วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วิญญาณหลักๆ ภวังคจิต

วิญญาณมีหลายวิญญาณ

วิญญาณที่ไม่โผล่ขึ้นมาทำหน้าที่
เรียก ภวังควิญญาณ
ตัวนี้เหมือนแกนหลักของชีวิต
เป็นวิญญาณที่เยอะที่สุด
แต่เราไม่ค่อยรู้

ถ้าเราทำกรรม
มันจะเก็บไว้ที่ภวังควิญญาณ
จึงต้องมาเรียนกลไกของมัน
เป็นจุดวัด เป็นอะไรทั้งหมด
ตัวนี้สำคัญ ต้องเรียนให้ถ่องแท้
จะเป็นตัวสร้างโลกประสบการณ์

ส่วนใหญ่จะมาได้เรียน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
เรื่องวิถีอะไรต่างๆ
พวกนี้ปลีกย่อย
พวกนี้ไม่ต้องสนใจก็ได้

ไม่ต้องไปสนใจว่า
ไปเห็นยังไง
เพราะการเห็น การได้ยินไรพวกนี้
มันมีกิริยาจิตมาก่อน
กิริยาจิตนี้เป็นอเหตุก
ห้ามไม่ได้

ถ้าจะสนใจ ก็สนใจที่ว่า
ถ้าจะทำโลกที่ดีต้องทำยังไง
จะเก็บโลกยังไงในภวังควิญญาณนั้น
ถ้ายังไม่พ้นทุกข์จะเก็บทรัพย์ในภวังควิญญาณยังไง

ใครเป็นยังไง
เป็นโลกที่เราสร้างขึ้นมาเองทั้งหมดเลย
ต้องรับผิดชอบเอง
ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง

การเลือกด้วยอำนาจเจตนา
อย่างน้อยที่สุดจะต้องหัดวิธีเลือกให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับตัวเอง
การเลือกนี้ เรียกว่า "การสมาทาน"
มันคือการเลือกโลกที่ดีให้กับตัวเอง

เลือกที่ตัวเองจะไม่เดือดร้อน
จิตที่เบิกบานผ่องใส
ความเบิกบานผ่องใสก็เก็บไว้ในภวังคจิต
อันนี้ก็เป็นโลกใหม่ของเรา

น้ำตก ดอกกุหลาบ
เป็นปรากฏการณ์เฉยๆ
ความเบิกบานผ่องใสเป็นโลกของจิต

ถ้าจิตคับแคบ
เห็นอะไรก็กลัวจะหมด
ไม่สามารถให้อะไรใครได้
เป็นความรู้สึกว่า "ไม่มี" ซึ่งเก็บไว้ในจิต

ชอบทำร้ายเบียดเบียน
ยิ่งแคบ
ความคับแคบนี้ก็เก็บเอาไว้
สร้างโลกเอาไว้ในจิต

ไม่เกี่ยวกับว่าเราเจออะไร
อยู่กับว่าเรากระทำคืนอย่างไรต่อปรากฏการณ์
นี้เป็นวิธีการสร้างโลกให้จิต

ไม่ได้เรียนเพื่อหาที่พึ่ง

การเรียนไม่ได้เรียนเพื่อหาที่พึ่ง
แต่เรียนให้เห็นว่าไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งได้จริง

กุศล อกุศล
ก็เป็นจุดเทียบของทางโลกเท่านั้น
ก็แตกดับเหมือนกัน
เป็นโลก เป็นสังขตะ

เรียนความแตกต่าง
ดันเห็นกุศลดี จะเอาๆๆ
เห็นอกุศลไม่ดี ไม่เอาๆๆ
ไม่ใช่อย่างน้านนนน....

ความกลัว

เป็นอาการแสดงของอัตตา
มีแบ่งแยกเรา
แบ่งแยกเขา
มีเรา มีผี

ความกลัวนนี้ก็จะพาไป
หาที่เกาะ
หาที่หลบ

กลัวไม่บรรลุธรรม
อัตตาพาไปเรียนนู้นก่อน
เรียนนี้ก่อน
มีความรู้แล้ว ภูมิใจ
มีความรู้ ต้องรักษา



ขันธ์

สติสัมปชัญญะ ก็เป็นขันธ์
แต่ไม่ปรุงแต่งตามขันธ์

โลกุตตรจิต ก็เป็นขันธ์
แต่ไม่ปรุงแต่งตามขันธ์

ขันธ์ที่เกิดขึ้นนี่
มันปรุงขึ้นจากเหตุปัจจัยที่ทำไว้พร้อมแล้ว
หน้าที่ของเราคือ
"รับลูกเดียว"

แต่ทีนี้จะยอมรับ
แล้วไม่ปรุงแต่งต่อหรือเปล่า
ส่วนหลังนี่เป้นส่วนที่เป็นปัญหา

พอไม่ยอมก็เกิดตัณหา
เกิดตัณหาก็สร้างทุกข์ใหม่

ดังนั้น
หน้าที่ต่อวิบากคือ "รับ"

ในทางสภาวะการสังเกตคือ
มีแรงต้านของจิตหรือเปล่า
ถ้ามีก็คือมันไม่ยอมรับ

หน้าที่ก็ฝึกไปเรื่อยๆ สติสัมปชัญญะ
จะช่วยให้เกิดการยอมรับ

การยอมรับจะไม่มีการโทษใครๆ
เวลามีอัตตาจะไม่ยอมรับความจริง
ถ้ารู้สึกผิดจะเหมือนตัวโดนคุกคาม
มันจึงใช้วิธีโยนความผิด

วิปัสสนาจะไม่มีคำว่า "ทำไม" 
ไม่มีคำว่า "น่าจะ"


รูป

จะมีทั้งส่วนที่เป็นพื้นฐาน
และส่วนที่มันมาทำหน้าที่ (เป็นขันธ์ เป็นอายตนะ เป็นธาตุ)

ขันธ์ 5 
อายตนะ 12
ธาตุ 18
นี้เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับโลก
คือเป็นปรากฏการณ์เท่านั้น

มันจะมีของจริงอยู่ด้วยข้างใน
หมายถึงสิ่งที่สะสมเอาไว้ด้วยอำนาจกรรม

โลกที่เราไปรับรู้
มีภูเขา มีต้นไม้ มีคนนั้นคนนี้
จริงๆ แล้วเราสร้างขึ้นมาเองหมด

เมื่อรู้สึกว่ามีคนด่าเรา

เราสร้างคนนั้นขึ้นมา
และสร้างเสียงนั้นขึ้นมาเอง

จิตไปเห็นอะไร
เป็นจิตชาติวิบาก 
เราสร้างขึ้นมาเอง
ถ้าไม่สร้างขึ้นมามันก็ไม่เห็นภูเขา

เราไม่เห็น 6 ธาตุพื้นฐานเพราะหลงอยู่ในโลกของประสบการณ์
โลกของประสบการณ์ก็คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ 18

เมื่อทำกรรม
กรรมก็เก็บเอาไว้ในวิญญาณ
วิญญาณจะก่อนามรูปนั้นๆ ขึ้นมาเพื่อรอการให้ผล
พอมีเหตุปัจจัยพร้อม
นามรูปนี้ก็สร้างอายตนะขึ้นมาเพื่อจะรองรับการให้ผลอันนั้น

ธาตุ ๑๘ ผัสสะ

ธาตุพื้นฐาน 6
ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ
อันนี้เป็นธาตุย่อยๆ
ที่ยังไม่เป็นการทำงานของโลก

ส่วนธาตุ 18 นี้
เกิดจากการกระทบแล้วแตกตัวของธาตุพื้นฐาน
เป็นการทำงานของโลก เช่น จักขุธาตุ
เป็นวิปัสสนาภูมิ

นามรูปก็ไปสร้างอายตนะต่างๆ
อายตนะต่างๆ นี้ก็ไปสร้างธาตุ 18 ขึ้นมา

วิญญาณธาตุในธาตุ 6 นี้เป็นตัวสร้างนามรูป
เวลาทำอะไรไว้ก็เก็บสะสมไว้ในวิญญาณ
แต่ไม่ได้หมายความว่ามันคงที่
เกิดดับเหมือนกัน

ธาตุต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
นามรูปก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
นามรูปบางส่วนเท่านั้นที่ทำหน้าที่ของมัน
ให้เรารับรู้และก็เชื่อมสัมพันธ์กับโลกที่เราไปเกิด

ที่เรารับรู้ในโลกมนุษย์นี้
จะมีธาตุพื้นฐานติดตามเราไปด้วย
และเก็บสะสมเอาไว้

รูปบางประการ
เฉพาะจักขุประสาทบางอันเท่านั้นเอง
ที่ไปเป็นจักขุธาตุ (หรือจักขายตนะ)
เพื่อกระทบกับรูปภายนอกทำให้เกิดจักขุวิญญาณ
ให้เรารับรู้โลกภายนอกที่อยู่ในโลกมนุษย์นี้


วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อภิญญา

อภิญญา
หรือ สยํ อภิญฺญา

คือความรู้เฉพาะหน้า
เห็นแล้วซึ้งสะเทือนลงไปในใจ
ปัญญาแบบนี้เท่านั้นจึงจะละกิเลสได้


สังวรก่อนปหาน

นิสสรณะ อุบายออกจากรูป คือ
ทำให้หมดฉันทราคะในรูป

ไม่ได้ไปแก้ไขที่ตัวรูป
ไม่ได้ไปทำให้รูปดีหรือไม่ดี
แต่คือ ละฉันทราคะในมัน
แล้วก็ ปหานฉันทราคะในมัน

ก่อนจะ ปหาน ได้
ต้อง วินย ก่อน

ส่วนใหญ่ชอบ ปหาน เลย
พวกบู๊ล้างผลาญ
กิเลสเป็นปีศาจ ต้องกำจัดมัน

ตามที่ท่านว่าไว้คือ
ต้อง วินย ก่อน

วินย หมายถึง ทำให้หมดไป ทำให้สิ้นไป
ก่อนจะ ปหาน ได้มันต้องมี วินย ก่อน
วินัย คือการที่ฝึกฝนตนเอง จนเห็นความจริง

วินัย มี 2 อย่างคือ
สังวรวินัย ต้องรู้จักสังวรวินัยก่อน จึงจะปหานได้
ปหานวินัย

เบื้องแรกปิดกั้นกิเลสเอาไว้ก่อนโดยการสังวร
คือ มีสติสัมปชัญญะ 
ก็จะปิดกั้นกิเลส ไม่ให้กิเลสเข้า
หรือให้ความเคยชินต่อกิเลสมันลดลง

แต่เดิมเห็นอันนี้แล้วชอบมาก
ฝึกสติเห็นบ่อยเข้าๆ
จากยินดีมันก็เลิกยินดี

อาการความเคยชินของกิเลสมันก็น้อยลง
แต่ผลความเคยชินของกิเลสนี่เราต้องรับนะ
เช่น เดิมเคยเห็นรูปนี้แล้วชอบ
มันก็ยังชอบอยู่อย่างนั้น
อันนี้เป็นวิบาก

ก็ปล่อยให้มันขึ้นมา
ก็ดูความชอบ ความพอใจไป
ไม่เสวยเวทนากับมัน ไม่ตาม มันก็ดับ
ความเคยชินก็ค่อยน้อยลงๆ

ต่อเมื่อพอทำอย่างนี้บ่อยๆ
จนเกิดศีล เกิดสมาธิ เกิดปัญญา
จึงจะ "ปหาน" ได้จริง

เพิ่งเริ่มต้นอยู่ๆ จะไปปหานเลย
ไม่รอด...
มันคนละขั้นกัน
ใหม่ๆ ยังไม่ต้องไปบ้าดีเดือด
ค่อยๆ ดูมันไป



มิจฉาทิฏฐิไม่ได้เลวร้าย

ความหมายมันแค่ "ไม่พ้นทุกข์" เท่านั้นเอง

มันทำให้เรามีความสุขก็ได้นะ
ไปพรหมโลกก็ได้

ข่มกิเลส

ข่มกิเลสก็ดี
ขัดเกลากิเลสก็ดี

วิธีการทางสมถะเหล่านี้
อันที่จริงมันมีความเข้าใจผิดเป็นฐานอยู่
เข้าใจว่าอกุศลไม่ดี
ต้องทำกุศลมาข่มทับมันไว้

จริงๆ มันไม่ได้มีกิเลสให้ข่มหรอก
เพราะจิตมันเกิดดับทีละดวง
เกิดด้วยเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปหมด

สมถะจึงพ้นทุกข์ไม่ได้จริง
เพราะมันมีสักกายทิฏฐิอยู่เบื้องหลัง
อยากให้เราดี อยากให้เราเป็นคนดี
อยากให้เป็นสุข อยากให้พ้นทุกข์

การกล่าวว่า "จะทำสมถะเพื่อข่มกิเลส"
เป็นความเข้าใจผิดในการทำสมถะ
หากจะฝึกทำสมถะต้องไม่คิดอย่างนี้
ต้องมีสัมมาทิฏฐิมาก่อน
จึงจะพ้นทุกข์ได้จริง

ทำสมถะเก่งๆ จะคิดว่าตัวเองเก่ง
ปฏิบัติดีจังเลย ราคะไม่เข้า
โทสะไม่มี
เก่งขึ้นทุกวัน

จะทำสมถะ
ให้ตั้งวัตถุประสงค์ว่าทำเพื่อพักผ่อน
เอาแรงไปดูกายดูใจให้เห็นตามความเป็นจริง
อย่าไปทำเพื่อข่มกิเลส

ทำไมบางคนเจอผี

ทำไมบางคนไม่เจอ

บางคนปฏิบัติไปหน่อยก็เห็น
บางคนทำไงก็ไม่เห็น
บางคนไม่ทันปฏิบัติก็เห็นซะแระ

เหมือนคนเดินเต็มถนนไปหมด
เราจะสนใจแค่บางคน
ไม่ได้เห็นทุกคน

ขึ้นกับว่าจิตมันสนใจอะไร...ก็แค่นั้น

รู้อุบายสลัดออก

รู้อุบายสลัดออก

ความหมายคือ อยู่กับมันอย่างไรโดยไม่ทุกข์
ใช้มันให้เกิดประโยชน์
พัฒนาตัวเองให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

น่าจะ..น่าจะ ควรจะ...ควรจะ

ข้อสังเกตตัณหา

มันชอบบอกว่า
น่าจะอย่างนู้นเนอะ
น่าจะอย่างนี้เนอะ

การปฏิบัตินี่น่าจะเรียบง่าย
ไม่ก็ น่าจะยากกว่านี้หน่อย
เหมือนไม่ได้ทำอะไรเลย

น่าจะกำหนดตรงนี้หน่อย เดี๋ยวลอยเกินไป
มันไม่สบายใจ...................หลง 1

อ้าวหลงไปแล้ว.................รู้

น่าจะไม่หลงนะ..................หลง 2

ทำไงจะไม่หลงนะ..............หลง 3

กำหนดตรงลมหายใจหน่อยดีกว่า...........หลง 4

ทำไงจะกำหนดได้ยาวๆ........................หลง 5

หลงนานจัง.........................................หลง 6

เครียดมันหลงนาน...............................หลง 7

ฝึกสติเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ฝึกสติเอาสติ

ฝึกสติโดยระลึกว่าสติเป็นเครื่องมือ
สติถึงจะเกิดได้บ่อย

ถ้าฝึกสติเพื่อ "จะเอาสติ"
ตัณหาแทรกขนาดนี้
สติจะมาได้ยังไง

ฝึกสติเป็นเครื่องมือ
ให้รู้ว่าสติก็ไม่เที่ยง
บังคับบัญชาไม่ได้

หลงก็ไม่เที่ยง
บังคับไม่ได้

ทำกรรม คือทำตามตัณหา

ตัวที่พาไปทำนู่นทำนี่
ถ้าเห็น เรียกว่าเห็นกรรมภพ
เรียกว่าเห็น ปฏิจจฯ ตอนปลาย

พอเห็นก็จะไม่ทำอะไรที่เป็นกรรม
ความหมายคือ ไม่ทำอะไรด้วยอำนาจของตัณหา

หมดกรรม
ตัดกรรม
ความหมายคือ ไม่ทำตามอำนาจตัณหา

ตัณหานี้มีตัวเราเป็นพื้นฐาน
จึงอยากได้ดี
จึงไปทำกรรม

ทีนี้เมื่อวิปัสสนารู้ทััน
แล้วย้อนกลับมาว่า
ตัวเราไม่มีหรอก
ก็เลยหมดกรรม

ตกลงจะต้องทำยังไง

ตกลงจะให้ใส่ชุดขาว หรือไม่ต้องใส่?

ตกลงจะต้องเดินจงกรม หรือไม่ต้องเดินจงกรม?

ตกลงจะต้องนั่งสมาธินานแค่ไหน?

ตกลงสงบแค่ไหนดี?

ตกลงจะดูอะไรดี?

ตกลงคือต้องเป็นคนธรรมดาใช่มั้ย?

ตกลงต้องนอนพื้นมั้ย?

ตกลงต้องกินให้อร่อยหรือไม่ต้องกินให้อร่อย?

ตกลงจะรักษาศีล 8 รึ ศีล 5 ดี?

...ไม่ต้องตกลงอะไรทั้งนั้นแหละ...

สิ่งที่ต้องทำคือ
ให้มาดูตัวบงการ
ดูตัวที่พาไปเลือก
มี ก มี ข

ยังไม่ต้องรีบไปเดิน
ยังไม่ต้องรีบไปนั่ง
มาดูตัวบงการก่อน ที่มันอยากจะไปทำอะไรๆ นั่นแหละ

มาดูตัวบงการ
รู้จักตัวบงการ
รู้จักมากๆ เข้า
ก็จะบงการเราไม่ได้

ถ้ายังแสวงหาอยู่
ให้มาดูตัวที่พาไปเลือก

พอเลือกจะใส่ชุดขาว
>>> โอ๊ยเราต้องเป็นคนธรรมดาๆ ต้องไม่ทำตัวประหลาด

พอจะนอนพื้น
>>> ดูสิว่ามันคิดว่าการนอนพื้นทำให้บรรลุ

ปัญญาแท้ ปัญญาเทียม

สัมมัปปัญญา

ปัญญาอันชอบ
อันนี้หมายถึง
รู้แล้วหมดทุกข์มั้ย

หรือรู้แล้วแบกอยู่
รู้แล้วไม่ละ
รู้แล้วต้องมาถามให้อาจารย์รับรอง

ของจริงรู้แล้วต้องละได้
และละได้ก็เพราะรู้

รู้แล้ววางได้
วางการดิ้นรน
เลิกอยากได้นิพพานด้วยซ้ำไป

มันรู้ว่าอยากก็ไม่ได้หรอก
ยิ่งอยากยิ่งไม่ได้

ดูที่ "รู้ทุกข์ แล้วมันละสมุทัย" มั้ย
ถ้าไม่
ของปลอม...

