จะรู้ความจริง
ใกล้เคียงกับสติสัมปชัญญะ
ไม่ไปไหนสักทีเพราะ
สัญญาสะสมแต่เรื่องไม่ดี
สังคม การคบคน เขาใส่มา
โดยเฉพาะคือผู้หวังดีทั้งหลาย มีพ่อแม่เป็นต้น
ความหวังดี เช่น ต้องหาสามีดีๆ ถึงจะมีความสุข เป็นต้น
สัญญา
ความจำได้
เวลาจำเหตุผลอะไรได้เยอะๆ
มันก็จะพอใจ
สักหน่อยก็สงสัยอะไรขึ้นมาถามใหม่
แต่สัญญานี้ไม่ใช่ความรู้
ความหมายรู้
ถ้ามีความยึดมากๆ
มองไปจะรู้สึกว่าเป็นคนจริงๆ นะ
สัญญาเกิดกับจิตทุกดวง
อยู่ที่ว่าจิตเป็นแบบไหน
ถ้ามีความไม่รู้ ยึดว่ามีคน มันก็จำเอาไว้
"อัตตสัญญา"
เวลาจำเหตุผลอะไรได้เยอะๆ
มันก็จะพอใจ
สักหน่อยก็สงสัยอะไรขึ้นมาถามใหม่
แต่สัญญานี้ไม่ใช่ความรู้
ความหมายรู้
ถ้ามีความยึดมากๆ
มองไปจะรู้สึกว่าเป็นคนจริงๆ นะ
สัญญาเกิดกับจิตทุกดวง
อยู่ที่ว่าจิตเป็นแบบไหน
ถ้ามีความไม่รู้ ยึดว่ามีคน มันก็จำเอาไว้
"อัตตสัญญา"
วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560
วิญญาณหลักๆ ภวังคจิต
วิญญาณมีหลายวิญญาณ
วิญญาณที่ไม่โผล่ขึ้นมาทำหน้าที่
เรียก ภวังควิญญาณ
ตัวนี้เหมือนแกนหลักของชีวิต
เป็นวิญญาณที่เยอะที่สุด
แต่เราไม่ค่อยรู้
ถ้าเราทำกรรม
มันจะเก็บไว้ที่ภวังควิญญาณ
จึงต้องมาเรียนกลไกของมัน
เป็นจุดวัด เป็นอะไรทั้งหมด
ตัวนี้สำคัญ ต้องเรียนให้ถ่องแท้
จะเป็นตัวสร้างโลกประสบการณ์
ส่วนใหญ่จะมาได้เรียน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
เรื่องวิถีอะไรต่างๆ
พวกนี้ปลีกย่อย
พวกนี้ไม่ต้องสนใจก็ได้
ไม่ต้องไปสนใจว่า
ไปเห็นยังไง
เพราะการเห็น การได้ยินไรพวกนี้
มันมีกิริยาจิตมาก่อน
กิริยาจิตนี้เป็นอเหตุก
ห้ามไม่ได้
ถ้าจะสนใจ ก็สนใจที่ว่า
ถ้าจะทำโลกที่ดีต้องทำยังไง
จะเก็บโลกยังไงในภวังควิญญาณนั้น
ถ้ายังไม่พ้นทุกข์จะเก็บทรัพย์ในภวังควิญญาณยังไง
ใครเป็นยังไง
เป็นโลกที่เราสร้างขึ้นมาเองทั้งหมดเลย
ต้องรับผิดชอบเอง
ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง
การเลือกด้วยอำนาจเจตนา
อย่างน้อยที่สุดจะต้องหัดวิธีเลือกให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับตัวเอง
การเลือกนี้ เรียกว่า "การสมาทาน"
มันคือการเลือกโลกที่ดีให้กับตัวเอง
เลือกที่ตัวเองจะไม่เดือดร้อน
จิตที่เบิกบานผ่องใส
ความเบิกบานผ่องใสก็เก็บไว้ในภวังคจิต
อันนี้ก็เป็นโลกใหม่ของเรา
น้ำตก ดอกกุหลาบ
เป็นปรากฏการณ์เฉยๆ
ความเบิกบานผ่องใสเป็นโลกของจิต
ถ้าจิตคับแคบ
เห็นอะไรก็กลัวจะหมด
ไม่สามารถให้อะไรใครได้
เป็นความรู้สึกว่า "ไม่มี" ซึ่งเก็บไว้ในจิต
ชอบทำร้ายเบียดเบียน
ยิ่งแคบ
ความคับแคบนี้ก็เก็บเอาไว้
สร้างโลกเอาไว้ในจิต
ไม่เกี่ยวกับว่าเราเจออะไร
อยู่กับว่าเรากระทำคืนอย่างไรต่อปรากฏการณ์
นี้เป็นวิธีการสร้างโลกให้จิต
วิญญาณที่ไม่โผล่ขึ้นมาทำหน้าที่
เรียก ภวังควิญญาณ
ตัวนี้เหมือนแกนหลักของชีวิต
เป็นวิญญาณที่เยอะที่สุด
แต่เราไม่ค่อยรู้
ถ้าเราทำกรรม
มันจะเก็บไว้ที่ภวังควิญญาณ
จึงต้องมาเรียนกลไกของมัน
เป็นจุดวัด เป็นอะไรทั้งหมด
ตัวนี้สำคัญ ต้องเรียนให้ถ่องแท้
จะเป็นตัวสร้างโลกประสบการณ์
ส่วนใหญ่จะมาได้เรียน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
เรื่องวิถีอะไรต่างๆ
พวกนี้ปลีกย่อย
พวกนี้ไม่ต้องสนใจก็ได้
ไม่ต้องไปสนใจว่า
ไปเห็นยังไง
เพราะการเห็น การได้ยินไรพวกนี้
