วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

สัมมัตตะ

ถูกแท้แน่นอน
ถูกคือ ถูกกับนิพพาน
เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด โดยส่วนเดียว

กถา 10 เรื่องน่าพูด เรื่องน่าฟัง

อันแรกๆ ฟังขัดเกลากิเลส
ก็ฟังเรื่องพื้นฐาน
อัปปิจฉกถา
สันตุฏฐิกถา
ปวิเวกกถา
อสังสัคคกถา
วิริยารัมภกถา

ฟังฝ่ายดี ฟังฝ่ายคุณธรรมต่างๆ 
เพื่อให้จิตได้ดำเนินไปได้ถูกต้อง
เช่น สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนะ

วิริยารัมภกถา

วิริยะ แปลว่า ความเพียร
แต่ความเพียร ไม่ใช่วิริยะ

คำเดียวกับวีระ คือกล้าหาญ
บากบั่นไปข้างหน้า

ขยันนี่อาจจะไม่เพียรก็ได้นะ
เช่น อยากเดินก็ไปเดิน
อยากนั่งก็ไปนั่ง
คือ มันขยันมั่ว ไม่ได้ละกิเลสอะไร

เพียรนี่มันคือ เพียรเผากิเลส
กิเลสว่างี้ มันไม่กลัว มันเดินข้ามไปเลย
กิเลสบอกนั่ง เราไปเดินเลย
กิเลสบอกเลิกเหอะ เราทำต่อ

เดินดุ่มไปข้างหน้า
ไม่ทอดทิ้งธุระ
ไม่ทอดทิ้งฉันทะ
ไม่วางภาระลง

เวลาฟัง,พูดก็ต้องในเรื่องอย่างนี้
ให้มันกระตุ้น เรื่องขี้เกียจไม่ต้องไปฟัง
เวลาความขี้เกียจครอบงำนี่ เหตุผลไม่ฟังหรอก

อสังสัคคกถา - ว่าด้วยความไม่คลุกคลี

ฟังเรื่องไม่คลุกคลี
คลุกคลีคือเพลิดเพลิน
เขาสุข สุขด้วย เขาทุกข์ทุกข์ด้วย

ไว้รอคลุกคลีกันตอนเป็นปลวกก็ได้ 5555
ถ้าไม่มีกิเลสนี่ ไม่คลุกคลีมันก็อยู่ด้ายยยย
เพลิดเพลินกระซิกกระซี้นี่กิเลสเต็ม ๆ


วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

สันตุฏฐิกถา

ถ้าได้มาแล้ว
พอใจในสิ่งที่มีด้านกายภาพ
ด้านปัจจัย ด้านภายนอก

สันโดษตามกำลังคนให้
สันโดษตามกำลังตัวเอง
สันโดษตามเหตุการณ์

ที่ต้องสันโดษเพราะด้านรูปธรรม
มันกระโดดข้ามไม่ได้

ส่วนนามธรรมไม่ต้องสันโดษ
อันนี้มันไปได้ ข้ามภพชาติได้
ไปในแง่เหตุปัจจัยสืบทอด

ไม่ใช่ได้มาเยอะก็พอใจ
ต้องมาดูว่าพอดีกับตัวเองไหม
พอดีอย่างราชา
พอดีอย่างยาจก
พอดีอย่างภิกษุ
พอดีอย่างฆราวาส

เหมือนกันที่พอดี
แต่พอดีแต่ละคนไม่เท่ากัน
ถ้าเท่ากันเป๊ะ มันก็ไม่พอดี

เหมือนในบริษัท ก็ต้องมีเจ้านายใหญ่กว่าลูกน้อง
ถ้าเท่ากันหมดก็เละ ต่อยกันตาย
เท่ากันไม่ได้แปลว่าพอดี

รูปนามนี่ให้ความสำคัญเท่ากัน อันนี้ก็ไม่พอดี
จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ก็ไม่ได้แปลว่ามันมันเป็นตัวตนอะไร
ไม่เที่ยงเหมือนลูกน้องแหละ
แค่ว่ามันใหญ่กว่า แต่มันไปได้เยอะกว่า นานกว่า ข้ามได้ จึงต้องให้ความสำคัญกว่า

อัปปิจฉกถา

อัปปิจฉกถา
กถาเรื่องความมักน้อย
ภาษาไทยว่า แปลว่า มักน้อย
แต่ศัพท์บาลี คือ "ไม่เอาเลย" ไม่ต้องการ ไม่อยากได้เกิน

เอาตามความจำเป็น แค่ให้ร่างกายเป็นไปได้
เกินกว่านี้คือมาจากความอยาก มันไม่พอดี
แม้แต่น้อยๆ ก็ไม่ให้มันอยาก




ฟังธรรมไปทำไม

ได้ฟัง
ทรงจำไว้ได้
คล่องปาก
เพ่งตามด้วยใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ (หมายถึงด้วยแนวเหตุผล)

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
ยังไม่พึงติดตามศาสดา
เพราะพวกเธอก็ทำเช่นนี้มานานแล้ว

มันไม่ใช่ฟังธรรมมากน้อย
ฟังมา จำได้ พูดก็เป็น พิจารณารู้เหตุรู้ผลของธรรม
แต่ยังมีกิเลส?

การติดตามฟังธรรมศาสดา
เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสเท่านั้น

ไม่ใช่ติดตามศาสดาเพียงเพื่อ
จะได้พูดได้ จะได้จำได้ จะได้มีข้อมูลเยอะ
จะได้เชื่อมเหตุเชื่อมผลธรรมะหมวดนั้นนี้นู้นไปได้หมด
ความเห็นสอดคล้องไปกับธรรมะ

ปริยัติก็จะส่งมาถึงเท่านี้
เรียกว่าประสบความสำเร็จในการเรียนปริยัติ
หากจบเท่านี้ ยังไม่เรียกว่าสำเร็จประโยชน์ถึงที่สุด

ฟังธรรมเพื่อขัดกิเลส
ต้องฟังกถาที่ขัดกิเลสได้
กิเลสมันก็ละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ

ธรรมที่ฟังมันก็จะละเอียดๆ ขึ้น
ถ้าจะฟังก็ฟังเพื่อขัดเกลากิเลสให้ยิ่งๆ ขึ้น
เดิมอาจฟังกถานี้ขัดได้ ไปๆ มาๆ ไม่ได้ ก็หากถาใหม่

ฟังธรรมเพื่อให้ศีลสมาธิปัญญาเอียงไปได้โดยถูกต้อง
สะดวกแก่การดำเนินของจิตในทางที่จะมีปัญญาเพิ่มขึ้น

จิตโดยธรรมชาติมันก็ดำเนินไปได้ของมัน
แต่ถ้าไปเองบางทีก็อืดอาดหน่อย
ถ้าได้เจอกถาที่สัปปายะ มันก็จะไปได้ง่ายขึ้น
เรียกว่า สัปปายะแก่การเป็นไปของจิต

ฟังธรรมเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว
ถ้าเพลินไปมันก็ไม่พ้น
เบื่อส่วนเดียวเลย เจออะไรเบื่อหมด ไม่ใช่เบื่อโน่น รักนี่

เพื่อความคลายกำหนัด
ฟังแล้วใจคลายออกจากของเดิม
ไม่ใช่ยึดอยู่เท่าเดิม

เพื่อความดับสนิท
ไม่เอามันมาใส่ใจ ไม่อาลัย
อะไรไปแล้ว ก็ดับมันได้ดับจริงๆ

โกรธแล้วก็แล้วไป สนิทไปเลย
ดีแล้วก็แล้วไป สนิทไปเลย
ไม่มีการหยิบมาปรุงต่อ

โดยทั่วไปเกิดแล้วก็ดับ
แต่มักไม่ดับสนิท
ที่ไม่ดับสนิทไม่ใช่เพราะตัวมัน แต่เพราะความยึดถือของเรานั่นแหละ
ไปลากมันขึ้นมาใหม่
มันไปจากเราแล้ว แต่เรายังไม่ไปจากมัน

เพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง
แจ่มชัดยิ่งๆ ขึ้น

เพื่อตรัสรู้อริยสัจ

เพื่อนิพพาน

ฟังอะไรก็จะเป็นไปเพื่อย่างนี้แหละ

วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561

อุปาทาน

อุปาทาน โดยหัวข้อมี 4 พูดตามอาการที่มันไปยึด
แต่โดยสภาวะมี 2 คือ ตัณหา และทิฏฐิ

บางทีท่านก็ใช้คำสลับไปมา อุปาทาน = ตัณหาและทิฏฐิ

อยู่เพื่อคนโน้น คนนี้
แม่อยู่เพื่อลูก อันนี้เป็นตัณหา

ถ้าเรามีความรู้ตัว เราก็ไม่ทำตามมันก็ได้
ตัณหาและทิฏฐินี่ก็เกิดจากเหตุจากปัจจัย

คนอื่นว่าเรา
กิเลสบอก "ไปเอาคืนนะ ต้องแก้ตัว"
พระพุทธเจ้าบอก "นิ่งไว้ ชนะสงครามอันประเสริฐ"
เชื่อใคร?

เห็นมั้ยไม่ต้องทำตาม ตัณหา ทิฏฐิ ก็ได้
ไม่ต้องอาศัยอยู่ด้วย ตัณหา ทิฏฐิ ก็ได้

คิดว่าอะไรเป็นเรา/ของเรา ไปดูอันนั้นแหละ

ต้องมาดูความเกิดๆ ดับๆ ของอุปาทานขันธ์ 5
จะได้ถอนความเข้าใจผิดๆ ไป

"เรา" เป็นคำสมมติเรียกขันธ์ 5 ที่ประชุมกัน
มาเข้าใจให้ถูกซะว่าเป็นกระแสรูปนามเท่านั้น ไม่มีอะไร

แค่ละความเห็นที่เข้าใจผิดที่คิดว่ามีตัวเราจริงๆ (สักกายทิฏฐิ)

ไม่ใช่ของเรา
ได้มาก็ไม่ใช่ของเรา
ใช้ของที่ไม่ใช่ของเรา มันก็ไม่เป็นไร
ทิ้งของที่ไม่ใช่ของเราก็ไม่เป็นไร
บริหารขันธ์ 5 ไป

พวกเราพอไปจับมันขึ้นมา
พอจะวาง เหนื่อยยาก ลำบากเหลือเกิน
ก็ไม่จับมาแต่แรก ก็ไม่เห็นต้องวางนะ

ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ มาฝึกทำให้จิตมันปล่อยให้ได้นะ
อันที่จริง ฝึกให้รู้ว่า
จิตมันปล่อย ก็เรื่องของมัน
จิตไม่ปล่อย ก็เรื่องของมัน

มันไม่ปล่อย ก็เป็นเรื่องของจิตมัน เราสบาย
ไม่ใช่เครียดตามจิตที่ไม่ปล่อย อันนี้มั่วแล้ว วนๆ เวียนๆ
จิตหลุดพ้น ก็ให้รู้ว่าพ้น
ไม่พ้น ก็ให้รู้ว่าไม่พ้น
ง่ายๆ ถูกๆ แค่นี้ ^_^

คิดว่าอะไรเป็นเรา เป็นของเรา
ไปดูอันนั้นแหละ

มามองให้มันเห็นเท่านั้น ไม่ได้ไปละอะไร

เสื่อมอะไรก็ได้ อย่าเสื่อมปัญญา

ความสงบเสื่อม
ก็เสื่อมไปสิ

รู้ไป
ความสงบเสื่อม
อย่าเสื่อมปัญญา

พวกเสื่อมปัญญา
ก็มัวรักษาดี สงบ สุข อยู่นั่นล่ะ

นั่งสมาธิสงบมาก ดีมั้ย?
ดี? ...โง่ละ ไม่รู้เรื่องละ
มีเรื่องดี มีเรื่องถูก มีความ "น่าเอา" มาละ
โง่อยู่...

ถ้ารู้สึก สุขแล้ว "เหนื่อย" เริ่มเห็นความจริง
ถ้ารู้สึก สุขแล้ว "สบาย~~~" ยังโง่อยู่ ให้รู้และถอนมา

คนนี้ตามใจเราตลอดเลย ดีมั้ย??
ดีสิ....น่าเอาใช่มั้ย :D

ท่านว่าเสื่อมอะไรก็ได้ อย่าเสื่อมปัญญา

ความฟุ้งขึ้นแห่งจิต - ฉันทราคะ

เมื่อผัสสะไปในกามคุณ 5
ดูว่ายังมีความ "ฟุ้งขึ้น" แห่งจิตบ้างมั้ย
ถ้ายังมีอยู่ ก็แสดงว่า "ฉันทราคะ" ในกามคุณทั้ง 5 ยังมีอยู่
ยังละไม่ได้

การรู้อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นผู้มีสัมปชััญญะ
คือมีความ "รู้ตัว" เมื่อผัสสะในกามคุณ

แต่ถ้าไม่ฟุ้งขึ้น
ก็อาจจะโดยชั่วคราว หรือครั้งคราว
ก็ว่ากันไป

กามราคะ - ปฏิฆะ
มันมาจากฉันทราคะในกามคุณนี้เอง

พิจารณาตัวบ่อยๆ
ก็จะมีความรู้เพิ่มพูน
เป็นผู้มีความรู้ตัวในเรื่องนั้นๆ ได้

วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

สัมปชาโน

ไม่ยินดี ยินร้าย
หรือยินดี ยินร้ายขึ้นมาก็ได้
แต่ไม่ครอบงำจิต ให้ไปพูดไปทำ

แบบนี้เรียกว่าใช้ชีวิตแบบมี สัมปชานะ

ไม่ใช่เห็นนี่ก็ชอบ เห็นนั่นก็ไม่ชอบ
ปล่อยให้ความชอบ/ไม่ชอบครอบงำได้
อันนี้เรียกว่าใช้ชีวิตด้วยความไม่รู้ตัว

จะเบื่อบ้าง จะขี้เกียจบ้าง
ความรู้สึกเป็นตัวตน หรือกิเลสต่างๆ ก็ธรรมะเหมือนกัน

ปฏิบัติธรรม คือทำให้รู้

ปฏิบัติให้มันได้ความรู้เท่านั้น
จะดีหรือไม่ดีก็ได้
ถูกหรือผิดก็ไม่เป็นไร ขอให้รู้
แต่ว่าต้องปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติไม่ได้

เช่น ไปฝึกให้มันจิตสงบจากกิเลสนะ
ท่านก็จะแนะนำทำแบบนี้ๆ เช่น ฌาน 1234
แต่ถ้าใจมันไม่ไป ไม่ได้ฌาน
ไม่สงบ ก็ให้รู้มัน ... เช่นนี้ก็เรียกว่าอยู่ด้วยสุญญตา
สงบ ก็ให้รู้มัน ... เช่นนี้ก็เรียกว่า อยู่ด้วยสุญญตา

