ถ้าไม่เข้าใจจะเอียงไปเป็นทิฏฐิ อุปาทานไปเรื่อย
- เอกัตตนัย - รู้จักแบบเป็นภาวะอันเดียวกัน
ปฏิจจฯ มีความเป็นเอกภาพ กระแสเดียวกัน
เป็นสายเส้นเดียวกัน ไม่ได้เป็นคนละเส้น
เช่น จุติจิตดับไป ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น เขาเรียกว่ามันเป็นสายโซ่เดียวกัน
เข้าใจในแง่ที่ว่า มันอยู่ในรูปกระแส "ไม่ขาดตอน"
ส่งทอดปัจจัยกันจนกว่าจะเข้าถึงนิพพาน
เช่น ปกติขี้เกียจ มาฟังธรรม เกิดแรงบันดาลใจอยากขยัน
แล้วอยู่ๆ จะมาขยันได้เลย อันนี้ยังเข้าใจผิด
คือไม่ใช่ว่าจิตขี้เกียจดับไป จิตขยันเกิดขึ้น มันก็จะขยันได้
มันขี้เกียจมานาน ปัจจัยมันส่งทอดมา
จิตที่เกิดดับสืบเนื่อง มันไม่ได้ขาดสะบั้นกันอย่างนั้น
ดังนั้น นิสัยอะไรเก่าๆ นี่มันยังอยู่คล้ายๆ เดิม การจะเปลี่ยนอะไรนี่ต้องอดทน
ใส่ปัจจัยใหม่ๆ เข้าไป
เป็นความว่างเปล่าที่ต่อเนื่อง - นานัตตนัย
ในกระแสนั้นมันแตกต่างกัน
เป็นกระแสเดียวกัน แต่ว่า แต่ละจุดในกระแสนั้น
เป็นคนละอันกัน
อวิชชาก็ไม่ใช่สังขาร สังขารก็ไม่ใช่วิญญาณ ฯ
ทำดีก็ไม่ใช่ทำชั่ว ทำชั่วก็ไม่ใช่ทำดี
คิดดีก็ไม่ใช่คิดชั่ว คิดชั่วก็ไม่ใช่คิดดี
เป็นคนละอันกัน แต่อยู่ในรูปกระแสเดียวกัน
จุติจิต ก็เป็นจุติจิต ปฏิสนธิจิต ก็เป็นปฏิสนธิจิต
คนละขันธ์กัน
ขันธ์เมื่อวาน ก็ขันธ์เมื่อวาน
ขันธ์วันนี้ ก็ขันธ์วันนี้ คนละขันธ์กัน
คนไม่เข้าใจข้อ 1-2 นี้ ก็จะงงๆ
ถ้าถือว่าเป็นอันเดียวกัน ก็กลายเป็นสัสสตทิฏฐิ
ถ้าถือว่าเป็นคนละอัน ก็กลายเป็นอุจเฉททิฏฐิ - อพยาปรนัย
ไม่ต้องมีความขวนขวายทำอะไรเพิ่ม
ไม่ต้องมีมือขยันไปช่วย ไม่ต้องมีตัวมีตนไปจัดการ
เพียงแต่ทำเหตุ พอเหตุสมบูรณ์พร้อม เกิดแน่นอน
ไม่ต้องไปอยาก ไม่ต้องไปขวนขวาย
เช่น ถ้ามีอวิชชาอยู่แล้ว ไม่ต้องไปอยากเกิด ได้เกิดแหงๆ
ถ้าทำเหตุถูกต้อง ผลจะมาตามธรรมดา ธรรมชาติ
พวกเราส่วนใหญ่นี่เรียกว่าไม่ค่อยเข้าใจ/ไม่เข้าใจเอาเสียเลย
พอไม่เข้าใจเลยมีตัณหา
อยากให้เป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างนี้
ช่วยกันเข้าไป ... ช่วยให้ช้า
ทำเหตุปัจจัยก็ดีแล้ว
แต่ดันไปคิดว่า "ถ้ามีตัวช่วย มีความพยายาม จะเร็วขึ้น จะดีขึ้น"
ตายสนิท...
และก็ไม่ได้แปลว่า "ไม่ต้องทำอะไร"
แต่หมายถึง ก็ทำอย่างเต็มที่ แต่ไม่ต้องมีเรา มีของเราจะได้นั่นนี่ เข้าไปใส่ - เอวังธัมมตานัยเห็นความเป็นจริง เห็นข้อเท็จจริงของสังขารอะไรของมันไป
พร้อมกับ เห็นข้อจำกัดของมันด้วย
เราก็ทำเหตุทำอะไรไปเต็มที่
แต่ทำอย่างเต็มที่แล้ว อาจจะได้ผล หรือไม่ได้ผลก็ได้
ไม่เสมอไปว่าจะต้องได้ผล
เหมือนเราใช้ชีวิตให้ดี กินอาหารดี
ร่างกายเราน่าจะดี แต่ก็ไม่เสมอไป
ต้องเข้าใจข้อจำกัด
เลี้ยงลูกให้ดี มันน่าจะดี
แต่อาจไม่ดีก็ได้
เราพยายามศึกษา ทำความเข้าใจ
แต่มันก็อาจจะเข้าใจ หรือไม่เข้าใจ
เพราะมันมีข้อจำกัด
ข้อจำกัดนั้นก็เป็นธรรมดา ไม่ผิดธรรมดาอะไร
ข้อจำกัดนี่เรียกธรรมดา
มันไม่เที่ยง ถึงเราจะทำดีหมด ผลอาจไม่ดีก็ได้
ข้อ 3 นี่เหมือนจะเข้าใจทุกเรื่อง
ข้อ 4 นี่ให้เข้าใจด้วยว่า ทุกอย่างมีข้อจำกัดของมัน
เรียนปฏิจจฯ นี่เหมือนจะเข้าใจอะไรๆ
แนะนำใครๆ ได้ นี่ไงเพราะเหตุมันมางี้ๆ ทำงี้สิๆ
ปรากฏผลออกมาอีกอย่าง
อ้าวทำไมงี้ ...ไม่รู้เหมือนกัน 5555
มันเป็นงั้น มันก็เป็นงั้นน่ะแหละ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น