มันมีกิริยาจิตมาก่อน
กิริยาจิตนี้เป็นอเหตุก
ห้ามไม่ได้
ถ้าจะสนใจ ก็สนใจที่ว่า
ถ้าจะทำโลกที่ดีต้องทำยังไง
จะเก็บโลกยังไงในภวังควิญญาณนั้น
ถ้ายังไม่พ้นทุกข์จะเก็บทรัพย์ในภวังควิญญาณยังไง
ใครเป็นยังไง
เป็นโลกที่เราสร้างขึ้นมาเองทั้งหมดเลย
ต้องรับผิดชอบเอง
ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง
การเลือกด้วยอำนาจเจตนา
อย่างน้อยที่สุดจะต้องหัดวิธีเลือกให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับตัวเอง
การเลือกนี้ เรียกว่า "การสมาทาน"
มันคือการเลือกโลกที่ดีให้กับตัวเอง
เลือกที่ตัวเองจะไม่เดือดร้อน
จิตที่เบิกบานผ่องใส
ความเบิกบานผ่องใสก็เก็บไว้ในภวังคจิต
อันนี้ก็เป็นโลกใหม่ของเรา
น้ำตก ดอกกุหลาบ
เป็นปรากฏการณ์เฉยๆ
ความเบิกบานผ่องใสเป็นโลกของจิต
ถ้าจิตคับแคบ
เห็นอะไรก็กลัวจะหมด
ไม่สามารถให้อะไรใครได้
เป็นความรู้สึกว่า "ไม่มี" ซึ่งเก็บไว้ในจิต
ชอบทำร้ายเบียดเบียน
ยิ่งแคบ
ความคับแคบนี้ก็เก็บเอาไว้
สร้างโลกเอาไว้ในจิต
ไม่เกี่ยวกับว่าเราเจออะไร
อยู่กับว่าเรากระทำคืนอย่างไรต่อปรากฏการณ์
นี้เป็นวิธีการสร้างโลกให้จิต
ไม่ได้เรียนเพื่อหาที่พึ่ง
การเรียนไม่ได้เรียนเพื่อหาที่พึ่ง
แต่เรียนให้เห็นว่าไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งได้จริง
กุศล อกุศล
ก็เป็นจุดเทียบของทางโลกเท่านั้น
ก็แตกดับเหมือนกัน
เป็นโลก เป็นสังขตะ
เรียนความแตกต่าง
ดันเห็นกุศลดี จะเอาๆๆ
เห็นอกุศลไม่ดี ไม่เอาๆๆ
ไม่ใช่อย่างน้านนนน....
แต่เรียนให้เห็นว่าไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งได้จริง
กุศล อกุศล
ก็เป็นจุดเทียบของทางโลกเท่านั้น
ก็แตกดับเหมือนกัน
เป็นโลก เป็นสังขตะ
เรียนความแตกต่าง
ดันเห็นกุศลดี จะเอาๆๆ
เห็นอกุศลไม่ดี ไม่เอาๆๆ
ไม่ใช่อย่างน้านนนน....
ความกลัว
เป็นอาการแสดงของอัตตา
มีแบ่งแยกเรา
แบ่งแยกเขา
มีเรา มีผี
ความกลัวนนี้ก็จะพาไป
หาที่เกาะ
หาที่หลบ
กลัวไม่บรรลุธรรม
อัตตาพาไปเรียนนู้นก่อน
เรียนนี้ก่อน
มีความรู้แล้ว ภูมิใจ
มีความรู้ ต้องรักษา
มีแบ่งแยกเรา
แบ่งแยกเขา
มีเรา มีผี
ความกลัวนนี้ก็จะพาไป
หาที่เกาะ
หาที่หลบ
กลัวไม่บรรลุธรรม
อัตตาพาไปเรียนนู้นก่อน
เรียนนี้ก่อน
มีความรู้แล้ว ภูมิใจ
มีความรู้ ต้องรักษา
ขันธ์
สติสัมปชัญญะ ก็เป็นขันธ์
แต่ไม่ปรุงแต่งตามขันธ์
โลกุตตรจิต ก็เป็นขันธ์
แต่ไม่ปรุงแต่งตามขันธ์
ขันธ์ที่เกิดขึ้นนี่
มันปรุงขึ้นจากเหตุปัจจัยที่ทำไว้พร้อมแล้ว
หน้าที่ของเราคือ
"รับลูกเดียว"
แต่ทีนี้จะยอมรับ
แล้วไม่ปรุงแต่งต่อหรือเปล่า
ส่วนหลังนี่เป้นส่วนที่เป็นปัญหา
พอไม่ยอมก็เกิดตัณหา
เกิดตัณหาก็สร้างทุกข์ใหม่
ดังนั้น
หน้าที่ต่อวิบากคือ "รับ"
ในทางสภาวะการสังเกตคือ
มีแรงต้านของจิตหรือเปล่า
ถ้ามีก็คือมันไม่ยอมรับ
หน้าที่ก็ฝึกไปเรื่อยๆ สติสัมปชัญญะ
จะช่วยให้เกิดการยอมรับ
การยอมรับจะไม่มีการโทษใครๆ
เวลามีอัตตาจะไม่ยอมรับความจริง
ถ้ารู้สึกผิดจะเหมือนตัวโดนคุกคาม
มันจึงใช้วิธีโยนความผิด
วิปัสสนาจะไม่มีคำว่า "ทำไม"
ไม่มีคำว่า "น่าจะ"
แต่ไม่ปรุงแต่งตามขันธ์
โลกุตตรจิต ก็เป็นขันธ์
แต่ไม่ปรุงแต่งตามขันธ์
ขันธ์ที่เกิดขึ้นนี่
มันปรุงขึ้นจากเหตุปัจจัยที่ทำไว้พร้อมแล้ว
หน้าที่ของเราคือ
"รับลูกเดียว"