เช่น ไปฝึกจิตให้เป็นหนึ่งนะ
ก็ไปฝึกมาตามที่ท่านแนะนำ
แต่จิตจะเป็นหนึ่ง หรือไม่เป็นหนึ่ง ก็ไม่เป็นไร
ให้รู้มัน ถือว่าใช้ได้

การฝึกอยู่ด้วยความรู้
อยู่ด้วยสัมปชัญญะนี้
ท่านเรียกว่า อยู่ด้วยสุญญตา
ความหมายคือ ไม่เลยไปยึดว่า ตัวตัน หญิงชาย ดีชั่ว ถูกผิดฯลฯ

เพราะว่าถ้าเราไม่ทำขึ้นมา มันก็ไม่รู้
แต่ทำขึ้นมานี่ ทำขึ้นมาเพื่อรู้ เพื่อรู้จักมัน
ไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อเอานั่นเอานี่

ทำเพื่อให้มันรู้
รู้ว่ามันก็ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
ถ้าไม่ทำเลย มันไม่รู้
ไม่ได้เอาอะไร ทำเพื่อรู้

จะดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้
จะได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ได้
ได้ฌานก็ได้ ไม่ได้ฌานก็ได้
ไม่ได้ไปเกลียดมัน ไม่ได้ไปว่ามันดีไม่ดี
มันก็สุญญตาแล้ว

ฝึกแล้วถ้าจิตไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่น้อมไป
ก็รู้... อันนี้คือ สัมปชาโน ในเรื่องนั้น
จะได้ละความยินดียินร้ายในเรื่องนั้น
ทำเพื่อรู้ว่า มันไม่ได้ ก็รู้ว่ามันไม่ได้

เรื่องยินดียินร้ายนี่เป็นเพราะมันไปยึดเราเขาขึ้นมา
มีเราทำได้ มีเราทำไม่ได้ มันเป็นสรรพนิมิต
อันนี้มันไม่สุญญตา

สังขาร ตัวบอก ตัวพากย์

จิตไม่เคยบอกว่าอะไรเป็นอะไร
ตัวที่บอกว่านี่คืออะไรคือ อุปาทาน (เป็นสังขารชนิดหนึ่ง)

สัญญา ธรรมชาติมันก็เป็นความจำ
มันก็ไม่ได้ว่ามันเป็นอะไรๆ
ตัวที่บอกว่ามันเป็นอะไรๆ คือสังขาร

สังขาร สิ่งปรุงแต่งว่ามันดีไม่ดี
มันก็เป็นอย่างนั้นอย่างที่มันเป็น
ตัวที่ไปบอกว่ามันดีไม่ดี เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เป็นสังขาร

วิญญาณมันก็เป็นวิญญาณ จิตมันก็เป็นจิตนี่แหละ
ตัวที่ไปบอกว่ามันเป็นอะไรๆ คือสังขาร

ตัวบอก ตัวพากย์ทุกตัวนี่ ก็เป็นสังขารหมด
อยู่ที่จะบอกเป็นอะไร

ถ้าบอกว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา อันนี้ก็ทิฏฐิมันเห็นผิดอยู่
ถ้าบอกว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน อันนี้ก็ปัญญา
ซึ่งตัวบอกพวกนี้ ก็สังขารหมดนั่นล่ะ

แขน ก็อย่างนี้ ใครไปคนไปบอกว่ามันเป็นแขน ... ก็สังขาร

สังขารนี่มีเยอะ แล้วแต่ตัวไหนจะบอก
อาจจะบอกว่า แขนนี่ของเรา แขนเรา แขนสวย ... นี่ก็สังขาร
อาจจะบอกว่า นี่แขนไม่เที่ยง ... นี่ก็สังขารอีกเหมือนกัน

แสงสว่างเกิดขึ้น มันไม่ใช่จิต ใครเป็นคนไปบอก อ้าวนี่แสงสว่างเกิดขึ้นนี่ .... ก็สังขาร

เดิมสังขารก็บอกแบบโง่ๆ
ฝึกๆ ไปมันก็เริ่มบอกแบบฉลาด
กิเลสนี่ก็สังขารทั้งนั้นล่ะ

ธรรมที่เลิศสุดในฝ่ายสังขาร คือ อริยมรรคมีองค์ 8
อันนี้เลิศสุด และต้องทำให้มีขึ้น
ความเลิศของมันอยู่ที่
เมื่อมันเกิดขึ้น มันละอันอื่นได้ด้วย

ไม่เหมือนพวกบุญ เกิดขึ้นแต่ละกิเลสไม่ได้ คือละตัวไม่ดีไม่ได้
ตอนมันมีอำนาจมันก็ดี แต่ไม่กำจัดฝ่ายไม่ดี
พอวันหนึ่งมันกลับข้าง มันก็วนๆ เวียนๆ อย่างนี้

เมื่อมรรคเกิดขึ้น
จะละกิเลสที่ยังไม่เกิดไม่ให้มันเกิด และไม่เกิดอีกเลย
ทำลายภพชาติที่ยังไม่มีไม่ให้มันมี

สุญญตา

สุญญตาความจริงเป็นของภายใน

เวลาฝึกแรกๆ เข้ามาอยู่ในวงของกาย ใจไว้
ไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เห็นว่า แม้กาย ใจ ก็ยังเป็นภายนอก
สิ่งที่เป็นภายในจริงๆ คือ สุญญตา ความไม่มีตัวตน

ซึ่งความไม่มีตัวตนนี้จริงๆ ก็รวมถึงนาม รวมถึงรูป รวมถึงนิพพานด้วย
มันไม่มีตัวตนเสมอกันหมด
ไม่ใช่ว่าไม่อยู่กับนามรูป ไปอยู่กับอันอื่นอีก

เมื่อมีคนเข้ามาหาพระพุทธเจ้า
ตถาคตก็มีจิตโน้มเอียงไปในวิเวก (ไม่ได้โน้มไปทางนามรูป)
ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ

เวลามาพูดธรรมะก็เพียงกระทำถ้อยคำชักชวน แนะนำ
ใจไม่ได้อยู่ทางนามรูป
มานั่งร้องไห้ต่อหน้าท่านก็ไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไร
ท่านก็แค่แนะนำวิธีการเฉยๆ ชักชวนมาให้เห็นความจริง

ถ้าต้องการเข้าถึงสุญญตาในภายในท่านก็แนะนำว่า
ให้ทำจิตในภายในของตนให้ตั้งไว้
ให้สงบจากกิเลส ไม่ให้กิเลสครอบงำ
ทำให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ซัดส่ายไปมา กระโดดไปนั่นนี่
ทำให้ตั้งมั่นดี มีธรรมชาติรู้อารมณ์ ตั้งมั่นในการรู้ ไม่เที่ยวไล่จับอารมณ์นั่นนี่


รู้และใส่ใจ (มนสิการ - วิญญาณ)

ใส่ใจ (มนสิการ) กับรู้ (วิญญาณ) นี่มันไม่เหมือนกัน
ตาเห็นรูป หูยินเสียงเหมือนกัน แต่จะใส่ใจแบบไหน

ถ้าไปเห็นเป็นพวกเรา พวกเขา สวย ไม่สวย เป็นหญิง เป็นชาย 
อันนี้มันคือ ใส่ใจ (มนสิการ)

พระพุทธเจ้าก็เห็นพวกเราเหมือนกัน 
แต่ไม่ได้มนสิการ...
คือพระองค์ไม่ได้ใส่ใจว่าจะเป็นคนเป็นสัตว์ เป็นหญิงเป็นชาย

ที่พระองค์ใส่ใจ...ใจโน้มเอียงไปก็คือ สุญญตา

คำว่า ไม่มนสิการสรรพนิมิต ไม่ใช่ไม่รู้อะไรนะ

จิตมันก็รู้ทุกเรื่องนั่นแหละ สูงต่ำดำขาวก็รู้หมด 
ตัวมนสิการนี้เป็นเจตสิก ...ไม่ใช่จิต
ตัวจิตเป็นตัวรู้

ท่านไม่ใส่ใจนิมิตภายนอก หมายถึง ไม่ใส่ใจนามรูป  
สิ่งที่ไม่ใช่นิมิตมีอย่างเดียว คือนิพพาน

แต่พระองค์รู้นามรูปเพราะพระองค์มีวิญญาณ

พระองค์รู้จักมันตามความเป็นจริง เพราะพระองค์มีปัญญา
แต่พระองค์ไม่ใส่ใจมัน

เหมือนเรามองดูคนคนหนึ่ง
จิตมันรู้แจ้งแบบนั้นไปเลย คือรู้จักธรรมชาติ รู้รายละเอียดนั่นนี่นู่นหมด

แต่เวลาเราใส่ใจนี่  เราใส่ใจกันคนละแบบ
บางคนใส่ใจตาเขา บางคนใส่ใจจมูก บางคนใส่ใจตูดเขา
คือไอ้ตอนที่จิตเห็นมันก็เห็นเหมือนกัน มันรู้แจ้งอารมณ์เหมือนกัน
แต่ตอนใส่ใจนี่ ไม่เหมือนกัน

ถ้าใส่ใจแล้ว กิเลสมันเกิดมาครอบงำ
ทำให้เกิดความยินดียินร้าย
เขาก็เรียก “อโยนิโสมนสิการ”

คือใส่ใจไม่ถูก
พอไม่ถูกกิเลสก็จะท่วมเอา


แต่ถ้าใส่ใจถูก แล้วทำให้เกิดสติ เกิดปัญญา เขาเรียก โยนิโสมนสิการ





วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

ได้เจอกันอีกแล้วววว

ถ้ายินดี เพลิดเพลิน หมกมุ่น ในการอยู่ร่วมกัน
ทำอะไรมาช่วยๆ กันทำตลอดนี่
มารวมกลุ่ม มาเจอกันอย่างโน้นอย่างนี้
ไม่ได้เรื่อง ไม่งาม

มารวมกันแบบทนๆ กันไป
บริหารให้มันเป็นไป
จำเป็นต้องเข้าก็เข้า
ไม่จำเป็นก็อยู่คนเดียว

ป่านี้จะสวยงาม
เมื่อภิกษุหลีกออกจากหมู่
ไปอยู่แต่ละองค์ ทำความเพียร

เนกขัมมสุข (สุขที่เกิดจากการออกจากกาม - อันนี้ยังไม่เงียบ ยังคิดไปเรื่อย)
ปวิเวกสุข (สุขที่เกิดจากความสงัดจากกาม - เงียบจากกาม ไม่มีว่าจะคิดไปดู ไปฟังนั่นนี่นู่น)
อุปสมสุข (สุขเพราะตัณหามันดับไป)
สัมโพธิสุข (สุขด้วยปัญญารู้แจ้งแทงตลอด)

จะเป็นไปไม่ได้ถ้ายินดีคลุกคลีอยู่กับหมู่
ถ้าอยู่คนเดียวนี่ "เป็นฐานะที่จะมีได้"
คือได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
แต่ได้ไม่ได้ ต้องทำถูกด้วยนะ .... ไม่ใช่แยกไปอยู่แล้วทำอะไรไม่รู้

หลีกเร้น

ถ้าพระพุทธเจ้าท่านก็อยู่กับผลสมาบัติ

ถ้าพวกเรา หลีกเร้นคือ
ไม่ไปคิดเรื่องสัตว์ตัวตน
อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ

หรือท่านใดได้สมาบัติก็อยู่กับสมาบัติ
แล้วออกมาเดินวิปัสสนา

พระพุทธเจ้า 2 พระองค์

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อุบัติพร้อมกัน 2 องค์

มีทีละองค์เท่านั้น ทำไมล่ะ
ถ้ามีหลายพระองค์ก็ไม่น่าอัศจรรย์
และธรรมเทศนาทุกพระองค์ก็เหมือนกัน ไม่รู้จะมาทำไม 2 องค์

บางคนว่า อ้าว มา 2 องค์ดิจะได้ช่วยกัน
อันนี้ปุถุชนคิด

ลูกศิษย์ทั้ง 2 องค์จะได้ต่อยกันเองน่ะสิ 5555
ขนาดองค์เดียวยังขนาดนี้

องค์เดียวก็จะไม่เกิดการถกเถียงกันมากเกินไป
อย่างน้อยคนเหล่านี้จะถือว่ามีศาสดาองค์เดียว
ไม่วิวาทกันมาก

โลกธาตุนี้จะรับพระพุทธเจ้าได้องค์เดียว
อุปมาเหมือนเรือ ใส่ได้องค์เดียว ... เต็ม
ใส่มา 2 องค์ โลกจะตั้งอยู่ไม่ได้

เรื่องความดีความชั่วนั้นเป็นสมบัติของโลก
เรื่องพระพุทธเจ้านี้ ก่อนท่านมาตรัสรู้ท่านเป็นพระโพธิสัตว์มา
ความดีมันเยอะมาก ท่วมโลกอยู่

คือถ้าความดีของ 2 องค์ โลกมันรับไม่ไหว ตั้งอยู่ไม่ได้
แค่องค์เดียวแผ่นดินก็สะเทือนละ ให้ทานครั้งนึงอะไรครั้งนึงนี่ สะเทือน
เวลาทำอะไรให้เป็นสมบัติของโลก แล้วทำอะไรใหญ่โตนี่
โลกมันจะรับไม่ได้

บางคนคิดว่าพระโพธิสัตว์บำเพ็ญมา
ความดี บารมีต่างๆ เป็นสมบัติของท่าน
ความจริงมันเป็นสมบัติของโลก

ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะที่ท่านทำเอาไว้ก็ไม่ได้เอาไปด้วย
จนทุกวันนี้ก็ยังเป็นสมบัติของโลกอยู่
ใครฝึกฝนก็รู้จัก อ่อ เป็นอย่างนี้ๆ เพราะมันเป็นสมบัติของโลกอยู่

พระอริยะที่ทิ้งขันธ์ไปแล้ว พวกบุญบาปต่างๆ ก็เป็นสมบัติของโลก
ถ้าพระอริยะลดลง ความดีใหญ่ๆ ลดลง

พวกไม่ดีนี่ ไม่มีใหญ่นะ พวกไม่ดีนี่มีแต่ปริตตะอย่างเดียว
มีเล็กๆ แต่มันเยอะ ถ้าพระอริยเจ้าน้อย โลกมันก็จะอยู่ไม่ค่อยไหว
ถ้าอยากจะช่วยโลก ก็ช่วยเป็นพระอริยะเจ้า

ไม่ต้องมีเยอะก็ได้ พระอริยะองค์นึงนี่ก็คานอำนาจโลกได้เยอะมากแล้ว
ในยุคที่มีพระอริยะนี่ก็จะร่มเย็นหน่อย
ถ้าน้อยลงก็ เตรียมตัวถล่ม วนไป เป็นเรื่องปกติ

วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561

บรรยายตัวตน (อัตตา)

ลักษณะ

เที่ยงๆ
แข็งๆ
ทื่อๆ

เป็นสุข
เป็นตัวตน

ตัวดี
ตัววิเศษ
ตัวเก่งๆ บังคับคนนั้นได้ คนนี้ได้

ยิ่งใหญ่
สามารถอยู่ได้คนเดียวโดดๆ

อาการประมาณนี้ เขาเรียกว่า "อัตตา"