เบื่อหลอก เบื่อจริง

อาการโหวงเหวง
จะไหว้พระให้เกิดปีติสักหน่อย
อ่าว ไม่เกิด

อาการเบื่อหน่ายเหลือเกิน
ไม่อยากเอาอะไรเลย

อันนี้เป็นเบื่อหลอก

หน้าที่คือดูลงไปว่าอาการนี้ก็ไม่เที่ยง

มันจะอยู่นานกี่วัน กี่เดือน
ก็ดูไป

จนจิตยอมรับ
และวางเฉยต่ออาการนี้ด้วย

เบื่อที่จะต้องมาคอยเบื่อ
อันนี้จึงเป็นเบื่อจริง

ภังคญาณ

ฝึกๆ ไปจิตจนเห็นเกิดดับ

อีกสักหน่อยจะสนใจเฉพาะตอนดับ
สนใจแต่ความดับนี้เรียก ภังคญาณ
เห็นอะไรก็ดับเร็วไปหมด
ถึงตรงนั้นจะเริ่มเบื่อหน่าย

เลิกแสวงหาดี
แป๊บเดียวก็ดับ

เลิกหนีของไม่ดี
ยังไม่ทันครอบจิตก็ดับ
ไม่รู้จะหนีทำไม

ถ้าเรียนเรียงตามพุทธพจน์จะไม่งง

ท่านเรียงไว้

ศีล...
ปาติโมกข์สังวร...
อินทรีย์สังวร...
โภชเนมัตตัญญุตา...
ชาคริยานุโยค...
สติสัมปชัญญะ...
จนมีสัมมาสมาธิ และเกิดวิปัสสนา


วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560

โลกและขันธ์มีข้อจำกัด

พระอรหันต์
แสดงความเห็นผิดก็ได้

ความเห็นเป็นขันธ์
ขันธ์มีความไม่สมบรูณ์ในตัวมัน
ปรุงแต่งความคิดนั่นนี่
แล้วบอกสอน อาจจะผิดก็ได้

คือท่านก็ปรุงแต่งไปตามปกติ
แต่ท่านไม่ได้มีกิเลสไปยึดตามนั้น

เช่น
พระอรหันต์ปัณฑกไล่น้องสึก
พระสารีบุตรให้ช่างทองไปดูอสุภะ

ครูบาอาจารย์บอกเราทำอะไร
อาจไม่ได้ผลก็ได้นะ
จึงต้องเรียนหลักการก่อน

ท่านจะบอกได้เฉพาะแนวทางบางอย่างที่ทำมา
แนวนั้นใช้กับท่านได้ผล
กับคนอื่นได้ผล
กับเราอาจได้หรือไม่ได้ผลก็ได้

หน้าที่เรา
ต้องลองทำ แล้วดูว่ามีเข้าหลักการมั้ย

คนไม่ชอบพระอรหันต์ก็มีเยอะ
ไม่ใช่ท่านมีกิเลส
ขันธ์ที่ท่านไปทำมีความไม่สมบูรณ์
เพราะขันธ์มีความพร่องในตนเอง

ท่านไล่โยมหนีก็มี
เห็นโยมจิตหยาบๆ ไล่หนี
ท่านไม่ได้ตามใจเรา

พระยามิลินทร์
เป็นโยมที่พระอรหันต์กลัว
เจอเป็นหนี เพราะถามคำถามยาก
ถามจนพระอรหันต์งง
แก้เผ็ดโดยเอาพระนาคเสนมาบวชแต่เด็ก
พระอรหันต์หลายๆ รูปช่วยกันสอน
สอนจนบรรลุ
ไปตอบพระยามิลินทร์

หรือท่านคิดอะไรไม่ถูกก็มี
พระมหากัปปินะ
บรรลุแล้วหลีกเร้น
ท่านก็รู้สึกว่าตัวบรรลุแล้วจะไปลงอุโบสถทำไม
คิดได้ พระพุทธเจ้าก็มาเลย
มาสอน คิดอย่างนั้นไม่ถูก
พระอรหันต์ต้องทำเป็นตัวอย่าง

พระอรหันต์คิดเพี้ยนๆ ก็มี
เช่น ตอนก่อนบัญญัติพระวินัย
พระสารีบุตรเริ่มเห็นภิกษุไม่น่ารัก
ขอให้พระพุทธเจ้าบัญญัติเลยเถอะ
พระพุทธเจ้าบอกยังไม่ถึงเวลา

หรือตอนข้าวยากหมากแพง
พระโมคฯ จะพลิกแผ่นดินเอาอาหารมาให้พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าบอกอย่าทำอย่างนั้น

คนรู้จักโลกทั้งหมดเท่านั้นจึงวางกรอบได้
พระอรหันต์ยังรู้จักโลกไม่ทั้งหมดจึงวางกรอบไม่ได้
พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่วางกรอบได้

ขันธ์นี้มีความไม่สมบูรณ์ในตัวมัน
พระอรหันต์ทำหน้าที่เกี่ยวกับขันธ์ ก็ยังมีความไม่สมบูรณ์ในตัว
พูดผิดก็ยังเป็นได้

พระอรหันต์ไม่ได้เก่งทุกอย่าง
แค่ไม่ทุกข์เท่านั้น

พระอานนท์ก็พูดผิดบ่อย
ข้าพเจ้าเห็นปฏิจจฯ เป็นของง่าย
พระพุทธเจ้าบอก อย่าคิดอย่างน้านนน

กัลยาณมิตรเป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์
พระพุทธเจ้าบอก อย่าพูดอย่างน้านนน

กิเลสหลอกได้เยอะ

ไม่มีราคะเลย
สงสัยเป็นอนาคามีแล้วมั้ง

ไม่ต้องสงสัยหรอก
ยังไม่เห็นเลยว่าความสงสัยไม่เที่ยง

สงสัยหลุดพ้นแล้วมั้ง
เห็นทุกอย่างเลย

ต้องดูว่าความรู้สึกเหล่านี้ไม่เที่ยงก่อน
กิเลสหลอกได้เยอะ

จิตปุถุชนอยากได้พวกนี้อยู่แล้ว
พอจิตปรุงแต่งขึ้นมาก็ตะครุบ

ความรู้สึกว่าใช่/ไม่ใช่ก็ดี
มันไม่เที่ยง
ฝึกให้เห็นอย่างนี้

มันดิ้นไป
ก็ดูความดิ้นรน

พระโสดา/สกิทาคามี
ยังมีความเป็นคู่ๆ อยู่
เบื่อๆ อยากๆ
จึงมีคู่ได้
แต่มีความรู้ในใจอยู่ว่า
ไม่ใช่สามี/ภรรยาถาวรอะไรหรอก
ยังเห็นว่าร่างกายสุขบ้างทุกบ้าง

แต่พระอนาคามี
เห็นว่ากระทบทุกสิ่งเป็นทุกข์ทั้งหมด
ร่างกาย รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสลิ้นกาย
เป็นไปเพื่ออาพาธทั้งหมด
จึงวาง
ไม่มีอิทธิพลต่อจิตใจพระอนาคามี

ขันธ์ 5 เป็นวิปัสสนาภูมิ

หมายถึง มีไว้เพื่อให้เราเอามาเห็นความจริง
ไม่ใช่ไปปรุงแต่งอะไรมัน
หรือแปลงให้มันเป็นอะไรไป

ไม่ได้ฝึกเพื่อเอาสติ

ไม่ได้ฝึกเพื่อเอาความไม่หลง

ฝึกเพื่อให้รู้ว่า
สติก็ไม่เที่ยง
ความหลงก็ไม่เที่ยง

ฝึกเพื่อที่จะวางทั้งความหลง และไม่หลงนั่นแหละ

ไม่ใช่หนีหลงไปเอาสติ
ไม่ได้ฝึกเอาสติเยอะๆ

พวกที่จะเอาสติเยอะๆ นี่จะช้า
เพราะมัวแต่จะสร้าง
จะยอมรับไตรลักษณ์ช้า
เพราะจะเอาแต่สงบ
มัวไปปรุงแต่งสิ่งดี
เลยมัวแต่จะเอาดี

การไปทำจิตให้มันดี
ให้นิ่ง ให้สงบ
แล้วค่อยมาดูสิ่งละเอียด

สร้างนั่นนี่ขึ้นมา
เพื่อจะดูว่ามันไม่เที่ยง
ทั้งๆ ที่อันหยาบๆ มันก็ไม่เที่ยง
ดันไม่ดู

พวกทำละเอียดขึ้นมา
บางทีเห็นไม่เที่ยงยาก
เพราะสติสัมปชัญญะ หรือปัญญาเราไม่พอ

หันมาดูสิ่งที่เป็นจริงในชีวิตเรานี่
เห็นง่ายกว่า

โลกนั้นเป็นที่พึ่งไม่ได้จริง

แม้สติสัมปชัญญะก็เป็นโลก
เป็นขันธ์ที่ปรุงแต่งขึ้น
เราเพียงใช้มันเป็นทางผ่าน
เพื่อให้ไปถึงที่พึ่งทีแท้จริง
คือธรรมเหนือโลก
"แต่" ไม่ได้เอามันเป็นที่พึ่ง

เพราะมันพึ่งไม่ได้จริง
ตัวมันมีความไม่สมบูรณ์
เป็นขันธ์
มีเหตุจึงปรุงขึ้นเป็นคราวๆ ไป
แล้วก็สลายไป

ความสงบ
ความดี
ความรู้จากการปฏิบัติ
ญาณ
ล้วนแต่เป็นขันธ์

ปฏิบัติไป รู้เห็นอะไรๆ
อย่าไปหลงว่ารู้นั่นรู้นี่

ความรู้ที่ดีกว่านั้น
คือรู้ว่ามันไม่เที่ยง
สิ่งที่ปรากฏต่อตานั่น "เป็นขันธ์"
เป็นไปเพื่ออาพาธ

ควาาหมายของ เป็นไปเพื่ออาพาธ

ความที่ขันธ์นั้นไม่สมบูรณ์ในตัวเอง
ตามเหตุปัจจัย
เกิดขึ้นเป็นคราวๆ

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สำเนาในสำนวน

ฟ้าหมองเพราะเมฆฝน? หรือฟ้าหม่นเพราะ"ปรุงคำ"!
สุขทุกข์เพราะคนทำ? หรือหลงคำว่า"มีคน"!
สุขทุกข์โทษที่จิต? หรือที่คิด"จิตเป็นตน"!
"จิต-วิญญาณ"ว่างดั่งกล ไม่มีคนที่มีใจ!

ธรรมชาติเป็นเช่นนี้ ทุกสิ่งมีแล้วดับไป
ธรรมธาตุใช่ของใคร เหตุปัจจัยใช่อัตตา
"รู้ทุกข์"ที่ยึดขันธ์ เลิกเพลินพลัน"ละตัณหา"
"ดับทุกข์"ด้วยวิชชา "เจริญมรรคา"รู้ความจริง!

อิทธิบาท

ตั้งขึ้นด้วยเจตนา
ทรงไว้ด้วยเจตนา
ไม่ทรุดลงด้วยเจตนา

มาเพื่อขอเรียนวิริยะจากวิริยาธิกะ
วิธีตั้งคือตั้งกำลังใจให้เลยจากงานไปอีก
เมื่อต้องทรงกำลังไว้หลังจากงานต่อ
ตั้งไว้ดังนี้ จึงไม่ทรุดลง

เมื่อร่างล้าตามธรรมชาติ
จะมีมุมอุเบกขาให้เก็บเกี่ยว

18 ชั่วโมงจริงๆ ไม่มีอะไร
จุดที่หลัง 18 ชั่วโมงนั้นไปต่างหาก
กำลังส่วนนี้จะสงเคราะห์ลงเข้า
และเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
ชิมลอง

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

มาส่งองค์ทรงภพสร้างทางประเทศ
ถวายคืนองค์ภูเบศกลับสู่สวรรค์
ขอเทวดาโปรดดูแลพระทรงธรรม์
ตราบจนวันทรงบัลลังก์ธรรมราชา



ถวายบังคมลา

วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ทุกข์ 3 ระดับ


  1. ทุกข์เพราะสลาย
  2. ทุกข์เพราะยึด
  3. ทุกข์เพราะไม่สมอยาก
มี 3 เพราะ มี 2
มี 2 เพราะไม่รู้ 1

การปฏิบัติก็มารู้ 1 เลย
รวบรัด

ไม่ต้องมารอให้ยึด
ไม่ต้องมารอให้ไม่สมอยาก
เข้ามาดูความจริงของสิ่งทั้งปวงบ่อยๆ เลย

ว่ามันดับไปทั้งสิ้น

เมื่อรู้แจ่มแจ้ง
2 ก็ไม่มี
3 ก็ไม่มี

คำว่าปรุงแต่ง

ไม่ใช่ว่านั่งเป็นคนอยู่
แล้วปรุงนั่นนี่ขึ้นมา
จริงๆ มันไม่มีคน
มันก็ปรุงขึ้นมา

ความโกรธ
มันไม่เคยมีเลย
มันก็มีขึ้นมา
ปรุงเสร็จก็สลายตัวไปเหมือนเเดิม

คำว่าปรุงแต่ง
ก็คือมันเนรมิตขึ้นมา
แต่ว่าไม่ใช่ "คน" มีอำนาจเนรมิต
เป็นการเนรมิตขึ้นจากปัจจัย

ปัจจัยที่เนรมิตมันขึ้นมา
ก็โดนเนรมิตมาอีกทีนึง

ความโกรธเกิดขึ้น
เหมือนเทวดาเนรมิตตัวเองขึ้นมา... ชึ๊บ!!
สักพักเทวดาก็หายตัวไป...แว้บ!!
ความโกรธก็หายไปอย่างนี้

สังขารนี่ไม่ใช่ในเซนส์ว่า
มีอยู่แต่เดิม
แล้วอะไรสักอย่างนี้ มาเนรมิตขึ้น

มันเป็นไปในเซนส์ว่า
เดิมไม่มีอยู่
ปิ๊ง...ก็มีขึ้นมา แล้วก็ดับลงไปเลย

ก็มีจริงเหมือนกัน
แต่แว้บเดียว
แล้วสลายไปเลย

จับต้องไม่ได้...

อวิชชาเท่านั้นที่จะไปยึดเอา
ถ้าความรู้ มันจะยึดไม่ได้
มันจะเห็นว่า
ไม่มีอะไรที่ยึดได้

ทำกรรมดีจะสนับสนุนวิปัสสนา

ถ้าเรายังทำกรรมอยู่
กรรมฝ่ายดีก็นี้ก็สำคัญในการปฏิบัติเช่นกัน

ควรทำฝ่ายดีเอาไว้
ทำเพื่อความละคลายตัวตน
ละความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ
ละความติดข้องในวัตถุ เป็นต้น

ด้วยความที่จิตที่เป็นกุศลนี่
มันมีความใกล้กับจิตที่เป็นวิปัสสนา
มันจึงส่งเสริมกัน

ถ้าไม่ได้ทำความดีเอาไว้เป็นทุนเลย
เวลาไปเจริญวิปัสสนา
บางทีมันไม่ได้ผลจริง

มันจะมีปัญหา เช่น
เวลามีจิตที่ตระหนี่ ใจแคบ
จะมาฝึกสติสัมปชัญญะ ใจมันก็แคบ
คอยแต่จะเอาสงบ
พวกนี้จะเพี้ยน

จึงต้องมาฝึกให้ใจกว้าง
สละให้วัตถุต่างๆ ให้ใจเปิดออก
โล่ง เบาสบาย

เวลาไปดูกายดูใจ
มันก็จะโล่ง เบาสบายไปด้วย
ไม่คอยจะเอาแต่ได้

แต่ถ้าจิตที่เคยชินที่จะเอาแต่ได้
มาทำกรรมฐาน มันก็จะ "เอาแต่ได้"

หรือถ้าจิตของเรา
มีปกติเห็นอกเห็นใจ
ให้อภัย มีเมตตา ไม่ขี้โกรธ

การไปฝึกสติสัมปชัญญะมันก็จะดีไปด้วย
เวลาเรารู้จักให้อภัยคนอื่น
เราก็จะให้อภัยตนเองไปด้วย

เวลาดีก็ไม่เป็นไร
เวลาไม่ดีก็ไม่เป็นไร
ไม่มานั่งโกรธตัวเอง

แต่ถ้ามีปกติขี้โกรธแม้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ
พวกนี้จะชอบโกรธตัวเอง
พอปฏิบัติดีก็ดีอยู่
พอไม่ดีก็โมโหตัว

ไม่น่าเลย
รู้สึกอย่างนู้นอย่างนี้ไปทั่ว

อุปมาการสร้างแผล

เที่ยวไปสนใจเรื่องนู้นนี้นั้น
อุปมาเหมือนการสร้างแผลให้ตนเอง
แล้วก็ต้องมารักษา

เดิมไม่มีแผล
กิเลสเข้าไม่ได้
เราก็ไปเชือดมัน
ให้กิเลสเข้า
แล้วมาตามรักษา

เหมือนแต่ก่อนเราไม่เคยรู้จักหรือสนใจกีฬาฟุตบอล
มีข่าวมีอะไรเกี่ยวกับฟุตบอลก็เฉยๆ
สักหน่อยพอมาศึกษา มาทำความเข้าใจ
อะไรเกี่ยวกับฟุตบอลหน่อยสนใจ
คนนั้น คนนี้เป็นยังไง
กิเลสเข้าละ

แล้วก็ต้องมารักษาแผล
มาซ่อมให้จิตดี
ถึงจะมีสมาธิไปเห็นความจริงอย่างเขาบ้าง
ถึงได้บรรลุกันช้าจัง

เพราะฉะนั้น
ไม่ต้องรู้ทุกเรื่องก็ได้

สนใจรายละเอียดนี่เรียกว่าติดใน "อนุพยัญชนะ"

วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เหตุเกิดกรรม

ผัสสะ เป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

เพราะผัสสะ
จึงรู้สึกสุขบ้างทุกข์บ้าง
จึงเกิดแรงผลักดันทางใจขึ้นมา

แม้แต่การเปลี่ยนอิริยาบถ
นั่งไป สุขอยู่ดีๆ ทุกข์ขึ้นมา
ก็เกิดแรงดัน
อยากให้หาย
เลยเปลี่ยนท่า
อันนี้กรรมเล็กๆ น้อยๆ

การกระทำทางกาย วาจา
ที่เกิดจากการตั้งใจทำดี ตั้งใจทำไม่ดี
เยอะไปหมด
ไม่ได้มีสติสัมปชัญญะ
ก็จะเห็นเป็นธรรมดาไป

ตั้งใจท่องหนังสือขึ้นมา
ก็เพื่อหาสภาวะความพอใจ
"เราท่องได้นะ" ~~~ ดีใจ

เข้าใจก็ชั่วคราว
ไม่เข้า่ใจก็ชั่วคราว
ถ้าดูบ่อยๆ
ต่อไปจะไม่กลัวจิตบางประเภท
ไม่หนีจิตบางประเภท

เพราะมันจะรู้ว่า
จิตแบบไหนก็ไม่อยู่ค้ำฟ้า
ชอบ ไม่ชอบ หลง ไม่หลง
เกิด ดับ เท่าๆ กัน

รู้แบบนี้จิตจึงสงบ
ไม่ก่อกรรม
ไม่ก่อกรรม เพราะไม่ดิ้นรนไปจัดการสุขกับทุกข์

อาการของจิตที่ไม่กลัว
ไม่กลัวเพราะรู้แล้ว ว่าชั่วคราว
จึงไม่ตกเป็นทาส

วิปัสสนาแท้ไม่สร้างกรรม

ไม่ต้องเจตนาไปสร้างอะไร
ถ้าจะทำขึ้นมาบ้าง
ก็ทำเป็นแบ็คกราวน์เฉยๆ 
ทำอะไรที่มันไม่ยั่วกิเลส
เพราะสิ่งที่ทำขึ้นมา "เป็นกรรม"

ส่วนการปฏิบัติจริงๆ
ให้ดูส่ิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาระหว่างนั้น
ไอ้ตัวที่ "ไม่ได้เจตนา" นี่แหละ
ที่เราตามดู เป็นวิปัสสนา

สติแบบวิปัสสนา
จะไม่มีความตั้งใจทำอะไรขึ้นมา
ดูเฉยๆ
ดูขันธ์ ๕ ทำงานไป

มีเหตุก็เกิดขึ้น
หมดเหตุก็ดับไป

หน้าที่คือดูขันธ์ให้เข้าใจ
ไม่ใช่ปรุงแต่งให้ขันธ์เป็นอะไรๆ

ภาวนาเพื่อความสิ้นกรรม
ไม่ใช่กระทำกรรม

อยากเลิกก็ดูว่าอยากเลิก
ไม่อยากดูแล้วก็ให้ดูว่าไม่อยากดูแล้ว

กรรมคือเจตนา (เพื่อเรา)

เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ

ดูก่อนภิกษุท. เราตถาคต กล่าวว่า เจตนา เป็นกรรม

เจตนาตัวนี้เป็นเจตนา "เพื่อเรา"
คือมีความรู้สึกว่า มี "เรา" อยู่ก่อน
แล้วมีเจตนาเพื่อเรา

อยากให้เรามีสุข
อยากให้เราดี
อยากให้เราพ้นทุกข์
เจตนาอันนี้เรียกว่า "กรรม"