แต่ทีนี้จะยอมรับ
แล้วไม่ปรุงแต่งต่อหรือเปล่า
ส่วนหลังนี่เป้นส่วนที่เป็นปัญหา
พอไม่ยอมก็เกิดตัณหา
เกิดตัณหาก็สร้างทุกข์ใหม่
ดังนั้น
หน้าที่ต่อวิบากคือ "รับ"
ในทางสภาวะการสังเกตคือ
มีแรงต้านของจิตหรือเปล่า
ถ้ามีก็คือมันไม่ยอมรับ
หน้าที่ก็ฝึกไปเรื่อยๆ สติสัมปชัญญะ
จะช่วยให้เกิดการยอมรับ
การยอมรับจะไม่มีการโทษใครๆ
เวลามีอัตตาจะไม่ยอมรับความจริง
ถ้ารู้สึกผิดจะเหมือนตัวโดนคุกคาม
มันจึงใช้วิธีโยนความผิด
วิปัสสนาจะไม่มีคำว่า "ทำไม"
ไม่มีคำว่า "น่าจะ"
รูป
จะมีทั้งส่วนที่เป็นพื้นฐาน
และส่วนที่มันมาทำหน้าที่ (เป็นขันธ์ เป็นอายตนะ เป็นธาตุ)
ขันธ์ 5
อายตนะ 12
ธาตุ 18
นี้เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับโลก
คือเป็นปรากฏการณ์เท่านั้น
มันจะมีของจริงอยู่ด้วยข้างใน
หมายถึงสิ่งที่สะสมเอาไว้ด้วยอำนาจกรรม
โลกที่เราไปรับรู้
มีภูเขา มีต้นไม้ มีคนนั้นคนนี้
จริงๆ แล้วเราสร้างขึ้นมาเองหมด
เมื่อรู้สึกว่ามีคนด่าเรา
เราสร้างคนนั้นขึ้นมา
และสร้างเสียงนั้นขึ้นมาเอง
จิตไปเห็นอะไร
เป็นจิตชาติวิบาก
เราสร้างขึ้นมาเอง
ถ้าไม่สร้างขึ้นมามันก็ไม่เห็นภูเขา
เราไม่เห็น 6 ธาตุพื้นฐานเพราะหลงอยู่ในโลกของประสบการณ์
โลกของประสบการณ์ก็คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ 18
เมื่อทำกรรม
กรรมก็เก็บเอาไว้ในวิญญาณ
วิญญาณจะก่อนามรูปนั้นๆ ขึ้นมาเพื่อรอการให้ผล
พอมีเหตุปัจจัยพร้อม
นามรูปนี้ก็สร้างอายตนะขึ้นมาเพื่อจะรองรับการให้ผลอันนั้น
ธาตุ ๑๘ ผัสสะ
ธาตุพื้นฐาน 6
ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ
อันนี้เป็นธาตุย่อยๆ
ที่ยังไม่เป็นการทำงานของโลก
ส่วนธาตุ 18 นี้
เกิดจากการกระทบแล้วแตกตัวของธาตุพื้นฐาน
เป็นการทำงานของโลก เช่น จักขุธาตุ
เป็นวิปัสสนาภูมิ
นามรูปก็ไปสร้างอายตนะต่างๆ
อายตนะต่างๆ นี้ก็ไปสร้างธาตุ 18 ขึ้นมา
วิญญาณธาตุในธาตุ 6 นี้เป็นตัวสร้างนามรูป
เวลาทำอะไรไว้ก็เก็บสะสมไว้ในวิญญาณ
แต่ไม่ได้หมายความว่ามันคงที่
เกิดดับเหมือนกัน
ธาตุต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
นามรูปก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
นามรูปบางส่วนเท่านั้นที่ทำหน้าที่ของมัน
ให้เรารับรู้และก็เชื่อมสัมพันธ์กับโลกที่เราไปเกิด
ที่เรารับรู้ในโลกมนุษย์นี้
จะมีธาตุพื้นฐานติดตามเราไปด้วย
และเก็บสะสมเอาไว้
รูปบางประการ
เฉพาะจักขุประสาทบางอันเท่านั้นเอง
ที่ไปเป็นจักขุธาตุ (หรือจักขายตนะ)
เพื่อกระทบกับรูปภายนอกทำให้เกิดจักขุวิญญาณ
ให้เรารับรู้โลกภายนอกที่อยู่ในโลกมนุษย์นี้
ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ
อันนี้เป็นธาตุย่อยๆ
ที่ยังไม่เป็นการทำงานของโลก
ส่วนธาตุ 18 นี้
เกิดจากการกระทบแล้วแตกตัวของธาตุพื้นฐาน
เป็นการทำงานของโลก เช่น จักขุธาตุ
เป็นวิปัสสนาภูมิ
นามรูปก็ไปสร้างอายตนะต่างๆ
อายตนะต่างๆ นี้ก็ไปสร้างธาตุ 18 ขึ้นมา
วิญญาณธาตุในธาตุ 6 นี้เป็นตัวสร้างนามรูป
เวลาทำอะไรไว้ก็เก็บสะสมไว้ในวิญญาณ
แต่ไม่ได้หมายความว่ามันคงที่
เกิดดับเหมือนกัน
ธาตุต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
นามรูปก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
นามรูปบางส่วนเท่านั้นที่ทำหน้าที่ของมัน