อัตตาตัวนี้ไม่มีจริง
มีแต่ความรู้สึกที่เกิดเป็นครั้งๆ แป๊บเดียว แล้วก็ดับไป
ไม่ใช่มีตัวแข็งๆ จริงๆ ตลอดกาล

สักกายะ 20

เห็นรูปโดยความเป็นตัวตน
เห็นตนมีรูป
เห็นรูปในตน
เห็นตนในรูป

(เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ)

มันก็ไม่ได้เกิดตลอดเวลา
แต่ก็ถ้ายังมีเกิดอยู่ใน 20 อย่างนี้ ก็เรียกว่า ยังมีทิฏฐิเหลืออยู่

เห็นรูปโดยความเป็นตัวตน
เห็นรูปว่าเป็นตัวตน เช่น
เราเดิน เรายืน เรานั่ง เรานอน เราทำนั่น เราทำนี่

เห็นตนมีรูป
เรามีแขน เรามีขา เรามีจมูก มีปาก

เห็นรูปในตน
ตัวตนใหญ่ รูปมาอยู่ภายใต้ตน
เราเป็นใหญ่ เป็นเจ้านาย ใช้รูปไปทำนั่นทำนี่
ใช้แขน/ขามาทำนั่นนี่

เห็นตนมาอยู่ในรูป
รูปเป็นกรอบ มีตนมาอยู่ในรูป

แท้จริงความรู้สึกว่ามีตัวมีตน
เราเป็นนั่น เป็นนี่
ก็เป็นความรู้สึกธรรมดาๆ

ที่มันผิดคือความเห็น
เห็นว่ามันจริงจัง

เช่น เรามีความรู้เกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น
แล้วก็มีความเห็นผิดว่า "เรามีปัญญา"
เรารู้อย่างนั้น เรารู้อย่างนี้

ถ้าเราเห็นว่า ปัญญาเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ทิฏฐิเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ความยึดถือเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
มานะสำคัญตนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
มันก็ไม่มีอะไร เป็นแต่ธรรมะ

แต่เรานี้จะไปหยุดอยู่ตรงความเห็น
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วดับไป
แต่มันก็ไปจับอยู่แค่ว่า "ว้าว นี่เรารู้"
หยุดอยู่เท่านี้ ไอ้ตัวนี้ (ความเห็น) ไม่ยอมดับ

ซึ่งปุถุชนจะเป็นอย่างนี้
พระอริยเจ้าจะไม่เป็นอย่างนี้แล้ว
ไม่หยุดค้างเติ่งอย่างนี้

พระโสดาบันท่านก็ยังรู้สึกว่าเป็นตัวตนนะ
"แต่ไม่เห็นผิด"
เพราะว่าความรู้สึกเป็นตัวตนมันเป็นแค่กิเลส
คือท่านรู้ว่าอ่อ มันเกิด เกิดแล้วก็ดับ
คือจะไม่ไปเห็นผิดว่า มันมีตัวตนจริงๆ



วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

ทำอะไรเพื่อความสบายใจ

ทำอะไรเพื่อความสบายใจ
ทำไว้ก่อน จะได้สบาย
อันตรายนะ
จะโง่เอา

เราได้สบายใจ

สมมติทำศาลเจ้า
ลืมไหว้ งานงอกละ เดือดร้อนใจ

สมมติผิดผี
ต้องให้รู้ด้วยว่าผีโง่หรือผีฉลาด
ให้เอาธรรมเป็นใหญ่

ถ้าผีโง่
เราผิดจากเขา อันนี้ฉลาด
แต่ถ้าผีฉลาด ก็ฟังเขาไปสิ

ทำลายภพเก่า ไม่สร้างชาติใหม่

วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
อันนี้เป็นผลในปัจจุบัน

ตัณหา อุปาทาน
อันนี้เป็นเหตุปัจจุบันที่กำลังทำอยู่

ส่วน ชาติ ชรามรณะ ทุกขโทมนัส ฯลฯ
อันนี้เป็นผลอนาคต

ถ้าพูดแบบครบถ้วนสังสาระแบบยืดยาว
ตัวชาตินี่ยังไม่เกิด
แต่ต้องขวนขวายให้มันเกิดมั้ย
ไม่ต้อง....เพราะถ้ามีกรรม (ภพ) มามันต้องเกิดแน่นอน

ปฏิบัติวิปัสสนาจึงใช้วิธี
ทำลายเหตุปัจจุบันเสีย
เพื่อไม่ให้มีผลอนาคต

ให้ฝึกให้เห็น ไม่ต้องทำตามความยึดถือ
พอไม่ทำตามความยึดถือ ชาติในอนาคตก็ลดลง
อาจจะยังไม่เห็นตอนนี้
แต่มันมีปัจจัยส่งไป

ภพคือการทำตามความยึดถือ
ไม่ทำภพ คือไม่ทำตามความยึดถือ
ก็ทำลายชาติไปด้วย

วิปัสสนานี้ทำลายภพที่เกิดแล้วไม่ได้
เพียงแต่ป้องกันไม่ให้ของใหม่เกิดเพิ่มขึ้น
เหมือนกับไม่เก็บ stock คือปัจจัยไปสู่ชาติ

ที่ล้างของเก่าได้จริงๆ คือ อวิชชา
จะแค่กำหนดนั่นนี่
ฝึกฝนไม่ให้มีความยึดอารมณ์นั้นนี้ อันนี้ก็ยังไม่ได้ ทำลายของเก่าไม่ได้

แต่ถ้าจะล้าง
ต้องทำลายอวิชชาทิ้ง
อริยมรรคนี่เป็นตัวทำลายอวิชชา
ภพเก่าๆ ที่อยู่ใน stock เยอะแยะ ก็ถูกทำลายไป
(พูดแบบนี้ก็ไม่ได้แปลว่าไม่ได้เป็นมันจะไป stock เก็บไว้ที่ไหนนะ)

กรรมให้ผลได้เพราะยังยึดอยู่

กรรมให้ผลได้เพราะยังยึดอยู่
การกระทำส่งเหตุปัจจัยนี้เป็นเรื่องของโลก
พอทำอะไรไม่ทำให้เป็นเรื่องของโลก ยึดมาเป็นของเรา
มันก็เลยเป็นขึ้นมาจริงๆ

พอไม่ยึดทำอะไรก็ไม่มีผลอะไรแล้ว
อวิชชาก็มีผลเป็นแรงเฉื่อยต่อมาอีกนิดหน่อย

นามรูป

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

รูป = ธาตุทั้ง 4  และที่อาศัยธาตุ 4
นาม = เจตสิก

นามในปฏิจจฯ หมายถึง เวทนา สัญญา สังขาร
แต่ถ้านามที่อื่นๆ อาจหมายรวม วิญญาณ

สงฺขารา ปจฺจยา วิญญาณํ

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมีขึ้น

วิญญาณนี้ก็เป็นวิบาก
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฯลฯ

หรือตอนเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ
ก็มีมโนวิญญาณเฉพาะชื่อ เรียก ปฏิสนธิวิญญาณ
ซึ่งก็เกิดแล้วก็ดับ

จากนั้นก็เป็นภวังควิญญาณ เกิดดับ รักษาภพเอาไว้
จนได้อายตนะมา ก็มาเกิดจักขุวิญญาณ ฯลฯ อีกครั้ง

ทำไมสังขารถึงเกิดวิญญาณไปมองเห็น ไปได้ยินได้
เพราะอวิชชามันส่งปัจจัยมา

การที่อวิชชาส่งทอดปัจจัย
มันก็จะส่งไปได้เรื่อยๆ

เมื่ออวิชชาหมด มันก็จะส่งต่อได้อีกระยะหนึ่ง
คล้ายๆ กับเป็นแรงผลัก
ผลักมาตั้งนาน อยู่ๆ หยุด ก็จะมีแรงส่งต่ออีกสักพัก

เหมือนพระอรหันต์ อวิชชาหมดแล้ว
ยังรับอีกบ้าง เป็นเรื่องกระแสก็ยังเหลืออยู่
แต่ต้นตอเริ่มหมดแล้ว

ภวังควิญญาณ
เกิดดับสืบต่อในร่างกาย
พอกระทบกับอะไรเข้า มันก็รับรู้ เป็นมโนวิญญาณ

แก้กรรมชั่ว ด้วยทำกรรมดี?

แหม่ เราทำชั่วมาเยอะ
มาแก้กรรมด้วยการทำดีเยอะๆ สักหน่อย
มันก็จะช่วยได้

ฟังดูดี ... แต่โง่ ท่านไม่เคยสอนอย่างนี้

เพราะว่า กระแสมันเริ่มจากความไม่รู้ (คืออวิชชา)
ดังนั้น วิธีที่จะทำมีวิธีเดียวคือ
ทำวิชชาให้มันเกิด
มันต้องรู้ว่าอะไรเป็นตัวส่งทอดกระแส

สมมติมันทำไม่ดีมาเยอะ
มันมามีความรู้เป็นพระโสดาบันขึ้นมา ล้างอวิชชาได้ส่วนนึง
ของไม่ดีให้ผลไม่ได้แล้ว
เพราะอะไร

เพราะมันอยู่ในรูปกระแส
พอมันอยู่ในรูปกระแส
ถึงของไม่ดีทำเอาไว้มันก็ดับไปแล้ว

คือของไม่ดีจะให้ผลได้
ก็ต่อเมื่อยังมีอวิชชาเต็มเหยียดเท่านั้น

สิ่งที่ท่านสอนคือปฏิจจฯ
คือทั้งบุญทั้งบาปจะให้ผลได้ เพราะกระแสอวิชชายังคงอยู่

ทีนี้ถ้าอวิชชามันอยู่เต็มครบ
ทั้งบุญทั้งบาป เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม
มันก็ให้ผลได้ครบหมด

ถ้าอวิชชามันอยู่ไม่ครบ
บาปแรงๆ มันจะให้ผลก็ไม่ได้
เพราะมันอยู่ในรูปกระแส

บุญบาปเยอะๆ จะให้ผลได้ก็ต่อเมื่อมีแรงผลักจากอวิชชา
ไม่มีแรงผลักตรงนี้ ก็ให้ผลอะไรไม่ได้
เพราะมันเป็น "อวิชชา ปัจจยา..."

สังขาร

สังขาร
คือการปรุงแต่งการกระทำ
จัดแจงทางกาย วาจา ใจ ทั้งดี ทั้งไม่ดี
ในอดีตก็ตาม ในปัจจุบันก็ตาม

บุญบาปที่ทำไว้ เกิดขึ้นก็ดับไป
เพราะบุญก็เกิดขึ้นด้วยเจตนา
เจตนานี้มันเป็นกรรม

เจตนาที่ดีก็เป็นกุศล
เกิดแล้วดับไป

ทีนี้มันส่งทอดมา อยู่ในรูปกระแส
ตัวมันดับไป

ทีนี้ถ้ามีอวิชชาเหลืออยู่
พวกนี้ก็ทำงานได้
สังขารก็มีขึ้นมาได้

อวิชชา

ทำอกุศลมาจนเคยชิน
ก่อนตาย จิตเป็นกุศล ไปเกิดสวรรค์
ตอนที่จิตเป็นกุศลนี่ ไม่มีอวิชชา

แต่ถามว่าอวิชชาจะไม่เกิดอีกมั้ย
ไม่ใช่
อ้าวทำไม
เพราะมันยังมีเหตุปัจจัยมาส่งเนื่องกันไปเรื่อย

กำจัดอวิชชา (ด้วยการทำวิชชา)
นี่เพื่อไม่ใช่ทำลายกิเลสที่มีนะ
แต่ "ทำลายกิเลสที่ยังไม่เกิดด้วยมรรคที่เกิดขึ้น"

ไม่ใช่ว่ารอกิเลสเกิด อวิชชาเกิดแล้วไป "ทำลาย" มัน
แต่มาเรียนรู้ มาฝึกฝน ตามมรรค
มาเห็นว่า ถ้ายังมีกิเลสอยู่นี่มันลำบากนะ เหนื่อย

ทำลายกิเลสนี่ก็คือทำลายกระแสของกิเลสนี่แหละ
ทำลายตอนกิเลสไม่ได้เกิดขึ้น
ทำลายกระแสอวิชชาด้วยมรรค

ถ้าเข้าใจไม่ถึงตรงนี้
ก็จะไปติดอยู่ว่า ตอนนี้ไม่มีกิเลส ทุกอย่างดีแล้วสิ
ไปอยู่พรหมโลกเป็นล้านปีก็ไม่ได้มีกิเลส ... สบายแฮ ไม่ต้องทำอะไร
หารู้ไม่ กระแสอวิชชายังไม่ดับ

ถึงตอนนี้ไม่มีกิเลส
แต่อวิชชาก็ยังอยู่
แต่จะบอกว่าอยู่ไหนก็ไม่ได้ เพราะมันอยู่ในรูปกระแส
ตัวกระแสนี้เรียกปัจจัย
ถ้าบอกได้ว่ามันอยู่ที่ไหนก็จะกลายเป็นว่ามันมีตัวมีตนไป


ทุกอย่างเหมือนกันหมด?