จะเป็นกรรมขึ้นมาได้
ก็ต่อเมื่อ
มีความรู้สึกว่ามีเราเป็นพื้นฐานอยู่
มีเรา มีตัวเองเป็นฐานรองรับ

ถ้าทำโดยไม่มีความรู้สึกว่าไม่มีเรารับ
จะเป็นการกระทำเพื่อสิ้นชาติ
ไม่มีกรรม

ในปฏิจจฯ
เจตนาส่วนนี้อยู่ในส่วน "ภพ"
เรียก กรรมภพ

วัดได้ยังไงว่าเป็น กรรมภพ
คือ มีอุปปัตติภพ มาเป็นฐานรับ
คือมีความรู้สึกว่าเป็นเรา
เกิดชาติ เกิดทุกข์วนเวียน

ติดภพ

ภาวะที่จิตติดที่ใดที่นึง
ติดบุญบ้าง
ติดอบุญบ้าง

ยังมีอวิชชา
ยังไม่รู้แจ้ง
ก็ติดซ้ายติดขวาไปเรื่อย
ก็ค่อยๆ ดู ค่อยๆ สร้างวิชชา

เมื่อวิชชามี อวิชชาก็ไม่มี
เมื่อวิชชาสมบูรณ์
ก็ไม่มีที่จะให้ติด

วิบากของสัญญา

สัญญามีคำพูดเป็นผล
จำได้ว่าอย่างนู้นอย่างนี้
สัญญาก็พากษ์ขึ้นมา
เป็นเสียงพูด
เป็นตัวแสดงโลก

บุคคลจำได้โดยอาการอะไรๆ
ก็จะกล่าวเป็นโวหารอย่างนั้นๆ

เวทนาอะไรต่างๆ
ก็ต่อมาจากสัญญาได้
เรื่องจบไปนาน
สัญญาผุดมาเสวยเวทนาใหม่
โหดร้ายปานนี้เลยนะ

ถ้าไม่หลงสัญญาก็ไม่พูด
หรือพูดก็ไม่ได้เดือดร้อนไปกับมัน

สัญญาเป็นกลางๆ
ถ้าใช้ถูก ก็ฝึกรู้สึกตัว
ใช้ไม่ถูกก็หลงไปไกล
ไปพอใจ ไม่พอใจกับเรื่อง

ให้มาดูอาการทางจิตแทน
ไม่ต้องหลงไปกับเรื่อง

มาดูสัญญาบางทีผุดอะไรแปลกๆ
คิดอะไรประหลาดๆ
น่าเอ็นดู ลองสังเกตดู

กระทำไว้ในใจให้ดี

"เธอท.จงฟัง
จงกระทำไว้ในใจให้ดี"

ทำไว้ให้ดีนะ
ไม่ใช่ฟังแล้วคิดต่อ
ใช้ใจอ่าน
ไม่ได้ใช้ความคิดอ่าน

เมื่อใจเข้าถึงธรรมะ
จะเกิดปราโมทย์
ปีติ
สุข
สมาธิ
เกิดปัญญา

เป็นลักษณะของใจที่ฟังเพื่อการหลุดพ้น
ไม่ใช่ฟังเพื่อเอาความรู้ไปคิดต่อ

อาการของ กคปด.

เอวัง ปัสสัง

ท่านบอกให้ "ดูไปอย่างนี้แหละ"

งานก็คือทำแค่นี้
เกินกว่านี้
คือ เกิน
เราก็ชอบทำผิดประจำ

ดูอย่างงี้?
ดูแล้วจะได้อะไร?
ดูแล้วจะเห็นอะไรนะเนี่ย?
เห็นอย่างงี้แล้วมันจะไปบรรลุได้ยังไงนะเนี่ย?
โอ้ย เครียดทำยังไงดี?
ผิดหรือถูกก็ไม่รู้เนี่ยแบบนี้?

ถ้ามันคิดอย่างนี้
ก็ดูให้ทันว่ามันคิดอย่างนี้อยู่
ดูให้ทัน
เป็นปัจจุบันไปเรื่อย

กิเลสมันกลัวการรู้
กลัวปัญญา
อย่างอื่นไม่กลัว

เวลาดูไม่ได้
ก็อย่าไปหาวิธีอื่น
สงสัยให้ดูว่าสงสัย
งงให้ดูว่างง

ให้ดูว่ามันคิดอย่างนี้
เดี๋ยวสักหน่อย
ความคิดอย่างนี้จะหายไป

เรียนธรรมะเพียงบางแง่

เรียนลึก แต่เรียนบางแง่
มันก็จะไม่มีผลชำแรกกิเลสขึ้นมา
เรียนๆ ไปเผลอกิเลสหนักขึ้น

เช่น
เรียนอกุศลมากๆ
เกลียดมันๆ

เรียนกุศลมากๆ
ชอบมันๆ
จะเอาๆ

เรียนกรรม
ก็มุ่งเรียนแต่วิบาก
เกิดมาใช้กรรม
เข้าใจไม่ครบมันก็หาทางออกไม่เจอ

การเรียนไม่ต้องลึกหรอก
แต่เรียนให้ครอบคลุม

เกรงใจกันเพราะต่างคนต่างมีกิเลส

พระอรหันต์นี่ท่านไม่ได้ใส่ใจ
ว่าต้องเอาอกเอาใจ
เพื่อให้ใครมาเอาใจเรา
หรือรักษาหน้าใคร

พูดอะไรก็ว่าไปตามธรรม
ถ้าเห็นด่าแล้วอาจจะมีประโยชน์กะคนนี้
ก็ด่าซะ เผื่อจะตื่น

ไปดูพระพุทธเจ้าด่าภิกษุ
หงายท้องเลย
ว่าแรงมาก อ่านแล้วเงิบ
กิเลสบางตัวก็ต้องเอาให้หนักถึงจะอยู่
ไม่งั้นไม่สะเทือน


ปัญญาแบบสมถะ ปัญญาแบบวิปัสสนา

ปัญญาแบบสมถะ ลูกเล่นเยอะ

เช่น

รู้ว่าสัตว์ท.มีกรรมเป็นของของตน
มองปั๊บไม่ค่อยวิจารณ์ใคร
สงบดี

ใครว่าอะไรมาก็นึกถึงธรรมะนั่นนี่ได้
เป็นเพียงเสียงกระทบ
ไม่เที่ยง

นึกถึงธรรมะ
นึกถึงความจริง
เป็นธัมมานุสติ
ตัดสินนั่นนี่ได้หมด

เห็นจิตเห็นใจตนเอง
มองหน้าคนอื่น
รู้อีกเขาคิดอะไร

ระลึกอดีตได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ

บางทีก็รู้สึก
พ้นแล้วม้างงงง
ไม่มีกิเลสตั้ง 2-3 วัน

หรือบางทีสว่างไสวโล่งขึ้นมา
เหมือนดวงอาทิตย์
สักพักมืดเหมือนเดิม

คือผู้พ้นจริง (พระอรหันต์)
จะมีญาณ ปัจเวกขณญาณ
ถ้าไม่มีญาณนี้ เหมือนจะใช่แค่ไหน
ก็ไม่ใช่

ปัญญาแบบวิปัสสนา
จะเห็นไตรลักษณ์ต่อหน้าต่อตา
เกิดดับ ต่อหน้าต่อตา

ปฏิบัติไปสังขารก็ละเอียดมากขึ้น
จิตยังจำสภาวะไม่ได้
ก็รู้ไม่ทัน

หน้าที่ก็ทำเหมือนเดิม
เหมือนกับตอนสังขารหยาบ
ดูไป รู้ไป ให้จำสภาวะได้

ไม่ใช่โกรธดับ...นิ่ง
พอนิ่ง ไม่เห็น
เพราะละเอียดไป
งง ไม่ดูนิ่ง
ไม่เห็นว่านิ่งก็เกิดดับ

ทุกอย่าง หยาบ ละเอียด ไกล ใกล้
เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งสิ้น

ปัญญาวิปัสสนาเท่านั้น
จึงจะมีผลให้เบื่อหน่าย
ส่วนปัญญาสมถะ
จะรู้แค่ไหนก็ไม่เบื่อจริง

เบื่ออันนึง
เห็นอีกอันดีอยู่

เช่น เจริญอสุภะ
เบื่อร่างกาย
แต่จิตที่เจริญอสุภะอยู่นี่ดีจัง

ในการปฏิบัติปัญญาสมถะจะมาเยอะ


เบื่อ

คือเห็นกระบวนการทำงานของสิ่งเหล่านี้ว่าเป็น "ภาระ"

ต้องมาทำกรรม
ต้องมาเสวยวิบาก

แม้ปฏิบัติธรรมก็ยังเป็นภาระต้องมาดูใจ
ข้อปฏิบัติ มรรคทั้งหลายก็เป็นแพข้าม
ก็ยังเป็นการบีบคั้นของจิตอยู่

แต่ก็มีหน้าที่ก็ทำไป
ค่อยๆ ลดแรงบีบคั้น
ก็จะเบาขึ้นเรื่อยๆ

รู้มากขึ้น
จิตก็ไม่บีบคั้นดิ้นรน
สุขเหล่านี้ก็ยังปรุงแต่ง
ต้องเสวยเวทนา

แม้แต่การพ้นก็ยังเบื่อ
ว่าพ้นก็พ้นชั่วคราว

คำเปรียบพระอรหันต์

เหมือนลูกจ้างรอเวลาเลิกงาน

ความคิด

ความคิดนี่ประกอบจาก 2 ส่วน
คือ สัญญาอดีต และส่วนที่ปรุงแต่งใหม่

สัญญานี่ถ้าเราดู
อาการจะเหมือนจะผุดแถวๆ สมอง

ดูดีๆ จะเห็น
สัญญาผุดขึ้นแล้วดับไป

แต่เรื่องราวของสัญญานี้ยังไม่ดับ
สังขารก็จับเอาเรื่องนั้นแหละ
ปรุงต่อ

ส่วนสังขารก็ดับด้วย
แต่เรื่องที่ปรุงไม่ยอมดับ
กลายเป็นเรื่องคนนั้นคนนี้ ว่าอย่างนั้นอย่างนี้

ส่วนใหญ่ก็หลงไปแต่เรื่อง
สนใจไปในเรื่องนอกตัว

ถ้าในตัวจริงๆ มันก็แค่
มีสัญญาบ้าง
มีสังขารบ้าง
เกิด ดับ เกิด ดับ
แต่ถ้ามองนอกตัวจะไม่เห็นเกิดดับ

โลก

โลกที่พูดๆ กันแบ่งได้ 3 แบบใหญ่ๆ

๑. โลกที่ผัสสะ
๒. โลกแบบภูมิของจิต (ความเคยชินที่จิตไปติดข้อง)
๓. โลกแบบภูมิของสัตว์ 31

สำหรับวิปัสสนานี้จะมาใส่ใจกับผัสสะ

ส่วนโลกแบบภูมิของจิต
ให้มาดูที่ความเป็นเหตุปัจจัย
ดูว่าแม้ตอนนี้มันดี
สักหน่อยมันก็ไม่ดี

จิตขึ้นสูง เบา
กิเลสกระแทกหน่อย ตกวูบ
มาดูความไม่เที่ยงของมัน

ส่วนโลกแบบภูมิของสัตว์ 31
มันก็มีจริง แต่ไม่ได้เน้น
เพราะมันเป็นวิบาก
จากที่มาก็คือ ภูมิของจิต หรือความเคยชินนั่นแหละ

เปรต สัตว์นรก เทวดา นางฟ้า อะไรเทือกนี้
ก็เอาไว้ขู่ หรือล่อ
พวกเด็กน้อยทางสติปัญญา
แต่ถ้าใช้ไม่ถูกกาลเทศะ
ก็ออกปากอ่าวไปเลยวิธีนี้

ปัญหาจะเยอะแยะไปหมด
มีแต่พิธีกรรม
ทำนู่นถูกต้องหรือเปล่า
ทำนี่บาปมากมั้ย
สุ่มเสี่ยงต่อมิจฉาทิฏฐิอยู่พอตัว

ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์

ให้ทราบว่าจิตไปติดภพภูมิของจิตอะไรบางอย่างอยู่
เช่น นิ่ง เบาสบาย ติดสมถะ
หน้าที่ก็ให้รู้ว่ามันนิ่งอยู่
ไม่ใช่รู้ว่าติดสมถะ
ไปดิ้นรนไม่อยากติด
วุ่นวายไปใหญ่

นิ่งก็รู้อยู่ว่านิ่ง
ดูไปเดี๋ยวก็เห็นสักพักก็คิดละ

หรือความคิด
หรือกิเลสมันกำลังครอบจิตเอาไว้
อันนี้ก็ไม่เห็นไตรลักษณ์

ตายแล้วไปไหน - ภูมิของจิต

ความรู้สึกที่มีต่อสัญญา
ก็มักจะคล้อยกับสัญญา

จำไว้ดี เวทนาก็ดี เป็นสุข
จำไว้ไม่ดี เวทนาก็ไม่ดี เป็นทุกข์ขึ้นมา
ถ้าไม่รู้ว่าคืออะไร
ไม่รู้ว่าเป็นใครก็ อุเบกขา วนไป
ไม่รู้จะชอบดี ไม่ชอบดี

แล้วก็ปรุงแต่งตามเวทนาและสัญญา
ตามแบบฉบับความเคยชินของแต่ละคน
ความเคยชินนี้แหละ คือ ภูมิของจิต (หรือภพของจิต)

ถ้าอยากจะสร้างภพของจิตให้ดี
รู้ทันที่ผัสสะจะเร็วที่สุด
ถ้ารู้ไม่ทันก็มาฝึกตรงนี้ได้เหมือนกัน

ถ้าไม่เคยฝึกอะไรก็ทำดีไว้ก่อน
ละกรรมชั่ว
เพื่อให้จิตมันเคยชินจะปรุงสิ่งดีๆ

ถ้าจิตติดฝ่ายดี
ติดคำสอน
ติดสวดมนต์
ติดครูบาอาจารย์
ลักษณะนี้เป็นจิตภพสวรรค์

ถ้าดีบ้างไม่ดีบ้าง
แต่ไม่ถึงกับผิดศีลรุนแรง
จิตยังยึดในศีลในธรรม
แต่ไม่ดีเด่อะไรนัก
ลักษณะนี้เป็นจิตภพมนุษย์

ถ้าจิตเกาะความสงบ
ก็เป็นจิตพรหม

อยากรู้ว่าชาติต่อไปไปไหนง่ายนิดเดียว
เพราะกรรมที่จะนำเราไปเกิดที่แรงๆ มาแผ้วพาน
เช่น ฌาน, ฆ่าพ่อแม่, ฆ่าพระอรหันต์
กรรมที่จะให้ผลคือ อันนี้เลย "ภพของจิต" อภิธรรมเรียก "อาจิณกรรม"

มาดูว่าชาตินี้จิตเกี่ยวข้องกับอะไรอยู่
ถ้าสังเกตุดีๆ...
เวลาจิตติดข้องฝ่ายสูงนี้
มันจะเหมือนดันขึ้นไปข้างบน

เมื่อไรที่กิเลสครอบงำ
จิตมันจะดึงตัวเองลงไป
เหมือนอยู่แถวๆ อกนั่นแหละ แต่มันดึงลงข้างล่าง
อันนี้คือจิตมันไปติดภพภูมิที่ต่ำ

มองอย่างงี้ก็รู้แล้วว่าตายแล้วไปไหน

ทั้งนี้สังเกตไป ก็จะรู้ว่า "ภูมิของจิตก็ไม่เที่ยง"
ไม่ได้ให้ไปยึดดีอะไรอย่างนั้นหรอก

เมื่อผัสสะ

เมื่อผัสสะ
จะมีสัญญาเกิดขึ้นพร้อมผัสสะ

เรื่องใดๆ ก็เริ่มที่ผัสสะ
กามก็เริ่มที่ผัสสะ
โลกก็เริ่มที่ผัสสะ
ทุกอย่างเริ่มที่ผัสสะ
เวลาสูญสลาย ก็สลายไปที่ผัสสะ

โลกจะปรากฏ ก็ปรากฏที่ผัสสะ
โลกจะดับ ก็ดับที่ผัสสะ

สวรรค์ โลก พรหมโลก นรก เปรต
ภพภูมิต่างๆ มีอยู่ก็ด้วยผัสสะ
หากปราศจากผัสสะ
จะไม่มีโลก และไม่มีอะไรเลย


วิญญาณขันธ์

เป็นวิญญาณที่เกิดจากการกระทบ
คือวิญญาณ ๖

ส่วนวิญญาณอื่นๆ ไม่เรียกว่า "วิญญาณขันธ์"

รูปเป็นของร้อน

รูปนี้ก็หมายถึง รูปที่กระทบตานี่ล่ะ
ไม่ใช่รูปทั่วไป
หมายเอาเฉพาะส่วนที่กระทบกับตา

ตาเป็นของร้อน

ตาไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ตลอดเวลา
มันจะมีก็ต่อเมื่อ
มีผลของกรรมบางอย่างจะให้ผล

เวลาจะให้ผล
มันต้องมีทางมา

วิญญาณจึงไปก่อนามรูปบางประการ
นามรูปนี้ไปสร้างเป็น "จักขุ" ที่อยู่เพียงชั่วคราว

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวง - อายตนะ

อายตนะ

เป็นการทำหน้าที่เป็นครั้งๆ คราวๆ ไป

เมื่ออายตนะทำหน้าที่
ก็จะทำหน้าที่เป็นกลุ่มเป็นก้อน

รูป ก็เป็นลักษณะนึง
เวทนา ก็เป็นลักษณะนึง
สัญญา ก็เป็นลักษณะนึง
สังขาร ก็เป็นลักษณะนึง
วิญญาณ  ก็เป็นลักษณะนึง

การมีลักษณะเป็นกลุ่มๆ เหล่านี้
เรียกว่า ขันธ์

ดังนั้น "ขันธ์" ไม่ได้คงที่อยู่ตลอดเวลา
มันเกิดมาจากการทำหน้าที่ของสภาวธรรมต่างๆ
แล้ววนไป

ร่างกายไม่ได้เป็นขันธ์ตลอดเวลา
จะเป็นขันธ์ก็เมื่อมันไปทำหน้าที่
เป็นอายตนะ เป็นกลุ่มๆ ไป

ร่างกายเราทั้งอันเป็นขันธ์ 5 (อันนี้ไม่ใช่)
มันไม่ได้เป็นขันธ์ตลอดเวลา
จะเป็นก็ต่อเมื่อมันเป็นกองทุกข์ที่วนไป


ปัญหาไม่ได้มีเอาไว้แก้

อาการผลักออก
อาการดึงเข้า
อาการวนเวียน
นี่ตัวปัญหา

แต่...ปัญหามีเอาไว้ดู
เพราะปัญหาไม่ได้เป็นปัญหาด้วยตัวมันเอง
มันก็เกิดตามเหตุปัจจัย

ที่มันเป็นปัญหาเพราะตัณหาซ้อน
อยากให้มันไม่เป็นปัญหานั่นแหละ

ที่ปฏิบัติไป
ก็เพื่อให้จิตยอมรับธรรมะได้เท่านั้น
ว่ามันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
มันก็ดับไปเป็นธรรมดา
อย่าไปคิดว่าจะมีอะไรเกิน

เมื่อจิตยอมรับความจริงได้
มันกฝ้จะไม่ทุกข์อีกต่อไป

โมหคฺคิ

วนเวียน
ไม่รู้จะทำยังไงกับมันดี
ไม่รู้ว่ามันวนเวียน
เป็นภาระอย่างหนึ่ง
นี่ก็เป็นไฟ

แต่ตัวนี้ถ้าไม่มีวิชชา
ก็จะดูไม่ค่อยออก

ไฟโมหะนี่ทำให้วนเวียน

เร่าร้อน

เร่าร้อน = ถูกเผาไหม้ด้วยกิเลส
ทำให้จิตใจดิ้นรนไม่หยุด

ไม่หยุดที่ว่า
คือไม่หยุดเกิด

นามรูปก็เกิดต่อไปเรื่อยๆ
มีนามรูปแล้ว กรรมก็ให้ผล
นามรูปเหล่านั้น
เลยต้องไปทำหน้าที่เป็นอายตนะ
คอยกระทบกับสิ่งต่างๆ
เพื่อให้เกิดวิบาก