ให้เรารับรู้และก็เชื่อมสัมพันธ์กับโลกที่เราไปเกิด
ที่เรารับรู้ในโลกมนุษย์นี้
จะมีธาตุพื้นฐานติดตามเราไปด้วย
และเก็บสะสมเอาไว้
รูปบางประการ
เฉพาะจักขุประสาทบางอันเท่านั้นเอง
ที่ไปเป็นจักขุธาตุ (หรือจักขายตนะ)
เพื่อกระทบกับรูปภายนอกทำให้เกิดจักขุวิญญาณ
ให้เรารับรู้โลกภายนอกที่อยู่ในโลกมนุษย์นี้
วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560
อภิญญา
อภิญญา
หรือ สยํ อภิญฺญา
คือความรู้เฉพาะหน้า
เห็นแล้วซึ้งสะเทือนลงไปในใจ
ปัญญาแบบนี้เท่านั้นจึงจะละกิเลสได้
หรือ สยํ อภิญฺญา
คือความรู้เฉพาะหน้า
เห็นแล้วซึ้งสะเทือนลงไปในใจ
ปัญญาแบบนี้เท่านั้นจึงจะละกิเลสได้
สังวรก่อนปหาน
นิสสรณะ อุบายออกจากรูป คือ
ทำให้หมดฉันทราคะในรูป
ไม่ได้ไปแก้ไขที่ตัวรูป
ไม่ได้ไปทำให้รูปดีหรือไม่ดี
แต่คือ ละฉันทราคะในมัน
แล้วก็ ปหานฉันทราคะในมัน
ก่อนจะ ปหาน ได้
ต้อง วินย ก่อน
ส่วนใหญ่ชอบ ปหาน เลย
พวกบู๊ล้างผลาญ
กิเลสเป็นปีศาจ ต้องกำจัดมัน
ตามที่ท่านว่าไว้คือ
ต้อง วินย ก่อน
วินย หมายถึง ทำให้หมดไป ทำให้สิ้นไป
ก่อนจะ ปหาน ได้มันต้องมี วินย ก่อน
วินัย คือการที่ฝึกฝนตนเอง จนเห็นความจริง
วินัย มี 2 อย่างคือ
สังวรวินัย ต้องรู้จักสังวรวินัยก่อน จึงจะปหานได้
ปหานวินัย
เบื้องแรกปิดกั้นกิเลสเอาไว้ก่อนโดยการสังวร
คือ มีสติสัมปชัญญะ
ก็จะปิดกั้นกิเลส ไม่ให้กิเลสเข้า
หรือให้ความเคยชินต่อกิเลสมันลดลง
แต่เดิมเห็นอันนี้แล้วชอบมาก
ฝึกสติเห็นบ่อยเข้าๆ
จากยินดีมันก็เลิกยินดี
อาการความเคยชินของกิเลสมันก็น้อยลง
แต่ผลความเคยชินของกิเลสนี่เราต้องรับนะ
เช่น เดิมเคยเห็นรูปนี้แล้วชอบ
มันก็ยังชอบอยู่อย่างนั้น
อันนี้เป็นวิบาก
ก็ปล่อยให้มันขึ้นมา
ก็ดูความชอบ ความพอใจไป
ไม่เสวยเวทนากับมัน ไม่ตาม มันก็ดับ
ความเคยชินก็ค่อยน้อยลงๆ
ต่อเมื่อพอทำอย่างนี้บ่อยๆ
จนเกิดศีล เกิดสมาธิ เกิดปัญญา
จึงจะ "ปหาน" ได้จริง
เพิ่งเริ่มต้นอยู่ๆ จะไปปหานเลย
ไม่รอด...
มันคนละขั้นกัน
ใหม่ๆ ยังไม่ต้องไปบ้าดีเดือด
ค่อยๆ ดูมันไป
ทำให้หมดฉันทราคะในรูป
ไม่ได้ไปแก้ไขที่ตัวรูป
ไม่ได้ไปทำให้รูปดีหรือไม่ดี
แต่คือ ละฉันทราคะในมัน
แล้วก็ ปหานฉันทราคะในมัน
ก่อนจะ ปหาน ได้
ต้อง วินย ก่อน
ส่วนใหญ่ชอบ ปหาน เลย
พวกบู๊ล้างผลาญ
กิเลสเป็นปีศาจ ต้องกำจัดมัน
ตามที่ท่านว่าไว้คือ
ต้อง วินย ก่อน
วินย หมายถึง ทำให้หมดไป ทำให้สิ้นไป
ก่อนจะ ปหาน ได้มันต้องมี วินย ก่อน
วินัย คือการที่ฝึกฝนตนเอง จนเห็นความจริง
วินัย มี 2 อย่างคือ
สังวรวินัย ต้องรู้จักสังวรวินัยก่อน จึงจะปหานได้
ปหานวินัย
เบื้องแรกปิดกั้นกิเลสเอาไว้ก่อนโดยการสังวร
คือ มีสติสัมปชัญญะ
ก็จะปิดกั้นกิเลส ไม่ให้กิเลสเข้า
หรือให้ความเคยชินต่อกิเลสมันลดลง
แต่เดิมเห็นอันนี้แล้วชอบมาก
ฝึกสติเห็นบ่อยเข้าๆ
จากยินดีมันก็เลิกยินดี
อาการความเคยชินของกิเลสมันก็น้อยลง
แต่ผลความเคยชินของกิเลสนี่เราต้องรับนะ
เช่น เดิมเคยเห็นรูปนี้แล้วชอบ
มันก็ยังชอบอยู่อย่างนั้น
อันนี้เป็นวิบาก
ก็ปล่อยให้มันขึ้นมา
ก็ดูความชอบ ความพอใจไป
ไม่เสวยเวทนากับมัน ไม่ตาม มันก็ดับ
ความเคยชินก็ค่อยน้อยลงๆ
ต่อเมื่อพอทำอย่างนี้บ่อยๆ
จนเกิดศีล เกิดสมาธิ เกิดปัญญา
จึงจะ "ปหาน" ได้จริง
เพิ่งเริ่มต้นอยู่ๆ จะไปปหานเลย
ไม่รอด...