จะมาบอกว่าอะไรเหมือน ไม่เหมือน

สมมติบอกว่า "คนเหมือนกันทั้งโลก"
ถ้ามองในแง่ไตรลักษณ์ ก็ใช่ คนเหมือนกันทั้งโลก
เท่ากับการบอกว่าเหมือนกัน
เป็นการมองใน "แง่มุมหนึ่ง"

แต่ถ้ามองในแง่อื่นมันก็ไม่เหมือนกันก็ได้
เช่น ทำกรรมดี ย่อมไม่เหมือนทำกรรมชั่ว

อยู่ดีๆ จะมาสรุปเหมารวมว่า ทุกอย่างเหมือนกันหมด
แบบนี้เลอะเทอะ มันต้องกล่าวว่า
ถ้าเหมือน เหมือนแง่ไหน
ถ้าต่าง ต่างแง่ไหน

จะไปยึดบอกว่าเหมือน
จะไปยึดบอกว่าต่าง
จะเข้าข้างฝั่งไหนก็ผิดหมดแหละ

พุทธจึงเป็นทางสายกลาง
ไม่เข้าสู่ความยึดทั้งสองฝั่ง
การเข้าใจปฏิจจฯ ก็ตอบได้ เหมือนเพราะอะไร ต่างเพราะอะไร

มี - ไม่มี

ความมี - ไม่มีนี่มันไม่มีแบบจริงจังเด็ดขาด

จะบัญญัติหรือปรมัตถ์ก็ตกอยู่สภาพเดียวกัน
เมื่อปัจจัยประกอบขึ้นมันก็มี

เมื่อขันธ์ 5 มารวมกัน ความเป็นคนสัตว์ก็มี
เมื่่อไม่รวมกัน มันก็ไม่มี

เหมือนเมื่อมีลูก ก็มีพ่อแม่
พ่อแม่ก็เกิดขึ้นพร้อมกับลูกนั่นแหละ

การเข้าใจปฏิจจสมุปบาท 4 แง่

การทำความเข้าใจปฏิจจฯ ต้องเข้าใจใน 4 แง่หลัก
ถ้าไม่เข้าใจจะเอียงไปเป็นทิฏฐิ อุปาทานไปเรื่อย


  1. เอกัตตนัย - รู้จักแบบเป็นภาวะอันเดียวกัน
    ปฏิจจฯ มีความเป็นเอกภาพ กระแสเดียวกัน
    เป็นสายเส้นเดียวกัน ไม่ได้เป็นคนละเส้น
    เช่น จุติจิตดับไป ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น เขาเรียกว่ามันเป็นสายโซ่เดียวกัน

    เข้าใจในแง่ที่ว่า มันอยู่ในรูปกระแส "ไม่ขาดตอน"
    ส่งทอดปัจจัยกันจนกว่าจะเข้าถึงนิพพาน

    เช่น ปกติขี้เกียจ มาฟังธรรม เกิดแรงบันดาลใจอยากขยัน
    แล้วอยู่ๆ จะมาขยันได้เลย อันนี้ยังเข้าใจผิด
    คือไม่ใช่ว่าจิตขี้เกียจดับไป จิตขยันเกิดขึ้น มันก็จะขยันได้
    มันขี้เกียจมานาน ปัจจัยมันส่งทอดมา
    จิตที่เกิดดับสืบเนื่อง มันไม่ได้ขาดสะบั้นกันอย่างนั้น
    ดังนั้น นิสัยอะไรเก่าๆ นี่มันยังอยู่คล้ายๆ เดิม การจะเปลี่ยนอะไรนี่ต้องอดทน
    ใส่ปัจจัยใหม่ๆ เข้าไป

    เป็นความว่างเปล่าที่ต่อเนื่อง
  2. นานัตตนัย
    ในกระแสนั้นมันแตกต่างกัน
    เป็นกระแสเดียวกัน แต่ว่า แต่ละจุดในกระแสนั้น
    เป็นคนละอันกัน

    อวิชชาก็ไม่ใช่สังขาร สังขารก็ไม่ใช่วิญญาณ ฯ
    ทำดีก็ไม่ใช่ทำชั่ว ทำชั่วก็ไม่ใช่ทำดี
    คิดดีก็ไม่ใช่คิดชั่ว คิดชั่วก็ไม่ใช่คิดดี
    เป็นคนละอันกัน แต่อยู่ในรูปกระแสเดียวกัน

    จุติจิต ก็เป็นจุติจิต ปฏิสนธิจิต ก็เป็นปฏิสนธิจิต
    คนละขันธ์กัน
    ขันธ์เมื่อวาน ก็ขันธ์เมื่อวาน
    ขันธ์วันนี้ ก็ขันธ์วันนี้ คนละขันธ์กัน

    คนไม่เข้าใจข้อ 1-2 นี้ ก็จะงงๆ
    ถ้าถือว่าเป็นอันเดียวกัน ก็กลายเป็นสัสสตทิฏฐิ
    ถ้าถือว่าเป็นคนละอัน ก็กลายเป็นอุจเฉททิฏฐิ
  3. อพยาปรนัย
    ไม่ต้องมีความขวนขวายทำอะไรเพิ่ม
    ไม่ต้องมีมือขยันไปช่วย ไม่ต้องมีตัวมีตนไปจัดการ
    เพียงแต่ทำเหตุ พอเหตุสมบูรณ์พร้อม เกิดแน่นอน

    ไม่ต้องไปอยาก ไม่ต้องไปขวนขวาย
    เช่น ถ้ามีอวิชชาอยู่แล้ว ไม่ต้องไปอยากเกิด ได้เกิดแหงๆ

    ถ้าทำเหตุถูกต้อง ผลจะมาตามธรรมดา ธรรมชาติ

    พวกเราส่วนใหญ่นี่เรียกว่าไม่ค่อยเข้าใจ/ไม่เข้าใจเอาเสียเลย
    พอไม่เข้าใจเลยมีตัณหา
    อยากให้เป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างนี้
    ช่วยกันเข้าไป ... ช่วยให้ช้า

    ทำเหตุปัจจัยก็ดีแล้ว
    แต่ดันไปคิดว่า "ถ้ามีตัวช่วย มีความพยายาม จะเร็วขึ้น จะดีขึ้น"
    ตายสนิท...

    และก็ไม่ได้แปลว่า "ไม่ต้องทำอะไร"
    แต่หมายถึง ก็ทำอย่างเต็มที่ แต่ไม่ต้องมีเรา มีของเราจะได้นั่นนี่ เข้าไปใส่
  4. เอวังธัมมตานัยเห็นความเป็นจริง เห็นข้อเท็จจริงของสังขารอะไรของมันไป
    พร้อมกับ เห็นข้อจำกัดของมันด้วย

    เราก็ทำเหตุทำอะไรไปเต็มที่
    แต่ทำอย่างเต็มที่แล้ว อาจจะได้ผล หรือไม่ได้ผลก็ได้
    ไม่เสมอไปว่าจะต้องได้ผล

    เหมือนเราใช้ชีวิตให้ดี กินอาหารดี
    ร่างกายเราน่าจะดี แต่ก็ไม่เสมอไป
    ต้องเข้าใจข้อจำกัด

    เลี้ยงลูกให้ดี มันน่าจะดี
    แต่อาจไม่ดีก็ได้

    เราพยายามศึกษา ทำความเข้าใจ
    แต่มันก็อาจจะเข้าใจ หรือไม่เข้าใจ
    เพราะมันมีข้อจำกัด
    ข้อจำกัดนั้นก็เป็นธรรมดา ไม่ผิดธรรมดาอะไร

    ข้อจำกัดนี่เรียกธรรมดา
    มันไม่เที่ยง ถึงเราจะทำดีหมด ผลอาจไม่ดีก็ได้

ข้อ 3 นี่เหมือนจะเข้าใจทุกเรื่อง 
ข้อ 4 นี่ให้เข้าใจด้วยว่า ทุกอย่างมีข้อจำกัดของมัน

เรียนปฏิจจฯ นี่เหมือนจะเข้าใจอะไรๆ
แนะนำใครๆ ได้ นี่ไงเพราะเหตุมันมางี้ๆ ทำงี้สิๆ
ปรากฏผลออกมาอีกอย่าง

อ้าวทำไมงี้ ...ไม่รู้เหมือนกัน 5555 
มันเป็นงั้น มันก็เป็นงั้นน่ะแหละ

ทุกขํ

ในภาษาของปฏิจจฯ
ไม่มีเรื่องความสุข
ไม่มีเรื่องตัวตน
คำว่า สุข เที่ยง นี่มันหมายถึงตัวดี ตัววิเศษ
หมายถึงตัวตน

ปฏิจจฯ นี่พูดแต่เรื่องทุกข์
พูดแต่เรื่องของว่างเปล่า ไร้แก่นสารจากตัวตน

พูดเรื่องกระแส หรือกระบวนการ
ความเกิดของกองทุกข์
ความดับไปของกองทุกข์

ทุกข์ในที่นี้ หมายถึง สิ่งที่ว่างเปล่าจากตัวตน
มาจาก ทุ + ขํ
ทุ = น่ารังเกียจ น่าเบื่อหน่าย น่าสังเวช น่าหดหู่
ขํ = สิ่งที่ไร้แก่นสาร ว่างเปล่า

แปลรวมๆ ได้ว่า สิ่งที่ว่างเปล่าไร้แก่นสาร ดูแล้วน่าหดหู่ น่าสังเวชใจ
เรียกได้ว่าเป็นความว่างเปล่ามาต่อเนื่องกันเป็นกระแส

ของว่างเปล่ามารวมกัน ดูเหมือนมีอะไร
แยกจากกันแล้ว ก็ไม่มีอะไร

เหมือนคนมารวมกันเป็นหลายคน เหมือนมีอะไร
จริงๆ พอแต่ละคนต่างคนต่างไป ก็ไม่มีอะไร

คือ ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนอะไรนี่มันไม่มี
มันมาจากหลายๆ อันมารวมกัน
มาประกอบกันขึ้น แล้วก็ไปเรื่อยๆ อยู่ในรูปกระแส

คนพาล - บัณฑิต

คนพาล คือคนไม่รู้เรื่อง

ไม่รู้เรื่องอะไร
เรื่องธาตุ อายตนะ ปฏิจจสมุปบาท นี่แหละ

บัณฑิต หรือคนฉลาดรู้เรื่องอะไร

  • ฉลาดในเรื่องธาตุ
  • ฉลาดในเรื่องอายตนะ
  • ฉลาดในเรื่องปฏิจจสมุปบาท
  • ฉลาดในฐานานุฐานะ (สิ่งที่เป็นฐานะและมิใช่ฐานะ)
    สิ่งเกิดแต่เหตุปัจจัย ไม่มีเหตุปัจจัยก็เกิดไม่ได้
    ถ้าอยากได้ผลอย่างนี้ เหตุอะไรต้องใส่มาบ้าง
ไม่ต้องรู้เยอะ ฉลาด 4 เรื่องพอ

ธาตุ

โดยความหมายคือ มันเป็นอย่างนั้นของมันเอง
ไม่มีอัตตาตัวตน
ไม่มีเจ้าของ

ธาตุฝ่ายสังขาร
ก็เกิดตามเหตุ
หมดเหตุดับไป

โดยสภาวะทุกอย่างเสมอกันโดยความเป็นธาตุ

ธาตุฝ่ายวิสังขาร
ก็เป็นธาตุ
ไม่ได้เกิดจากเหตุจากปัจจัย
แต่ว่าสามารถเป็นเหตุปัจจัยให้ตัวอื่นเกิดได้
แต่ตัวมันไม่ได้เกิดจากกเหตุจากปัจจัยแต่อย่างใด

เช่น นิพพานเป็นอารมณ์ของจิตได้

เมื่อวานก็ดับไปแล้ว ไม่เกี่ยวกับวันนี้

ความเห็นขาดโดยสิ้นเชิงแบบนั้น เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ

มันขาดในแง่ ขันธ์ 5 เก่ามันดับไป
แต่ปัจจัยมันส่งทอดมา
ในแง่ว่า อันเก่าต้องไม่มีก่อน อันใหม่จึงเกิดขึ้นได้

ฉะนั้นมันเกี่ยวพันกัน
แต่ว่า ไม่ใช่อันเดียวกัน
อยู่ในกระแสเดียวกัน
จะบอกว่าคนเดียวกันก็ได้ คนละคนกันก็ได้

เป็นคนเดียวกันในแง่
เป็นกระแสส่งทอดปัจจัยมา

เป็นคนละคนในแง่
คนเก่าต้องดับไปก่อน ส่งทอดให้คนใหม่เกิดขึ้น


อายตนะ

ที่ต่อ
บ่อเกิด
ต้นเหตุแห่งสังสาระ

ต้นกำเนิดคือ มีตา มีหู เลยมีการรับรู้
แล้วก็ไปคิด ไปนึก ไปจำ ไปเปรียบ ไปได้ยิน ไปตีความ
เรื่องชาวบ้านก็เลยเกิดขึ้น

วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

อุปสรรค

ความขัดข้องในอารมณ์
ติดขัดในอารมณ์ที่ไปรับรู้
ไม่ทะลุปรุโปร่ง ไม่แทงตลอด
รู้อย่างมีข้อสงสัย

ทำไมจึงเป็นอย่างนี้
ทำไมไม่เป็นอย่างนี้
ทำไม ทำไม ทำไม

เรียกว่ามี อุปสรรค

ทำไมไก่ไม่เป็นเป็ด
ทำไมอากาศร้อน

ถ้าไม่สงสัยคือ
อ้อ อันนี้เป็นอย่างนี้ๆ เพราะเหตุปัจจัย
อาจรู้เหตุหรือไม่รู้เหตุ
แต่รู้ว่า อ่อ เพราะมีเหตุมาแน่นอน

อุปสรรค/ภัย/อุปัททวะ นี้เกิดจากคนพาล
ตัวเองเป็นพาล
คนอื่นเป็นพาล
ไม่ได้เกิดจากบัณฑิต
ไม่ได้เกิดจากอารมณ์

ภัย

ภัย
เป็นสภาวะของจิต สะดุ้งต่อสิ่งต่างๆ
สะดุ้ง กลัวไปหมด
ยิ่งรู้หลายเรื่อง ยิ่งสะดุ้งหลายเรืื่อง
เพราะไม่รู้เรื่อง

เกิดจากความไม่รู้เรื่อง
ไม่รู้ธาตุ ขันธ์
ไม่รู้อริยสัจจ์ 4
ไม่รู้ความไม่มีตัวไม่มีตน

อุปัททวะ

อาการของใจ
ที่ไม่รวมเป็นหนึ่ง
ไม่อยู่กับสิ่งที่ทำ

เหมือนมีอะไรต้องทำ
นั่งไม่เต็มก้น
นอนไม่เต็มหลัง

ใจคิดหัวหมุนวุ่นวาย
กระโดดไปกระโดดมา
ใจไม่ลงอยู่กับตัว

ถ้าเข้าไปหาคนพาล
ใจแบบนี้ยิ่งไม่ลง วุ่นวายหนัก

วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2561

ความเข้าใจที่อาจพาปฏิบัติผิดเรื่องสติสัมปชัญญะ

บางคนเมื่อเห็นคำแปล
สติ แปลว่า ความระลึกได้
สัมปชัญญะ แปลว่า ความรู้สึกตัว

เลยเข้าใจพลาดไปว่า
ให้เอาสติมากำหนดนึกถึงตัวเองว่ากำลังทำอะไร
กลายเป็นฉันทำนั่นทำนี่
แล้วใจก็ไปจดจ่อกับตัวตน จนเกร็งขึ้นมา

ที่ถูกคือ
พึงมองสติในแง่ว่า
เป็นการคุมจิตให้อยู่กับกิจที่กำลังทำ

ให้มองสัมปชัญญะ ในแง่ว่า
รู้ชัดในสิ่งที่กำลังกระทำ

ไม่ใช่เอาสติมากำหนดตัวตน
ไม่ใช่นึกถึงตัวผู้ทำ

แต่ให้ดึงสติไปไว้กับสิ่งที่กำลังกระทำ
หรือสิ่งที่กำลังเป็นไป
จนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเองหรือผู้กระทำเลย

อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา

ถ้ามีญาณหยั่งรู้
ก็รู้ตรงไปตรงมาเท่าที่ญาณนั้นรู้

ถ้าไม่มีญาณ
ก็ไม่ต้องไปสอดรู้ 5555

รู้ตามที่เขาเป็นและที่ประจักษ์แก่เราเท่านั้น

รู้ตรงไปตรงมา
แค่ที่รู้เห็นเกี่ยวข้อง
แค่ไหนก็แค่นั้น

สติ

ระลึกอยู่ ระลึกได้ ไม่ลืม

ใจอยู่ ใจไม่หาย ไม่ใจลอย

ความมีใจพร้อม ตื่นตัวต่อหน้าที่
ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
พร้อมที่จะคอยรับรู้สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
และตระหนักว่าควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ อย่างไร
ทำให้เกิดการเฝ้าระวัง รักษา คุ้มครองไว้ได้

ธรรมชาติ

ธรรมชาตินั้นเป็นไปตามธรรมนิยาม
ส่วนสังคมนั้นเป็นไปตามกรรมนิยาม

วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561

มีหู

มีหู
ได้ฟังเสียงเพราะๆ เพลิดเพลิน
"หูของเรา"

ระหว่างมีหู กับไม่มีหู เลือกอะไร?