ออกมาเป็นจักขุวิญญาณบ้าง
โสตวิญญาณบ้าง
มโนวิญญาณบ้าง
พวกนี้เป็นวิบาก

พอเกิดอย่างนี้
แล้วก็มีกิเลสทำกรรมต่อไปอีก
จึงดิ้นรนไม่สิ้นสุด


วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ทวารเอาไว้คุ้มครอง อินทรีย์เอาไว้ปิด

ปิดทวาร กับปิดอินทรีย์ไม่เหมือนกัน

มีทวารอันคุ้มครองแล้วในตอนที่เป็นอินทรีย์

อินทรีย์ หมายถึง
สภาวะธรรม ที่ทำหน้าที่ของมัน
เป็นใหญ่ในกิจหน้าที่นั้นๆ

ปิดอินทรีย์ดีแล้ว
หมายถึง ไม่หลงไปด้วยอำนาจตัณหา มานะ อุปาทานต่างๆ

อินทรีย์นี่หมายถึง
ตาที่ทำงานแล้ว
มีการเห็นแล้ว
ไม่ใช่ที่เป็นทวารเฉยๆ

เขม

หมายถึง จิตปลอดภัย
ปลอดภัยด้วยมีสติอารักขา
ใจอยู่กับบ้านก็ปลอดภัย
กิเลสไม่เข้า

วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เรียนอภิธรรม

การศึกษาธรรมนั้น

พึงรู้อยู่เสมอว่าตอนนี้
กำลังศึกษาการเดินทาง
หรือกำลังศึกษารายละเอียด

อภิธรรมนั้นเป็นการศึกษารายละเอียด
แสดงด้วยปัญญาของพระพุทธเจ้า
และพระสารีบุตร
ซึ่งเป็นผู้มีปัญญามาก
ท่านเห็นเยอะ เล่าไว้เยอะ

เหมือนบอกว่าตัวเมืองเชียงใหม่มีอะไร
ประชากรเท่าไร
อุณหภูมิเท่าไร

แต่การเรียนอภิธรรมไม่ใช่การเดินทาง

ส่วนไตรสิกขานั้น
บอกเส้นทางการเดิน
เหมือนบอกว่า ไปเชียงใหม่ไปทางนี้
ใช้ถนนเส้นนี้
เดินแล้วไปเจออะไรไม่ได้บอก
ให้ไปรู้ไปเจอเอาเอง

เวลาเราเดินทางเอง
เราจะเจอรายละเอียดมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่

กตฺตญฺญุตา

นอกจากรู้คุณคนแล้ว
ยังให้รู้ไปถึงคุณของสิ่งต่างๆ หรือธรรมชาติด้วย

เวลาจะเทน้ำหรือทำอะไร
ก็ให้ดูให้ดีๆ ว่ามันมีผลกระทบไปสู่ใครบ้าง

วิภชฺชวาที - โลภ อโลภ

วิภชชวาที
ลักษณะศาสนาพุทธที่เป็นคำสอนที่แจกแจง
แยกเป็นส่วนๆ
ไม่เล่นคำ

เช่น อยากไปนิพพาน
อย่าไปอยากนะ เดี๋ยวอยากจะเป็นโลภะ

ที่ถูกต้องควรพูดว่า
ถ้าอยาก ให้ทำกุศลเยอะๆ นะ

คือการอยากทำกุศลเนี่ยมันไม่ใช่โลภะ
อยากอ่านหนังสือธรรมะ
อยากปฏิบัติธรรม
มันเป็นฉันทะชนิดนึง
เป็นการอยากที่จะทำให้มันดีขั้นต้น

คำว่า "อยาก" นี้เป็นคำไทย
ต่างจาก "โลภะ"
โลภะนี่จะ หมายถึง
การต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาสนองความกลวงข้างใน

คือเราไปมองผิดๆ ด้วยอวิชชาว่า
เรากลวงข้างใน
ต้องไปเอาของข้างนอกมาถมให้เต็ม

คำคู่ของ โลภะ คือ อโลภะ
ไทยก็ไปแปลว่า ไม่โลภ ไม่อยาก
มันก็แปลได้ แต่มันก็จะยัง งงๆ

จริงๆ มันหมายถึง
การพัฒนาตนเอง หรือการสร้างความรู้สึก
ที่จะหมดความต้องการที่จะหาอะไรมาถมให้เต็ม

อโลภะ
มันคือการมีสติ
ที่จะทำให้มีความรู้สึกเต็มจากข้างใน
ที่ว่าจะไม่ต้องเอาวัตถุมาเติมให้มันเต็มอีก
เพราะเราอยู่เฉยๆ มันก็เต็ม

เวลาพูดว่า "ไม่อยาก" แบบภาษาไทย
ส่วนใหญ่จะเป็นอกุศลมากกว่า
ไม่อยากทำนั่น ไม่อยากทำนี่

ถ้าคนมีสติเขาจะอยากทำในสิ่งดี
เห็นคุณค่าของเวลา
คนจะมีความเพียรได้
ต้องอยากทำ

คนจะบรรลุได้
ต้องอยากบรรลุก่อน

หลักการสร้างวิริยะ ก็คือฉันทะนั่นแหละ
อยากกระทำให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้

การพูดแบบนี้
วิภชฺชวาท
เวลาใครมาตี
ก็จะแก้ได้

ในพุทธศาสนาไม่เน้นเล่นคำ
จะใช้วิธีแจกแจงอย่างนี้

หรือ
อย่าไปทำนะ

นักแผลงก็เล่นคำได้ละ

ที่ถูกต้องพูดว่า
ให้ไปทำสิ่งดีๆ ไม่ให้ทำสิ่งไม่ดี

สันโดษ

ให้ใช้กับเฉพาะปัจจัย 4
การเลี้ยงชีพ
อะไรที่เป็นด้านวัตถุ
ไม่ใช่ใช้พร่ำเพรื่อกับทุกอย่าง

ส่วนอันอื่น
"ห้ามสันโดษ"
ในส่วนคุณธรรมทั้งหลาย
ไม่ให้สันโดษ ให้ทำให้ดี ให้ถึงที่สุด

บางคนไม่กล้าปรารถนานิพพาน
สันโดษในสิ่งดีงาม
ความคิดนี้ไม่เป็นมงคล

การไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย
และลงมือทำโดยไม่ย่อท้อ

ไม่ต้องไปกระมิดกระเมี้ยน
นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ ไปเร้ย!!!

มันต้องพูด ต้องเตือนตนบ่อยๆ





นิวาโต

แปลว่า ความนอบน้อม ความอ่อนโยน ก็ได้

แต่มันหมายถึงว่า
การกำจัดการเปรียบเทียบ

เวลาผู้ใหญ่ว่าเรา
เรามักเฉยๆ

แต่เวลาเด็กมาว่า
มันมักจะไม่เฉยๆ

ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์กันหมด
ใครก็สอนเราได้
ถ้ามีลักษณะอย่างนี้
การเรียนรู้ของเราจะเร็วมาก

การเปรียบเทียบเกิดขึ้นเมื่อไร
ใจจะไปติด
การรู้ความจริงจะยาก

สญฺญโม

สญฺญโม แปลว่า สำรวม
สำรวมนี่ หมายถึง การปิดมัน

สำรวมตา คือ ปิดการดู
หมายถึง เห็น แต่ปิดไม่ให้อกุสลเข้าครอบงำ

สำรวมหู คือ ปิดการฟัง
หมายถึง ได้ยิน แต่ปิดไม่ให้อกุศลเข้าครอบงำ

ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริง (ว่าไม่เที่ยง)
กิริยาอาการเขาก็จะสงบเสงี่ยมตามธรรมชาติ

แต่สำรวมภาษาไทยนี่
จะให้ภาพเป็นเดินย่องๆ

อารตี วิรตี ปาปา - การไม่ทำบาปทั้งปวง

ความหมายคือ
ทำทุกวิถีทางที่จะกันบาปไม่ให้เกิด

สิ่งที่จะทำให้เกิดแบบนี้
ก็คือการมีสติสังวรณ์

ไม่ใช่ว่าเราไม่ทำบาป หรือไม่ทำอะไร

อารตี (งด)  วิรตี (เว้น) ปาปา

ธมฺมจริยา

การอยู่กับธรรม

กายส่าย
กายเคลื่อนนี้มาจากจิต
ถ้าไม่ฝึกก็จะไม่เห็น

เหมือนฝึกคำพูด
ปล่อยให้มันอยากเคลื่อนให้ตาย....
ค่อยเคลื่อน

ไม่งั้นจะไม่เห็นทุกข์
ที่ถูกปิดบังด้วยอิริยาบถ

ทานํ

ผู้ที่จะไปนิพพานนั้น
จะมาดูว่า
ในการทำสิ่งต่างๆ
ความยึดถือนั้นลดลงมั้ย

แม้แต่การไหว้
ถ้าไหว้แล้วตัวตนมันไม่ลด
ยังใหญ่คับโลกอยู่
ให้ก้มหัวลงให้ต่ำลงไป

ไม่ใช่สักแต่ไหว้ๆ
ไหว้แล้วจิตใจเป็นอย่างไรบ้าง

ไหว้ช้าๆ ไม่ต้องไหว้เร็ว
ไม่ต้องรีบ
ดูจิตดูใจไป
มีเรา มีเขามั้ย

หรือการให้ตังขอทาน
ให้แล้วดูจิตดูใจ
มี เขาจน เรารวย เกิดขึ้นหรือเปล่า

เขาไม่ค่อยมีนะ
เรามีกว่าเขา เราควรให้
ให้รู้จัก มานะ เอาไว้

กิจกรรมพวกนี้ก็ต้องทำให้เข้าทาง
ถ้าให้แบบนี้ก็ได้อานิสงส์ของทาน
แต่ทางไปนิพพานก็ยังเคว้งอยู่

จุดสำคัญของการให้ทาน
ดูว่าความยึดมั่นลดลงมั้ย

ชำนาญในการรอ

รอที่จะมีความสุข
ก็รอไปตลอดชาติ
ชำนาญในการรอก็รอต่อไป

มันไม่จำเป็นต้องรอ
มันต้องให้รู้สิว่าทุกขณะ
ทุกๆ ก้าวเดินคือทางเดินไปนิพพาน

ความสุขก็มีได้ตั้งแต่ตอนนี้
ความเต็มอิ่มก็มีได้ตั้งแต่ตอนนี้
อยู่กับอะไรที่เป็นของจริงในตอนนั้น
ไม่ต้องไปรอกินกาแฟก่อนค่อยมีความสุข

ลองฝึก ถ้ามีคนถาม "รอนานมั้ย"
ตอบไปว่า "ป่าว ไม่ได้รอ เรามีความสุขในใจเราเอง"

มายา ความติดกับอนาคตขึ้นมาหลอก
อนาคตไม่ได้มีอยู่จริง

อนากุลา จ กมฺมนฺตา

อนากุลา นี่แปลทั่วไปได้ว่า
ไม่คั่งค้าง ไม่อาดูร
แต่เอาจริงๆ จะหมายถึงว่า
ความเรียบร้อยในการจัดระเบียบความคิด

การงานอาจจะยังเหลือบางอย่าง
แต่ระเบียบความคิดต้องถูกต้อง
อะไรสำคัญกว่าทำก่อน


วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วิธีฝึกสุภาสิตา

เอาให้อยากแทบตาย.....
ค่อยพูด

จะได้รู้ว่าไม่ได้พูดมันก็...
ไม่ตายหรอก

แต่ถ้าไม่ได้ไปนิพพานนี่...
ตายแน่
ตายเยอะด้วย

มีศีล

คนมีศีล
หมายถึง เป็นคุณธรรมของผู้ที่ฝึกมาแล้ว

ฝึกมาแล้วจึงมีศีล

พระโสดาบันมีศีล ๕ สมบูรณ์
ความหมายคือ ท่านฝึกมาแล้ว

ข้อที่ฝึก เรียก สิกขาบท

เหมือนอ่านมงคลสูตรไป
ฝึกตาม
เรียกว่าฝึกสิกขาบท
ฝึกไปแล้วได้เป็นคุณธรรมในตัว ก็เรียกว่าเป็นมงคล

ปทปรม

ผู้พบพระพุทธศาสนา
ไม่มีใครสมัครใจเป็นปทปรม

ปทปรม
ผู้มีบท เยอะ 5555

ถึงจะเป็นปทปรมจริงๆ
แต่ไม่ควรสมัครใจเป็น

ปทปรม
นี่นับกัน 1 ชาติ
บรรลุชาตินี้ไม่ได้
เรียก ปทปรม

ชาติก่อนๆ ที่ผ่านมา
ก็เรียกว่าเป็นปทปรม
ดังนั้น การ "ตั้งใจเป็นปทปรม" นี่ร้ายแรง
เรียกว่า ชาติหน้าแล้วกัน เอาไว้ก่อน
จะยืดออกไป

พรหมจริยะ

จริยะ คือ วิถีชีวิต
พรหมจริยะ คือ การทำให้วิถีชีวิตเจริญขึ้น
มีความทุกข์น้อยลง
เปลี่ยนไปจากเดิม

วัตถุประสงค์ในพระพุทธศาสนา
วัตถุประสงค์หลัก คือ ให้ถึงพระนิพพาน
วัตถุประสงค์รอง คือ ทำทุกอย่างให้เข้าวัตถุประสงค์หลัก

พรหมจริยะ คือ ทำทุกอย่างให้เข้าวัตถุประสงค์หลัก
มงคลก็ลงหลักข้อนี้

ถ้าประพฤติแล้ว
ทุกข์น้อยลง
คือประพฤติพรหมจรรย์

กมฺมวาที กิริยวาที วิริยวาที

พระพุทธศาสนานั้นมีหลายชื่อ
ที่ควรจำไว้ เพื่อที่จะได้เข้าใจหลักการที่ถูกต้อง

ไม่ใช่เรียนๆ ไป
เข้าใจดี...
แล้วก็เฉยๆ

ถ้าเรียนแล้วได้ผลอย่างนี้
คือเรายังเรียนไม่ถูกหลักการ
ยังเรียนไม่ครบ

ชื่อนึงคือ "กมฺมวาที"
เป็นลักษณะที่กล่าวถึงผลพวงของการทำ พูด คิด

ทุกอย่างที่เราทำ
ที่เราพูด
ที่เราคิด
มีผลกระทบ

ทุกอย่างเลย
แค่กระดิกเท้า
คิดอะไรนิดหน่อย
การเดินทุกก้าว
มีผลหมด

เดินไปก้าวนึง พูดคำนึง
ชาติจะยาวขึ้นหรือจะสั้นลง

อีกชื่อนึง "กิริยวาที"
เป็นลักษณะที่ว่า
พูดแล้วก่อให้เกิดการลงมือทำ ไม่ใช่พูดลอยๆ
ต้องมีการกระทำต่อสิ่งนั้น
ต่อสิ่งที่พูดถึง

อีกชื่อนึง "วิริยวาที"
ฟังแล้วอยากทำ
ไม่ใช่ศาสนาของคนขี้เกียจ
ฟังแล้วไม่ตื่นตัว
เหมือนจะหลับ
อันนี้ไม่ใช่



ว่าด้วยการนอน

กิเลสเยอะ
คิดเยอะ
ใช้พลังงานมาก
มันจะนอนมาก

แต่ถ้ากั้นกิเลสดีๆ
มันจะไม่ค่อยนอนอ่ะ

วินโย จ สุสิกฺขิโต

วินัยนี่หมายถึง วิธีการที่จะละกิเลส
สุสิกฺขิโต คือ ศึกษามาดีแล้ว

ถ้าไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของวินัย
แล้วถ้าไปศึกษาวินัยพระ
จะรู้สึกอะไรเยอะแยะไปหมด
เยอะจนงง

เอาตามจริงคือทรงแสดง
ตามบุคคล
ตามสถานที่
ตามเวลา
ตามความเหมาะสม
แต่วัตถุประสงค์ก็คือ ละกิเลส

จริงๆ คำว่า ศีล 5 ศีล 227
ก็ใช้ไม่ถูก
จริงๆ ต้องใช้คำว่า "สิกขาบท"

สิกขา = ฝึกฝนพัฒนาให้ดีงามขึ้นไป
บท = วิธีการ แนวทาง อุบาย

ฝึกฝนในที่นี้เริีมตั้งแต่พื้นฐาน
ไปจนถึงจิตใตที่ละเอีนดยิ่งขึ้น
จนพัฒนาจิตใจให้เห็นตามความจริงได้

ในทางพุทธศาสนา
วินัยไม่ใช่ข้อบังคับ
แต่เป็น "วิธีการที่จะไปถึงจุดหมาย"
วิธีการที่จะฝึกพระให้เป็นพระอรหันต์ให้เร็วขึ้น

ความหมายของ 227 ที่วางไว้คือ
อยากเป็นพระอรหันต์เร็วๆ มั้ย
ถ้าอยาก ก็ไปทำตามนั้น

วินัยมี 2 อย่าง
สังวรวินยฺ = ป้องกันกิเลสใหม่
ปหานวินยฺ = ละของเก่าให้หมดไป

พอป้องกันของใหม่ได้อะไรก็ดี
ฝึกสมาธิก็ง่าย
ใจสบาย
ไปละของเก่าก็ไม่ยาก

สิปฺป

ศิลปะก็คืออาชีพ
ที่ไม่ขัดต่อหลักธรรม
ตนไม่เดือนร้อน
สังคมไม่เดือดร้อน
สิ่งแวดล้อมไม่เดือนร้อน

พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธอะไร
ไม่ใช่ต้องแยกตัวไปอยู่ซอกหลืบ

ไม่ใช่ทำงาน 5 วัน
รีบๆ ทำให้เสร็จ
จะได้ไปเรียนธรรมะ
อย่างนี้ยังไม่ถูก

ศิลปะหรือการทำงาน
ก็เป็นกระบวนการหนึ่งในการปฏิบัติธรรม

พาหุสจฺจ

พาหุสจฺจ

ฟังมาก
เรียนมาก
พระไตรปิฎกนี่อยู่ในกายยาววาหนาคืบ

พอแปลว่าฟัง
บางทีจะไปยึดความหมายแคบๆ
เพียงใช้หูฟัง

จะพลาดความมุ่งหมายสูงสุด
ที่ทรงแสดงมงคลไป

วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ปูชา จ ปูชนียานํ

ความหมายนึง คือ
ท่านว่ายังไง
เราก็ว่ายังงั้น
ศัพท์เทคนิคเรียกว่า ปฏิบัติบูชา

การมีสิ่งที่ควรบูชา
จะทำให้ความถือตัวลดลง

ทุกวันนี้ที่เป็นทุกข์
เพราะสร้างของปลอมขึ้นมา
ของปลอมที่ว่า
"ปัญจุปาทานักขันธา"
เป็นของไม่มีตัวตน

สร้างขึ้นมาแล้วรู้สึกว่ามีอยู่
ปลอดภัย ยิ่งใหญ่ ว่ากันไป
พอของปลอมโดนกระทบก็เป็นทุกข์
ยิ่งของปลอมหนาเท่าไร
โดนกระทบยิ่งทุกข์มาก

มงคลข้อถัดๆ ไปคือการสะสางของปลอม
เข้าสู่ของจริง
จะใช้ชื่อว่ามงคล
สติปัฏฐาน อะไรก็ได้ เรื่องเดียวกัน
เป็นลีลาการแสดงธรรมเฉยๆ


อย่างท่านบอกว่า
ถ้ามีใครมีด่าทอตำหนิ
หรือสรรเสริญท่าน
ถ้าเรากระเทือนไปด้วยแสดงว่ายึดของปลอมอยู่

คบบัณฑิต

ในปัจฉิมโอวาท

ถ้ามีข้ออ้างปุ๊บ
เรียกว่าประมาท

ในคำสอนนั้น
ต้องการให้ทุกคนเป็นอรหันต์เท่านั้น
ไม่ต้องเกิดอีก
ไม่ใช่แค่เป็นพระโสดาบัน

สมัยพุทธกาล
ใครอยู่ใกล้พระศาสดา
แล้วมัวเอ้อระเหย
โดนตำหนิ
แม้เป็นพระเสขะแล้วก็ยังโดน