มันคนละขั้นกัน
ใหม่ๆ ยังไม่ต้องไปบ้าดีเดือด
ค่อยๆ ดูมันไป
มิจฉาทิฏฐิไม่ได้เลวร้าย
ความหมายมันแค่ "ไม่พ้นทุกข์" เท่านั้นเอง
มันทำให้เรามีความสุขก็ได้นะ
ไปพรหมโลกก็ได้
มันทำให้เรามีความสุขก็ได้นะ
ไปพรหมโลกก็ได้
ข่มกิเลส
ข่มกิเลสก็ดี
ขัดเกลากิเลสก็ดี
วิธีการทางสมถะเหล่านี้
อันที่จริงมันมีความเข้าใจผิดเป็นฐานอยู่
เข้าใจว่าอกุศลไม่ดี
ต้องทำกุศลมาข่มทับมันไว้
จริงๆ มันไม่ได้มีกิเลสให้ข่มหรอก
เพราะจิตมันเกิดดับทีละดวง
เกิดด้วยเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปหมด
สมถะจึงพ้นทุกข์ไม่ได้จริง
เพราะมันมีสักกายทิฏฐิอยู่เบื้องหลัง
อยากให้เราดี อยากให้เราเป็นคนดี
อยากให้เป็นสุข อยากให้พ้นทุกข์
การกล่าวว่า "จะทำสมถะเพื่อข่มกิเลส"
เป็นความเข้าใจผิดในการทำสมถะ
หากจะฝึกทำสมถะต้องไม่คิดอย่างนี้
ต้องมีสัมมาทิฏฐิมาก่อน
จึงจะพ้นทุกข์ได้จริง
ทำสมถะเก่งๆ จะคิดว่าตัวเองเก่ง
ปฏิบัติดีจังเลย ราคะไม่เข้า
โทสะไม่มี
เก่งขึ้นทุกวัน
จะทำสมถะ
ให้ตั้งวัตถุประสงค์ว่าทำเพื่อพักผ่อน
เอาแรงไปดูกายดูใจให้เห็นตามความเป็นจริง
อย่าไปทำเพื่อข่มกิเลส
ขัดเกลากิเลสก็ดี
วิธีการทางสมถะเหล่านี้
อันที่จริงมันมีความเข้าใจผิดเป็นฐานอยู่
เข้าใจว่าอกุศลไม่ดี
ต้องทำกุศลมาข่มทับมันไว้
จริงๆ มันไม่ได้มีกิเลสให้ข่มหรอก
เพราะจิตมันเกิดดับทีละดวง
เกิดด้วยเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปหมด
สมถะจึงพ้นทุกข์ไม่ได้จริง
เพราะมันมีสักกายทิฏฐิอยู่เบื้องหลัง
อยากให้เราดี อยากให้เราเป็นคนดี
อยากให้เป็นสุข อยากให้พ้นทุกข์
การกล่าวว่า "จะทำสมถะเพื่อข่มกิเลส"
เป็นความเข้าใจผิดในการทำสมถะ
หากจะฝึกทำสมถะต้องไม่คิดอย่างนี้
ต้องมีสัมมาทิฏฐิมาก่อน
จึงจะพ้นทุกข์ได้จริง
ทำสมถะเก่งๆ จะคิดว่าตัวเองเก่ง
ปฏิบัติดีจังเลย ราคะไม่เข้า
โทสะไม่มี
เก่งขึ้นทุกวัน
จะทำสมถะ
ให้ตั้งวัตถุประสงค์ว่าทำเพื่อพักผ่อน
เอาแรงไปดูกายดูใจให้เห็นตามความเป็นจริง
อย่าไปทำเพื่อข่มกิเลส
ทำไมบางคนเจอผี
ทำไมบางคนไม่เจอ
บางคนปฏิบัติไปหน่อยก็เห็น
บางคนทำไงก็ไม่เห็น
บางคนไม่ทันปฏิบัติก็เห็นซะแระ
เหมือนคนเดินเต็มถนนไปหมด
เราจะสนใจแค่บางคน
ไม่ได้เห็นทุกคน
ขึ้นกับว่าจิตมันสนใจอะไร...ก็แค่นั้น
บางคนปฏิบัติไปหน่อยก็เห็น
บางคนทำไงก็ไม่เห็น
บางคนไม่ทันปฏิบัติก็เห็นซะแระ
เหมือนคนเดินเต็มถนนไปหมด
เราจะสนใจแค่บางคน
ไม่ได้เห็นทุกคน
ขึ้นกับว่าจิตมันสนใจอะไร...ก็แค่นั้น
รู้อุบายสลัดออก
รู้อุบายสลัดออก
ความหมายคือ อยู่กับมันอย่างไรโดยไม่ทุกข์
ใช้มันให้เกิดประโยชน์
พัฒนาตัวเองให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
ความหมายคือ อยู่กับมันอย่างไรโดยไม่ทุกข์
ใช้มันให้เกิดประโยชน์
พัฒนาตัวเองให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560
น่าจะ..น่าจะ ควรจะ...ควรจะ
ข้อสังเกตตัณหา
มันชอบบอกว่า
น่าจะอย่างนู้นเนอะ
น่าจะอย่างนี้เนอะ
การปฏิบัตินี่น่าจะเรียบง่าย
ไม่ก็ น่าจะยากกว่านี้หน่อย
เหมือนไม่ได้ทำอะไรเลย
น่าจะกำหนดตรงนี้หน่อย เดี๋ยวลอยเกินไป
มันไม่สบายใจ...................หลง 1
อ้าวหลงไปแล้ว.................รู้
น่าจะไม่หลงนะ..................หลง 2
ทำไงจะไม่หลงนะ..............หลง 3
กำหนดตรงลมหายใจหน่อยดีกว่า...........หลง 4
ทำไงจะกำหนดได้ยาวๆ........................หลง 5
หลงนานจัง.........................................หลง 6
เครียดมันหลงนาน...............................หลง 7
มันชอบบอกว่า
น่าจะอย่างนู้นเนอะ
น่าจะอย่างนี้เนอะ
การปฏิบัตินี่น่าจะเรียบง่าย
ไม่ก็ น่าจะยากกว่านี้หน่อย
เหมือนไม่ได้ทำอะไรเลย
น่าจะกำหนดตรงนี้หน่อย เดี๋ยวลอยเกินไป
มันไม่สบายใจ...................หลง 1