มี..หู..ดี..กว่า..?.

หูเป็นสุขหรือทุกข์
เป็นทุกข์
อยากมีทุกข์ก็เชิญเถิด

นี่เรียกว่า อิงอาศัย 

ญาณ

ความรู้แทงตลอด
แบบไม่ผิดเพี้ยน

เห็นสิ่งไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง
เห็นสิ่งทุกข์ว่าทุกข์
เห็นสิ่งไม่ใช่เราว่าไม่ใช่เรา

ความจริงเป็นไง เห็นมันเป็นงั้น

กิเลสมากน้อยไม่เกี่ยว เกี่ยวที่เจริญอริยมรรคหรือยัง

กิเลสจะเยอะจะน้อยไม่ใช่ธุระของเรา
สบายใจ ไม่มีกิเลสเลยวันๆ
รอดซะที่ไหน

สิ่งที่ต้องทำคือเจริญอริยมรรค
บรรลุช้าเร็วไม่ได้อยู่ที่กิเลสมาก/น้อย
อยู่ที่เจริญอริยมรรคได้มากแค่ไหน

สุขาปฏิปทาบรรลุช้าก็มี
ช้าเร็วอยู่ที่มีปัญญามั้ย

สุขาปฏิปทาหมายถึงพวกกิเลสน้อย
เล่นฌานอะไรเทือกนี้ก็กิเลสไม่มาก
แต่ไม่ได้แปลว่าจะบรรลุเร็ว



อิงอาศัย

ไปเปรียบเทียบให้เกิดความเป็นตัวตน

ไปเจอคนสวยคนหล่อ
ตนก็รู้สึกไม่ค่อยดี

ไปเห็นสิ่งต่างๆ
ไปเที่ยวมาหลายที่
ก็รู้สึกเป็นบุคคลสำคัญ
ไปสำคัญการเห็นว่าเป็นเรา

เราไปกระทำสิ่งต่างๆ
ให้มันเป็นที่รัก
เป็นที่ไม่น่ารัก

เขามาด่าเรา
เราก็ไปทำให้เขากลายเป็นสิ่งที่ไม่น่ารัก

ไปทำพระเอกให้น่ารัก
ไปทำผู้ร้ายให้ไม่น่ารัก
วนไป

มุนีท่านไม่ไปทำสิ่งใดให้น่ารัก
ไม่ทำสิ่งใดให้ไม่น่ารัก
สิ่งนั้นมันก็เป็นอย่างนั้นของมันเอง

บุคคลก็มีกิเลสเป็นอย่างนั้นของเขาเอง
เราก็ไปทำให้คนนั้นคนนี้ เป็นที่น่า/ไม่น่าปรารถนา

บุคคลอาศัย 2 สิ่ง รู้สึกถึงความมีตัวตนขึ้นมา
1. ตัณหา
2. ทิฏฐิ

หลีกเร้น

หลีกเร้น
ไม่ใช่หลีกผัสสะ
ไม่ใช่หนีไปนั่งเงียบๆ

ความหมายคือ รับรู้แต่ใจไม่เข้าไปเกาะเกี่ยว
เข้าไปทำอะไรด้วยสติสัมปชัญญะอย่างเต็มที่

ยังจิตให้ออกมาจากความติดข้องต่างๆ
ยังจิตให้ถอยมา

เห็นรูปแล้วถอยคืนมา
มองเห็นแล้ว จักขุทวารวิถีเกิด ก็ดับ
ไม่ไปสนใจต่อ

ถ้าฝึกฝนไม่ให้มันมีอิทธิพลต่อใจ (เป็นมหันตารมณ์)
มันก็ไม่ขึ้นวิถีชวนะ ก็หยุดเท่านั้น
ฝึกไปเรื่อยๆ ก็ขึ้นชวนะน้อยลง

พระเสขะฝึกโดย
ทำให้อิทธิพลของอารมณ์ต่อจิตลดลง
ก็ขึ้นวิถีชวนะ เกิดกุศล อกุศล น้อยลง
คิดเรื่องนู้นเรื่องนี้ ก็หมุนกลับมา

ข่มจิต/ห้ามจิต/ปกป้องจิต
ไม่เข้าไปสร้างให้มันมีเรื่องยืดยาว
ไม่ใช่เจอที่ธรรมชาติสวยๆ ก็ไปนั่งแช่สบาย
แบบนี้ไม่ถอยกลับ อันนี้คือหลงไป

มาเรียนก็ไม่ต้องไปสนใจอาจารย์มาก
เรียนแบบหลีกๆ
เดี๋ยวหลงรัก/หลงเกลียดเขา

เป็นไปเพื่อไม่แสดงตัวตน
ให้ความรู้สึกว่าต้องทำนั่นทำนี่เพื่อตัวตนมันหมด


ของเราด้วยทิฏฐิ ของเราด้วยตัณหา

การยึดว่าเป็นของเรา

แบ่งเป็น

  1. ยึดด้วยตัณหา
  2. ยึดด้วยทิฏฐิ

เห็นผิดว่ามีตัวตน
พอมีตัวตน ก็มีของเรามาด้วย

พระโสดาบันนี่จะละของเรา (ด้วยทิฏฐิ)
เหลือแต่ของเรา (ด้วยตัณหา)

เรียกว่าจริงอยู่ว่าไม่มีตัวตน
แต่สุขกะทุกข์จะเลือกอันไหน...555

พระอรหันต์นี่ละของเราด้วยตัณหา
ไม่รักสุข ไม่เกลียดทุกข์

มัจฉริยะ - ความตระหนี่ 5 อย่าง

ตระหนี่สถานที่

เวลาคนอื่นมาอยู่ในที่ของเราจะรู้สึกทิ่มแทง
"ทางเดินส่วนบุคคล"

ตระหนี่ตระกูล

พวกพ้อง คนคุ้นเคย
เราสนิทกะคนนี้
ถ้าเขาไปสนิทกะคนอืื่น รู้สึกทนไม่ได้

ตระหนี่ลาภ

คิดว่าได้ลาภมาด้วยความสามารถนี่ยุติธรรมแล้ว
ฉันสามารถ ฉันจึงได้
เธอไม่สามารถ ไม่ได้ก็สมควรแล้ว

ทั้งๆ ที่เรื่องได้มามากหรือน้อยอันนี้ก็เป็นกรรม
บางคนสามารถมาก บางคนสามารถน้อย
ได้มาก็ควรแบ่งปัน
เพราะความสามารถมันต่างกัน

พวกเราชอบคิดแบบตัดตอน
"ฉันสามารถฉันก็ได้ เธอไม่สามารถเธอก็อด"

ตระหนี่สิ่งที่ได้มา
ได้มาแล้วไม่ได้ใช้
ก็ยอมไม่ได้ที่จะให้
อย่างน้อยก็ให้มันเก่าไปกะเรา
ผุไปกะเรานี่แหละ

จะให้ใครนี่คิดยาก
เหนียวแน่น หวงแหน
เป็นความหวงแหนของจิต
ไม่ใช่จิต ความตระหนี่เป็นอย่างหนึ่ง จิตเป็นอย่างหนึ่ง
และไม่ใช่เรา

ตระหนี่ในขันธ์
เช่น ไม่อยากให้คนอื่นสวยกว่า
ตระหนี่รูป

ตระหนี่อายตนะ
เราเห็นสิ่งนี้ กล้าให้ผู้อื่นได้เห็นด้วยรึป่าว
จะกล้าให้เห็นเฉพาะ "พวกเรา"

ตระหนี่วรรณะ

คือตระหนี่คำสรรเสริญ
ไม่กล้าพูดถึงคนอื่นในแง่ดี

คนอื่นมีดีเราก็ไม่กล้าพูด
ไม่กล้ารับของคนอื่น
คนอื่นถึงจะมีดี แต่ก็ไม่ยอมรับ

ตระหนี่ธรรมะ

หวงความรู้
กลัวคนรู้มากกว่า
จะเก็บไว้ขาย know how เป็นต้น

กลัวคนเก่งกว่า
ไม่กล้าสอน

ทางพุทธ จะไม่มี "กำมือของอาจารย์"
รัตนะนี้กองเอาไว้ สามารถหยิบฉวยเท่าไรได้ ก็นำไป

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

ปริเทวะ - ความคร่ำครวญ

ความบ่นเพ้อ

เป็นอาการที่รุนแรงขึ้นมาจาก
ความรู้สึกเจ็บปวด ถูกทิ่มแทง

มันไม่โศกธรรมดา
แต่มีการพูดถึง คร่ำครวญถึง
ทำให้ใจไม่ปล่อยเรื่องนั้นไป

เริ่มก็บ่นในใจตน
ทนไม่ไหวก็ออกมาบ่นกะชาวบ้าน
หาพรรคพวกมาปลอบๆ กัน
มันก็คือ ช่วยกันบ่นเพ้อ

คนฟังคนอื่นระบายนี่ต้องระวัง
ทำตาสนใจไว้ แต่ใจไม่ต้องไปสนใจ
เดี๋ยวบ้าตาม

ถ้าไม่อยากโศกก็ไม่ต้องเกิดเท่านั้นแหละ
เกิดแล้วเป็นธรรมดาต้องโศก
เท่านั้นแหละ...จบ

ท่านบอกไว้
ชาติ ปัจจยา ชรามรณัง โสกะ ปริเทวะ ฯ
มีความเกิดเป็นปัจจัย
เท่านี้

จะไปหาอะไรต่อ หาต่อก็วุ่นวาย
สงสัยอยุู่นั่น ทำไมต้องเจอเรื่องนั้นเรื่องนี้
ทำไมเขาต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้
เพราะเกิดมา เท่านั้นแหละ

เราเรียกคนไม่ร้องไห้ ว่าปกติ
เรียกคนไม่ร้องไห้ ว่าไม่ปกติ
เรียกคนดีใจไชโย ว่าปกติ
จริงๆ ก็วิปลาสพอๆ กัน

แค่คนนึงเจอความเสื่อมแล้ว อีกคนยังไม่เจอ

เลวร้ายของเรา ธรรมดาของสังขาร

ความแก่เป็นเรื่องเลวร้ายสำหรับเรา
แต่เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับสังขาร

ความตายเป็นเรื่องเลวร้ายสำหรับเรา
แต่เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับสังขาร

ความโศกเป็นสภาวะ
เกิดขึ้นมา ตามธรรมดาของมัน
ไม่ได้มีตัวตนไปแทรกอยู่ตรงไหน

"เราโศก" นี่มันเลวร้ายมาก
อันนี้พวกยึดถือตัวตนจะรู้สึกอย่างนี้
ทั้งที่ความโศกนี่เป็นธรรมดา

เขาทำกิริยาอาการอย่างนั้น
ก็เป็นธรรมดาเมืื่อความเศร้าโศกเกิดขึ้น
ก็จะมีกิริยาอาการอย่างนั้น

ความแก่ ความตาย
ก็เช่นกัน
เป็นอาการปรากฏ

ใจนี้ยึดถือจึงคับแคบ
พอคับแคบจึงรู้สึกถูกทิ่มแทง
ถ้าไม่ยึดอะไรใจก็กว้างไร้ขอบเขต

วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561

โจรปล้นบ้านร้าง

อายตนะภายในเหมือนบ้านร้าง
อายตนะภายนอกเหมือนโจรมาปล้น
กระทบปั๊บ

ความชอบใจไม่ชอบใจก็กระโดดเข้ามาอยู่ในใจตนเอง
มือเท้าก็โดนบังคับตามชอบใจ

ศีล สมาธิ ปัญญา
ที่เป็นทรัพย์ในใจ
โจรปล้นมาหมดตัว

ละครออสก้า

เอาของมายึดเป็นของเรา
เสร็จแล้วก็ทำท่าใจดี
แบ่งให้คนอื่น

5555

วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561

มรณํ

อาการหายไปจากสัตว์นิกายนั้นๆ
อาการเคลื่อนไปจากสัตว์นิกายนั้นๆ
เช่น หายไปจากความเป็นมนุษย์
หายไปจากความเป็นสิงโต

ความเป็นมนุษย์ เป็นสิงโตนี่ เรียกว่า สัตว์นิกาย

ถ้ายังไม่ตายนี่ ขันธ์ 5 มาด้วยกัน
ไม่ได้อยู่ด้วยกัน แต่อิงอาศัยกันอยู่
แต่เมื่อขันธ์ 5 แตกจากกันนั้นเรียก ความตาย

ความตาย
ไม่ได้พูดถึงสัตว์บุคคล
แต่พูดถึงอาการที่ทำให้สภาวะ สัตว์ บุคคล นั้นหายไป

ความตาย เป็นสภาวะอันหนึ่ง ที่ไร้ตัวตน

ชีวิตินทรีย์
แบบรูป - เกิดจากปัจจัยเก่าสร้างมา
เมื่อรูปอยู่ไม่ได้ นามก็อยู่ไม่ได้
ธรรมชาติเป็นอย่างนี้

แบบนาม - ปรุงแต่งให้ใจสมบูรณ์แล้วเกิดขึ้นได้

ผู้สร้างไม่มี ผู้ทำลายไม่มี

ทุกอย่างเกิดจากหลายเหตุ หลายปัจจัย
ไม่มีเกิดจากเหตุเดียว
เหตุปัจจัยเยอะ

จะบอกว่ากรรมเป็นผู้สร้างไม่ได้
กรรมใดกรรมหนึ่งไม่ใช่สิ่งที่มีกำลัง
ไม่ได้มีตัวมีตนอะไรจริงๆ
มีแต่เหตุปัจจัยที่สืบเนื่องกันมา

ผู้สร้างไม่มี
ผู้ทำลายที่ทำให้ดับไปก็ไม่มี

อะไรๆ ก็สร้างธรรมอะไรๆ ไม่ได้
อะไรๆ ก็ทำให้ธรรมอะไรๆ เสื่อมไม่ได้

อวิชชาก็ไม่ใช่เหตุเบื้องต้น
ความไม่รู้นี้ก็เป็นสังขาร
มันก็มีเหตุมีปัจจัยมา
ไม่ใช่ต้นตอ
ไม่ได้เกิดตลอดด้วย