เจอของที่ดีแล้ว
ต้องรีบกระทำให้สมควร
มันไม่มีเหตุผลที่จะไม่กระทำ



วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อเสวนา จ พาลานํ

ไม่ได้เกี่ยวว่าได้ไปคุยกับคนไม่ดีหรืออะไร

แต่ดูว่าทัศนคติเรานี่
คล้อยไปทางอกุศลมั้ย
อย่างโลกทุกวันนี้เป็นฝ่ายอธรรมเสียมาก
เราค่อนข้างเห็นด้วยมั้ย

พระพุทธเจ้าบอกว่า
คิดงี้ไม่ดี
พูดงี้ไม่ดี
เราก็ยังเอ๊ ~~~ ใครๆ เขาก็พูดกัน

หรือเรียนมา
ออกจากห้องเรียนทิ้งหมดเลย
ไม่ภาวนาดูเลย
เรียนแล้วเอาความรู้มาฟาดฟันกัน

เรียกว่าคล้อยไปแนวอกุศล
คือคบคนพาล

คล้ายกับเอาหลักธรรมที่จะให้ไปถึงนิพพาน
ไปทำให้บางลง
เบาลง ไม่หนักแน่น

มงคลต้องลงมือ

มงคลก็เหมือนกับศีล
ไม่ใช่ว่ารับเอาก็เป็นมงคล
เป็นข้อทำเหมือนกัน

จะดูว่าเข้าใจพุทธศาสนาถูกต้องมั้ย
ต้องส่องไปดูว่า
ความคิด คำพูด การกระทำ การดำเนินชีวิต
เกิดการปรับปรุงหรือเปล่า

เรียนแล้วเฉยๆ ....ไม่มี
เรียนแล้ว อ้อ อันนี้เรียกเป็นมงคล แล้วก็เฉย...ไม่มี

มงคลในศาสนาพุทธ
จะไม่มีลักษณะแบบ "เทวนิยม"
คือหมายถึง ได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่ดี เรียกเป็นมงคล
มงคลไม่ใช่สิ่งของ
ที่ได้มาแล้วไม่ต้องทำอะไร

แต่มงคลในพุทธศาสนา
ต้อง "ลงมือ"

อยากรู้ว่าตัวเองมีมงคลมั้ย
ดูเข้ามาในจิตเลย
ถ้าไม่มีก็ ไม่ได้เป็นมงคล

ศีล ๕ นั้นเป็นข้อทำ

ศีล ๕ นั้นเป็นข้อทำ
ไม่ใช่ข้อยกเว้น

ไม่ใช่ไม่ฆ่าสัตว์ = มีศีล

ไม่ใช่ไม่ทำอะไรแล้วเรียกว่ารักษาศีลครบ
ในทางปฏิบัติ
การรักษาศีล ๕ คือการฝึกสตินั่นแหละ
ถ้าไม่มีสติก็คือไม่มีศีลเลย

อย่างศีลข้อ 5
คือฝึกเพื่อไม่ให้มีชีวิตที่ประมาท
ตัวอย่างการทำชีวิตให้ประมาท เช่น การดื่มเมรัย
การมัวเมา หลงระเริง ไม่ได้มีแต่เหล้า

มัวเมาในวัย
มัวเมาในอะไรที่รอเวลา
เดี๋ยวเรียนก่อน
เดี่ยวสวดก่อน
ลักษณะอาการผัดผ่อนเวลาออกไป


ว่าด้วยการแปล และความหมายของสมาทาน

ธรรมที่แปลจากบาลีเป็นไทย
นั้นเบื้องต้นก็จะได้ความหมายอย่างคร่าวๆ

แต่โดยนัยและเบื้องลึก
คำแปลเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลง
ไปตามการเติบโตของสภาวะภายใน
ตามที่ปฏิบัติได้ของบุคคลขณะนั้นๆ

บางทีภาวนาไป
กระจ่างในธรรมข้อนั้นมากกว่าคำแปล
ดันมานึกว่าตัวเองเข้าใจผิด
วุ่นอีก

ถ้าสิ่งไหนดีงามที่เกิดขึ้นกะเราแล้วมัน
ก็คืออย่างนั้นนั่นแหละ
ฉะนั้นคำแปลก็ยึดตามเป๊ะๆ ไม่ได้

อย่างคำว่า "สมาทาน"
จะแยกศัพท์ยังไงก็ได้
สํ (เอามาไว้แบบไม่ครึ่งๆ กลางๆ) + อา (เอามาไว้ข้างใน) + ทาน (ให้)

คำนี้จริงๆ
มันใช้สำหรับคนที่ "รู้แล้ว"
ว่าต้องทำอย่างนี้ถึงจะได้

เหมือนจะไปภูกระดึง
รู้ว่าต้องไปทางนี้แหละ
ถ้าไปอีกทางมันจะช้าไปอย่างนู้นอย่างนี้
คือ "รู้ทางแล้ว"

รู้ว่าต้องวิธีนี้แหละ
ไม่มีวิธีอื่น

โดยตัวคำไม่ได้มีความรู้สึกแบบ "เล่นๆ" เลย
เป็นคำที่ยิ่งใหญ่และหนักแน่น
คือถ้าแปลแบบไทย ที่มักแปลว่า "รับเอา"
ความหมายเลยดูเบาไปเลย

ศีล 5 นี่มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลแล้ว
แต่ต้องให้มา "สมาทาน"
ในเซนส์ความหมายก็คือ

เป้าหมายมีอยู่
ความเป็นพระโสดาบันมีอยู่
นิพพานมีอยู่

วิธีการมีอยู่
มันต้องมาทางนี้เท่านั้น คือลักษณะ เน้นย้ำอย่างนี้
ถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็ไม่ถึง

เพราะคนทราบอย่างนี้ จึง "สมาทาน"
จึงต้องเอาอันนี้มาฝึกฝนให้ได้
มีหลงลืม ขาดตกบกพร่องไป
ก็รีบกลับมาเร็วๆ เอาใหม่

ดังนั้นการสมาทานที่แท้จริง
จะเกิดก็ต่อเมื่อ
เรารู้ชัดว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงเราคืออะไร

แล้วชีวิตเราปัจจุบันมันเป็นยังไง
เป็นทุกข์ใช่หรือไม่
มีสภาพที่ดีกว่านี้มั้ย

สภาพที่ดีกว่านี้ก็เช่น
การเป็นพระโสดาบัน
การถึงพระนิพพาน
สภาพที่ว่านี้สำคัญกับเรามากมั้ย

มันต้องผ่านการถาม-ตอบคำถามเหล่านี้มา
จึงจะมาสมาทานได้

คือไม่ใช่ว่าพอได้ยินว่านิพพาน
"เออ ใครถึงก็อนุโมทนาด้วย แต่เราก็เอาไว้ก่อนละกัน เธอไปก่อนเลย"
ซึ่งความจริงนิพพานไม่ใช่ทางเลือก

และวิธีการที่จะทำให้ถึงนิพพานนั้น
มันมีวิธีนี้เท่านั้น
จึงมาสมาทาน


นิพพานไม่ใช่ทางเลือก

สังคมไทย เรียนนิพพานเป็นเหมือนกับทางเลือก
เหมือนกับเป็นอะไรที่ห่างไกล
จะไปก็ได้จะไม่ไปก็ได้
ตอนนี้ยังหนุ่มสาว เอาไว้ก่อนละกัน
หรือไม่ก็บารมียังไม่ถึง เอาไว้ก่อนละกัน
ไม่รู้ จะรออะไร...

เอาจริงๆ นิพพานไม่ใช่ทางเลือก
ถ้าไม่ถึง ชีวิตก็จะทุกข์และวนต่อไป
เป็นสิ่งที่ต้องทำถ้าจะพ้นทุกข์
เป็นจุดหมายที่ให้ตั้งเอาไว้ให้มั่นคง

การเรียนไม่ใช่เรียนให้ห่างไกล
เรียนแล้วให้เอาไปทำ

คำสอนพระพุทธเจ้าไม่ใช่วิชาการ
ไม่ได้ให้เรียนรู้เฉยๆ
ไม่ใช่เรียนเอามัน ความรู้พิสดารมโหฬาร

เรียนอะไรรู้หมด
แต่เหมือนเดิมนี่ใช้ไม่ได้

มงคล

ข้อปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ ฝ่ายศีล
เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ค่อยๆ คลายเกลียวปฏิจจฯ ออกมา
ให้ค่อยๆ เข้าสู่ฝ่ายนิโรธวาร

นิ+โรธ = ไม่มี เครื่องคุมขัง
พ้นอำนาจกิเลส
ด้วยการกระทำที่ประกอบด้วยสติ

มงคลสูตรนี้จะบอกพื้นฐานที่ดีหมดเลย
เพื่อให้ค่อยๆ กรุยทางไปสู่นิพพาน

มงคลคืออะไร ไปดูในบทสุดท้าย

สพฺพตฺถมปราชิตา (ไม่พ่ายแพ้ในที่ทุกสถาน)
สพฺพตฺถํ + อปราชิตา
หมายถึงหลุดพ้น ไม่โดนครอบงำด้วยอำนาจกิเลสต่างๆ

สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ
ถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน
แปลตรงๆ ได้อย่างนี้
แต่มันก็ต้องอธิบายอีก

คือถ้าทำมาตามนี้
ที่ทุกสถานก็หมายถึงที่ที่เราอยู่นั่นล่ะ
ความหมายคือ "ภายในเรา" ความสวัสดีที่จะถึงน่ะ
ภายในจะปลอดภัย เพราะสติสัมปชัญญะ
จิตใจไม่เถลไถล
ศัตรูเข้าไม่ได้

มงคลนี่พูดรวมย่อสุดๆ เลย มาที่สติ
สติเป็นรากแก้ว
ต้องฝึกให้ลึก

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

โยนิโสมนสิการ

ต้องรู้จักสติมาก่อน
จึงจะรู้จักโยนิโส
ถ้าไม่รู้
กิเลสจะ คปด.

เราคิดอย่างนี้
ไปวัดเป็นกุศล
แต่หน้าขยายขึ้นทุกว้าน..ทุกวัน
อันนี้ถ้าไม่รู้ทัน
ก็เรียบร้อย

สรุป
รู้ทันความคิด
รู้ทันกิเลสที่แฝงมา
ถึงจะเป็นโยนิโส

ยิ่งรู้มาก
ยิ่งเรียนมาก
ที่ให้กิเลสหลอกก็มาก

โยนิโส
เป็นลักษณะของจิตที่มองถูกแง่ถูกมุม
เป็นความรู้สึกในจิต

ความพลิกของจิตขึ้นมามองในอีกมุม (มุมวิปัสสนา)
ไม่ได้สนใจอารมณ์ เช่น เสียง รูป
มาสนใจความรู้สึกในจิตตน
จะเกิดกับจิตที่ฝึกมาแล้ว

ออกมาคล้ายๆ ความคิด
กระทบอะไรแล้วเกิดความรู้สึก มองย้อนเข้ามา
แต่เรียกว่าไม่ใช่ทุกคนจะคิดได้อย่างนี้

ผลของโยนิโสคือ
จิตเป็นไปในทางสงบ
(เหมือนเดิม เวลาสงบก็ให้รู็ว่าสงบ)

อยากรู้ว่ามีหรือเปล่า ลองง่ายๆ
เวลามองคน
ยังรู้สึกเป็นคนมั้ย
ถ้ายังรู้สึก คือยังมองไม่ถูกแง่มุม

เพราะจริงๆ มันไม่มีคน
เป็นของไม่เที่ยงเฉยๆ
เป็นอนัตตา

ถูกคนด่าปุ๊บ
รู้สึกหรือเปล่าว่า มันก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย
หรือไปมองหน้าแล้วด่าเลย

เห็นของสวยๆ ชอบ
รู้สึกหรือเปล่าว่าไม่จำเป็นต้องใช้
หรือเข้าไปพิจารณาของนั้นในร้านเลย

แผ่

เมื่อรู้เท่าทันสิ่งที่เข้ามา
จิตไม่กระเพื่อมขึ้นลง
จิตผ่องใส เบิกบานอยู่ข้างใน
นี้เรียกว่า จิตมีศีล

ฝึกมากขึ้นจะเห็นลักษณะของ อธิจิต
หมายถึง มีคุณธรรมอยู่ภายใน
แล้วสามารถแผ่ออกไปข้างนอกได้ด้วย

จิตที่ไม่ปกติ
มันจะรองรับคุณธรรมไม่ได้

คือถ้ามันรองรับได้
มันก็มีภายใน

มันมีภายใน
มันก็ออกไปเอง
แผ่ ไม่แผ่ ก็ไป

แต่ถ้าจิตไม่ปกติ
คิดเรื่องข้างนอก
กิเลสจะครอบ
จิตใจจะคับแคบ

ดูข้างในยิ่งจิตกว้าง
คิดข้างนอกยิ่งคับแคบ

ฝึกไปเส้นจะตื้น

หัวเราะง่าย
เห็นอะไรก็ฮา
เหมือนย้อนกลับไปดูกิเลสตัวเอง
โอ๊ย มันเป็นอย่างงี้เอง 5555

ยิ้มง่าย
หัวเราะง่าย
มันรู้ทันจิตมายา ลากไปทำนู่นนี่

จิตที่มีศีล เป็นปกติอยู่
 พวกอธิจิตทั้งหลาย เช่น ปีติ สุข เมตตามันก็แผ่ออกมา
แต่สิ่งเหล่านี้ก็ปรุงแต่งเหมือนกัน
อย่าไปหลงนะ

อยู่เฉยๆ ก็มีปีติขึ้นมา
อยู่เฉยๆ ก็มีสุขขึ้นมา
อยู่เฉยๆ ก็มีเมตตาขึ้นมา
เพราะมันไม่มีมายาสาเถย


อโยนิโสมนสิการ

ดูไม่ถูกตัว เรียก อโยนิโสมนสิการ

อยากกินหนม
แทนที่จะไปดูความอยาก
เดินไปดูหนมในเซเว่น

อันนี้คือ อโยนิโส

สัมมาสมาธิ

วิตก วิจารณ์มีลักษณะ
ดึงจิตไปแปะกับอารมณ์ใดอารมณ์นึง

ลักษณะของผู้รู้ที่จะแยกขาดจากอารมณ์จึงไม่ชัดเจน
เพราะจิตไปแตะอารมณ์
ยิ่งถ้าเพ่งหรือแนบนี้
ผู้รู้ไม่ปรากฏเลย

ทีนี้พอปล่อยวิตก วิจารณ์
เพราะรู้สึกว่า
การที่จิตไปแตะอารมณ์นี่
มันมีน้ำหนักหน่อยนึง เลยปล่อย
ให้อารมณ์อยู่ส่วนอารมณ์
จิตอยู่ส่วนจิต

เอโกทิภาวะ
เป็นลักษณะของจิตที่แยกจากอารมณ์
อารมณ์เป็นอันนึง
จิตที่รู้เป็นอีกอันนึง
เพราะไม่มีวิตกวิจารณ์คอยเชื่อม

ถึงตอนนี้ปีติและสุขอยู่ที่จิต

ต่อมาอีกหน่อย
เริ่มรู้สึกว่าปีตินี่มีน้ำหนัก
ก็ปล่อยปีติไป

คงเหลือสุขเบาๆ
ถ้าสุขที่ประกอบด้วยปีติมันจะวูบวาบหน่อย

ถึงสุดท้าย
ไม่เอาทั้งสุขและทุกข์

ลักษณะของวิปัสสนาก็จะเป็นเช่นนี้ด้วย
เราปฏิบัติก็เพื่ออย่างนี้เช่นกัน
แม้ปฏิบัติไม่ถึงจตุตถฌาน
แต่การดำเนินจิตต้องเป็นลักษณะนี้

กล่าวคือ การดำเนินจิตจะเข้าสู่สุขก็ไม่เอา ทุกข์ก็ไม่เอา
เพราะเห็นว่ามันก็ไม่เที่ยง

ในการปฏิบัตินี้
เวลาที่จิตตื่นขึ้นแล้วมาดูกายใจ
จิตจะเหมือนกับจตุตถฌาน

คนที่ทำฌานมาก่อน
ได้จตุตถฌานแล้วออกมา
จิตจะเหมือนกับผู้ที่ฝึกรู้สึกตัวตื่นขึ้น
แล้วมาดูกายใจ

จะรู้สึกเหมือนกัน
คือเป็นผู้ที่สุขก็ไม่เอา
ทุกข์ก็ไม่เอา

ลักษณะนี้สติจะบริสุทธิ์มาก
บริสุทธิ์ด้วยอุเบกขา
นี้เป็นลักษณะของฌาน 4

การฝึกก็ฝึกอย่างนี้
ส่วนจะแนบแน่นเป็นอัปณาฯ หรือเปล่าอีกเรื่องนึง

ตอนที่จะพลิกจากปุถุชนเป็นอริยะ
ถึงจุดที่จะข้ามจิต
จะได้ฌานอัปณาอัตโนมัติ
ถึงไม่เคยปฏิบัติก็ได้เหมือนกัน

ถ้าไม่ได้ก็ไม่พ้นทุกข์
เรียกว่าจิตต้องถึงนิพพาน
ช่วงที่จิตเดินวิปัสสนาในอัปณา
แล้วมรรคจิตเกิดขึ้น
ช่วงนี้จะได้ฌาน
แต่ละคนได้ไม่เท่ากัน

ได้ก็ได้แป๊บเดียวเท่านั้นแหละ
พระโสดาบันพอออกมาก็คล้ายๆ เดิม
แต่มองๆ ไปรู้สึกกลวง ไม่มีตัว

สัมมาสมาธิท่านจึงอธิบายด้วยอัปณา

ตัดภพ

ตัดการกระทำของจิต

สัมมาวาจา

มุสาวาท
นักปฏิบัตินี่
ส่วนมากก็พูดจริงแล้วล่ะ
แต่ดูตรง "ใส่ไข่"
จริงแหละ น้ำหนักมันยังเพี้ยน
หัดดูพวกนี้ เพราะจิตมันยังไม่เป็นกลางจริงๆ

ปิสุณาวาท
การพูดเรื่องคนนึง ให้คนนึงฟัง

คำพูดนี่ความจริงเป็นจริงน้อยมาก
เพราะความจริงคือ ตัวสภาวะนี่มันก็เกิดดับไปหลายรอบแล้ว
แต่ตัวคำพูดนี่ก็ปรุงขึ้นมา แล้วก็ไปยึดว่าจริงจัง

กระบวนการคำพูดไปกระแทกหูอีกคน
กว่าจะปรุงขึ้นมา
เหตุที่ปรุงขึ้นมาจะอิจฉา จะริษยา จะโกรธก็ดี
สิ่งที่ดันขึ้นมาให้พูดน่ะ
กว่าจะเป็นคำนี่ ตัวปรุงแต่งดับไปหมดแล้ว

สัญญาต่างๆ ดับไปหมดแล้ว
มาเป็นคอ เป็นฟัน เป็นลิ้นกระทบกัน แล้วก็ดับไปอีกเหมือนกัน

กว่าจะไปกระแทกหูอีกคน
กว่าจะมาใส่ความคิด ดับไปไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไร

ความจริงแท้นี่มีแค่ปัจจุบัน
จริงแท้ดับไป

คำพูดนี่ผ่านความไม่จริงมาแบบมโหฬาร
แต่เราก็ยังยึดมั่นว่า มันจริงนะ
โกรธคำพูดอีก

สัมผัปปลาปะ
คำไม่จำเป็น

ดูจนหายอยาก
ถึงจะรู้ว่าควร/ไม่ควรถาม
ควรพูด/ไม่ควรพูด

เอาจริงๆ ดูไม่ถึงนาทีก็รู้แล้วควรไม่ควร
ไม่มาฝึกดูจะไม่รู้จัก "ความเกิน"

หัดดูตัณหาที่จะพาเราไปพูด เรียกว่า สัมมาวาจา

พวกขี้คุย
ธรรมวินัยนี่เป็นไปทางพูดน้อย
ยิ่งปฏิบัติยิ่งขี้โม้นี่
ผิด...