อ้าวหลงไปแล้ว.................รู้
น่าจะไม่หลงนะ..................หลง 2
ทำไงจะไม่หลงนะ..............หลง 3
กำหนดตรงลมหายใจหน่อยดีกว่า...........หลง 4
ทำไงจะกำหนดได้ยาวๆ........................หลง 5
หลงนานจัง.........................................หลง 6
เครียดมันหลงนาน...............................หลง 7
ฝึกสติเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ฝึกสติเอาสติ
ฝึกสติโดยระลึกว่าสติเป็นเครื่องมือ
สติถึงจะเกิดได้บ่อย
ถ้าฝึกสติเพื่อ "จะเอาสติ"
ตัณหาแทรกขนาดนี้
สติจะมาได้ยังไง
ฝึกสติเป็นเครื่องมือ
ให้รู้ว่าสติก็ไม่เที่ยง
บังคับบัญชาไม่ได้
หลงก็ไม่เที่ยง
บังคับไม่ได้
สติถึงจะเกิดได้บ่อย
ถ้าฝึกสติเพื่อ "จะเอาสติ"
ตัณหาแทรกขนาดนี้
สติจะมาได้ยังไง
ฝึกสติเป็นเครื่องมือ
ให้รู้ว่าสติก็ไม่เที่ยง
บังคับบัญชาไม่ได้
หลงก็ไม่เที่ยง
บังคับไม่ได้
ทำกรรม คือทำตามตัณหา
ตัวที่พาไปทำนู่นทำนี่
ถ้าเห็น เรียกว่าเห็นกรรมภพ
เรียกว่าเห็น ปฏิจจฯ ตอนปลาย
พอเห็นก็จะไม่ทำอะไรที่เป็นกรรม
ความหมายคือ ไม่ทำอะไรด้วยอำนาจของตัณหา
หมดกรรม
ตัดกรรม
ความหมายคือ ไม่ทำตามอำนาจตัณหา
ตัณหานี้มีตัวเราเป็นพื้นฐาน
จึงอยากได้ดี
จึงไปทำกรรม
ทีนี้เมื่อวิปัสสนารู้ทััน
แล้วย้อนกลับมาว่า
ตัวเราไม่มีหรอก
ก็เลยหมดกรรม
ถ้าเห็น เรียกว่าเห็นกรรมภพ
เรียกว่าเห็น ปฏิจจฯ ตอนปลาย
พอเห็นก็จะไม่ทำอะไรที่เป็นกรรม
ความหมายคือ ไม่ทำอะไรด้วยอำนาจของตัณหา
หมดกรรม
ตัดกรรม
ความหมายคือ ไม่ทำตามอำนาจตัณหา
ตัณหานี้มีตัวเราเป็นพื้นฐาน
จึงอยากได้ดี
จึงไปทำกรรม
ทีนี้เมื่อวิปัสสนารู้ทััน
แล้วย้อนกลับมาว่า
ตัวเราไม่มีหรอก
ก็เลยหมดกรรม
ตกลงจะต้องทำยังไง
ตกลงจะให้ใส่ชุดขาว หรือไม่ต้องใส่?
ตกลงจะต้องเดินจงกรม หรือไม่ต้องเดินจงกรม?
ตกลงจะต้องนั่งสมาธินานแค่ไหน?
ตกลงสงบแค่ไหนดี?
ตกลงจะดูอะไรดี?
ตกลงคือต้องเป็นคนธรรมดาใช่มั้ย?
ตกลงต้องนอนพื้นมั้ย?
ตกลงต้องกินให้อร่อยหรือไม่ต้องกินให้อร่อย?
ตกลงจะรักษาศีล 8 รึ ศีล 5 ดี?
...ไม่ต้องตกลงอะไรทั้งนั้นแหละ...
สิ่งที่ต้องทำคือ
ให้มาดูตัวบงการ
ดูตัวที่พาไปเลือก
มี ก มี ข
ยังไม่ต้องรีบไปเดิน
ยังไม่ต้องรีบไปนั่ง
มาดูตัวบงการก่อน ที่มันอยากจะไปทำอะไรๆ นั่นแหละ
มาดูตัวบงการ
รู้จักตัวบงการ
รู้จักมากๆ เข้า
ก็จะบงการเราไม่ได้
ถ้ายังแสวงหาอยู่
ให้มาดูตัวที่พาไปเลือก
พอเลือกจะใส่ชุดขาว
>>> โอ๊ยเราต้องเป็นคนธรรมดาๆ ต้องไม่ทำตัวประหลาด
พอจะนอนพื้น
>>> ดูสิว่ามันคิดว่าการนอนพื้นทำให้บรรลุ
ตกลงจะต้องเดินจงกรม หรือไม่ต้องเดินจงกรม?
ตกลงจะต้องนั่งสมาธินานแค่ไหน?
ตกลงสงบแค่ไหนดี?
ตกลงจะดูอะไรดี?
ตกลงคือต้องเป็นคนธรรมดาใช่มั้ย?
ตกลงต้องนอนพื้นมั้ย?
ตกลงต้องกินให้อร่อยหรือไม่ต้องกินให้อร่อย?
ตกลงจะรักษาศีล 8 รึ ศีล 5 ดี?
...ไม่ต้องตกลงอะไรทั้งนั้นแหละ...
สิ่งที่ต้องทำคือ
ให้มาดูตัวบงการ
ดูตัวที่พาไปเลือก
มี ก มี ข
ยังไม่ต้องรีบไปเดิน
ยังไม่ต้องรีบไปนั่ง
มาดูตัวบงการก่อน ที่มันอยากจะไปทำอะไรๆ นั่นแหละ
มาดูตัวบงการ
รู้จักตัวบงการ
รู้จักมากๆ เข้า
ก็จะบงการเราไม่ได้
ถ้ายังแสวงหาอยู่
ให้มาดูตัวที่พาไปเลือก
พอเลือกจะใส่ชุดขาว
>>> โอ๊ยเราต้องเป็นคนธรรมดาๆ ต้องไม่ทำตัวประหลาด
พอจะนอนพื้น
>>> ดูสิว่ามันคิดว่าการนอนพื้นทำให้บรรลุ
ปัญญาแท้ ปัญญาเทียม
สัมมัปปัญญา
ปัญญาอันชอบ
อันนี้หมายถึง
รู้แล้วหมดทุกข์มั้ย
หรือรู้แล้วแบกอยู่
รู้แล้วไม่ละ
รู้แล้วต้องมาถามให้อาจารย์รับรอง
ของจริงรู้แล้วต้องละได้
และละได้ก็เพราะรู้
รู้แล้ววางได้
วางการดิ้นรน
เลิกอยากได้นิพพานด้วยซ้ำไป
มันรู้ว่าอยากก็ไม่ได้หรอก
ยิ่งอยากยิ่งไม่ได้
ดูที่ "รู้ทุกข์ แล้วมันละสมุทัย" มั้ย
ถ้าไม่
ของปลอม...