ธรรมอะไรๆ เสื่อมไป ไม่ใช่เพราะธรรมอะไรๆ
ธรรมอะไรๆ เสื่อมไป เพราะมันเกิด 5555

ตัวที่เกิดขึ้นมา ก็ไม่ได้รู้ว่าตัวเองเกิดมาจากอะไร
ตัวที่ทำให้เกิด ก็ไม่ได้รู้ว่าตัวเองทำให้เกิดอะไร
มันก็ไม่ได้เห็นกัน ไม่ได้เชื่อมกัน


ชีวิตนี้น้อยนัก ๒

ตัวชีวิตไม่ค่อยจะมีกำลัง
ทำอะไรไม่ได้มาก

ต้องเกี่ยวเนื่องไปกับลมหายใจเข้า
ต้องเกี่ยวเนื่องไปกับลมหายใจออก
ลมหายใจขาดไปก็ดำรงอยู่ไม่ได้

เกี่ยวเนื่องกับมหาภูตรูป
ถ้ามหาภูตรูปไม่สมดุล ก็อยู่ไม่ได้

เกี่ยวเนื่องอยู่กับไออุ่น
ไม่มีก็แข็งตาย

เกี่ยวเนื่องกับอาหารหยาบเป็นคำๆ
ไม่มีก็ไม่รอด

เกี่ยวเนื่องอยู่กับวิญญาณ

มูลเหตุชีวิต ก็ไม่ใช่ของมีกำลัง
ล้วนแต่ต้องอิงอาศัยอื่นๆ ประกอบ
เมื่อเกิดจากสิ่งไม่มีกำลัง
ตัวมันจะมีกำลังไปไม่ได้

แม้กรรมก็ไม่ได้เป็นสิ่งมีกำลัง

ยังกันและกันให้เกิดขึ้น
ยังกันและกันให้แตกไป
ช่วยกันเกิด ช่วยกันแตก
ที่จะเป็นที่ต้านทานแก่กันและกันนี่ ... ไม่มี

โลกนี้ตระการตาดุจราชรถ
อันพวกคนเขลาหมกอยู่
แต่ท่านผู้รู้
หาข้องอยู่ไม่

ชีวิตนี้น้อยนัก ๑

ชีวิตเป็นของน้อย
เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลานิดหน่อย
มีอายุน้อย ไม่นาน

ความเป็นไปของนามรูป
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ประกอบขึ้นในชั่วเวลาหนึ่ง

สุขก็เกิดประกอบกับจิตก็หายไป
ทุกข์ก็เกิดประกอบกับจิตก็หายไป
ทุกอย่างเกิดประกอบกับจิต ก็หายไป

ขันธ์ที่ดับไปแล้ว
ไม่มีการต่อกันอีก
เป็นเพียงปัจจัยที่ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นในรูปกระแส

ดำรงอยู่เหมือนเม็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม
ตั้งอยู่ได้ไม่นาน

มาจากที่ที่ไม่ปรากฏ
แตกแล้วก็ไปสู่ที่ที่ไม่ปรากฏ
เหมือนฟ้าแลบในอากาศ


วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2561

บาทของความสำเร็จ - โพธิปักขิยธรรมเป็นฝึกอธิจิต

ธรรมฝ่ายสมาธิ
ทำให้มีความพร้อมในการไปรู้ความเป็นไปต่างๆ
ผู้ฝึกธรรมฝ่ายสมาธิสำเร็จ
เขาเรียกว่าได้ อิทธิบาท
พร้อมจะไปรู้กฏเกณฑ์ทางธรรมชาติต่างๆ

สมาธิเป็นตัววัด
เป็นตัวกลางที่มีความสำคัญ
ว่าเราจะสามารถเข้าใจความลับของธรรมชาติรึป่าว
บางคนไม่รู้ ไม่เห็นความสำคัญ
ไม่ฝึกสมาธิ

ตัวเหตุที่ให้สำเร็จเขาเรียกอิทธิบาท
คือมีสมาธิ มีความตั้งมั่น

สมาธินี้ไม่ใช่มนุสธรรม
คนดีทั่วไปอย่างมาก็มีศีล
แต่เป็นอุตริมนุสธรรม
คือ เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดา

ถ้าไม่ได้สมาธิ
อุตริมนุสธรรมต่างๆ ไม่สามารถสำเร็จไปได้
เช่น ฌาน อภิญญา ญาณต่างๆ อาสวักขยญาณ
ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ฝึกไปจึงจะรู้ว่า
จิตที่มีความพอใจ มีความเพียร
มีความใส่ใจ มีมุมมองที่ถูกต้อง
สมาธิที่มีลักษณะอย่างนี้
จึงจะทำการงานได้
จึงจะทำให้สำเร็จอุตริมนุสธรรม

ถ้าไม่ได้อย่างนี้
ก็วนๆ อยู่แถวมนุสธรรมนี่แหละ

ทางฝึกก็ตามสัมมัปธาน
จนรู้จักจิตที่มีสมาธิ

ฝึกสมาธิได้แล้วจะบรรลุเร็วหรือช้า
หรือพร้อมรึยัง
มาดูที่อินทรีย์

อินทรีย์
บอกความพร้อมจะบรรลุ
บรรลุได้เร็ว เขาเรียก อินทรีย์กล้า
ฝ่ายดีที่เริ่มเกิดขึ้น

อินทรีย์นี่จะเป็นตัววัดไปจนถึงอนาคามีโน่น
ละสังขารแล้วจะไปชั้นไหนยังอยู่ที่อินทรีย์เลย

พละนี่
นอกจากจะพร้อมแล้ว
ฝ่ายดีที่เกิดขึ้น ก็ดูว่าหนักแน่นรึป่าว

ยังมีความไม่หวั่นไหวไปในธรรมคู่ตรงข้ามด้วย
ถ้าใจยังหวั่นไหว
เรียกว่าไม่มีพละ

โพชฌงค์
ตัววัด คนมีคุณสมบัติเหล่านี้ และครบถ้วนสมบูรณ์
อริยมรรคพร้อมเกิดละ

ถ้ามาดูฝ่ายโพธิปักขิยธรรมนี่เป็นการฝึกอธิจิต
ผลการฝึกอธิจิต ก็คือ ได้สมาธินี่แหละ
พอได้รู้จักธรรมฝ่ายสมาธิแล้ว
จึงจะมีโอกาสสัมผัสธรรมฝ่ายเหนือโลก

ถ้ามีเฉพาะฝ่ายศีล ยังไม่พอ
เพราะมันยังยินดี ยินร้ายไปกับโลก
ยังไม่พ้นโลก
มันต้องฝึกฝ่ายสมาธิขึ้นมาจนไม่ยินดียินร้ายกับโลกเสียก่อน
ปัญญาจึงจะพร้อมเดิน

ธรรมฝ่ายเหนือโลกนั้น
เหนือดีและชั่ว
ไม่เอาทั้งดี และไม่ดี
แต่มัน "ต้องอาศัยฝ่ายดี" ในการไปสัมผัส

ยินดียินร้ายนี่อันตราย

ยินดียินร้าย 
อภิชฌาและโทมนัส
ท่านเปรียบว่าอันตราย

พวกเราพยายามทำแบบเต่า
เวลาเห็นอันตราย
หดเข้ามาในกระดอง

ตํ สุนาถ

"เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนี้"

ไม่ใช่เทศน์เรื่องนี้ ไปฟังได้เรื่องอื่น

เรื่องทำนองนี้สมัยพุทธกาลไม่เกิด
เนื่องด้วยความสามารถของพระพุทธเจ้า
และความพร้อมของผู้ฟัง

จะทรงแสดงธรรมที่เหมาะสม
แก่ผู้ที่อินทรีย์พร้อมตามลำดับไป

สำหรับปัจจุบันที่เราฟังธรรมกันเยอะไปหมด
ความหมายคือ
ถ้าจบแล้วฟังไม่ได้อย่างนี้ ไปจับได้อีกเรื่องนึง
ยังไม่ถูกต้อง
ยังใช้ไม่ได้

วันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561

จุดเริ่มต้นสำคัญ

อุปาทานขันธ์ สิ่งนี้เป็นตัวทุกข์
พอไม่รู้จึงเกิดตัณหา
วนไป

จุดเริ่มต้นสำคัญ คือ "ไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง"
ก็จะเพลิดเพลินไป
เราจึงต้องมาฝึกให้ "เห็นตามความเป็นจริง" อยู่เสมอๆ

ไม่รู้ว่าไม่ใช่ตัวตน
ไม่เที่ยง
บังคับไม่ได้
ถูกบีบคั้นด้วยปัจจัยต่างๆ

ตตฺรตตฺราภินนฺทินี

ยินดีอย่างยิ่งที่ได้มันมา
ยินดีอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ

ฉันได้นี่มาอันนึง ดี๊ดี

ยินดีที่จะแบกสิ่งต่างๆ เพิ่ม
ยินดีที่จะได้สามีมา
ยินดีที่จะได้ชื่อเสียงเงินทองมา

ยังรักนั่นรักนี่
ยังชอบนั่นชอบนี่

เมื่อยังเพลิดเพลินอยู่กับทุกข์นี่
ยังไม่ต้องพูดถึงความพ้นทุกข์ก็ได้

ไปทุกข์ก่อน

ยังไม่ต้องมาหลอกตนเองไปวันๆ

ความเพลิดเพลิน - นนฺทิราคสหคตา

ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
เพลิดเพลิน หมายถึง ไม่เห็นโทษ

ไม่เห็นโทษของความอร่อย
เรียกว่า เพลินในอาหาร

ได้ยินเสียง ไม่เห็นโทษของความไพเราะ
เรียกว่า เพลิดเพลินในเสียง

ปล่อยๆ ไป นี่ก็เพลิน
ไม่เห็นโทษของความเฉยๆ
มองเห็นก็เฉยๆ ไม่ได้อยากได้ ยินดีอะไร
เฉยๆ ไป นี่ก็เพลิน
มันไม่เห็นโทษ

กินก็อย่างนั้นๆ เฉยๆ นี่ก็เพลิน

เมื่อไม่ฉลาดก็โง่
ความหมายคืออย่างนี้

เมื่อไม่เห็นถูกคือ เห็นผิด
ความหมายคืออย่างนี้

เมื่อใดที่ไม่เห็นอะไร ก็คือเห็นผิด
ไม่เห็นอะไร ก็คือเพลิน
เฉยๆ คือ โง่

โปโนพฺภวิกา - ทำใหม่ซ้ำๆ

การกระทำด้วยอำนาจตัณหา อุปาทาน
เพื่อสนองความรู้สึกมีตัวมีตน
เก่งขึ้นทุกวันๆ

ความยึดถือในขันธ์ 5 ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ
อุปาทานขันธ์ ถึงความเพิ่มพูนไปเรื่อยๆ

ทำท่าสวยๆ ให้เราดูดี
ทำนั่นนี่เพื่อให้มีหน้ามีตา

ตัณหานั้นทำให้เกิดการกระทำขึ้นใหม่ซ้ำๆ ซากๆ (โปโนพฺภวิกา)

มองรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส เป็นเครื่องให้ความเพลิดเพลิน
มองว่าสิ่งต่างๆ ที่ได้มาให้มันคงที่ คงทน

หลงไปทางตา

ได้ยินเสียงก๊อกๆ แก๊กๆ ต้องหันไปดู
ก่อนออกจากบ้านต้องส่องกระจก

สบายใจที่จะเห็น


มหา-

มหา-

เรื่องใหญ่
เรื่องสำคัญ
เรื่องควรควรจะรู้ให้ไวๆ

เช่น มหาสฬายตนิก ธรรมเทศนาเกี่ยวกับอายตนะ 6 ที่มีความสำคัญมาก

ธรรมฝ่ายสมาธิ 5 อย่าง

ธรรมฝ่ายคุณภาพจิต

เหตุก็เช่น...

ศีลดีบ้าง
ฟังธรรมเข้าใจบ้าง
สันโดษ พอใจสิ่งที่มี

ก็เกิด...

ปราโมช - ปลอดโปร่งโล่งเบา
ปีติ - ใจอิ่ม ไม่เดือดร้อนตามตัณหา
ปัสสัทธิ - กายระงับ ใจระงับ
สุข - สบาย
สมาธิ

อธิิจิตตสิกขา
คุณธรรมฝ่ายดีๆ จะเกิดขึ้น

พระพุทธศาสนาต้องปรองดอง?

พระพุทธศาสนาต้องปรองดอง?
ต้องช่วยเหลือกัน?

รักท่านแบบจะใส่ความเห็น
ว่าท่านต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้

ที่ท่านทำอย่างนั้น ก็เพราะท่านทำอย่างนั้น ไม่ทำอย่างอื่น

ทำแล้วสำเร็จก็เพราะเหตุปัจจัยพร้อม
ทำแล้วไม่สำเร็จก็เพราะเหตุปัจจัยไม่พร้อม

เช่น ในเรื่องที่ 2 เมืองจะรบกันอยู่ละเพราะแย่งน้ำ
ท่านก็มาเลย ถาม "น้ำกับเลือดอะไรสำคัญกว่า"
ตกลงกันได้ เลิกรบ
เหมาเอาว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักปรองดอง

ฟังดูเข้าที ท่านเป็นนักปรองดอง...
ทำไมท่านทำอย่างนี้...
ก็เพราะท่านไม่ทำอย่างอื่น

มาดูอีกเหตุการณ์

ภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน วินัยธร กับธรรมธร
ท่านก็มาเลย ภิกษุทั้งหลายจงสามัคคีกันเถิด
ภิกษุบอก ท่านเชิญขวนขวายน้อยเถิด
พระพุทธเจ้าเข้าป่าเลย เลิกยุ่ง

มาดูอีกเหตุการณ์

พระเจ้าพิมพิสารติดคุกอยู่
นั่งมองพระพุทธเจ้าที่อยู่เขาคิชกูฏ
พระพุทธเจ้า ทำไมไม่ได้ไปช่วย

ที่ท่านทำอย่างนั้นเพราะท่านทำอย่างนั้น

ทำแล้วได้ผลก็เพราะเหตุปัจจัยพร้อม
ทำแล้วไม่ได้ผลก็เพราะเหตุปัจจัยไม่พร้อม

ภิกษุจะฆ่ากันตายมากมาย
ท่านก็ไม่อยู่ ไปอยู่ถ้ำ 1 พรรษา
ทำไมท่านไม่ช่วย

ที่ท่านไม่ช่วย ก็เพราะท่านทำอย่างนั้น ไม่ทำอย่างอื่น

เรานี้ชอบวิจารณ์พระพุทธเจ้า
ยกตัวอย่างเป็นฉากๆ
ฟังเหมือนเข้าที .... แต่ใช่หรือ ...