เรามักจะคุยเลยการงาน
คุยงานก็คุยไป
พอจบก็น่าจะจบ
แต่มันมักไม่จบ
เลยเถิดเพ้อเจ้อ 5555

ของมีประโยชน์
แต่พูดพร่ำเพรื่อ
ก็ไม่มีประโยชน์
อันนี้ก็เสื่อมเหมือนกัน

องค์ศีลในมรรค

สัมมาวาจา
สัมมากัมมันโต
สัมมาอาชีโว

พูดถึงลักษณะของจิต
ดูว่าฝึกไปแล้ว
การแสดงออกทางกาย - วาจา ออกมาเป็นอย่างไร

องค์ศีลทั้ง 3 ดูที่วีรตี
ดูว่าเจตนาที่จะงดเว้นในองค์ศีลทั้ง 3 เป็นอย่างไร




อวิหิงฺสาสงฺกปฺโป

คือ จิตที่ไม่คล้อยไปในทางเอาชนะ
หรือเบียดเบียนใคร
มีแต่ความรู้สึกว่าจะเกื้อกูลกันตามเหมาะสม
ตามสมควร

ใครไม่เห็นด้วยก็เริ่มชักแม่น้ำให้ได้
อยากให้เขาคิดเหมือนเรา
เห็นเหมือนเรา
อย่างใจเราต้องการ

ความคิดลักษณะว่าเราดีที่สุด
มันคือจะกดคนอื่นให้ต่ำกว่า

พระพุทธเจ้าบอกว่า
คนที่ยกย่องตน
ดูหมิ่นผู้อื่น
ก็ไม่มีอะไรมาก...
นอกเสียจากการไม่เห็นอริยสัจ

พอได้ดั่งใจก็ชอบ ยึดอีก

อพยาปาทสงกปป

จิตใจเปิดกว้าง
อยากพูดอะไรพูดมาเลย
เหมือนตัวเราโปร่งแสง
มีเมตตาเป็นลักษณะ
อันนี้เมตตาจริง เป็นอัปปมัญญา
ไม่มีประมาณ
ไม่จำกัดบุคคล เชื้อชาติ ฯลฯ

จริงๆ ไม่มีประมาณนี่เป็นลักษณะของจิต
ที่มันมีประมาณเพราะเป็นลักษณะของ
ตัณหา ทิฏฐิที่มันครอบเอาไว้

ปกติถ้าไม่มีสตินี่
เมตตาจะไม่จริง
จะแบ่งแยก
เมตตาเฉพาะคนที่คิดเหมือนเรา
ใครคิดต่างนี่เมตตาไม่ออก

จิตที่ไม่มีศีล แล้วไปฝึกเมตตา
มันจะเมตตาได้เป็นบางคน
เกิดการแบ่งแยก
รู้ไม่ทัน เช่น
เมตตาสาว ไปติดสาวซะงั้น
จิตมันยังไม่เป็นสัมมาสมาธิมากพอ

เวลาคนพูดอะไรแล้วรู้สึกตัน
มีตัวเป็นกำแพง
ใครพูดอะไรมากระแทกตัวอยู่นั่น
ขัดเคือง
อันนี้เรียก พยาปาทสงกปฺป

อนาลโย

สภาพจิตที่ไม่ขึ้นต่ออารมณ์
จะเป็นสุขแบบไม่เสวยเวทนา
เพราะมีความเข้าใจในความไม่เที่ยงของเวทนา

จะไม่สุขหนักๆ แบบเวทนา
ใจจะออกร้อนๆ หน่อย
โลกเป็นสีชมพู
อันนี้เรียก ราคคฺคิ

มุตฺติ

สภาพใจหลุดพ้น
จิตใจที่เป็นอิสระขึ้นเรื่อยๆ ตามการปฏิบัติ

แต่เดิมเคยติดกับสิ่งนี้
เคยจุ่มแช่กับสิ่งนี้
ก็พ้นขึ้นมา

ฝึกไปถ้ามองออกจะรู้สึกเหมือนใจไม่อิสระอยู่ตลอด
มัวๆ มึนๆ เหมือนถูกครอบด้วยอะไรสักอย่าง

จาโค

จิตที่จะถึงนิพพานจะมีลักษณะ สละออก

สละออกกับทิ้งวัตถุนี่ไม่เหมือนกัน
คือการทิ้งวัตถุออก เป็นอาการภายนอกเท่านั้น

แต่จิตที่เป็น "จาคะ"
จะมีลักษณะที่ไม่เกาะเกี่ยวกับอารมณ์ข้างนอก
ถัดมาก็ไม่เกาะเกี่ยวใน กาย
สุดท้ายก็ใจ

ไม่ใช่ให้แบบนักธุรกิจ
ให้แบบหวังบรรลุ
แบบนี้เป็นลักษณะแสดงของ สีลพตฺตปรามาส



ปฏินิสฺสคฺโค

ปฏินิสสัคคะ
การสละคืน
หมายถึง เดิมเคยเป็นอย่างไร ก็คืนสภาพอย่างนั้นของเขาไป
ปล่อยไปตามธรรมชาติของเขาอย่างนั้น

เช่น จิตมีธรรมชาติคิด
ก็ไม่ไปห้ามมัน
มันเป็นปกติของมัน

จิตนี่เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็โกรธ
เขาสะสมอะไรมามากเขาก็ผุดขึ้นมาอย่างนั้น
ก็ไม่ยอมให้เขาเป็นไปตามธรรมชาติ
จะเอาแต่จิตดี
ไปหัก ไปห้าม ไปดักเอาไว้
อันนี้เรียกว่า ไม่คืน

สามี/ลูกไม่ได้ดั่งใจ เราก็ทุกข์ละ
อันนี้เรียกว่า ไม่สละคืน

แต่บางทีเวลาฟัง
พอบอกให้ "ปล่อย"
ตัณหาเลยปล่อยให้ เรียกว่าปล่อยตามตัณหา 5555

ให้ดูด้วยนะว่าที่ปล่อยนั้น ปล่อยตามตัณหาหรือเปล่า
ปล่อยในที่นี้คือ "ดูเฉยๆ ดูธรรมดาๆ" ไม่มีอะไรเกินหรือแถมมา

ถ้ามีอะไรเกินมา
ก็มาดูเบื้องหลังการถ่ายทำ

การบรรลุจากการยึดไม่มี

ไม่มีการบรรลุมาจากการยึด

ปฏิบัติอย่างนี้ เพื่อจะบรรลุอย่างนี้
แบบนี้ไม่มี

มีรูปแบบ
กับยึดรูปแบบไม่เหมือนกัน

อยากรู้ว่ายึดรูปแบบมั้ย
ถ้าเรามีรูปแบบใดรูปแบบนึง
ลองไปคุยกะคนที่คนละรูปแบบกัน
ถ้ามันยึดนะ
มันจะทุกข์ขึ้นมาในใจ

สมมติคิดว่าวิธีการของตัวเองเจ๋งสุดแล้ว
ไปสำนักอื่น เขาให้ลองทำ
เกิดความมึนตึ๊บ
อันนี้ ยึดแล้ว

พวกนี้ให้ลองหัด แล้วสังเกตเอา

อาการแสดงความยึด

ฉันไม่ดูละทีวี
(ถ้ายังมีความรู้สึกติดอยู่ตรงนี้แสดงว่ายังมีความยึด)

เอาล่ะ เราจะทำชีวิตให้เรียบง่ายละ
(ถ้ายังมีความรู้สึกติดอยู่ตรงนี้แสดงว่ายังมีความยึด)

ถ้าเดิมเคยเป็นอย่างนึง
ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นอีกอย่างนึง
ต้องหัดสังเกตตรงนี้ด้วย

ความดีนั้นดี
ติดความดี ไม่ดี

ความชั่วไม่ดี
ไม่ติดความชั่ว นั้นดี

ผิดนั้นไม่ถูก
แต่รู้ว่าผิด คือถูก

ถูกนั้น ดีแล้ว
แต่ไม่รู้ว่าถูก คือผิด
ผิดที่ไม่รู้
อะไรที่ไม่รู้ นั่นคือที่ตั้งแห่งความยึดโดยประการทั้งปวง

รู้ที่ว่า
คือ รู้ว่าไม่เที่ยง
รู้ว่าชั่วคราว
จะเอาเป็นที่พึ่งจริงๆ ไม่ได้


456

โปโนพฺภวิกา

หมายถึง เกิดการกระทำทางใจอยู่เรื่อย

จิตมีศีล

จิตมีศีล
ความหมายคือ
จิตไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์
ไม่ถูกครอบงำ
จิตมีความเป็นอิสระระดับหนึ่ง

จิตที่จะเข้าใจอริยสัจ จะต้องเป็นจิตที่พร้อม
จิตมีศีล
กรณีนี้จะไม่ได้หมายเอาศีลเป็นข้อๆ

จิตจะมีศีล ก็ต่อเมื่อรู้ทันสิ่งที่เข้ามา

เราอีกคนหนึ่ง

ปฏิบัติแรกๆ จะรู้สึกเหมือนมีเราอยู่อีกคนหนึ่ง

รูปไม่ใช่เรา เห็นๆ อยู่

ความสุข ความทุกข์มาแล้วไป ไม่ใช่เรา
เวทนาหายไป เกิดแล้วดับ
เรายังอยู่...

ความโกรธ ความชอบ มาแล้วไป ไม่ใช่เรา
เกิดแล้วดับ
เรายังอยู่....

จนเห็นอริยสัจครั้งแรกนั่นแหละ
ความเข้าใจเรื่อง "เรายังอยู่เสมอ" จะเปลี่ยนไป

สังขารก็ปรุงของมันไปอย่างนั้น

ขันธ์ห้าเป็นสังขารธรรม
ก็ยังปรุงแต่งต่อไปของมันเหมือนเดิม
เพียงแต่ผู้ปฏิบัติ ไม่ปล่อยให้ตัณหาไปปรุงมันเพิ่มเติม

หน้าที่ของสังขารคือปรุงแต่ง
จิตก็นึกคิดของมันไปเรื่อย
หน้าที่เราคือ ดูให้เข้าใจ เท่านั้น

ฉะนั้นการปฏิบัติธรรม
ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะ "หยุดขันธ์"
ไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยิน ไม่ใช่อย่างนั้น

หยุดขันธ์หยาบ
จะเอาขันธ์ละเอียด
อย่างนี้ไม่ใช่

ไม่ใช่หนีความปรุงแต่ง
ไปเอาความว่าง

จิตที่เห็นความจริงจนอุเบกขาต่อสังขาร
จะเลิกดิ้น เลิกปรุงไปตามตัณหา

บรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกะการ "ได้ดี"

วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อยากรู้ว่าปฏิบัติเข้าทางรึยัง

ท่านว่าสติปัฏฐานเป็นทางสายเอก
เอ๊ะ แล้วเราเข้าทางรึยัง
ให้มาดูที่โพชฌงค์

ดูว่าเกิดเป็นสติสัมโพชฌงค์รึยัง
ถ้าเกิดแล้ว ก็นับวันได้ 5555

สติช่วงแรก จะเป็นลักษณะ
ฝึกสติให้ตื่นบ่อยๆ ก่อน
ยังไม่ต้องไปคิดเรื่องดูกายดูใจให้เห็นไตรลักษณ์อะไร

หลงอีกแล้ว อ้าวหลงอีกแล้ว ไรงี้
ให้มันตื่นเองเป็น ออกจากโลกของความคิดได้บ่อย
ไม่ใช่ดูอะไรนิดหน่อยก็พากย์จังเลย พูดมาก อันนี้ไม่ตื่น

ฝึกตัวแรกนี้เลือกกรรมฐานตามชอบใจ

สติช่วงที่สอง
พอมันเริ่มตื่นเองเป็น
เอาจิตนี้มาดูกายใจไปเรื่อย
อันนี้เลือกไม่ได้ละ แล้วแต่สติ
มันจะไปดูอะไรเรื่องของมัน
เป็นอนัตตา
มันมาดูเอง

สติช่วงหลังนี้
ถึงจะเริ่มเข้าสู่การบรรลุธรรม
เรียกว่าเข้าทาง
คือ มาดูเองละ

จะมาพร้อมสัมมาทิฏฐิ
เริ่มเห็นว่าสติก็เป็นอนัตตา
จะรู้อะไรก็เป็นของมันเอง
เดี๋ยวมีเดี๋ยวไม่มี ก็เป็นของมันเอง

มาพร้อมสัมปชัญญะ

มันก็ดูของมันเอง
ดูไปเรื่อย จิตฟุ้งซ่าน
ก็ไปทำสมถะ

พอสงบเข้าที่เข้าทาง แล้วมาดูต่อ
ดูไปอีกหน่อย ฟุ้งซ่านอีก
ก็ไปทำสมถะ



ชอบเดินก็เดิน ชอบนั่งก็นั่ง

ชอบเดินก็เดิน ชอบนั่งก็นั่ง
ความหมายคือ
ท่าไหนทำแล้ว "สติเกิดบ่อย" ก็อันนั้นแหละ
ท่าไหนทำแล้ว "เห็นสภาวะบ่อย" ก็อันนั้นแหละ
ท่าไหนทำแล้ว "รู้สึกบ่อย" ก็อันนั้นแหละ

ไม่ใช่นั่งแล้วหลับบ่อยเลยชอบนั่ง
ไม่ใช่นั่งแล้วสงบบ่อยเลยชอบนั่ง
ไม่ใช่เดินหน่อยก็สงบเลยชอบเดิน

ถ้า 2 อย่าง เหมือนไม่ค่อยเห็นอะไร
ก็ควรไปทำหลายๆ อย่าง ทำนู่นบ้าง ทำนี่บ้าง เช่น ทำงานบ้าน
จิตมันจะได้ตื่นตัวขึ้นมา
แล้วความรู้สึกในใจมันจะเยอะมาก ก็ดูไป

ถ้าทำแล้วจิตไม่ตื่นมันจะรู้สึกมัวๆ
เหมือนติดความสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง

บางคนทำอะไรซ้ำๆ ซากๆ จิตมันชิน
ชินแล้วสงบ
อย่างนี้ให้ไปหาอะไรทำ
ทำด้วยความรู้สึกตัว
พอใจ ไม่พอใจอะไรเล็กๆ น้อยจะเห็น
จิตจะไหววับให้ดู

เพราะเห็นจิตไม่เที่ยงอย่างนี้
เดี๋ยวเป็นอย่างนู้น เดี่ยวเป็นอย่างนี้
จิตจึงจะเป็นกลางทีหลัง

ความเป็นกลางนี่มาภายหลังนะ
ไม่ใช่มาก่อน
ไม่ใช่สงบจึงเป็นกลางนะ

หลงประคอง

รู้สึกว่าเห็นกาย เห็นใจได้ทั้งวันเลย
สติดี๊ย์~~ดี~~

อันนี้ระวังหลงประคอง

เพราะสติก็มีเกิด-ดับนะ
สังเกตดีๆ

หลงบัญญัติ - เบาๆ

เช่น

อาจารย์บอกให้ดูสบายๆ ~~~
เบาๆ เบาๆ ~~~
ไม่นานจิตสงบแล้ว
สงบเพราะติดสมถะ คือ คำว่า "เบาๆ เบาๆ~~~" ที่มันพากย์อยู่ในหัวน่ะ
อย่างงี้ คือ บัญญัติติดอยู่ ให้เห็นด้วย

ถ้าจะวิปัสสนาก็
ต้องมารู้ว่านี่หลงไปคิดแล้ว

คือ แยกให้ออกว่าตอนนี้น่ะทำสมถะ หรือวิปัสสนาอยู่

ความเคยชินของสัญญา

เอ๊~~~ นี่อะไรนะ

เพราะสัญญา เลยรู้สึกว่า "มี" อยู่ตลอด

อัตตสัญญา
จำว่าเรารู้
เราได้กลิ่น
เราได้ลิ้มรส
เราได้เห็น
เราได้ยิน

เตรียมตัวเป็นกระสอบทราย

ความโกรธนี่แป๊บเดียว
แต่จำว่า "เราโกรธ" นี่อยู่นาน

การรู้รูป การรู้ธาตุ

รู้ว่ารูปนี้ กำลังยืน เดิน นั่ง นอน
อันนี้เป็นการรู้ทางใจ

ถ้ารู้ทางกายคือ รู้ว่าแข็ง ว่าอ่อน

แม้แต่การรู้ธาตุ 4
ก็เป็นการรู้ทางใจเช่นกัน

การรู้รูป

นี้รูป
นี้การเกิดของรูป
นี้การดับไปของรูป

นั่งๆ อยู่
เมื่อยปุ๊บจิตสั่ง เปลี่ยนเหอะ
พอจิตสั่ง
วาโยธาตุที่เกิดจากจิต
ก็จะไปทำลายรูปเดิม
แล้วสร้างรูปใหม่ขึ้นมาเป็นอิริยาบถย่อยๆ
จนเป็นอิริยาบถใหญ่ที่สมบูรณ์ เช่น จากนั่งก็เป็นยืน

ขันธบรรพ

มาดูกายใจส่วนที่ปรุงแต่งขึ้นมาแล้ว
ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นอายตนะ

ไม่ได้ดูกายใจส่วนพื้นฐาน (เช่นนอนหลับ)

ขันธ์นี่เป็นของปรุงแต่งขึ้นมาชั่วคราวแล้วดับไปเลย
ตานี่ปรุงขึ้นมา แล้วก็ดับไป
หูนี่ก็ปรุงขึ้นมาแล้วก็ดับไป
หทยวัตถุก็ปรุงขึ้นมาแล้วก็ดับไป

ชาติ

รู้สึกว่าเราเป็นหลายคนวันหนึ่งๆ
บางวันคนดี๊ดี

เช้าแช่มชื่น
บ่ายเป็นยักษ์

เหมือนเปลี่ยนคนไปเรื่อย เรียกว่าชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ราคะมีเวทนาใกล้กุศล

ราคะมีเวทนาใกล้กุศล

ผู้ปฏิบัติใหม่
ถ้าโทสะแรงๆ
เปลี่ยนผัสสะมาทำสิ่งที่ชอบก่อน
ไปผ่อนคลายก่อน
มันจะพลิกมาทาง ราคะเบาๆ
และพลิกเป็นกุศลได้ง่ายกว่า
เวทนามันใกล้กัน

รู้ตา รู้รูป รู้สังโยชน์

อายตนะบรรพ

รู้ตา
หมายถึงรู้ประสาทตา
รู้ประสาทตานี่ รู้ได้ด้วยใจ
ไม่ใช่ไปเพ่งตาอยู่

เพ่งตานี่อยากเห็น จะเป็นตัณหา
ไม่เห็นหรอก
เพ่งไปปวดใจ
เพ่งต่อปวดหัว
ยังไม่หยุดแข็งไปทั้งตัว
ต้องจับไปเขย่าๆ ไปวิ่ง

รู้รูป
ภาพนี่มองไปจะเป็น 2 มิติ
เป็นสีธรรมดา
แต่เวลาจิตคิดปรุงแต่งจะมี "คน" โผล่ออกมา
เป็น 3 มิติ
อันนี้มันโผล่ขึ้นมาจากความคิดล่ะ

คนที่ว่านี่เรียกว่า "นิมิต"
และคนก็ผมอย่างนั้นอย่างนี้
ใส่เสื้อลายนั้นนี้ อันนี้เรียก อนุพยัญชนะ

รูปบางรูปมีความหมาย
เช่น คนรู้จัก ไฟไหม้ คนถูกรถทับ ฯลฯ
เห็นแล้วเกิดแรงดันขึ้นมา เรียก "รูปตัณหา"
อยากไปเห็น ผลักให้ไปเห็น

รู้ทันก็ขาด...

พอไปเห็นจริงๆ
ก็ไปเกาะรูป
ตัวก็หายไป
ความรู้สึกตัวหายไป
เรียก "หลงดู"

ถ้ารู้ทันก็ขาด...