ปัญญาอันชอบ
อันนี้หมายถึง
รู้แล้วหมดทุกข์มั้ย
หรือรู้แล้วแบกอยู่
รู้แล้วไม่ละ
รู้แล้วต้องมาถามให้อาจารย์รับรอง
ของจริงรู้แล้วต้องละได้
และละได้ก็เพราะรู้
รู้แล้ววางได้
วางการดิ้นรน
เลิกอยากได้นิพพานด้วยซ้ำไป
มันรู้ว่าอยากก็ไม่ได้หรอก
ยิ่งอยากยิ่งไม่ได้
ดูที่ "รู้ทุกข์ แล้วมันละสมุทัย" มั้ย
ถ้าไม่
ของปลอม...
เบื่อหลอก เบื่อจริง
อาการโหวงเหวง
จะไหว้พระให้เกิดปีติสักหน่อย
อ่าว ไม่เกิด
อาการเบื่อหน่ายเหลือเกิน
ไม่อยากเอาอะไรเลย
อันนี้เป็นเบื่อหลอก
หน้าที่คือดูลงไปว่าอาการนี้ก็ไม่เที่ยง
มันจะอยู่นานกี่วัน กี่เดือน
ก็ดูไป
จนจิตยอมรับ
และวางเฉยต่ออาการนี้ด้วย
เบื่อที่จะต้องมาคอยเบื่อ
อันนี้จึงเป็นเบื่อจริง
จะไหว้พระให้เกิดปีติสักหน่อย
อ่าว ไม่เกิด
อาการเบื่อหน่ายเหลือเกิน
ไม่อยากเอาอะไรเลย
อันนี้เป็นเบื่อหลอก
หน้าที่คือดูลงไปว่าอาการนี้ก็ไม่เที่ยง
มันจะอยู่นานกี่วัน กี่เดือน
ก็ดูไป
จนจิตยอมรับ
และวางเฉยต่ออาการนี้ด้วย
เบื่อที่จะต้องมาคอยเบื่อ
อันนี้จึงเป็นเบื่อจริง
ภังคญาณ
ฝึกๆ ไปจิตจนเห็นเกิดดับ
อีกสักหน่อยจะสนใจเฉพาะตอนดับ
สนใจแต่ความดับนี้เรียก ภังคญาณ
เห็นอะไรก็ดับเร็วไปหมด
ถึงตรงนั้นจะเริ่มเบื่อหน่าย
เลิกแสวงหาดี
แป๊บเดียวก็ดับ
เลิกหนีของไม่ดี
ยังไม่ทันครอบจิตก็ดับ
ไม่รู้จะหนีทำไม
อีกสักหน่อยจะสนใจเฉพาะตอนดับ
สนใจแต่ความดับนี้เรียก ภังคญาณ
เห็นอะไรก็ดับเร็วไปหมด
ถึงตรงนั้นจะเริ่มเบื่อหน่าย
เลิกแสวงหาดี
แป๊บเดียวก็ดับ
เลิกหนีของไม่ดี
ยังไม่ทันครอบจิตก็ดับ
ไม่รู้จะหนีทำไม
ถ้าเรียนเรียงตามพุทธพจน์จะไม่งง
ท่านเรียงไว้
ศีล...
ปาติโมกข์สังวร...
อินทรีย์สังวร...
โภชเนมัตตัญญุตา...
ชาคริยานุโยค...
สติสัมปชัญญะ...
จนมีสัมมาสมาธิ และเกิดวิปัสสนา
ศีล...
ปาติโมกข์สังวร...
อินทรีย์สังวร...
โภชเนมัตตัญญุตา...
ชาคริยานุโยค...
สติสัมปชัญญะ...
จนมีสัมมาสมาธิ และเกิดวิปัสสนา
วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560
โลกและขันธ์มีข้อจำกัด
พระอรหันต์
แสดงความเห็นผิดก็ได้
ความเห็นเป็นขันธ์
ขันธ์มีความไม่สมบรูณ์ในตัวมัน
ปรุงแต่งความคิดนั่นนี่
แล้วบอกสอน อาจจะผิดก็ได้
คือท่านก็ปรุงแต่งไปตามปกติ
แต่ท่านไม่ได้มีกิเลสไปยึดตามนั้น
เช่น
พระอรหันต์ปัณฑกไล่น้องสึก
พระสารีบุตรให้ช่างทองไปดูอสุภะ
ครูบาอาจารย์บอกเราทำอะไร
อาจไม่ได้ผลก็ได้นะ
จึงต้องเรียนหลักการก่อน
ท่านจะบอกได้เฉพาะแนวทางบางอย่างที่ทำมา
แนวนั้นใช้กับท่านได้ผล
กับคนอื่นได้ผล
กับเราอาจได้หรือไม่ได้ผลก็ได้
หน้าที่เรา
ต้องลองทำ แล้วดูว่ามีเข้าหลักการมั้ย
คนไม่ชอบพระอรหันต์ก็มีเยอะ
ไม่ใช่ท่านมีกิเลส
ขันธ์ที่ท่านไปทำมีความไม่สมบูรณ์
เพราะขันธ์มีความพร่องในตนเอง
ท่านไล่โยมหนีก็มี
เห็นโยมจิตหยาบๆ ไล่หนี
ท่านไม่ได้ตามใจเรา
พระยามิลินทร์
เป็นโยมที่พระอรหันต์กลัว
เจอเป็นหนี เพราะถามคำถามยาก
ถามจนพระอรหันต์งง
แก้เผ็ดโดยเอาพระนาคเสนมาบวชแต่เด็ก
พระอรหันต์หลายๆ รูปช่วยกันสอน
สอนจนบรรลุ
ไปตอบพระยามิลินทร์
หรือท่านคิดอะไรไม่ถูกก็มี
พระมหากัปปินะ
บรรลุแล้วหลีกเร้น
ท่านก็รู้สึกว่าตัวบรรลุแล้วจะไปลงอุโบสถทำไม
คิดได้ พระพุทธเจ้าก็มาเลย
มาสอน คิดอย่างนั้นไม่ถูก