ท่านตรัสอยู่แล้วว่า
ธรรมมีความเป็นอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น
พวกวิญญูย่อมเข้าใจอย่างนี้

ไม่ได้พยายามที่จะอธิบายให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างอื่น ตามใจคนอธิบาย

ประชาธิปไตยไม่มีในพระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเรื่องประชาธิปไตย
ท่านสอนให้ฟังเฉพาะบัณฑิต
ฟังเฉพาะวิญญูชน

พวกไม่ใช่บัณฑิต ต่อให้มีเป็นล้านๆ
ถ้าเป็นบัณฑิต เป็นพุทธะมา แม้แค่คนเดียว ให้ฟังคนนั้น

คนเป็นล้านๆ ถ้ามันมืดหมด ไม่ต้องฟัง
ท่านไม่ให้คบคนพาล
ไม่ต้องฟังคนเป็นล้านๆ ....
เพราะมันไม่รู้เรื่อง

ธรรมะต้องฟังดีๆ เรียนมากระวังเพี้ยน


วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561

ลักษณะการแสดงธรรมของตถาคต ๓ - ประกอบด้วยปาฏิหาริย์

ตถาคตแสดงธรรมประกอบด้วยปาฏิหาริย์
ไม่ใช่แสดงธรรมที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์

ปาฏิหาริย์
สามารถครอบงำฝ่ายตรงข้าม
สามารถชนะฝ่ายตรงข้าม

แสดงเรื่องศีล
สามารถละทุจริต
ชนะเจตนาที่จะเบียดเบียน
จะเอาคืนบ้าง

แสดงเรื่องศีล
เจตนาพวกนี้ก็ไม่เกิด

แสดงเรื่องสมาธิ
สามารถละ นิวรณ์
แต่เดิมใจไม่ปลอดโปร่ง ฟุ้ง ไม่รู้คิดอะไรวันๆ
ไม่คิดก็ง่วง
เห็นของดีก็ชอบ ไม่ดีก็ชัง วนเวียนไป

แสดงเรื่องสมาธินี่
ถ้าฝึกฝนตามนี้ อาการพวกนี้หายเลย
เพราะอาการเป็นอาการจิตไม่เป็นสมาธิ
เหลือแต่จิตใจสบาย ปลอดโปร่ง โล่งเบา มีความสุข
นี่เรียกว่ามีปาฏิหาริย์

แสดงเรื่องปัญญา
สามารถละพวกกิเลสละเอียด สังโยชน์ อนุสัยได้

แสดงเรื่องให้มีสติสัมปชัญญะดูกาย เวทนา
ก็สามารถหลุดจากความหลงได้

ไม่ต้องไปทำลายฝ่ายตรงข้าม
แต่ฝึกอีกฝ่ายขึ้นมา พวกนั้นก็หายไป
ไม่ต้องไปทำลายกิเลส
แค่ฝึกให้มี ศีล สมาธิ ปัญญา

ธรรมมันมีปาฏิหาริย์ ^_^
ไม่ต้องไปพยายามละอะไร

ถ้าไม่มีปาฏิหารย์คื
ให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้
ทำไปก็ยังยากเหมือนเดิม
ละกิเลสไม่ได้

ไม่ใช่ฝึกมีศีล
ทำอย่างนี้ๆ
แต่ดันทุกข์เหมือนเดิม กิเลสอยู่เหมือนเดิม

แต่ฝึกตามท่านนี่
แรกๆ อาจจะยากหน่อย
แต่สบายขึ้นเรื่อยๆ
ธรรมแสดงปาฏิหาริย์

ลักษณะนี้ เรียกเป็น อนุสาสนีปาฏิหาริย์

วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2561

ลักษณะการแสดงธรรมของตถาคต ๑ - เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญญฺาย)

๑ . ตถาคตแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญญฺาย)

อภิ หมายถึง อภิมุข คือ "ต่อหน้า"
เพื่อการรู้จักเฉพาะหน้า
เพื่อการได้เห็นจริงๆ มีจริงๆ ด้วย
แสดงแล้วให้ไปทำความรู้จักได้จริงๆ ไม่ใช่จะไปหาก็ไม่เจอ ไม่รู้อยู่ไหน

เพื่อการเห็นเลย ไม่ใช่ต้องไปนึกเหตุนึกผลอีก
สามารถเห็นได้จริงๆ อย่างนั้น
สามารถไปรู้จักด้วยตนเอง (สยํ อภิญญา)

ไม่ใช่แสดงลอยลมไปอย่างนั้น
ไม่ใช่ต้องนั่งคิดนั่งนึก
ไม่ใช่ต้องนั่งเทียบ นั่งคำนวณเป็นตรรกะ
ไม่ใช่แสดงแล้วเงียบหายไปเลย

พอรู้จักแล้วก็ไม่ต้องถาม
ไม่ต้องสงสัยอีก
ใครจะอธิบายไปอย่างไรก็ว่าไป

ท่านแสดงเรื่องอะไรบ้าง
เช่น เรื่องขันธ์ 5 แสดงเพื่อความรู้ยิ่ง
เราเห็นหรือยัง

รูปเคยเห็นมั้ย
มองดูในกระจก เห็นรูป รึเห็นเรา
เก้าอี้นี้มันว่าง มีใครมานั่ง คนนั่ง หรือรูปนั่ง

แสดงเรื่องอายตนะ แสดงเพื่อความรู้ยิ่ง
เคยเห็นหรือยัง

ถ้าฟังไปแล้วยังรู้สึกไม่รู้เรื่อง
ไม่รู้ต้องดูตรงไหน อันนี้ยังไม่ได้เรื่อง



ลักษณะการแสดงธรรมของตถาคต ๒ - แสดงธรรมมีเหตุ

๒. ตถาคต แสดงธรรมมีเหตุ (สนิทานํ)

นิทาน แปลว่า เหตุ ปัจจัย
ส = ประกอบ

แสดงธรรมมีเหตุ มีที่มาที่ไป
ไม่ได้แสดงลอยๆ
ไม่ใช่นึกอะไรได้ก็แสดง

มีเหตุอย่างนี้ๆ
จึงแสดงอย่างนี้ๆ
ต้องแสดงอย่างนี้ๆ
ไม่สามารถแสดงอย่างอื่นไปได้

แสดงแบบประกอบด้วยเหตุด้วยผล
เพราะมีอันนี้ จึงมีอันนี้

แสดงเรื่องใดเรื่องนึงขึ้นมา
ก็แสดงเหตุ อะไรเป็นเหตุ
ผลเป็นอย่างไร

เวลามองอะไรก็ต้องมองแบบมีเหตุ
การไปมองแบบตัดช่วง เช่น อ้าวเธอด่า ฉันเลยโกรธ
แบบนี้เรียกว่ามองแบบขาดเหตุ

คนด่าเราเฉยๆ ก็ได้
คนด่านเราเมตตาก็ได้
คนด่าเราโกรธก็ได้
ถ้ามองแบบโชะๆ ไปเลย เรียกว่า มองแบบไม่ประกอบเหตุผล
เพราะมันไม่เป็นเหตุเป็นผลกันตรงๆ ไม่ได้ตัดขาด

ธรรมเป็นหลายเหตุหลายผล
ไม่ได้เป็นแบบเหตุเดียวผลเดียว

คนอื่นเขาทำไม่ดี
เราต้องไปนรกมั้ย?

คนอื่นผิดเท่าไรก็ได้
เราไม่ได้ไปนรกเพราะความผิดคนอื่น
แต่เราดันชอบมองความผิดคนอื่น

วันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2561

กายวิเวก

ฝึกอยู่แบบเงียบๆ เป็นก่อน
จึงจะพูดเป็น

เข้าใจตนเองก่อน
จึงเข้าใจคนอื่น

พระอริยะเจอกันทำ 2 อย่าง
ไม่นิ่งก็เชิญท่านที่มีปัญญามากมากล่าวธรรม

พระพุทธเจ้าเป็นนักอยู่ป่า

ท่านเล่าว่า
สมัยเป็นโพธิสัตว์

เวลาไปอยู่ป่าแล้ว
ดูจิตใจตัวเอง
กลัวที่ไหนไปที่นั่น
ที่ไหนดูใจแล้วไม่กลัว ไม่ไป

เขาว่าไปแล้วผีจะหักคอ
งูจะกัด
อ้าว กลัวนี่
ถ้ากลัวจะไปเลย

เมื่อเดินจงกรมแล้วเกิดความกลัว
ก็จะเดินไปเรื่อยๆ จนกว่าความกลัวจะหายไป

ถ้านั่งแล้วเกิดความกลัว
ก็จะนั่งไปเรื่อยๆ จนกว่าความกลัวจะหายไป

เป็นการฝึกฝนเพื่อให้อยู่ได้ด้วยตนเอง
เมื่ออยู่ได้ด้วยตนเองแล้ว
ไม่หวังพึ่งใคร
ค่อยมาอยู่กับคนอื่น

ไม่ต้องการอะไรจากใคร
จึงค่อยออกมาคุยกับคนอื่น

ฝึกกายวิเวก
อยู่คนเดียวได้ก่อน
มีความสุขก่อน
จึงไปอยู่กับคนอื่น

ไม่ใช่ว่าอยู่ไม่ได้
จึงไปหาคนอื่น

ภยเภรวสูตร

ฉันทะ

คือพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้น

ไม่น่าเล้ยยยย

สมมติพูดว่า
"ไม่น่าเล้ยยย ไม่น่าไปทำอย่างนั้นเลย"
ความหมายคืออะไร?

นี่มันคิดจะไปแก้อดีต!!
ขนาดปัจจุบันมันยังคิดได้ไม่ถูกต้อง
แล้วนี่คิดจะไปแก้อดีต
ไปย้ำความเชื่อว่าตัวในอดีตไม่ดีอีก

ไม่น่าทำอย่างนั้น
ก็แปลว่ามันน่าจะทำอย่างอื่นใช่รึป่าว?
ไม่ว่าจะว่าตัวเอง หรือว่าคนอื่น
มันก็ยังเป็นความเห็นอย่างเดียวกัน
เห็นผิด

นี่ยังไม่ใช่การแก้กรรมที่ถูกต้อง
มันยังไม่รู้เลยว่าอะไรเป็นโทษ
ยังไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
ยังไม่รู้เรื่องเลยว่าไม่มีตัว
หลงงมงายกันไปหมด

แล้วก็ยังไม่ถึงการสังวรระวังละเว้น
ยังไม่มาดูว่าทำแบบนี้ได้ผลอย่างไร
ถ้าไม่ทำแบบนี้จะได้ผลอย่างไร
การสังวรระวังในกาลต่อไปจึงไม่เกิด

นี้ไม่ใช่ความเจริญในอริยวินัย

ในทางพุทธ
สำรวมระวังในกาลต่อไปก็คือจบแล้ว

ไม่มีการขุดคุ้ยเรื่องอดีต
ไม่มีการไปโทษกันในสิ่งที่ผ่านมาแล้ว
จะฆ่าคนมาเยอะแยะ ไม่มี...ไม่มีการขุดคุ้ยกัน
คุณไม่ดีอย่างโน้นอย่างนี้
คุณไม่น่าทำ ...ไม่มี ไม่กล่าวอย่างนี้

มันไม่มีเรื่องไม่น่าทำ
ไม่มีเรื่องไม่น่าเกิด
เพราะทุกอย่าง "มันน่าเกิดแล้ว มันจึงเกิด"
"มันสมควรแล้ว มันจึงเกิด"

ในเมื่อมันเกิดแล้วมันมีโทษ
ก็สำรวมระวังไม่ให้มันเกิดอีก
ป้องกันไม่ให้มันเกิดอีกเท่านั้นเอง

ไม่มีการโทษกัน
ถ้าเขารู้เขาก็ไม่ทำอย่างนั้นหรอก
ก็ที่เขาทำอย่างนั้น เพราะเขาไม่ทำอย่างอื่น
ก็ชัดเจนตรงไปตรงมา

แก้กรรม ขมากรรม

ปฏิกรรม หรือแก้กรรม หรือกระทำคืนตามสมควร

คือการหาวิธีจะไม่ให้ความผิดพลาดเช่นนั้นเกิดขึ้นอีก
ไม่ใช่แก้ตัวการกระทำที่ทำไปแล้ว
แต่ไปแก้ว่าไม่ให้มันเกิดขึ้นมาอีก

ในกาลใดที่เธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษ
แล้วกระทำคืนตามสมควร (คือเข้าถึงการสำรวมในกาลต่อไป)
เราก็จะรับโทษของเธออันนั้น (รับคำขอขมา)
ดูก่อนภิกษุ สิ่งนี้จึงจะเป็นความเจริญในอริยวินัย

ถ้าทำผิดแล้วไปขอขมาท่าน
โดยบอกว่า ขอให้ท่านยกโทษให้เถอะ
จะได้ไม่เป็นบาปเป็นกรรมต่อไป
อันนี้ท่านจะไม่รับ

แต่ถ้าบอกให้ท่านช่วยยกโทษให้หน่อยเถอะ
จะได้สำรวมระวังในกาลต่อไป
อย่างนี้ท่านถึงจะรับ

แต่ถ้าไม่รู้เรื่อง
กระทำคืนไม่เหมาะสม
ท่านก็ไม่รับเหมือนกัน


วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561

เมื่อผู้รู้แจ้งป้องกันตัว

ป้องกันตนเองให้พอเป็นไปได้
ไม่เลยเถิดไปถึงการประทุษร้ายคนอื่น
ไม่เลยเถิดไปถึงการผูกโกรธ ผูกเวร

แก่นสาร

แก่นสารสาระนี้มีเพียงอย่างเดียว
ความหลุดพ้น
หลุดพ้นจากความรู้สึกว่าเรา

ที่ต้องทำนั่นทำนี่ด้วยความเหนื่อยยาก
เพื่อเรา

เมื่อได้รู้จักการกระทำที่สนองความเพื่อตนเอง
ก็เริ่มรู้ความจริง

แต่ถ้าไม่รู้ก็คิดว่าตัวเองฉลาด
ตัวเองรู้เรื่อง
ตัวเองเก่ง
ก็โง่ต่อไป

เช่น คนด่าเรา
เราก็นึกว่า มันโง่จังมาด่าเราได้ไง
เราโกรธตอบ นึกว่าเราฉลาดเต็มทน

แต่ท่านไม่ได้ว่าอย่างนั้น
ท่านว่าคนโกรธตอบนี้โง่กว่าคนแรกที่ด่าเสียอีก
เพราะที่เขาโกรธได้เพราะขาดสติ

เราไปโกรธตอบ
เหมือนไปตำหนิคนบ้า
เราไปตำหนิคนบ้านี่มันเหมือนอะไร....

เหมือนหมาขาดสติ เลยไปเกิดเป็นหมา
แล้วเราไปด่าหมา ว่าหมาแกไม่ได้เรื่องเลยนะ
อันนี้ใครบ้า....