ถ้ารู้ไม่ทัน ก็เป็น "เราเห็น"

รู้ไม่ทันอีกก็ "รูปนั้นของเรา"

สตินี่ตัดได้หลายช่วง

ทีนี้บางคราวกิเลสแรง
เอาไม่อยู่
มุดก่อน หลบก่อนไปหาสมถะก่อน
มัดมือ มัดเท้า มัดปากไว้

หรือสติจริงไม่เกิด
หรือดูไม่ถูก (ดูแล้วแอบอยากหาย/คิดมาก)
แต่ดูไม่ถูกก็ไม่เป็นไร ก็ฝึกรู้จักสภาวะ เป็นทักษะไป

ผู้ภาวนา
คือถ้ายังเห็นรูปเป็น "คน" ก็ไปทำอย่างอื่นก่อน
ถ้าไปพยายามจะเห็นเป็นสี มันเป็นตัณหา

รู้สังโยชน์ที่เนื่องกับตาและรูป
ถ้ามีสังโยชน์เกิดขึ้นก็ให้รู้
การเกิดของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดมีด้วยประการใดก็รู้
โดยปกติก็เพราะ เห็นแล้วหลงไปคิด

อยู่ดีๆ
เห็นรูปแล้วหลงไปคิด
กิเลสเกิด
ก็ให้รู้

ไม่ใช่ห้ามไม่ให้เกิดกิเลส
ปล่อยให้เกิด
แต่ไม่ใช่ตามกิเลส
ตามรู้ไป

การละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว มีด้วยเหตุใดก็รู้

การไม่เกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ละได้แล้ว มีด้วยเหตุใดก็รู้

ข้อสังเกต
ไม่ได้บอกให้ละสังโยชน์
การละสังโยชน์ละได้ด้วยปัญญา เห็นว่ามีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ
ไม่ได้ไปทำอะไรกับสังโยชน์

หน้าสาวๆ มองแล้วไม่เต็มอิ่มเลย
มองแล้วดับๆ อยู่เรื่อย

ปล่อยให้กิเลสเกิด

บางคนภาวนาไปรู้สึกกิเลสไม่ค่อยมี
ควรหาอะไรพิสูจน์บ้าง
บางทีเพ่งเบาๆ แล้วไม่รู้

กิเลสจะเกิดได้
เมื่อจิตไม่ได้เพ่งอยู่
เอาจิตปกติธรรมดามารับอารมณ์

เพ่งสมองที
ว่างไปหมด
ไปหมดนี่ก็...ไปหมดเลย 555
ไม่ได้มาดูกายดูใจว่าเป็นไตรลักษณ์ เลยหมดกัน

ความว่างก็เป็นอารมณ์บัญญัติ
อากาสาฯ

การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง
ต้องเห็นกิเลสเกิดนะ
ไม่ใช่เพ่งกาย เพ่งใจ เอาสมถะกั้น

มันก็เข้าทาง
เราอยากจะพ้นกิเลสอยู่แล้ว
เพ่งไปไม่เห็นกิเลสเกิด
ก็ดีนะ...
แต่มันไม่ถาวร
มันไม่พ้นจริง

ดูจิตหลงไป

ความรู้สึกหลง
คือจะเหมืนตัวหายไป "วับ" นึง
เช่นหลงไปทางตา

หายไปวับหนึ่ง
สักหน่อยก็รู้สึกตัวใหม่
แล้วก็หายวับใหม่

แต่ไม่ใช่ดูว่าจิตเปลี่ยนเรื่องคิดไปเรื่อย
อันนี้คือดูเรื่องที่จิตคิด
มันจะรู้สึกคิดหลายเรื่องจังวันๆ
อันนี้ไม่ใช่

ถ้าดูจิตหลงคือ
ตอนแรกมีความรู้สึกตัวอยู่ดีๆ
พอจะไปคิด
ความรู้สึกตัวจะหายไปวับนึง
แล้วถ้ารู้ทัน ความรู้สึกตัวก็จะกลับมาใหม่
อันนี้คือรู้จักจิตที่หลงไปคิด

หทยวัตถุ

อยู่แถวๆ อก
แต่เกิดดับ
ไม่ต้องไปหาหรอก
มีตอนที่จิตเกิดนั่นแหละ

ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจแล้วหทยวัตถุยังอยู่ไหม?

หทยวัตถุเวลาผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเขาก็เปลี่ยนที่อยู่
หทยวัตถุนี่เป็นรูปที่เกิดจากกรรม
เวลากรรมจัดสรรอย่าไปคิดมากว่าเป็นไปได้ยังไง เดี๋ยวเป็นบ้าได้

วิธีสังเกตหทยวัตถุ
ก็ต้องมีความรู้ว่า กุศลก็เกิดที่นี่ อกุศลก็เกิดที่นี่
โมโหเกิดตรงไหน หทยวัตถุก็เกิดที่นั่นแหละ
ก็อยู่แถวๆ ขั้วหัวใจ
และเกิดที่ไหนดับที่นั่น

ธัมมานุปัสสนา - ดูแบบเป็นดาวเทียม

มีอยู่ก็รู้ว่ามี
ไม่มีอยู่ก็รู้ว่าไม่มี
ถ้ามันมีเพราะเหตุใดก็รู้ - ส่วนใหญ่ถ้าพวกกิเลสก็มีเพราะอโยนิโสฯ ในผัสสะนั่นแหละ
ถ้าละไปเพราะเหตุใดก็รู้
ถ้ามันไม่เกิดอีกก็ให้รู้ - บางทีหายไปเป็นเดือนก็มี

ทั้งฝ่ายดี
ทั้งฝ่ายไม่ดี

เอโส เม อตฺตา

เราสามารถบังคับบัญชาได้

เป็นลักษณะของทิฏฐิ
ว่ามันเที่ยงแท้ถาวรอยู่งั้น

เอโสหมสฺมิ

นั่นตัวเรา

พวกเก่ง รู้จักมั้ย "เก่ง"

กำหนดให้ความโกรธหายได้
กำหนดทีเดียวหายเลย .... ด้วยอำนาจมานะ

เราเก่งจัง
เก่งขึ้นทุกวัน

เอตํ มม

นั่นของเรา
นี่ของเรา
ตาของเรา
ปัญญาของเรา

ยึดไปเหอะ...
เดี๋ยวก็รู้
5555

เอตํ มม เป็นลักษณะของตัณหา
ไม่อยากให้มันเสียหาย

วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วิธีดูจิตให้ถึงจิต

จิตนี่จริงๆ อยู่ลึกกว่า

การดูนี่ให้ดู 2 อย่าง
๑ ดูความรู้สึกภายในจิต
โลภะ โทสะ รู้สึกสงบชอบไม่ชอบ เฉยๆ

คำว่า รู้สึกนี่ ภาษาไทยแปลมาจากคำว่า "เวทนา"
แต่จริงๆ ตัวความรู้สึกนี่เป็นวิปัสสนาเลย

การดูจิต

ดูจิต เป็นคำพูดรวมๆ
ตามดู 3 อย่าง

ความรู้สึกในจิต (เวทนานุปัสสนา)
เห็นกุศล อกุศล (จิตตานุปัสสนา)

เห็นจิต กับสภาวะปรุงแต่งจิตแยกออกจากกัน
เห็นมันทำงานร่วมกัน
จิตเป็นผู้รู้อย่างเดียว ลักษณะนี้ไม่ค่อยปรากฏ
เพราะมักจะชอบเป็นผู้แสดงไปตามสิ่งที่ปรุงแต่ง
ฝึกไปเรื่อยๆ สติมากขึ้น
จิตจะไม่ค่อยไปตามอำนาจเจตสิกที่มาปรุง
ก็จะเห็นลักษณะ อาการรู้มากขึ้น

ถ้าลักษณะการรู้นี้เกิดขึ้นมากๆ
จิตก็จะปรากฏในลักษณะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
สิ่งที่ปรุงแต่งก็จะถูกแยกต่างหากจากจิต
เป็นผู้ถูกดูอีกทีนึง
ถ้าปฏิบัติถึงตรงนี้เป็น (ธัมมานุปัสสนา)

อย่าไปยึด

สำหรับผู้เริ่มใหม่
ไปพูดพร่ำเพรืือว่า "อย่าไปยึด"
ตายสนิทเลยงานนี้...

ผู้เริ่มใหม่จะต้องยึด
โดยยึดสิ่งที่ต่างกับสิ่งที่ผิดไปก่อน
จนกว่าจะดูเป็น ดูความเจ้าเล่ห์ของจิตเป็น

คำพูดของผู้วิปัสสนาเป็น
จะเอาไปใช้พูดสุ่มสี่สุ่มห้ากับคนทั่วไปไม่ได้

คือคนที่จะไม่ยึดได้ มีเพียงคนที่รู้จักนามรูปตามความเป็นจริงเท่านั้นแหละ

"อย่าไปยึด"
จิตคนฟังมันจะเจ้าเล่ห์ขึ้นมาทันที
เข้าทางขี้เกียจ 5555

ดูจิต ไม่ใช่ดูเหตุผลของจิต

วิปัสสนาว่าไม่ทำอะไร ดูเฉยๆ
งั้นตอนฝึกก็ไม่ต้องพยายามอะไรด้วยหรือเปล่า?

ตอบว่า
อันนี้กิเลสมันพูด

อันที่ว่าไม่ทำอะไรเป็นลักษณะของญาณ
ว่ามันเป็นไปอย่างนั้น

สำหรับผู้ที่ดูกาย ดูใจ เป็นแล้วก็ดูเฉยๆ ใช่
แต่สำหรับผู้ที่ยังดูกาย ดูใจ ยังไม่เป็น
ก็ต้องไปพยายามทำทุกอย่างให้มันดูเป็น

ดูความเจ้าเล่ห์ของจิต
มีเหตุผลนั่นนี่นู่น
เหตุผลเข้าข้างตัว
เหตุผลที่จะขี้่เกียจ

ที่ถูกเขาให้ดูจิต
ไม่ใช่ดูเหตุผลของจิต


วิปัสสนาเป็นวิชาธรรมชาติ

โดยลักษณะของวิปัสสนา
จะไม่หายไป

ถ้าใครทำเป็น
หรือเริ่มเป็น
คนนั้นจะต้องบรรลุแน่

แต่วิชาสมถะนี้ไม่แน่
มันจะวน

วิปัสสนานี้จะแน่นอน
คือวัฏฏะจะสั้นเข้าๆ

วิปัสสนานี่เป็นวิชาที่
ไม่ว่าจะได้ชั้นไหน ถึงไหนก็แล้วแต่
คนนั้นจะต้องบรรลุแน่ แต่ไม่ชัวร์ว่าเมื่อไร
เอาชัวร์ก็เป็นพระโสดาบัน เหลือ 7 ชาติ


เห็นปฏิจจสมุปบาท

เห็นการกระทำทางใจ
ว่ายึดเมื่อไรทุกข์เมื่อนั้น
อันนี้เรียกว่าเห็นปฏิจจฯ

ไม่มีการกระทำทางใจ
ไม่ยึดก็ไม่ทุกข์
เห็นทุกข์ กับไม่ทุกข์
อันนี้เรียกว่าเห็น ปฏิจจฯ

อธิบายญาณโดยสภาวะ

เห็นการเกิดดับโดยการเทียบนามรูปเก่า กับนามรูปใหม่
เมื่อกี้รูปยืน ตอนนี้รูปนั่ง
เมื่อกี้พอใจ ตอนนี้ไม่พอใจ
เทียบเมื่อกี้ กะตอนนี้ เรียกว่า สัมมสน
ก็เรียกว่าเห็นไตรลักษณ์ แต่ไม่เห็นไตรลักษณ์ปัจจุบัน
ยังไม่เป็นวิปัสสนาแท้

เห็นการเกิดขึ้นและดับไปต่อหน้าต่อตา (เทียบภาษาแขก อุทยพฺพยญาณ)
วิปัสสนาแท้เริ่มที่นี่

เห็นเหตุ เห็นปัจจัย (นามรูปปัจจยปริคหญาณ)
คือเห็นแบบว่าตามดู แล้วเป็นความรู้สึกขึ้นมา
ว่ารูปไม่ใช่เรา เป็นความรู้สึกขึ้นมาในใจ
ดูต่อไป เห็นอาการทางจิตไม่ใช่เรา
โกรธ โลภ หลง ไม่ใช่เรา
เกิดแล้วดับไป

ส่วนที่เห็นว่ารูปก็ไม่ใช่เรา นามก็ไม่ใช่เรา
ความเห็นอย่างนี้เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ
เป็น นามรูปปริจเฉทญาณ
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจว่า โอ้ว รูปมันเดินนิ
แต่เดิมมันเป็นเราเดินไปนั่นไปนี่
มันหลายเป็น โอ้ว รูปมันเดิน

ทีนี้พอดูไปเรื่อยๆ ความรู้ก็จะมากขึ้น
ว่านามรูปมันเกี่ยวข้องกันอยู่
ส่วนใหญ่จะเห็นว่า นามสั่งรูป

เช่น นั่งนาน ปวด จิตจะบอก โอ้ย ลุกหน่อย
ได้ยินเสียงแปลกๆ จิตสั่ง ช่วยเห็นหน่อย
จะเริ่มไม่เห็นรูปลอยๆ ละ
จะเริ่มเห็นว่า รูปที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนั้น มาจากจิตมันสั่ง
เรียกว่าเห็นนามเป็นปัจจัยแก่รูป

หรืออาจจะเห็น นามเป็นปัจจัยแก่นาม
เช่น สบายใจจัง สงบ เราก็ชอบความสงบ
ก็รู้ว่าโอ้ว ความสงบ เป็นปัจจัยแก่ความชอบ
มันเป็นความรู้สึกขึ้นมาในใจ

ฝึกมากๆ จะเห็นนามรูป เป็นปัจจัย กันและกัน
เช่น ตาเวลามันจะทำงาน
คือตานี่มันไม่ได้อยู่เที่ยง มันเกิดดับ
แต่ตอนแรกมันจะดูเหมือนเที่ยง
ตามันจะทำงานเป็นจักขวายตนะ
มันก็มีรูปมากระทบ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น
อันนี้เรียกว่ารูปเป็นปัจจัยแก่นาม

ผู้ที่มาถึงญาณเห็นเหตุเห็นปัจจัยนี้
ก็จะหมดความสงสัยเรื่องชาติที่แล้ว ชาตินี้ ชาติอนาคต
จึงเรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ

ถ้าตามดูขึ้นไป
จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความไม่หลง
โดยเห็นทั้งรูปทั้งนามนั้นชั่วคราว
เบื้องต้นจะเป็นการเทียบก่อน

เช่น เมื่อกี้รูปนั่ง ตอนนี้รูปยืน
เมื่อกี้ไม่ได้คิด ตอนนี้แว้บไปคิด
อันนี้เรียก สัมมสนญาณ

จิตมันเทียบเอง คล้ายๆ จะคิดเอา
แต่ก็ไม่ใช่คิด
หรือจะเรียกคิดก็ได้ แต่ไม่ใช่คิดแบบเรานั่งคิด
จิตมันไปหยิบมาเทียบเอง

ช่วงสัมมสนญาณนี้
จะเกิดความคิด หรือความรู้แปลกๆ ขึ้นมาเยอะ
เรื่องของเรื่องมักหลง "องค์ความรู้" มากกว่า "การรู้"
หลงสังขาร

คือจิตมันเที่ยวเปรียบเทียบนั้นนี้ได้
ชักคิดว่าตัวเองเก่ง
ดังนั้น ถ้าปฏิบัติแล้วรู้สึกตัวว่าเก่งขึ้น
รีบๆ โยนทิ้งทะเลไป

ให้สนใจแค่การรู้ ไม่ต้องสนใจองค์ความรู้

ถ้าตามดูไปอีก
จะรู้ว่ามันไม่มีวิธีอื่นหรอก
นอกจากฝึกสติสัมปชัญญะ ตามรู้นามรูป

ตามดูไปอีก
จิตจะเริ่มหมดความสงสัย
มีอะไรขึ้นก็แค่ดูเท่านั้น ไม่มีวิธีอื่น
เรียก มัคคามัคคญาณทัสนะวิสุทธิ
เกิดความรู้ขึ้นมาว่าอะไรใช่ทาง
อะไรไม่ใช่ทาง

ไม่ใช่ทาง ก็คือหลงทำนั่นทำนี่
ส่วนทางก็คือ ดูเฉยๆ

จิตก็จะเริ่มเป็นปัจจุบัน
คือเห็นเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ตรงนี้เรียกอุทยพฺพยญาณ
ญาณทัสสนะวิสุทธิ ก็คือช่วงนี้

เห็นนามรูปเกิดดับต่อหน้าต่อตานี่จะไม่เป็นเรื่องละ
แต่ช่วงแรกนี่จะยังมีเรื่องอยู่ มีการเทียบบ้างอะไรบ้าง

เห็นเกิดดับๆ ไปเรื่อยๆ
จิตจะเริ่มยอมรับความจริงว่า ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งได้
เกิดแล้วดับเหมือนกันหมด

แต่เดิมที่เคยคิดว่าจะรักษากุศลไว้นานๆ
ก็จะเลิกคิดแระ

แต่เดิมที่เคยอยากจะละอกุศล
พวกบู๊ล้างผลาญ
หาอะไรมาถล่มอกุศล
เห็นอย่างนี้ก็เลิก
ก็มันเกิดแล้วดับเหมือนกัน
ไม่รู้จะแสวงหาวิธีมาดับทำไม

เฝ้าดูไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นแต่เกิดดับ
แล้วก็ ดับ ดับ ดับ...ไป
ไม่มีอะไรเป็นสาระสำคัญ

จิตก็จะเกิดความเบื่อหน่าย

ถ้าเราเฝ้าดูไปเรื่อยๆๆๆๆ
จิตก็จะเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย
สังขารุเปกขา

เห็นบ่อยเข้า
ก็เห็นลึกขึ้น
ไม่ใช่ไม่เห็นญาณต้นๆ แล้ว ก็ยังเห็นแต่ลึกขึ้นๆ



วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

จิตตานุปัสสนา

ไม่ใช่ตามดูจิตตัวจริง
แต่ตามดู "อาการของจิต"

เรียกว่าดู เจตสิก
แต่ก็ไม่ใช่เจตสิกเดี่ยวๆ เป็นกลุ่มเจตสิก
คือปรุงแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เป็นอาการของกลุ่มเจตสิก

คือเวลารู้สึกๆ นี่
มันรู้สึกเป็นกลุ่ม อันไหนชัดก็รู้สึกถึงอันนั้นแหละ
หรือไม่ชัดก็รู้ว่ามันไม่ชัด

เท่านี้ก็พอ
เพราะมันก็เกิด-ดับเหมือนกัน
ชัดก็เกิดดับ
ไม่ชัดก็เกิดดับ

จิตตานุปัสสนาเหมาะกับปัญญาไม่มาก

ปัญญามากน้อยมาดูที่ เห็นช่วงกิริยาจิตหรือเปล่า

จิตแบ่งเป็น 2 ช่วง

ช่วงรับรู้อารมณ์ธรรมดา
เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสตามธรรมดา
ภาษาอภิธรรมเรียกจิตนี้ว่า "วิบากจิต" หรือ "กิริยาจิต"
เป็นการรู้อารมณ์บริสุทธิ์ธรรมดา

ช่วงเกิดอาการ
มัวๆ บ้าง
อยากยึดไว้บ้าง
อยากผลักไสบ้าง
อยากตะครุบไว้
วูบวาบๆ อยู่ข้างใน
อันนี้เรียก "ชวนจิต"
ตัวกุศล - อกุศล
อยู่ที่ชวนจิต

ถ้าปฏิบัติไปแล้วเห็นจิตไปทางตา ทางหู ได้เลย
อันนี้เป็นการเจริญธัมมานุปัสสนา

จิตตานุปัสสนานี้เป็นการดูธัมมารมณ์
ดูอาการของจิต
เช่น อาการตะครุบไว้
เมื่อดูลึกๆ ลงไปจะสามารถเห็น โลภเจตสิก ได้

แต่ที่เห็นทีแรกๆ จะยังไม่ใช่
ยิ่งใส่คำพูด "นี่โลภะ" อันนี้ห่างไกล






วิธีดูโมหะ

จิตในชีวิตประจำวันจะเป็น คู่โมหะ-ไม่มีโมหะ เสียส่วนใหญ่
แต่ดูยาก (กว่าโลภะ โทสะ)