พระอรหันต์ต้องทำเป็นตัวอย่าง
พระอรหันต์คิดเพี้ยนๆ ก็มี
เช่น ตอนก่อนบัญญัติพระวินัย
พระสารีบุตรเริ่มเห็นภิกษุไม่น่ารัก
ขอให้พระพุทธเจ้าบัญญัติเลยเถอะ
พระพุทธเจ้าบอกยังไม่ถึงเวลา
หรือตอนข้าวยากหมากแพง
พระโมคฯ จะพลิกแผ่นดินเอาอาหารมาให้พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าบอกอย่าทำอย่างนั้น
คนรู้จักโลกทั้งหมดเท่านั้นจึงวางกรอบได้
พระอรหันต์ยังรู้จักโลกไม่ทั้งหมดจึงวางกรอบไม่ได้
พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่วางกรอบได้
ขันธ์นี้มีความไม่สมบูรณ์ในตัวมัน
พระอรหันต์ทำหน้าที่เกี่ยวกับขันธ์ ก็ยังมีความไม่สมบูรณ์ในตัว
พูดผิดก็ยังเป็นได้
พระอรหันต์ไม่ได้เก่งทุกอย่าง
แค่ไม่ทุกข์เท่านั้น
พระอานนท์ก็พูดผิดบ่อย
ข้าพเจ้าเห็นปฏิจจฯ เป็นของง่าย
พระพุทธเจ้าบอก อย่าคิดอย่างน้านนน
กัลยาณมิตรเป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์
พระพุทธเจ้าบอก อย่าพูดอย่างน้านนน
แสดงความเห็นผิดก็ได้
ความเห็นเป็นขันธ์
ขันธ์มีความไม่สมบรูณ์ในตัวมัน
ปรุงแต่งความคิดนั่นนี่
แล้วบอกสอน อาจจะผิดก็ได้
คือท่านก็ปรุงแต่งไปตามปกติ
แต่ท่านไม่ได้มีกิเลสไปยึดตามนั้น
เช่น
พระอรหันต์ปัณฑกไล่น้องสึก
พระสารีบุตรให้ช่างทองไปดูอสุภะ
ครูบาอาจารย์บอกเราทำอะไร
อาจไม่ได้ผลก็ได้นะ
จึงต้องเรียนหลักการก่อน
ท่านจะบอกได้เฉพาะแนวทางบางอย่างที่ทำมา
แนวนั้นใช้กับท่านได้ผล
กับคนอื่นได้ผล
กับเราอาจได้หรือไม่ได้ผลก็ได้
หน้าที่เรา
ต้องลองทำ แล้วดูว่ามีเข้าหลักการมั้ย
คนไม่ชอบพระอรหันต์ก็มีเยอะ
ไม่ใช่ท่านมีกิเลส
ขันธ์ที่ท่านไปทำมีความไม่สมบูรณ์
เพราะขันธ์มีความพร่องในตนเอง
ท่านไล่โยมหนีก็มี
เห็นโยมจิตหยาบๆ ไล่หนี
ท่านไม่ได้ตามใจเรา
พระยามิลินทร์
เป็นโยมที่พระอรหันต์กลัว
เจอเป็นหนี เพราะถามคำถามยาก
ถามจนพระอรหันต์งง
แก้เผ็ดโดยเอาพระนาคเสนมาบวชแต่เด็ก
พระอรหันต์หลายๆ รูปช่วยกันสอน
สอนจนบรรลุ
ไปตอบพระยามิลินทร์
หรือท่านคิดอะไรไม่ถูกก็มี
พระมหากัปปินะ
บรรลุแล้วหลีกเร้น
ท่านก็รู้สึกว่าตัวบรรลุแล้วจะไปลงอุโบสถทำไม
คิดได้ พระพุทธเจ้าก็มาเลย
มาสอน คิดอย่างนั้นไม่ถูก
พระอรหันต์ต้องทำเป็นตัวอย่าง
พระอรหันต์คิดเพี้ยนๆ ก็มี
เช่น ตอนก่อนบัญญัติพระวินัย
พระสารีบุตรเริ่มเห็นภิกษุไม่น่ารัก
ขอให้พระพุทธเจ้าบัญญัติเลยเถอะ
พระพุทธเจ้าบอกยังไม่ถึงเวลา
หรือตอนข้าวยากหมากแพง
พระโมคฯ จะพลิกแผ่นดินเอาอาหารมาให้พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าบอกอย่าทำอย่างนั้น
คนรู้จักโลกทั้งหมดเท่านั้นจึงวางกรอบได้
พระอรหันต์ยังรู้จักโลกไม่ทั้งหมดจึงวางกรอบไม่ได้
พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่วางกรอบได้
ขันธ์นี้มีความไม่สมบูรณ์ในตัวมัน
พระอรหันต์ทำหน้าที่เกี่ยวกับขันธ์ ก็ยังมีความไม่สมบูรณ์ในตัว
พูดผิดก็ยังเป็นได้
พระอรหันต์ไม่ได้เก่งทุกอย่าง
แค่ไม่ทุกข์เท่านั้น
พระอานนท์ก็พูดผิดบ่อย
ข้าพเจ้าเห็นปฏิจจฯ เป็นของง่าย
พระพุทธเจ้าบอก อย่าคิดอย่างน้านนน
กัลยาณมิตรเป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์
พระพุทธเจ้าบอก อย่าพูดอย่างน้านนน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)