จาคาธิษฐานที่ยอดเยี่ยม - ปรโมอริโยจาโค

คือการสละรากของอุปทิให้หมดไป
สลัดคืนไป
ทำให้ไม่เกิดขึ้นอีกเป็นธรรมดา

แต่เดิมไม่รู้เรื่อง
ก็ทำแต่สิ่งที่ตนเองเป็นทุกข์

ทำให้ตัวเองเป็นเทวดา
เทวดาก็เป็นกองทุกข์

ทำให้ตัวเองเป็นพรหม
พรหมก็เป็นกองทุกข์อีก

ทำให้ตัวเองหลุดพ้น
ตัวเองก็เป็นกองทุกข์อีก
ทำให้ตัวเองเป็นนักปฏิบัติ
ให้เป็นผู้หลุดพ้น
ปรากฏว่าก็ได้ตัวตนกองทุกข์มายึดถืออีกแบบ

มาชื่นชมความหลุดพ้น
ก็ยึดถือความหลุดพ้น
มาชื่นชมความไม่มีอะไร
ก็ยึดถือความไม่มีอะไร

ในการปฏิบัติท่านก็ให้มารู้ตามเป็นจริง
จิตมีสมาธิก็รู้ว่ามี ไม่มีก็รู้ว่าไม่มี
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น ไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น

ถ้าปัญญาไม่เพียงพอ
ก็จะไปยึดถืออันใดอันนึง

อะไรที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งหมด
ล้วนเป็นที่ตั้งของกองทุกข์
กายใจก็เช่นกัน มันก็ทำงานไป
ถามว่าไม่ใส่ส่วนเกิน "เรา - ของเรา" เข้าไปมันทำงานได้รึป่าว
ทำได้ดีด้วยนะ

เรื่องราว
ถ้าเราไปเกี่ยวข้องโดยการสละออก
มันไม่เที่ยงมันก็เป็นของมันอย่างนั้น
มันก็ไม่หนัก สบาย

มันเป็นยังไงก็ปล่อยให้มันเป็นอย่างนั้นไป
ธรรมดาๆ
ดูแลไปตามสมควร
เกี่ยวข้องด้วยสติ แต่ไม่ไปจับยึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา
ก็จะไม่เหนื่อย ไม่หนักใจ ^_^

ไปสังเกตไปดูที่ตั้ง
เพราะไม่รู้แจ้งว่ามันไม่เที่ยง บังคับไม่ได้
จึงเกิดความอยากขึ้น
พอแจ้ง ตัณหาก็ไม่เกิดขึ้น

อภิสังขารูปทิ - ถ้าไม่หวังอานิสงส์จะทำบุญรึป่าว

ทำกรรม
ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแบบหวังผล
เจตนาทำเพื่อตัว (ทั้งน้าน)

อนาคตจะได้นั่นได้นี่
จะได้รูปอย่างนัั้น จะมีตาอย่างนี้
จะได้รับผล

แม้แต่การปฏิบัติธรรม
เดินๆ ไป เดี๋ยวจะดีเอง เดี๋ยวจะรู้เอง
ขยันไปเดี๋ยวต่อไปจะดีขึ้น
สักวันหนึ่งจะบรรลุ


อันที่จริงเขาปฏิบัติให้ไม่มีอาลัยในการกระทำ
ไม่มีความหวัง

ไม่มีอาลัยในการเห็น ในการได้ยิน
อยู่ในปัจจุบันอย่างเต็มที่

แต่อภิสังขารูปทิ
จะมีหวังอยู่

ความหลุดพ้นคือ
หลุดพ้นจากความรู้สึกว่าเรา

ถ้าไม่รุ้ตามความเป็นจริง ก็จะมี "เรา" ได้ขยันไปเรื่อยๆ

ตอนนี้ตัวเองยังไม่ดี
ตัวเองโดนติเตียน
ตัวเองจะไปทำอย่างนี้ๆ เพื่อให้ตัวเองดีขึ้น

เราทั้งหลายมักติเตียนตนเองที่เป็นอยู่
และยกย่องตนเองที่ยังไม่ได้เป็น
ก็วนเวียนอย่างนี้
ถ้ายังเป็นอย่างนี้

มีเจตนาที่จะทำเพื่อตนเองไปเรื่อยๆ
เรียกว่า ปรารภตนเอง
เหมือนจะดี
แต่เป็นเครื่องขวางกั้น

ไม่ก็ปรารภเสียงชม
เป็นคนดี เป็นคนสงบ
คนอื่นจะได้ชมเรา
เป็นที่ตั้งความทุกข์ทั้งนั้น

อุปทิ 4

  1. ขันธูปทิ
  2. กิเลสูปทิ
  3. อภิสังขารูปทิ
  4. ปัญจกามูปทิ

เมื่อไม่มีความรู้ จึงสมาทานเพื่อตนเอง
แม้กระทำจนเต็มบริบูรณ์ ก็เพื่อตนเองถึงความเต็มบริบูรณ์


เอาชนะอัตตา

สู้อัตตาได้มั้ย
ไม่ได้
ไม่ใช่เพราะมันยากเกิน
แต่เพราะมันไม่มีจริง

เราจะไปเอาชนะคนนั้นคนนี้ได้มั้ย
ไม่ได้อีก

ไม่ใช่เพราะเขาแข็งแรง หรือเราอ่อนแอ
เพราะเขาไม่มีจริง
(และเราก็ดันไม่มีจริงด้วย 5555)

สิ่งใดแปรปรวนเป็นธรรมดา
สิ่งใดเลอะเลือนเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นเป็นเท็จ

ความคิด
ความเห็น
ความทุกข์
ความสุข

มโนปวิจารณ์

การทำงานของจิตใจ
จิตใจเป็นผู้สร้าง

เมื่อรับรู้รูป
มีตาไปมองเห็น
ก็เกิดจักขุวิญญาณ
เกิดความรู้สึก พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง อทุกขมสุขบ้าง

พระอรหันต์ก็เกิดความรับรู้ 3 อย่างนี้เหมือนกัน
ท่านก็รู้สึกไป
เสวยเวทนาเจ็บปวดทางกาย หรือเวทนาขั้นตายแหงๆ

ท่านก็รู้ว่าเรากำลังเสวยเวทนา
ใจก็ไม่ทุกข์ร้อนไปด้วย
ไม่ได้มีการกระทำเพื่อเรา เพื่อของเราเกิดขึ้น

ไม่มีบอกว่าดี ไม่ดี
เจ็บก็รู้ "แค่นั้น"
รู้แบบตรงไปตรงมา

ถ้าไม่ "แค่นั้น"
ก็จะมี มันไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้
แก้ไขอย่างนั้นอย่างนี้
ทำยังไงถึงจะถูก -- โดนทักก็สะดุ้ง

ปุถุชนทั่วไป
เวทนา ปัจจยา ตัณหา
รับรู้เวทนาแล้วเกิดกิเลส

ก่อให้เกิดอุปาทาน เกิดการกระทำ
เกิดเป็นการกระทำเพื่อตัวเรา
แล้วก็ดันได้มาจริงซะด้วย เกิดภพ เกิดชาติ


อุเบกขาสหคตํ วิจิกิจฉาสมฺปยุตฺตํ - อทุกขมสุข

ทำไมใช้อทุกขมสุข
ทำไมไม่ใช้อุเบกขาเวทนา

เวลาพูดถึงเวทนาชนิดที่เป็นไปในการฝึกฝน
จะใช้เป็นกลางๆ ว่าอทุกขมสุข
เพราะบางทีมันไม่เฉยจริง

เช่น เวลางง
มันอทุกขมสุข + วิจิกิจฉา
หรือบางทีก็ + ฟุ้งซ่าน
วนเวียนไป

บางทีมันกระทบแล้วมันงงๆ
วนเวียนๆ บอกไม่ได้ว่าทุกข์หรือว่าสุข
ไม่รู้ว่าอะไรแน่

อทุกขมสุขนี่ มันกว้างกว่า 'อุเบกขา' บางทีดันใช้แทนกัน
เช่น เวทนาที่เกิดกับความสงสัย หรือฟุ้งซ่าน
มันไม่ได้อุเบกขานะ ไม่เฉยซะหน่อย
แค่บอกไม่ได้ว่าทุกข์ หรือสุขเท่านั้นเอง
ไม่ถึงขั้นทุกข์ แต่ก็ไม่สุข

เวลาพูดถึงอุเบกขา
จะพูดถึงในแง่ปัญญาก็ได้
ในแง่เวทนาก็ได้ ซึ่งมันสามารถซับซ้อนได้หลากหลาย

ถ้าพูดแง่ปัญญาก็จะพูดถึง
เห็นสังขารตามเป็นจริงแล้ววางเฉย

ถ้าพูดถึงแง่เวทนา
ก็จะต้องเป็นเวทนาที่ว่าเฉยจริงๆ

หรือเฉยในเวลาเข้าฌาน
ฌาน 4 เป็นต้นไปก็จะเป็นอุเบกขาเวทนา

อทุกขมสุขนี่จะเป็นคำกลางๆ ซึ่งจะรวมอุเบกขาเวทนาด้วย
ฉะนั้นอุเบกขาเวทนาจะเป็นส่วนหนึ่งของอทุกขมสุข

ดังนั้นเวทนาไหนที่มันไม่ค่อยชัด
ไม่รู้ว่าเป็นอะไร
ไม่รู้ว่าเฉย หรือไม่เฉย
หรือว่ามันวนๆ เวียนๆ อยู่
ไม่รู้จะว่าสุขหรือทุกข์ดี
จะเรียกว่าอทุกขมสุข

เวลาปฏิบัติท่านจึงให้ดูอทุกขมสุข
ไม่ได้ให้ดูอุเบกขา

เพราะเอาจริงๆ เราไม่ค่อยเฉยนะ
มันวุ่นวายอะไรก็ไม่รู้
มันวนเวียนอยู่นั่น แต่ไม่รู้ว่าสุขหรือทุกข์

เพราะบางทีมันเกิดกับความสงสัย
สงสัยนี่มันไม่เฉยนะ
อุเบกขาสหคตํ วิจิกิจฉาสมฺปยุตฺตํ
ลองดูมันไม่ได้อุเบกขาแบบชัดๆ นะ










เกี่ยวข้องด้วยความรู้

เกี่ยวข้องด้วยความรู้
ที่รู้ที่สุดก็คือ...ไม่รู้

พรุ่งนี้จะเจออะไร...ไม่รู้
เจอคนนี้เขาจะพูดอะไร...ไม่รีู้
เราจะตอบว่าอะไร...ไม่รู้
เขาจะว่ายังไงต่อ...ไม่รู้

ไอ้เรามันไปรู้มันทุกเรื่่อง
วางแผน คิดตามเขาไป
พอมันไม่สำเร็จ
แสดงว่า "เรายังบังคับไม่ดีพอ"
อบรมเพิ่ม น่านนน
มีหลักสูตรอบรม "วิธีบังคับให้มันได้"
แล้วผลเป็นยังไงบ้าง

ก็เป็นอย่างที่มันเป็นนั่นแหละ

การติดยึดอยู่กับแผนตลอดทุกเมื่อเชื่อวัน

ผู้รู้ที่แท้จริงคือ ผู้ไม่รู้
ไม่รู้หรอกว่ามันจะดีหรือมันไม่ดี

ให้เงินเขานี่จะช่วยหรือทำลาย
มันไม่รู้ว่านี่คือความถูกต้องที่แท้จริงหรอืเปล่า

แต่โดยส่วนใหญ่เราจะชอบคิดกันไปว่า
วิธีนี้นี่แหละคือความถูกต้องที่สุด

เราไม่ได้เกิดมาเพื่อรับผิดชอบสิ่งต่างๆ
ไม่ได้เกิดมาเพื่อทำตามความคาดหวังของใคร

มีสิ่งเดียวให้ มีสติสัมปชัญญะในการใช้ชีวิต ใช้ชีวิตอย่างรู้เท่าทัน
ถ้าไม่เลือกก็วนเวียนไป
ส่วนใครจะเจริญขึ้น ใครจะเสื่อมลง
ไม่คำนึงผลว่าจะให้มันเป็นยังไง



ท่องไว้ๆ ยังไม่รู้เรื่องก็ท่องไว้

อะไรที่เกิดขึ้นเป็นของปรุงแต่ง
มันเกิดเพราะเหตุ
เกิดแล้วดับไปป

พ่อแม่ไม่สั่งสอน

"พ่อแม่ไม่สั่งสอน!!!" 
"คุณทำอย่างนี้ได้ยังไง!!!"
"ทำไม่ไม่มีความรับผิดชอบอย่างนี้!!!"

เป็นอาการแสดงของการพยายามจะไปบังคับคนอื่น
แต่บัังคับไม่ได้

คำจริงๆ คือ
"ฉันกำลังจะบังคับคุณอยู่ แต่คุณไม่ยอมให้บังคับ คุณต้องแสดงความรับผิดชอบ"

กลายเป็นติดอนาคต
ต้องการบังคับให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้

อภิสังขาร ติดอดีต ติดอนาคต

การกระทำที่ "เพื่อเรา" อยู่เบื้องหลัง

การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่รู้สึกว่ามันจะต้องได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

เช่น
พูดดี ก็เพื่อ...
เราจะได้เป็นพรรคพวกกัน

ที่มีการปรุงแต่งเพราะมันไม่อยู่กับปัจจุบันอย่างเต็มที่

เมื่อติดข้องกับอดีตก็จะมี "เราเป็นใคร"
เราที่เป็นนั่นเป็นนี่มันเกิดเฉพาะผัสสะเป็นครั้งๆ ไม่ได้มีเราจริงๆ

การเข้าไปติดอดีต
เกิดที่นั่นที่นี่ พ่อแม่ชื่อนั้นชื่อนี้ เรียนหนังสือที่นั่นที่นี่
ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้มา
เกิดความรู้สึกว่า มีเราขึ้นล

พอกระทำสิ่งอะไรๆ ลงไปแล้ว
ก็คาดหวังว่าจะได้นั่นได้นี่
ประสบสิ่งนั้นสิ่งนี้
ได้นั่นเพิ่ม ได้นี่เพิ่ม
มีความคาดหวัง --- ติดอนาคต

ติดอดีต
ทำให้รู้สึกว่า "มีเรา" "มีของเรา" "เป็นนั่นเป็นนี่

ติดอนาคต
ทำให้มีความหวังพอจะอยู่ได้

ถ้าไม่ติดอดีต ไม่ติดอนาคต
ก็อยู่ไม่ไหว
อยู่ไม่ไหวทำไง ก็ออกจากโลกไป 5555

ถ้าไม่ติดอดีต ไม่ติดอนาคต
เวลาทำอะไรก็ไม่มีเพื่อเรา
ไม่คาดหวังให้เราได้อะไร
อันนี้ก็ไม่มีอภิสังขาร

สมมติยึดถือกัน
เราเป็นอาจารย์ เธอเป็นศิษย์
พอสอนๆ ไป สมมติศิษย์ไม่รู้เรื่อง
อาจารย์ต้องรับผิดชอบหรือเปล่า?

พอยึดอดีต ก็จะมีความรู้สึกว่า "เราเป็นนั่นเป็นนี่"
พอยึดอนาคต ก็จะมีความรู้สึกว่า "เราจะเป็นนั่นเป็นนี่"
พอมีการกระทำ ก็จะมีความรู้สึกว่า "เราต้องรับผิดชอบต่อผลที่เกิด"