โมหะละเอียด เช่น
โมหะเป็นคน
เห็นเป็นคนนั่น เป็นคนนี่
นี่โมหะละเอียด
(ถ้าไม่เห็นก็ยังไม่ต้องไปคิดมาก หรือจะคิดให้มันเห็น)

โมหะหยาบ เช่น
โมหะเป็นเรื่อง
คิดเสร็จ อ่ะ รู้สึกขึ้นมาทีนึง
ฟังรู้เป็นเรื่อง อันนี้ก็หลง

ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าจะต้องไปฝึกให้มันไม่รู้เรื่อง
อันนี้เดี๋ยวเพี้ยนไป

เอาจริงๆ ถ้าฝึกไปสักระยะ
ต่อให้ไม่หลงมันก็รู้เรื่องนะ
คือมันหลงน่ะแหละแต่มันรู้ทัน
มันเห็นว่าอันไหนคือได้ยิน อันไหนคือหลงคิดไป

สำหรับคนที่หลงมากๆ
ต้องอาศัยวิหารธรรม
เลือกเอาที่วิหารสบายๆ ดูแล้วไม่เครียด

เราไม่ได้จะดูวิหาร
เราจะดูจิต

รู้ว่าหลงไปคิดแล้ว กลับมาลมหายใจ
รู้ว่าหลงไปคิดแล้ว กลับมาลมหายใจ
จิตจะค่อยๆ จำสภาวะได้ขึ้นมา

วิบากจิต - ชวนจิต

จิตแบ่งเป็น 2 ช่วง

ช่วงรับรู้อารมณ์ธรรมดา
เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสตามธรรมดา
ภาษาอภิธรรมเรียกจิตนี้ว่า "วิบากจิต" หรือ "กิริยาจิต"
เป็นการรู้อารมณ์บริสุทธิ์ธรรมดา

ช่วงเกิดอาการ
มัวๆ บ้าง
อยากยึดไว้บ้าง
อยากผลักไสบ้าง
อยากตะครุบไว้
วูบวาบๆ อยู่ข้างใน
อันนี้เรียก "ชวนจิต"

ตัวกุศล - อกุศล
อยู่ที่ชวนจิต

ด้วยเคยชินจึงสร้างกิเลส

ตอนปฏิบัติ

การปฏิบัติต้นๆ จึงไม่ใช่ไม่ให้มีกิเลส
การยึดมันไม่หมด
ก็มีกิเลสปกติ
ด้วยเคยชิน จิตจะสร้างกิเลส
หน้าที่คือคอยดูไม่ให้ครอบ แล้วไปสร้างอะไรต่อๆ ไป

ดูไปจะรุู้ว่าตอนกิเลสครอบจิตได้ กับกิเลสไม่ครอบนั้นมันไม่เหมือนกัน

วิปัสสนานี้ตัดเฉพาะกิเลสอุปาทานที่ทำให้เกิดทุกข์
ไม่ได้ตัดเวทนานะ
วิปัสสนาไม่ได้ทำให้กายไม่ปวด

คือสภาวะธรรม
จะกิเลส
จะเวทนา
มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ

จะกำหนดไม่กำหนด หมดเหตุก็ดับ
ถ้าดับ
ก็ให้รู้ว่าเขาดับเพราะกำหนด หรือหมดเหตุ
หรือดับเพราะไม่สนใจเขา ไปบริกรรมแทน (เปลี่ยนอารมณ์)

หรือจะบริกรรมก็หาย
ไม่บริกรรมก็หาย
ไม่ใช่ว่าบริกรรมจนมันหาย

ลักษณะการบริกรรมที่ถูกจึงควรเป็น
บริกรรมเพื่อให้จิตเกิดสมาธิ
แล้วจึงดูได้อย่างถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เวทนากายเกิดดับ

ต้องอาศัยจิตที่ตั้งมั่น
จะเห็นเวทนาอยู่ห่างๆ

เห็นความเจ็บไม่เท่ากัน
เดี๋ยวเจ็บมาก
เดี๋ยวเจ็บน้อย

เจ็บน้อยดับไป
เจ็บมากเกิดขึ้น
จะมีช่วงคั่นอยู่

วิปัสสนานี่จะมีช่วงคั่น
คั่นแล้วก็รู้ แล้วก็มีอะไรคั่นอีก แล้วก็รู้ต่อ แล้วก็หลงไป แล้วก็มีอะไรคั่น แล้วก็รู้

สิ่งที่คั่น คือภวังคจิต

สุข - ทุกข์

สุข
ทนได้ง่าย ทนได้สะดวก

ทุกข์
ทนได้ยาก ทนลำบาก

จะทนได้ง่าย ทนได้ยาก
ก็ต้องศึกษา
จึงจะเรียกเป็นนักศึกษา

ถึงจะมัวๆ ไม่ทุกข์ ไม่สุข
ก็ยังมีอิทธิพลต่อจิตใจ
ว่า "เรารู้สึกเฉยๆ"

ผู้เริ่มต้นใหม่จะเอาสุขอย่างเดียว
ยังไม่เรียกว่านักศึกษา
ยังไม่เห็นว่า สุข ก็ชั่วคราว
ทุกข์ก็ชั่วคราว
เฉยๆ ก็ชั่วคราว

อสฺมิมาน

ขี้คุย
ดีอย่างงู้นอย่างงี้

สักกายทิฏฐิ เป็นความเห็น
อัสมิมานะ เป็นเปรียบเทียบ

จิตที่เกิดการเปรียบเทียบ เป็นลักษณะของมานะกระเพื่อม

มนสิการ

ความหมายคือ ดูด้วยจิตที่สบายๆ
ดูแบบนี้จะปราศจากน้ำหนัก
จะเห็นร่างกายเราเหมือนกับคนอื่น

แค่ทำเหตุให้จิตเขาพร้อม
แล้วจิตเขาดู

มนสิการ ไม่ใช่ไปคิดหัวแตก

ปจฺจเวก

พิจารณา

อาการคือ เหมือนมีของอยู่ในมือ แล้วดูมัน
เหมือนตามองเห็นวัตถุในมือ

อยากรู้ว่าวิปัสสนาเป็นยังไง
อุปมาดังปัจเวกนี้
รู้สึกเอา เป็นความ "รู้สึกๆ"
เหมือนดูของในมือ

การเห็นสภาวะชัดเจนคือเห็นไม่ชัด
เกิดแล้วดับไปมันเลยไม่ชัด

ที่ว่าชัด
มันแค่คิดว่าชัด
โดนความคิดคาบไป

ถ้าจิตที่พร้อมจะเห็น
เห็นพร้อมดู
ไม่ได้ไปคิดพิจารณาอะไร
ไม่ได็เห็นทีละธาตุ จะเห็นก็เห็นพร้อมกันหมด

ดูกาย

จะใช้กายเป็นวิหารธรรมของจิต - ง่าย
แต่จะดูกายให้เห็นความเกิดดับ - ยากหน่อย

กายมีอายุยาว
โอกาสที่จิตจะไปแปะที่กายมีมาก
กลายเป็นเพ่งกายไปซะถ้าจิตไม่ตั้งมั่น

กิเลสที่เนื่องด้วยกาย

กามราคะ
ปฏิฆะ
เป็นกิเลสที่เนื่องด้วยกาย

อนุปัสสนา - วิปัสสนา

ให้ตามดูทุกข์
ไม่ใช่ทุกข์เพราะไปตามดู 5555

หน้าที่ของเราคือตามดูไปเฉยๆ
เริ่มเห็นว่านาม-รูปมันทำงานของมันเอง
อันนี้ก็ยังเรียกว่าอยู่ในขั้นตามรู้ เรียก อนุปัสสนา

อนุปัสสนานี่ต้องเห็นหางของอาการมันด้วย
ไม่ใช่ว่าชั่วโมงที่แล้วโกรธ เพิ่งนึกได้ชั่วโมงนี้
สภาวะดับไปแล้วนี้ อันนี้ไม่ใช่อนุปัสสนา
ทั้งนี้นึกได้ก็ดีกว่านึกไม่ได้นะ รู้ก็ดีแล้ว

เวลาปฏิบัติแรกๆ ที่สติสัมปชัญญะยังไม่แข็งแรงนี่
มันจะเหมือนกับเราดูด้วย แล้วก็มีกิเลสพร้อมกันไปด้วย
เหมือนมันปนๆ กันอยู่
เหมือนเห็นอยู่นะว่าโกรธแต่ก็ยังโกรธ
เห็นอยู่นะว่ายังโลภแต่ก็ยังโลภ
ตอนนี้แหละเรียก อนุปัสสนา

เมื่อฝึกแบบอนุปัสสนาไปเรื่อยๆ
จะมีสติสัมปชัญญะที่เกิดเอง
สติสัมปชัญญะที่เกิดเองนี้
จะมีกำลังของสัมมาสมาธิหนุนอยู่
ทำบ่อยๆ จะทำให้เกิดความตั้งมั่นของจิต

แต่เมื่อสติสัมปชัญญะแข็งแรงขึ้น (เกิดเอง)
จะเห็นว่ารู้ปุ๊บดับเลย

เมื่อใดก็ตามที่เห็นความขาดช่วง สันตติขาดให้เห็น ฆนบัญญัติหาย
พูดอีกแบบคือ เห็นการเกิดขึ้นและดับไปต่อหน้าต่อตา (เทียบภาษาแขก อุทยพฺพยญาณ)
นั่นจึงเป็นการเห็นแจ้ง ที่เรียกว่า "วิปัสสนา"
วิปัสสนานี่เป็นเรื่องจิตที่เห็น
ไม่ใช่เรื่องของเรา

วิปัสสนาจะไม่เกิด ถ้าไม่ตามดู

การปล่อยวาง
การตัดสินความรู้ต่างๆ เป็นหน้าที่ของจิต
หน้าที่ของเราคือทำเหตุ คือ ตามดูไปเรื่อยๆ อย่างเดียว


ปัญญาตามพุทธพจน์

สุตตมยปัญญา หมายถึง การได้บรรลุธรรมเพราะการฟัง
ฟังแล้วนำไปปฏิบัติ จึงได้ญาณ

จินตามยปัญญา มีเฉพาะพระพุทธเจ้าและพระปัจเจก
คิดได้เอง แล้วไปหาหนทางปฏิบัติ
แล้วหาเจอด้วย

ภาวนามยปัญญา
พูดถึงปัญญาของผู้ได้สมาบัติทั้งหมด
---

ปัญญาต้องละความยึดมั่นถือมั่น ละกิเลสได้
การคิดนั่นคิดนี่แล้วยึดมั่นนี่มันเป็นทิฏฐิ ไม่ใช่จินตามยปัญญา

วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ดูอุเบกขาเวทนา

ปฏิบัติไปๆ
โสมนัสมาก็รู้
โทมนัสมาก็รู้
พอเฉยมาไม่รู้

งงละ ไม่รู้จะดูอะไร
หายเลยทีนี้
ไม่ได้ดูความงง

พอไม่รู้จะดูอะไร
จริงๆ ก็คือให้ดูความไม่รู้ว่าจะดูอะไรนั่นแหละ
ดูมันเลยนั่นล่ะ

ที่มันไม่รู้จะดูอะไรก็เกิดจากเหตุปัจจัย
พอหมดเหตุก็หายไป นั่นล่ะ
ถ้าไปตามมันเรื่อย
พอมาถึงจุดนี้ก็หาย แล้วก็วนไป

ผู้จะบรรลุธรรม - ยอมจำนน

ผู้จะบรรลุธรรม
ไม่ใช่สติต่อเนื่องพรืดดด ไม่มีแทรกคั่น
อย่างงั้นสติก็เที่ยงสิ
มันไม่ใช่อย่างนั้น

จิตจริงๆ มีแค่ รู้ กะ หลง
บางทีรู้
บางทีหลง
บางทีก็หลงนานนนนน...เชียวก็มี

คนจะบรรลุธรรม
คือคนที่เขาผ่าน
การมีสติ
การหลง
การอยากจะมีสติแล้วไม่มี
อยู่ๆ ก็มา
ผ่านสุข ผ่านทุกข์
เห็นทั้งความมีสติ ความไม่มีสติ

จนจิตยอม "จำนน" ว่าทุกอย่างก็อยู่ชั่วคราว
ทั้งสติ
ทั้งอารมณ์
ทั้งสุข ทั้งทุกข์
ความรู้ก็ไม่เที่ยง
ความหลงก็ไม่เที่ยง
ปัญญาก้ไม่เที่ยง

ทุกอย่าง
มีเหตุก็มา ไม่มีเหตุก็ไม่มา
มันยอมจำนนอย่างนี้

ฝึกให้เป็นแพข้ามไปแค่นั้น
ให้รู้ว่าไม่เที่ยง
มีสติบ้างไม่มีบ้างนี่ถูกแล้ว
จะได้เห็นความไม่เที่ยง

ฉะนั้นมีสติก็ให้รู้ว่ามี
ไม่มีก็ให้รู้ว่าไม่มี

จิตยอมจำนน ก็คือสภาพของนิพพิทา วิราคะ
จิตปกติไม่ยอมจำนน
เห็นดีจะเอาเรื่อย
สงบก็โอ้ว ชอบบบ
จำไว้ละ คราวหน้าเอางี้อีก
เกิดปฏิกิริยาเรื่อยไป
เจอของดีต้องมาชอบเรื่อยไป ไม่เบื่อเหรอ
นี่คือ จิตยังไม่ยอมจำนน

โกรธก็ไม่ชอบมันอยู่เรื่อย
หลงก็ไม่ชอบมันอยู่เรื่อย
ไม่ยอมจำนนสักที

พอเบื่อก็เลิกจะทำแบบเดิม
ก็จะเลิกทำตามตัณหา (วิราคะ)

ให้รู้ไว้ว่า
ทุกข์ทุกประการ
เพราะรู้ไม่ทันตัณหาตนเอง

ซึ่งจริงๆ ก็ทุกข์ตั้งแต่ยึดแล้ว
ตั้งป้อมว่าจะเป็นอะไรสักอย่าง
ตั้งป้อมว่าจะทำอะไรสักอย่าง
ทุกข์ตั้งแต่ตรงนี้ แต่ยังไม่เห็น

จะมาเห็นอีกทีตอนโดนขัด
โดนกระทบ กระแทก
ชอบไม่ชอบปรากฏเด่น
จึงแสดงชัดเป็นทุกขทุกข์ ให้ต้องดิ้นรนเดือดร้อนแก้ไข
คือ เพิ่งมารู้ถึงทุกข์ในจังหวะนี้

เพ่ง

คือรู้ทื่อๆ
รู้แบบเด็กน้อย

เห็นเดิน
เห็นนั่ง
แต่ไม่เห็นการเกิดดับอะไร

สงบดี แต่ไม่เห็นความจริง

รู้ยาววววว
เห็นแต่กายแข็งๆ ทื่อๆ

ลักษณะของสติ

แปลว่า ความระลึกได้, กำหนดรู้
แปลงี้เลยรู้สึกเหมือนหนักหน่วง ต้องกระทำ

แต่ตัวลักษณะสภาวะจริงๆ เหมือนแค่รู้สึกๆ
รู้เบาๆ
รู้สึกว่ากำลังนั่ง
รู้สึกว่ากำลังยืน
รู้สึกว่ากำลังคิด
รู้สึกว่ากำลังโกรธ
รู้สึกว่ากำลังหลง

ลักษณะจะเบาๆ เกิดเองด้วย
เกิดจากจิตมันจำสภาวะเองได้
เรียกว่าสร้างสัญญาใหม่ จากการตามรู้ตามดูนั่นแหละ


ปชานาติ - รู้ชัด

ปชานาติ นิยมแปลว่ารู้ชัด
แต่เอาจริงๆ คือรู้เฉยๆ นั่นแหละ
มันไม่ต้องชัดอะไรหรอก
รู้เฉยๆ นั่นน่ะชัดสุดแล้ว

พอใส่คำว่ารู้ "ชัด"
ชัดมากๆ
มันจะชินที่จะใส่ความคิดเข้าไปด้วย
ลมหายใจประกอบด้วย ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา เสียง
คือไม่ใช่ให้รู้ชัด(เว่อร์)แบบนี้

ยาว รู้ยาว
สั้น รู้สั้น
แค่นี้

ปกติกิเลสมาก ลมมักจะสั้น
จิตละเอียดขึ้น ลมก็จะยาวขึ้น

ลมหายใจเกิดจากจิต
เปลี่ยนตามจิต

ลักษณะของรู้น่ะจะชัดแค่แป๊บเดียว
ไม่ได้ชัดค้างคาเด่อยุ่
ถ้าชัดค้างอยู่นั่นเรียกว่า เพ่ง
เพ่งจนชัดแจ๋วอย่างนั้น
ไปจับมาเพ่งนี่เรียกว่า หลงรู้


คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

คู้ คือ ถ้าเหยียดออก ก็คู้เข้า
นั่งให้เข่าสองข้างสมดุลกัน

สิ่งสำคัญคือ
ดำรงสติเฉพาะหน้า
ตั้งสติ
ไม่งั้นจะรู้รูปนามตามความเป็นจริงไม่ได้

สติต้องตั้ง
ไม่ตั้งไม่ได้ มันไหลบ่อย
จิตปกติมันหลงบ่อยทางทวาร 6 บ้าง
จิตหลงไปแช่ลมหายใจบ้าง
จิตหลงไปแช่ท้องบ้าง

ดูเหมือนตามองดูเรียกว่าตั้งสติ
ไหลไปแช่นั่นเค้าเรียกเพ่ง ไม่ใช่ดู
ไม่ใช่ตั้งสติ

ลักษณะสติคือ เฝ้าดู ไม่หลง ไม่จม ไม่แช่
เหมือนคนใช้ตาดู - จักขุกรณี

สุญญาคาร

หมายถึง ที่ๆ ไม่จ้อกแจ้กจอแจ ไม่วุ่นวาย ห่างไกล
ไม่ได้จำกัดแค่บ้านว่าง

7 ปี 7 เดือน 7 วัน

คือต้องเจริญจิตให้ได้แบบที่ท่านกล่าวมา
คือ นับจากเมื่อจิตเข้าถึงมหาสติปัฏฐาน
ไม่ใช่นับแบบเริ่มเข้าวัด
ไม่ใช่นับแบบจิตเริ่มฝึกสติ
ยังจับนั่นชอบ นี่ไม่ชอบอยู่

จิตมหาสติปัฏฐาน
จะรู้อารมณ์ตามความเป็นจริงด้วยความเป็นอุเบกขา

ฟุ้งในธรรม วิปัสนูปกิเลส

ตัวแรกๆ
เมื่อรู้วิธีปฏิบัติ อันนี้ถูกแน่นอนเลย ~~~
ศรัทธามาก
เริ่มคิดการใหญ่
อยากช่วยคนนั้นคนนี้
มัวไปโปรโมทวิธีการ ลืมดูตัวเอง

แก้
ดูไป
เดี๋ยวก็เห็นเองว่าศรัทธาก็ไม่เที่ยง
เรียกว่าปรับปัญญาให้เสมอกัน

ชอบปีติ
อัศจรรย์เหลือเกิน
น่าจะมีอีกนะ
เสร็จ ~~~

ที่อัศจรรย์กว่านั้นอีกคือ มันไม่เที่ยง 555

เห็นอะไรก็ชัดไปหมด
ชัดเหลือเกิน
แยกเวทนา
เห็นกิเลส
ลืมเห็นสติ
ลืมเห็นสติไม่เที่ยง
สติแข็งทื่อ รู้แต่อารมณ์
ชอบที่รู้ด้วย
ไม่รู้ว่า อารมณ์ก็ไม่เที่ยง รู้ก็ไม่เที่ยง 

จริงๆ อารมณ์วิปัสสนาไม่ต้องชัดโจ่งแจ้งอะไรอย่างนั้น
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา"
แค่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ได้ชัดดีเด่อะไร

ญาณ
เรียนด้วย
มีสภาวะด้วย
โยงเชื่อมกันหมดเป็นตู้พระไตรปิฎก
รู้เยอะ ไม่รู้ว่าหนัก

แก้ ท่องไว้ว่าไม่เที่ยง